นวรัตน์ดอทคอม

รวบรวมสาระความรู้เกี่ยวกับวัตถุมงคล-เครื่องรางของขลัง

  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
วันเวลาปัจจุบัน พฤหัสฯ. 16 ม.ค. 2025 12:23 am

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 
เจ้าของ ข้อความ
 หัวข้อกระทู้: เรื่องราว
โพสต์โพสต์แล้ว: จันทร์ 23 พ.ค. 2011 5:01 am 
ออฟไลน์

ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 07 มิ.ย. 2009 7:24 pm
โพสต์: 4803
บทว่า ทฺวตฺตึสาย ติรจฺฉานกถาย คือ ไม่ประกอบด้วยดิรัจฉาน-

กถา ๓๒ ประการของสัตว์ผู้พ้นจากสวรรค์. บทว่า ทส กถาวตฺถูนิ

กถาวัตถุ ๑๐ ประการ คือเหตุอันเป็นวัตถุแห่งกถาอาศัยวิวัฏฏะ (นิพพาน)

๑๐ ประการมีความเป็นผู้มีความปรารถนาน้อยเป็นต้น. บทว่า อปฺปิจฺโฉ

มีความปรารถนาน้อย ในบทว่า อปฺปิจฺฉกถํ นี้ ได้แก่ เว้นความปรารถนา

ไม่มีความปรารถนา ไม่มีความอยาก. อันที่จริงพยัญชนะ ในบทว่า อปฺ-

ปิจฺโฉ นี้ ดูเหมือนจะยังมีพยัญชนะเหลืออยู่. แต่อรรถไม่มีอะไรเหลืออยู่

เลย. เพราะพระขีณาสพไม่มีความปรารถนาแม้แต่น้อย. อีกอย่างหนึ่ง

ในความปรารถนานี้พึงทราบประเภทดังนี้ คือความปรารถนาลาภคนอื่น

เพื่อตน ความปรารถนาลามก ความปรารถนาใหญ่ ความปรารถนาน้อย.

ในประเภทความปรารถนาเหล่านั้นพึงทราบดังนี้ ความปรารถนาลาภ

ของผู้อื่นเพราะไม่อิ่มในลาภของตน ชื่อว่าปรารถนาลาภคนอื่นเพื่อตน.

ผู้ประกอบด้วยความปรารถนาลาภคนอื่นเพื่อตนนั้น แม้ขนมสุกในภาชนะ

หนึ่งที่เขาใส่บาตรของตน ก็ปรากฏเหมือนยังไม่สุกดีและเหมือนเล็กน้อย.

วันรุ่งขึ้นเขาใส่บาตรของผู้อื่น ก็ปรากฏเหมือนสุกดีแล้วและเหมือนมาก.

ความสรรเสริญในคุณอันไม่มี และความไม่รู้จักประมาณในการรับ ชื่อว่ามี

ความปรารถนาลามก. ความปรารถนาลามกนั้นมาแล้วโดยนัยมีอาทิว่า คน

บางคนในโลกนี้เป็นผู้ไม่มีศรัทธาปรารถนาว่า ขอให้ชนรู้จักเราว่าเป็นผู้มี

ศรัทธา. บุคคลผู้ประกอบด้วยความปรารถนาลาภนั้น ย่อมตั้งอยู่ในความ

หลอกลวง. ความสรรเสริญคุณอันมีอยู่ และความเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณใน

การรับ ชื่อว่ามีความปรารถนาใหญ่. แม้ความปรารถนาใหญ่นั้น ก็มา

แล้วโดยนัยนี้ว่า คนบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีศรัทธา ย่อมปรารถนาว่า ชน

จงรู้จักเราว่าเป็นผู้มีศรัทธา ย่อมปรารถนาว่า ชนจงรู้จักเราว่าเป็นผู้มีศีล

ดังนี้ บุคคลผู้ประกอบด้วยความปรารถนาใหญ่นั้นเป็นผู้ไม่อิ่มด้วยท่อนผ้า,

แม้มารดาผู้ให้กำเนิดก็ไม่สามารถเหนี่ยวรั้งความคิดของเขาได้. สมดังที่

ท่านกล่าวไว้ว่า

กองไฟ มหาสมุทร และบุคคลผู้มีความปรารถนา

ใหญ่ ชนทั้งหลายให้ปัจจัยจนเต็มเกวียน แม้ทั้งสาม

ประเภทนั้นก็หาอิ่มไม่.

ส่วนความเป็นผู้ปิดบังคุณอันมีอยู่ และรู้จักประมาณในการรับ ชื่อ

ว่า มีความปรารถนาน้อย. บุคคลผู้ประกอบด้วยความปรารถนาน้อยนั้น

เพราะประสงค์จะปกปิดคุณแม้ที่มีอยู่ในตน ถึงมีศรัทธา ก็ไม่ปรารถนาว่า

ขอชนจงรู้จักเราว่าเป็นผู้มีศรัทธา ถึงมีศีล เป็นผู้สงัด เป็นพหูสูต เป็นผู้

ปรารภความเพียร เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยสมาธิ เป็นผู้มีปัญญาเป็นพระขีณาสพ

ก็ไม่ปรารถนาว่าชนจงรู้จักเราว่า เป็นพระขีณาสพ เหมือนพระมัชฌัน-

ติกเถระฉะนั้น. ก็แลภิกษุผู้มีความปรารถนาน้อยอย่างนี้ ย่อมยังลาภ

ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ทำลาภที่เกิดขึ้นแล้วให้ถาวร ยังจิตของทายกให้ยินดี.

มนุษย์ทั้งหลายเลื่อมใสแล้วในวัตรของภิกษุนั้นย่อมถวายมาก โดยอาการ

ที่ภิกษุนั้นเป็นผู้มีความปรารถนาน้อย จึงรับแต่น้อย.

ยังมีความปรารถนาน้อยอื่นอีก ๔ อย่าง คือ ปรารถนาน้อยใน

ปัจจัย ปรารถนาน้อยในธุดงค์ ปรารถนาน้อยในปริยัติ ปรารถนาน้อยใน

อธิคม (ความสำเร็จ, การบรรลุ). ใน ๔ อย่างนั้น ความปรารถนาน้อย

ในปัจจัย ๔ ชื่อว่า ปรารถนาน้อยในปัจจัย. ภิกษุใดรู้กำลังของทายก

รู้กำลังของไทยธรรม รู้กำลังของตน ผิว่า ไทยธรรมมีมาก ทายกประสงค์

จะให้น้อยย่อมรับแต่น้อยด้วยกำลังของทายก. ไทยธรรมมีน้อย ทายก

ประสงค์จะให้มาก ย่อมรับแต่น้อยด้วยกำลังของไทยธรรม. แม้ไทยธรรม

ก็มีมาก แม้ทายกก็ประสงค์จะให้มาก รู้กำลังของตนย่อมรับพอประมาณ

เท่านั้น. ไม่ประสงค์จะให้รู้ว่าการสมาทานธุดงค์มีอยู่ในตน ภิกษุนั้น

ชื่อว่า เป็นผู้มีความปรารถนาน้อยในธุดงค์. ส่วนภิกษุใดไม่ประสงค์จะ

ให้รู้ว่าตนเป็นพหูสุต ภิกษุนี้ชื่อว่า เป็นผู้มีความปรารถนาน้อยในปริยัติ.

ส่วนภิกษุใดได้เป็นพระโสดาบันเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ปรารถนา

จะให้รู้ว่าตนเป็นพระโสดาบันเป็นต้น ภิกษุนี้ชื่อว่า เป็นผู้มีความปรารถนา

น้อยในอธิคม. ส่วนพระขีณาสพละความปรารถนาลาภคนอื่นเพื่อตน

ความปรารถนาลามก ความปรารถนาใหญ่ได้แล้ว ชื่อว่า เป็นผู้มีความ

ปรารถนาน้อย เพราะเป็นผู้ประกอบด้วยความปรารถนาน้อยด้วยความ

บริสุทธิ์ คือไม่โลภอันเป็นปฏิปักษ์ต่อความปรารถนาโดยประการทั้งปวง.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงโทษในธรรมเหล่านั้นว่า ดูก่อนอาวุโส

ทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ คือความปรารถนาลาภคนอื่นเพื่อตน ความ

ปรารถนาลามก ความปรารถนาใหญ่ควรละเสีย ทรงแสดงว่า ควรประ-

พฤติสมาทานความเป็นผู้ปรารถนาน้อยเห็นปานนี้ ชื่อว่าตรัส อปฺปิจฺฉกถา

ความปรารถนาน้อย.


ความเป็นผู้ปรารถนาน้อย เป็นสภาพธรรมฝ่ายดี เป็นกุศลธรรม จะเป็นอกุศลธรรม

ได้เลย ดังนั้นความเป้นผ็ปรารถนาน้อย

ความมักน้อย ภาษาบาลี คือ อัปปิจโฉ ในอรรถกถาอังคุตตรนิกายอธิบายไว้ว่า

ผู้ไม่มีความปรารถนา คือ ไม่มีความโลภ(โลภะ)ซึ่งความไม่มีความโลภก็ย่อมีวัตถุที่จะ

ไม่โลภ มีปัจจัยต่างๆคือไม่โลภในปัจจัยต่างๆ หรือ คุณธรรมต่างๆ คือไม่โลภคือไม่

แสดงตนว่ามีคุณธรรมต่างๆซึ่งขณะนั้นไม่มีความต้องการให้คนอื่นรู้ว่ามีคุณธรรมอะไร

บ้าง จึงชื่อว่าความเป้นผู้ปรารถนาน้อย แต่ขณะนั้นไม่มีโลภะครับ ไม่เป็นอกุศล ซึ่ง

ในเรื่องของความปรารถนา มี 4 ประการดังนี้

1.ผู้ปรารถนาลามก

2.ผู้ปรารถนายิ่งๆขึ้น

3.ผู้ปรารถนาน้อยหรือมักน้อย

4.ผู้มักมาก
ผู้ปรารถนาน้อยหรือมักน้อย คือผู้ไม่มีความปรารถนา ไม่โลภะที่ต้องการให้คนอื่นรู้ว่า

ตนเองมีคุณธรรมอะไร โดยไม่ใช่การหลอกลวงซ้อนว่าแสดงเหมือนเป็นผู้มักน้อยเพื่อให้

ผู้อื่นสำคัญว่าเป็นผู้มักน้อย แต่จิตขณะนั้นเป็นผู้ไม่มีความต้องการจริงๆในขณะนั้น และ

รู้จักประมาณในการับด้วยใจจริง นี่ก็ชื่อว่าเป็นผู้ปรารถนาน้อย มักน้อยครับ

ซึ่งความักน้อย มี 4 ประการคือ

1.มักน้อยในปัจจัย

2.มักน้อยในธุดงค์

3.มักน้อยในปริยัติ

4.มักน้อยในอธิคม

มักน้อยในปัจจัย คือ เป็นผู้รู้จักพอในการรับ ไม่มีความปรารถนาเพิ่มในสิ่งที่ตนเอง

ก็มีอยู่แล้ว คือต้องดูทั้งคนให้ และตัวเองและศรัทธาของผู้ให้ครับ ถ้าผู้ให้มีของมาก

แต่มีศรัทธาน้อยก็รับน้อย ถ้าผู้ให้มีของน้อยแต่มีศรัทธาในการให้มากก็รับน้อย แต่ถ้าผู้

ให้มีของมากและมีศรัทธามากก็ต้องรับพอดีครับ นี่คือความมักน้อย ความไม่โลภใน

ปัจจัยนั่นเองครับ

มักน้อยในธุดงค์ คือ ตัวเองเป็นผู้สมาทานรักษาธุดงค์ก็ไม่มีความปรารถนา ต้อง

การให้คนอื่นรู้ว่าตัวเองรักษาธุดงค์ครับ




"การไม่แกล้งกล่าวให้คลาดจากความจริง เป็นอาหารของมิตร

ทั้งหลาย” ธรรม ๑๐ ประการนี้ เป็นธรรมอันน่า

ปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ หาได้ยากในโลก ๑๐ ประการเป็น

ไฉน คือ โภคสมบัติ ๑ วรรณะ ๑ ความไม่มีโรค ๑ ศีล ๑

พรหมจรรย์ ๑ มิตร ๑ ความเป็นพหูสูต ๑ ปัญญา ๑ ธรรม ๑

สัตว์ทั้งหลาย ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้แล เป็น

ธรรมอันน่าปรารถนาน่าใคร่ น่าชอบใจ หาได้ยากในโลก.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการ เป็นอันตรายแก่ธรรม

๑๐ประการนี้แลซึ่งเป็นธรรมอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ หาได้

ยากในโลก คือ ความเกียจคร้าน ความไม่ขยันหมั่นเพียร เป็น

อันตรายแก่โภคสมบัติ, การไม่ประดับตกแต่ง เป็นอันตรายแก่วรรณะ,

การกระทำสิ่งที่ไม่เป็นที่สบาย เป็นอันตรายแก่ความไม่มีโรค, ความ

เป็นผู้มีมิตรชั่ว เป็นอันตรายแก่ศีล, การไม่สำรวมอินทรีย์ เป็น

อันตรายแก่พรหมจรรย์, การแกล้งกล่าวให้คลาดเคลื่อนจากความจริง

เป็นอันตรายแก่มิตร, การไม่ทำการสาธยาย เป็นอันตรายแก่ความ

เป็นพหูสูต, การไม่ฟังด้วยดี ไม่สอบถาม เป็นอันตรายแก่ปัญญา,

การไม่ประกอบความเพียร การไม่พิจารณา เป็นอันตรายแก่ธรรมทั้ง

หลาย, การปฏิบัติผิดเป็นอันตรายแก่สัตว์ทั้งหลาย ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้เป็นอันตรายแก่ธรรม ๑๐ ประการนี้

แล ซึ่งเป็นธรรมอันน่าปรารถนาน่าใคร่ น่าชอบใจ หาได้ยากใน

โลก ดูก่อนภิกษุทั้งหลายธรรม ๑๐ ประการ เป็นอาหารของธรรม

๑๐ ประการนี้แล ซึ่งเป็นธรรมอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ

หาได้ยากในโลก คือ ความไม่เกียจคร้าน ความขยันหมั่นเพียร เป็น

อาหารของโภคสมบัติ ๑ การประดับ การตกแต่งร่างกาย เป็น

อาหารของวรรณะ ๑ การทำสิ่งเป็นที่สบาย เป็นอาหารของความ

ไม่มีโรค ๑ ความเป็นผู้มีมิตรดีเป็นอาหารของศีลทั้งหลาย ๑ การ

สำรวมอินทรีย์ เป็นอาหารของพรหมจรรย์ ๑ การไม่แกล้งกล่าวให้

คลาดจากความจริง เป็นอาหารของมิตรทั้งหลาย ๑ การกระทำการ

สาธยาย เป็นอาหารของความเป็นพหูสูต ๑ การฟังด้วยดี การสอบ

ถาม เป็นอาหารของปัญญา ๑ การประกอบความเพียร การ

พิจารณา เป็นอาหารของธรรมทั้งหลาย ๑ การปฏิบัติชอบ เป็น

อาหารของสัตว์ทั้งหลาย ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐

ประการนี้ เป็นอาหารของธรรม ๑๐ ประการนี้แล ซึ่งเป็นธรรมอัน

น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ หาได้ยากในโลก.


เอาบุญมาฝากจะถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ สักการะพระธาตุ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาทสร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย ฟังธรรม
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ กรวดน้ำอุทิศบุญ อนุโมทนากับพ่อแม่ญาติพี่น้องที่รักษาศีล ฟังธรรม ให้ทาน อนุโมทนากับน้องคนหนึ่งและเพื่อนๆของน้องที่รักษาศีล ศึกษาการรักษาโรค ให้ยานพาหนะเป็นทาน ให้ที่อยู่อาศัยเป็นทาน สักการะพระธาตุ ปิดทอง กราบสังขารอดีตเจ้าอาวาสที่ไม่เน่าเปื่อย
และตั้งใจว่าจะสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอให้อนุโมทนาบุญด้วย


ขอเชิญถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน สักการะพระธาตุ ฟังธรรม สวดมนต์ ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาท
สร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย กรวดน้ำอุทิศบุญ ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สนทนาธรรม
ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น
ปิดทอง สักการะพระธาตุ กราบอดีตสังขารเจ้าอาวาสที่ไม่เน่าเปื่อย ที่วัดแจ้ง อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี
และสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอเชิญร่วมบุญกุศลร่วมกันนะครับ


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
แสดงโพสจาก:  เรียงตาม  
โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และ บุคคลทั่วไป 120 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ไปที่:  
cron
ขับเคลื่อนโดย phpBB® Forum Software © phpBB Group
Thai language by phpBBThailand.com
phpBB SEO