สัตว์ในอบายทั้ง ๔ มนุษย์ เทวดา มีขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ เหมือนกันครับ
ควรทราบว่าพระพรหมแบ่งเป็นประเภทใหญ่เป็น ๓ ประเภท คือ
๑.พระพรหมที่มีทั้งรูปและนาม คือ รูปพรหมภูมิ พรหมเหล่านี้มีขันธ์ ๕ ขันธ์
๒.พระพรหมที่มีรูปอย่างเดียว คือ ในชั้นอสัญญสัตตาพรหมภูมิ มีขันธ์ ๑ ขันธ์
๓.พระพรหมที่มีนามอย่างเดียว คือ อรูปพรหมภูมิ มีขันธ์ ๔ ขันธ์ ไม่มีรูปขันธ์
วัตถุรูป เป็นรูป ไม่ใช่พรหม แต่รูปหลายรูปที่ประชุมรวมกันเกิดในพรหมภูมิเรียกว่าพรหม
พระพรหมที่มีรูปอย่างเดียว คือ ในชั้นอสัญญสัตตาพรหมภูมิ มีขันธ์เดียว คือ รูปขันธ์
จึงไม่มีทั้งเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และ วิญญาณขันธ์
พระพรหมนอกจากนี้ต้องมี เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และ วิญญาณขันธ์
ส่วนพระพรหมที่ไม่มีรูปขันธ์เลย มีแต่ในอรูปพรหมภูมิ
แต่ในมนุสสภูมินี้มีครบทั้ง ๕ ขันธ์ ถ้าเข้าใจตรงนี้ขึ้น จะเป็นประโยชน์กว่าเพราะ
เป็นความจริงที่ใกล้ตัว พิสูจน์ได้ มีปรากฏให้ศึกษาอยู่ทุกๆ ขณะในชีวิตประจำวันครับ
พรหมบุคคล เป็นคำกลาง ๆ เพราะเหตุว่า พรหมบุคคล มีทั้ง รูปพรหมบุคคล และ
อรูปพรหมบุคคล เวลากล่าว จึงต้องระบุให้ชัดเจนว่า กำลังกล่าวถึงพรหมบุคคล
ประเภทใด
รูปพรหมบุคคล ยังแบ่งออกเป็นสองประเภท คือ รูปพรหมบุคคล ที่มีทั้งรูปธรรม และ
นามธรรม กล่าวคือ มีขันธ์ครบทั้ง ๕ ขันธ์ และอีกประเภทหนึ่ง คือ อสัญญสัตตาพรหม
ซึ่งเป็นพรหม ที่มีรูปธรรมเพียงอย่างเดียว ไม่มีนามธรรม จึงมีขันธ์เพียงขันธ์เดียว
คือ รูปขันธ์ เกิดขึ้นเป็นไป เท่านั้น
สำหรับอรูปพรหมบุคคล เป็นพรหมบุคคลที่ไม่มีรูปธรรม มีแต่นามธรรม คือ จิต
เจตสิก (เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ เป็นเจตสิก วิญญาณขันธ์ เป็นจิต)
ส่วนที่กล่าวถึง วัตถุรูป นั้น วัตถุรูป เป็นรูปธรรมซึ่งเป็นที่อาศัยเกิดของจิต กล่าวคือ
ในภูมิที่มีขันธ์ ๕ จิต(และเจตสิกที่เกิดร่วมกัน) ต้องอาศัยวัตถุรูปเป็นที่เกิด เช่น
จิตเห็น อาศัยจักขุวัตถุ เป็นที่เกิด จิตได้ยิน อาศัยโสตวัตถุ เป็นที่เกิด เป็นต้น
ส่วนอรูปพรหมบุคคล จิตเกิดขึ้น โดยไม่ต้องอาศัยวัตถุรูปเป็นที่เกิด ครับ
ทิฏฐุชุกรรมเป็นกุศลจิตที่ประกอบด้วยปัญญา มีความเห็นตรง เห็นถูกตามความ
เป็นจริง ผลโดยตรงคือกุศลวิบากที่ประกอบด้วยปัญญา นำปฏิสนธิในสุคติภูมิ
และวิบากจิตในปวัตติกาล
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ ๔๓๒-๔๓๙
สุขวรรคที่ ๒ (ว่าด้วยสุข ๒ อย่าง)
สูตรที่ ๑
[๓๐๙] ๖๓. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ สุข
ของคฤหัสถ์ ๑ สุขเกิดแต่บรรพชา ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลายสุข ๒ อย่างนี้แล ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ สุขเกิดแต่บรรพชาเป็นเลิศ.
จบสูตรที่ ๑.
สูตรที่ ๒
[๓๑๐] ๖๔. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ
กามสุข ๑ เนกขัมมสุข ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ เนกขัมมสุขเป็นเลิศ. จบสูตรที่ ๒.
สูตรที่ ๓
[๓๑๑] ๖๕. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ สุข
เจือกิเลส ๑ สุขไม่เจือกิเลส ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้แล ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ สุขไม่เจือกิเลสเป็นเลิศ. จบสูตรที่ ๓.
สูตรที่ ๔
[๓๑๒] ๖๖. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็น ไฉน คือ สุขมี
อาสวะ ๑ สุขไม่มีอาสวะ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ สุขไม่มีอาสวะเป็นเลิศ.
จบสูตรที่ ๔.
สูตรที่ ๕
[๓๑๓] ๖๗. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ สุขอิง
อามิส ๑ สุขไม่อิงอามิส ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ สุขไม่อิงอามิสเป็นเลิศ.
จบสูตรที่ ๕.
สูตรที่ ๖
[๓๐๔] ๖๘. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ สุข
ของพระอริยเจ้า ๑ สุขของปุถุชน ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้แล ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ สุขของพระอริยเจ้าเป็นเลิศ.
จบสูตรที่ ๖.
สูตรที่ ๗
[๓๑๕] ๖๙. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ
กายิกสุข ๑ เจตสิกสุข ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ เจตสิกสุขเป็นเลิศ. จบสูตรที่ ๗.
สูตรที่ ๘
[๓๑๖] ๗๐. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ สุข
อันเกิดแต่ฌานที่ยังมีปีติ ๑ สุขอันเกิดแต่ฌานที่ไม่มีปีติ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
สุข ๒ อย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ สุขอันเกิดแต่ฌาน
ไม่มีปีติเป็นเลิศ. จบสูตรที่ ๘.
สูตรที่ ๙
[๓๑๗] ๗๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ
สุขเกิดแต่ความยินดี ๑ สุขเกิดแต่ความวางเฉย ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุข ๒
อย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ สุขเกิดแต่การวางเฉย
เป็นเลิศ. จบสูตรที่ ๙.
สูตรที่ ๑๐
[๓๑๘] ๗๒. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ สุขที่
ถึงสมาธิ ๑ สุขที่ไม่ถึงสมาธิ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้แล ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ สุขที่ถึงสมาธิเป็นเลิศ.
จบสูตรที่ ๑๐.
สูตรที่ ๑๑
[๓๑๙ ] ๗๓. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้ ๒ อย่าง เป็นไฉน คือ
สุขเกิดแต่ฌานมีปีติเป็นอารมณ์ ๑ สุขเกิดแต่ฌานไม่มีปีติเป็นอารมณ์ ๑ ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ สุขเกิด
แต่ฌานไม่มีปีติเป็นอารมณ์เป็นเลิศ.
จบสูตรที่ ๑๑.
สูตรที่ ๑๒
[๓๒๐] ๗๔. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ สุข
ที่มีความยินดีเป็นอารมณ์ ๑ สุขที่มีความวางเฉยเป็นอารมณ์ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
สุข ๒ อย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลายบรรดาสุข ๒ อย่างนี้ สุขที่มีความวางเฉยเป็น
อารมณ์เป็นเลิศ. จบสูตรที่ ๑๒.
สูตรที่ ๑๓
[๓๒๑] ๗๕. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ สุข
ที่มีรูปเป็นอารมณ์ ๑ สุขที่ไม่มีรูปเป็นอารมณ์ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้
แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ สุขที่ไม่มีรูปเป็นอารมณ์เป็นเลิศ.
จบสูตรที่ ๑๓.
จบสุขวรรคที่ ๒.
สุขวรรคที่ ๒
อรรถกถาสูตรที่ ๑
สุขวรรคที่ ๒ สูตรที่ ๑ (ข้อ ๓๐๙) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า คิหิสุข ได้แก่ ความสุขทุกอย่างของคฤหัสถ์ทั้งหลายที่มีความ
สำเร็จกามเป็นมูล. บทว่า ปพฺพชฺชาสุข ได้แก่ ความสุขที่มีการบรรพชาเป็นมูล.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๑.
อรรถกถาสูตรที่ ๒
ในสูตรที่ ๒ (ข้อ ๓๑๐) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า กามสุข ได้แก่ ความสุขที่เกิดขึ้นเพราะปรารภกาม.บทว่า เนกฺขมฺมสุขํ
ความว่า บรรพชา ท่านเรียกว่าเนกขัมมะ สุขที่เกิดขึ้นเพราะปรารภเนกขัมม นั้น.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๒. อรรถกถาสูตรที่ ๓
ในสูตรที่ ๓ ( ข้อ ๓๑๑) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า อุปธิสุข ได้แก่ สุขที่เป็นไปในภูมิ ๓. บทว่า นิรูปธิสุข ได้แก่ สุขที่
เป็นโลกุตระ. จบอรรถกถาสูตรที่ ๓.
อรรถกถาสูตรที่ ๔
ในสูตรที่ ๔ (ข้อ ๓๑๒) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า สาสวสุข ได้แก่ สุขในวัฏฏะ ซึ่งเป็นปัจจัยแก่อาสวะทั้งหลาย. บทว่า
อนาสวสุข ได้แก่ สุขในพระนิพพาน ซึ่งไม่เป็นปัจจัยแก่อาสวะเหล่านั้น.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๔.
อรรถกถาสูตรที่ ๕
ในสูตรที่ ๕ (ข้อ ๓๑๓) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า สามิส ได้แก่ สุขเครื่องให้ถึงวัฏฏะ ยังมีกิเลส. บทว่า นิรามิส ได้แก่
สุขเครื่องให้ถึงพระนิพพาน ปราศจากกิเลส. จบอรรถกถาสูตรที่ ๕.
อรรถกถาสูตรที่ ๖
ในสูตรที่ ๖ (ข้อ ๓๑๔) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า อริยสุข ได้แก่ สุขของอริยบุคคล. บทว่า อนริยสุข ได้แก่ สุขของ
ปุถุชน. จบอรรถกถาสูตรที่ ๖.
อรรถกถาสูตรที่ ๗
ในสูตรที่ ๗ (ข้อ ๓๑๕) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า กายิก ได้แก่ สุขที่เกิดร่วมกับกายวิญญาณ. บทว่า เจตสิก ได้แก่
สุขที่เกิดทางมโนทวาร. ตรัสคละกันทั้งโลกิยะและโลกุตระ.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๗. อรรถกถาสูตรที่ ๘
ในสูตรที่ ๘ (ข้อ ๓๑๖) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า สปฺปีติก ได้แก่ สุขในปฐมฌานและทุติยฌาน. บทว่า นิปฺปีติก
ได้แก่ สุขในตติยฌานและจตุตถฌาน. บรรดาสุข ๒ อย่างนั้น พึงทราบความเป็นเลิศ
โดยไม่แบ่งชั้นอย่างนี้ คือ สุขปราศจากปีติที่เป็นโลกิยะ เลิศกว่าสุขมีปีติที่เป็น
โลกิยะ และสุขปราศจากปีติที่เป็นโลกุตระ เลิศกว่าสุขมีปีติที่เป็นโลกุตระ.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๘.
อรรถกถาสูตรที่ ๙
ในสูตรที่ ๙ (ข้อ ๓๑๗) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า สาตสุข ได้แก่ สุขในฌานทั้ง ๓. บทว่า อุเปกฺขาสุข ได้แก่ สุขใน
จตุตถฌาน. จบอรรถกถาสูตรที่ ๙.
อรรถกถาสูตรที่ ๑๐
ในสูตรที่ ๑๐ (ข้อ ๓๑๘) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า สมาธิสุข ได้แก่ สุขที่ถึงอัปปนาสมาธิ หรือ อุปจารสมาธิ. บทว่า
อสมาธิสุข ได้แก่ สุขที่ไม่ถึงสมาธิทั้งสองนั้น.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๑๐.
อรรถกถาสูตรที่ ๑๑
ในสูตรที่ ๑๑ (ข้อ ๓๑๙) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า สปฺปีติการมฺมณ ได้แก่ สุขที่เกิดขึ้นแก่ผู้พิจารณาฌานทั้งสอง ที่มีปีติ
เป็นอารมณ์ แม้ในฌาน ที่ไม่มีปีติเป็นอารมณ์ ก็นัยนี้แหละ.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๑๑.
อรรถกถาสูตรที่ ๑๒
ในสูตรที่ ๑๒ (ข้อ ๓๒๐) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๑๒.
อรรถกถาสูตรที่ ๑๓
ในสูตรที่ ๑๓ (ข้อ ๓๒๑) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า รูปารมฺมณ ได้แก่ สุขที่เกิดขึ้นเพราะปรารภรูปอย่างใดอย่างหนึ่ง อัน
เป็นอารมณ์ของรูปาวรจตุตถฌาน. บทว่า อรูปารมฺมณ ได้แก่ สุขที่เกิดขึ้นเพราะ
ปรารภอรูปอย่างใดอย่างหนึ่ง อันเป็นอารมณ์ของอรูปาวจรฌาน.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๑๓. จบสุขวรรคที่ ๒ .
ข้อความโดยสรุป
สุขวรรคที่ ๒ (ว่าด้วยสุข ๒ อย่าง)
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงพระสูตรที่ว่าด้วยสุข ๒ อย่าง โดยนัยต่าง ๆ รวม
๑๓ พระสูตร ดังต่อไปนี้ .-
สูตรที่ ๑. สุขของคฤหัสถ์ กับ สุขที่เกิดจากการบวช
สูตรที่ ๒. สุขเกิดจากกาม กับ สุขเกิดจากการออกจากกาม
สูตรที่ ๓. สุขที่เจือด้วยกิเลส (คือ สุขที่เป็นไปในภูมิ ๓) กับ สุขไม่เจือด้วยกิเลส (คือ
สุขที่เป็นโลกุตตระ)
สูตรที่ ๔. สุขที่มีอาสวะ (คือ สุขในวัฏฏะ) กับ สุขที่ไม่มีอาสวะ (คือ สุขในพระนิพพาน)
สูตรที่ ๕. สุขที่อิงอามิส (คือ สุขเครื่องให้ถึงวัฏฏะ) กับ สุขที่ไม่อิงอามิส (คือ สุข
เครื่องให้ถึงพระนิพพาน)
สูตรที่ ๖. สุขของพระอริยบุคคล กับ สุขของปุถุชน
สูตรที่ ๗. สุขทางกาย กับ สุขทางใจ
สูตรที่ ๘. สุขที่เกิดจากฌานมีปีติ (คือ สุขในฌานที่ ๑ - ๒) กับ สุขที่เกิดจากฌาน
ไม่มีปีติ (คือ สุขในฌานที่ ๓ - ๔)
สูตรที่ ๙. สุขที่เกิดแต่ความยินดี (คือ สุขในฌานที่ ๑ - ๓) กับ สุขที่เกิดแต่ความ
วางเฉย (คือ สุขในฌานที่ ๔)
สูตรที่ ๑๐. สุขที่ถึงสมาธิ (คือ สุขที่ถึงอัปปนาสมาธิ หรือ อุปจารสมาธิ) กับ ความสุข
ที่ไม่ถึงสมาธิ (คือสุขที่ไม่ถึงอัปปนาสมาธิ หรือ อุปจารสมาธิ)
สูตรที่ ๑๑. สุขที่เกิดแต่ฌานมีปีติเป็นอารมณ์ (คือ สุขที่เกิดขึ้นแก่ผู้ พิจารณาฌาน
ที่ ๑ - ๒) กับ สุขที่เกิดแต่ฌานไม่มีปีติเป็นอารมณ์ (คือ สุขที่เกิดขึ้นแก่ผู้ พิจารณา
ฌานที่ ๓ - ๔)
สูตรที่ ๑๒. สุขที่มีความยินดีเป็นอารมณ์ (คือ สุขที่เกิดขึ้นแก่ผู้พิจารณาฌานที่
๑ - ๓) กับ สุขที่มีความวางเฉยเป็นอารมณ์ (คือ สุขที่เกิดขึ้นแก่ผู้พิจารณาฌานที่ ๔)
สูตรที่ ๑๓. สุขที่มีรูปเป็นอารมณ์ (คือสุขที่เกิดขึ้นเพราะปรารภอารมณ์ของรูปฌาน)
กับ สุขที่ไม่มีรูปเป็นอารมณ์ (คือ สุขที่เกิดขึ้นเพราะปรารภอารมณ์ของอรูปฌาน).
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 206
๒. อันนนาถสูตร ว่าด้วยสุข ๔ ประการ
[๖๒] ครั้งนั้น อนาถบิณฑิกคฤหบดีเข้าไปเฝ้า ฯลฯ พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนคฤหบดี สุข ๔ ประการนี้ อันคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม
ควรได้รับตามกาลสมัย สุข ๔ ประการคืออะไรบ้าง คือ
อตฺถิสุขํ สุขเกิดแก่ความมีทรัพย์
โภคสุขํ สุขเกิดแต่การจ่ายทรัพย์บริโภค
อนณสุขํ สุขเกิดแต่ความไม่ต้องเป็นหนี้
อนวชฺชสุขํ สุขเกิดแต่ประกอบการงานที่ปราศจากโทษ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ หน้า๓๖๗
พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสพระคาถานี้ว่า "ความเร่าร้อน ย่อมไม่มีแก่ท่านผู้มีทางไกล-
อันถึงแล้ว หาความเศร้าโศกมิได้ หลุดพ้นแล้วใน-
ธรรมทั้งปวง ผู้ละกิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งปวงได้แล้ว"
แก้อรรถ บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า คตทฺธิโน ได้แก่ ผู้มีทางไกลอันถึงแล้ว. ชื่อว่า
ทางไกลมี ๒ อย่าง คือ ทางไกลคือกันดาร ทางไกลคือวัฏฏะ, บรรดาทางไกล ๒
อย่างนั้น ผู้เดินทางกันดาร ยังไม่ถึงที่ที่ตนปรารถนาเพียงใด ก็ชื่อว่าผู้เดิน
ทางไกลเรื่อยไปเพียงนั้น, แต่เมื่อทางไกลนั้นอันเขาถึงแล้ว ย่อมเป็นผู้ชื่อว่ามีทาง
ไกลอันถึงแล้ว, ฝ่ายสัตว์ทั้งหลายแม้ผู้อาศัยวัฏฏะ ยังอยู่ในวัฏฏะเพียงใด; ก็ชื่อ
ว่าผู้เดินทางไกลเรื่อยไปเพียงนั้น. มีคำถามสอดเข้ามาว่า เพราะเหตุไร ? แก้ว่า
เพราะความที่วัฏฏะอันตนยังให้สิ้นไปไม่ได้. แม้พระอริยบุคคลทั้งหลายมีพระโสดาบัน
เป็นต้น ก็ชื่อว่าผู้เดินทางไกลเหมือนกัน. ส่วนพระขีณาสพ(ผู้สิ้นอาสวะ,พระอรหันต์)
ยังวัฏฏะให้สิ้นไปได้แล้วดำรงอยู่ ย่อมเป็นผู้ชื่อว่ามีทางไกลอันถึงแล้ว.
(จาก อภัยเถรคาถา)
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ ๔๕๗
ก็พระอภัยเถระครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว เมื่อจะแสดงว่า สำหรับผู้ที่(ประพฤติ)
คล้อยตามกิเลส ไม่มีโอกาสที่จะยกศีรษะขึ้นจากวัฏฏทุกข์ได้เลย ส่วนตัวเรา
ไม่ประพฤติตามกิเลสเหล่านั้น ดังนี้ ด้วยการชี้ให้เห็นการบังเกิดขึ้นแห่งกิเลสของตน
ได้กล่าวคาถาว่า
เมื่อบุคคลได้เห็นรูปแล้ว มัวใส่ใจถึงอารมณ์อัน
เป็นที่รัก สติก็หลงลืม ผู้ใดมีจิตกำหนัด ยินดีเสวย
รูปารมณ์ รูปารมณ์ก็ครอบงำผู้นั้น อาสวะทั้งหลาย
ย่อมเจริญแก่ผู้นั้น ผู้เข้าถึงซึ่งมูลแห่งภพ ดังนี้.
----------------------------
(จาก อุตติยเถรคาถา)
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ ๔๕๙ ก็พระอุตติยะเถระ ครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว เมื่อจะแสดงความว่า เมื่อบุคคล
ไม่รังเกียจกิเลสทั้งหลาย ย่อมไม่มีทางที่จะยกศีรษะขึ้นจากทุกข์ในวัฏฏะได้ ส่วนเรา
รังเกียจกิเลสเหล่านั้นแล้วทีเดียว ดังนี้ โดยมุ่งแสดงให้เห็นการบังเกิดขึ้นแห่งกิเลส
ของตน ได้กล่าวคาถาว่า บุคคลผู้ได้สดับเสียงแล้ว พึงใส่ใจถึงอารมณ์
อันเป็นที่รัก สติก็หลงลืม ผู้ใดมีจิตกำหนัดยินดี
เสวยสัททารมณ์ สัททารมณ์ก็ครอบงำผู้นั้น อาสวะ
ย่อมเจริญแก่ผู้นั้น ผู้เข้าถึงซึ่งสังสาระ(สังสารวัฏฏ์).
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ ๓๗๓
๗. โรคสูตร
(ว่าด้วยโรค ๒ อย่าง)
[๑๕๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โรค ๒ อย่างนี้ โรค ๒ อย่างเป็นไฉน คือ
โรคกาย ๑ โรคใจ ๑ ปรากฏอยู่ว่า สัตว์ทั้งหลาย ผู้ยืนยันว่าไม่มีโรคทางกายตลอด
เวลา ๑ ปีก็มี ยืนยันว่าไม่มีโรคทางกายตลอดเวลา ๒ ปีก็มี ๓ ปีก็มี ๔ ปีก็มี ๕ ปี
ก็มี ๑๐ ปีก็มี ๒๐ ปีก็มี ๓๐ ปีก็มี ๔๐ ปีก็มี ๕๐ ปีก็มี ๑๐๐ ปีก็มี ยิ่งกว่า
๑๐๐ ปีก็มี แต่ว่าผู้ที่จะยืนยันว่าไม่มีโรคทางใจแม้เพียงเวลาครู่เดียวนั้นหาได้ยาก
ในโลก เว้นแต่พระขีณาสพ.
เอาบุญมาฝากวันนี้ได้ถวายสังฆทาน กรวดน้ำอุทิศบุญ เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน รักษาศีล อาราธนาศีล เจริญวิปัสสนา ปฏิบัติธรรม ถวายข้าวพระพุทธรูป ศึกษาธรรม ให้อาหารสัตว์เป็นทาน ทำงานบ้านช่วยพ่อแม่และเจริญอาโปกสิน ศึกษาการรักษาโรค ที่ผ่านมาได้ร่วมงานทำบุญปิดทองที่พระเจดีย์ธาตุเป็นประจำ เมื่อวานนี้พิเศษได้ให้เลือดเนื้อเป็นทานหลายครั้ง
ไปบริจาคโลหิต 17 ครั้งแล้ว และอนุโมทนากับผู้บริจาคโลหิต
และ 2 วันที่ผ่านมาได้มีการออกหน่วยบริจาคโลหิต
และอนูโมทนากับทานอุปปารมีคือสละเลือดเนื้อเป็นทาน
ได้สนทนาธรรมกับหลวงปู่ฉะอ้อนที่วัดแหลมหิน
ได้ถวายกัณเทศ ได้ฟังธรรมสวดมนต์เป็นหมู่คณะ
ได้สนทนาธรรมเป็นเวลา 2 วัน ได้นำดอกไม้ไปบูชาที่
พระประธานและพระธาตุได้รักษาอาการป่วยของคุณแม่
คุณแม่ได้จัดดอกไม้ทำความสะอาดหิ้งพระและสวดมนต์
ฟังธรรมเป็นประจำและเมื่อวานนี้ได้ทำบุญ ค่ากระเบื้องปูพื้นศาลา
และและกระเบื้องมุงหลังคา พร้อมกับสังฆทานชุดใหย่ มีพระพุทธรูปอีกหลายองค์ได้เสียสละที่นั่งให้ผู้อื่นขณะเดินทางไปไหว้พระพุทธโสธร
ไหว้พระพุทธสิหิงค์ ไหว้พระที่วัดเครือวัลย์ อนุโมทนากับผู้มาทำบุญตามสถานที่ต่างๆ และร่วมบุญสร้างศาลาปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน
และได้ถวายสังฆทานเป็นประจำ
และสร้างบารมีครบทั้ง 10 อย่าง ขอให้อนุโมทนาบุญด้วย
ด่วนที่สุดต้องการเจ้าภาพสร้างพระปางประจำวันเกิด 8 วัน 8 องค์ 50,000 บาท
สถานที่ที่ดำเนินการก่อสร้าง วัดเทียบศิลาราม ม.18 บ.หลักหินใหม่ ต.บักดอง อ.ขุนหาญ จ.ศรีสะเกษ ผู้ดูแลการก่อสร้าง พระสุพิน อัตตสันโต โทร 085.657.8676 ช่างผู้ก่อสร้าง นายประเดิม
|