อุปจารฌาน หรือ อุปจารสมาธิ เป็นความสงบของจิตใกล้ต่อปฐมฌาน
คือเป็นจิตประเภทกามาวจร ยังไม่ถึงรูปาวจร ส่วนอัปปนาฌาน หรือ
อัปปนาสมาธิ เป็นความสงบของจิตตั้งแต่ปฐมฌานขึ้นไปจนถึงอรูปฌาน
เป็นระดับของจิตขั้นมหัคคตจิต และโลกุตตรจิตครับ
คำว่า รัก ในภาษาไทยเราใช้หลายความหมาย กว้างขวางมาก เช่น รักแฟน รักเพื่อน
รักพื่น้อง รักพ่อแม่ รักครูอาจารย์ รักในหลวง รักองค์กร สถาบัน เป็นต้น อนึ่ง
ในภาษาบาลีมีคำว่าเมตตา พอแปลเป็นภาษาไทย บางสำนวนก็ใช้คำว่า รัก เช่นกัน
ดังนั้น ในแต่ละแห่งใช้พยัญชนะเดียวกัน ความหมายอาจต่างกันได้ และส่วนใหญ่
จะหมายถึง อกุศลธรรม เช่น ความรักของหนุมสาว สามีภรรยา เป็นต้น พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓-หน้าที่ 381
๗. เรื่องพระติสสเถระ [๑๖๓]
ข้อความเบื้องต้น
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในเมืองไพศาลี ทรงปรารภภิกษุรูปใด
รูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " ปริเวกรส " เป็นต้น.
ได้ทราบข่าวปรินิพพานแล้วบำเพ็ญสมณธรรม
ความพิสดารว่า เมื่อพระศาสดาตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลายโดยเดือน ๔ เดือน
จากนี้ เราจักปรินิพพาน. " ภิกษุ ๗๐๐ ในสำนักของพระศาสดาถึงความ
สะดุ้งแล้ว. ธรรมสังเวชเกิดขึ้นแก่พระขีณาสพทั้งหลาย. ภิกษุปุถุชน
ทั้งหลายไม่สามารถจะอดกลั้นน้ำตาได้. ภิกษุทั้งหลายเป็นพวก ๆ เที่ยว
ปรึกษากันว่า " พวกเราจักทำอย่างไรหนอ ? " ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง
ชื่อว่าติสสเถระคิดว่า " ได้ยินว่า พระศาสดาจักปรินิพพาน โดยล่วงไป
๔ เดือน ก็เราเป็นผู้มีราคะยังไม่ไปปราศ, เมื่อพระศาสดายังทรงพระชนม์
อยู่นั่นแหละ, เราควรถือเอาพระอรหัต (ให้ได้)" แล้วจึงอยู่ผู้เดียวเท่านั้น
ในอิริยาบถ ๔. การไปสู่สำนักของภิกษุทั้งหลาย หรือการสนทนาปราศรัย
กับผู้ใดผู้หนึ่ง ย่อมไม่มี. ครั้งนั้นภิกษุทั้งหลายกล่าวกะท่านว่า" คุณติสสะ
เหตุไร ? คุณจึงทำอย่างนี้. " ท่านไม่ฟังถ้อยคำของภิกษุเหล่านั้น. ภิกษุ
เหล่านั้น กราบทูลความเป็นไปนั้นแด่พระศาสดาแล้ว กราบทูลว่า " ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ พระติสสเถระไม่มีความรักในพระองค์. "
พระศาสดารับสั่งให้หาท่านมาแล้ว ตรัสถามว่า " ติสสะ เหตุไร ? เธอจึงทำ
อย่างนี้. "เมื่อท่านกราบทูลความประสงค์ของตนแล้ว ประทานสาธุการว่า "
ดีละติสสะ " แล้วตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย ผู้มีความรักในเรา จงเป็นเหมือน
ติสสะเถิด; แม้คนกระทำการบูชาอยู่ด้วยของหอมและระเบียบดอกไม้เป็น
ต้น ไม่ชื่อว่าบูชาเราเลย, แต่คนผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมนั่นแหละ
ชื่อว่าบูชาเรา. " แล้วตรัสพระคาถานี้ว่า :-
" บุคคลดื่มรสอันเกิดแต่วิเวกและรสพระนิพพาน
เป็นที่เข้าไปสงบ ดื่มรสปีติอันเกิดแต่ธรรม ย่อมเป็น
ผู้ไม่มีความกระวนกระวาย ไม่มีบาป."
โลภะ เป็นความติดข้องต้องการ เป็นอกุศลธรรมประการหนึ่ง เป็นสภาพธรรมที่มี
จริง ตราบใดที่ยังไม่ได้เป็นพระอรหันต์ ก็ยังไม่ปราศจากโลภะ เพราะพระอรหันต์
เท่านั้นที่จะดับโลภะได้อย่างเด็ดขาด ไม่มีโลภะเกิดขึ้นอีก
โลภะ ไม่ว่าจะเกิดกับใคร และติดข้องในอะไร ก็เป็นโลภะ ไม่เปลี่ยนแปลงลักษณะ
อกุศลก็ต้องเป็นอกุศล อกุศลจะเป็นกุศลไม่ได้ หรือ กุศลจะเป็นอกุศล ก็ไม่ได้ เพราะ
เป็นธรรมคนละประเภทกันและเกิดร่วมกันไม่ได้ด้วย
ที่ควรพิจารณาเป็นอย่างยิ่ง คือ ความติดข้อง เป็นอกุศล นำมาซึ่งทุกข์ แต่ถ้าเป็น
เมตตาแล้วจะไม่เป็นทุกข์เลย เพราะขณะนั้นเป็นกุศล มีแต่ความหวังดี ความปรารถนา
ดีต่อกัน ไม่เจือปนด้วยอกุศล ครับ
เอาบุญมาฝากวันนี้ได้ถวายสังฆทาน อนุโมทนาบุญกับผู้ใส่บาตรตามถนนหนทาง กรวดน้ำอุทิศบุญ เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน รักษาศีล อาราธนาศีล เจริญวิปัสสนา ได้ปฏิบัติธรรม ได้ถวายข้าวพระพุทธรูป สักการะพระธาตุ ทำงานบ้านช่วยพ่อแม่และเจริญอาโปกสิน ศึกษาการรักษาโรค ให้อาหารสัตว์เป็นทาน นำดอกไม้หลากหลาย
ชนิดและพืชพรรณที่สวยงามจำนวนมากมาบูชาพระธาตุและพระรัตนตรัย
วันนี้และพรุ่งนี้ที่วัดใกล้บ้านมีเจ้าภาพเลี้ยงภัตราหารพระเช้า เพล ทั้งวัด
โดยมีเจ้าภาพคณะ 2 คณะมาจัดเลี้ยงและจะมีการถวายสังฆทานจำนวนหลายชุด และสร้างบารมีครบทั้ง 10 อย่าง ขอให้อนุโมทนาบุญด้วย
ขอเชิญร่วมหล่อพระประธานสมเด็จองค์ปฐม4ศอก9นิ้วและทอดกฐินสามัคคี
ดังนั้นหากท่านใดสามารถไปร่วมงานได้ก็ขอเชิญนะครับ ที่วัดสระเกตุโมรี ตำบลอุดมธัญญา อำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์
งานจะมีขึ้นในวันที่ 30และ31 ตุลาคม 2553 กำหนดการมีดังนี้ วันที่ 30 ตุลาคม เวลา 19.00น. พระสงฆ์ 9 รูป สวดธรรมจักรฯ วันที่ 31 ตุลาคม เวลา 09.00น. ทำพิธีบวงสรวงท้าวมหาราชทั้งสี่ เวลา 14.00น. พิธีเททองหล่อพระประธานสมเด็จองค์ปฐมบรมศาสดา เวลา 15.00น.ถวายองค์กฐินสามัคคีโดยพร้อมเพรียงกัน
ท่านใดสนใจในรายละเอียดติดต่อโดยตรงได้ที่ โทร 085-717-5480
|