พระพุทธพจน์ - พุทธภาษิต พระธรรมเทศนา และ ธรรมะจากครูบาอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
เสาร์ 10 ก.ค. 2010 9:35 am
"สีเลนะ สุคะติง ยันติ สีเลนะ โภคะสัมปะทา
สิเลนะ นิพพุติง ยันติ ตัสมา สีลัง วิโสทะเย"
เข้าใจว่าเป็นคำสรุปตอนท้ายที่พระท่านให้ศีล โดยใจความคือ
สีเลนะ สุคะติง ยันติ = ศีลเป็นเหตุให้ถึงสุคติ
สีเลนะ โภคะสัมปะทา = ศีลเป็นเหตุให้ถึงพร้อมด้วยโภคะทรัพย์
สิเลนะ นิพพุติง ยันติ = ศีลเป็นเหตุให้ถึงพระนิพพาน
ตัสมา สีลัง วิโสทะเย = เพราะเหตุนั้นพึงชำระศีลให้หมดจด
ศีลมีหลายนัย เช่น เจตนาเป็นศีล การไม่ก้าวล่วงเป็นศีล การสำรวม
ระวังก็เป็นศีล ความประพฤติที่ดีงามทั้งทางกาย ทางวาจา ทางใจก็
เป็นศีล ขณะที่สติปัฏฐานเกิดเป็นอินทริยสังวรศีล และเมื่อเป็นมรรคจิต
มรรคทั้งแปดองค์เกิดขึ้นพร้อมกัน ทำกิจประหารกิเลส มีพระนิพพานเป็น
อารมณ์ ขณะนั้นก็เป็นโลกุตตรศีล ฯลฯ
เมตตา หมายถึงสภาพจิตที่ดีงาม ที่เกิดขึ้นในขณะที่มีความเป็นมิตร เป็นเพื่อน มีความ
เป็นไมตรีความหวังดี ความปรารถนาดี ต่อบุคคลอื่น เมตตาจะมี หรือจะเกิดขึ้น จนมี
กำลังยิ่ง ๆ ขึ้นในจิตของเราได้ ต้องอาศัยการศึกษาและอบรม เบื้องต้น ต้องเห็นโทษ
ของความโกรธ และเห็นคุณของความไม่โกรธ (เมตตา) จึงจะอบรมเจริญเมตตาได้
ดังข้อความในอรรถกถาว่า
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 745
ละพยาบาทด้วยธรรม ๖ ประการ
อีกอย่างหนึ่ง ธรรม ๖ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อละพยาบาท คือ
การเรียนเมตตานิมิต ๑ การบำเพ็ญเมตตาภาวนา ๑ การพิจารณาว่า
สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน ๑ ความเป็นผู้มากด้วยการพิจารณา ๑
ความเป็นผู้มีกัลยาณมิตร ๑ การสนทนาถึงเรื่องที่เป็นสัปปายะ ๑.
อธิบายว่า เมื่อพระโยคาวจรแม้เรียนเมตตาอยู่ ด้วยอำนาจการแผ่
ไปโดยเจาะจงทิศ และไม่เจาะจงทิศ อย่างใดอย่างหนึ่ง พยาบาทอันเธอ
ย่อมละได้...
วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 151
พรหมวิหารนิเทส
เมตตาพรหมวิหาร
ชั้นแรก พึงพิจารณาให้เห็นโทษในโทสะ และอานิสงส์ในขันติก่อน
ถามว่า เพราะเหตุอะไร ?
ตอบว่า เพราะโทสะจะพึงลงได้ และขันติจะพึงบรรลุได้ ก็ด้วย
ภาวนานี้ และใคร ๆ จะอาจละโทษที่ตนไม่เห็นสักหน่อย หรือได้
อานิสงส์ที่ตนไม่ทราบสักนิดหาได้ไม่ เพราะเหตุนั้น พระโยคาวจรพึง
เห็นโทษในโทสะ ตามแนวพระสูตรทั้งหลาย เช่นสูตรว่า "ดูกร
อาวุโส บุคคลผู้เกิดโทสะแล้ว อันโทสะครอบงำ มีจิตอันโทสะยึดไว้
รอบแล้ว ย่อมฆ่าสัตว์บ้าง ดังนี้เป็นอาทิ พึงทราบอานิสงส์ในขันติ
ตามแนวพระบาลีทั้งหลายเช่น บาลีว่า
ขนฺตี ปรม ตโป ตีติกฺขา นิพฺพาน ปรม วทนฺติ พุทฺธา*
ขันติ คือความอดกลั้นเป็นบรมตบะ พระพุทธทั้งหลาย กล่าว
นิพพานเป็นบรมธรรม
ขนฺติพล พลานีก ตนห พฺรูมิ พฺราหฺมณ๑
เรากล่าวบุคคลนั้น ผู้มีขันติเป็นกำลัง มีกำลังคือขันติเป็นกอบทัพ
ว่าเป็นพราหมณ์
ขนฺตฺยา ภิยฺโย น วิชฺชติ
ประโยชน์ยิ่งกว่าขันติหามีไม่
ดังนี้เป็นต้นเถิด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 605
อนึ่งผู้มีปัญญาเท่านั้นเป็นผู้มีความอดกลั้นต่อความเสียหายของผู้อื่นเป็นต้น.
ผู้มีปัญญาทรามไม่เป็นผู้อดกลั้น. ความเสียหายที่ผู้อื่นนำไปให้แก่ผู้ปราศ
จากปัญญา ย่อมเพิ่มพูนความเป็นปฏิปักษ์ของความอดทน. แต่ความเสียหาย
เหล่านั้นของผู้มีปัญญาย่อมเป็นไป เพื่อความมั่นคงแห่งขันตินั้นด้วยเพิ่มพูน
ความสมบูรณ์แห่งขันติ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 292
ข้อความบางตอนจาก มหิสราชจริยา
เราเป็นผู้บริสุทธิ์ ตายด้วยความ
บริสุทธิ์ ยังประเสริฐ กว่าความเป็นอยู่ที่น่า
ละอายเสียอีก อย่างไรเราจักเบียดเบียนผู้อื่น
แม้เพราะเหตุแห่งชีวิตเล่า บุคคลผู้มีปัญญา
อดกลั้นคำดูหมิ่นในเพราะของคนเลว คน
ปานกลางและคนชั้นสูง ย่อมได้อย่างนี้ตามใจ
ปรารถนา ฉะนี้แล.
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 126
ข้อความบางตอนจาก ผุสติสูตร
บุคคลได้ย่อมประทุษร้ายแก่นรชน
ผู้ไม่ประทุษร้าย เป็นผู้บริสุทธิ์ ปราศจาก
กิเลส บาปย่อมกลับมาถึงบุคคลนั้น ผู้เป็น
พาลแท้ ประดุจธุลีอันละเอียดที่ซัดไป
ทวนลม ฉะนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 186
ข้อความบางตอนจาก อรรถกถา มงคลสูตร
ภิกษุเช่นนั้นแม้เทวดาทั้งหลายก็สรรเสริญ ดังที่ท้าวสักกะจอมเทพ
ตรัสไว้ว่า
ผู้ใดแล เป็นคนมีกำลัง อดกลั้นต่อ
คนผู้ทรุพลไว้ ความอดกลั้นของบุคคลนั้น
บัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่า เป็นขันติอย่างยิ่ง
เพราะคนทุรพลต้องอดทนอยู่เป็นนิตย์.๑
ผู้ที่มีความอดทนแม้พระพุทธเจ้าทั้งหลายก็ตรัสสรรเสริญ ดังที่พระ
ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
ผู้ใดไม่โกรธไม่ประทุษร้าย ย่อมอด
กลั้นต่อการฆ่าและการจองจำ เราเรียกผู้นั้น
ซึ่งมีขันติเป็นพลัง ผู้มีพลังเป็นเสนา ว่า
เป็นพราหมณ์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท
เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 151
ข้อความบางตอนจาก เรื่องพระอุบลวรรณาเถรี
คนพาลย่อมสำคัญบาปประดุจน้ำผึ้ง ตราบ
เท่าที่บาปยังไม่ให้ผล ก็เมื่อใดบาปให้ผล เมื่อนั้น
คนพาลย่อมประสบทุกข
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓
- หน้าที่ 447
ข้อความบางตอนจาก เรื่อง อุตตราอุบาสิกา
" พึงชนะคนโกรธ ด้วยความไม่โกรธ, พึงชนะ
คนไม่ดี ด้วยความดี พึงชนะคนตระหนี่ ด้วยการ
ให้ พึงชนะคนพูดเหลวไหล ด้วยคำจริง. "
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อกฺโกเธน ความว่า บุคคลผู้มักโกรธ
แล พึงเป็นผู้อันบุคคลพึงชนะด้วยความไม่โกรธ. ผู้ไม่ดี คือผู้ไม่เจริญ
เป็นผู้อันบุคคลพึงชนะด้วยความดี, ผู้ตระหนี่ คือเหนียวแน่นจัด เป็นผู้
อันบุคคลพึงชนะด้วยจิตคิดสละของของตน, คนพูดเหลาะแหละ อันบุคคล
พึงชนะด้วยคำจริง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 24
ข้อความบางตอนจาก ธรรมเทวปุตตชาดก
[๑๕๒๑] ดูก่อนอธรรมเทพบุตร ถ้าหากว่าท่าน
เป็นผู้มีกำลังในการรบไซร้ ผู้หลักผู้ใหญ่และครูของ
ท่านมิได้มี เราจะย่อมให้หนทางอันเป็นที่รักด้วยอาการ
อันไม่เป็นที่รักของท่าน ทั้งจะขออดทนถ้อยคำชั่ว ๆ
ของท่าน.
[๑๕๒๒] อธรรมเทพบุตรได้ฟังคำนี้แล้ว ก็เป็น
ผู้มีศีรษะลงเบื้องต่ำ มีเท้าขึ้นเบื้องสูง ตกลงจากรถ
รำพันเพ้อว่าเราปรารถนาจะรบก็ไม่ได้รบ อธรรมเทพ
บุตรถูกตัดรอนเสียแล้ว ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้.
[๑๕๒๓] ธรรมเทพบุตรผู้มีขันติเป็นกำลัง มีจิต
เที่ยงตรง มีกำลังมาก มีความบากบั่นอย่างแท้จริง
ชำนะกำลังรบ ได้ฆ่าอธรรมเทพบุตรฝั่งเสียในแผ่นดิน
แล้ว ขึ้นสู่รถของตนไปโดยหนทางนั่นเทียว.
คุณของขันติ ๕ ประการ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
อานิสงส์ของความอดทน ๕ ประการนี้
๕ ประการ เป็นไฉน คือ ผู้อดทน
ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของคนเป็นอันมาก ๑
ย่อมเป็นผู้ไม่โหดร้าย ๑
ย่อมเป็นผู้ไม่เดือดร้อน ๑
ย่อมเป็นผู้ไม่หลงกระทำกาละ ๑
เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ของความอดทน ๕ ประการ นี้แล
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 82
๕. ทานานิสังสสูตร
ว่าด้วยอานิสงส์การให้ทาน ๕ ประการ
[๓๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์แห่งการให้ทาน ๕ ประการนี้
๕ ประการเป็นไฉน คือ ผู้ให้ทานย่อมเป็นที่รักที่ชอบใจของชนหมู่มาก ๑
สัปบุรุษผู้สงบย่อมคบหาผู้ให้ทาน ๑ กิตติศัพท์อันงามของผู้ให้ทานย่อนขจร
ทั่วไป ๑ ผู้ให้ทานย่อมไม่ห่างเหินจากธรรมของคฤหัสถ์ ๑ ผู้ให้ทานเมื่อตาย
ไปแล้วย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์แห่งการ
ให้ทาน ๕ ประการนี้แล.
ผู้ให้ทาน ย่อมเป็นที่รักของชนเป็น
อันมาก ชื่อว่าดำเนินตามธรรมของสัปบุรุษ
สัปบุรุษผู้สงบผู้สำรวมอินทรีย์ ประพฤติ
พรหมจรรย์ ย่อมคบหาผู้ให้ทานทุกเมื่อ
สัปบุรุษเหล่านั้น ย่อมแสดงธรรมเป็นที่
บรรเทาทุกข์ทั้งปวงแก่เขา เขาได้ทราบ
ชัดแล้ว ย่อมเป็นผู้หาอาสวะมิได้ปริ-
นิพพานในโลกนี้.
จบทานานิสังสสูตรที่ ๕
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 467
๕. ปฐมอขันติสูตร
ว่าด้วยโทษของอขันติและคุณของขันติ
[๒๑๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษของความไม่อดทน ๕ ประการนี้
๕ ประการเป็นไฉน คือ
ผู้ไม่อดทน ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของคนเป็นอันมาก ๑
ย่อมเป็นผู้มากด้วยเวร ๑
ย่อมเป็นผู้มากด้วยโทษ ๑
ย่อมเป็นผู้หลงกระทำกาละ ๑
เมื่อตายไป ย่อมเขาถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษของความไม่อดทน ๕ ประการนี้แล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ของความอดทน ๕ ประการนี้
๕ ประการเป็นไฉน คือ
ผู้อดทน ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของคนเป็นอันมาก ๑
ย่อมเป็นผู้ไม่มากด้วยเวร ๑
ย่อมเป็นผู้ไม่มากด้วยโทษ ๑
ย่อมเป็นผู้ไม่หลงกระทำกาละ ๑
เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ของความอดทน ๕ ประการนี้แล.
--------------------------------------------------------------------------------
อรรถกถาปฐมอขันติสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในปฐมอขันติสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้:-
บทว่า เวรพหุโล ได้แก่ เป็นผู้มีเวรมากด้วยบุคคลเวรบ้าง ด้วยอกุศลเวรบ้าง
บทว่า วชฺชพหุโล คือ เป็นผู้มากไปด้วยโทษ.
จบอรรถกถาปฐมอขันติสูตรที่ ๕
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 468
๖. ทุติยอขันติสูตร
ว่าด้วยโทษของอขันติและคุณของขันติ
[๒๑๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษของความไม่อดทน ๕ ประการนี้
๕ ประการเป็นไฉน คือ
ผู้ไม่อดทน ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของคนเป็นอันมาก ๑
ย่อมเป็นผู้โหดร้าย ๑
ย่อมเป็นผู้เดือดร้อน ๑
ย่อมเป็นผู้หลงกระทำกาละ ๑
เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษของความไม่อดทน ๕ ประการนี้แล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ของความอดทน ๕ ประการนี้
๕ ประการเป็นไฉน ? คือ
ผู้อดทน ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของคนเป็นอันมาก ๑
ย่อมเป็นผู้ไม่โหดร้าย ๑
ย่อมเป็นผู้ไม่เดือดร้อน ๑
ย่อมเป็นผู้ไม่หลงกระทำกาละ ๑
เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ของความอดทน ๕ ประการนี้แล.
จบทุติยอขันติสูตรที่ ๖
------------------------------------------------------------------------------
อรรถกถาทุติยอขันติสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในทุติยอขันติสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ลุทฺโท ได้แก่ ทารุณ ดุร้าย.
บทว่า วิปฺปฏิสารี คือ ประกอบด้วยความเก้อเขิน.
จบอรรถกถาทุติยอขันติสูตรที่ ๖
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 608
อนึ่งชื่อว่าขันตินี้ เป็นอาวุธไม่เบียดเบียนคนดี ในเพราะสมบูรณ์
ด้วยคุณสมบัติ เพราะกำจัดความโกรธอันเป็นปฏิปักษ์ต่อคุณธรรมไม่มีส่วน
เหลือ เป็นเครื่องประดับของผู้สามารถครอบงำผู้อื่นได้. เป็นพลสัมปทาของ
สมณพราหมณ์. เป็นสายน้ำกำจัดไฟคือความโกรธ. เป็นเครื่องชี้ถึงความ
เกิดแห่งกิตติศัพท์อันดีงาม. เมื่อเป็นมนต์และยาวิเศษระงับพิษคำพูดของคนชั่ว.
เป็นปกติของผู้มีปัญญายอดเยี่ยมของผู้ตั้งอยู่ในสังวร. เป็นสาครเพราะอาศัย
ความลึกซึ้ง. เป็นฝั่งของมหาสาครคือโทสะ. เป็นบานประตูปิดประตูอบาย.
เป็นบันไดขึ้นสู่เทวโลกและพรหมโลก. เป็นภูมิที่อยู่ของคุณทั้งปวง.
เป็นความบริสุทธิ์ กาย วาจา และใจ อย่างสูงสุด. พึงมนสิการด้วยประการ
ฉะนี้.
เอาบุญมาฝากได้ถวายสังฆทาน จำนวน 5 วันแล้ว
เมื่อวานนี้ได้ถวายสังฆทานกับเพื่อนวันนี้ก็ได้ถวายสังฆทานกับ
คุณแม่และหลานสาว
อนุโมทนาบุญกับผู้ใส่บาตรตามถนนหนทาง กรวดน้ำอุทิศบุญ เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน
รักษาศีล อาราธนาศีล เจริญวิปัสสนา ได้ปฏิบัติธรรม
ได้ถวายข้าวพระพุทธรูป สักการะพระธาตุ
ทำงานบ้านช่วยพ่อแม่ทุกวัน
และเจริญอาโปกสิน ศึกษษธรรม ศึกษาการรักษาโรค
รักษาผู้ป่วยฟรีไม่คิดค่าใช้จ่ายจำนวนหลายท่าน
วันนี้ได้นำพระธาตุไปประดิษานที่วัดจำนวน 1 วัด
และมีงานบวชพระ 3 องค์
และเมื่อวานนี้ได้รักษาอาการป่วยของคุณแม่
และได้แสดงความกตัญญูต่อบิดามารดา
และสร้างบารมีครบทั้ง 10 อย่าง ขอให้อนุโมทนาบุญด้วย
ขอเชิญสร้างสมเด็จองค์ปฐมใหญ่ที่สุดในโลก
โทร. ๐๘-๖๐๐๘๖๐๐๙