ลองพิจารณาอุบายต่อไปนี้
1. ถ้าในโลกมีเราอยู่คนเดียว ความคิดในเรื่องนี้ ก็ไม่มี และคงไม่ยอมตายเสียดีกว่า
คิดสิ่งใด สิ่งนั้นก็เป็นอารมณ์ของจิต ไม่คิดถึงสิ่งนั้น สิ่งนั้นก็ไม่มี ต่อปัญหานี้ มีกามคุณห้า (รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ) และรูป-นาม (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) คลุมหมด แท้จริงทุกคนอยู่ในโลกคนเดียว คือ โลกทางตา......และทางใจ ก็ไม่ต้องกังวลว่าใครจะดูถูก เพราะเขาเหล่านั้นไม่ได้อยู่กับเรา แต่ละคนมีโลกของตนเอง ความรู้สึกหิวหรืออิ่ม คนอื่นไม่อาจล่วงรู้แทนกันได้ ไม่ควรยึดว่าพฤติกรรมนี้ดีหรือไม่ดี แต่ควรดูผลหรือวิบาก(กรรม)ที่ตามมาเป็นเกณฑ์ตัดสิน ในด้านเศรษฐกิจ ทำให้เสียทรัพย์ ผู้ผลิตยิ่งรวย เรายิ่งแย่, ในด้านสุนทรียะ ทำให้นิ้วมือเหลืองเพราะคราบสารนิโคตินฯลฯ ริมฝีปากแห้ง หน้าตาอิดโรย เสื้อผ้าสกปรก สิ่งแวดล้อมไม่ดี, ในด้านสังคม เป็นที่รังเกียจ เบียดเบียนคนใกล้ชิด และเพื่อนบ้าน, ในด้านสุขภาพ ทำให้ปากเหม็น ปวดหัว ไอ เจ็บคอ เสลด เลือด หนอง ทั้งตื่นและหลับ ต้องใช้เวลานอนมากกว่าปกติ โรคถุงลมโป่งพอง เส้นเลือดตีบ โรคกระเพาะ ฯลฯ แม้จะมีวิทยาการเปลี่ยนปอดใหม่ได้ แต่ก็ไม่จำเป็นต้องทำให้ที่มีอยู่แล้วเสียไป เรารอให้หมอหรือคนอื่นมาแก้ ทั้งที่ปัญญาอยู่ใกล้นี่เอง ความอยากสูบจะเกิดภายในทุก 15 นาที อย่างมากก็อยากตลอดเวลา(แม้กระทั่งในฝัน) ถึงจะมีที่เฉพาะให้เสพ ชีวิตก็ไม่เป็นปกติสุข ต้องคอยหลบซ่อน คล้ายอสุรกาย(ขออภัย) ธรรมชาติให้พื้นที่อิสรภาพในชีวิตมา 100% แต่เราทำให้เหลือน้อยลงอีก จากที่แบ่งไปให้ความกลัว(โทสะเจตสิก) เช่น ผี เป็นต้น ตามข้อมูล โลกเกิดขึ้นเมื่อประมาณ 4,600 ล้านมาแล้ว ใน 1,000 ล้านปีแรกไม่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ ต่อมา ชีวิตที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น (จุลินทรีย์) เริ่มเกิดขึ้นและใช้เวลาวิวัฒนาการอีก 3,600 ล้านปี จากกระดูกที่ค้นพบลงความเห็นกันว่ามนุษย์เพิ่งมีไม่กี่หมื่นปีหรือแสนปีนี่เอง และคำว่าหมื่น แสน ล้าน ก็ไม่ใช่อายุปีของคนเวลานี้ ช่วงชีวิตสั้นนัก แต่ผู้ที่บั่นทอนทำให้ยิ่งสั้นลงไปอีกก็คือ ตัวตน ที่ยึดไว้นั่นเอง
“…..ผู้ใดไม่เห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมอยู่ พึงเป็นอยู่ ๑๐๐ ปี ความเป็นอยู่วันเดียวของผู้เห็นความเกิดและความเสื่อม ประเสริฐกว่าความเป็นอยู่ของผู้นั้น…..”
(พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒) - หน้าที่ 416
ชีวิตคืออะไร และ ชีวิตควรเป็นอยู่อย่างไร จึงน่าคิด ข้อที่ว่า วาจาดี ท่านใช้คำว่า ความสะอาด จักรู้ได้ด้วยถ้อยคำ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ ๔๗๕
๒. ฐานสูตร
ว่าด้วยฐานะ ๔ ที่พึงรู้ด้วยฐานะ ๔
[๑๙๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฐานะ ๔ ประการนี้ พึงรู้ด้วย
ฐานะ ๔ ฐานะ ๔ เป็นไฉน ?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ศีลพึงรู้ได้ด้วยการอยู่ร่วมกันและศีลนั้น
พึงรู้ได้ด้วยกาลนาน ไม่ใช่เล็กน้อย มนสิการอยู่จึงจะรู้ ไม่มนสิการ
อยู่หารู้ไม่ คนมีปัญญาจึงจะรู้ คนมีปัญญาทรามหารู้ไม่
ความสะอาดพึงรู้ได้ด้วยถ้อยคำ และความสะอาดนั้นพึงรู้ได้
โดยกาลนาน ไม่ใช่เล็กน้อย มนสิการอยู่จึงจะรู้ ไม่มนสิการหารู้ไม่
คนมีปัญญาจึงจะรู้ คนมีปัญญาทรามหารู้ไม่
กำลังใจพึงรู้ได้ในอันตราย และกำลังใจนั้นแล พึงรู้ได้โดย
กาลนาน ไม้ใช่เล็กน้อย มนสิการจึงจะรู้ ไม่มนสิการหารู้ไม่ คนมี
ปัญญาจึงจะรู้ คนมีปัญญาทรามหารู้ไม่
ปัญญาพึงรู้ได้ด้วยการสนทนา และปัญญานั้นแล พึงรู้ได้
โดยกาลนาน ไม่ใช่เล็กน้อย มนสิการจึงจะรู้ ไม่มนสิการหารู้ไม่ คน
มีปัญญาจึงจะรู้ คนมีปัญญาทรามหารู้ไม่.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็คำที่เรากล่าวว่า ศีลพึงรู้ได้ด้วยการ
อยู่ร่วมกัน ... คนมีปัญญาทรามหารู้ไม่ ดังนี้ นี้เรากล่าวแล้วเพราะ
อาศัยอะไร ? บุคคลในโลกนี้ เมื่ออยู่ร่วมกับบุคคลย่อมรู้อย่างนี้ว่า
ท่านผู้นี้มักทำศีลให้ขาด มักทำให้ทะลุ มักทำให้ด่าง มักทำให้พร้อย
ตลอดกาลนานแล ไม่กระทำติดต่อไป ไม่ประพฤติติดต่อในศีลทั้ง
หลาย ท่านผู้นี้เป็นคนทุศีล หาใช่เป็นคนมีศีลไม่ อนึ่ง บุคคลใน
โลกนี้ เมื่ออยู่ร่วมกับบุคคลย่อมรู้อย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้มีปกติไม่ทำศีลให้
ขาด ไม่ทำให้ทะลุ ไม่ทำให้ด่าง ไม่ทำให้พร้อยตลอดกาลนาน มี
ปกติทำติดต่อไป ประพฤติต่อในศีลทั้งหลาย ท่านผู้นี้เป็นผู้มีศีล หา
ใช่เป็นผู้ทุศีลไม่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำที่เรากล่าวว่า ศีลพึงรู้ได้ด้วย
การอยู่ร่วมกัน...คนปัญญาทรามหารู้ไม่ ดังนี้ นี้เรากล่าวแล้วเพราะ
อาศัยข้อนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็คำที่เรากล่าวว่า ความสะอาดพึงรู้ได้
ด้วยถ้อยคำ...คนมีปัญญาทรามหารู้ไม่ ดังนี้ นี้เรากล่าวแล้วเพราะ
อาศัยอะไร บุคคลในโลกนี้ สนทนาอยู่กับบุคคลย่อมรู้อย่างนี้ว่า ท่าน
ผู้นี้พูดกันตัวต่อตัวเป็นอย่างหนึ่ง พูดกันสองต่อสองเป็นอย่างหนึ่ง พูด
กันสามคนเป็นอย่างหนึ่ง พูดกันมากคนเป็นอย่างหนึ่ง ท่านผู้นี้พูดคำ
หลังผิดแผกไปจากคำก่อน ท่านผู้นี้มีถ้อยคำไม่บริสุทธิ์ ท่านผู้นี้หามี
ถ้อยคำบริสุทธิ์ไม่ อนึ่ง บุคคลในโลกนี้ เมื่อสนทนาอยู่กับบุคคลย่อม
รู้อย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้พูดกันตัวต่อตัวเป็นอย่างไร พูดกันสองคน สาม
คน มากคนก็อย่างนั้น ท่านผู้นี้พูดคำหลังไม่ผิดแผกจากคำก่อน มี
ถ้อยคำบริสุทธิ์ ท่านผู้นี้หามีถ้อยคำไม่บริสุทธิ์ไม่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
คำที่เรากล่าวว่า ความสะอาดพึงรู้ได้ด้วยถ้อยคำ... คนมีปัญญาทราม
หารู้ไม่ดังนี้ นี้เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็คำที่เรากล่าวว่า กำลังใจพึงรู้ได้ใน
อันตราย ... คนมีปัญญาทรามหารู้ไม่ ดังนี้ นี้เรากล่าวแล้วเพราะ
อาศัยอะไร ? บุคคลบางคนในโลกนี้ กระทบความเสื่อมญาติ กระทบ
ความเสื่อมโภคทรัพย์ หรือกระทบความเสื่อมเพราะโรค ย่อมไม่
พิจารณาอย่างนี้ว่า โลกสันนิวาสนี้เป็นอย่างนั้นเอง การได้อัตภาพ
เป็นอย่างนั้น ในโลกสันนิวาสตามที่เป็นแล้วในการได้อัตภาพตามที่
เป็นแล้ว โลกธรรม ๘ คือ ลาภ ๑ ความเสื่อมลาภ ๑ ยศ ความ
เสื่อมยศ ๑ นินทา ๑ สรรเสริญ ๑ สุข ๑ ทุกข์ ๑ ย่อมหมุนเวียน
ไปตามโลก และโลกย่อมหมุนไปตามโลกธรรม ๘ ดังนี้ บุคคลนั้น
กระทบความเสื่อมญาติ กระทมความเสื่อมโภคทรัพย์ หรือกระทบ
ความเสื่อมเพราะโรค ย่อมเศร้าโศก ลำบากใจ ร่ำไร ทุนบอกคร่ำ
ครวญ ถึงความหลงใหล ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ กระทบความ
เสื่อมญาติ กระทบความเสื่อมโภคทรัพย์ หรือกระทบความเสื่อมเพราะ
โรค ย่อมพิจารณาอย่างนี้ว่าโลกสันนิวาสนี้เป็นอย่างนั้นเอง การได้
อัตภาพเป็นอย่างนั้น ในโลกสันนิวาสตามที่เป็นแล้ว ในการได้อัตภาพ
ตามที่เป็นแล้ว โลกธรรม ๘ คือ ลาภ ๑ ความเสื่อมลาภ ๑ ยศ ๑
ความเสื่อมยศ ๑ นินทา ๑ สรรเสริญ ๑ สุข ๑ ทุกข์ ๑ หมุน
เวียนไปตามโลก และโลกย่อมหมุนเวียนตามโลกธรรม ๘ ดังนี้
บุคคลนั้นกระทบความเสื่อมญาติ กระทบความเสื่อมโภคทรัพย์ หรือ
กระทบความเสื่อมเพราะโรค ย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ลำบากใจ ไม่ร่ำไร
ไม่ทุบบอกคร่ำครวญ ไม่ถึงความหลงใหล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำที่
เรากล่าวว่า กำลังใจพึงรู้ได้ในอันตราย ...คนมีปัญญาทรามหารู้ไม่
ดังนี้ นี้เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็คำทำเรากล่าวว่า ปัญญาพึงรู้ได้ด้วย
การสนทนา... คนมีปัญญาทรามหารู้ไม่ ดังนี้ นี้เรากล่าวแล้วเพราะ
อาศัยอะไร บุคคลบางคนในโลกนี้ สนทนากับบุคคลย่อมรู้อย่างนี้
ว่า ความลึกซึ้งของท่านผู้นี้เพียงไร อภินิหารของท่านผู้นี้เพียงไร
และการถามปัญหาของท่านผู้นี้เพียงไร ท่านผู้นี้ปัญญาทราม ท่านผู้นี้
ไม่มีปัญญา ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะท่านผู้นี้ไม่อ้างบทความอันลึก
ซึ้ง อันสงบ ประณีต ที่สามัญชนคาดไม่ถึง ละเอียดอันบัณฑิตพึง
รู้ได้ อนึ่ง ท่านผู้นี้กล่าวธรรมอันใด ท่านผู้นี้ไม่สามารถจะบอก แสดง
บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก กระทำให้ตื้น ซึ่งเนื้อความแห่ง
ธรรมเป็นได้ โดยย่อหรือโดยพิสดาร ท่านผู้นี้มีปัญญาทราม ท่าน
ผู้นี้ไม่มีปัญญา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุรุษผู้มีจักษุยืนอยู่ที่ฝั่งห้วงน้ำ
พึงเห็นปลาเล็กๆ ผุดอยู่ เขาพึงทราบได้ว่า กิริยาผุดของปลาตัวนี้
เป็นอย่างไร ทำให้เกิดคลื่นเพียงไหน และมีความเร็วเพียงไร ปลา
ตัวนี้เล็ก ไม่ใช่ปลาตัวใหญ่ ดังนี้ ฉันใด บุคคลเมื่อสนทนากับบุคคล
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมรู้อย่างนี้ว่า ความลึกซึ้งของท่านผู้นี้เพียงไร
ฯลฯ ท่านผู้นี้มีปัญญาทราม ท่านผู้นี้ไม่มีปัญญา ดังนี้ ส่วนบุคคล
ในโลกนี้ สนทนาอยู่กับบุคคลย่อมรู้อย่างนี้ว่า ความลึกซึ้งของท่าน
ผู้นี้เพียงไร อภินิหารของท่านผู้นี้เพียงไร การถามปัญหาของท่าน
ผู้นี้เพียงไร ท่านผู้นี้มีปัญญา ท่านผู้นี้ไม่ใช่ทรามปัญญา ข้อนั้น
เพราะเหตุอะไร เพราะท่านผู้นี้ย่อมอ้างบทความลึกซึ้ง สงบ ประณีต
สามัญชนคาดไม่ถึง ละเอียด อันบัณฑิตพึงรู้ได้ และท่านผู้นี้ย่อม
กล่าวธรรมใด ท่านผู้นี้เป็นผู้สามารถเพื่อจะบอก เพื่อแสดง บัญญัติ
แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนกกระทำให้ตื้น ซึ่งเนื้อความแห่งธรรมนั้น ทั้ง
โดยย่อหรือพิสดารได้ ท่านผู้นี้เป็นผู้มีปัญญา ท่านผู้นี้หาใช่เป็นผู้มี
ปัญญาทรามไม่ ดังนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุรุษผู้มีจักษุยืนอยู่ที่ฝั่ง
ห้วงน้ำ พึงเห็นปลาตัวใหญ่กำลังผุด เขาพึงรู้อย่างนี้ว่ากิริยาผุดของ
ปลาตัวนี้เป็นอย่างไร ทำให้เกิดคลื่นได้เพียงไหน มีความเร็วเพียงไร
ปลาตัวนี้ใหญ่ หาใช่ปลาตัวเล็กไม่ ดังนี้ ฉันใด บุคคลสนทนาอยู่
กับบุคคลก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมรู้อย่างนี้ว่า ความลึกซึ่งของท่านผู้นี้
เพียงไร ฯลฯ ท่านผู้นี้มีปัญญา หาใช่เป็นผู้มีปัญญาทรามไม่ ดังนี้ ดู
ก่อนภิกษุทั้งหลายคำที่เรากล่าวว่า ปัญญาพึงรู้ได้ด้วยการสนทนา...
คนมีปัญญาทรามหารู้ไม่ ดังนี้ นี้เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฐานะ ๔ ประการนี้แล อันบุคคลพึง
รู้ได้ด้วยฐานะ ๔ นี้.
จบฐานสูตรที่ ๒
อรรถกถาฐานสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในฐานสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ฐานานิ คือเหตุทั้งหลาย. บทว่า ฐาเนหิ คือด้วย
เหตุทั้งหลาย. ความสะอาดชื่อ โสเจยฺยํ. บทว่า สํวสมาโน แปล
ว่า เมื่ออยู่ร่วมกัน. บทว่า น สตตการี น สตตวุตฺตี สีเลสุ ความ
ว่า ท่านผู้นี้จะมีชีวิตเป็นอยู่ด้วยศีลอยู่เนืองนิตย์ทุกเวลา ก็หามิได้.
บทว่า สํโวหรมาโน คือเมื่อพูด. บทว่า เอเกน เอโก โวหรติ ความ
ว่า ท่านผู้นี้พูดกันตัวต่อตัว. บทว่า โวกฺกมติ คือพูด. บทว่า ปุริม
โวหารา ปจฺฉิมโวหารํ คือ ท่านผู้นี้พูดคำหลังผิดแผกไปจากคำก่อน.
อธิบายว่า คำหลังกับคำก่อน และคำก่อนกับคำหลังไม่สมกัน. ในบท
เป็นต้นว่า ญาติพฺยสเนน คือเสื่อมญาติ อธิบายว่า เสียญาติ. แม้
ในบทที่สอง ก็นัยนี้แล. ส่วนในการเกิดโรค โรคนั้นแล ชื่อว่าเสียเพราะ
ทำความไม่มีโรคให้เสียไป. บทว่า อนุปริวตฺตนฺติ คือติดตาม. ในบทว่า ลาโภ จ เป็น
อาทิพึงนำนัยไปอย่างนี้ว่า ลาภย่อมหมุนไปตามอัตภาพหนึ่ง ความ
เสื่อมลาภย่อมหมุนไปตามอัตภาพหนึ่ง. บทว่า สากจฺฉายมาโน
ความว่า เมื่อทำการสนทนาด้วยอำนาจการถามและการตอปัญหา.
บทว่า ยถา แปลว่า โดยอาการใด. อุมมงค์แห่งปัญญา ชื่อ
อุมมังคะ. อภินิหารแห่งจิตด้วยอำนาจการแต่งปัญหา ชื่อ อภินิหาร.
การถามปัญหา ชื่อ สมุทาหาร. บทว่า สนฺตํ ความว่า ไม่กล่าวให้
สงบ เพราะข้าศึกสงบ. บทว่า ปณีตํ ได้แก่ ถึงความล้ำเลิศ. บทว่า
อตกฺกาวจรํ ความว่า ท่านผู้นี้ไม่กล่าวโดยประการที่อาจถือเอาได้ด้วย
การเดา ด้วยการคาดคะเน.
บทว่า นิปุณํ แปลว่า ละเอียด. บทว่า ปณฺฑิตเวท
นียํ แปลว่า อันพวกบัณฑิตพึงรู้ได้. บทที่เหลือในที่ทุกแห่ง พึงทราบ
โดยทำนองที่กล่าวแล้วนั้นแล.
จบอรรถกถาฐานสูตรที่ ๒
ข้อความโดยสรุป
ฐานสูตร
(ว่าด้วยฐานะ ๔ ที่พึงรู้ด้วยฐานะ ๔)
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงฐานะ ๔ ประการ ที่พึงรู้ได้ ด้วยฐานะ ๔ ประการ
ดังนี้ คือ
๑. ศีล พึงรู้ได้ ด้วยการอยู่ร่วมกัน (เมื่ออยู่ร่วมกันนาน ๆ ย่อมจะรู้ได้ว่า ใครเป็นผู้
มีศีล หรือ ไม่มีศีล)
๒. ความสะอาด พึงรู้ได้ ด้วยถ้อยคำ(บุคคลผู้ที่พูดไม่ว่าจะกับคนกี่คนก็ตาม ไม่เป็น
อย่างเดียวกัน เป็นอย่างอื่น ถ้อยคำของผู้นี้ย่อมไม่สะอาดไม่บริสุทธิ์ ส่วนผู้ที่มีถ้อยคำ
สะอาดบริสุทธิ์ ถึงแม้ว่าจะพูดกับคนกี่คนก็ตาม ย่อมเป็นอย่างเดียวกัน ไม่เป็นอย่างอื่น)
๓.กำลังใจ พึงรู้ได้ใน(คราวมี)อันตราย (บุคคลผู้ที่ไม่มีกำลังใจที่เข้มแข็ง เมื่อประสบ
กับโลกธรรมฝ่ายเสื่อม ไม่ว่าจะเป็นเสื่อมลาภ เสื่อมยศ เสื่อมเพราะโรคเป็นต้น ย่อม
เศร้าโศกเสียใจ ส่วนผู้มีกำลังใจที่เข้มแข็ง เมื่อประสบกับโลกธรรมฝ่ายเสื่อม เป็นผู้
พิจารณาเข้าใจความจริงของโลกธรรม ย่อมไม่เศร้าโศก ไม่เสียใจ)
๔. ปัญญา พึงรู้ได้ ด้วยการสนทนา (บุคคลผู้ที่มีปัญญา ย่อมสามารถรู้ถึงความลึก
ซึ้งของปัญญาของผู้ที่ตนสนทนาด้วยได้ โดยพิจารณาจากการถามปัญหา การอ้างบท
ธรรมที่ละเอียดลึกซึ้ง สามารถอธิบายจำแนกเปิดเผย ทั้งโดยย่อและโดยละเอียดได้)
ฐานะทั้ง ๔ ประการนี้ ต้องอาศัยกาลเวลาอันยาวนาน ไม่ใช่เวลาอันเล็กน้อย
ต้องใส่ใจ และผู้มีปัญญาเท่านั้น ถึงจะรู้ได้.
โลกธรรม ๘ คือ ลาภ ๑ ความเสื่อมลาภ ๑ ยศ ๑
ความเสื่อมยศ ๑ นินทา ๑ สรรเสริญ ๑ สุข ๑ ทุกข์ ๑ หมุน
เวียนไปตามโลก และโลกย่อมหมุนเวียนตามโลกธรรม ๘ ดังนี้
บุคคลนั้นกระทบความเสื่อมญาติ กระทบความเสื่อมโภคทรัพย์ หรือ
กระทบความเสื่อมเพราะโรค ย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ลำบากใจ ไม่ร่ำไร
ไม่ทุบบอกคร่ำครวญ ไม่ถึงความหลงใหล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำที่
เรากล่าวว่า กำลังใจพึงรู้ได้ในอันตราย ...คนมีปัญญาทรามหารู้ไม่
ดังนี้ นี้เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 475
๒. ฐานสูตร
ว่าด้วยฐานะ ๔ ที่พึงรู้ด้วยฐานะ ๔
[๑๙๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฐานะ ๔ ประการนี้ พึงรู้ด้วยฐานะ ๔
ฐานะ ๔ เป็นไฉน ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ศีลพึงรู้ได้ด้วยการอยู่ร่วมกัน
และศีลนั้น พึงรู้ได้ด้วยกาลนาน ไม่ใช่เล็กน้อย มนสิการอยู่จึงจะรู้ ไม่มนสิการ
อยู่หารู้ไม่ คนมีปัญญาจึงจะรู้ คนมีปัญญาทรามหารู้ไม่ ความสะอาดพึงรู้ได้
ด้วยถ้อยคำ และความสะอาดนั้นพึงรู้ได้โดยกาลนาน ไม่ใช่เล็กน้อย มนสิการ
อยู่จึงจะรู้ ไม่มนสิการหารู้ไม่ คนมีปัญญาจึงจะรู้ คนมีปัญญาทรามหารู้ไม่
กำลังใจพึงรู้ได้ในอันตราย และกำลังใจนั้นแล พึงรู้ได้โดยกาลนาน ไม่ใช่
เล็กน้อย มนสิการจึงจะรู้ ไม่มนสิการหารู้ไม่ คนมีปัญญาจึงจะรู้ คนมีปัญญา-
ทรามหารู้ไม่ ปัญญาพึงรู้ได้ด้วยการสนทนา ปัญญาพึงรู้ได้ด้วยการสนทนา
และปัญญานั้นแลพึงรู้ได้โดยกาลนาน ไม่ใช่เล็กน้อย มนสิการจึงจะรู้
ไม่มนสิการหารู้ไม่ คนมีปัญญาจึงจะรู้ คนมีปัญญาทรามหารู้ไม่.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็คำที่เรากล่าวว่า ศีลพึงรู้ได้ด้วยการอยู่ร่วมกัน
... คนมีปัญญาทรามหารู้ไม่ ดังนี้ นี้เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร ? บุคคล
ในโลกนี้ เมื่ออยู่ร่วมกับบุคคลย่อมรู้อย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้มักทำศีลให้ขาด
มักทำให้ทะลุ มักทำให้ด่าง มักทำให้พร้อย ตลอดกาลนานแล ไม่กระทำ
ติดต่อไป ไม่ประพฤติติดต่อในศีลทั้งหลาย ท่านผู้นี้เป็นคนทุศีล หาใช่
เป็นคนมีศีลไม่ อนึ่ง บุคคลในโลกนี้ เมื่ออยู่ร่วมกับบุคคลย่อมรู้อย่างนี้ว่า
ท่านผู้นี้มีปกติไม่ทำศีลให้ขาด ไม่ทำให้ทะลุ ไม่ทำให้ด่าง ไม่ทำให้พร้อย
ตลอดกาลนาน มีปกติทำติดต่อไป ประพฤติต่อในศีลทั้งหลาย ท่านผู้นี้
เป็นผู้มีศีล หาใช่เป็นผู้ทุศีลไม่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำที่เรากล่าวว่า ศีลพึงรู้ ได้ด้วยการอยู่ร่วมกัน.....คนปัญญาทรามหารู้ไม่ ดังนี้ นี้เรากล่าวแล้วเพราะ
อาศัยข้อนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็คำที่เรากล่าวว่า ความสะอาดพึงรู้ได้ด้วย
ถ้อยคำ.......คนมีปัญญาทรามหารู้ไม่ ดังนี้ นี้เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร
บุคคลในโลกนี้ สนทนาอยู่กับบุคคลย่อมรู้อย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้พูดกันตัวต่อตัว เป็นอย่างหนึ่ง พูดกันสองต่อสองเป็นอย่างหนึ่ง พูดกันสามคนเป็นอย่างหนึ่ง
พูดกันมากคนเป็นอย่างหนึ่ง ท่านผู้นี้พูดคำหลังผิดแผกไปจากคำก่อน ท่านผู้นี้
มีถ้อยคำไม่บริสุทธิ์ ท่านผู้นี้หามีถ้อยคำบริสุทธิ์ไม่ อนึ่ง บุคคลในโลกนี้
เมื่อสนทนาอยู่กับบุคคลย่อมรู้อย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้พูดกันตัวต่อตัวเป็นอย่างไร
พูดกันสองคน สามคน มากคน ก็อย่างนั้น ท่านผู้นี้พูดคำหลังไม่ผิดแผกจาก
คำก่อ มีถ้อยคำบริสุทธิ์ ท่านผู้นี้หามีถ้อยคำไม่บริสุทธิ์ไม่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
คำที่เรากล่าวว่า ความสะอาดพึงรู้ได้ด้วยถ้อยคำ ... คนมีปัญญาทรามหารู้ไม่
ดังนี้ นี้เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้. พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็คำที่เรากล่าวว่า กำลังใจพึงรู้ได้ในอันตราย
... คนมีปัญญาทรามหารู้ไม่ ดังนี้ นี้เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร ? บุคคล
บางคนในโลกนี้ กระทบความเสื่อมญาติ กระทบความเสื่อมโภคทรัพย์ หรือ
กระทบความเสื่อมเพราะโรค ย่อมไม่พิจารณาอย่างนี้ว่า โลกสันนิวาสนี้เป็น
อย่างนั้นเอง การได้อัตภาพเป็นอย่างนั้น ในโลกสันนิวาสตามที่เป็นแล้ว
ในการได้อัตภาพตามที่เป็นแล้ว โลกธรรม ๘ คือ ลาภ ๑ ความเสื่อมลาภ ๑
ยศ ความเสื่อมยศ ๑ นินทา ๑ สรรเสริญ ๑ สุข ๑ ทุกข์ ๑ ย่อมหมุนเวียน
ไปตามโลก และโลกย่อมหมุนไปตามโลกธรรม ๘ ดังนี้ บุคคลนั้นกระทบ
ความเสื่อมญาติ กระทมความเสื่อมโภคทรัพย์ หรือกระทบความเสื่อมเพราะ
โรค ย่อมเศร้าโศก ลำบากใจ ร่ำไร ทุนบอกคร่ำครวญ ถึงความหลงใหล
ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ กระทบความเสื่อมญาติ กระทบความเสื่อมโภค-
ทรัพย์ หรือกระทบความเสื่อมเพราโรค ย่อมพิจารณาอย่างนี้ว่าโลกสันนิวาส
นี้เป็นอย่างนั้นเอง การได้อัตภาพเป็นอย่างนั้น ในโลกสันนิวาสตามที่เป็นแล้ว
ในการได้อัตภาพตามที่เป็นแล้ว โลกธรรม ๘ คือ ลาภ ๑ ความเสื่อมลาภ ๑
ยศ ๑ ความเสื่อมยศ ๑ นินทา ๑ สรรเสริญ ๑ สุข ๑ ทุกข์ ๑ หมุนเวียน
ไปตามโลก และโลกย่อมหมุนเวียนตามโลกธรรม ๘ ดังนี้ บุคคลนั้นกระทบ
ความเสื่อมญาติ กระทบความเสื่อมโภคทรัพย์ หรือกระทบความเสื่อมเพราะ
โรค ย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ลำบากใจ ไม่ร่ำไร ไม่ทุบบอกคร่ำครวญ ไม่ถึงความ
หลงใหล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำที่เรากล่าวว่า กำลังใจพึงรู้ได้ในอันตราย...
คนมีปัญญาทรามหารู้ไม่ ดังนี้ นี้เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็คำทำเรากล่าวว่า ปัญญาพึงรู้ได้ด้วยการสนทนา
... คนมีปัญญาทรามหารู้ไม่ ดังนี้ นี้เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร บุคคล
บางคนในโลกนี้ สนทนากับบุคคลย่อมรู้อย่างนี้ว่า ความลึกซึ้งของท่านผู้นี้
เพียงไร อภินิหารของท่านผู้นี้เพียงไร และการถามปัญหาของท่านผู้นี้เพียงไร
ท่านผู้นี้ปัญญาทราม ท่านผู้นี้ไม่มีปัญญา ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะท่านผู้นี้
ไม่อ้างบทความอันลึกซึ้ง อันสงบ ประณีต ที่สามัญชนคาดไม่ถึง ละเอียด
อันบัณฑิตพึงรู้ได้ อนึ่ง ท่านผู้นี้กล่าวธรรมอันใด ท่านผู้นี้ไม่สามารถจะบอก
แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก กระทำให้ตื้น ซึ่งเนื้อความแห่ง
ธรรมเป็นได้ โดยย่อหรือโดยพิสดาร ท่านผู้นี้มีปัญญาทราม ท่านผู้นี้ไม่มี
ปัญญา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุรุษผู้มีจักษุยืนอยู่ที่ฝั่งห้วงน้ำ พึงเห็นปลาเล็ก ๆ
ผุดอยู่ เขาพึงทราบได้ว่า กิริยาผุดของปลาตัวนี้เป็นอย่างไร ทำให้เกิดคลื่น
เพียงไหน และมีความเร็วเพียงไร ปลาตัวนี้เล็ก ไม่ใช่ปลาตัวใหญ่ ดังนี้
ฉันใด บุคคลเมื่อสนทนากับบุคคลก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมรู้อย่างนี้ว่า ความ
ลึกซึ้งของท่านผู้นี้เพียงไร ฯลฯ ท่านผู้นี้มีปัญญาทราม ท่านผู้นี้ไม่มีปัญญา
ดังนี้ ส่วนบุคคลในโลกนี้ สนทนาอยู่กับบุคคลย่อมรู้อย่างนี้ว่า ความลึกซึ้ง
ของท่านผู้นี้เพียงไร อภินิหารของท่านผู้นี้เพียงไร การถามปัญหาของท่าน
ผู้นี้เพียงไร ท่านผู้นี้มีปัญญา ท่านผู้นี้ไม่ใช่ทรามปัญญา ข้อนั้นเพราะเหตุ
อะไร เพราะท่านผู้นี้ย่อมอ้างบทความลึกซึ้ง สงบ ประณีต สามัญชนคาด-
ไม่ถึง ละเอียด อันบัณฑิตพึงรู้ได้ และท่านผู้นี้ย่อมกล่าวธรรมใด ท่านผู้นี้
เป็นผู้สามารถเพื่อจะบอก เพื่อแสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก
กระทำให้ตื้น ซึ่งเนื้อความแห่งธรรมนั้น ทั้งโดยย่อหรือพิสดารได้ ท่านผู้นี้
เป็นผู้มีปัญญา ท่านผู้นี้หาใช่เป็นผู้มีปัญญาทรามไม่ ดังนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
บุรุษผู้มีจักษุยืนอยู่ที่ฝั่งห้วงน้ำ พึงเห็นปลาตัวใหญ่กำลังผุด เขาพึงรู้อย่างนี้ว่า
กิริยาผุดของปลาตัวนี้เป็นอย่างไร ทำให้เกิดคลื่นได้เพียงไหน มีความเร็ว
เพียงไร ปลาตัวนี้ใหญ่ หาใช่ปลาตัวเล็กไม่ ดังนี้ ฉันใด บุคคลสนทนาอยู่
กับบุคคลก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมรู้อย่างนี้ว่า ความลึกซึ่งของท่านผู้นี้เพียงไร
ฯลฯ ท่านผู้นี้มีปัญญา หาใช่เป็นผู้มีปัญญาทรามไม่ ดังนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
คำที่เรากล่าวว่า ปัญญาพึงรู้ได้ด้วยการสนทนา... คนมีปัญญาทรามหารู้ไม่
ดังนี้ นี้เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฐานะ ๔ ประการนี้แล อันบุคคลพึงรู้ได้ด้วย
ฐานะ ๔ นี้.
จบฐานสูตรที่ ๒
เอาบุญมาฝากวันนี้ตั้งใจว่าจะถวายสังฆทานและได้ถวายมาหลายวันแล้ว อนุโมทนาบุญกับผู้ไปวัดทำบุญที่วัด กรวดน้ำอุทิศบุญ เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน รักษาศีล อาราธนาศีล เจริญวิปัสสนา ได้ปฏิบัติธรรม ได้ถวายข้าวพระพุทธรูป สักการะพระธาตุ ทำงานบ้านช่วยพ่อแม่และเจริญอาโปกสิน ศึกษาการรักษาโรค วันนี้เป็นวันพระได้อนุโมทนากับผู้ถิอศีลเข้าวัดมาตลอดเข้าพรรษา
ที่วัดได้มีงานร่วมถวายสังฆทานจำนวนประมาณ 30 ชุด
และที่ผ่านมาได้อนุโมทนากับน้องคนหนึ่งที่ให้การช่วยเหลือเพื่อน
ที่เดือดร้อนที่ไม่คิดค่าใช้จ่ายในการพิมพ์เอกสารและน้องก็ได้สวดมนต์
เช่น คาถาชินบัญชรของสมเด็จโต และได้ไปปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน
ประมาณ 7 วัน ได้ไปประบัติสมาธิกรรมฐานและงานบุญ
แต่ละงานก็ได้เห็นน้องเขามาร่วมเกือบตลอดและได้สนทนาธรรมกันแลก
เปลี่ยนความเห็นและน้องมีความรับผิดชอบสูง
และสร้างบารมีครบทั้ง 10 อย่าง ขอให้อนุโมทนาบุญด้วย
ขอเรียนเชิญนักบุญใหญ่ร่วมสมทบทุนซื้อกระเบื้องสำหรับอาคารปฏิบัติกรรมฐาน จำนวน ๙๕๐ ตารางเมตร ที่ต้องใช้งบประมาณจำนวน ๔๕๐,๐๐๐ บาท
ท่านสามารถร่วมสมทบซื้อกระเบื้องสำหรับศาลาปฏิบัติกรรมฐาน
กับทางวัดเขาชีได้ด้วยตนเองที่
วัดเขาชี หมู่ ๑๕ ต.บ้านกลาง อ.วังทอง จ.พิษณุโลก
หรือสามารถโอนเงินเข้าบัญชี ธนาคารกรุงเทพ สาขาวังทอง
ชื่อบัญชี พระวิรัตน์ จนฺทสโร ประเภทสะสมทรัพย์
หมายเลขบัญชี ๓๖๐–๐– ๘๑๘๐๑– ๑ ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมที่ พระอาจารย์ บารมี ๐๘๐-๖๘๒–๔๔๓๑ หรือ ๐๘๗-๘๔๙-๕๑๒๗
ขอเชิญร่วมทำบุญกับคณะทัวร์ 01 มีนบุรี 27 งานบุญภาคอีสานเดือน ต.ค. กับนายยุทธนา เพ็งปาน โทร.029146307 029146517
ขอเชิญสร้างพระพุทธศากยะมุนีศรีนคร เป็นพระที่ทำด้วยหยกขาว พระครูสังฆรักษ์ พร โทร.0813869915
|