นรชนรู้วิชาอะไรก็ดี รู้สุตะทั้งหลายอะไร-
ก็ดี กระซิบถามกันว่า อะไรเป็นมงคล ในเวลา
ปรารถนามงคล นรชนนั้นจะทำอะไร จึงจะเป็น
ผู้อันความสวัสดีคุ้มครองแล้ว ทั้งในโลกนี้
และโลกหน้า.
เทวดาและพรหมทั้งปวง ทีฆชาติและ
สรรพสัตว์ทั้งหลาย อันบุคคลใด อ่อนน้อม
อยู่เป็นนิจ ด้วยเมตตา บัณฑิตทั้งหลาย กล่าว
เมตตาของบุคคลนั้นแล ว่า เป็นสวัสดิมงคล
ในสัตว์ทั้งหลาย.
ผู้ใดประพฤติถ่อมตน แก่สัตวโลกทั้งปวง
แก่หญิงและชาย พร้อมทั้งเด็ก เป็นผู้อดทนต่อ
ถ้อยคำชั่วร้าย ไม่กล่าวลำเลิกถึงเรื่องเก่า ๆ
บัณฑิตทั้งหลาย กล่าวความอดกลั้น ของผู้นั้นว่า
เป็นสวัสดิมงคล.
ผู้ใดเป็นผู้มีปัญญาดี มีความรู้ปรุโปรง
ในเมื่อเหตุเกิดขึ้น ไม่ดูหมิ่นมิตรสหายทั้งหลาย
ด้วยศิลปะ สกุล ทรัพย์ และด้วยชาติ
บัณฑิตทั้งหลาย กล่าวการไม่ดูหมิ่นสหายของผู้
นั้น ว่าเป็นสวัสดิมงคล ในสหายทั้งหลาย.
สัตบุรุษทั้งหลาย เป็นผู้ชอบพอคุ้นเคย
กัน เป็นมิตรแท้ ของผู้ใด ผู้มีคำพูดมั่นคง
อนึ่ง ผู้ใด เป็นผู้ไม่ประทุษร้ายมิตร แบ่งปัน
ทรัพย์ของตนให้แก่มิตร บัณฑิตทั้งหลายกล่าว
การได้ประโยชน์ เพราะอาศัยมิตร และการ
แบ่งปันของผู้นั้น ว่า เป็นสวัสดิมงคล ในมิตร
ทั้งหลาย.
ภรรยาของผู้ใด มีวัยเสมอกัน อยู่ร่วมกัน
ด้วยความปรองดอง ประพฤติตามใจกัน เป็น
คนใคร่ธรรม ไม่เป็นหญิงหมัน มีศีลโดย
สมควรแก่สกุล รู้จักปรนนิบัติสามี บัณฑิต
ทั้งหลายกล่าวคุณความดี ในภรรยาของผู้นั้น ว่า
เป็นสวัสดิมงคลในภรรยาทั้งหลาย.
พระราชาผู้เป็นเจ้าชีวิต ทรงพระอิสริย-
ยศ ทรงทราบความสะอาด และความขยัน
หมั่นเพียร ของราชเสวกคนใด และทรงทราบ
ราชเสวกคนใด ด้วยความเป็นผู้ไม่ร้าวรานกับ
พระองค์ และทรงทราบราชเสวกคนใด ว่า มี
ความจงรักภักดีต่อพระองค์ บัณฑิตทั้งหลาย
กล่าวคุณความดี ของราชเสวกนั้น ๆ ว่า เป็น
สวัสดิมงคลในพระราชาทั้งหลาย.
บุคคลใดมีศรัทธา ให้ข้าวน้ำ ให้ดอกไม้
ของหอม และเครื่องลูบไล้ มีจิตเลื่อมใส
บันเทิงใจ บัณฑิตทั้งหลาย กล่าวคุณข้อนั้น
ของบุคคลนั้นแล ว่าเป็นสวัสดิมงคล ในสวรรค์
ทั้งหลาย.
สัตบุรุษทั้งหลาย ผู้รู้แจ้งด้วยญาณ ผู้
ยินดีแล้วในสัมมาปฏิบัติ เป็นพหูสูต แสวง
หาคุณ เป็นผู้มีศีล ยังบุคคลใดให้บริสุทธิ์ด้วย
อริยธรรม บัณฑิตทั้งหลาย ยกย่องความดีของ
สัตบุรุษนั้น ว่า เป็นสวัสดิมงคล ในท่ามกลาง
พระอรหันต์.
ความสวัสดีเหล่านี้แล ผู้รู้สรรเสริญ
แล้ว มีสุขเป็นผลกำไรในโลก นรชนผู้มีปัญญา
พึงเสพความสวัสดี เหล่านั้น ไว้ในโลกนี้ ก็ใน
มงคล มีประเภท คือ ทิฏฐมงคล สุตมงคล
และมุตมงคล มงคลสักนิดหนึ่งที่จะเป็นมงคลจริง ๆ
ไม่มีเลย.
การที่พระภิกษุ นอนร่วมกับ อนุปสัมบัน สิ้น 3 คืนในที่
พักเดียวกันหรือต่างกัน พอถึงวันที่ 4 ก็เป็นอาบัติปาจิตตีย์ ในทุกๆวันที่ได้นอนร่วมกัน
ในที่มุงบังเดียวกันครับ ซึ่งอนุปสัมบัน แปลว่า ผู้มิได้อุปสมบท เป็นคู่กับคำว่า อุปสัมบัน
ผู้อุปสมบทแล้ว อนุปสัมบัน จึงหมายถึง ผู้ที่มิได้เป็นภิกษุได้แก่ สามเณร สามเณรี นาง
สิกขมานา และคฤหัสถ์ทั่วไป รวมทั้งสัตว์เดรัจฉานก็จัดเป็นอนุปสัมบันด้วยครับ คือผู้ที่
ไม่ได้อุปสมบท
ดังนั้นการนอนร่วมกับสัตว์เดรัจฉาน สิ้น 3 ราตรี ในที่พักเดียวกัน พอถึงวันที่ 4 ภิกษุ
นั้นก็ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุกๆวันที่นอนครับ พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 172
[อธิบายจตุกกะ ๔ มีอาวาสจตุกกะเป็นต้น]
อีกนัยหนึ่ง ในสิกขาบทนี้ พึงทราบหมวด ๔ แม้มียำวาสแห่งเดียว
เป็นต้น. ความพิสดารว่า ภิกษุใด สำเร็จการนอนร่วมกันกับอนุปสัมบันเพียง
คนเดียวในอาวาสแห่งเดียวกันสิ้น ๓ ราตรี เป็นอาบัติทุกวัน จำเดิมแต่วันที่ ๔
แก่ภิกษุแม้นั้น ฝ่ายภิกษุใดสำเร็จการนอนร่วมสิ้น ๓ ราตรี กับอนุปสัมบัน
ต่างกันหลายคน ในอาวาสแห่งเดียวนั่นเอง เป็นอาบัติทุกวันแก่ภิกษุแม้นั้น
(จำเดิมแต่วันที่ ๔) แม้ภิกษุใดสำเร็จการนอนร่วม สิ้น ๓ ราตรีกับอนุปสัมบัน
เพียงคนเดียวเท่านั้น ในอาวาสต่าง ๆ กัน เป็นอาบัติทุก ๆ วัน แม้แก่ภิกษุ
นั้น (จำเดิมแต่วันที่ ๔). แม้ภิกษุใดเดินทางสิ้นระยะตั้ง ๑๐๐ โยชน์ สำเร็จ
การนอนร่วม (สิ้น ๓ ราตรี) กับอนุปสัมบันต่างกันหลายคน ในอาวาสต่าง ๆ
กันเป็นอาบัติแม้แก่ภิกษุนั้นทุก ๆ วัน นับแค่วันที่ ๔ ไป.
ก็ชื่อว่า สหเสยยาบัตินี้ ย่อมเป็นแม้กับสัตว์เดียรัจฉาน เพราะพระ
บาลีว่า ที่เหลือ เว้นภิกษุ ชื่อว่า อนุปสัมบัน. ในสหเสยยาบัตินั้น การ-
กำหนดสัตว์เดียรัจฉาน พึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้วในเมถุนธรรมาบัตินั่น แล.
เพราะเหตุนั้น ถ้าแม้นว่า บรรดาสัตว์เดียรัจฉานชนิด ๔ เท้า มีเหี้ย แมว
และตะกวดเป็นต้น เดียรัจฉานบางชนิดเข้าไปนอนอยู่ในที่มีอุปจารอันเดียวกัน
ในเสนาสนะเป็นที่อยู่ของภิกษุ จัดเป็นการนอนร่วมเหมือนกัน . สัตว์ที่ได้อรรถรส ธรรมรส วิมุตติรส มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่ไม่ได้อรรถรส
ธรรมรส วิมุตติรส มากกว่าโดยแท้ เปรียบเหมือนในชมพูทวีปนี้ มี
สวนที่น่ารื่นรมย์ มีป่าที่น่ารื่นรมย์ มีภูมิประเทศที่น่ารื่นรมย์ มีสระ
โบกขรณีที่น่ารื่นรมย์ เพียงเล็กน้อย มีที่ดอน ที่ลุ่ม เป็นที่ตั้งแห่งตอ
และหนาม มีภูเขาระเกะระกะเป็นส่วนมาก ฉะนั้น เพราะฉะนั้นแหละ
เธอทั้งหลาย พึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักเป็นผู้ได้อรรถรส ธรรมรส
วิมุตติรส ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล.
เอาบุญมาฝากจะถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ สักการะพระธาตุ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาทสร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ ให้อาหารสัตว์เป็นทานเป็นประจำ กรวดน้ำอุทิศบุญ อนุโมทนากับพ่อแม่ญาติพี่น้องที่รักษาศีล ฟังธรรม ให้ทาน อนุโมทนากับเพื่อนๆที่รักษาศีล ศึกษาการรักษาโรค ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ถวายสังฆทานมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ปิดทองพระ รักษาอาการป่วยของผู้อื่นกับผู้ร่วมงาน และที่ผ่านมาได้รักษาอาการป่วยของมารดา ปล่อยชีวิตสัตว์มาโดยตลอด ถวายยาแก่ภิกษุ ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ทำบุญหลายอย่างมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ถวายสังฆทานและทำบุญสร้างอาคารผู้ป่วยและกฐินกับเพื่อนๆและให้อาหารเป็นทานแก่สรรพสัตว์กับเพื่อนๆและตั้งใจว่าจะสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอให้อนุโมทนาบุญด้วย
ขอเชิญถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน สักการะพระธาตุ ฟังธรรม สวดมนต์ ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาท สร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย กรวดน้ำอุทิศบุญ ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สนทนาธรรม ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น รักษาอาการป่วยของผู้อื่น รักษาอาการป่วยของบิดามารดา ปิดทอง สักการะพระธาตุ กราบอดีตสังขารเจ้าอาวาสที่ไม่เน่าเปื่อย ที่วัดแจ้ง อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ปิดทองพระ ปล่อยชีวิตสัตว์ถวายยาแก่ภิกษุ และสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอเชิญร่วมบุญกุศลร่วมกันนะครับ
|