Switch to full style
พระพุทธพจน์ - พุทธภาษิต พระธรรมเทศนา และ ธรรมะจากครูบาอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
ตอบกระทู้

เหตุ

เสาร์ 21 ส.ค. 2010 9:57 am

เรื่องวาจาหยาบ แต่ใจไม่หยาบ

ได้ยินว่า เด็กคนหนึ่งไม่เอื้อเฟื้อถ้อยคําของมารดาไปป่า มารดาไม่

สามารถให้เด็กนั้นกลับได้ จึงได้ด่าว่า ขอให้แม่กระบือดุจงไล่มึง ทันใด

นั้น แม่กระบือป่าได้ปรากฏแก่เด็กนั้น เหมือนอย่างมารดาว่าทีเดียว เด็ก

นั้นได้กระทําสัจจกิริยาว่า สิ่งที่มารดาของเราพูดด้วยปาก จงอย่ามี สิ่งที่

มารดาคิดด้วยใจ จงมีเถิด แม่กระบือได้ยืนอยู่เหมือนถูกผูกไว้ในป่านั้นเอง.

ประโยคแม้ตัดความรักอย่างนี้ ก็ไม่เป็นผรุสวาจา เพราะมีจิตอ่อน

โยน. จริงอยู่ บางครั้งมารดาบิดาย่อมกล่าวกะลูกน้อย ๆ ถึงอย่างนี้ว่า

พวกโจรจงห้ําหั่นพวกเจ้าเป็นชิ้น ๆ ดังนี้ แต่ก็ไม่ปรารถนาแม้ให้กลีบบัว

ตกเบื้องบนของลูกน้อย ๆ เหล่านั้น อนึ่ง อาจารย์และอุปัชฌาย์ บางคราว

ก็กล่าวกะพวกศิษย์อย่างนี้ว่า พวกนี้ไม่มียางอาย ไม่เกรงกลัว คุยอะไร

กัน จงไล่มันไปเสีย ก็แต่ว่า ย่อมปรารถนาให้ศิษย์เหล่านั้นสําเร็จการ

ศึกษา และบรรลุมรรคผล. เหมือนอย่างว่า วาจาไม่เป็นผรุสวาจา เพราะ

คําอ่อนหวานก็หาไม่. ด้วยว่าผู้ต้องการจะฆ่า พูดว่า จงให้ผู้นี้นอนให้

สบาย ดังนี้ จะไม่เป็นผรุสวาจาก็หาไม่. ก็วาจานี้เป็นผรุสวาจาทีเดียว

เพราะมีจิตหยาบ. ผรุสวาจานั้น มีโทษน้อย เพราะผู้ที่ตนพูดหมายถึงนั้น

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 197

มีคุณน้อย มีโทษมาก เพราะผู้นั้นมีคุณมาก.

ผรุสวาจานั้น มีองค์ ๓ คือ

๑. อกฺโกสิตพฺโพ ปโร คนอื่นที่ตนด่า

๒. กุปิตจิตฺตํ จิตโกรธ

๓. อกฺโกสนา การด่า



การจะเป็นกุศลหรืออกุศลที่แสดงออกมาทางกาย หรือวาจา ขึ้นอยู่กับจิตเป็นสำคัญ

ว่าเป็นกุศลหรืออกุศล ดังเช่น พระปิลินทวัชชะที่กล่าวว่า คนถ่อยเป็นประจำ ท่านเป็น

พระอรหันต์แล้ว ดังนั้นจึงไม่ใช่วาจาหยาบเลยเพราะกล่าวด้วยจิตที่ไม่มีกิเลส จึงขึ้น

อยู่กับจิตเป็นสำคัญ มิใช่ถ้อยคำเป็นสำคัญครับซึ่งเรื่องนี้ ก็คงจะได้ฟังกันบ้างแล้ว จะ

ขอยกเรื่องที่อาจจะไม่ค่อยได้ฟัง เรื่องที่มีบุคคล(เป็นอุปัฏฐากพระเทวทัต)ไปเฝ้า

พระพุทธเจ้า เพื่อต้องการเสียดสีพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าจึงตรัส คำบางคำแต่

บุคคลนั้นหาว่าพระพุทธเจ้า ติเตียนด้วยกิเลสแต่จริงๆแล้วพระพุทธองค์ทรงดับกิเลส

แล้วจึงไม่เป็นคำหยาบเลย ลองอ่านดูนะ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 461

ข้อความบางตอนจากอุปกสูตร

พระพุทธองค์ทรงโต้วาทะกับอุปกมัณฑิกาบุตร

[๑๘๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ

ใกล้กรุงราชคฤห์ ครั้งนั้นแล อุปกมัณฑิกาบุตรเข้าไฝเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพเจ้ามี

วาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ผู้ใดผู้หนึ่งกล่าวติเตียนผู้อื่น ผู้นั้นทั้งหมดย่อม

ไม่อาจให้กุศลกรรมเกิดขึ้นได้ เมื่อไม่อาจให้กุศลกรรมเกิดขึ้นได้ ย่อมเป็นผู้

ถูกครหาติเตียน พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอุปกะ ถ้าบุคคล กล่าว

ติเตียนผู้อื่น เมื่อเขากล่าวติเตียนผู้อื่นอยู่ ย่อมไม่อาจให้กุศลกรรมเกิดขึ้นได้

เมื่อไม่อาจให้กุศลกรรมเกิดขึ้นได้ ย่อมเป็นผู้ถูกครหาติเตียนไซร้ ดูก่อนอุปกะ

ท่านนั่นแหละกล่าวติเตียนผู้อื่นย่อมไม่อาจให้กุศลกรรมเกิดขึ้นได้ เมื่อไม่อาจ

ให้กุศลกรรมเกิดขึ้นได้ ย่อมเป็นผู้ถูกครหาติเตียน.





การไต่ถามสุขทุกข์ด้วยเมตตาจิตไม่ใช่การพูดเพ้อเจ้อ แต่การพูดถึงเรื่อง

ที่ไม่มีสาระประโยชน์ในทางโลกและทางธรรม ชื่อว่าการพูดเพ้อเจ้อ แต่จะเป็น

การล่วงอกุศลกรรมบถหรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ส่วนเสียงเป็นรูปธรรม การได้ยิน

เป็นนามธรรม การกล่าวเตือนให้ระลึกถึงความจริงที่ปรากฏในขณะนั้น เป็นสิ่ง

ที่ดี แต่ไม่ใช่การเจาะจงเฉพาะสิ่งเดียว องค์แห่งสัมผัปปาลาปโปรดอ่านข้อ

ความจากอรรถกถา
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 198

สัมผัปปลาบนั้น มีองค์ ๒ คือ

๑. นิรตฺถกกถาปุเรกฺขารตา มุ่งกล่าวถ้อยคำที่ไร้ประโยชน์ มีเรื่อง

ภารตยุทธ และเรื่องชิงนางสีดา เป็นต้น.

๒. ตถารูปีกถากถนํ กล่าวเรื่องเช่นนั้น


มังคลัตถทีปนีแปล เล่ม ๒ - หน้าที่ 112

[สัมผัปปลาป]

[๒๑๗] อกุศลเจตนาที่ยังกายประโยคและวจีประโยค ซึ่งเป็น

เครื่องยังผู้อื่นให้รู้สิ่งที่มิใช่ประโยชน์ให้ตั้งขึ้น ชื่อว่าสัมผัปปลาป

เพราะวิเคราะห์ว่า "สัมผัปปลาปีบุคคล ย่อมเจรจาคำเพ้อเจ้อ หา

ประโยชน์มิได้ ด้วยเจตนาธรรมนั่น."

[โทษของสัมผัปปลาป]

สัมผัปปลาปนั้น ชื่อว่ามีโทษน้อย เพราะอาเสวนะน้อย ชื่อว่า

มีโทษมาก เพราะอาเสวนะมาก. การอบรม การทำให้มาก ชื่อว่า

อาเสวนะ. อีกอย่างหนึ่ง สัมผัปปลาปนั้น อันสัมผัปปลาปีบุคคลให้

เป็นไปแล้ว เพื่อให้ผู้ใดถือเอา เมื่อผู้นั้นไม่ถือเอา ชื่อว่ามีโทษน้อย

เมื่อผู้นั้นถือเอา ชื่อว่ามีโทษมาก, อนึ่ง สัมผัปปลาปนั้น ชื่อว่ามี

โทษน้อยและมีโทษมาก ในเพราะความแตกต่างกันแห่งความที่กิเลส

อ่อนและแรงกล้า.

[องค์ของสัมผัปปลาป]

สัมผัปปลาปนั้น มีองค์ ๒ คือ ความเป็นผู้มุ่งพูดเรื่องอันหา

ประโยชน์มิได้ มีเรื่องภารตยุทธ์และเรื่องนำนางสีดา๒มาเป็นต้น เป็น

เบื้องหน้า ๑ การพูดเรื่องเห็นปานนั้น ๑. เมื่อผู้อื่นยังไม่ถือเอาเรื่อง

นั้นอยู่ กรรมบถยังไม่ขาด เมื่อเขาถือเอาเท่านั้น จึงขาด.

ในฎีกาสัมมาทิฏฐิสูตร ท่านกล่าวว่า "ก็สัมผัปปลาปทุกอย่าง

ย่อมสำเร็จด้วยองค์ ๒."


ขณะที่ตั้งใจกินเหล้า ขณะกิน จิตเป็นอกุศลแน่นอน

กินเหล้าผิดศีล ๕ ผิดศีล ๘ ผิดศีล ๑๐ ฯ

เหล้าเป็นสุราเมรัย เมื่อดื่มแล้วเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท

ผู้ที่หวังความเจริญในกุศลธรรมไม่ควรดื่มครับ



การดื่มสุรา เป็นหนทางแห่งความเสื่อม สามารถก่อให้เกิดโรคภัยต่าง ๆ รวมถึง

ทำให้เสียทรัพย์ด้วย แทนที่จะนำทรัพย์ไปทำประโยชน์อย่างอื่น แต่ก็มาเสียกับสิ่งที่

ไม่เป็นประโยชน์ ผู้ที่หวังความเจริญในชีวิตไม่ควรทำ ไม่ควรเอาข้ออ้างมาอ้าง

ที่จะเป็นเหตุให้ตัวเองได้ดื่มสุรา เพราะเหตุว่าการดื่มสุราผิดศีล ครับ และมีโทษ

ตามที่พระผู้มีพระภาคได้ทรงแสดงไว้ว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การดื่มน้ำเมาคือสุรา

และเมรัย อันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว กระทำไห้มากแล้ว ย่อมยังสัตว์ให้เป็น

ไปในนรก ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในเปรตวิสัย วิบากแห่งการดื่มสุราและเมรัย

อย่างเบาที่สุด ย่อมยังความเป็นบ้าให้เป็นไปแก่ผู้มาเกิดเป็นมนุษย์"


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๕๖ - หน้าที่ ๓๗๒

ธรรมดา คนเราถึงจะชื่อว่าชีวก (บุญรอด) ก็ดี จะชื่อว่า อชีวก (ไม่รอด) ก็ดี

ก็ตายทั้งนั้น ชื่อ เป็นเพียงบัญญัติสำหรับเรียกกัน, ถึงจะชื่อว่า ธนปาลี(คนรวย) ก็ดี

จะชื่อว่า อธนปาลี (คนจน) ก็ดี ก็เป็นคนเข็ญใจได้ทั้งนั้น ชื่อเป็นเพียงบัญญัติ

สำหรับเรียกกัน, ถึงจะชื่อว่า ปันถกะ (ผู้ชำนาญในหนทาง) ก็ดี แม้จะชื่อว่า อปันถกะ

(ผู้ไม่ชำนาญในหนทาง) ก็ดี ก็หลงทางได้เหมือนกัน ชื่อเป็นเพียงบัญญัติสำหรับ

เรียกกัน ความสำเร็จเพราะชื่อ มิได้มีเลย ความสำเร็จมีได้เพราะการกระทำเท่านั้น.

(ข้อความบางตอนจาก ...ชาตกัฏฐกถา อรรถกถา ขุททกนิกาย ชาดก นามสิทธิชาดก)

เอาบุญมาฝากได้ถวายสังฆทาน
กรวดน้ำอุทิศบุญ เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน
รักษาศีล อาราธนาศีล เจริญวิปัสสนา ได้ปฏิบัติธรรม
ได้ถวายข้าวพระพุทธรูป และตั้งใจว่าจะ สักการะพระธาตุ ศึกษาธรรม
ทำงานบ้านช่วยพ่อแม่และเจริญอาโปกสิน ศึกษาการรักษาโรค
เมื่อวานนี้ได้ไปสนทนาธรรมที่วัด
และสร้างบารมีครบทั้ง 10 อย่าง ขอให้อนุโมทนาบุญด้วย


ขอเชิญร่วมทำบุญสร้างศาลาหอธรรมสถานที่สวดมนต์และปฏิบัติธรรมหาเจ้าภาพสร้างฐานชุกชี


--------------------------------------------------------------------------------

ร่วมสร้างฐานแท่นชุกชีไม้สักทองประดับแก้วอัญมณี
ลงรักปิดทอง ทรงแบบล้านนา จำนวน 3 แท่น
เพื่อประดิษฐาน
พระประธานทรงเครื่อง แบบล้านนา
พระหริภุญชัยบรมโพธิสัตว์

พระเจ้าขนุนทรัพย์แสนล้านทันใจ

พระเจ้าขนุนทรัพย์มหาลาภทันใจ

โทร. 083- 476-1441
ผู้ที่ต้องการจะถวายพระบรมสารีริกธาตุ อรหันตธาตุ สาวกธาตุ พระธาตุของพระอรหันต์ต่างๆ เพื่อนำมาบรรจุในพระเศียรตรงพระเกศโมลี ทุกท่านมีอยู่พร้อมนำถวายเพื่อประดิษฐานบนเกศโมลีก็ขอเจริญพรเรียนเชิญได้นะหรือจัดส่งมาหรือนำอัญเชิญมาถวายได้ หรือร่วมเดินทางมาทำบุยได้ที่วัดหมายเหตุ : ขอเชิญร่วมทำบุญสร้างพระพุทธรูปได้ที่ ธนาคารนครหลวงไทย สาขาหางดง เลขที่บัญชี 577-2-11771- 4 ชื่อบัญชี วัดทุ่งอ้อหลวง สามารถจัดส่งมาทางวัด ได้ ที่วัดทุ่งอ้อหลวง 30 ม.3 ต.หารแก้ว อ.หางดง จ.เชียงใหม่ 50230
ตอบกระทู้