พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสกับท่านพระมหากัสสปะ ว่า เมื่อหมู่สัตว์เลวลง พระสัทธรรม
กำลังเลือนหายไป สิกขาบทจึงมีมากขึ้น ภิกษุที่ตั้งอยู่ในพระอรหัตผล จึงมีน้อยลง
สัทธรรมปฏิรูป(สัทธรรม เทียม) ยังไม่เกิดขึ้นในโลกตราบใด ตราบนั้นพระสัทธรรม
ก็ยังไม่เลือนหายไป และสัทธรรมปฏิรูปเกิดขึ้นในโลกเมื่อใด เมื่อนั้นพระสัทธรรมจึง
เลื่อนหายไป โมฆบุรุษ คือ ผู้ที่ทำให้พระสัทธรรมเลือนหายไป ไม่ใช่สิ่งอื่น ไม่ใช่ใครอื่น
เหตุที่ทำให้พระสัทธรรมเลือนหายไป มีดังนี้ คือ
-บริษัท ๔ ไม่มีความเคารพยำเกรงในพระศาสดา
-บริษัท ๔ ไม่มีความเคารพยำเกรงในพระธรรม
-บริษัท ๔ ไม่มีความเคารพยำเกรงในพระสงฆ์
-บริษัท ๔ ไม่มีความเคารพยำเกรงในสิกขา
-บริษัท ๔ ไม่มีความเคารพยำเกรงในสมาธิ
เหตุที่ทำให้พระสัทธรรม ตั้งมั่น ไม่ลบเลือนเสื่อมสูญ มีนัยตรงกันข้าม คือ
-บริษัท ๔ มีความเคารพยำเกรงในพระศาสดา
-บริษัท ๔ มีความเคารพยำเกรงในพระธรรม
-บริษัท ๔ มีความเคารพยำเกรงในพระสงฆ์
-บริษัท ๔ มีความเคารพยำเกรงในสิกขา
-บริษัท ๔ มีความเคารพยำเกรงในสมาธิ พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ หน้าที่ ๖๓๐
สัทธรรมปฏิรูปกสูตร
(ว่าด้วยพระสัทธรรมกำลังเลือนหายไป) [๕๓๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ครั้งนั้น ท่านพระมหากัสสปะ เข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควร
ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นท่านพระมหากัสสปะ นั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลถามว่า ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอแลเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้เมื่อก่อนสิกขาบทมีน้อยและ
ภิกษุตั้งอยู่ในพระอรหัตผลมีมาก และอะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้บัดนี้สิกขาบทมี
มากและภิกษุตั้งอยู่ในพระอรหัตผลมีน้อย.
[๕๓๒] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนกัสสปะ ข้อนั้นเป็นอย่างนี้คือ เมื่อหมู่
สัตว์เลวลง พระสัทธรรมกำลังเลือนหายไป สิกขาบทจึงมีมากขึ้น ภิกษุที่ตั้งอยู่ใน
พระอรหัตผลจึงน้อยเข้า สัทธรรมปฏิรูปยังไม่เกิดขึ้นในโลกตราบใด ตราบนั้นพระ
สัทธรรมก็ยังไม่เลือนหายไป และสัทธรรมปฏิรูปเกิดขึ้นในโลกเมื่อใด เมื่อนั้นพระ
สัทธรรมจึงเลื่อนหายไป ทองเทียมยังไม่เกิดขึ้นในโลกตราบใด ตราบนั้นทองคำ
ธรรมชาติก็ยังไม่หายไป และเมื่อทองเทียมเกิดขึ้น ทองคำธรรมชาติจึงหายไป
ฉันใดพระสัทธรรม ก็ฉันนั้น สัทธรรมปฏิรูปยังไม่เกิดขึ้นในโลกตราบใด ตราบนั้น
พระสัทธรรมก็ยังไม่เลื่อนหายไป เมื่อสัทธรรมปฏิรูปเกิดขึ้นเมื่อใดเมื่อนั้นพระสัทธรรม
จึงเลือนหายไป.
[๕๓๓] ดูก่อนกัสสปะ ธาตุดินยังพระสัทธรรมให้เลือนหายไปไม่ได้ ธาตุน้ำ
ธาตุไฟ ธาตุลม ก็ยังพระสัทธรรมให้เลือนหายไปไม่ได้ ที่แท้โมฆบุรุษในโลกนี้
ต่างหากเกิดขึ้นมาก็ทำให้พระสัทธรรมเลือนหายไป เปรียบเหมือนเรือจะอับปาง ก็
เพราะต้นหนเท่านั้น พระสัทธรรมยังไม่เลือนหายไป ด้วยประการฉะนี้.
[๕๓๔] ดูก่อนกัสสปะ เหตุฝ่ายต่ำ ๕ ประการเหล่านี้ ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความ
ฟั่นเฟือน เพื่อความเลือนหายแห่งพระสัทธรรม เหตุฝ่ายต่ำ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ
ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาในธรรมวินัยนี้ ไม่เคารพยำเกรงในพระศาสดา ๑
ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาในธรรมวินัยนี้ ไม่เคารพยำเกรงในพระธรรม ๑
ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาในธรรมวินัยนี้ ไม่เคารพยำเกรงในพระสงฆ์ ๑
ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาในธรรมวินัยนี้ ไม่เคารพยำเกรงในสิกขา ๑
ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาในธรรมวินัยนี้ ไม่เคารพยำเกรงในสมาธิ ๑ เหตุฝ่ายต่ำ ๕ ประการเหล่านี้ แลย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความฟั่นเฟือน เพื่อความ
เลือนหายแห่งพระสัทธรรม.
[๕๓๕] ดูก่อนกัสสปะ เหตุ ๕ ประการเหล่านี้แล ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความ
ตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน ไม่เลือนหายแห่งพระสัทธรรม เหตุ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ
ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ มีความเคารพยำเกรงในพระศาสดา ๑
ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ มีความเคารพยำเกรงในพระธรรม ๑
ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ มีความเคารพยำเกรงในพระสงฆ์ ๑
ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ มีความเคารพยำเกรงในสิกขา ๑
ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ มีความเคารพยำเกรงในสมาธิ ๑
เหตุ ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน ไม่เลือนหาย
แห่งพระสัทธรรม.
จบสัทธรรมปฏิรูปกสูตรที่ ๑๓.
เทวธรรม หรือ ธรรมของเทวดา เรื่องราวก็พอจะเล่าให้ฟังเป็นดังนี้ครับ
เรื่องย่อๆเกี่ยวกับเทวธรรม ก็มีอยู่ว่า พระโพธิสัตว์เกิดเป็นลูกกษัตริย์ ได้ไปอยู่ป่ากับ
น้องชาย อีก 2 คน พระโพธิสัตว์ให้น้องชายทั้งสองคนไปอาบน้ำ ดื่มน้ำที่สระน้ำแห่ง
หนึ่ง ที่สระน้ำนั้นมีรากษศ หรือ ยักษ์รักษาไว้ และท้าวเวสวัณให้พรกับยักษ์ไว้ว่า ใครลง
ที่สระน้ำเจ้า ย่อมได้กินคนนั้น เว้นคนที่รู้เทวธรรมเท่านั้น เจ้าไม่สามารถกินได้ น้องชาย
คนแรก ก็ลงไปที่สระ ยักษ์จับไว้และถามว่า รู้จักเทวธรรมไหม น้องชายคนแรกตอบว่า
พระจันทร์และพระอาทิตย์ เป็นเทวธรรม ยักษ์นั้นจึงกล่าวว่าท่านไม่รู้จักเทวธรรม จึงจับ
ตัวเอาไว้ในภพของตนไว้ก่อน แม้น้องชายคนที่สองก็ลงสู่สระน้ำ ยักษ์จับไว้และถามว่า
ท่านรู้จักเทวธรรมไหม ท่านตอบว่า ทิศ 4 เป็นเทวธรรม ยักษ์กล่าวว่าท่านไม่รู้จัก ธรรม
ของเทวดา จึงจับเอาไว้ที่ภพของตน พระโพธิสัตว์เห็นว่าน้องชายมาช้า จึงไปตามที่
สระน้ำ เห็นแต่รอยเท้าลง ไม่มีรอยเท้าขึ้นก็รู้ว่า สระนี้มียักษ์และน้องชายถูกจับ ท่านจึง
ไม่ยอมลง ยักษ์เห็นว่าพระโพธิสัตว์ไม่ยอมลง ก็แปลงเป็นมาณพ บอกว่าท่านลงสระเถิด
ท่านเหนื่อยมา พระโพธิสัตว์รู้ว่าผู้นี้เป็นยักษ์จึงกล่าวว่า ท่านจับน้องชายเราหรือ ยักษ์ก็
ยอมรับว่าใช่ เราย่อมได้คนที่ลงสระนี้ พระโพธิสัตว์กล่าวว่าท่านได้ทุกคน หรือ ยักษ์
กล่าวว่า เว้นคนที่รู้เทวธรรมเท่านั้น พระโพธิสัตว์จึงจะกล่าวเทวธรรมให้ฟัง ท่านอาบน้ำ
แต่งตัวให้ดี นั่งบนอาสนะสูง ยักษ์นั่งในที่ต่ำ พระโพธิสัตว์กล่าวกับยักษ์ว่า ท่านจงตั้งใจ
ฟัง แล้วกล่าวคาถาทีเป็นเทวธรรม หรือ ธรรมของเทวดาว่า
[๖] สัปบุรุษผู้สงบระงับ ประกอบด้วยหิริและ
โอตตัปปะ ตั้งมั่นอยู่ในธรรมอันขาว ท่านเรียกกว่าผู้มี ธรรมของเทวดาในโลก. ดังนั้น ธรรมของเทวดา ที่เป็น เทวธรรม คือ สภาพธรรมฝ่ายดี มี หิริและโอตัปปะ
หิริ คือ ความละอายที่ไม่ทำบาป โอตตัปปะ คือ ความเกรงกลัวที่จะทำบาป
แต่โดยความละอียดแล้ว ธรรรมของเทวดา ยังมีความลึกซึ้งไปกว่านั้นอีกครับ
หิริและโอตตัปปะ เป็นธรรมของเทวดา เพราะยังให้เกิดในภพภูมิที่ดี มีการเกิดเป็น
เทวดา เพราะมีหิริ โอตตัปปะ นี่ประการที่หนึ่งครับ เพราะ หิริ โอตตัปปะ เป็นเจตสิกฝ่าย
ดี เป็นโสภณสาธารณะเจตสิก หมายถึง เมื่อกุศลจิตเกิดขึ้น รวมทั้งจิตที่ดีเกิดขึ้น ก็ต้อง
มีหิริและโอตตัปปะเกิดร่วมด้วยเสมอครับ ดังนั้น กุศลทุกประเภท จึงมีหิริ โอตตัปปะครับ
และการเกิดเป็นเทวดาก็ต้องเป็นผลของกุศล เพราะฉะนั้น กุศลที่เกิดขึ้น อันมีเหตุจาก
หิริ โอตตัปปะ หิริ โอตตัปปะนั้นเองจึงเป็นธรรมของเทวดา เพราะทำให้ถึงความเป็น
เทวดาด้วยครับ นี่นัยที่หนึ่ง
อีกนัยหนึ่ง กุศลธรรมทั้งหลาย ที่มี หิริ โอตตัปปะ เป็นเหตุ ก็ทำให้ถึงความเจริญถึง
พร้อมด้วยกุศลจนสมบูรณ์ครับ เพราะอาศัยกุศลประการต่างๆ ที่มี หิริ โอตตัปปะเกิดร่วม
ด้วย ก็ทำให้มีความเจริญขึ้นของกุศลจนสมบูรณ์ได้ เพราะมีการเกิดขึ้นของกุศลบ่อยๆ
ก็ย่อมเต็มด้วยกุศล ที่เป็นกุศลสัมปทาครับ
อีกนัยหนึ่ง คือ เพราะอาศัยกุศลธรรมประการต่างๆมี หิริ โอตตัปปะเกิดร่วมด้วย ก็ทำ
ให้ถึงความหมดจด คือ สามารถหมดจดจากกิเลสได้ครับ เพราะขณะที่เจริญวิปัสสนา
อันเป็นหนทางละกิเลส หนทางให้หมดจดจากกิเลส ขณะที่เจริญวิปัสสนาก็ต้องมีหิริ
และโอตตัปปะเกิดร่วมด้วยในขณะนั้นครับ
และนัยสุดท้าย ธรรมของเทวดา เทวธรรม หมายถึง กุศลธรรมทุกๆประการ ไม่ใช่
เพียงหิริ โอตตัปะเท่านั้น สภาพธรรมฝ่ายดี ที่เป็นกุศลทุกๆประการก็ชื่อว่าเทวธรรมด้วย
สรุป เทวธรรมมีดังนี้นะครับ
หิริโอตตัปปะ ชื่อว่า ธรรมของเทวดา 1.1 ที่หิริโอตตัปปะ เป็นธรรมของเทวดา เพราะทำให้เข้าถึงความเป็นเทวดา เกิด
เป็นเทวดาได้เพราะมีหิริ โอตตัปปะ
1.2 ที่หิริ โอตตัปปะ เป็นธรรมของเทวดา เพราะให้ถึงการถึงพร้อมด้วยกุศล
1.3 ที่หิริ โอตตัปปะ เป็นธรรมของเทวดา เพราะ ให้ถึงความหมดจดจากกิเลสได้
ในที่สุด
กุศลธรรมทั้งหลาย ทั้งหมดที่ควรกระทำ(สุกธรรม)ชื่อว่าเทวธรรม ข้อความจากพระไตรปิฎกครับ เรื่องเทวธรรม
๖. เทวธรรมชาดก ว่าด้วยธรรมของเทวดา
[๖] สัปบุรุษผู้สงบระงับ ประกอบด้วยหิริและ
โอตตัปปะ ตั้งมั่นอยู่ในธรรมอันขาว ท่านเรียกกว่าผู้มี ธรรมของเทวดาในโลก.
จบเทวธรรมชาดกที่ ๖
ข้อความบางตอนจากอรรถกถา
บทว่า สุกฺกธมฺมสมาหิตา ความว่า กุศลธรรมที่ควรกระทำมีหิริ
โอตตัปปะนี้แหละเป็นต้น ไป ชื่อว่า สุกกธรรม ธรรมขาว เมื่อว่าโดยนัยที่
รวมถือเอาทั้งหมด สุกกธรรมนั้น ก็คือธรรมอันเป็นโลกิยะและโลกุตระอันเป็นไป
ในภูมิ ๔ ที่ประกอบแล้ว ประกอบพร้อมแล้วด้วยหิริและโอตตัปปะทั้งสองนั้น.
........................ ธรรมของเทพเหล่านี้ ชื่อว่า เทวธรรม.
บทว่า วุจฺจเร แปลว่า ย่อมกล่าว จริงอยู่ กุศลธรรมทั้งหลายมีหิริ
โอตตัปปะเป็นมูล ชื่อว่า เป็นธรรมของเทพทั้ง ๓ ประเภทเหล่านี้ เพราะ
อรรถว่าเป็นเหตุแห่งกุศลสัมปทา แห่งการเกิดในเทวโลกและแห่งความหมดจด
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าเทวธรรม แม้บุคคลผู้ประกอบด้วยเทวธรรมเหล่านั้น
ก็เป็นผู้มีเทวธรรม เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงธรรม
เหล่านั้น ด้วยเทศนาอันเป็นบุคคลอธิษฐานจึงตรัสว่า สัปบุรุษผู้สงบระงับ
เรียกว่า ผู้มีเทวธรรมในโลก... พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ภาค ๒ ตอน ๒-หน้าที่ 62
"บุคคลไม่ควรทำคำแสยงขนของคนเหล่าอื่นไว้
ในใจ, ไม่ควรแลดูกิจที่ทำแล้วและยังมิได้ทำของคน
เหล่าอื่น, พึงพิจารณากิจที่ทำแล้วและยังมิได้ทำ
ของตนเท่านั้น."
พึงพิจารณาเนือง ๆ ว่า 'วันคืนล่วงไป ๆ เราทำอะไรอยู่" พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒-หน้าที่ 63
ข้อความบางตอนจาก..
เรื่องปาฏิกาชีวก
"บุคคลไม่ควรทำคำแสยงขนของคนเหล่าอื่นไว้
ในใจ, ไม่ควรแลดูกิจที่ทำแล้วและยังมิได้ทำของคน
เหล่าอื่น, พึงพิจารณากิจที่ทำแล้วและยังมิได้ทำ
ของตนเท่านั้น." พระผู้มีพระภาคทรงแสดงทางสุดโต่ง ๒ ทาง ทางที่ไม่ควรเสพ คือ
๑ กามสุขัลลิกานุโยค คือ ความหมกหมุ่นอยู่ในกาม
๒ อัตตกิลมถานุโยค คือ การทรมานตนให้ลำบาก
พระพุทธองค์ทรงแสดงทางสายกลาง คือ การอบรมเจริญอริยมรรคมี-
องค์ ๘ ซึ่งหมายถึงการอบรมเจริญสติปัฏฐาน รู้ลักษณะสภาพธรรมที่กำลัง
ปรากฏตามความเป็นจริง
เอาบุญมาฝากจะถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ สักการะพระธาตุ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาทสร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ ให้อาหารสัตว์เป็นทานเป็นประจำ กรวดน้ำอุทิศบุญ อนุโมทนากับพ่อแม่ญาติพี่น้องที่รักษาศีล ฟังธรรม ให้ทาน อนุโมทนากับน้องคนหนึ่งและเพื่อนๆของน้องที่รักษาศีล ศึกษาการรักษาโรค ให้ยานพาหนะเป็นทาน ให้ที่อยู่อาศัยเป็นทาน ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ถวายสังฆทานมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ปิดทองพระ รักษาอาการป่วยของผู้อื่นกับผู้ร่วมงาน และที่ผ่านมาได้รักษาอาการป่วยของมารดา ปล่อยชีวิตสัตว์มาโดยตลอด ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ทำบุญหลายอย่างมาโดยตลอด และตั้งใจว่าจะสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอให้อนุโมทนาบุญด้วย
ขอเชิญถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน สักการะพระธาตุ ฟังธรรม สวดมนต์ ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาท สร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย กรวดน้ำอุทิศบุญ ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สนทนาธรรม ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น รักษาอาการป่วยของผู้อื่น รักษาอาการป่วยของบิดามารดา ปิดทอง สักการะพระธาตุ กราบอดีตสังขารเจ้าอาวาสที่ไม่เน่าเปื่อย ที่วัดแจ้ง อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ปิดทองพระ ปล่อยชีวิตสัตว์ และสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอเชิญร่วมบุญกุศลร่วมกันนะครับ
ด่วน ญาติโยมปูเสื่อทำบุญกับพื้นดินทุกวันพระ ช่วยวัดวังน้ำต้องเทปูนพื้นโบสถ์ด้วย ร่วมทำบุญเป็นเจ้าภาพเทปูนคอนกรีตพื้นโบสถ์เข้าบัญชีสำนักสงฆ์วังน้ำต้องโดยตรงได้ที่ ธนาคารกรุงไทย สาขาแม่เมาะ ชื่อบัญชี นายสมบัติ แสนพรม (สำนักสงฆ์บ้านวังน้ำต้อง) เลขที่บัญชี ๕๐๐-๐-๐๖๑๕๐-๐
ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพช่อฟ้าใบระกา,ฉัตร ประดับหลังคาหอประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ โทรศัพท์ (พระยิ้ม) 08-2225-5904 , 08-7786-6764
เชิญร่วมแกะดอกกุดั่น ประดับหลังคาและฝ้าเพดาน เชิญร่วมบริจาคได้ที่ ธ.ไทยพาณิชย์ สาขาเชียงของ บัญชีออมทรัพย์ เลขที่ ๗๔๖ ๒๑๖ ๑๓๐๕ ในนามพระดนัย ยิ่งยง
เชิญเป็นเจ้าภาพกฐินจองสมเด็จองค์ปฐมจักพรรดิขนาดบูชา สมทบทุนสร้างพระหน้าตัก 19 เมตร ท่านใดสนใจ กรุณาติดต่อท่านพระครูบาน้อยโดยตรง ที่ 086 079 8534
เชิญร่วมบุญ สร้างโรงครัว ถวายหลวงพ่อจรัญ ณ ศูนย์ปฎิบัติธรรมสวนเวฬุวัน
ร่วมสร้างพื้นไม้สัก ศาลาปฎิบัติธรรม วัดพิชัยญาติ(แม่ชีทศพร) ที่โทรศัพท์ 02-861-4530, 02-861-5425, 02-861-4319, 02-438-4442,02-861-4533, 02-517-6377, 02-918-8916, 01-622-7499
ขอเชิญร่วมพิธี ลงเสาเข็มปฐมวารอุโบสถวัดภาษี (ลงเสาเอก) โทร 02-711-4002>
ขอเชิญร่วมงานมหาทานบารมีเพื่อสร้างบุญกุศลครั้งยิ่งใหญ่ที่หาทำได้ยากในชีวิต สามารถโอนปัจจัยสมทบทุนได้ที่ บัญชี กองบุญหมื่นฟ้า (เพื่องานมหาทาน) ชื่อ อาจารย์ไวรุศมุณี องค์อารยะปภาช ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาเพลินจิต 055-2-44705-9
ขอเชิญร่วมทอดกฐินสามัคคีวัดถ้ำผาจม ๐๘๙ ๙๖๙ ๓๕๓๓
ร่วมพิธีทำบุญอายุวัฒนมงคล 89ปี-หลวงตาแตงอ่อน สอบถามรายละเอียดโทร.08-1488-1587, 08-1285-6834
ขอเชิญร่วมบุญครบรอบ ๘ ปี ชมรมรักษ์พระธาตุฯและร่วมสืบชาตา ใน อาทิตย์ ๗ สิงหาคม ๕๔
ร่วมทำบุญปล่อยปลาน้ำจืด ตัวละ ๑ บาท เพื่อผ่อนคลายกฏของกรรม โดยสามารถร่วมทำบุญปล่อยพันธ์ปลา ตัวละ ๑ บาท ได้ที่ ธนาคารกรุงไทย สาขาบำเหน็จณรงค์ ชื่อบัญชี พระธนนท์ ธฺมมสาโร เลขที่บัญชี 318-0-22690-0
โอนร่วมบุญจากต่างประเทศ Application for outward remittance. Swift: KRTHTHBK Krung Thai Bank Public Company Ltd. Bangkok THAILAND Beneficiary Phra Tanon Thommasalo Account No 318-0-22690-0
|