Switch to full style
พระพุทธพจน์ - พุทธภาษิต พระธรรมเทศนา และ ธรรมะจากครูบาอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
ตอบกระทู้

เปรตวัดมเหยงค์

อังคาร 16 พ.ย. 2010 2:13 pm

ในบรรดาวัดที่มีผีเยอะ หลวงปู่ดู่เคยเล่าให้ฟังว่า วัดมเหยงค์คือวัดที่มีผีเยอะที่สุด มีเปรตอยู่หนาแน่นที่สุดในอยุธยา เพราะเป็นที่ ๆ ทหารไทย-พม่า ฆ่าฟันล้มตายกันมากที่สุดแห่งหนึ่ง

หลวงปู่เล่าว่าผีเปรตเหล่านี้น่าสงสาร เป็นอยู่ด้วยความอดอยากมาก ต้องคอยรอเศษอาหารที่เหลือทิ้ง เช่น ข้าวสวยข้าวต้มที่ติดก้นจานชามที่เขาล้างทิ้ง เพราะถือเป็นส่วนที่ไม่มีเจ้าของหรือเป็นส่วนที่เขาสละแล้ว อาหารนอกนั้นไม่มีสิทธิไปเอามากิน

ลูกศิษย์หลวงปู่บางคนก็ตามไปพิสูจน์โดยการไปนั่งปฏิบัติที่วัดมเหยงค์ก็เห็นจริงตามที่หลวงปู่เล่า เพราะเห็นปรากฏเป็นผีเปรตยืนแออัดยัดเยียดจนไม่มีที่ว่าง จนได้กลับมาเล่าถวายให้หลวงปู่ฟัง

เรื่องอานิสงส์ผลทานของผู้บำเพ็ญกับผู้ที่มิได้บำเพ็ญ ช่างต่างกันมาก หลวงปู่เคยให้ลูกศิษย์ขี้สงสัยนั่งสมาธิต่อหน้าท่าน แล้วท่านก็ "เปิด" ให้เห็นผลทานที่เขาเคยสร้างสมเอาไว้ ปรากฏเป็นภาพข้าวปลาอาหารที่เป็นทิพย์ตั้งอยู่บนโต๊ะยาวเหยียดสุดลูกหูลูกตา แล้วศิษย์ผู้นั้นก็ทราบด้วยจิตตนเองว่าหากไม่ใช่เจ้าของทานคือตัวเขาแล้ว ใคร ๆ ก็จะมาหยิบอาหารเหล่านั้นไปมิได้

นี่ก็เป็นการสอนในทางบุคลาธิษฐานที่หลวงปู่ต้องการให้เกิดความเชื่อมั่นในคุณแห่งทานที่ทำไว้ดีแล้ว ตลอดจนเห็นโทษของการที่มิได้สร้างทานบารมีเป็นเสบียงติดตัวไว้บ้าง หากแม้นยังไม่ถึงที่สุดแห่งทุกข์ จะได้อาศัยทานบารมีมิให้เป็นอยู่ด้วยความอัตคัดหรืออยู่อย่างแห้งแล้ง

--------------------------------------------------------------------------------------------

บทความธรรมจากพี่สิทธิ์

Re: เปรตวัดมเหยงค์

อังคาร 16 พ.ย. 2010 11:16 pm

ขอบคุณครับพี่ต่อ :pry: :pry:

อย่างนี้คนที่คิดว่าไม่เอาทาน เนื่องจากเขาถือศีล และภาวนาเป็นประจำ ซึ่ง สองอย่างนี้ได้บุญมากกว่าทาน ก็ไม่ถูกใช่ไหมครับ

Re: เปรตวัดมเหยงค์

พุธ 17 พ.ย. 2010 2:34 am

การสั่งสมคุณงามความดีทั้งหลาย จำเป็นต้องเลื่อนไปตามลำดับขั้นตอน คือเข้มข้นขึ้นเป็นลำดับไป และที่สำคัญเหนืออื่นใดคือจำเป็นต้องบำเพ็ญพร้อมกันทั้งหมด ต่างก็แต่เน้นย้ำในเรื่องใดเป็นพิเศษ แม้พระพุทธองค์เองเมื่อครั้งสั่งสมบุญญาธิการเพื่อบรรลุพระโพธิญาณ ก็ยังต้องรวบรวมกำลังให้ได้ครบสิบ เรียกว่า "ทศบารมี" จึงเกิดเป็นพระเจ้าสิบชาติขึ้นให้ได้ศึกษากัน ทั้งที่จริงแล้วยังมียิ่งกว่านั้นคือ "พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ" และที่ยิ่งกว่านั้นคือ สี่อสงไขยแสนมหากัปป์

ทีนี้หากใครสักคนเกิด "มิจฉาทิฏฐิ" คิดว่าตนเองเอาดีแค่ ศีล กับ ภาวนา หากเขาทำได้จริงคือทรงศีลบริสุทธิ์ไว้ในใจได้อย่างเสมอต้นเสมอปลายโดยไม่มีเล่ห์เหลี่ยมแอบแฝง ทรงภาวนาไว้มั่นคงประจำจิตอยู่เสมอด้วยสติและสัมปชัญญะ

อย่างนี้อานิสงส์ย่อมมี

แต่เมื่อเกิดไปภพหน้า ชาติหน้า ก็จะเกิดมายากจนข้นแค้นแสนลำบาก มีชีวิตที่ทุกข์ยากสาหัส แต่ก็เติบโตมาอย่างเป็นผู้มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด อาจพลิกฟื้นฐานะครอบครัวจากยากจนเป็นร่ำรวยได้ด้วยลำแข้งตน แต่ก็ยากเย็นที่สุด เหนื่อยที่สุดเพราะไม่มีบุญเก่าในด้านทานบารมีมาสนับสนุน เรียกว่ากว่าจะรวยก็เลือดตาแทบกระเด็น

อันนี้มีตัวอย่างให้เห็นเยอะครับ

ดังนั้นการทำความเพียรและสั่งสมบุญจึงไม่อาจมองข้ามข้อนั้นข้อนี้ไปได้เลย สมควรที่ต้องทำให้พร้อมเพรียงกัน ทำต่อเนื่องกันเพื่อให้เป็นปัจจัยสนับสนุนกันเรื่อยไป ๆ จนถึงที่สุดทุกข์ หากว่าเว้นกันได้ เลือกทำข้อนี้ ข้อนั้นที่ฉันชอบได้ พระพุทธเจ้าก็คงไม่ต้องบำเพ็ญบารมีสิบประการมาให้เหนื่อยยากดอก

อย่ารู้ดีแซงหน้าพระพุทธองค์เลย

Re: เปรตวัดมเหยงค์

พุธ 17 พ.ย. 2010 2:44 am

:grt: :grt:

ขอบคุณครับ

Re: เปรตวัดมเหยงค์

พุธ 17 พ.ย. 2010 8:47 am

สาธุ สาธุ :grt:

Re: เปรตวัดมเหยงค์

พุธ 17 พ.ย. 2010 5:00 pm

ขอบคุณครับ

Re: เปรตวัดมเหยงค์

พฤหัสฯ. 18 พ.ย. 2010 12:21 pm

ขอบพระคุณสำหรับความรู้ดี ๆ ครับ :grt:

Re: เปรตวัดมเหยงค์

พฤหัสฯ. 18 พ.ย. 2010 3:31 pm

ขอบพระคุณเช่นกันครับผม :D

Re: เปรตวัดมเหยงค์

พฤหัสฯ. 18 พ.ย. 2010 6:41 pm

เรียนถามอาจารย์รณธรรมครับว่า ถ้าเราทำบุญใส่บาตรด้วยอาหารอะไร แล้วถ้าเราได้เจออาหารทิพย์ของเราแล้วจะเป็นอาหารเฉพาะอย่างที่เราทำบุญหรือเปล่าครับ :)

Re: เปรตวัดมเหยงค์

พฤหัสฯ. 18 พ.ย. 2010 11:06 pm

เรียนคุณจิ้งจก

โดยมากมักเป็นอย่างนั้นครับ เกิดเนื่องด้วยอุปาทานความยึดของเราเองเป็นสาเหตุหลัก เพราะอันที่จริงนั้น "บุญ" เป็นนามธรรมที่มองไม่เห็น เป็นพลังงานบริสุทธิ์ฝ่ายบวกที่ไม่มีรูปร่าง สีสัน หรือมวลใด ๆ ทั้งสิ้น จึงแปรรูปไปได้หลากหลายตามแต่สถานการณ์ หรือ "คำอธิษฐาน" ของผู้เป็นเจ้าของ แต่เมื่อผู้เป็นเจ้าของมีจิตใจยึดมั่นถือมั่นว่า ถวายข้าวได้ข้าว ถวายกับได้กับ ถวายน้ำได้น้ำ ถวายทุเรียนได้ทุเรียน ถวายสาคูได้สาคู ฯลฯ เพราะอุปาทานความยึดถือเช่นนี้ "บุญ" จึงทำหน้าที่แปรรูปสิ่งอันควรได้รับให้เป็นดังนั้นไปเองตามความปรารถนาของเราด้วยธรรมชาติของเขา

ดังนั้น คนที่ยึดอยู่แค่การทำทาน จึงได้ไปเกิดเพียงแค่เทวดา เพราะยังชอบสนุก ชอบสบาย ติดในรูป เสียง กลิ่น รส และยึดติดกับผลทานของตนเองเป็นอันมาก

ผิดกับผู้ภาวนาที่จิตเสวยความสงบ ปีติ สุข เอกัคคตา เป็นอารมณ์ ท่านย่อมไม่ยินดีต่อสิ่งภายนอกเท่ากับความสงบภายใน ละกิเลสอย่างหยาบได้มาก คงเหลือกิเลสอย่างละเอียด เมื่อละขันธ์ไปจึงได้เกิดเป็น "พรหม" ซึ่งเป็นภูมิที่ละเอียด ประณีต สภาวะจิตสูงกว่า "เทพ" มากมายนัก และไม่คลุกคลีเล่นสนุก ไม่นิยมยินดีกับรูป รส กลิ่น เสียง ใด ๆ นอกจากความสงบจิต มีปีติเป็นมโนสัญเจตนาหาร

เพราะฉะนั้น ครูบาอาจารย์ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ปฏิบััติตรงทั้งหลาย จึงมุ่งเน้นให้พวกเราเอาภาวนาเป็นสำคัญยิ่งไปกว่าแค่การทำทาน ให้ยกระดับจิตถึงขั้นรักษาศีลเท่าชีวิต และภาวนาเป็นลมหายใจ

ศีลขาดคือตาย หยุดภาวนาเมื่อไรเท่ากับคนหมดลม

รักษาได้เพียงนี้จึงจะมีความก้าวหน้าเป็นรางวัล และเมื่อถึงขั้นดังกล่าวก็จะทราบชัดว่า อะไรเป็นแก่นสารของชีวิตที่เกิดมา และจะปรากฏคำตอบขึ้นในจิตเจ้าของเองว่า การสั่งสมบุญใด ๆ ก็ไม่เท่ากับการ "ภาวนา"

Re: เปรตวัดมเหยงค์

ศุกร์ 19 พ.ย. 2010 6:46 am

:pry: :pry: :pry: สาธุ

Re: เปรตวัดมเหยงค์

ศุกร์ 19 พ.ย. 2010 1:47 pm

แล้วกรณีถ้าเราทำบุญ เช่น ใส่ซองผ้า หรือกฐิน ฯลฯ โดยใจคิดเพียงแค่ว่า ได้ทำบุญแล้ว ไม่ว่าจะเป็นผ้าป่า หรือกฐินเพื่อการณ์ใดๆ ก็ตาม คือใจคิดอยู่ที่ว่า ได้ทำบุญแล้ว ไม่ได้สนใจที่จะอธิษฐานขอนั่นขอนี่ ประมาณว่า ทำบุญ 100 ขอ 1 ล้าน หรือว่าไม่แม้กระทั่งใส่ชื่อ นามสกุลตนเอง คือ ใจคิดเพียงแค่ว่า ทำบุญ ก็ดีใจที่ได้ทำบุญและสุขใจที่ได้ทำบุญแล้ว

แต่กับอีกคนหนึ่งที่คิดว่า ผ้าป่า เพื่อเอาไปสร้างห้องน้ำ หรือกฐินเอาไปสร้างโรงอาหารให้เด็กยากจนในโรงเรียนของวัด ไม่ค่อยอยากทำบุญ หรือใส่ซองกฐิน ผ้าป่า เพราะคิดว่า ได้บุญน้อย ใจคิดแต่ว่า ถ้าทำก็จะเน้นผ้าป่า หรือกฐิน ฯลฯ เช่น สร้างยอดเจดีย์ สร้างพระประธาน สร้างพระวิหาร คือ เน้นแต่แบบนี้เพราะคิดว่า ได้บุญมากกว่า ประเสริฐกว่า และต้องมีชื่อตัวเองด้วย หรือไม่ก็จะไม่พอใจเมื่อเห็นว่า ชื่อของตนเองถูกพิมพ์อยู่ในตำแหน่งที่คนมองไม่เห็น ไม่โดดเด่นในใบรายนามคณะกรรมการผ้าป่า คือ ต้องให้ชื่อตัวเองเด่น เห็นเพื่อนหรือรุ่นน้องอีกคนมีชื่ออยู่ในตำแหน่งที่เด่นชัด หรือเป็นประธาน แต่ตัวเองเป็นแค่กรรมการก็ไม่พอใจ (ดันไม่ยอมจ่ายเงินเพื่อเป็นประธาน แต่พอเห็นชื่อคนอื่นที่รู้สึกว่า ด้อยกว่ามาอยู่สูงกว่าก็ไม่พอใจ)

ผมอยากเรียนถามอาจารย์รณธรรมว่า ในกรณีแบบนี้ คนแรก หรือคนหลัง ใครน่าที่จะได้บุญมากกว่ากัน

Re: เปรตวัดมเหยงค์

ศุกร์ 19 พ.ย. 2010 2:09 pm

ขออนุญาติแสดงความคิดเห็นนะครับ การทำบุญพระพุทธเจ้าท่านสอนให้ทำด้วยจิตที่เป็นกุศลมีความศรัทธาเป็นที่ตั้ง แล้วบริจาคทานด้วยอะไรก็แล้วแต่
ก็ได้บุญเหมือนกัน ก่อนบริจาคก็มีจิตเป็นศรัทธาแล้วบริจาค ทานนั้นได้มาโดยบริสุทธิ์ ขณะบริจาคก็ไม่มีความเสียดาย บริจาคแล้วก็ไม่มีความเสียดาย
นั้นและครับได้บุญเต็มที่ เรื่องการอธิฐานนะครับเป็นเรื่องปกติเพราะพระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์พระปัจเจก พระอรหันต์ท่านบำเพ็ญทานหรือบำเพ็ญบารมีอย่างอื่นท่านก็อธิฐานเพื่อมรรคผลพระโพธิญาณเพราะถ้าไม่ปราถนาพระโพะฺญาณไว้ก็อยากที่จะสำเร็จ อธิฐานบารมีเป็นหนึ่งในบารมีสิบสิบทัศครับ

ถูกผิดอย่างไรขอกราบขอขมาพ่ิอแม่ครูบาอาจารย์ไว้ ณ.ที่นี้ครับ :pry:

Re: เปรตวัดมเหยงค์

ศุกร์ 19 พ.ย. 2010 2:26 pm

ขอบพระคุณขอรับ :lcky:

Re: เปรตวัดมเหยงค์

ศุกร์ 19 พ.ย. 2010 3:43 pm

จิ้งจก เขียน:แล้วกรณีถ้าเราทำบุญ เช่น ใส่ซองผ้า หรือกฐิน ฯลฯ โดยใจคิดเพียงแค่ว่า ได้ทำบุญแล้ว ไม่ว่าจะเป็นผ้าป่า หรือกฐินเพื่อการณ์ใดๆ ก็ตาม คือใจคิดอยู่ที่ว่า ได้ทำบุญแล้ว ไม่ได้สนใจที่จะอธิษฐานขอนั่นขอนี่ ประมาณว่า ทำบุญ 100 ขอ 1 ล้าน หรือว่าไม่แม้กระทั่งใส่ชื่อ นามสกุลตนเอง คือ ใจคิดเพียงแค่ว่า ทำบุญ ก็ดีใจที่ได้ทำบุญและสุขใจที่ได้ทำบุญแล้ว

แต่กับอีกคนหนึ่งที่คิดว่า ผ้าป่า เพื่อเอาไปสร้างห้องน้ำ หรือกฐินเอาไปสร้างโรงอาหารให้เด็กยากจนในโรงเรียนของวัด ไม่ค่อยอยากทำบุญ หรือใส่ซองกฐิน ผ้าป่า เพราะคิดว่า ได้บุญน้อย ใจคิดแต่ว่า ถ้าทำก็จะเน้นผ้าป่า หรือกฐิน ฯลฯ เช่น สร้างยอดเจดีย์ สร้างพระประธาน สร้างพระวิหาร คือ เน้นแต่แบบนี้เพราะคิดว่า ได้บุญมากกว่า ประเสริฐกว่า และต้องมีชื่อตัวเองด้วย หรือไม่ก็จะไม่พอใจเมื่อเห็นว่า ชื่อของตนเองถูกพิมพ์อยู่ในตำแหน่งที่คนมองไม่เห็น ไม่โดดเด่นในใบรายนามคณะกรรมการผ้าป่า คือ ต้องให้ชื่อตัวเองเด่น เห็นเพื่อนหรือรุ่นน้องอีกคนมีชื่ออยู่ในตำแหน่งที่เด่นชัด หรือเป็นประธาน แต่ตัวเองเป็นแค่กรรมการก็ไม่พอใจ (ดันไม่ยอมจ่ายเงินเพื่อเป็นประธาน แต่พอเห็นชื่อคนอื่นที่รู้สึกว่า ด้อยกว่ามาอยู่สูงกว่าก็ไม่พอใจ)

ผมอยากเรียนถามอาจารย์รณธรรมว่า ในกรณีแบบนี้ คนแรก หรือคนหลัง ใครน่าที่จะได้บุญมากกว่ากัน



เรียนคุณจิ้งจก

อันที่จริงวิธีพิจารณาปริมาณ "บุญ" ซึ่งจะเกิดจากการทำทานนั้น พระพุทธองค์ก็ทรงสอนเอาไว้อยู่ครับ ดังเช่นที่ท่านtoom ได้แสดงไว้ในกระทู้ข้างบนนั้น

๑. วัตถุทานบริสุทธิ์
๒. เจตนาบริสุทธิ์ (ก่อนให้, ขณะให้, หลังให้)
๓. ผู้รับบริสุทธิ์


เพียงเท่านี้เราก็ได้บุญสมบูรณ์เต็มเม็ดเต็มหน่วยตามส่วนที่ควรจะได้

อีกอย่างหนึ่งคือ "ทำบุญกับผู้มีศีลมาก ศีลบริสุทธิ์ ย่อมได้บุญมากกว่า" อันนี้ก็เป็นธรรมชาติที่ปฏิเสธไม่ได้เช่นกันครับ แต่ถึงอย่างไรก็ยังไม่พ้นไปจากหลัก ๓ ประการดังกล่าวข้างต้นอยู่ดี

แท้จริงแล้วการทำทานนั้น พระพุทธเจ้าทรงมีพระประสงค์ให้พวกเรารู้จักเสียสละ คลี่คลายความตระหนี่ หัดให้พวกเราแบ่งปันความสุขของตัวเองสู่ผู้อื่นที่ด้อยโอกาสกว่า นี่คือการ "ยกระดับจิต" ของผู้ทำให้สูงขึ้น ก้าวข้ามความขี้เหนียวและความยึดมั่นถือมั่นไปให้ได้ สิ่งนี้ต่างหากที่เป็น "วัตถุประสงค์หลัก" ของการบริจาคและบำเพ็ญทาน ส่วนว่าจะได้ผลบุญตอบกลับมาอย่างไร มาในรูปแบบใด อันนั้นมันก็ได้จริงอยู่ตามเหตุปัจจัย แต่ไม่ใช่สิ่งแรกที่ควรนึกถึงในเมื่อจะต้องทำทาน เพราะหากคิดอย่างนั้นบ่อย ๆ เราก็จะติด แล้วต่อไปเราก็จะทำทานอย่าง "ธุรกิจ" กล่าวคือ เมื่อจะทำก็ต้องมานั่งคำนวณว่าทำไปแล้วจะได้บุญเท่าไร จะได้ผลบุญอะไรบ้าง ซึ่งข้อนี้คือกิเลสอย่างละเอียด แต่เมื่อนานไปใจก็จะหยาบ แล้วเข้าสู่กิเลสอย่างหยาบ คือกลับคิดว่าทำบุญแล้วจะได้ชื่อเสียงไหม จะใช้งานพระที่วัดหรือคนที่ร่วมงานเป็นเครื่องมืออย่างไรได้บ้าง เอาไปลดหย่อนภาษีได้เท่าไร ฯลฯ

นี่คือการถอยกลับลงสู่เหว ทั้งที่เพิ่งปีนขึ้นมาเมื่อครู่

ในเมื่อการทำบุญ ทำทาน วัตถุประสงค์คือ ให้รู้จักการสละออก แต่นี้สละสิ่งหนึ่งเพื่อไปคว้าเอาอีกสิ่งหนึ่งมายึด สละของดีเพื่อเอาของเลวมากอด มันก็ผิดไปจากการทำทานด้วยความบริสุทธิ์ใจ กลายเป็นทำอย่าง "นักธุรกิจ" ที่ต้องคิดถึงผลกำไรตอบแทนอย่างรอบคอบเมื่อจะลงทุน

อันนี้ไม่ใช่พระพุทธศาสนาครับ

สรุปคือ หลักการทำทานให้ได้บุญเต็มที่มี ๓ ประการดังกล่าวข้างต้น เมื่อทำตามนั้นแล้วบุญก็ไพบูลย์เองตามหลักธรรมชาติ ไม่มีใดต้องให้สงสัยระแวงทั้งสิ้นครับ

Re: เปรตวัดมเหยงค์

ศุกร์ 19 พ.ย. 2010 3:44 pm

toom เขียน:ขออนุญาติแสดงความคิดเห็นนะครับ การทำบุญพระพุทธเจ้าท่านสอนให้ทำด้วยจิตที่เป็นกุศลมีความศรัทธาเป็นที่ตั้ง แล้วบริจาคทานด้วยอะไรก็แล้วแต่
ก็ได้บุญเหมือนกัน ก่อนบริจาคก็มีจิตเป็นศรัทธาแล้วบริจาค ทานนั้นได้มาโดยบริสุทธิ์ ขณะบริจาคก็ไม่มีความเสียดาย บริจาคแล้วก็ไม่มีความเสียดาย
นั้นและครับได้บุญเต็มที่ เรื่องการอธิฐานนะครับเป็นเรื่องปกติเพราะพระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์พระปัจเจก พระอรหันต์ท่านบำเพ็ญทานหรือบำเพ็ญบารมีอย่างอื่นท่านก็อธิฐานเพื่อมรรคผลพระโพธิญาณเพราะถ้าไม่ปราถนาพระโพะฺญาณไว้ก็อยากที่จะสำเร็จ อธิฐานบารมีเป็นหนึ่งในบารมีสิบสิบทัศครับ

ถูกผิดอย่างไรขอกราบขอขมาพ่ิอแม่ครูบาอาจารย์ไว้ ณ.ที่นี้ครับ :pry:



ขอบพระคุณมากครับสำหรับความรู้ :grt:

Re: เปรตวัดมเหยงค์

ศุกร์ 19 พ.ย. 2010 5:17 pm

ขอบพระคุณในคำตอบจากทุกท่านครับ

Re: เปรตวัดมเหยงค์

ศุกร์ 19 พ.ย. 2010 7:08 pm

ด้วยความยินดีครับ :P

Re: เปรตวัดมเหยงค์

เสาร์ 20 พ.ย. 2010 9:04 pm

:grt: ขอบพระคุณพี่รณธรรมมากครับสำหรับความรู้ :grt:

:lcky: พูดถึงเรื่องทำทานแล้ว... ทุกครั้งที่นึกถึงตอนที่ได้กราบและทำบุญกับองค์หลวงตามหาบัว จะชื่นใจทุกครั้งเลยครับเพราะทรัพย์ที่ได้มาก็บริสุทธิ์ ขณะให้ก็ปิติยินดี ที่สำคัญผู้รับก็บริสุทธิ์ที่สุดในพุทธศาสนานี้แล้วครับ

นึกถึงทีไร ก็มีความสุขทุกที :lcky:

Re: เปรตวัดมเหยงค์

อาทิตย์ 21 พ.ย. 2010 12:07 am

อนุโมทนาครับ :grt: :grt:
ตอบกระทู้