เสาร์ 13 ส.ค. 2011 1:28 pm
การฝึกสมาธิ๑. สมาธิ
สมาธิ แปลว่า ตั้งมั่น คือหมายถึงความสงบ ตั้งมั่น ไม่ฟุ้งซ่านของจิตใจ ซึ่งสมาธินี้จะมีอยู่ ๒ ประเภท อันได้แก่
๑. สมาธิใช้งาน ซึ่งก็คือความตั้งใจตามธรรมดา
๒. สมาธิขั้นสูง ซึ่งก็คือความตั้งใจที่สูงมาก
ขณะที่เราตั้งใจเรียน หรือตั้งใจฟัง ตั้งใจพูด ตั้งใจคิด ตั้งใจทำอยู่นั้น เราก็มีสมาธิขั้นใช้งานอยู่แล้ว ซึ่งสมาธิใช้งานนี้เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการเรียน หรือการทำงานทั้งหลาย ส่วนสมาธิขั้นสูงนั้นเป็นการฝึกจิตให้สงบนิ่งอย่างยิ่ง(ฌาน) จนไม่มีแม้ความคิดนึกใดๆอยู่เลย ซึ่งสมาธิขั้นสูงนี้ถ้าฝึกได้สำเร็จจะทำให้เรามีสมาธิใช้งานที่สมบูรณ์.
๒. ประโยชน์ของสมาธิ
ประโยชน์ของสมาธิก็ได้แก่
๑. ทำให้เกิดความสุขสงบทันตาเห็น
๒. ทำให้มีจิตหนักแน่นมั่นคง
๓. ทำให้มีความละเอียดรอบครอบ
๔. เป็นพื้นฐานให้เกิดปัญญา
๓. ศัตรูของสมาธิ
สิ่งที่มาทำลายจิตไม่ให้มีสมาธิก็คืออาการของกิเลสอ่อนๆที่เรียกว่า “นิวรณ์” ซึ่งสรุปได้ ๒ อาการ อันได้แก่
๑. ความรู้สึกรัก, และชัง
๒. ความรู้สึกหดหู่ เซื่องซึม มึนชา
๓. ความคิดฟุ้งซ่านต่างๆนาๆ
นิวรณ์แต่ละตัวนี้เองที่ผลัดเปลี่ยนกันเกิดขึ้นมาครอบงำจิตของเราอยู่เกือบจะทั้งวัน จึงทำให้จิตของเราไม่มีสมาธิในการเรียน หรือในการทำงาน จึงเรียนไม่รู้เรื่อง ทำงานไม่ได้ดี เพราะจิตเศร้าหมองขุ่นมัวและไม่สงบ ไม่ปลอดโปร่งแจ่มใส (ไม่นิพพาน) ซึ่งจัดว่าเป็นความทุกข์ชนิดอ่อนๆ.
๓. การฝึกอานาปานสติ
อานาปานสติ หมายถึง สติที่กำหนดอยู่ที่ลมหายใจเข้า-ออก ซึ่งเป็นวิธีหนึ่งในการฝึกสมาธิขั้นสูง โดยมีหลักการดังนี้
๑. นั่งขัดสมาธิ ตั้งตัวตรง จะหลับตาหรือลืมตาก็ได้
๒. บังคับลมหายใจให้เบาและยาวอย่างสม่ำเสมอ
๓. ตั้งสติกำหนดอยู่ที่ลมหายใจมากระทบบริเวณจมูกตลอดเวลา
๔. พยายามระวังตัวอยู่เสมอ อย่าให้นิวรณ์และความคิดต่างๆเกิดขึ้นมา
การฝึกจะต้องพยายามฝึกอย่างสม่ำเสมอ จนจิตสงบและนิวรณ์อ่อนลง ก็แสดงว่าจิตเริ่มมีสมาธิมากขึ้น และถ้านิวรณ์ ระงับลงและจิตตั้งมั่งสูงมากจนไม่มีความคิดนึกใดๆอยู่เลย ก็แสดงว่าจิตเริ่มมีสมาธิขั้นสูงแล้ว(เริ่มเกิดฌานระดับต้น) ซึ่งก็ต้องหมั่นฝึกอยู่เสมอๆ จิตก็จะเลื่อนสู่สมาธิขั้นสูงขึ้นเรื่อยๆ.
แนวทางการฝึกสมาธิและการเจริญสติ
มีแนวทางการปฏิบัติสำหรับผู้ที่จะเริ่มต้นฝึกปฏิบัติใหม่ เพื่อทดลองฝึกปฏิบัติ (หลังจากที่ได้อ่านแนวทางปฏิบัติทุกแนวแล้วยังงงๆ อยู่ ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นที่ตรงไหน อย่างไรดี) พอจะรวบรวมได้ ๑๖ ข้อ ดังนี้ คือ
๑. เริ่มจากตื่นนอนในแต่ละวัน ให้ฝึกทำสมาธิอย่างน้อยประมาณ๑๕-๓๐ นาที แล้วจึงค่อยเพิ่มจนถึง ๑ ชั่วโมงเป็นประจำ (อาจมีการสวดมนต์ไหว้พระด้วยหรือไม่ก็ได้) การทำสมาธิจะอยู่ในอิริยาบถใดก็ได้ และคำบริกรรมที่ใช้แล้วแต่ถนัด เพื่อเริ่มฝึกจิตให้มีคุณภาพ
๒. ต่อด้วยการเจริญสติ คือระลึกรู้ในการทำกิจส่วนตัว เช่น อาบน้ำแปรงฟัน รับประทานอาหาร หรือพบปะพูดจา ฯลฯ ทำกิจได้ก็ให้มีสติระลึกรู้และตื่นตัวอยู่เสมอทุกๆ อิริยาบถ “เดินนับเท้า นอนนับท้อง จับจ้องลมหายใจ เคลื่อนไหวด้วยสติ” หัดรู้สึกตัวบ่อยๆ
๓. ให้ฝึกทำสมาธิ สลับกับการเจริญสติเช่นนี้ ทุกๆ ๑-๓ ชั่วโมง(ระยะเวลาอาจปรับสั้นยาวได้ตามความเหมาะสม) ทั้งนี้ต้องแน่ใจว่า เป็นการปฏิบัติในแนวทางที่ถูก เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อเจริญสติได้คล่องขึ้น ให้เพิ่มการเจริญสติให้มากกว่าการทำสมาธิ
๔. ศีลห้าและกุศลกรรมบถสิบอย่าให้ขาด และให้งดเว้นอบายมุขทุกชนิดตลอดชีวิต หากศีลข้อใดขาดให้สมาทานศีลห้าใหม่ทันทีโดยวิธีสมาทานวิรัติด้วยตนเอง เอาเจตนางดเว้นเป็นที่ตั้ง เพราะศีลเป็นบาทฐานของการปฏิบัติ
๕. ท่านที่มีภารกิจมากและต้องทำกิจการงานต่างๆ ที่จะต้องพบปะติดต่อกับบุคคลอื่นๆ ให้หมั่นสำรวม กาย วาจา ใจ อยู่เป็นนิจ ให้มีสติระลึกรู้ อยู่กับงานนั้นๆ ขณะพูดเจรจาก็ให้มีสติระลึกรู้อยู่กับการพูดเจรจานั้นๆ ตลอดเวลา เมื่ออยู่ตามลำพังก็ให้เริ่มสมาธิหรือเจริญสติต่อไป
๖. เมื่อเริ่มฝึกใหม่ๆ จะมีอาการเผลอสติบ่อยมาก และบางทีเจริญสติไม่ถูก หลงไปทำสมถะเข้า เรื่องนี้ในหนังสือวิมุตติปฏิปทาของท่านปราโมทย์ สันตยากร ท่านกล่าวว่า “ผู้ที่เจริญสติปัฏฐานได้ จะต้องเตรียมจิตให้มีคุณภาพเสียก่อน ถ้าจิตไม่มีคุณภาพ คือรู้ตัวไม่เป็น จะรู้ปรมัตถธรรมไม่ได้ เมื่อไปเจริญสติเข้าก็จะกลายเป็นสมถะทุกคราวไป ฯลฯ” ดังนั้น จึงต้องฝึกรู้ตัวให้เป็น และเมื่อใดที่เผลอหรือคิด ใจลอยฟุ้งซ่านไป ก็ให้กลับมามีสติระลึกรู้อยู่กับสภาวะปัจจุบัน ขณะที่รู้ว่าเผลอหรือรู้ว่าคิดฟุ้งซ่าน ขณะนั้นก็เกิดการรู้ที่ถูกต้องแล้ว แต่ต้องไม่ใช่การกำหนดหรือน้อมและไม่ใช่ตั้งท่าหรือจ้องหรือเพ่ง
หากจิตมีอาการเกิดกามราคะ หรือโทสะที่รุนแรง ให้หันกลับมาอยู่กับการทำสมาธิแทนจนกว่าอาการจะหายไป แล้วเริ่มเจริญสติต่อไปใหม่ถ้าอาการยังไม่หายแสดงว่า ท่านไม่ได้อยู่กับสมาธิ ให้ตั้งใจปฏิบัติสมาธิให้มั่นใหม่อีกครั้ง จนกว่าจะสงบ ความสงบอยู่ที่การปล่อยวางจิตให้พอดี ตึงไปก็เลย หย่อนไปก็ไม่ถึง ต้องวางจิตให้พอดีๆ
๗. ขณะที่เข้าห้องน้ำถ่ายทุกข์หนัก-เบา หนาว-ร้อน หิว-กระหาย ก็ให้เจริญสติระลึกรู้ทุกครั้งไป
๘. ตอนกลางวัน ควรหาหนังสือธรรมะมาอ่าน หรือฟังเทปธรรมะสลับการปฏิบัติ ถ้าเห็นว่ามีอาการเบื่อหรืออ่อนล้า อาการดังกล่าวอาจเกิดจากการตั้งใจเกินไป หรืออาจปฏิบัติไม่ถูกทางก็เป็นได้ ให้เฝ้าสังเกตและพิจารณาด้วย
๙. ให้มองโลกแง่ดีเสมอๆ ทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใสตลอดทั้งวันไม่คิด พูด หรือทำในสิ่งอกุศล ไม่กล่าวร้ายผู้อื่น ให้พูด คิด แต่ส่วนที่ดีของเขา การพูด การคิดและทำ ก็ให้เป็นไปในกุศล คือ ทาน ศีล สมาธิ และภาวนาเท่านั้น (ไม่พูดดิรัจฉานกถา) พยายามประคับประคองรักษากุศลธรรมให้เกิดและให้เจริญยิ่งๆ ขึ้นเรื่อยๆ บางทีบางโอกาสอาจเห็นความโกรธโดยไม่ตั้งใจ และเห็นการดับไปของความโกรธ ซึ่งความโกรธจะเกิดขึ้นเร็วมากแต่ตอนจะหายโกรธ กลับค่อยๆ เบาลงๆ แล้วหายไปอย่างช้าๆ เปรียบได้เหมือนกับการจุดไม้ขีดที่เริ่มจุดเปลวไฟจะลุกสว่างเร็วมาก แล้วจึงค่อยๆมอดดับลงไป นั่นแหละคือการเจริญวิปัสสนา และต่อไปจะทำให้กลายเป็นคนที่มีความโกรธน้อยลง จนการแสดงออกทางกายน้อยลงๆ จะเห็นแต่ความโกรธที่เกิดอยู่แต่ในจิตเท่านั้น
๑๐. ให้ประเมินผลทุกๆ ๑-๓ ชั่วโมง หรือวันละ ๓-๔ ครั้งและให้ทำทุกวัน ให้สังเกตดูตัวเองว่า เบากายเบาใจกว่าแต่ก่อนหรือไม่เพราะเหตุใด
๑๑. ก่อนนอนทุกคืน ให้อยู่กับสมาธิในอิริยาบถนอนตะแคงขวา(สีหไสยาสน์) หรือเจริญสติจนกว่าจะหลับทุกครั้งไป ถ้าไม่หลับให้นอนดู “รูปนอน” จนกว่าจะหลับ
๑๒. เมื่อประเมินผลแล้วให้สำรวจตรวจสอบ เป้าหมาย คือ การเพียรให้มีสติระลึกรู้อยู่อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ให้สังเกตดูว่ามีความก้าวหน้าอย่างไรบ้างหรือไม่ หากยังไม่ก้าวหน้า ต้องค้นหาสาเหตุแท้จริงแล้วรีบแก้ไขให้ตรวจสอบดูว่าท่านได้ปฏิบัติถูกทางหรือไม่ หาสัตบุรุษผู้รู้หรือกัลยาณมิตรเพื่อขอคำแนะนำ ไม่ควรขอคำแนะนำจากเพื่อนนักปฏิบัติด้วยกัน เพราะอาจหลงทางได้
๑๓. ให้พยายามฝึกทำความเพียร เฝ้าใส่ใจในความรู้สึกให้แยบคาย(โยนิโสมนสิการ) พยายามแล้วพยายามอีก ให้เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จากที่คิดว่ายากมากๆ จนกลายเป็นง่าย และเกิดเป็นนิสัยประจำตัว
๑๔. จงอย่าพยายามสงสัย ให้เพียงแต่พยายามเฝ้าระลึกรู้ในปัจจุบันธรรมอยู่ในกายในจิต (รูป-นาม) กลุ่มปัญหาข้อสงสัยก็จะหมดความหมายไปเอง (หลวงปู่เทียน จิตฺตสุโภ ท่านว่า “คิดเป็นหนู รู้เป็นแมว”) อย่าพยายามอยากได้ญาณ หรือมรรคผลนิพพานใดๆ ทั้งสิ้น ตัวของเราเองมีหน้าที่เพียงแต่ สร้างเหตุที่ดีเท่านั้น
นักปฏิบัติที่คิดมาก มีปัญหามาก เพราะไม่พยายามรู้ตัว และยังรู้ตัวไม่เป็น ไม่มีสติพิจารณาอยู่ในกายในจิตของตนเอง เอาแต่หลงไปกับสิ่งที่ถูกรู้ หรือไม่ก็ไปพยายามแก้อาการของจิต
ดังนั้นจึงให้พยายามรู้ตัวให้เป็นถ้ารู้เป็นจะต้องเห็นว่ามีสิ่งที่ถูกรู้กับมีผู้รู้ และให้พยายามมีสติพิจารณาอยู่แต่ภายในจิตของตนก็พอ ประการที่สำคัญอีกประการหนึ่งโปรดจำไว้ว่าให้รู้อารมณ์เท่านั้น อย่าพยายามไปแก้อารมณ์ที่เกิดขึ้น (วิมุตติปฏิปทา)
๑๕. จงอย่าคิดเอาเองว่า ตนเองยังมีบุญวาสนาน้อย ขอทำบุญทำทานไปก่อน หรืออินทรีย์ของตัวยังอ่อนเกินไป คิดเช่นนี้ไม่ถูกต้อง จงอย่าดูหมิ่นตัวเอง เมื่อเริ่มฝึกปฏิบัติหรือเจริญสติใหม่ๆ จะเกิดการเผลอสติบ่อยๆจะเป็นอยู่หลายเดือน หรือบางทีอาจหลายปี แต่ฝึกบ่อยๆ เข้าก็จะค่อยๆระลึกรู้ถี่ขึ้นเรื่อยๆ ขอให้พยายามทำความเพียรต่อไป ถ้าผิดก็เริ่มใหม่เพราะขณะใดที่รู้ว่าผิด ขณะนั้นจะเกิดการรู้ที่ถูกต้องโดยอัตโนมัติอยู่แล้ว
ประการที่สำคัญ คือ ต้องเลิกเชื่อมงคลตื่นข่าว และต้องไม่แสวงบุญนอกศาสนา จงอยู่แต่ใน ทาน ศีล สมาธิและภาวนา (บุญกิริยาวัตถุสิบ) ก็พอ
๑๖. จงพยายามทำตนให้หนักแน่นและกว้างใหญ่ดุจแผ่นดินและผืนน้ำที่สามารถรองรับได้ทั้งสิ่งของที่สะอาดและโสโครก ซึ่งแผ่นดินและผืนน้ำรักชังใครไม่เป็น คือทั้งไม่ยินดี (สิ่งของที่สะอาด) และไม่ยินร้าย (ของโสโครก) ใดๆ วางใจให้เป็นกลางๆ ให้ได้ ความสำเร็จก็อยู่ที่ตรงนี้
ท่านที่รู้ตัวได้ชำนิชำนาญขึ้นแล้ว
การเจริญสตินั่นแหละจะเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่จะหาอารมณ์ที่เป็นปรมัตถ์มาเป็นเครื่องมืออยู่ที่ถนัด (วิหารธรรม) ให้จิตมีสติเฝ้ารู้อย่างต่อเนื่อง
หลวงพ่อชา สุภัทโท ท่านเคยกล่าวไว้ว่า “ท่อนซุงที่ลอยล่องไประหว่างสองฝั่ง ถ้าไม่ติดอยู่ข้างฝั่งใดฝั่งหนึ่ง ไม่ช้าก็จะไปถึงจุดหมายปลายทางอย่างแน่นอน”
แต่ถ้าลอยไปติดอยู่กับฝั่งใด (กามสุขัลลิกานุโยค หรือความยินดี)ฝั่งหนึ่ง (อัตตกิลมถานุโยค หรือความยินร้าย) ไม่ช้าก็คงกลายเป็นซุงผุใช้การไม่ได้เป็นแน่
เอาบุญมาฝากจะถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ สักการะพระธาตุ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาทสร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ ให้อาหารสัตว์เป็นทานเป็นประจำ กรวดน้ำอุทิศบุญ อนุโมทนากับพ่อแม่ญาติพี่น้องที่รักษาศีล ฟังธรรม ให้ทาน อนุโมทนากับน้องคนหนึ่งและเพื่อนๆของน้องที่รักษาศีล ศึกษาการรักษาโรค ให้ยานพาหนะเป็นทาน ให้ที่อยู่อาศัยเป็นทาน ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ถวายสังฆทานมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ปิดทองพระ รักษาอาการป่วยของผู้อื่นกับผู้ร่วมงาน และที่ผ่านมาได้รักษาอาการป่วยของมารดา ปล่อยชีวิตสัตว์มาโดยตลอด ถวายยาแก่ภิกษุ ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ทำบุญหลายอย่างมาโดยตลอด และตั้งใจว่าจะสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอให้อนุโมทนาบุญด้วย
ขอเชิญถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน สักการะพระธาตุ ฟังธรรม สวดมนต์ ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาท
สร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย กรวดน้ำอุทิศบุญ ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สนทนาธรรม
ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น รักษาอาการป่วยของผู้อื่น รักษาอาการป่วยของบิดามารดา
ปิดทอง สักการะพระธาตุ กราบอดีตสังขารเจ้าอาวาสที่ไม่เน่าเปื่อย ที่วัดแจ้ง อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ปิดทองพระ ปล่อยชีวิตสัตว์ถวายยาแก่ภิกษุ
และสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอเชิญร่วมบุญกุศลร่วมกันนะครับ
ขอเชิญผู้มีจิตศรัทธาร่วมสร้างโบสถ์หลังใหม่
โทร 081-9403060
ร่วมบูชาวัตถุมงคลกับ หลวงพ่อมนัส มนฺตชาโต เพื่อร่วมสร้างองค์พระนเรศวรมหาราช
โทร. 085-4333575
ขอเชิญร่วมหล่อ รูปพระสังกัจจายน์ และ พระอุปคุตเถร วัดราชสิทธาราม (วัดพลับ)
โทร. 084-651-7023
ขอเชิญร่วมทำบุญสมทบทุนซื้อที่ดินถวายวัด ณ วัดป่าอนาลโย ต.สระพัฒนา อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม
081-9434665,081-1981560
ขอเชิญร่วมสร้างศาลาการเปรียญ และทางขึ้นสำนักสงฆ์ด่านตู้วนาราม
บริจาคได้ที่ ธนาคารกรุงเทพทุกสาขา เลขที่บัญชี 638-017132-9 สะสมทรัพย์ สาขาปทุมราชวงศา จ.อำนาจเจริญ พระบุญมี อรุโณ สำนักสงฆ์ด่านตู้วนาราม
ร่วมเป็นเจ้าภาพทอดกฐินครอบครัวสามัคคีสร้างศาลาปฏิบัติธรรม จำนวน ๙๙๙ กองๆ ละ ๔๙๙ บาท
ในนามวัดเทียบศิลาราม และพุทธศาสนิกชนชาวบ้านหลักหินใหม่
ขอเชิญพุทธศาสนิกชนผู้มีจิตศรัทธาในบวรพระพุทธศาสนา
ร่วมเป็นเจ้าภาพทอดกฐินครอบครัวสามัคคีสร้างศาลาปฏิบัติธรรม จำนวน ๙๙๙ กองๆ ละ ๔๙๙ บาท
ในวันที่ ๒๑ – ๒๓ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๔
(แรม ๙ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึง แรม ๑๑ ค่ำ เดือน ๑๑ พ.ศ. ๒๕๕๔)
ทอด ณ วัดเทียบศิลาราม
หมู่ที่ ๑๘ บ้านหลักหินใหม่ ตำบลบักดอง อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ
ปลูกฝังธรรมให้ลูกหลานกับโครงการสัปดาห์เด็กๆ โดยพระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก
ณ มูลนิธิพระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก เลขที่ 3 ถ.กรุงเทพกรีฑา20 แยก7 แขวงสะพานสูง เขตสะพานสูง กรุงเทพฯ
ปฏิทินการอบรมโครงการสัปดาห์เด็กๆ
ครั้งที่ 1 23-24 เม.ย. 2554
ครั้งที่ 2 21-22 พ.ค. 2554
ครั้งที่ 3 25-26 มิ.ย. 2554
ครั้งที่ 4 23-24 ก.ค. 2554
ครั้งที่ 5 27-28 ส.ค. 2554
ครั้งที่ 6 24-25 ก.ย. 2554
ครั้งที่ 7 22-23 ต.ค. 2554
ครั้งที่ 8 26-27 พ.ย. 2554
ครั้งที่ 9 17-18 ธ.ค. 2554
สอบถาม-สมัคร ได้ที่ : โรงเรียนสยามสามไตร เลขที่ 87 ซอยสุขุมวิท 89/1 แขวงบางจาก เขตพระโขนง กทม. 10260 โทร. 02-311-0134 , 02-331-6268
โครงการผ่าตัดเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ติดต่อสำนักงาน
สำนักงานจัดหารายได้ สภากาชาดไทย
เบอร์โทรศัพท์
0 2256 - 4440 - 3, 0 2251 - 1218 , 0 2251 6964
เบอร์แฟกซ์
0-2250-0312 ,0-2652-4440
อีเมล์
pr-fund@redcross.or.th pr-fund-rc@hotmail.com สถานที่ติดต่อ
1873 ตึกอำนวยนรธรรม ชั้น 2 ถ.พระราม 4 เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
เว็บไซต์หน่วยงาน :
http://www.redcrossfundraising.org/ หาผ้าห่มกันหนาวให้น้องหนูที่แม่แพม ( บอกต่อได้บุญ )
ธนาคาร ธ.ก.ส. สาขาเชียงดาว
เลขที่บัญชี 094-2-75603-0
ชื่อบัญชี พระบรรเจิด กิตติสาโร
ขอความอนุเคราะห์รับบริจาก "ตลับหมึกมือ2"
0892335885 พระทศพล
ขอเชิญร่วมทำบุญไถ่ชีวิตโค-กระบือ-ปู-หอย ทุกเดือน!!
สำหรับท่านที่สนใจร่วมบุญสามารถโอนเงินเงินได้ที่
ธนาคาร กสิกรไทย สาขาสามแยกสันทราย
เลขที่ 406-2-36034-3 ออมทรัพย์
ชื่อบัญชี พระครูปลัดอรรถสิทธิ์ ชินวังโส เพื่อกองทุนไถ่ชีวิตโค-กระบือ วัดศรีมุงเมือง