Switch to full style
พระพุทธพจน์ - พุทธภาษิต พระธรรมเทศนา และ ธรรมะจากครูบาอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
ตอบกระทู้

สะสมบารมี

อาทิตย์ 15 ส.ค. 2010 9:41 am

สิ่งที่ควรพิจารณา คือ ไม่มีใครที่ไม่เคยทำผิด ย่อมมีแน่นอนสำหรับบุคคลผู้ที่

กระทำความผิด จะมากหรือน้อยก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ตัวเราเองก็เช่นเดียวกัน , เวลาที่

ตนเองทำความผิด ได้ผิดพลาดพลั้งไป ก็อยากจะให้คนอื่นเขาเข้าใจ และเห็นใจ

คนอื่น ๆ ที่เป็นแบบเราก็มีความต้องการอย่างนี้เช่นเดียวกัน แต่เวลาคนอื่นทำความ

ผิด ได้ผิดพลาดพลั้งไปนั้น เรามักจะลืมให้อภัยเขา ลืมเข้าใจเขา

พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงเป็นเครื่องเตือนที่ดีอยู่เสมอ เพราะพระองค์

ไม่เคยสอนให้เกิดอกุศลเลยแม้แต่น้อย แม้ในบุคคลผู้กระทำความผิด ก็ไม่ควรโกรธ

เพราะเหตุว่า บุคคลผู้ควรแก่การโกรธ ไม่มี



พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงรู้แจ้งโลก ๖ โลก คือ โลกทางตา โลกทางหู

โลกทางจมูก โลกทางลิ้น โลกทางกาย และโลกทางใจ ทรงรู้โลกทั้ง ๖ โลกตาม

ความเป็นจริง ซึ่งเป็นโลกที่พระอริยเจ้ารู้กัน สำหรับปุถุชนไม่รู้ไม่เข้าใจโลกในพระ-

อริยเจ้ารู้ ก็ติดข้องอยู่ เพราะฉะนั้นไม่ใช่ไปรู้โลกอื่นซึ่งไม่ใช่โลกทางตา โลกทางหู

...และโลกทางใจตามความเป็นจริง หรือไปรู้เรื่องราวต่างๆ สัตว์ บุคคล สิ่งของต่างๆ

ซึ่งไม่ใช่สภาพธรรมที่มีจริงๆ แล้วก็ติดข้องอยู่กับความไม่มีสาระว่ามีสาระ

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระคาถานี้ว่า :-

"ท่านทั้งหลายจงมาดูโลกนี้ อันตระการ ดุจ-

ราชรถ, ที่พวกคนเขลาหมกอยู่, (แต่) พวกผู้รู้หา

ข้องอยู่ไม่"
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๔๒ - หน้าที่ ๒๓๘

๔. เรื่องอภัยราชกุมาร [๑๔๐]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน ทรงปรารภอภัยราชกุมาร ตรัสพระธรรม

เทศนานี้ว่า " เอถ ปสฺสถิมํ โลกํ (ท่านทั้งหลายจงมาดูโลกนี้)" เป็นต้น.

พระกุมารได้รับพระราชทานราชสมบัติ

ได้ยินว่า เมื่ออภัยราชกุมารนั้น ทรงปราบปรามปัจจันตชนบทให้สงบมาแล้ว

พระเจ้าพิมพิสารผู้พระบิดา ทรงพอพระทัยแล้ว พระราชทานหญิงฟ้อนคนหนึ่ง ผู้

ฉลาดในการฟ้อนและการขับแล้ว ได้พระราชทานราชสมบัติสิ้น ๗ วัน. อภัยราช-

กุมารนั้น ไม่เสด็จออกภายนอกพระราชมนเฑียรเลย เสวยสิริแห่งความเป็นพระราชา

สิ้น ๗ วัน เสด็จไปสู่ท่าแม่น้ำในวันที่ ๘ ทรงสรงสนานแล้ว เสด็จเข้าไปสู่พระ

อุทยาน ประทับนั่งทอดพระเนตรการฟ้อนและการขับของหญิงนั้น ดุจสันตติมหา-

อำมาตย์ ในขณะนั้นเอง แม้นางนั้นได้ทำกาละ(ตาย)ด้วยอำนาจกองลมกล้าดุจศัสตรา

เหมือนหญิงฟ้อนของสันตติมหาอำมาตย์ พระกุมาร มีความโศกเกิดขึ้นแล้วเพราะ

กาลกิริยาของหญิงฟ้อนนั้น ทรงดำริว่า "ผู้อื่น เว้นพระศาสดาเสีย จักไม่อาจเพื่อให้

ความโศกนี้ของเราดับได้ " ดังนี้แล้ว จึงเข้าไปเฝ้าพระศาสดากราบทูลว่า " พระเจ้า

ข้า ขอพระองค์จงให้ความโศกของข้าพระองค์ดับเถิด"

ระงับความโศก

พระศาสดา ทรงปลอบพระกุมารนั้นแล้วตรัสว่า "กุมาร ก็ประมาณแห่งน้ำตาทั้ง

หลาย ที่เธอร้องไห้อยู่ในกาลแห่งหญิงนี้ตายแล้ว อย่างนี้นี่แลให้เป็นไปแล้ว

ย่อมไม่มีในสงสาร ซึ่งมีที่สุดอันใคร ๆ รู้ไม่ได้ "ทรงทราบความที่ความโศกเป็นภาพ

เบาบาง เพราะเทศนานั้นแล้ว จึงตรัสว่า "กุมาร เธออย่าโศกเลย,

ข้อนั้นเป็นฐานะเป็นที่จมลงของชนพาลทั้งหลาย ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า :-

"ท่านทั้งหลายจงมาดูโลกนี้ อันตระการ ดุจ-

ราชรถ, ที่พวกคนเขลาหมกอยู่, (แต่) พวกผู้รู้หา

ข้องอยู่ไม่"

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า เอถ ปสฺสถ พระศาสดาตรัสหมายเอาพระราช

กุมารนั่นเอง, สองบทว่า อิมํ โลกํ ได้แก่ อัตภาพ กล่าวคือ ขันธโลกเป็นต้นนี้. บทว่า

จิตฺตํ ความว่า อันวิจิตรด้วยเครื่องประดับมีเครื่องประดับคือผ้าเป็นต้น ดุจราชรถอัน

วิจิตรด้วยเครื่องประดับมีเเก้ว ๗ ประการ เป็นต้น. สองบทว่า ยตฺถ พาลา ความ

ว่า พวกคนเขลาเท่านั้นหมกอยู่ในอัตภาพใด. บทว่า วิชานตํ ความว่า แต่สำหรับ

พวกผู้รู้คือบัณฑิตทั้งหลาย หามีความข้องในกิเลสเครื่องข้อง คือราคะเป็นต้นแม้อย่าง

หนึ่งในอัตภาพนั้นไม่.

ในเวลาจบเทศนา พระราชกุมารตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว, พระธรรมเทศนา

ได้มีประโยชน์แม้เเก่ผู้ประชุมกัน ดังนี้แล.

เรื่องอภัยราชกุมาร จบ.






เอาบุญมาฝากได้ถวายสังฆทาน
กรวดน้ำอุทิศบุญ เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน
รักษาศีล อาราธนาศีล เจริญวิปัสสนา ได้ปฏิบัติธรรม
ได้ถวายข้าวพระพุทธรูป สักการะพระธาตุ ศึกษาธรรม
ทำงานบ้านช่วยพ่อแม่และเจริญอาโปกสิน ศึกษาการรักษาโรค
ครอบครัวของผมให้อาหารเป็นทานทานแก่บุคคลทั่วไป 40 คน

ถวายพระธาตุให้แก่พระสองวัดและบุคคลทั่วไป

รวมแล้วพระภิกษุ 18 รูป บุคคลทั่วไป 3 คน

และได้นำพระธาตุไปประดิษฐานที่วัดอีก 3 วัด
และสร้างบารมีครบทั้ง 10 อย่าง ขอให้อนุโมทนาบุญด้วย







ขอเชิญร่วมสร้างสมเด็จองค์ปฐม..ประจำ4ทิศพระบรมธาตุเจดีย์วัดอุโมงค์(สวนพุทธธรรม) จ.เชียงใหม่

โทร. 082-1818-108
ตอบกระทู้