พระพุทธพจน์ - พุทธภาษิต พระธรรมเทศนา และ ธรรมะจากครูบาอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
เสาร์ 27 ส.ค. 2011 12:00 am
ในคำสอนทางพระพุทธศาสนา จะมีคำว่า บวช ซึ่งมีรากศัพท์ภาษาบาลี ว่า ปวช
แปลว่า เว้นทั่ว หรือ เว้นโดยประการทั้งปวง ซึ่งก็คือ เว้นจากความติดข้องยินดีพอ
ใจในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เว้นจากอกุศลธรรมทุกประการ เพราะฉะนั้น
แล้ว การบวช จึงเป็นเรื่องที่ละเอียดมาก เป็นไปเพื่อขัดเกลากิเลสทั้งสิ้น เพราะ
การบวช เมื่อกล่าวกว้าง ๆ แล้ว มี ๒ อย่าง คือ บวชโดยถือเพศ เช่น บวช เป็นพระ
ภิกษุ สามเณร ซึ่งเป็นเพศบรรพชิต และ บวชด้วยข้อปฏิบัติ กล่าวคือ ถึงแม้ว่าจะ
ไม่ได้บวชด้วยการถือเพศ แต่ก็มีความจริงใจที่จะศึกษาและน้อมประพฤติปฏิบัติตาม
พระธรรม ก้าวออกจากอกุศลทุกประการ ก็ชือว่า บวช ด้วยเช่นเดียวกัน แต่เป็น
การบวช ด้วยข้อปฏิบัติ นั่นเอง ครับ
"การบวช" คืออะไร.?
ในอรรถกถา ท่านใช้คำว่า "บวช" หรือ "เนกขัมมะ"
ในภาษาบาลี ท่านหมายถึง "การเว้นทั่ว"
เว้นอะไร....?
เว้นจากอกุศลธรรม หรือ เว้นจากบาปธรรม...นี่คือ "การบวช"
"การบวชด้วยเพศ" คือ พระโพธิสัตว์ , ฤาษี , บรรพชิต ๑
และ "การบวชด้วยข้อปฏิบัติ" หรือ "เนกขัมมะ" ๑.
ก่อนอื่น...ควรเข้าใจความหมายของคำว่า "เนกขัมมะ"
"เนกขัมมะ" หมายถึง "การออกจากกาม"
หรือ การเว้นจากบาปธรรม-อกุศลธรรม ด้วยข้อปฏิบัติ.
"ข้อปฏิบัติ" หมายถึง การอบรมเจริญปัญญา
ได้แก่ สมถภาวนา และ วิปัสสนาภาวนา
เป็นการอบรมเจริญปัญญา...เพื่อการออกจากกาม (เนกขัมมะ)
เพราะฉะนั้น
เมื่อกล่าวถึง "การบวช" หรือ "การออกจากกาม"
ก็ต้องหมายถึงสองอย่าง คือ โดยเพศ และ โดยข้อประพฤติปฏิบัติ.
"การบวช"
ไม่ได้หมายถึง การบวชเป็น "บรรพชิต" เพียงอย่างเดียวเท่านั้น.
กล่าวได้ว่า "การบวช" มีสองอย่าง คือ การบวชกาย และ การบวชใจ
หมายถึง การบวชด้วยเพศ และ การบวชด้วยข้อประพฤติปฏิบัติ.
และควรเข้าใจให้ถูกต้อง ว่า "การประพฤติ-ปฏิบัติธรรม" คืออะไร.!
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 92
๗. ทุกกรสูตร
ว่าด้วยธรรมที่ทำได้ยาก
[๓๖] เทวดากล่าวว่า
ธรรมของสมณะ คนไม่ฉลาด ทำ
ได้ยาก ทนได้ยาก เพราะธรรมของสมณะ
นั้นมีความลำบากมาก เป็นที่ติดขัดของ
คนพาล.
[๓๗] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
คนพาล ประพฤติธรรมของสมณะ
สิ้นวันเท่าใด หากไม่ห้ามจิต เขาตกอยู่
ในอำนาจของความดำริทั้งหลาย พึงติด
ขัดอยู่ทุก ๆ อารมณ์ ภิกษุยั้งวิตกในใจไว้
ได้ เหมือนเต่าหดอวัยวะทั้งหลายไว้ใน
กระดองของตน อันตัณหานิสัยและทิฏฐิ-
นิสัยไม่พัวพันแล้ว ไม่เบียดเบียนสัตว์อื่น
ปรินิพพานแล้ว ไม่พึงติเตียนใคร.
กระผมขออธิบายตามพระไตรปิฎกและอรรถกถาได้อธิบายในเรื่องนี้ดังนี้ครับ
คาถาแรกที่เทวดากล่าวว่า
[๓๖] เทวดากล่าวว่า
ธรรมของสมณะ คนไม่ฉลาด ทำ
ได้ยาก ทนได้ยาก เพราะธรรมของสมณะ
นั้นมีความลำบากมาก เป็นที่ติดขัดของ
คนพาล.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
คนพาล ประพฤติธรรมของสมณะ
สิ้นวันเท่าใด หากไม่ห้ามจิต เขาตกอยู่
ในอำนาจของความดำริทั้งหลาย พึงติด
ขัดอยู่ทุก ๆ อารมณ์ ภิกษุยั้งวิตกในใจไว้
ได้ เหมือนเต่าหดอวัยวะทั้งหลายไว้ใน
กระดองของตน อันตัณหานิสัยและทิฏฐิ-
นิสัยไม่พัวพันแล้ว ไม่เบียดเบียนสัตว์อื่น
ปรินิพพานแล้ว ไม่พึงติเตียนใคร.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ หน้า 357
[๒๒] วิตก มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
ความตรึก ความตรึกอย่างแรง ความดำริ ความที่จิตแนบอยู่ใน
อารมณ์ ความที่จิตแนบสนิทอยู่ในอารมณ์ ความยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ สัมมา-
สังกัปปะ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า วิตกมีในสมัยนั้น
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ หน้าที่ ๓๑๕
สุภาสิตสูตร
(ว่าด้วยวาจาสุภาษิต ๔ ประการ)
[๗๓๘] สาวัตถีนิทาน.
ในสมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย,
ภิกษุเหล่านั้น ทูลรับพระพุทธดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า
ได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วาจาอันประกอบด้วยองค์ ๔ เป็น
วาจาสุภาษิต ไม่เป็นวาจาทุพภาษิต เป็นวาจาไม่มีโทษ และเป็นวาจาอันวิญญูชน
ทั้งหลายไม่ติเตียน องค์ ๔ เป็นไฉน? คือ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ย่อมกล่าวแต่วาจาที่บุคคลกล่าวดีแล้วเท่านั้น ไม่กล่าววาจาที่บุคคลกล่าวชั่วแล้ว ๑
ย่อมกล่าวแต่วาจาที่เป็นธรรม เท่านั้น ไม่กล่าววาจาที่ไม่เป็นธรรม ๑ ย่อมกล่าวแต่
วาจาอันเป็นที่รักเท่านั้น ไม่กล่าววาจาอันไม่เป็นที่รัก ๑ ย่อมกล่าวแต่วาจาจริง
เท่านั้น ไม่กล่าววาจาเท็จ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วาจาอันประกอบด้วยองค์ ๔ เหล่า
นี้แล เป็นวาจาสุภาษิต ไม่เป็นวาจาทุพภาษิต เป็นวาจาไม่มีโทษ และเป็นวาจาอัน
วิญญูชนทั้งหลายไม่ติเตียน.
[๗๓๙] พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้พระสุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้จบ
ลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
สัตบุรุษทั้งหลาย ได้กล่าววาจา
สุภาษิตว่าเป็นที่หนึ่ง, บุคคลพึงกล่าววาจา
ที่เป็นธรรม ไม่พึงกล่าววาจาที่ไม่เป็นธรรม
เป็นที่สอง, บุคคลพึงกล่าววาจาอันเป็นที่รัก
ไม่พึงกล่าววาจาอันไม่เป็นที่รัก เป็นที่สาม,
บุคคลพึงกล่าววาจาจริง ไม่พึงกล่าววาจา
เท็จ เป็นที่สี่ ดังนี้.
ครั้งนั้นแล ท่านพระวังคีสะลุกขึ้นจากอาสนะ ทำผ้าห่มเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง
ประนมอัญชลีไปทางพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้า
แต่พระผู้มีพระภาคเจ้า เนื้อความนี้ย่อมแจ่มแจ้งกะข้าพระองค์ ข้าแต่พระสุคต เนื้อ
ความนี้ย่อมแจ่มแจ้งกะข้าพระองค์.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เนื้อความนี้จงแจ่มแจ้งกะเธอเถิดวังคีสะ.
[๗๔๐] ครั้งนั้นแล ท่านพระวังคีสะ ได้ทูลสรรเสริญพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วย
คาถาทั้งหลายอันสมควร ณ ที่เฉพาะพระพักตร์ว่า
บุคคล พึงกล่าวแต่วาจาที่ไม่เป็นเหตุ
ยังตนให้เดือดร้อน และไม่เป็นเหตุเบียด-
เบียนผู้อื่น วาจานั้นแลเป็นสุภาษิต บุคคล
พึงกล่าวแต่วาจาอันเป็นที่รัก ที่ชนทั้งหลาย
ชื่นชมแล้ว ไม่ถือเอาคำที่ชั่วช้าทั้งหลาย
กล่าวแต่วาจาอันเป็นที่รัก แก่ชนเหล่าอื่น
คำสัตย์แล เป็นวาจาไม่ตาย ธรรมนี้เป็น
ของมีมาแต่เก่าก่อน สัตบุรุษทั้งหลาย
เป็นผู้ตั้งมั่นแล้วในคำสัตย์ ที่เป็นอรรถ
และเป็นธรรม พระพุทธเจ้าตรัสพระวาจา
ใด ซึ่งเป็นวาจาเกษม เพื่อให้ถึงพระ-
นิพพาน เพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์ พระวาจา
นั้นแล เป็นสูงสุดกว่าวาจาทั้งหลาย ดังนี้.
จบ สุภาสิตสูตร ที่ ๕.
เอาบุญมาฝากจะถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ สักการะพระธาตุ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาทสร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ ให้อาหารสัตว์เป็นทานเป็นประจำ กรวดน้ำอุทิศบุญ อนุโมทนากับพ่อแม่ญาติพี่น้องที่รักษาศีล ฟังธรรม ให้ทาน อนุโมทนากับน้องคนหนึ่งและเพื่อนๆของน้องที่รักษาศีล ศึกษาการรักษาโรค ให้ยานพาหนะเป็นทาน ให้ที่อยู่อาศัยเป็นทาน ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ถวายสังฆทานมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ปิดทองพระ รักษาอาการป่วยของผู้อื่นกับผู้ร่วมงาน และที่ผ่านมาได้รักษาอาการป่วยของมารดา ปล่อยชีวิตสัตว์มาโดยตลอด ถวายยาแก่ภิกษุ ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ทำบุญหลายอย่างมาโดยตลอด และตั้งใจว่าจะสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอให้อนุโมทนาบุญด้วย
ขอเชิญถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน สักการะพระธาตุ ฟังธรรม สวดมนต์ ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาท
สร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย กรวดน้ำอุทิศบุญ ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สนทนาธรรม
ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น รักษาอาการป่วยของผู้อื่น รักษาอาการป่วยของบิดามารดา
ปิดทอง สักการะพระธาตุ กราบอดีตสังขารเจ้าอาวาสที่ไม่เน่าเปื่อย ที่วัดแจ้ง อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ปิดทองพระ ปล่อยชีวิตสัตว์ถวายยาแก่ภิกษุ
และสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอเชิญร่วมบุญกุศลร่วมกันนะครับ