สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของ
ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียกภิกษุ
ทั้งหลายแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีตนเป็นที่พึ่ง มีตน
เป็นสรณะ ไม่มีสิ่งอื่นเป็นสรณะ จงเป็นผู้มีธรรมเป็นที่พึ่ง มีธรรมเป็นสรณะ ไม่มี
สิ่งอื่นเป็นสรณะอยู่เถิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อเธอทั้งหลายจะมีตนเป็นที่พึ่ง มีตน
เป็นสรณะ ไม่มีสิ่งอื่นเป็นสรณะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง มีธรรมเป็นสรณะ ไม่มีสิ่งอื่นเป็นสรณะ
อยู่ จะต้องพิจารณาโดยแยบคายว่า โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และ
อุปายาส มีกำเนิดมาอย่างไร เกิดมาจากอะไรดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็โสกะ ปริเทวะ
ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส มีกำเนิดมาอย่างไร เกิดมาจากอะไร ดูก่อนภิกษุทั้ง
หลาย ปุถุชน ผู้มิได้สดับแล้วในโลกนี้ ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้าทั้งหลาย ไม่ฉลาดใน
ธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้รับแนะนำในอริยธรรม ไม่ได้เห็นสัตบุรุษทั้งหลาย ไม่
ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้รับแนะนำในสัปปุริสธรรม ย่อมตามเห็นรูปโดยความ
เป็นตน ๑ ย่อมเห็นตนมีรูป ๑ ย่อมเห็นรูปในตน ๑ ย่อมเห็นตนในรูป ๑ รูปนั้น
ของเขาย่อมแปรไป ย่อมเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และ
อุปายาส ย่อมเกิดขึ้น แก่เขา เพราะรูปแปรไปและเป็นอื่นไป, ย่อมเห็นเวทนาโดย
ความเป็นตน ฯลฯ ย่อมเห็นสัญญาโดยความเป็นตน ฯลฯ ย่อมเห็นสังขารโดยความ
เป็นตน ฯลฯ ย่อมเห็นวิญญาณโดยความเป็นตน ๑ ย่อมเห็นตนมีวิญญาณ ๑
ย่อมเห็นวิญญาณในตน ๑ ย่อมเห็นตนในวิญญาณ ๑ วิญญาณนั้น ของเขา ย่อม
แปรไป ย่อมเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ย่อมเกิด
ขึ้นแก่เขา เพราะวิญญาณแปรไป และเป็นอย่างอื่นไป.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อภิกษุรู้ว่ารูปไม่เที่ยงแปรปรวนไป คลาย
ไป ดับไป เห็นตามความเป็นจริงด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้ว่า รูปในกาลก่อน
และรูปทั้งมวลในบัดนี้ ล้วนไม่เที่ยงเป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ดังนี้
ย่อมละโสกะ ปริเทวะทุกข์ โทมนัส และอุปายาสได้ เพราะละโสกะเป็นต้นเหล่านั้นได้
จึงไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้ง ย่อมอยู่เป็นสุข ภิกษุผู้มีปรกติอยู่เป็นสุข เรากล่าวว่าผู้ดับแล้ว
ด้วยองค์นั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อภิกษุรู้ว่าเวทนาไม่เที่ยงฯลฯ สัญญาไม่เที่ยง
ฯลฯ สังขารไม่เที่ยง ฯลฯ วิญญาณไม่เที่ยงแปรปรวนไป คลายไป ดับไป เห็น
ตามความเป็นจริงด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้ว่า วิญญาณในกาลก่อน และวิญญาณทั้ง
มวลในบัดนี้ ล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ดังนี้ ย่อมละโสกะ
ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสได้ เพราะละโสกะ เป็นต้น เหล่านั้นได้ ย่อมไม่
สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้ง ย่อมอยู่เป็นสุข ภิกษุผู้มีปรกติอยู่เป็นสุขเรากล่าวว่าผู้ดับแล้วด้วย
องค์นั้น.
กุศลจิต เป็นเครื่องบูชา เมื่อมีกุศลจิตเกิดขึ้น จึงทำการบูชาต่อพระรัตนตรัย ตาม
สมควรทั้งด้วยวัตถุสิ่งของ และ ด้วยการน้อมประพฤติปฏิบัติตามพระธรรม สำหรับการ
บูชาด้วยวัตถุสิ่งของนั้น ก็ตามสมควรแก่สถานที่นั้น ๆ ว่าควรจะถวายสิ่งใดเป็นเครื่อง
บูชา ทั้งหมดทั้งปวง นั้น ไม่ว่าจะเป็นผ้าห่มเจดีย์ รวมไปถึงเครื่องบูชา ต่าง ๆ เป็นต้น
ก็เพื่อน้อมบูชาต่อพระรัตนตรัย ด้วยจิตที่เป็นกุศล จึงไม่ควรคิดที่จะนำมาเป็นของ
ส่วนตัวโดยประการทั้งปวง เพราะเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง พระวินัยเป็นเรื่องละเอียดครับ การกระทำใดๆของพระภิกษุก็ต้องเป็นไปตามพระวินัย
และนำมาซึ่งความเลื่อมใสของประชุมชน ไม่นำมาซึ่งความติเตียนชองประชุมชนด้วย
ครับ สำหรับการล้างบาตร ไม่ได้มีสิกขาบทโดยตรงที่ว่าล้างบาตรอยู่กับที่ตรงนั้นแล้ว
อาบัติ แต่พระพุทธเจ้าบัญญัติสิกขาบทไว้ว่า หากป็นผู้ล้างบาตร ทิ้งเมล็ดข้าวลงใน
ละแวกบ้านต้องอาบัติทุกกฎครับ ดังนั้นควรล้างในที่ที่เหมาะสม คือ ล้างข้างนอก เอา
กระโถนใส่น้ำ เศษอาหาร ไปล้างข้างนอก อันนี้ควรเพราะการล้างบาตร ก็ต้องมี
มารยาทที่เหมาะสม และในพระไตรปิฎกแสดงต่อไปว่า การล้างก็ให้ล้างค่อยๆล้าง อาจ
จะกระเด็นโดนพระเถระได้ครับ ต้องค่อยๆล้าง ดังนั้นทางที่ดีก็ควรล้างในที่สำหรับล้าง
ก็จะไม่กระเด็นโดนภิกษุเถระด้วยครับ การล้างบาตรก็ควรทำให้เหมาะสมตามพระธรรม
วินัยและประพฤติให้เหมาะสมไม่เป็นที่ติเตียนของชาวบ้าน และนำมาซึ่งความสรรเสริญ
ชองประชุมชนครับ ซึ่งเราสามารถบอกท่านได้ครับว่า ควรล้างให้ในที่ที่เหมาะสมและ
ค่อยๆล้าง ตามพระวินัยที่กระผมได้ยกมาครับ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 925
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่า พวกภิกษุเทน้ำล้างบาตรซึ่งยังมีเมล็ดข้าวลงในละแวกบ้าน จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวก
โมฆบุรุษเหล่านั้น จึงได้เทน้ำล้างบาตรซึ่งยังมีเมล็ดข้าวลงในละแวกบ้านเล่า
การกระทำของพวกโมฆบุรุษเหล่านั้นนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของ
ชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว . . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้
ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๒๐๑. ๕๖. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่เทน้ำล้างบาตร
มีเมล็ดข้าวในละแวกบ้าน.
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุไม่เทน้ำล้างบาตร ซึ่งยังมีเมล็ดข้าวลงในละแวกบ้าน ภิกษุใด
อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ เทน้ำล้างบาตรซึ่งยังมีเมล็ดข้าวลงในละแวกบ้าน ต้อง
อาบัติทุกกฏ.
******************************************
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 347
พึงค่อย ๆ ล้างบาตร ถือต่ำ ๆ ให้ดี อย่าให้ครูดสี ถ้ากระโถนมีพึงค่อย ๆ เทน้ำลง
ในกระโถน ด้วยคิดว่า กระโถนอย่าเลอะเทอะด้วยน้ำภิกษุใกล้เคียงอย่าถูกน้ำกระเซ็น
ผู้สังฆาฏิอย่าถูกน้ำกระเซ็น ถ้ากระโถนไม่มีพึงค่อย ๆ เทน้ำลงบนพื้นดิน ด้วยคิดว่า
ภิกษุใกล้เคียงอย่าถูกน้ำกระเช็นผ้าสังฆาฏิอย่าถูกน้ำกระเซ็น ไม่พึงเทน้ำล้างบาตรมี
เมล็ดข้าวในละแวกบ้าน
พระธรรมวินัย ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง เป็นไปเพื่อการกำจัดกิเลสที่
แต่ละบุคคลได้สะสมมาอย่างเนิ่นนานในสังสารวัฏฏ์ แต่ถ้าไม่ได้ศึกษา ไม่ได้เข้าใจ
ถูกต้องตรงตามพระธรรมวินัยแล้วโอกาสที่จะกระทำผิด ก็ย่อมจะมีได้ หรือ ในอีกกรณี
หนึ่ง คือ ทั้ง ๆ ที่รู้ว่า เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ไม่ตรงตามพระธรรมวินัย แต่ก็มีเจตนาที่จะ
ล่วงละเมิดสิกขาบทนั้น ๆ เพราะกำลังของกิเลส โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ ความไม่
ละอาย ความไม่เกรงกลัวต่ออกุศล นั่นเอง
สำหรับเงินและทอง นั้น เป็นอกัปปิยะ คือ เป็นสิ่งที่ไม่สมควรแก่เพศพระภิกษุ โดย
ประการทั้งปวง เพราะพระภิกษุ รับเงินและทอง ไม่ได้ เป็นอาบัติ ไม่ว่าจะรับเพื่อตน
หรือ เพื่อสิ่งอื่น เช่น สร้างกุฏิ สร้างพระอุโบสถ เ็ป็นต้น ก็เป็นอาบัติ ถ้ารับเมื่อใด
ไม่ว่ากรณีใด ๆ ล้วนไม่พ้นจากอาบัติ
ตามความเป็นจริงแล้ว การสร้างกุฏิ การสร้างพระอุโบสถ เป็นกิจหน้าที่ของ
คฤหัสถ์ผู้มีศรัทธาที่จะสร้างถวาย อย่างเช่นในสมัยพุทธกาล ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี
ซื้อที่ดินและสร้างพระวิหารเชตวัน ถวายไว้พระพุทธศาสนา เป็นต้น หรือถ้าจะให้ถูก
ต้องตรงตามพระธรรมวินัยจริง ๆ ถ้าคฤหัสถ์มีความประสงค์ที่จะถวายเงิน เพื่อสร้างกุฏิ
พระอุโบสถ เป็นต้น ควรจะบริจาคผ่านไวยาวัจจกร(คฤหัสถ์ผู้ขวนขวายในสิ่งที่เป็น
ประโยชน์) โดยให้ไวยาวัจจกร เป็นผู้ดำเนินเรื่องเงินทั้งหมด เพราะเมื่อได้ศึกษาพระ
ธรรมวิันัย รู้ว่าอะไรเป็นสิ่งที่ผิด แล้ว ก็ไม่ควรที่จะกระทำในสิ่งที่ผิดต่อไป ควร
อย่างยิ่งที่จะกระทำให้ถูกต้องยิ่งขึ้น ครับ. พระภิกษุเป็นนักบวช เป็นบรรพชิต เป็นผู้สละทุกสิ่งทุกอย่าง เพื่อการละกิเลส
เพื่อการเป็นพระอรหันต์ บรรพชิตเป็นผู้ที่ไม่มีเครื่องกังวล มีชีวิตอยู่อย่างสงบสุข ถ้า
บรรพชิตมีเงินทอง จะทำให้เป็นเครื่องกังวล เป็นห่วงต้องคอยเก็บรักษา เงินทอง
เป็นที่ต้องการของคนทั่วไปรวมทั้งโจรด้วย เพราะทรงเห็นโทษของการมีสิ่งของที่มี
ค่า จะทำให้บรรพชิตอยู่อย่างมีความสุข จึงทรงบัญญัติสิกขาบทนี้เพื่อประโยชน์
๑๐ ประการ
เอาบุญมาฝากจะถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ สักการะพระธาตุ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาทสร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ ให้อาหารสัตว์เป็นทานเป็นประจำ กรวดน้ำอุทิศบุญ อนุโมทนากับพ่อแม่ญาติพี่น้องที่รักษาศีล ฟังธรรม ให้ทาน อนุโมทนากับน้องคนหนึ่งและเพื่อนๆของน้องที่รักษาศีล ศึกษาการรักษาโรค ให้ยานพาหนะเป็นทาน ให้ที่อยู่อาศัยเป็นทาน ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ถวายสังฆทานมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ปิดทองพระ รักษาอาการป่วยของผู้อื่นกับผู้ร่วมงาน และที่ผ่านมาได้รักษาอาการป่วยของมารดา ปล่อยชีวิตสัตว์มาโดยตลอด ถวายยาแก่ภิกษุ ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ทำบุญหลายอย่างมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ถวายสังฆทานกับเพื่อนๆและให้อาหารเป็นทานแก่สรรพสัตว์กับเพื่อนๆและตั้งใจว่าจะสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอให้อนุโมทนาบุญด้วย
ขอเชิญถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน สักการะพระธาตุ ฟังธรรม สวดมนต์ ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาท สร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย กรวดน้ำอุทิศบุญ ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สนทนาธรรม ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น รักษาอาการป่วยของผู้อื่น รักษาอาการป่วยของบิดามารดา ปิดทอง สักการะพระธาตุ กราบอดีตสังขารเจ้าอาวาสที่ไม่เน่าเปื่อย ที่วัดแจ้ง อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ปิดทองพระ ปล่อยชีวิตสัตว์ถวายยาแก่ภิกษุ และสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอเชิญร่วมบุญกุศลร่วมกันนะครับ
|