พระพุทธพจน์ - พุทธภาษิต พระธรรมเทศนา และ ธรรมะจากครูบาอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
พฤหัสฯ. 12 ส.ค. 2010 9:20 am
บุคคลไม่ควรทำคำแสยงขนของคนเหล่าอื่น
ไว้ในใจ, ไม่ควรแลดูกิจที่ทำแล้วและยังมิได้ทำ
ของคนเหล่าอื่น,พึงพิจารณากิจที่ทำแล้ว
และยังมิได้ทำของตนเท่านั้น."
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท
เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 63
เมื่ออกุศลจิตขณะใดมีกำลังแรงกล้า ก็จะเป็นเหตุให้เจตนากระทำ
อกุศลกรรมบถ ๑๐ คือ
กายกรรม ๓ ได้แก่ ปาณาติปาต (ฆ่าสัตว์ที่มีชีวิต) ๑ อทินนาทาน
(ถือทรัพย์ที่เจ้าของไม่ได้ให้มาเป็นของตน) ๑ กาเมสุมิจฉาจาร (ประพฤติผิดใน
กาม) ๑
วจีกรรม ๔ ได้แก่ มุสาวาท (พูดเท็จ)๑ ผรุสวาท (พูดคำหยาบ)๑
ปิสุณวาจา (พูดคำส่อเสียด) ๑ สัมผัปปลาปวาจา (พูดเพ้อเจ้อ) ๑
มโนกรรม ๓ ได้แก่ อภิชฌา (คิดเพ่งเล็งเอาของของผู้อื่นมาเป็น
ของตน ) ๑ พยาปาท (คิดเบียดเบียนทำร้ายผู้อื่น) ๑ มิจฉาทิฏฐิ (คิดเห็นผิด
ว่าผลของกรรมไม่มี เป็นนัตถิกทิฏฐิ คือ เห็นว่าผลที่เกิดขึ้นนั้นไม่ได้เกิดจาก
กรรม ๑ เห็นผิดว่ากรรมไม่มีผล เป็นอเหตุกทิฏฐิ คือ เห็นว่ากรรมไม่เป็นเหตุให้
เกิดผล ๑ เห็นผิดว่ากรรมเป็นเพียงกิริยาอาการของกายเท่านั้น เป็นอกิริยา
ทิฏฐิ ๑) ๑
เมื่ออกุศลจิตที่เป็นเหตุให้กระทำอกุศลกรรมบถดับไปแล้ว เจตนา
เจตสิกที่เกิดกับอกุศลจิตที่ดับไปนั้น ก็เป็นกัมมปัจจัยให้อกุศลวิบากจิต ๗ ดวง
เกิดขึ้นเป็นผลของกรรมนั้นๆ เมื่อถึงกาลอันสมควร
ปเจตนสูตร
(ว่าด้วยความคดของไม้กับความคดของคน)
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๓๔ - หน้า ๔๑ - ๔๕
๕. ปเจตนสูตร
(ว่าด้วยความคดของไม้กับความคดของคน)
[๔๕๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ อิสิปตนมิคทายวัน ใกล้กรุง
พาราณสี พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายในที่นั้นแล ด้วยพระพุทธดำรัส
ว่า ภิกฺขโว (ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย) ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลขานรับต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า
ด้วยคำว่า ภทนฺเต (พระพุทธเจ้าข้า) แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสพระธรรม-
เทศนานี้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ยังมีพระราชา ทรงพระนามว่า ปเจตนะ
ครั้งนั้น พระเจ้าปเจตนะ ตรัสเรียกช่างทำรถมารับสั่งว่า แน่ะสหายช่างทำรถ แต่นี้
ล่วงไป ๖ เดือน สงความจักมีแก่ข้า เจ้าอาจทำล้อรถใหม่คู่หนึ่งให้ข้าได้หรือไม่?
ช่างทำรถทูลรับต่อพระเจ้าปเจตนะว่า ได้พระเจ้าข้า. ครั้งนั้น ช่างทำรถ ทำล้อได้ข้าง
เดียวสิ้นเวลาถึง ๖ เดือน หย่อนอยู่ ๖ วัน (คือ ๕ เดือน ๒๔ วัน) พระเจ้าปเจตนะ จึง
ตรัสเรียกช่างทำรถมารับสั่งถามว่า แน่ะสหายช่างทำรถ แต่นี้ล่วงไป ๖ วัน สงคราม
จักเกิดละ ล้อรถคู่ใหม่สำเร็จแล้วหรือ? ช่างทำรถ ทูลว่า ขอเดชะ โดยเวลา ๖
เดือนหย่อนอยู่ ๖ วันนี้ ล้อสำเร็จได้ข้างเดียว. พระราชารับสั่งว่า ก็เจ้าจะทำล้อข้างที่
๒ ให้สำเร็จโดยเวลา ๖ วันนี้ได้หรือไม่? ช่างทำรถ ทูลรับว่า ได้ แล้วก็ทำล้อข้างที่
๒ สำเร็จโดยเวลา ๖ วัน แล้วนำล้อคู่ใหม่ไปเฝ้าพระเจ้าปเจตนะ ครั้นเข้าไปถึงแล้ว
กราบทูลว่า นี่พระเจ้าข้า ล้อรถคู่ใหม่ของพระองค์สำเร็จแล้ว. พระราชา รับสั่งว่า
สหายช่างทำรถ ล้อข้างที่ทำแล้ว ๖ เดือนหย่อน ๖ วัน กับ ล้อข้างที่ทำแล้ว ๖ วัน นี้
ต่างกันอย่างไร ข้าไม่เห็นความต่างกันสักหน่อย. ช่างทำรถ ทูลว่า มีอยู่ พระเจ้าข้า
ความต่างกันของล้อทั้งสองนั้น ขอเชิญพระองค์ทอดพระเนตรความต่างกัน ว่าแล้ว
ช่างทำรถก็หมุนล้อข้างที่ทำแล้ว ๖ วัน มันกลิ้งไปพอสุดกำลังหมุนแล้วก็ตะแคงล้ม
ลงดิน แล้วก็หมุนข้างที่ทำ ๖ เดือนหย่อน ๖ วัน มันกลิ้งไปสุดกำลังหมุนแล้วก็ตั้งอยู่
ราวกะติดอยู่กับเพลา.
พระเจ้าปเจตนะตรัสถามว่า เหตุอะไร ปัจจัยอะไร สหายช่างทำรถ ล้อข้างที่
ทำแล้ว ๖ วันนี้ กลิ้งไปสุดกำลังหมุนแล้วจึงตะแคงล้มลงดิน, เหตุอะไร ปัจจัยอะไร
สหายช่างทำรถ ล้อข้างที่ทำแล้ว ๖ เดือนหย่อน ๖ วันนั้น กลิ้งไปสุดกำลังหมุนแล้ว
จึงตั้งอยู่ราวกะติดอยู่กับเพลา.
ช่างทำรถ ทูลชี้แจงว่า ข้าแต่สมมติเทพ ล้อข้างที่ทำแล้ว ๖ วันนี้ กงของมันก็
ประกอบด้วยไม้ที่คด ที่มีโทษ ที่มีกสาวะ(คือเป็นไม้ที่แก่นและกระพี้ ยังมียาง) กำ ...
ดุมก็ประกอบด้วยไม้ที่คด ที่มีโทษที่มีกสาวะ เพราะความที่กง ... กำ ... ดุมประกอบ
ด้วยไม้ที่คด ที่มีโทษ ที่มีกสาวะ มันกลิ้งไปสุดกำลังหมุนแล้วจึงตะแคงล้มลงดิน
ส่วนล้อข้างที่ทำแล้ว ๖ เดือนหย่อน ๖ วัน กงของมันไม่มีคด ไม่มีโทษ ไม่มีกสาวะ
กำ... ดุมก็ไม่มีคด ไม่มีโทษ ไม่มีกสาวะ เพราะความที่กง ... กำ ... ดุม ไม่มีคด
ไม่มีโทษ ไม่มีกสาวะ มันกลิ้งไปสุดกำลังหมุนแล้วจึงตั้งอยู่ได้ราวกะติดอยู่กับเพลา.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายคงนึกอย่างนี้ว่า ช่างทำรถ คราวนั้นเป็นคนอื่น
เป็นแน่ แต่เธอทั้งหลายอย่าเข้าใจอย่างนั้น เราเองเป็นช่างทำรถสมัยนั้น ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อครั้งนั้น เราเป็นผู้ฉลาดต่อความคดของไม้ โทษของไม้ กสาวะ
ของไม้ แต่กาลบัดนี้ เราเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นผู้ฉลาดต่อความคด
ทางกาย ... ทางวาจา ... ทางใจ ต่อโทษ ... ต่อมลทิน ทางกาย ... ทางวาจา ...
ทางใจ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความคด ... โทษ ... มลทินทางกาย ...ทางวาจา...ทางใจ
ของผู้ใดผู้หนึ่ง ภิกษุก็ตาม ภิกษุณีก็ตาม ยังละไม่ได้แล้ว ภิกษุ ภิกษุณีเหล่านั้นก็ตก
ไปจากพระธรรมวินัยนี้ เหมือนล้อรถที่ทำแล้ว ๖ วัน ฉะนั้น ความคด ... โทษ ...
มลทินทางกาย ... ทางวาจา ... ทางใจ ของผู้ใดผู้หนึ่ง ภิกษุก็ตาม ภิกษุณีก็ตาม
ละได้แล้ว ภิกษุ ภิกษุณีเหล่านั้น ก็ตั้งมั่นอยู่ในพระธรรมวินัยนี้ได้ เหมือนล้อรถที่ทำ
แล้ว ๖ เดือนหย่อน ๖ วันฉะนั้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลาย พึงศึกษาในข้อนี้อย่างนี้
ว่า เราทั้งหลายจักละความคดทางกาย โทษทางกาย มลทินทางกาย จักละ
ความคดทางวาจา โทษทางวาจา มลทินทางวาจา จักละความคดทางใจ โทษ
ทางใจ มลทินทางใจ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย พึงศึกษาอย่างนี้แล.
จบปเจตนสูตรที่ ๕
อรรถกถาปเจตนสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในปเจตนสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้ .-
ความหมายของคำว่า อิสิปตนะ
บทว่า อิสิปตเน ความว่า อันเป็นที่ที่พวกฤาษี กล่าวคือพระพุทธเจ้า และ
พระปัจเจกพุทธเจ้า มาพัก เพื่อประกาศธรรมจักร และเพื่อต้องการทำอุโบสถ
อธิบายว่า เป็นสถานที่ประชุม. บาลีว่า ปทเน ดังนี้ก็มี ความหมายก็อย่างนี้เหมือนกัน.
บทว่า มิคทาเย ความว่า ในป่าที่พระราชทานเพื่อต้องการให้เป็นสถานที่ที่ไม่มีภัย
สำหรับเนื้อทั้งหลาย.
บทว่า ฉหิ มาเสหิ ฉารตฺตูเนหิ ความว่า ได้ยินว่า ช่างรถนั้นจัดแจงอุปกรณ์
ทุกชนิด แล้วเข้าป่าพร้อมด้วยอันเตวาสิก(ลูกศิษย์) ในวันที่ได้รับกระแสพระบรมราช-
โองการเลยทีเดียว เว้นต้นไม้ที่ขึ้นอยู่ตามประตูหมู่บ้าน กลางหมู่บ้าน เทวสถาน
และสุสานเป็นต้น และต้นไม้ที่ถูกไฟไหม้ ต้นไม้ล้มและต้นไม้แห้ง เลือกเอาต้นไม้
ที่ขึ้นอยู่ในภูมิประเทศที่ดี ปราศจากโทษทั้งหมด สมควรใช้ทำดุม ซี่กำและกงได้
มาทำเป็นล้อรถนั้น เมื่อช่างไม้เลือกเอาต้นไม้มาทำเป็นล้อรถอยู่นั้น เวลาเท่านี้ ๖
เดือนหย่อน ๖ ราตรี ก็ล่วงเลยไป ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
ฉหิ มาเสหิ ฉารตฺตูเนหิ ดังนี้.
บทว่า นานากรณ ได้แก่ ความแตกต่างกัน. บทว่า เนส ตัดบทเป็น น เอ
สํ แปลว่า เรามองไม่เห็นความแตกต่างของล้อเหล่านั้น. บทว่า อตฺเถสํ ตัดบทเป็น
อตฺถิ เอส แปลว่า ข้าแต่สมมติเทพ ล้อทั้ง ๒ นั้นมีความแตกต่างกันอยู่. บทว่า
อภิสงฺขารสฺส คติ ได้แก่ การหมุนไป. บทว่า จิงฺคุลายิตฺวา แปลว่า ตะแคงไป.
บทว่า อกฺขาหต มญฺเ ความว่า เหมือนวางสอดเข้าไปในเพลา. บทว่า สโทสา
ความว่า มีปม คือประกอบด้วยที่สูง ๆ ต่ำ ๆ. บทว่า สกสาวา ความว่า ติดแก่นที่เน่า
และกระพี้.
บทว่า กายวงฺกา เป็นต้น เป็นชื่อของทุจริตทั้งหลาย มีกายทุจริต เป็นต้น.
บทว่า เอวํ ปปติตา ความว่า ตกไปโดยพลาดจากคุณความดีอย่างนี้. บทว่า เอวํ
ปติฏฺิตา ความว่า ดำรงอยู่โดยคุณธรรมอย่างนี้. ในบรรดาบุคคลเหล่านั้น
โลกิยมหาชน ชื่อว่าตกไปแล้ว จากคุณความดี. ส่วนพระอริยบุคคล มีพระโสดาบัน
เป็นต้น ชื่อว่า ตั้งมั่นอยู่แล้ว ในคุณความดี. แม้ในจำนวนของพระอริยบุคคล ๔
ประเภทเหล่านั้น พระอริยบุคคล ๓ ประเภทข้างต้น ชื่อว่าตกไปแล้วจากคุณงามความดี
ในขณะที่กิเลสทั้งหลายฟุ้งขึ้น. ส่วนพระขีณาสพ ชื่อว่าตั้งมั่นอยู่แล้วโดยส่วนเดียว
โดยแท้. บทว่า ตสฺมา ความว่า เพราะเหตุที่พระอริยเจ้า ๓ ประเภทข้างต้น ผู้ยังละ
ความคดทางกายไม่ได้ เป็นต้น จึงตกไป ส่วนพระขีณาสพทั้งหลาย ผู้ละความคด
ทางกายเป็นต้นได้แล้ว ย่อมตั้งมั่นอยู่ ในคุณความดี.
อนึ่ง พึงทราบการละความคดทางกายเป็นต้น ดังต่อไปนี้ ก่อนอื่นอกุศลกรรมบถ
๖ ข้อเหล่านั้น คือ ปาณาติบาต อทินนาทาน มิจฉาจาร มุสาวาท ปิสุณาวาจา
มิจฉาทิฏฐิ พระอริยบุคคลย่อมละได้ด้วยโสดาปัตติมรรค. สองอย่างคือ ผรุสวาจา
พยาบาท จะละได้ด้วยอนาคามิมรรค, สองอย่างคือ อภิชฌา สัมผัปปลาปะ จะละ
ได้ด้วยอรหัตมรรค.
จบอรรถกถาปเจตนสูตรที่ ๕.
ข้อความโดยสรุป
ปเจตนสูตร
(ว่าด้วยความคดของไม้ กับ ความคดของคน)
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงธรรมแก่พระภิกษุทั้งหลาย โดยเล่าเรื่องในอดีต
เปรียบเทียบ ดังต่อไปนี้ คือ พระเจ้าปเจตนราช ทรงรับสั่งให้ช่างทำรถ ทำล้อรถ ๑ คู่
ให้แล้วเสร็จภายใน ๖ เดือน เนื่องจากว่าสงครามจะเกิดขึ้นแล้ว ทำให้เสร็จเพื่อใช้ใน
ศึกสงคราม ช่างทำรถ ได้ทำล้อรถข้างหนึ่งเสร็จ โดยใช้เวลา ๕ เดือน ๒๔ วัน
อีกข้างหนึ่งยังไม่ได้ทำเลย พระเจ้าปเจตนราชจึงตรัสสั่งให้ทำให้เสร็จภายใน ๖ วัน
ช่างทำรถ ก็กระทำเสร็จภายในเวลา ๖ วัน แล้วนำไปถวาย พระเจ้าปเจตนราชได้
ตรัสถามถึงความแตกต่างของล้อรถทั้งคู่
ช่างทำรถ ได้กราบทูลอธิบายว่า ล้อรถที่ทำในเวลา ๖ วัน คุณภาพไม่ดี แล่นไป
หน่อยหนึ่งก็ล้ม เพราะไม้คด เป็นไม้มีปุ่มปม และเป็นไม้ที่แก่นและกระพี้ยังมียางอยู่
ส่วนล้อรถที่ทำ ๕ เดือน ๒๔ วัน คุณภาพดี แล่นไปไม่มีล้ม เพราะไม้ไม่คด ไม่มีปุ่มปม
และเป็นไม้ที่มีแก่นและกระพี้ไม่มียาง
ต่อจากนั้น พระผู้มีภาคเจ้า ทรงแสดงว่า เมื่อครั้งนั้น พระองค์ ทรงเป็นช่างทำรถ
ที่ฉลาดในความคด ปุ่มปม เป็นต้น ของไม้ แต่ปัจจุบัน พระองค์ทรงเป็นพระสัมมา-
สัมพุทธเจ้า ทรงฉลาด คือ ทรงรู้ตามความเป็นจริง ในความคด โทษ และมลทินของ
กาย วาจา ใจ ผู้ที่ยังละความคด โทษ และมลทินของกาย วาจา ใจ ไม่ได้ ย่อมตก
จากพระธรรมวินัย เหมือนล้อรถที่ทำ ๖ วัน ในทางตรงกันข้าม ผู้ที่ละความคด โทษ
และมลทินของกาย วาจา ใจได้แล้ว ย่อมดำรงมั่นในพระธรรมวินัย เหมือนล้อรถที่ทำ
๕ เดือน ๒๔ วัน จึงควรอย่างยิ่งที่จะละความคด โทษ และมลทินทางกาย ทางวาจา
และทางใจ ซึ่งได้แก่ อกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 259
[๓๕๙] อกุศลกรรมบถ ๑๐
๑. ปาณาติบาต ๒. อทินนาทาน
๓. กาเมสุมิจฉาจาร ๔. มุสาวาท
๕. ปิสุณาวาจา ๖. ผรุสาวาจา
๗. สัมผัปปลาปะ ๘. อภิชฌา
๙. พยาบาท ๑๐. มิจฉาทิฏฐิ.
[๓๖๐] กุศลกรรมบถ ๑๐
๑. ปาณาติปาตา เวรมณี เจตนาเครื่องเว้น จากการยังสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วงไป
๒. อทินนาทานา เวรมณี เจตนาเครื่องเว้น จากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้
๓. กาเมสุ มิจฉาจารา เวรมณี เจตนาเครื่องเว้น จากการประพฤติผิดในกาม
๔. มุสาวาท เวรมณี เจตนาเครื่องเว้น จากการพูดเท็จ
๕. ปิสุณาย วาจาย เวรมณี เจตนาเครื่องเว้น จากการพูดส่อเสียด
๖. ผรุสาย วาจาย เวรมณี เจตนาเครื่องเว้น จากการพูดคำหยาบ
๗. สัมผัปปลาปา เวรมณี เจตนาเครื่องเว้น จากการพูดเพ้อเจ้อ
๘. อนภิชฌา ความไม่โลภอยากได้ของเขา
๙. อัพยาบาท ความไม่ปองร้ายเขา
๑๐. สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ.
คำว่า ความประพฤติเสมอ มาจากภาษาบาลีว่า สมจริยา โดยอรรถะ หมายถึง
กุศลศีล ได้แก่ การประพฤติตามศีล ๕ ศีล ๘ เป็นต้น (ตามสิกขาบทของคฤหัสถ์)
พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงตลอด ๔๕ พรรษานั้น มีความละเอียดลึกชึ้ง
เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้ที่ได้ศึกษาและมีความเข้าใจไปตามลำดับอย่างแท้จริง
เพราะทุกส่วนของคำสอนเป็นเครื่องเตือนเพื่อความเป็นผู้ไม่ประมาทในชีวิต เพื่อความ
ประพฤติที่ดีงามทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ ขณะที่มีความประพฤติที่ดีงาม
เรียบร้อย ไม่ล่วงอกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ มีการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม
เป็นต้น, ตั้งจิตไว้ชอบในกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ มีการงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ เป็นต้น
เรียกว่า สมจริยา (ความประพฤติเสมอ, ความประพฤติทีดีงาม)บางแห่งคำว่า ธรรมจริยา
กับ สมจริยา ก็ใช้แทนกันได้ เพราะเป็นความประพฤติที่เป็นไปเพื่อระงับซึ่งอกุศลธรรม
ทั้งหลาย ครับ
เอาบุญมาฝากได้ถวายสังฆทาน
กรวดน้ำอุทิศบุญ เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน
รักษาศีล อาราธนาศีล เจริญวิปัสสนา ได้ปฏิบัติธรรม
ได้ถวายข้าวพระพุทธรูป สักการะพระธาตุ ศึกษาธรรม
ทำงานบ้านช่วยพ่อแม่และเจริญอาโปกสิน ศึกษาการรักษาโรค
วันนี้พิเศษเป็นวันแม่ได้ไปทำบุญที่วัดและทำบุญถวายสังฆทานเป็นหมู่คณะ
จำนวนกว่า 30 ชุด สักการะพระประธาน และพระบรมฉายาลักษณ์
และสร้างบารมีครบทั้ง 10 อย่าง ขอให้อนุโมทนาบุญด้วย
กฐินวัดป่าบ้านตาด-วันทำวัตรหลวงตา
--------------------------------------------------------------------------------
ตามที่ครูบาอาจารย์และคณะศิษย์สอบถามวันกฐินวัดป่าบ้านตาด และวันทำวัตรพ่อแม่ครูอาจารย์หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน จึงประกาศให้ทราบดังนี้
วันกฐินวัดป่าบ้านตาด - วันเสาร์ที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๕๓ หลังภัตตาหาร
วันทำวัตรองค์หลวงตา นำโดยเจ้าคุณวัดโพธิสมภรณ์ - วันอังคารที่ ๓ สิงหาคม ๒๕๕๓ (วันพระแรกของกาลเข้าพรรษา) เวลา ๑๒.๓๐ น.
วันพระกรรมฐานทั่วประเทศร่วมทำวัตรขอขมาองค์หลวงตา - วันพฤหัสบดีที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๓ เวลา ๑๓.๐๐ น.