ในยุคปัจจุบันการผลิตไข่มีวิธีการที่ไก่ตัวเมียไม่ต้องผสมพันธุ์กับไก่ตัวผู้ ไข่ที่ออก มาจึงไม่มีเชื้อ คือไม่มีสัตว์ปฏิสนธิในไข่ การบริโภคไข่แบบนี้ไม่มีโทษ คือไม่เป็น อกุศลกรรม ข้อปาณาติบาต ผู้ขายก็เช่นเดียวกันครับ
ถ้าเป็นไข่ลมไม่มีสัตว์ปฏิสนธิไม่เป็นปาณาติบาต ถ้าเป็นไข่ที่มีเชื้อมีการผสมพันธุ์ เป็นปาณาติบาตได้ ( ถ้ารู้และมีเจตนา ) ควรทราบว่าทุกขณะในชีวิตของปุถุชนผู้หนาด้วยกิเลส ยากที่จะพ้นไปจากโลภะ
ถ้ายังหวังการเกิดไม่ว่าภพใดๆ ย่อมไม่พ้นจากโลภะ แต่ฉันทะที่ดีที่ใคร่จะพบพระ-
ธรรมได้เห็นธรรม ก็เป็นความปรารถนาที่ดีไม่มีโทษ แต่ผู้ที่จะมีความปรารถนา
เช่นนี้ก็เพราะยังมีโลภะอยู่นั่นเอง ผู้ที่ดับโลภะได้แล้วย่อมไม่มีความปรารถนาเช่น นี้ครับ พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑- หน้าที่ 282
โสณนันทชาดก
ฯลฯ "มารดาเมื่อหวังผลคือบุตร ย่อมนอบน้อม
เทพดา ถามถึงฤกษ์ ฤดู และปีทั้งหลาย. เมื่อ
มารดาอาบแล้ว ในเพราะฤดู, สัตว์เกิดในครรภ์
ย่อมก้าวลง, ด้วยเหตุนั้น มารดา ท่านจึงเรียก
ว่า 'โทหฬินี (หญิงแพ้ท้อง),' ด้วยเหตุนั้น
ท่านจึงเรียกว่า 'สุหทา (หญิงมีใจดี).' มารดา
นั้น ถนอม (ครรภ์) ปีหนึ่งหรือหย่อนปีหนึ่ง
แล้ว จึงคลอด ด้วยเหตุนั้น ๆ ท่านจึงเรียกว่า
'ชนยนฺตี ชเนตฺตี (ผู้ยังบุตรให้เกิด).' มารดา
ปลอบโยนบุตรผู้ร้องไห้ด้วยน้ำนม ด้วยเพลง
ขับ และด้วยเครื่องกกคืออวัยวะ, ด้วยเหตุนั้น
ท่านจึงเรียกว่า 'โตเสนฺตี (ผู้ยังบุตรให้ยินดีหรือ
ปลอบโยน).' แต่นั้น เมื่อลมและแดดแรงกล้า
มารดาทำความหวั่นใจ คอยแลดูบุตรผู้ยังเป็นทารก
ไม่เดียงสา, ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงเรียกว่า โปเสนฺตี
(ผู้เลี้ยง). ทรัพย์ของมารดาอันใดมีอยู่ และทรัพย์
ของบิดาอันใดมีอยู่, มารดาย่อมคุ้มครองทรัพย์
แม้ทั้ง ๒ นั้นไว้เพื่อบุตรนั่น ด้วยหวังว่า เออก็
ทรัพย์ทั้งหมดนี้ ควรเป็นของบุตรเรา.' มารดา
เมื่อให้บุตรสำเหนียกว่า 'อย่างนี้ลูก อย่างโน้นลูก
เป็นต้น ย่อมเดือดร้อนด้วยประการฉะนี้, เมื่อ
บุตรถึงความเป็นหนุ่มแล้ว มารดารู้ว่า บุตรมัวเมา
ในภริยาของผู้อื่น ในเวลาค่ำคืน ไม่กลับมาใน
เวลาเย็น ย่อมเดือดร้อน ด้วยประการฉะนี้.
บุตรผู้อันมารดาเลี้ยงดูมาแล้ว ด้วยความลำบาก
อย่างนี้ ไม่บำรุงมารดา บุตรนั้นชื่อว่าประพฤติผิดใน
มารดาย่อมเข้าถึงนรก บุตรผู้อันบิดาเลี้ยงมาแล้วด้วย
ความลำบากอย่างนี้ ไม่บำรุงบิดา บุตรนั้นชื่อว่าประ-
พฤติผิดในบิดา ย่อมเข้าถึงนรก เราได้สดับมาว่า
เพราะไม่บำรุงมารดา แม้ทรัพย์ที่เกิดแก่บุตรทั้งหลายผู้
ปรารถนาทรัพย์ย่อมฉิบหาย หรือบุตรนั้นย่อมเข้าถึง
ความยากแค้น เราได้สดับมาว่า เพราะไม่บำรุงบิดา
แม้ทรัพย์ที่เกิดแก่บุตรทั้งหลายผู้ปรารถนาทรัพย์ ย่อม
ฉิบหาย หรือบุตรนั้นย่อมเข้าถึงความยากแค้น ความ
รื่นเริง ความบันเทิง และความหัวเราะเล่นหัวกันทุก
เมื่อ บัณฑิตผู้รู้แจ้งพึงได้เพราะการบำรุงมารดา ความ
รื่นเริง ความบันเทิง และความหัวเราะเล่นหัวกันทุก
เมื่อ บัณฑิตผู้รู้แจ้งพึงได้เพราะการบำรุงบิดา สังคห-
วัตถุ ๔ ประการนี้ คือทาน การให้ ๑ ปิยวาจา เจรจา
คำน่ารัก ๑ อัตถจริยา การประพฤติประโยชน์ ๑
สมานัตตตา ความเป็นผู้มีตนเสมอในธรรมทั้งหลาย
ตามสมควรในที่นั้น ๆ ๑
ฯลฯ พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒- หน้าที่ 294 ๙. มาตุโปสกสูตร ว่าด้วยการเลี้ยงมารดาและบิดา [๗๑๓] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น มาตุโปสกพราหมณ์ผู้เลี้ยงมารดา เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ- ภาคเจ้าถึงที่ประทับ สนทนาปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการ ปราศรัยกันตามทำเนียมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง มาตุโปสกพราหมณ์ นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า ท่านพระ - โคดมผู้เจริญ ข้าพเจ้าแสวงหาภิกษาโดยธรรม แล้วเลี้ยงมารดาและบิดา ข้าพเจ้าทำเช่นนี้ ชื่อว่าทำกิจที่ควรทำหรือไม่. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ชอบยิ่ง พราหมณ์ ท่านทำดังนี้ ชื่อว่า ได้ทำกิจที่ควรทำแล้ว ด้วยว่า ผู้ใดแสวงหาภิกษาโดยธรรมแล้ว เลี้ยงมารดา และบิดาผู้นั้นย่อมได้บุญเป็นอันมาก. [๗๑๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้พระสุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณ- ภาษิตนี้จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า บุคคลใดเลี้ยงมารดาและบิดาโดย ธรรม เพราะการบำรุงมารดาและบิดานั่น แล บัณฑิตย่อมสรรเสริญบุคคลนั้นในโลก นี้ทีเดียว บุคคลนั้นละไปจากโลกนี้แล้ว ย่อมบันเทิงในสวรรค์. [๗๑๕] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเช่นนี้แล้ว มาตุโปสกพราหมณ์ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้ง นัก ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระองค์ทรงประกาศธรรม โดยอเนกปริยาย ดุจหงายภาชนะที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง ส่องประทีปในที่มืด ด้วยหวังว่า คนมีจักษุจะมองเห็นรูปได้ ข้าแต่ท่านพระ- โคดม ข้าพระองค์ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้ากับพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์เป็น สรณะ ขอพระองค์จงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้ เป็นต้นไป. อรรถกถามาตุโปสกสูตร ในมาตุโปสกสูตรที่ ๙ วินิจฉัยดังต่อไปนี้ :- บทว่า เปจฺจ ได้แก่ กลับไปจากโลกนี้. จบอรรถกถามาตุโปสกสูตรที่ ๙
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 357 บุคคล ๒ พวกที่กระทำตอบแทนไม่ได้ง่าย [๒๗๘] ๓๒. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวการกระทำตอบแทน
ไม่ได้ง่ายแก่ท่านทั้งสอง ทั้งสองท่านคือใคร คือ มารดา ๑ บิดา ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุตรพึงประคับประคองมารดาด้วยบ่าข้างหนึ่ง พึ่ง
ประดับประคองบิดาด้วยบ่าข้างหนึ่ง เขามีอายุ มีชีวิต อยู่ตลอด ๑๐๐ ปี
และเขาพึงปฏิบัติท่านทั้งสองนั้นด้วยการ อบกลิ่น การนวด การให้อาบน้ำ
และการดัด และท่านทั้งสองนั้น พึงถ่ายอุจจาระปัสสาวะบนบ่าทั้งสอง
ของเขานั่นแหละ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนั้นยังไม่ชื่อว่า
อันบุตรทำแล้วหรือทำตอบแทนแล้วแก่มารดาบิดาเลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
อนึ่ง บุตรพึงสถาปนาบิดามารดาในราชสมบัติ อันเป็นอิสราธิปัตย์
ในแผ่นดินใหญ่อันมีรัตนะ ๗ ประการมากหลายนี้ การกระทำกิจอย่างนั้น
ยังไม่ชื่อว่าอันบุตรทำแล้วหรือทำตอบแทนแล้วแก่มารดาบิดาเลย ข้อนั้น
เพราะเหตุไร เพราะมารดาบิดามีอุปการะมาก บำรุงเลี้ยง แสดงโลกนี้
แก่บุตรทั้งหลาย ส่วนบุตรคนใดยังมารดาบิดาผู้ไม่มีศรัทธา ให้สมาทาน
ตั้งมั่นในศรัทธาสัมปทา ยังมารดาบิดาผู้ทุศีล ให้สมาทานตั้งมั่นในศีล-
สัมปทา ยังมารดาบิดาผู้มีความตระหนี่ ให้สมาทานตั้งมั่นในจาคสัมปทา
ยังมารดาบิดาผู้ทรามปัญญา ให้สมาทานตั้งมั่นในปัญญาสัมปทา ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล การกระทำอย่างนั้นย่อมชื่อว่า
อันบุตรนั้นทำแล้วและทำตอบแทนแล้วแก่มารดาบิดา.
บุตรธิดาผู้ที่มีความกตัญญูกตเวทีต่อมารดาบิดานั้น บัณฑิตทั้งหลายมีพระพุทธเจ้า เป็นต้นสรรเสริญแล้ว ความกตัญญูนั้นเป็นคุณธรรมข้อหนึ่งที่ควรจะอบรมเจริญให้มีขึ้น ถึงแม้ว่า บุตรธิดาจะยังไม่สามารถกระทำตอบแทนมารดาบิดาได้อย่างสูงที่สุดก็ตาม แต่การที่ได้รู้ว่า ท่านทั้งสองนั้นเป็นผู้ที่มีพระคุณเลี้ยงดูเรามา แล้ว ทำการเลี้ยงท่าน เป็นการตอบแทน กระทำในสิ่งที่ถูกต้องเหมาะสม อีกทั้งดำรงตนอยู่ในความถูกต้อง
ดีงาม ย่อมเป็นสิ่งที่บุตรธิดาจะพึงกระทำ พระคุณของบิดา มารดา ต่อให้พรรณาอย่างไร
ก็หาที่สุดไม่ได้
แต่ตราบเท่าที่ อวิชชายังมี
แม้จะปฏิบัติต่อท่านด้วยกุศลจิต
แต่ส่วนใหญ่ ก็เป็นไปเพื่อวัฏฏะ
และตราบที่ยังเป็น ปุถุชน
ย่อมต้องมีการล่วงอกุศล ต่อท่าน ทาง กาย วาจา หรือ ใจ
ทั้งตั้งใจ และไม่ได้ตั้งใจ
จึงใคร่ขอนำ ไฟ 1ใน 7 กอง
ที่ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทรงแสดงไว้
เพื่อเป็นการขัดเกลา และเป็นที่พึ่งที่มีกำลัง พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 111
ข้อความบางตอน ว่าด้วยไฟ 7 กอง
๓. ปฐมอัคคิสูตร
ไฟคืออาหุไนยบุคคล ๑
สักการะท่านเรียกว่า อาหุนะ ชนเหล่าใด ย่อมควรซึ่งอาหุนะ เหตุนั้น ชนเหล่านั้น ชื่อว่า อาหุเนยยา ชนผู้ควร ซึ่ง อาหุนะ.จริงอยู่ มารดาและบิดาทั้งหลาย บุตรทั้งหลาย เพราะท่านทั้งสองเป็นผู้มีอุปการมากแก่บุตรทั้งหลาย บุตรทั้งหลาย ปฏิบัติผิดในมารดาและบิดาทั้ง ๒ นั้น ย่อมบังเกิดในอบายมีนรก เป็นต้น เพราะเหตุนั้น ถึงแม้มารดาและบิดา จะมิได้ตามเผาผลาญ อยู่ก็จริง ถึงกระนั้นท่านทั้ง ๒ ก็ยังเป็นปัจจัยแก่การตามเผาผลาญ อยู่ ดังนั้น ท่านเรียก มารดาบิดาว่า อาหุเนยยัคคิ เพราะอรรถว่า ตามเผาผลาญนั่นแล.
เอาบุญมาฝากได้ถวายสังฆทาน กรวดน้ำอุทิศบุญ เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน รักษาศีล อาราธนาศีล เจริญวิปัสสนา ได้ปฏิบัติธรรม ได้ถวายข้าวพระพุทธรูป สักการะพระธาตุ ศึกษาธรรม ทำงานบ้านช่วยพ่อแม่และเจริญอาโปกสิน ศึกษาการรักษาโรค ที่ผ่านมาได้ถวายค่ากัณฑ์เทศ และทำบุญที่วัดกับเพื่อนๆ และไปปิดทองคำเปลวบูชาพระธาตุที่พระเจดีย์ธาตุจำนวน 2 วัน และได้ใช้ทองคำเปลวในงานอื่นๆอีกหลายงานบุญ และได้มีความเอื้อเฟื้อแก่เพื่อน และรักษาอาการป่วยของคุณแม่และบุคคลทั่วไปฟรีและได้ช่วยชีวิตสัตว์และให้ทานแก่สัตว์เป็นประจำ และสร้างบารมีครบทั้ง 10 อย่าง ขอให้อนุโมทนาบุญด้วย
ขอเชิญร่วมช่วยเหลือพระสงฆ์สร้างกุฏิและห้องน้ำหลังใหม่ (ทดแทนของเก่าที่ชำรุด)
-------------------------------------------------------------------------------- โทร 083-7348224
|