ฤทธิ์ที่มาโดยนัยนี้ว่า ภิกษุในพระศาสนานี้เนรมิตกายอื่นนอกจากกาย
นี้ มีรูป สำเร็จด้วยใจ มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง
เป็นต้น ชื่อว่า มโนมยาอิทธิ [มโนมยิทธิ] เพราะเป็นไปโดยสำเร็จแห่ง
สรีระที่สำเร็จมาแต่ใจ อันอื่น ในภายในสรีระนั่นเอง.
คำว่า จากโลกนี้ไป สู่ปรโลก ความว่า จากโลกนี้ไปโลกอื่น คือ
นรกบ้าง กำเนิดสัตว์เดรัจฉานบ้าง เปรตวิสัยบ้าง มนุษยโลกบ้าง เทวโลก
บ้าง. อธิบายว่า เกิดในวัฏฏะนั่นแหล่ะบ่อย ๆ.
“ไม่นานหนอ กายนี้ จักนอนทับแผ่นดิน,
กายนี้ มีวิญญาณไปปราศ อันบุคคลทิ้งแล้ว
ราวกับท่อนไม้ ไม่มีประโยชน์ ฉะนั้น” สำหรับพ่อแม่ ท่านเปรียบเหมือนบุรพเทพ เทพมี 3 คือ สมมติเทพ(พระราชา)
วิสุทธิเทพ(พระอรหันต์) อุปัตติเทพ(เทวดาชั้นต่างๆ) พ่อแม่เปรียบเหมือนวิสุทธิ
เทพ (พระอรหันต์) เพราะพระอรหันต์ ย่อมไม่ใส่ใจในความผิดของสัตว์ทั้งหลาย
คิดแต่ประโยชน์เกื้อกูลและทำของที่บุคคลอื่นให้ ให้มีผลมาก พ่อแม่ก็เช่นกัน
ครับ ไม่ใส่ใจในความผิดของบุตรที่ทำ คิดแต่จะเกื้อกูลนำประโยชน์ไปให้ และ
ของที่นำมาให้ท่านก็มีผลมาก มีอานิสงส์มาก เช่นกันครับ
มังคลัตถทีปนีแปล เล่ม ๒ - หน้าที่ 201
[มารดาบิดาเป็นบุรพเทพของบุตร]
เหมือนอย่างว่า วิสุทธิเทพกล่าวคือพระขีณาสพ ไม่คำนึงถึงความผิดอันพวกชน
พาลทำแล้ว หวังแต่ความเสื่อมไปแห่งความพินาศและความเกิดขึ้นแห่งความเจริญ
ปฏิบัติเพื่อประโยชนสุขแก่พวกเขาโดยส่วนเดียวแท้ ๆ, และย่อมนำความที่สักการะ
ทั้งหลายของพวกเขามีผลานิสงส์มาก เพราะเป็นทักษิไณยบุคคล ฉันใด มารดาและ
บิดาแม้นั้น ก็ฉันนั้น ไม่คำนึงถึงความผิดของบุตรทั้งหลายปฏิบัติเพื่อประโยชนสุขแก่
บุตรเหล่านั้นโดยส่วนเดียวเท่านั้น เป็นผู้สมควรแก่ทักษิณา นำความที่สักการะของ
บุตรเหล่านั้นอันเขาทำแล้วในตน มีผลานิสงส์มาก ; เพราะฉะนั้น ท่านทั้ง ๒ นั้น
จึงชื่อว่าเทพเพราะเป็นผู้มีความประพฤติเช่นดังเทพ. พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 671
บรรดาเทพ ๓ จำพวกเหล่านั้น วิสุทธิเทพประเสริฐกว่าเทพทุกเหล่า.
วิสุทธิเทพเหล่านั้นมุ่งแต่ความเสื่อมไปแห่งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ และการ
เกิดขึ้นแห่งประโยชน์แก่เขาเหล่านั้น โดยส่วนเดียว ไม่คำนึงถึงความผิดที่
พาลชนทำไว้เลย ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข โดยการ
ประกอบพรหมวิหารธรรมตามที่กล่าวแล้ว และนำความที่สักการะมีผลมากและ
อานิสงส์มากมายมาให้ชนเหล่านั้น เพราะเป็นทักขิไณยบุคคล ฉันใด แม้
มารดาบิดาทั้งหลาย ก็เช่นนั้น เหมือนกัน มุ่งแต่ความเสื่อมไปแห่งสิ่งที่ไม่เป็น
ประโยชน์ และการเกิดขึ้นแห่งประโยชน์แก่เขาเหล่านั้น โดยส่วนเดียว มีหลายคนเคยตั้งข้อสังเกตว่า พยัญชนะที่ว่า "พ่อแม่เป็นพระอรหันต์ของบุตร" นั้น
ไม่มีในพระไตรปิฎก แต่ถ้าศึกษาและพิจารณาอย่างละเอียดแล้วจะเข้าใจตามข้อความ
ที่ว่ามารดาบิดาเปรียบเหมือนวิสุทธิเทพ (วิสุทธิเทพ หมายถึง พระอรหันต์ ซึ่งเป็นผู้
ไกลจากกิเลส ดับกิเลสทั้งปวงได้อย่างเด็ดขาด) ดังนั้น ข้อความที่ว่า พ่อแม่เป็นพระ
อรหันต์ของบุตร กับ ข้อความที่ว่ามารดาบิดาเปรียบเหมือนวิสุทธิเทพ จึงมีความหมาย
เหมือนกันครับ
มารดา ยังเปรียบได้หลายอย่างคือ มารดาบิดา เปรียบเหมือนพรหมของบุตร เพราะ
ท่านมีเมตตา มีกรุณา มุทิตา อุเบกขากับบุตร มีคุณธรรมดังเช่นพรหม คือ พรหมวิหาร 4
มารดาบิดาเปรียบเหมือนบุรพเทพของบุตร ซึ่งก็ได้กล่าวไปแล้วในความคิดเห็น
ข้างต้นในเรื่อง มารดา บิดาเหมือนวิสุทธิเทพ คือ พระอรหันต์
มารดาบิดาเปรียบเหมือนบุรพาจารย์ของบุตร คือ อาจารย์ ครูคนแรกนั่นเองที่คอย
สั่งสอนชี้นำ แนะให้ทำสิ่งต่างๆตั้งแต่แรกเิกิดจนเดินได้ เป็นครูคนแรกของบุตรครับ
มารดาบิดาเป็นอาหุไนยบุคคลของบุตร คือ เป็นบุคคลที่ควรบูชา บูชาด้วยวัตถุ
ต่างๆ เพราะท่านมีพระคุณมากนั่นเองครับ มารดาบิดาจึงเป็นบุคคลผู้ที่ควรได้รับการ
เลี้ยงดู การเอาใจใส่ดูแล การให้ความสะดวกสบาย การให้ความอบอุ่นทั้งทางกาย
และทางใจ และการเคารพสักการะบูชาจากบุตรอยู่ตลอดเวลาครับ
ก็ถ้าบุตรวางมารดาไว้บนจะงอยบ่าขวา บิดาไว้บนจะงอยป่าซ้าย ด้วยหมายจักทำ
ตอบแทนแก่ท่าน พึงประคับประคองในอวัยวะทั้งปวง ทำการบำรุงท่าน ผู้ดำรงอยู่บน
จะงอยบ่าทั้ง ๒ นั้นนั่นแล ด้วยกิจมีการอบกลิ่นเป็นต้น,แม้มารดาบิดานั้น พึงนั่งถ่าย
ปัสสาวะและอุจจาระบนจะงอยบ่าทั้ง ๒ ของบุตรนั้นแล, บุตรนั้น ถึงทำอยู่อย่างนั้น
ตลอด ๑๐๐ ปี ก็ไม่อาจทำตอบแทนแก่ท่านได้เลย. แม้ถ้าบุตรพึงสถาปนาบิดาไว้ใน
ความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์ มารดาไว้ในความเป็นพระอัครมเหสีของพระเจ้าจักรพรรดิ
ไซร้, แม้อย่างนั้น ก็ไม่อาจทำตอบแทนได้เหมือนกัน.
ส่วนบุตรคนใด ยังมารดาบิดา ผู้ไม่มีศรัทธา ให้สมาทานตั้งมั่นในความถึงพร้อม
ด้วยศรัทธา ยังมารดาบิดาผู้ทุศีล ให้สมาทานตั้งมั่น ในความถึงพร้อมด้วยศีล
ยังมารดาบิดาผู้มีความตระหนี่ ให้สมาทานตั้งมั่น ในความถึงพร้อมด้วยการให้
ยังมารดาบิดาผู้ทรามปัญญา ให้สมาทานตั้งมั่นในความถึงพร้อมด้วยปัญญา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล การกระทำอย่างนั้น ย่อมชื่อว่า
อันบุตรนั้นทำแล้วและทำตอบแทนแล้วแก่มารดาบิดา ดูก่อนบุตรคหบดี มารดาบิดาผู้เป็นทิศเบื้องหน้า บุตรควรทะนุบำรุงด้วยสถาน ๕ คือ
๑. ท่านได้เลี้ยงเรามาแล้ว เราจักเลี้ยงดูท่านเหล่านั้น
๒. เราจักทำกิจของท่าน
๓. เราจักดำรงวงศ์ตระกูลไว้
๔. เราจักปฏิบัติตนเป็นผู้รับมรดก
๕. เมื่อมารดาบิดาล่วงลับไปแล้ว เราจักเพิ่มทักษิณาทานให้
บุตรธิดาผู้ที่มีความกตัญญูกตเวทีต่อมารดาบิดานั้น บัณฑิตทั้งหลายมีพระพุทธเจ้า
เป็นต้นสรรเสริญแล้ว ความกตัญญูนั้นเป็นคุณธรรมข้อหนึ่งที่ควรจะอบรมเจริญให้มีขึ้น
ถึงแม้ว่า บุตรธิดาจะยังไม่สามารถกระทำตอบแทนมารดาบิดาได้อย่างสูงที่สุดก็ตาม
แต่การที่ได้รู้ว่า ท่านทั้งสองนั้นเป็นผู้ที่มีพระคุณเลี้ยงดูเรามา แล้ว ทำการเลี้ยงท่าน
เป็นการตอบแทน กระทำในสิ่งที่ถูกต้องเหมาะสม อีกทั้งดำรงตนอยู่ในความถูกต้อง
ดีงาม ย่อมเป็นสิ่งที่บุตรธิดาจะพึงกระทำ
ดังนั้น บุตรจึงควรระลึกถึงคุณของท่านที่มีมากและทำการตอบแทนท่านในทุกๆทาง
ตามกำลังความสามารถของบุตรที่มี ดังเช่นที่ท่านเลี้ยงเรามา วันแม่จึงไม่ใช่มีวันเดียว
แต่วันใดก็ตามก็เป็นวันที่เราควรทำดีกับบิดามารดาของเราเพราะท่านเป็นผู้มีพระคุณ
กับเรามากครับ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑- หน้าที่ 282
โสณนันทชาดก
ฯลฯ
"มารดาเมื่อหวังผลคือบุตร ย่อมนอบน้อม
เทพดา ถามถึงฤกษ์ ฤดู และปีทั้งหลาย. เมื่อ
มารดาอาบแล้ว ในเพราะฤดู, สัตว์เกิดในครรภ์
ย่อมก้าวลง, ด้วยเหตุนั้น มารดา ท่านจึงเรียก
ว่า 'โทหฬินี (หญิงแพ้ท้อง),' ด้วยเหตุนั้น
ท่านจึงเรียกว่า 'สุหทา (หญิงมีใจดี).' มารดา
นั้น ถนอม (ครรภ์) ปีหนึ่งหรือหย่อนปีหนึ่ง
แล้ว จึงคลอด ด้วยเหตุนั้น ๆ ท่านจึงเรียกว่า
'ชนยนฺตี ชเนตฺตี (ผู้ยังบุตรให้เกิด).' มารดา
ปลอบโยนบุตรผู้ร้องไห้ด้วยน้ำนม ด้วยเพลง
ขับ และด้วยเครื่องกกคืออวัยวะ, ด้วยเหตุนั้น
ท่านจึงเรียกว่า 'โตเสนฺตี (ผู้ยังบุตรให้ยินดีหรือ
ปลอบโยน).' แต่นั้น เมื่อลมและแดดแรงกล้า
มารดาทำความหวั่นใจ คอยแลดูบุตรผู้ยังเป็นทารก
ไม่เดียงสา, ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงเรียกว่า โปเสนฺตี
(ผู้เลี้ยง). ทรัพย์ของมารดาอันใดมีอยู่ และทรัพย์
ของบิดาอันใดมีอยู่, มารดาย่อมคุ้มครองทรัพย์
แม้ทั้ง ๒ นั้นไว้เพื่อบุตรนั่น ด้วยหวังว่า เออก็
ทรัพย์ทั้งหมดนี้ ควรเป็นของบุตรเรา.' มารดา
เมื่อให้บุตรสำเหนียกว่า 'อย่างนี้ลูก อย่างโน้นลูก
เป็นต้น ย่อมเดือดร้อนด้วยประการฉะนี้, เมื่อ
บุตรถึงความเป็นหนุ่มแล้ว มารดารู้ว่า บุตรมัวเมา
ในภริยาของผู้อื่น ในเวลาค่ำคืน ไม่กลับมาใน
เวลาเย็น ย่อมเดือดร้อน ด้วยประการฉะนี้.
บุตรผู้อันมารดาเลี้ยงดูมาแล้ว ด้วยความลำบาก
อย่างนี้ ไม่บำรุงมารดา บุตรนั้นชื่อว่าประพฤติผิดใน
มารดาย่อมเข้าถึงนรก บุตรผู้อันบิดาเลี้ยงมาแล้วด้วย
ความลำบากอย่างนี้ ไม่บำรุงบิดา บุตรนั้นชื่อว่าประ-
พฤติผิดในบิดา ย่อมเข้าถึงนรก เราได้สดับมาว่า
เพราะไม่บำรุงมารดา แม้ทรัพย์ที่เกิดแก่บุตรทั้งหลายผู้
ปรารถนาทรัพย์ย่อมฉิบหาย หรือบุตรนั้นย่อมเข้าถึง
ความยากแค้น เราได้สดับมาว่า เพราะไม่บำรุงบิดา
แม้ทรัพย์ที่เกิดแก่บุตรทั้งหลายผู้ปรารถนาทรัพย์ ย่อม
ฉิบหาย หรือบุตรนั้นย่อมเข้าถึงความยากแค้น ความ
รื่นเริง ความบันเทิง และความหัวเราะเล่นหัวกันทุก
เมื่อ บัณฑิตผู้รู้แจ้งพึงได้เพราะการบำรุงมารดา ความ
รื่นเริง ความบันเทิง และความหัวเราะเล่นหัวกันทุก
เมื่อ บัณฑิตผู้รู้แจ้งพึงได้เพราะการบำรุงบิดา สังคห-
วัตถุ ๔ ประการนี้ คือทาน การให้ ๑ ปิยวาจา เจรจา
คำน่ารัก ๑ อัตถจริยา การประพฤติประโยชน์ ๑
สมานัตตตา ความเป็นผู้มีตนเสมอในธรรมทั้งหลาย
ตามสมควรในที่นั้น ๆ ๑ ฯลฯ พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 88 ๙. ปุตตสูตร
ว่าด้วยมารดาบิดาต้องการฐานะ ๕ อย่างจากบุตร
[๓๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มารดา บิดา เล็งเห็นฐานะ ๕ ประการนี้
จึงปรารถนาบุตรเกิดในสกุล ฐานะ ๕ ประการเป็นไฉน คือ บุตรที่เราเลี้ยง
มาแล้วจักเลี้ยงตอบแทน ๑ จักทำกิจแทนเรา ๑ วงศ์สกุลจักดำรงอยู่ได้นาน ๑
บุตรจักปกครองทรัพย์มรดก ๑ เมื่อเราตายไปแล้ว บุตรจักบำเพ็ญทักษิณาทาน
ให้ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มารดา บิดา เล็งเห็นฐานะ ๕ ประการนี้แล
จึงปรารถนาบุตรเกิดในสกุล. มารดาบิดาผู้ฉลาด เล็งเห็นฐานะ ๕
ประการจึงปรารภนาบุตร ด้วยหวังว่าบุตร
ที่เราเลี้ยงมาแล้ว จักเลี้ยงตอบเรา จักทำ
กิจแทนเรา วงศ์สกุลจักดำรงอยู่ได้นาน
บุตรจักปกครองทรัพย์มรดก และเมื่อเรา
ตายไปแล้ว บุตรจักบำเพ็ญทักษิณาทานให้
มารดาบิดาผู้ฉลาดเล็งเห็นฐานะเหล่านี้ จึง
ปรารถนาบุตร ฉะนั้น บุตรผู้เป็นสัปบุรุษ
ผู้สงบ มีกตัญญูกตเวที เมื่อระลึกถึงบุรพ-
คุณของท่าน จึงเลี้ยงมารดาบิดา ทำกิจ
แทนท่าน เชื่อฟังโอวาท เลี้ยงสนอง
พระคุณท่าน สมดังที่ท่านเป็นบุรพการี
ดำรงวงศ์สกุล บุตรผู้มีศรัทธา สมบูรณ์
ด้วยศีล ย่อมเป็นที่สรรเสริญทั่วไป.
จบปุตตสูตรที่ ๙
ถึงแม้ บุตรพึงประคับประคองมารดาด้วยบ่าข้างหนึ่ง พึง
ประคับประคองบิดาด้วยบ่าข้างหนึ่ง เขามีอายุ มีชีวิต อยู่ตลอด ๑๐๐ ปี
และเขาพึงปฏิบัติท่านทั้งสองนั้นด้วยการอบกลิ่น การนวด การให้อาบน้ำ
และการดัด และท่านทั้งสองนั้น พึงถ่ายอุจจาระปัสสาวะบนบ่าทั้งสอง
ของเขานั่นแหละ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนั้นยังไม่ชื่อว่า
อันบุตรทำแล้วหรือทำตอบแทนแล้วแก่มารดาบิดาเลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
อนึ่ง บุตรพึงสถาปนาบิดามารดาในราชสมบัติ อันเป็นอิสราธิปัตย์
ในแผ่นดินใหญ่อันมีรตนะ ๗ ประการมากหลายนี้ การการทำกิจอย่างนั้น
ยังไม่ชื่อว่าอันบุตรทำแล้วหรือทำตอบแทนแล้วแก่มารดาบิดาเลย ข้อนั้น
เพราะเหตุไร เพราะมารดาบิดามีอุปการะมาก บำรุงเลี้ยง แสดงโลกนี้
แก่บุตรทั้งหลาย ส่วนบุตรคนใดยังมารดาบิดาผู้ไม่มีศรัทธา ให้สมาทาน
ตั้งมั่นในศรัทธาสัมปทา ยังมารดาบิดาผู้ทุศีล ให้สมาทานตั้งมั่นในศีล-
สัมปทา ยังมารดาบิดาผู้มีความตระหนี่ ให้สมาทานตั้งมั่นในจาคสัมปทา
ยังมารดาบิดาผู้ทรามปัญญา ให้สมาทานตั้งมั่นในปัญญาสัมปทา ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 294 ๙. มาตุโปสกสูตร
ว่าด้วยการเลี้ยงมารดาและบิดา
[๗๑๓] สาวัตถีนิทาน.
ครั้งนั้น ทาตุโปสกพราหมณ์ผู้เลี้ยงมารดาเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
ถึงที่ประทับ สนทนาปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการปราศรัยกัน
ตามธรรมเนียมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง มาตุโปสกพราหมณ์ นั่งอยู่ ณ
ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า ท่านพระโคดมผู้เจริญ
ข้าพเจ้าแสวงหาภิกษาโดยธรรมแล้วเลี้ยงมารดาและบิดา ข้าพเจ้าทำเช่นนี้ ชื่อ
ว่าทำกิจที่ควรทำหรือไม่.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ชอบยิ่ง พราหมณ์ ท่านทำดังนี้ ชื่อว่า ได้
ทำกิจที่ควรทำแล้ว ด้วยว่า ผู้ใดแสวงหาภิกษาโดยธรรมแล้ว เลี้ยงมารดา
และบิดาผู้นั้นย่อมได้บุญเป็นอันมาก.
[๗๑๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้พระสุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณ-
ภาษิตนี้จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
บุคคลใดเลี้ยงมารดาและบิดาโดย
ธรรม เพราะการบำรุงมารดาและบิดานั่น
แล บัณฑิตย่อมสรรเสริญบุคคลนั้นในโลก
นี้ทีเดียว บุคคลนั้นละไปจากโลกนี้แล้ว
ย่อมบันเทิงในสวรรค์.
ฯลฯ
เอาบุญมาฝากจะถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ สักการะพระธาตุ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาทสร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ ให้อาหารสัตว์เป็นทานเป็นประจำ กรวดน้ำอุทิศบุญ อนุโมทนากับพ่อแม่ญาติพี่น้องที่รักษาศีล ฟังธรรม ให้ทาน อนุโมทนากับน้องคนหนึ่งและเพื่อนๆของน้องที่รักษาศีล ศึกษาการรักษาโรค ให้ยานพาหนะเป็นทาน ให้ที่อยู่อาศัยเป็นทาน ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ถวายสังฆทานมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ปิดทองพระ รักษาอาการป่วยของผู้อื่นกับผู้ร่วมงาน และที่ผ่านมาได้รักษาอาการป่วยของมารดา ปล่อยชีวิตสัตว์มาโดยตลอด ถวายยาแก่ภิกษุ ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ทำบุญหลายอย่างมาโดยตลอด และตั้งใจว่าจะสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอให้อนุโมทนาบุญด้วย
ขอเชิญถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน สักการะพระธาตุ ฟังธรรม สวดมนต์ ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาท สร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย กรวดน้ำอุทิศบุญ ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สนทนาธรรม ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น รักษาอาการป่วยของผู้อื่น รักษาอาการป่วยของบิดามารดา ปิดทอง สักการะพระธาตุ กราบอดีตสังขารเจ้าอาวาสที่ไม่เน่าเปื่อย ที่วัดแจ้ง อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ปิดทองพระ ปล่อยชีวิตสัตว์ถวายยาแก่ภิกษุ และสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอเชิญร่วมบุญกุศลร่วมกันนะครับ
|