พุธ 15 มิ.ย. 2011 5:29 am
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสประทานสำหรับอ้าง ๔ ข้อ ดังต่อไปนี้.
๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดที่เราไม่ได้ห้ามไว้ว่า สิ่งนี้ไม่ควร หาก
สิ่งนั้นเข้ากับสิ่งที่ไม่ควร ขัดกับสิ่งที่ควร สิ่งนั้นไม่ควรแก่เธอทั้งหลาย.
๒. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดที่เราไม่ได้ห้ามไว้ว่า สิ่งนี้ไม่ควร
หากสิ่งนั้นเข้ากับสิ่งที่ควร ขัดกับสิ่งที่ไม่ควร สิ่งนั้นควรแก่เธอทั้งหลาย.
๓. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดที่เราไม่ได้อนุญาตไว้ว่า สิ่งนี้ควร
หากสิ่งนั้นเข้ากับสิ่งที่ไม่ควร ขัดกับสิ่งที่ควร สิ่งนั้นไม่ควรแก่เธอทั้งหลาย.
๔. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดที่เราไม่ได้อนุญาตไว้ว่า สิ่งนี้ควร
หากสิ่งนั้นเข้ากับสิ่งที่ควร ขัดกับสิ่งที่ไม่ควร สิ่งนั้นควรแก่เธอทั้งหลาย.
ข้อความอธิบายจากอรรถกถา
มหาปเทส ๔
เพื่อประโยชน์ที่ภิกษุทั้งหลายจะได้ถือไว้เป็นแบบ พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงตรัสมหาปเทส (คือ หลักสำหรับอ้างใหญ่) ๔ ข้อเหล่านั้น ว่า ยํ ภิกฺขเว
มยา อิทํ น กปฺปติ เป็นต้น.
พระธรรมสังคาหกเถระทั้งหลาย เมื่อถือเอาสูตรสอบสวนดูในมหา-
ปเทสนั้น ได้เห็นความข้อนี้ว่า.
ด้วยพระบาลีว่า ฐเปตฺวา ธญฺญผลรสํ นี้ ธัญญชาติ ๗ ชนิด
เป็นอันห้ามแล้วว่า ไม่ควรในปัจฉาภัต. มหาผล ๙ อย่าง คือ ผลตาล ผล
มะพร้าว ผลขนุน ผลสาเก น้ำเต้า ฟักเขียว แตงไท แตงโม ฟักทอง
เป็นอันทรงห้าม และอปรัณณชาติทุกชนิด มีคติอย่างธัญญชาติเหมือนกัน.
มหาผลและอปรัณณชาตินั้น ไม่ได้ทรงห้ามไว้ก็จริง ถึงกระนั้น ย่อมเข้ากับ
สิ่งที่เป็นอกัปปิยะ; เพราะเหตุนั้น จึงไม่ควรในปัจฉาภัต.
น้ำปานะ ๘ อย่าง ทรงอนุญาตไว้ น้ำปานะแห่งผลไม้เล็กมี หวาย
มะชาม มะงั่ว มะขวิด สะคร้อ และเล็บเหยี่ยว เป็นต้น มีคติอย่างอฏัฐบาน
แท้ น้ำปานะแห่งผลไม้เหล่านั้น ไม่ได้ทรงอนุญาตไว้ก็จริง. ถึงกระนั้น ย่อม
เข้ากับสิ่งที่เป็นกัปปิยะ; เพราะฉะนั้น จึงควร.
ในกุรุนทีแก้ว่า จริงอยู่ เว้นรสแห่งเมล็ดข้าวกับทั้งสิ่งที่อนุโลมเสีย
แล้ว ขึ้นชื่อว่าน้ำผลไม้อื่น ที่ไม่ควร ย่อมไม่มี น้ำผลไม้ทุกชนิดเป็นยาม
กาลิกแท้.
จีวรพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตไว้ ๖ ชนิด. จีวรอื่นอีก ๖ ชนิดที่
อนุโลมจีวรเหล่านั้น คือ ผ้าทุกุละ ผ้าแคว้นปัตตุนนะ ผ้าเมืองจีน ผ้าเมือง
แขก ผ้าสำเร็จด้วยฤทธิ์ ผ้าเทวดาให้ พระธรรมสังคาหกเถระทั้งหลายอนุญาต
แล้ว.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 431
๑๐. มหาปเทสสูตร ว่าด้วยมหาประเทศ ๔
[๑๘๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ อานันทเจดีย์
ใกล้โภคนคร ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า
ได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงมหาประเทศ ๔ นี้ เธอทั้งหลาย
จงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็มหาประเทศ ๔ เป็น
ไฉน ? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ดูก่อนอาวุโส ข้อนี้ข้าพเจ้าได้
สดับมาได้รับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย
นี้เป็นคำสั่งสอนของพระศาสดา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายไม่พึง
ยินดี ไม่พึงคัดค้านคำกล่าวของภิกษุนั้น ครั้นแล้วพึงเรียนบทและพยัญชนะ
เหล่านั้นให้ดี แล้วพึงเทียบเคียงในพระสูตร พึงสอบสวนในพระวินัย ถ้าเมื่อ
เทียบเคียงในพระสูตร สอบสวนในพระวินัย บทและพยัญชนะเหล่านั้น เทียบ
เคียงกันไม่ได้ในพระสูตร สอบสวนกันไม่ได้ในพระวินัย ในข้อนี้พึงลง
สันนิษฐานได้ว่า นี้มิใช่คำของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าแน่แท้
ภิกษุนี้รับมาผิดแล้ว เธอทั้งหลายพึงทิ้งคำนี้เสียทีเดียว
อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ดูก่อนอาวุโส ข้อนี้ข้าพเจ้า
ได้สดับมา ได้รับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็น
วินัย นี้เป็นคำสั่งสอนของพระศาสดา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายไม่พึง
ยินดี ไม่พึงคัดค้านคำกล่าวของภิกษุนั้น ครั้นแล้วพึงเรียนบทและพยัญชนะ
เหล่านั้น ให้ดีแล้วเทียบเคียงในพระสูตร สอบสวนในพระวินัย ถ้าเมื่อเทียบ
เคียงในพระสูตร สอบสวนในพระวินัย บทและพยัญชนะเหล่านั้น เทียบเคียง
กันได้ในพระสูตร สอบสวนกันได้ในพระวินัย ในข้อนี้พึงลงสันนิษฐานได้ว่า
นี้เป็นคำของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าแน่แท้ และภิกษุนี้รับมา
ดีแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นมหาประเทศข้อที่ ๑ เธอทั้งหลายพึงทรง
จำไว้.
อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า สงฆ์อยู่ในอาวาส
ชื่อโน้น พร้อมทั้งพระเถระ พร้อมทั้งท่านที่เป็นประธาน ข้าพเจ้าได้สดับมา
ได้รับมาเฉพาะหน้าสงฆ์นั้นว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสั่งสอนของ
พระศาสดา ฯลฯ
อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ภิกษุผู้เป็นพระเถระ
มากด้วยกันอยู่ในอาวาสชื่อโน้น เป็นพหูสูต ชำนาญในนิกาย ทรงธรรม
ทรงวินัย ทรงมาติกา ข้าพเจ้าได้สดับมา รับมาเฉพาะหน้าพระเถระเหล่านั้น
... ข้าพเจ้าได้สดับมารับมาเฉพาะหน้าพระเถระเหล่านั้นว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็น
วินัย นี้เป็นคำสั่งสอนของพระศาสดา ฯลฯ
อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ภิกษุผู้เป็นเถระรูปหนึ่ง
อยู่ในอาวาสชื่อโน้น เป็นพหูสูต ชำนาญในนิกาย ทรงธรรม ทรงวินัย
ทรงมาติกา ข้าพเจ้าได้สดับมา ได้รับมาเฉพาะหน้าพระเถระรูปนั้น... ข้าพเจ้า
ได้สดับมา ได้รับมาเฉพาะหน้าพระเถระรูปนั้นว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย
นี้เป็นคำสั่งสอนของพระศาสดา ฯลฯ
บทว่า มหาปเทเส แปลว่า โอกาสใหญ่หรือข้ออ้างใหญ่ อธิบายว่า
เหตุใหญ่ที่กล่าวอ้างคนใหญ่ ๆ มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น
เอาบุญมาฝากจะถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ สักการะพระธาตุ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาทสร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ ให้อาหารสัตว์เป็นทานเป็นประจำ กรวดน้ำอุทิศบุญ อนุโมทนากับพ่อแม่ญาติพี่น้องที่รักษาศีล ฟังธรรม ให้ทาน อนุโมทนากับน้องคนหนึ่งและเพื่อนๆของน้องที่รักษาศีล ศึกษาการรักษาโรค ให้ยานพาหนะเป็นทาน ให้ที่อยู่อาศัยเป็นทาน และตั้งใจว่าจะสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอให้อนุโมทนาบุญด้วย
ขอเชิญถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน สักการะพระธาตุ ฟังธรรม สวดมนต์ ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาท
สร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย กรวดน้ำอุทิศบุญ ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สนทนาธรรม
ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น รักษาอาการป่วยของผู้อื่น รักษาอาการป่วยของบิดามารดา
และสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอเชิญร่วมบุญกุศลร่วมกันนะครับ
เชิญร่วมบุญสร้างองค์พระประธาน “พระพุทธเมตตา” หน้าตัก 80 นิ้ว
และรูปเหมือนพระอริยสงฆ์เจ้า ๔ องค์ เพื่อประดิษฐาน
ณ พระเจดีย์พุทธเมตตามหามงคล วัดหนองไคร้ จ.ยโสธร
โดยสามารถโอนเงินทำบุญเข้าบัญชี
ธนาคารกรุงไทย สาขาย่อยกระทรวงสาธารณสุข รหัสสาขา 142
ชื่อบัญชี : กองบุญพระพุทธเมตตา
เลขบัญชี : 142-0-10312-1
ส่งสำเนาเอกสารการโอนเงินและที่อยู่ Fax : 02-840-1930
หรือติดต่อ
คุณวรวิชญ์ สิงหนาท 085-1122-422 E-mail :
voravitchs@gmail.comคุณรัตนพล เอี่ยมพริ้ง 084-9363-132 E-mail :
poo_338@hotmail.comเรียนเชิญศรัทธาร่วมบุญสมทบปัจจัยเพื่อซื้อหนังสือพระไตรปิฎกพร้อมตู้ถวายวัด
กำหนดการ ถวายวันอาทิตย์ที่ 10 กรกฎาคม 2554 ที่วัดลาดกระทิง เวลา 13.30น.
ถวาย ณ วัดลาดกระทิง ตำบลลาดกระทิง อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา
บุญด่วน!! ถวายกระติกน้ำร้อนและอาหารแห้งแต่พระภิกษุสงฆ์
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่...
พระอาจารย์จาตุรงค์ รักขิตตธัมโม 089-8469598
คุณจุฑาภัทร 081-284-1337
คุณเนตรนที 087-975-6462
เป็นข่าวดีสำหรับลูกศิษย์ลูกหาและท่านผู้เคารพศรัทธาในพระเดชพระคุณหลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม แห่งวัดอัมพวัน จังหวัดสิงห์บุรี
เนื่องในโอกาสที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระธรรมสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม)
เจริญอายุวัฒนะมงคล 7 รอบ 84 ปีได้อนุญาตให้ พระวิมลสุตาภรณ์ ดำเนินการ
สร้างวัตถุมงคลรุ่น "ฉลองอายุวัฒนะมงคล 84 ปี"
ปลุกเสกเดี่ยวโดยหลวงพ่อจรัญ
โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อนำรายได้ดำเนินการดังต่อไปนี้
1. ตั้งมูลนิธิค่าไฟฟ้า ของ วัดอัมพวัน อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี
2. ตั้งมูลนิธิทุนเล่าเรียนของพระภิกษุ สามเณร มจร. ณ วัดพิกุลทอง
ท่านผู้สนใจสามารถสั่งจองบูชาที่วัดอัมพวันแห่งเดียวเท่านั้น
สำนักงานกลางวัดอัมพวัน โทร. 03-659-9381
พระครูสัฆรักษ์ธเนศ โทร. 086-798-7464
พระครูธรรมธรนิลพจน์ โทร. 086-798-2017
เปิดจอง(เฉพาะเนื้อทองคำและเงิน)ตั้งแต่บัดนี้ จนถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2554
เนื้ออื่นๆ ไม่จำเป็นต้องสั่งจอง สามารถไปบูชาได้โดยตรงที่วัด ในวันที่ 10 สิงหาคม 2554 เป็นต้นไป