พระพุทธพจน์ - พุทธภาษิต พระธรรมเทศนา และ ธรรมะจากครูบาอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
พุธ 14 ก.ค. 2010 2:35 am
- re2.jpg (27.39 KiB) เปิดดู 1028 ครั้ง
อริยสัจ ... รู้แค่ “ความหมาย” ก็เป็นเพียง “ชาวพุทธในทะเบียน”
แต่ถ้าจะเป็น “ชาวพุทธเพราะความเพียร” ต้องรู้ “ข้อพึงปฏิบัติ” ต่ออริยสัจด้วย
๑. อริยสัจข้อ “ทุกข์”
ได้แก่ตัวทุกข์หรือตัวปัญหานั้น เรามีหน้าที่ต้อง “กำหนดรู้”
๒. อริยสัจข้อ “สมุทัย”
ได้แก่ต้นตอหรือเหตุให้เกิดทุกข์นั้น เรามีหน้าที่ต้อง “ละ”
๓. อริยสัจข้อ “นิโรธ”
ได้แก่ ความดับทุกข์อันเป็นเป้าหมายของการปฏิบัตินั้น เรามีหน้าที่ต้อง “ทำให้แจ้ง”
๔. อริยสัจข้อ “มรรค”
ได้แก่ หนทางให้ถึงความดับทุกข์นั้น เรามีหน้าที่ต้อง “เจริญให้เกิดให้มีขึ้น (หมายถึงให้ลงมือปฏิบัติ)”
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
การ “กำหนดรู้” ทุกข์
เป็นสิ่งที่หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ เน้นเป็นพิเศษ เพราะพวกเราอยู่ในสภาพที่คล้ายไส้เดือนไม่เห็นดิน ปลาไม่เห็นน้ำ นกไม่เห็นฟ้า ฯลฯ คืออยู่กับมัน เคยชินกับมัน เลยไม่เห็นหรือไม่รู้จักมันจริง ๆ เราอยู่กับทุกข์แต่ไม่เห็นทุกข์ ไปงานศพก็เห็นแต่คนอื่นตาย ไม่เกี่ยวกับเรา ไม่รู้จักการน้อมเข้ามาใส่ตัวเพื่อให้เห็นทุกข์ที่มีอยู่ประจำโลกคือ ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก ฯลฯ เรามัวร้องไห้ให้กับการตาย แต่ไม่ได้นึกเฉลียวใจเลยว่า เราควรร้องไห้ให้กับการเกิดจึงจะถูก เพราะมันมีเกิด มันจึงมีดับมีตาย
ข้อกำหนดรู้ทุกข์นี้ หลวงปู่สอนเราเตือนพวกเราเสมอ โดยแทบทุกเช้าที่หลวงปู่เปิดประตูก้าวเดินออกจากกุฏิ ท่านจะต้องอุทานให้ศิษย์ได้พึงระลึกเนือง ๆ ว่า
“เอ้อ...เกิด แก่ เจ็บตาย เน้อ”
นอกจากนี้ ท่านก็ให้เราหาโอกาศไปโรงเรียนสอนธรรมะที่ยอดเยี่ยม นั่นก็คือโรงพยาบาล เพื่อช่วยให้เราตระหนัก หรือกำหนดรู้ “ทุกข์” ให้ชัดและให้ถึงใจนั่นเอง
การ “ละ” สมุทัย
หลวงปู่่พูดสอนอยู่เสมอ ๆ ว่า
“ให้คอยระวัง และหมั่นละโลภ โกรธ หลง เพราะมันเป็นเหมือนหนอนที่คอยกัดกินความดีของเรา”
เพราะมันเป็นตัวย่ำยีหัวใจเราให้ต้องเป็นทุกข์บอบช้ำ
ความโลภ ทำให้เราอยู่ในอาการของคนยากไร้อดอยาก
ความโกรธ ทำให้ใจเราเดือดดาลมีนัยน์ตาที่แทบจะถลนออกมา
ความหลง ทำให้เราโง่ จมจ่อมอยู่กับสภาพที่ตรงกันข้ามกับ “รู้ ตื่น เบิกบาน”
การ “ทำให้แจ้ง” ซึ่งนิโรธ
หลวงปู่ท่านสอนผ่านตัวอย่างแบบชาวบ้าน ๆ เช่น สอนให้กลัวนรก สอนให้เห็นว่าบนสวรรค์นั้น เทวดาก็ยังมีกิเลส ยังมีทุกข์ กลัวตาย กลัวจุติ แม้พรหมก็เป็นที่นอนแช่ เป็นความเนิ่นช้า และไม่ปลอดภัยหากเกิดมาอีกในยุคที่ไม่พบพระพุทธศาสนา ฯลฯ
นิโรธ คือนิพพานเท่านั้น ที่เป็นจุดหมายปลายทางที่ปลอดภัย ที่เราต้องพยายามอย่างที่สุดที่จะเขยิบตัวเองให้เข้าไปให้ใกล้ ให้ถึง “หัวตะพาน” หรือ “หนึ่งในสี่” คือพัฒนายกตัวเราจากปุถุชนขึ้นเป็นกัลยณชน กระทั่งเป็นอริยบุคคลสูงขึ้น ๆ ไปตามลำดับ จนกว่าจะถึงที่สุดของการพัฒนาตัวเอง คือความเป็นผู้หมดกิเลส เข้าถึงนิโรธตั้งแต่ยังมีลมหายใจอยู่
การ “เจริญ” มรรค
หลวงปู่่กล่าวสอนไว้มากที่สุดในแง่มุมต่าง ๆ รวมทั้งกระตุ้นเร้าให้เราหมั่นปฏิบัติ ปรารภความเพียร และให้มองว่าการเจริญมรรค หรือก็คือการเจริญศีล สมาธิ และปัญญา มิใช่ส่วนเกินของชีวิต ท่านจึงเรียกการไปปฏิบัติภาวนาว่า “ไปทำงาน” เพราะมันเป็นเรื่องการงานทางจิต ชนิดที่ท่านกล่าวว่า
“ถ้าไม่เอา (ปฏิบัติ) เป็นเถ้าเสียดีกว่า”
เพื่อจะพูดให้แคบให้ตรงจุดเข้ามาในภาคปฏิบัติการงานทางจิต หลวงปู่จะใช้คำว่า
“ให้หมั่นดูจิต รักษาจิต”
ใช้ "สติ" เข้าไปกำหนดดูรู้สภาวะจิต ให้รู้โลภ โกรธ หลงที่มันครอบงำจิตอยู่ แล้วก็ให้ใช้ "ปัญญา" ชำระชะล้างโลภ โกรธ หลง เพื่อการรักษาจิตให้สะอาดบริสุทธ์ นิ่ง ใส เป็นกลางอยู่เสมอ คำว่าดูจิตและรักษาจิตจึงต้องใช้ควบคู่กัน แยกจากกันไม่ได้ เหมือนกับคำว่าสติและปัญญา การเจริญมรรคจึงจะครบถ้วนสมบูรณ์
การ “เจริญ” นี้เป็นการ “ปฏิบัติ” มิใช่ "ไร้การปฏิบัติ" แต่เป็นการปฏิบัติขูดกิเลสหรือสิ่งที่รกรุงรังที่ห่อหุ้มจิตใจเราออกไป หากไร้การปฏิบัติก็ไร้ผลงาน จะถึงนิโรธได้อย่างไร ? การจะเคลื่อนที่ไปหาจุดหมายนั้น หากไร้ซึ่งกิริยาการเดิน และการใช้ความเพียรพยายามแล้วนั้น เราจะไปถึงที่หมายได้อย่างไร ?
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ธรรมบทจากหลวงพ่อดู่ดอทคอม
พุธ 14 ก.ค. 2010 7:17 am
อ่านแล้วรู้สึกว่า
จริง ฮะ
ขอบพระคุณฮะ
พุธ 14 ก.ค. 2010 7:44 am
สาธุ สาธุ สาธุ เป็นปรมัตถธรรมอันดียิ่ง
ขอบคุณท่านอาจารย์รณธรรมสำหรับธรรมดีๆครับ
พุธ 14 ก.ค. 2010 2:47 pm
ขอบพระคุณและขออนุโมทนากับทุกท่านด้วยครับ
พุธ 14 ก.ค. 2010 5:54 pm
ขอบคุณครับ
จันทร์ 06 ก.ย. 2010 6:18 pm
สาธุ...ขอบคุณค่ะ
เสาร์ 11 ก.ย. 2010 5:15 am
ด้วยความยินดีขอรับ
เสาร์ 11 ก.ย. 2010 9:14 am
หายไปนานเลยนะครับท่านอาจารย์รณธรรม
Powered by phpBB © phpBB Group.
phpBB Mobile / SEO by Artodia.