Switch to full style
พระพุทธพจน์ - พุทธภาษิต พระธรรมเทศนา และ ธรรมะจากครูบาอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
ตอบกระทู้

วัตถุภายนอก

ศุกร์ 06 ส.ค. 2010 7:10 pm

ว่าตามพระวินัย พระภิกษุทำนาไม่ได้ ขุดดิน ถอนต้นกล้า ต้นหญ้าก็ไม่ได้

ผิดพระวินัย พระภิกษุอาจทำการช่วยเหลือมารดาและบิดาได้ ตามขอบเขต

ของพระวินัยบัญญัติ ไม่ใช่ทำเหมือนคฤหัสถ์ครับ
ในพระไตรปิฏกก็แสดงไว้ พระภิกษุรูปหนึ่งพรากใบไม้เขียว ก็อาบัติแล้ว
และก่อนตาย จิตเศร้าหมองเพราะไม่ได้ปลงอาบัติ ทำให้ไปเกิดในอบายภูมิ



พระภิกษุ เป็นเพศบรรพชิต ซึ่งเป็นเพศที่สูงกว่าคฤหัสถ์ ผู้ที่จะบวชเป็นพระภิกษุ

นั้น ท่านเป็นผู้ที่เห็นโทษเห็นภัยของอกุศล เห็นโทษเห็นภัยของการอยู่ครองเรือนว่า

เป็นที่หลั่งไหลมาของอกุศลประการต่าง ๆ มากมาย เมื่อบวชแล้ว มีความจริงใจที่จะ

ศึกษาพระธรรมวินัย ซึ่งเป็นคำสอนของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้ว

น้อมประพฤติปฏิบัติตาม เพื่อขัดเกลากิเลสของตนเองให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป

ความเป็นบรรพชิตรักษายากมาก ต้องเป็นผู้มีอัธยาศัยน้อมไปจริง ๆ ถึงจะรักษาได้

ทำให้ตนเองดำรงมั่นในพระธรรมวินัยและได้ประโยชน์สูงสุดคือ การรู้แจ้งอริยสัจจธรรม

ถึงความเป็นพระอริยบุคคลขั้นต่าง ๆ แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้าไม่ประพฤติตามพระ

ธรรมวินัย รักษาความเป็นบรรพชิตไม่ได้ หรือ รักษาไม่ดี ย่อมเป็นที่แน่นอนว่ามีแต่จะ

คร่าไปสู่นรก เท่านั้น ซึ่งเป็นอันตรายมาก
ข้อความบางตอนอยู่ในพระสุตตันตปิฎก คาถาธรรมบท เล่มที่ ๔๑ หน้า ๔๔๘

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒

หน้าที่ 448

"ตนนั่นแล บุคคลชนะแล้ว ประเสริฐ, ส่วน
หมู่สัตว์นอกนี้ บุคคลชนะแล้ว ไม่ประเสริฐเลย,
(เพราะ) เมื่อบุรุษฝึกตนแล้ว ประพฤติสำรวมเป็น
นิตย์, เทวดา คนธรรพ์ มาร พร้อมทั้งพรหม พึง
ทำความชนะของสัตว์เห็นปานนั้น ให้กลับแพ้ไม่ได้เลย."




พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ตอน ๑ หน้า ๔๒๔

"เรื่องบัณฑิตจอบเหี้ยน "

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในกรุงพาราณสี บุรุษผู้หนึ่ง

ชื่อกุททาลบัณฑิต บวชเป็นนักบวชภายนอกอยู่ในป่าหิมวันต์ ๘ เดือน เมื่อภูมิภาคชุ่ม

ชื้น ในสมัยที่ฝนตกชุก คิดว่า " ในเรือนของเรายังมีข้าวฟ่างและลูกเดือยประมาณ

ครึ่งทะนาน และจอบเหี้ยน (อีกอันหนึ่ง), พืชคือข้าวฟ่างและลูกเดือยอย่าเสียไป"

จึงสึก เอาจอบเหี้ยนปรับพื้นที่แห่งหนึ่ง หว่านพืชนั้น ทำรั้วไว้ ในเวลาที่เมล็ดพืชแก่ก็

เหี่ยว เก็บพืชไว้ประมาณทะนานหนึ่ง เคี้ยวกินพืชที่เหลือ. ท่านคิดว่า "บัดนี้ ประ-

โยชน์อะไรด้วยเรือนของเรา, เราจักบวชอีก ๘ เดือน" จึงออกบวชแล้ว.

ท่านอาศัยข้าวฟ่างและลูกเดือยเพียงหนึ่งทะนานและจอบเหี้ยน เป็นคฤหัสถ์ ๗ ครั้ง

บวช ๗ ครั้ง โดยทำนองนี้แล แต่ในครั้งที่ ๗ คิดว่า "เราอาศัยจอบเหี้ยนอันนี้

เป็นคฤหัสถ์แล้วบวชถึง ๗ ครั้ง, เราจักทิ้งมันในที่ไหน ๆ สักแห่งหนึ่ง." ท่านไปยัง

ฝั่งแม่น้ำคงคา คิดว่า " เราเมื่อเห็นที่ตก คงต้องลงงมเอา; เราจักทิ้งมัน โดย

อาการที่เราจะไม่เห็นที่ซึ่งมันตก" จึงเอาผ้าเก่าห่อพืชประมาณทะนานหนึ่ง แล้วผูกผ้า

เก่าที่แผ่นจอบ จับจอบที่ปลายด้าม ยืนที่ฝั่งแห่งแม่น้ำ หลับตาแกว่งเวียนเหนือ

ศีรษะ ๓ ครั้ง ขว้างไปในแม่น้ำคงคา หันไปดู ไม่เห็นที่ตก ได้เปล่งเสียงว่า "เรา

ชนะแล้ว เราชนะแล้ว(ชิตํ เม ชิตํ เม)" ดังนี้ ๒ ครั้ง.

ในขณะนั้น พระเจ้ากรุงพาราณสี ทรงปราบปัจจันตชนบทให้สงบราบคาบแล้ว

เสด็จมา โปรดให้ตั้งค่ายพัก ใกล้ฝั่งแม่น้ำ เสด็จลงสู่แม่น้ำ เพื่อทรงประสงค์จะ

สรงสนาน ได้ทรงสดับเสียงนั้น. ก็ธรรมดาว่า เสียงที่ว่า " เราชนะแล้ว เราชนะ

แล้ว" ย่อมไม่พอพระหฤทัยของพระราชาทั้งหลาย. พระองค์จึงเสด็จไปยังสำนักของ

กุททาลบัณฑิตนั้น ตรัสถามว่า " เราทำการย่ำยีอมิตร มาเดี๋ยวนี้ ก็ด้วยคิดว่า 'เรา

ชนะ' ส่วนเธอร้องว่า ' เราชนะแล้ว เราชนะแล้ว,' นี้ชื่อเป็นอย่างไร ?"

กุททาลบัณฑิต จึงทูลว่า "พระองค์ทรงชนะพวกโจรภายนอก, ความชนะที่

พระองค์ทรงชนะแล้ว ย่อมกลับเป็นไม่ชนะอีกได้แท้; ส่วนโจรคือความโลภ ซึ่งมี

ในภายใน อันข้าพระองค์ชนะแล้ว, โจรคือความโลภนั้น จักไม่กลับชนะข้าพระองค์

อีก ชนะโจรคือความโลภนั้นอย่างเดียวเป็นดี" ดังนี้แล้วจึงกล่าวคาถานี้ว่า

"ความชนะใด กลับแพ้ได้ ความชนะนั้น มิใช่-

ความชนะที่ดี, (ส่วน) ความชนะใด ไม่กลับแพ้

ความชนะนั้นแล เป็นความชนะที่ดี"



เอาบุญมาฝากได้ถวายสังฆทานมาหลายวัน
อนุโมทนาบุญกับผู้ใส่บาตรตามถนนหนทาง กรวดน้ำอุทิศบุญ เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน
รักษาศีล อาราธนาศีล เจริญวิปัสสนา ได้ปฏิบัติธรรม
ได้ถวายข้าวพระพุทธรูป สักการะพระธาตุ
ทำงานบ้านช่วยพ่อแม่และเจริญอาโปกสิน ศึกษาการรักษาโรค
วันนี้ได้สนทนาธรรมกับเพื่อนกัลยาณะมิตร
และสร้างบารมีครบทั้ง 10 อย่าง ขอให้อนุโมทนาบุญด้วย


ขอเชิญร่วมทำบุญบูชารูปเหมือนหลวงปู่เสาร์ กันตสีโร และรูปเหมือนหลวงปู่วัง ฐิติสาโร
ขนาดหน้าตัก 7 นิ้ว
เพื่อสมทบทุนบูรณะศาลาอนุสรณ์หลวงปู่วัง ฐิติสาโร บนยอดภูลังกา

โทร. 083 - 3755761
ตอบกระทู้