พระพุทธพจน์ - พุทธภาษิต พระธรรมเทศนา และ ธรรมะจากครูบาอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
อาทิตย์ 03 ก.ค. 2011 8:41 am
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุปัญจวัคคีย์ ว่าด้วยส่วนสุด ๒ ประการ
ที่บรรพชิตไม่ควรเสพ คือ กามสุขัลลิกานุโยค (การประกอบตนให้หมกมุ่นพัวพันอยู่ใน
ความสุขในกาม) และ อัตตกิลมถานุโยค (การประกอบตนให้ได้รับความลำบาก) และ
ทรงแสดงข้อปฏิบัติอันเป็นสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา) ได้แก่ อริยมรรคมีองค์ ๘
ซึ่งเป็นไปเพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
ต่อจากนั้น ทรงแสดงอริยสัจจ์ ๔ ประการ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค,
ทรงแสดงว่า ญาณทัสสนะ (ความรู้ความเห็น) ในอริยสัจจ์ทั้ง ๔ มีวนรอบ ๓ มีอาการ
๑๒ คือ
รู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์, ทุกข์ ควรรู้, ทุกข์ ได้รู้แล้ว
รู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ สมุทัย, สมุทัย ควรละ, สมุทัย ละได้แล้ว
รู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ นิโรธ, นิโรธ ควรกระทำให้แจ้ง,นิโรธ ได้กระทำให้แจ้งแล้ว
รู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ มรรค, มรรค ควรเจริญ, มรรค ได้เจริญแล้ว
เมื่อญาณทัสสนะในอริยสัจจ์ทั้ง ๔ ยังไม่บริสุทธิ์อยู่ตราบใด พระองค์ก็ยังไม่ปฏิญาณ
ตนว่าได้บรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ แต่เมื่อญาณทัสสนะในอริยสัจจ์ ๔ บริสุทธิ์ดี
แล้ว พระองค์จึงได้ปฏิญาณตนว่าได้บรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมจบลง ท่านโกณฑัญญะ ซึ่งเป็นหนึ่งในภิกษุ
ปัญจวัคคีย์ ได้ดวงตาเห็นธรรม บรรลุเป็นพระโสดาบัน พร้อมด้วยพรหม ๑๘ โกฏิ.
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ ๔๒๐
ธรรมจักกัปปวัตตนวรรคที่ ๒
ปฐมตถาคตสูตร
(ว่าด้วยพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพระธรรมจักร)
[๑๖๖๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน
กรุงพาราณสี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุปัญจวัคคีย์มาแล้ว
ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนสุดสองอย่างนี้ อันบรรพชิตไม่ควรเสพ
ส่วนสุดสองอย่างนั้นเป็นไฉน คือ การประกอบตนให้พัวพันด้วยกามสุขใน
กามทั้งหลาย เป็นของเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ประเสริฐ
ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๑ การประกอบความลำบากแก่ตน เป็นทุกข์ ไม่
ประเสริฐ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๑ ข้อปฏิบัติอัน เป็นสายกลาง ไม่เข้าไป
ใกล้ส่วนสุด ๒ อย่างเหล่านั้น อันตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว กระทำจักษุ กระทำญาณ
ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
ก็ข้อปฏิบัติอันเป็นสายกลางนั้น.......... เป็นไฉน คือ อริยมรรคอันประกอบด้วย
องค์ ๘ นี้แหละ. ซึ่งได้แก่ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ วาจาชอบ
การงานชอบ เลี้ยงชีพชอบ เพียรชอบ ระลึกชอบ ตั้งมั่นชอบ ข้อปฏิบัติ
อันเป็นสายกลางนี้แล อันตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว กระทำจักษุ กระทำญาณ
ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน.
[๑๖๖๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขอริยสัจนี้แล คือ ความเกิด
ก็เป็นทุกข์ ความแก่ก็เป็นทุกข์ ความเจ็บก็เป็นทุกข์ ความตายก็เป็นทุกข์
ความประจวบด้วยสิ่งอันไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งอันเป็น
ที่รักก็เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้แม้สิ่งนี้ ก็เป็นทุกข์ โดยย่อ อุปาทาน-
ขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ ก็ทุกขสมุทัยอริยสัจนี้แล คือ ตัณหา ตัณหาให้มีภพใหม่
ประกอบด้วยความกำหนัด ด้วยอำนาจความพอใจ ความเพลิดเพลินยิ่งนักใน
อารมณ์นั้นๆ ได้แก่กามตัณหา ภวตัณหา วิภววัตหา ก็ทุกขนิโรธอริยสัจนี้แล
คือ ความดับด้วยการสำรอกโดยไม่เหลือแห่งตัณหานั้นแหละ ความสละ ความ
วาง ความปล่อย ความไม่อาลัย ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้แล คือ
อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ ซึ่งได้แก่สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ.
[๑๖๖๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง
ได้เกิดขึ้นแก่เรา ในธรรมที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขอริยสัจ ฯลฯ
ทุกขอริยสัจนั้นควรกำหนดรู้ ฯลฯ ทุกขอริยสัจนั้นเรากำหนดรู้แล้ว .
[๑๖๖๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง
ได้เกิดขึ้นแก่เรา ในธรรมที่เรา ไม่เคยฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขสมุทัยอริยสัจ ฯลฯ
ทุกขสมุทัยอริยสัจนั้นควรละ ฯลฯ ทุกขสมุทัยอริยสัจนั้นเราละแล้ว.
[๑๖๖๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง
ได้เกิดขึ้นแก่เรา ในธรรมที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขนิโรธอริยสัจ ฯลฯ
ทุกขนิโรธอริยสัจนั้นควรกระทำให้แจ้ง ฯลฯ ทุกขนิโรธอริยสัจนั้นเรากระทำให้
แจ้งแล้ว.
[๑๖๖๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง
ได้เกิดขึ้นแก่เรา ในธรรมที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขนิโรธคามินี-
ปฏิปทาอริยสัจ ฯลฯ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนั้นควรเจริญ จักษุ ญาณ
ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมที่เราไม่เคยได้ฟัง
มาก่อนว่าทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนั้นเราเจริญแล้ว.
[๑๖๗๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ญาณทัสสนะ (ความรู้ความเห็น) ตาม
ความเป็นจริง มีวนรอบ ๓ อย่างนี้ มีอาการ ๑๒ ในอริยสัจ ๔ เหล่านี้ของ
เรา ยังไม่บริสุทธิ์เพียงใด เราก็ยังไม่ปฏิญาณตนว่าเป็นผู้ตรัสรู้อนุตตรสัมมา
สัมโพธิญาณในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อม
ทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ เพียงนั้น ก็เมื่อใด ญาณทัสสนะ(ความ
รู้ความเห็น) ตามความเป็นจริง มีวนรอบ ๓ อย่างนี้ มีอาการ ๑๒ ในอริย-
สัจ เหล่านี้ของเรา บริสุทธิ์ดีแล้ว เมื่อนั้น เราจึงปฏิญาณตนว่าเป็นผู้ตรัสรู้
อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่
สัตว์ พร้อมทั้งสมณะพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ก็ญาณทัสสนะได้บังเกิดขึ้น
แก่เราว่า วิมุตติของเราไม่กำเริบ ชาตินี้เป็นชาติที่สุด บัดนี้ภพใหม่ไม่มี พระ
ผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุปัญจวัคคีย์ปลื้มใจ ชื่นชม
ภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า.
[๑๖๗๑] ก็เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ ดวงตา
เห็นธรรมอันปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแก่ท่านโกณฑัญญะว่า
สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับเป็น
ธรรมดา ก็เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศธรรมจักรแล้ว พวกภุมมเทวดาได้
ประกาศว่า นั่นธรรมจักรอันยอดเยี่ยม อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศแล้ว
ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน กรุงพาราณสีอัน สมณะพราหมณ์ เทวดา มาร
พรหมหรือใครๆ ในโลกประกาศไม่ได้ พวกเทพชั้นจาตุมหาราชได้ฟังเสียงของ
พวกภุมมเทวดาแล้ว..... พวกเทพชั้นดาวดึงส์ได้ฟังเสียงของพวกเทพชั้นจาตุ-
มหาราชแล้ว.... พวกเทพชั้นยามาได้ฟังเสียงของพวกเทพชั้นดาวดึงส์แล้ว...
พวกเทพชั้นดุสิตได้ฟังเสียงของพวกเทพชั้นยามาแล้ว... พวกเทพชั้นนิมมานร-
ดีได้ฟังเสียงของพวกเทพชั้นดุสิตแล้ว ... พวกเทพชั้นปรนิมมิตวสวัตตีได้ฟัง
เสียงของพวกเทพชั้นนิมมานรดีแล้ว... พวกเทพที่นับเนื่องในหมู่พรหมได้ฟัง
เสียงของพวกเทพชั้นปรนิมมิตวสวัตตีแล้ว ได้ประกาศว่า นั่นธรรมจักรอัน
ยอดเยี่ยม อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศแล้ว ณ ป่าอิสิปตนมฤทายวัน
กรุงพาราณสี อันสมณะพราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ โนโลกประกาศ
ไม่ได้.
[๑๖๗๒] โดยขณะนั้น โดยครู่นั้น เสียงได้ระบือขึ้นไปจนถึงพรหมโลก
ด้วยประการฉะนี้ ก็หมื่นโลกธาตุนี้สะเทือนสะท้านหวั่นไหว ทั้งแสงสว่างอันยิ่ง
หาประมาณมิได้ได้ปรากฎแล้วในโลกล่วงเทวานุภาพของพวกเทพดาทั้งหลาย.
[๑๖๗๓] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเปล่งอุทานว่า โกณฑัญญะ
ได้รู้แล้วหนอ โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ เพราะเหตุนั้น คำว่า อัญญาโกณฑัญ-
ญะ จึงได้เป็นชื่อของท่านโกณฑัญญะ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบปฐมตถาคตสูตรที่ ๑.
การรู้อริยสัจจ์ทั้ง ๔ มีการรู้โดยรอบ ๓ คือ สัจจญาณ ๑ กิจจญาณ ๑ กตญาณ ๑
อธิบายว่า สัจจญาณในการรู้อริยสัจจ์ทั้ง ๔ ตามความเป็นจริงอย่างถูกต้อง และมั่น
คงว่า นี้ทุกข์ นี้สมุทัย นี้นิโรธ นี้มรรค ส่วนกิจจญาณก็รู้ในสัจจทั้ง ๔ โดยกิจว่า รู้-
ทุกข์ว่าเป็นธรรมที่ควรรอบรู้ รู้ว่าสมุทัยเป็นธรรมที่ควรละ รู้นิโรธเป็นธรรมที่ควรกระทำ
ให้แจ้ง รู้มรรคว่าเป็นธรรมที่ควรเจริญ ส่วนกตญาณในอริยสัจจ์ทั้ง ๔ ว่ารู้ทุกข์ได้
รอบรู้แล้ว รู้สมุทัยได้ละแล้ว รู้นิโรธได้ กระทำให้แจ้งแล้ว รู้อริยมรรคได้เจริญแล้ว
สรุป คือ อริยสัจจ์มี ๔ รู้โดยรอบ ๓ จึงเป็น ๑๒
คำว่าดวงตาเห็นธรรม มาจากคำว่า ธัมมจักขุ มีคำอธิบายในอรรถกถาหลายแห่ง บาง
แห่งหมายถึงโสดาปัตติมรรค บางแห่งหมายถึงมรรค ๓ เว้นอรหันตมรรค บางแห่ง
หมายถึงมรรคทั้ง ๔ โสดา สกทาคามี อนาคามี อรหันต์ ดังตัวอย่างที่ยกมา สำหรับ
การจะมีดวงตาเห็นธรรมเกิดขึ้นได้ด้วยการอบรมอริยมรรคมีองค์ ๘
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 178
คำว่า ธมฺมจักขุ นี้เป็นชื่อ ของมรรค ๓ ในพรหมายุสูตร
ข้างหน้าและอาสวักขยญาณในจุลลราหุโลวาทสูตร.
ส่วนในที่นี้ ทรงประสงค์เอาโสดาปัตติมรรค. เพื่อทรงแสดงอาการเกิด
ขึ้นของธรรมจักษุนั้น จึงตรัสว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
สิ่งนั้นทั้งหมดก็มีความดับไปเป็นธรรมดา. ก็ธรรมจักษุนั้น ทำนิโรธ ให้เป็น
อารมณ์แล้ว แทงตลอดสังขตธรรมทั้งปวง ด้วยอำนาจกิจนั่นแลเกิดขึ้น.
อริยสัจธรรมอันผู้นั้นเห็นแล้ว เหตุนั้นผู้นั้นชื่อว่า มีธรรมอันเห็นแล้ว.
เอาบุญมาฝากวันนี้จะถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ สักการะพระธาตุ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาทสร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ ให้อาหารสัตว์เป็นทานเป็นประจำ กรวดน้ำอุทิศบุญ อนุโมทนากับพ่อแม่ญาติพี่น้องที่รักษาศีล ฟังธรรม ให้ทาน อนุโมทนากับน้องคนหนึ่งและเพื่อนๆของน้องที่รักษาศีล ศึกษาการรักษาโรค ให้ยานพาหนะเป็นทาน ให้ที่อยู่อาศัยเป็นทาน ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ถวายสังฆทานมาโดยตลอด ปิดทอง สักการะพระธาตุ กราบอดีตสังขารเจ้าอาวาสที่ไม่เน่าเปื่อย เมื่อวานนี้ได้รักษาอาการป่วยของมารดา
และตั้งใจว่าจะสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอให้อนุโมทนาบุญด้วย
ขอเชิญถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน สักการะพระธาตุ ฟังธรรม สวดมนต์ ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาท
สร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย กรวดน้ำอุทิศบุญ ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สนทนาธรรม
ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น รักษาอาการป่วยของผู้อื่น รักษาอาการป่วยของบิดามารดา
ปิดทอง สักการะพระธาตุ กราบอดีตสังขารเจ้าอาวาสที่ไม่เน่าเปื่อย ที่วัดแจ้ง อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี
และสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอเชิญร่วมบุญกุศลร่วมกันนะครับ