แข็งเป็นธรรมที่มีจริงๆ
ถ้ากระทบที่ตัวทุกคนก็แข็ง
แข็งเป็นธรรมที่มีจริงๆ
แข็งจริงๆรู้ได้
สภาพแข็งเป็นปรมัตถธรรม
ใครจะเปลี่ยนแข็งเป็นอย่างอื่นไม่ได้
เพระฉะนั้น
เมื่อเข้าใจว่าเป็นปรมัตถธรรมแล้ว
ไม่มีเรา ไม่มีตัวตน
พระพุทธศาสนาคือพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า(ไตรสิกขา) เจริญเพราะมี
ผู้เข้าใจและปฏิบัติตาม เสื่อมเพราะไม่มีผู้เข้าใจและไม่มีผู้ปฏิบัติตาม อันที่จริง
สัตว์ทั้งหลายเสื่อมจากศาสนา เพราะศาสนาไม่มีอยู่ในใจคน จึงมีสำนวนพูดว่า
ศาสนาเสื่อม..
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ทสกนิบาต เล่ม ๓๘ - หน้าที่ ๒๐๗
๕. ปฐมสุขสูตร
(ว่าด้วยเหตุให้เกิดทุกข์และสุข)
[๖๕] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรอยู่ที่นาลกคาม แคว้นมคธ ครั้งนั้นแล
ปริพาชกชื่อว่าสามัณฑกานิ เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับ
ท่านพระสารีบุตร ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้าง
หนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามท่านพระสารีบุตรว่า ดูก่อนท่านพระสารีบุตร อะไรหนอเป็นเหตุ
ให้เกิดสุข อะไรหนอเป็นเหตุให้เกิดทุกข์.
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ การเกิดเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ การ
ไม่เกิดเป็นเหตุให้เกิดสุข ดูก่อนท่านผู้มีอายุ เมื่อมีการเกิด เป็นอันหวังได้ทุกข์นี้
คือ ความหนาว ความร้อน ความหิว ความระหาย อุจจาระ ปัสสาวะ สัมผัสไฟ
สัมผัสท่อนไม้ สัมผัสศัสตรา ญาติก็ดี มิตรก็ดี ย่อมมาประชุมพร้อมกัน โกรธเคือง
เขา ดูก่อนท่านผู้มีอายุ เมื่อมีการเกิด เป็นอันหวังได้ทุกข์นี้, ดูก่อนท่านผู้มีอายุ
เมื่อไม่มีการเกิด เป็นอันหวังได้สุขนี้ คือ ความไม่หนาว ความไม่ร้อน ความไม่หิว
ความไม่ระหาย ไม่ต้องอุจจาระ ไม่ต้องปัสสาวะ ไม่ต้องสัมผัสไฟ ไม่ต้องสัมผัส
ท่อนไม้ ไม่ต้องสัมผัสศัสตรา ญาติก็ดี มิตรก็ดี ย่อมไม่มาประชุมพร้อมกัน โกรธเคือง
เขา ดูก่อนผู้มีอายุ เมื่อไม่มีการเกิด เป็นอันหวังได้สุขนี้ ดังนี้ .
จบปฐมสุขสูตรที่ ๕
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒๖ หน้าที่ ๑๓๐ - ๑๔๐
๔. อัญญติตถิยสูตร
(ว่าด้วยทุกข์ในวาทะ ๔)
(นำมาเพียงบางส่วน)
[๗๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน กรุง-
ราชคฤห์. ครั้งนั้นแล เป็นเวลาเช้า ท่านพระสารีบุตรนุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไป
สู่กรุงราชคฤห์ เพื่อบิณฑบาต ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตรได้มีความคิดดังนี้ว่า
เวลานี้ยังเช้าเกินไปที่จะเที่ยวบิณฑบาต ในกรุงราชคฤห์ อย่ากระนั้นเลย เราพึงเข้า
ไปยังอารามของพวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์เถิด ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตรได้
เข้าไปยังอารามของพวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ ครั้นแล้วได้สนทนาปราศรัยกับปริพา-
ชกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้น ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ
ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
[๗๒] ท่านพระสารีบุตรพอนั่งเรียบร้อยแล้ว พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ได้
กล่าวกะท่านดังนี้ว่า ดูก่อนท่านสารีบุตร มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งผู้กล่าวกรรม ย่อม
บัญญัติว่า ทุกข์ตนทำเอง มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งผู้กล่าวกรรม ย่อมบัญญัติว่า ทุกข์
ผู้อื่นทำให้ มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งผู้กล่าวกรรม ย่อมบัญญัติว่า ทุกข์ ตนทำเอง
ด้วย ผู้อื่นทำให้ด้วย อนึ่ง มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งผู้กล่าวกรรม ย่อมบัญญัติ
ว่า ทุกข์เกิดขึ้นเอง เพราะอาศัยการที่มิใช่ตนเองกระทำ มิใช่ผู้อื่นกระทำ ดูก่อน
ท่านสารีบุตร ก็ในวาทะทั้ง ๔ นี้ พระสมณโคดมกล่าวไว้อย่างไร บอกไว้อย่างไร
พวกข้าพเจ้าพยากรณ์อย่างไร จึงจะชื่อว่าเป็นผู้กล่าวตามที่พระสมณโคดมกล่าวแล้ว
จะไม่กล่าวตู่พระสมณโคดมด้วยคำไม่จริง และพยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรม ทั้งการ
คล้อยตามวาทะที่ถูกไร ๆ จะไม่พึงถึงฐานะอันวิญญูชนจะพึงติเตียนได้.
[๗๓] ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ดูก่อนท่านทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัส
ว่า ทุกข์เป็นของอาศัยเหตุเกิดขึ้น ทุกข์อาศัยอะไรเกิดขึ้น ทุกข์อาศัยผัสสะ
เกิดขึ้น บุคคลผู้กล่าวดังนี้ จึงจะชื่อว่าเป็นผู้กล่าวตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
แล้ว ไม่กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคำไม่จริง และพยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรม
ทั้งการคล้อยตาม วาทะที่ถูกไร ๆ ก็จะไม่พึงถึงฐานะอันวิญญูชนจะติเตียนได้ ดูก่อน
ท่านทั้งหลายในวาทะทั้ง ๔ นั้น แม้ทุกข์ที่พวกสมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรม
บัญญัติว่า ตนทำเอง ก็ย่อมเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย แม้ทุกข์ที่พวกสมณพราหมณ์
ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า ผู้อื่นทำให้ ก็ย่อมเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย แม้ทุกข์ที่
พวกสมณพราหมณ์ผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า ตนทำเองด้วย ผู้อื่นทำให้ด้วย ก็ย่อม
เกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย แม้ทุกข์ที่พวกสมณพราหมณ์ผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า
เกิดเอง เพราะอาศัยการที่มิใช่ตนเองกระทำ มิใช่ผู้อื่นกระทำให้ ก็ย่อมเกิดเพราะ
ผัสสะเป็นปัจจัย ดูก่อนท่านทั้งหลาย ในวาทะทั้ง ๔ นั้น พวกสมณพราหมณ์ซึ่ง
เป็นผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า ทุกข์ตนทำเอง เว้นผัสสะเสีย เขาย่อมเสวยทุกข์ดังนี้
มิใช่ฐานะที่จะมีได้ แม้พวกสมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า ทุกข์ผู้อื่นทำ
ให้ เว้นผัสสะเสีย เขาย่อมเสวยทุกข์ดังนี้ ก็มิใช่ฐานะที่จะมีได้ แม้พวกสมณพราหมณ์
ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า ทุกข์ตนทำเองด้วย ผู้อื่นทำให้ด้วย เว้นผัสสะเสีย
เขาย่อมเสวยทุกข์ดังนี้ ก็มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ถึงพวกสมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าว
กรรมบัญญัติว่า ทุกข์เกิดเองเพราะอาศัยการที่มิใช่ตนเองกระทำ มิใช่ผู้อื่นกระทำให้
เว้นผัสสะเสีย เขาย่อมเสวยทุกข์ ดังนี้ ก็มิใช่ฐานะจะมีได้ ดังนี้. ...ฯลฯ...
ข้อความโดยสรุป
ปฐมสุขสูตร
(ว่าด้วยเหตุให้เกิดทุกข์และสุข)
ปริพาชกชื่อสามัณฑกานิ ได้ถามปัญหากับท่านพระสารีบุตรถึงเหตุของทุกข์และ
สุข ว่าเป็นอย่างไร ท่านพระสารีบุตร ได้ตอบว่า การเกิดเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ การ
ไม่เกิดเป็นเหตุให้เกิดสุข เพราะมีการเกิด จึงมีทุกข์ประการต่าง ๆ มากมาย คือ
ต้องประสบกับความหนาว ความร้อน ความหิว ความกระหาย ต้องถ่ายอุจจาระ
ปัสสาวะ เป็นต้น ในทางตรงกันข้าม การไม่เกิด เป็นเหตุให้เกิดสุข เพราะไม่มีการ
เกิด จึงไม่ต้องมีทุกข์ ไม่ต้องประสบกับความหนาว ความร้อน ความหิว ความกระหาย
ไม่ต้องถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ เป็นต้น จึงเป็นสุข.
-----------------------------------
ข้อความโดยสรุป
อัญญติตถิยสูตร*
(ว่าด้วยทุกข์ในวาทะ ๔)
อัญญเดียรถีย์ปริพาชก ได้สนทนากับท่านพระสารีบุตร ว่า มีวาทะในเรื่องทุกข์
ของสมณพราหมณ์ ๔ พวก ดังนี้ คือ
๑. ทุกข์ ตนทำเอง
๒. ทุกข์ ผู้อื่นทำให้
๓. ทุกข์ ตนทำเองด้วย ผู้อื่นทำให้ด้วย ๔. ทุกข์ เกิดขึ้นเอง ไม่ใช่ตนเองทำ ไม่ใช่ผู้อื่นทำให้
แล้วได้ถามท่านพระสารีบุตร ว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงในเรื่องนี้ไว้อย่างไร
เมื่อกล่าวอย่างไรจึงจะชื่อว่ากล่าวตรงตามพระดำรัสของพระองค์
ท่านพระสารีบุตร ตอบว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงว่า ทุกข์ อาศัยเหตุ
เกิดขึ้น กล่าวคือ ทุกข์อาศัยผัสสะเกิดขึ้น เมื่อกล่าวอย่างนี้จึงจะชื่อว่ากล่าวตรง
ตามพระดำรัสของพระองค์, แม้ทุกข์ ตามที่เป็นความเห็นของพวกสมณพราหมณ์
เหล่านั้น ก็ต้องอาศัยผัสสะเกิดขึ้นทั้งนั้น เว้นผัสสะ เขาจะเสวยทุกข์ นั่น ย่อมเป็น
ไปไม่ได้.
*หมายเหตุ คำว่า อญฺญติตฺถิย แปลว่า อัญญเดียรถีย์ ตามศัพท์ หมายถึง ผู้แล่น
ไปสู่ท่าอื่น กล่าวคือ นักบวชนอกพระพุทธศาสนา ไม่ได้อยู่ในพระธรรมวินัยนี้ ครับ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ หน้า๓๖๗
พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสพระคาถานี้ว่า "ความเร่าร้อน ย่อมไม่มีแก่ท่านผู้มีทางไกล-
อันถึงแล้ว หาความเศร้าโศกมิได้ หลุดพ้นแล้วใน-
ธรรมทั้งปวง ผู้ละกิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งปวงได้แล้ว"
แก้อรรถ บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า คตทฺธิโน ได้แก่ ผู้มีทางไกลอันถึงแล้ว. ชื่อว่า
ทางไกลมี ๒ อย่าง คือ ทางไกลคือกันดาร ทางไกลคือวัฏฏะ, บรรดาทางไกล ๒
อย่างนั้น ผู้เดินทางกันดาร ยังไม่ถึงที่ที่ตนปรารถนาเพียงใด ก็ชื่อว่าผู้เดิน
ทางไกลเรื่อยไปเพียงนั้น, แต่เมื่อทางไกลนั้นอันเขาถึงแล้ว ย่อมเป็นผู้ชื่อว่ามีทาง
ไกลอันถึงแล้ว, ฝ่ายสัตว์ทั้งหลายแม้ผู้อาศัยวัฏฏะ ยังอยู่ในวัฏฏะเพียงใด; ก็ชื่อ
ว่าผู้เดินทางไกลเรื่อยไปเพียงนั้น. มีคำถามสอดเข้ามาว่า เพราะเหตุไร ? แก้ว่า
เพราะความที่วัฏฏะอันตนยังให้สิ้นไปไม่ได้. แม้พระอริยบุคคลทั้งหลายมีพระโสดาบัน
เป็นต้น ก็ชื่อว่าผู้เดินทางไกลเหมือนกัน. ส่วนพระขีณาสพ(ผู้สิ้นอาสวะ,พระอรหันต์)
ยังวัฏฏะให้สิ้นไปได้แล้วดำรงอยู่ ย่อมเป็นผู้ชื่อว่ามีทางไกลอันถึงแล้ว.
(จาก อภัยเถรคาถา)
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ ๔๕๗
ก็พระอภัยเถระครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว เมื่อจะแสดงว่า สำหรับผู้ที่(ประพฤติ)
คล้อยตามกิเลส ไม่มีโอกาสที่จะยกศีรษะขึ้นจากวัฏฏทุกข์ได้เลย ส่วนตัวเรา
ไม่ประพฤติตามกิเลสเหล่านั้น ดังนี้ ด้วยการชี้ให้เห็นการบังเกิดขึ้นแห่งกิเลสของตน
ได้กล่าวคาถาว่า เมื่อบุคคลได้เห็นรูปแล้ว มัวใส่ใจถึงอารมณ์อัน
เป็นที่รัก สติก็หลงลืม ผู้ใดมีจิตกำหนัด ยินดีเสวย
รูปารมณ์ รูปารมณ์ก็ครอบงำผู้นั้น อาสวะทั้งหลาย
ย่อมเจริญแก่ผู้นั้น ผู้เข้าถึงซึ่งมูลแห่งภพ ดังนี้.
----------------------------
(จาก อุตติยเถรคาถา)
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ ๔๕๙ ก็พระอุตติยะเถระ ครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว เมื่อจะแสดงความว่า เมื่อบุคคล
ไม่รังเกียจกิเลสทั้งหลาย ย่อมไม่มีทางที่จะยกศีรษะขึ้นจากทุกข์ในวัฏฏะได้ ส่วนเรา
รังเกียจกิเลสเหล่านั้นแล้วทีเดียว ดังนี้ โดยมุ่งแสดงให้เห็นการบังเกิดขึ้นแห่งกิเลส
ของตน ได้กล่าวคาถาว่า บุคคลผู้ได้สดับเสียงแล้ว พึงใส่ใจถึงอารมณ์
อันเป็นที่รัก สติก็หลงลืม ผู้ใดมีจิตกำหนัดยินดี
เสวยสัททารมณ์ สัททารมณ์ก็ครอบงำผู้นั้น อาสวะ
ย่อมเจริญแก่ผู้นั้น ผู้เข้าถึงซึ่งสังสาระ(สังสารวัฏฏ์).
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ ๙๔
บทว่า เวฬุวัน ในบทว่า “พระวิหารเวฬุวัน อันเป็นที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต”
เป็นชื่อของอุทยานนั้น. .... อนึ่ง ชนทั้งหลาย ได้ให้เหยื่อแก่กระแต ในสวนเวฬุวันนี้
ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า กลันทกนิวาปะ (อันเป็นที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต)
มีเรื่องเล่าว่า ครั้งก่อน พระราชาพระองค์หนึ่งเสด็จประพาสสวน ณ ที่นั้น เสวยน้ำ
โสม(สุรา) จนทรงเมา บรรทมหลับในกลางวัน. แม้ชนบริวารของพระองค์ ก็คิด
กันว่า พระราชาบรรทมหลับแล้ว ดังนี้ ถูกยั่วด้วยดอกไม้และผลไม้เป็นต้น จึงเลี่ยงออก
ไปจากที่นั้น ๆ.
ครั้งนั้น งูเห่า เพราะได้กลิ่นเหล้า จึงเลื้อยออกจากโพรงไม้ต้นหนึ่งมาอยู่เฉพาะพระ
พักตร์พระราชา. รุกขเทวดาเห็นงูนั้น คิดว่า “เราจะให้ชีวิตพระราชา” ดังนี้ จึงแปลง
เพศเป็นกระแต มาแล้ว ทำเสียงใกล้พระกรรณ (หู) ของพระราชา. พระราชาทรงตื่น.
งูเห่าก็เลื้อยหนีไป. พระราชาทอดพระเนตรเห็นกระแตนั้น ทรงพระดำริว่า “กระแตนี้ให้
ชีวิตเรา” จึงรับสั่งให้จัดหาเหยื่อมาตั้งไว้ ณ ที่นั้น รับสั่งให้ประกาศให้อภัยแก่กระแต
ทั้งหลาย. เพราะฉะนั้น ตั้งแต่นั้นมา ที่นั้นจึงถือว่าเป็นที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต. (ข้อความตอนหนึ่งจาก ... อรรถกถา ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค สิงคาลกสูตร)
เอาบุญมาฝากได้ถวายสังฆทาน อนุโมทนาบุญกับผู้ใส่บาตรตามถนนหนทาง กรวดน้ำอุทิศบุญ เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน รักษาศีล อาราธนาศีล เจริญวิปัสสนา ได้ปฏิบัติธรรม ได้ถวายข้าวพระพุทธรูป สักการะพระธาตุ ทำงานบ้านช่วยพ่อแม่และเจริญอาโปกสิน ศึกษาการรักษาโรค
และที่ผ่านมาได้นำทองคำไปใช้หล่อพระและใช้ในงานศาสนา
และได้ล้างห้องน้ำสาธารณะ ทำความสะอาดที่สาธารณะกับเพื่อน
และได้ให้อาหารสัตว์เป็นทานเป็นประจำและได้สวดมนต์มาตลอด
และได้นำพระธาตุไปประดิษฐานที่วัดหลายแห่ง และสร้างบารมีครบทั้ง 10 อย่าง ขอให้อนุโมทนาบุญด้วย
ขอเชิญชวนพุทธศาสนิกชนทั้งแผ่นดิน ร่วมเป็นเจ้าภาพทอดกฐินสามัคคี สมทบทุนสร้างศาลาพระเวสสันดร ทอด ณ วัดบ้านโพธิ์ ตำบลหนองบัว อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ วันอาทิตย์ ที่ ๗ เดือนพฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๕๓ (ตรงกับวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๑๒)
โทร. ๐๘ ๑๐๖๘ ๑๙๙๙
|