Switch to full style
พระพุทธพจน์ - พุทธภาษิต พระธรรมเทศนา และ ธรรมะจากครูบาอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
ตอบกระทู้

ตาม

เสาร์ 18 ก.ย. 2010 9:55 am

ตามหลักพระธรรมของพระพุทธเจ้าผู้ตรัสรู้แสดงว่า เมื่อจิตเกิดขึ้นต้องรู้อารมณ์

ไม่มีขณะใดเลยในสังสารวัฏฏ์ที่จิตเกิดขึ้นจะว่างเว้นจากอารมณ์ทั้ง ๖ อารมณ์




ต่อไปจะแสดงธรรมเกี่ยวกับอาบัติ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 710

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุนั้น พึงเข้าไปหาสงฆ์ กระทำอุตราสงค์เฉวียงบ่า

ข้างหนึ่ง ไหว้เท้าแห่งภิกษุผู้แก่ทั้งหลายแล้ว นั่งกระโหย่ง ประนมมือพึงกล่าว

อย่างนี้ว่า

อหํ ภนฺเตอิตฺถนฺนามํ อาปตฺตึ อาปนฺโน ตํ ปฏิเทเสมิ ( ท่านเจ้าข้า ! กระผมต้อง

อาบัติมีชื่ออย่างนี้ ขอแสดงคืนอาบัตินั้น ).

ภิกษุผู้แสดง อันภิกษุรับอาบัตินั้น พึงกล่าวว่า ปสฺสสิ (เธอเห็นหรือ).

ผู้แสดง: อาม ปสฺสามิ (ขอรับ ! ผมเห็น)

ผู้รับ: อายตึ สํวเรยฺยาสิ (เธอพึงสำรวมต่อไป).

ผู้แสดง: สาธุ สุฏฺฐุ สํวริสฺสามิ (ดีละ ผมจะสำรวมให้ดี).

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 620

[วิเคราะห์สังฆาทิเสส]

คำว่า สงฺโฆว เทติ ปริวาสํ เป็นอาทิ ท่านกล่าวแล้ว เพื่อแสดง

แต่เนื้อความเท่านั้น ไม่เอื้อเฟื้อพยัญชนะ แม้ในคาถาที่ ๒.

ก็ในบทว่า สงฺฆาทิเสโส เป็นอาทินี้ มีเนื้อความดังต่อไปนี้:-

การออกจากอาบัตินั้นใด ของภิกษุผู้ต้องอาบัตินี้แล้วใคร่จะออก สงฆ์

อันภิกษุนั้นพึงปรารถนา ในกรรมเบื้องต้นแห่งการออกจากอาบัตินั้น เพื่อ

ประโยชน์แก่การให้ปริวาส และในกรรมที่เหลือจากกรรมเบื้องต้น คือใน

ท่ามกลาง เพื่อประโยชน์แก่การให้มานัต หรือเพื่อประโยชน์แก่การให้มานัตต์

กับมูลายปฏิกัสสนะ และในที่สุดเพื่อประโยชน์แก่อัพภาน. ก็ในกรรมทั้งหลาย

มีปริวาสกรรมเป็นต้นนี้ กรรมแม้อย่างหนึ่ง เว้นสงฆ์เสีย อันใคร ๆ ไม่อาจ

ทำได้ ฉะนี้แล.

สงฆ์อันภิกษุพึงปรารถนาในกรรมเบื้องต้น และในกรรมที่เหลือแห่ง

กองอาบัตินั้น เหตุนั้น กองอาบัตินั้น ชื่อว่าสังฆาทิเสส.

[วิเคราะห์นิสสัคคีย์]

เนื้อความแห่งคาถาที่ ๕ พึงทราบดังนี้:-

หลายบทว่า นิสฺสชฺชิตฺวา ย เทเสติ เตเนตํ มีความว่า ความ

ละเมิดนั้น ท่านเรียกนิสสัคคิยะ เพราะต้องสละแล้วจึงแสดง.


พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 622

[วิเคราะห์ปาจิตตีย์]

เนื้อความคาถาที่ ๖ พึงทราบดังนี้:-

บาทคาถาว่า ปาเตติ กุสลํ ธมฺมํ มีความว่า ความละเมิดนั้น

ยังกุศลจิตกล่าวคือกุศลธรรม ของบุคคลผู้แกล้งต้องให้ตกไป เพราะเหตุนั้น

ความละเมิดนั้น ชื่อว่ายังจิตให้ตกไป เพราะฉะนั้น ความละเมิดนั้น ชื่อว่า

ปาจิตติยะ.

ก็ปาจิตติยะ ย่อมยังจิตให้ตกไป, ปาจิตติยะนั้น ย่อมผิดต่ออริยมรรค

และย่อมเป็นเหตุแห่งความลุ่มหลงแห่งจิต. เพราะเหตุนั้น คำว่า ผิดต่อ

อริยมรรค และคำว่า เป็นเหตุแห่งความลุ่มหลงแห่งจิต ท่านจึงกล่าวแล้ว.

[วิเคราะห์ปาฏิเทสนียะ]

ในปาฏิเทสนียคาถาทั้งหลาย คำว่า ภิกษุเป็นผู้ไม่มีญาติ เป็นอาทิ

ท่านกล่าวแล้ว เพื่อแสดงความกระทำความเป็นธรรมที่น่าติ ซึ่งพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสว่า แน่ะเธอ ฉันต้องธรรมที่น่าติ. ก็อาบัตินั้น ท่านเรียกว่า

ปาฏิเทสนียะ เพราะจะต้องแสดงคืน.

[วิเคราะห์ทุกกฏ]

เนื้อความแห่งทุกกฏคาถา พึงทราบดังนี้:-

คำว่า ผิด แย้ง พลาด นี้ทั้งหมด เป็นคำยักเรียก ทุกกฏที่กล่าว

ไว้ในคำนี้ว่า ยญฺจ ทุกฺกฏํ.

จริงอยู่ กรรมใด อันบุคคลทำไม่ดี หรือทำผิดรูป กรรมนั้น ชื่อว่า

ทุกกฏ. ก็ทุกกฏนั้นแล ชื่อว่าผิด เพราะเหตุที่ไม่ทำตามประการที่พระศาสดา

ตรัส ชื่อว่าแย้ง เพราะเป็นไปแย้งกุศล ชื่อว่าพลาด เพราะไม่ย่างขึ้นสู่ข้อ

ปฏิบัติในอริยมรรค.

๑. การปลงอาบัติเป็นพุทธบัญญัติสำหรับพระภิกษุ และพระภิกษุณีทั้งหลายจุดประสงค์

คือ เพื่อเป็นการแก้ไขในการกระทำผิดพลาดที่ไม่ร้ายแรงของผู้ที่ปฏิญญาว่าเป็นสมณะ

เชื้อสายศากยะบุตร เพื่อให้สำรวมระวังต่อไปว่าจะไม่กระทำเช่นนี้อีก และเพื่อความ

บริสุทธิ์ของท่านในการอยู่ร่วมกันของสงฆ์ถ้ากระทำผิดที่ร้ายแรง เช่น เสพเมถุน ฆ่า

มนุษย์ เป็นต้น แก้ไขหรือปลงอาบัติไม่ได้คือพ้นจากความเป็นสภาพของพระภิกษุทันที

จะอยู่ร่วมกับหมู่คณะอีกไม่ได้

๒.การปลงอาบัติไม่ใช่เป็นการแก้อกุศลกรรมบถ คือกรรมที่ได้กระทำสำเร็จไปแล้วย่อม

ส่งผลได้เมื่อมีโอกาส แต่การปลงอาบัติเป็นการแก้ไขทางพระวินัยที่จะไม่เป็นเครื่อง

ห้ามสวรรค์หรือมรรคผลของผู้นั้นในชาตินั้น ถ้าไม่ปลงเป็นเครื่องห้าม ฯ

๓. วัตถุประสงค์การบัญญัติ มี ๑๐ ประการ โปรดอ่านที่พระวินัย




พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ หน้าที่ 393

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักอนันตริยกรรม

แก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ
เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑

เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑

เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑

เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑

เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑

เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑

เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ๑

เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑

เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑

เพื่อถือตามพระวินัย ๑


เอาบุญมาฝากวันนี้ได้ถวายสังฆทาน
อนุโมทนาบุญกับผู้ใส่บาตรตามถนนหนทาง กรวดน้ำอุทิศบุญ เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน
รักษาศีล อาราธนาศีล เจริญวิปัสสนา ได้ปฏิบัติธรรม
ได้ถวายข้าวพระพุทธรูป สักการะพระธาตุ
ทำงานบ้านช่วยพ่อแม่และเจริญอาโปกสิน ศึกษาการรักษาโรค
ให้อาหารสัตว์เป็นทาน และได้นำพระธาตุไปประดิษฐานตามวัด
และสร้างบารมีครบทั้ง 10 อย่าง ขอให้อนุโมทนาบุญด้วย



ขอเชิญร่วมทำบุญบูรณะปฏิสังขรณ์ปิดทององค์พระประธานพระวิหารวัดบุญนาค

รับเป็นเจ้าภาพปฎิสังขรณ์และปิดทององค์พระประธาน
องค์ละ ๕๐,๐๐๐ บาท
รับเป็นเจ้าภาพปฏิสังขรณ์และปิดทองพระอัครสาวกซ้าย-ขวา
องค์ละ ๓๕,๐๐๐ บาท
เจ้าภาพฐานชุกชีพร้อมประดับไฟ ประมาณ ๘๐,๐๐๐ บาท

ร่วมทำบุญเพื่อสมทบทุน กองบุญละ ๑๙๙ บาท

หรือร่วมทำบุญสมทบทุนได้ตามกำลังศรัทธา

สำหรับท่านสาธุชนญาติโยมท่านใดที่ต้องการจะร่วมทำบุญสร้างบารมีในครั้งนี้สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
พระอาจารย์ภูวดล ญาณโสภโณ เจ้าอาวาสวัดบุญนาค
สำนักงานเลขาเจ้าคณะตำบลทุ่งต้อม สันป่าตอง เชียงใหม่
โทร ๐๘๒-๕๕๖๒๘๗๙
ตอบกระทู้