พระพุทธพจน์ - พุทธภาษิต พระธรรมเทศนา และ ธรรมะจากครูบาอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
ศุกร์ 25 มิ.ย. 2010 8:08 pm
"บุคคล ๔ จำพวก"
ซึ่งเมื่อคราวที่แล้ว ก็ได้มีการพูดถึงบุคคล ๔ ประเภท คือ.............
บุคคลผู้ตรัสรู้โดยเร็ว
เพียงยกหัวข้อขึ้นแสดง ก็สามารถรู้แจ้งสภาพธรรมได้
คือ "อุคฆติตัญญูบุคคล"
บุคคลประเภทที่ ๒
คือ บุคคลที่ฟังคำขยายความธรรมะ โดยละเอียด ก็สามารถรู้แจ้งสภาพธรรมได้
บุคคลประเภทนี้ เป็น "วิปจิตัญญูบุคคล"
บุคคลประเภทที่ ๓
คือ ผู้ที่พอจะแนะนำได้ เมื่อได้ฟังพระธรรม ได้สอบถามพระธรรม
ได้คบหาสมาคมกับท่านผู้รู้ ก็สามารถรู้แจ้งสภาพธรรมได้
บุคคลประเภทนี้ เป็น "เนยยบุคคล"
สำหรับบุคคลประเภทสุดท้าย คือ "ปทปรมบุคคล"
เป็นบุคคลผู้ที่ฟังมาก ศึกษามาก สามารถสอนผู้อื่นมาก
แต่ ไม่สามารถที่จะรู้แจ้งสภาพธรรมในชาตินั้นได้.
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ ๓๙๐
(จาก สูจิโลมสูตร)
อกุศลวิตกเป็นอันมาก เกิดแต่ความ
เยื่อใยคือตัณหา เกิดขึ้นในตนแล้วแผ่ซ่าน
ไปในวัตถุกามทั้งหลาย เหมือนย่านไทร
เกิดแต่ลำต้นไทรแล้วปกคลุมป่าไป ฉะนั้น.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 384
โลภะ เป็นไฉน ?
ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความคล้อยตามอารมณ์ ความยินดี
ความเพลิดเพลิน ความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน ความกำหนัดนัก แห่งจิต
ความอยาก ความสยบ ความหมกมุ่น ความใคร่ ความรักใคร่ ความข้องอยู่ ความจมอยู่
ธรรมชาติผู้คร่าไป ธรรมชาติผู้หลอกลวง ธรรมชาติ ผู้ยังสัตว์ให้เกิดธรรมชาติผู้ยังสัตว์
ให้เกิดพร้อม ธรรมชาติอันร้อยรัด ธรรมชาติ อันมีข่าย ธรรมชาติอันกำซาบใจ ธรรมชาติ
อันซ่านไป ธรรมชาติเหมือน เส้นด้าย ธรรมชาติอันแผ่ไป ธรรมชาติผู้ประมวลมา
ธรรมชาติเป็นเพื่อนสอง ปณิธาน ธรรมชาติผู้นำไปสู่ภพ ตัณหาเหมือนป่า ตัณหา
เหมือนดง ความ เกี่ยวข้อง ความเยื่อใย ความห่วงใย ความผูกพัน การหวัง กิริยาที่หวัง
ความหวัง ความหวังรูป ความหวังเสียง ความหวังกลิ่น ความหวังรส ความหวัง
โผฏฐัพพะ ความหวังลาภ ความหวังทรัพย์ ความหวังบุตร ความหวังชีวิต ธรรมชาติผู้
กระซิบ ธรรมชาติผู้กระซิบทั่ว ธรรมชาติผู้กระซิบ ยิ่ง การกระซิบ กิริยาที่กระซิบ ความ
กระซิบ การละโมบ กิริยาที่ละโมบ ความละโมบ ธรรมชาติเป็นเหตุซมซานไป ความใคร่
ในอารมณ์ดี ๆ ความ กำหนัดในฐานะอันไม่ควร ความโลภเกินขนาด ความติดใจ กิริยา
ที่ติดใจ ความปรารถนา ความกระหยิ่มใจ ความปรารถนานัก กามตัณหา ภวตัณหา
วิภวตัณหา ตัณหาในรูปภพ ตัณหาในอรูปภพ ตัณหาในนิโรธ [คือราคะที่ สหรคต ด้วย
อุจเฉททิฏฐิ]. รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัม
มตัณหา โอฆะ โยคะ คันถะ อุปาทาน อาวรณ์ นิวรณ์ เครื่องปิดบัง เครื่องผูก อุปกิเลส
อนุสัย ปริยุฏฐาน ตัณหาเหมือนเถาวัลย์ ความปรารถนา วัตถุมีอย่างต่าง ๆ รากเหง้า
แห่งทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ แดนเกิด แห่งทุกข์ บ่วงแห่งมาร เบ็ดแห่งมาร แดนแห่งมาร
ตัณหาเหมือนแม่น้ำ ตัณหาเหมือนข่าย ตัณหาเหมือนเชือกผูก ตัณหาเหมือนสมุทร อภิ
ชฌา อกุศลมูลคือโลภะ อันใด นี้เรียกว่า โลภะ.
อวิชชา เป็นศีรษะ
(จาก วัตถุกถา แห่งปารายนวรรค)
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ ๘๗๔
อชิตมาณพ ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้า ว่า
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ท่าน-
พราหมณ์พาวรี ถามถึงธรรมเป็นศีรษะ และ
ธรรมเป็นเหตุให้ศีรษะตกไป ขอพระองค์
ตรัสพยากรณ์ข้อนั้น กำจัดความสงสัยของ-
พวกข้าพระองค์ ผู้เป็นฤาษีเสียเถิด.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพยากรณ์ว่า
ท่านจงรู้เถิดว่า อวิชชาชื่อว่าธรรม
เป็นศีรษะ วิชชาประกอบด้วยศรัทธา สติ
สมาธิ ฉันทะ และวิริยะ ชื่อว่าเป็นธรรม
เครื่องให้ศีรษะตกไป.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ ๘๙๐
ในบทเหล่านั้น เพราะอวิชชา ความไม่รู้ในอริยสัจ ๔ เป็นศีรษะแห่งสังสารวัฏฏ์
ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจงตรัสว่า อวิชชาชื่อว่าธรรมเป็นศีรษะ.
(จาก อภัยเถรคาถา)
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ ๔๕๗
ก็พระอภัยเถระครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว เมื่อจะแสดงว่า สำหรับผู้ที่(ประพฤติ)
คล้อยตามกิเลส ไม่มีโอกาสที่จะยกศีรษะขึ้นจากวัฏฏทุกข์ได้เลย ส่วนตัวเรา
ไม่ประพฤติตามกิเลสเหล่านั้น ดังนี้ ด้วยการชี้ให้เห็นการบังเกิดขึ้นแห่งกิเลสของตน
ได้กล่าวคาถาว่า
เมื่อบุคคลได้เห็นรูปแล้ว มัวใส่ใจถึงอารมณ์อัน
เป็นที่รัก สติก็หลงลืม ผู้ใดมีจิตกำหนัด ยินดีเสวย
รูปารมณ์ รูปารมณ์ก็ครอบงำผู้นั้น อาสวะทั้งหลาย
ย่อมเจริญแก่ผู้นั้น ผู้เข้าถึงซึ่งมูลแห่งภพ ดังนี้.
----------------------------
(จาก อุตติยเถรคาถา)
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ ๔๕๙
ก็พระอุตติยะเถระ ครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว เมื่อจะแสดงความว่า เมื่อบุคคล
ไม่รังเกียจกิเลสทั้งหลาย ย่อมไม่มีทางที่จะยกศีรษะขึ้นจากทุกข์ในวัฏฏะได้ ส่วนเรา
รังเกียจกิเลสเหล่านั้นแล้วทีเดียว ดังนี้ โดยมุ่งแสดงให้เห็นการบังเกิดขึ้นแห่งกิเลส
ของตน ได้กล่าวคาถาว่า
บุคคลผู้ได้สดับเสียงแล้ว พึงใส่ใจถึงอารมณ์
อันเป็นที่รัก สติก็หลงลืม ผู้ใดมีจิตกำหนัดยินดี
เสวยสัททารมณ์ สัททารมณ์ก็ครอบงำผู้นั้น อาสวะ
ย่อมเจริญแก่ผู้นั้น ผู้เข้าถึงซึ่งสังสาระ(สังสารวัฏฏ์).
เอาบุญมาฝากได้ถวายสังฆทานกับคุณแม่
อนุโมทนาบุญกับผู้ใส่บาตรตามถนนหนทาง กรวดน้ำอุทิศบุญ เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน
รักษาศีล อาราธนาศีล เจริญวิปัสสนา ได้ปฏิบัติธรรม
ได้ถวายข้าวพระพุทธรูป สักการะพระธาตุ
ทำงานบ้านช่วยพ่อแม่ทุกวัน
และเจริญอาโปกสิน
ศึกษาการรักษาโรค
วันนี้ได้มีความเอื้อเฟื้อแก่ผู้ตกยาก
และพรุ่งนี้จะนำพระธาตุไปประดิษฐานที่วัด จำนวน 4 วัด
วันเสาร์กับอาทิตย์เพื่อนบ้านก็จะบวชพระอีก 1 รูป
และสร้างบารมีครบทั้ง 10 อย่าง ขอให้อนุโมทนาบุญด้วย
ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพผ้าป่าฯเพื่อสร้างพระธาตุเจดีย์ วัดนาอุดม (หลวงปู่ญาท่านสวน)
โทร.081-401-9592
Powered by phpBB © phpBB Group.
phpBB Mobile / SEO by Artodia.