กัมมปัจจัย
กัมมัง ( การกระทำ คือ เจตนาเจตสิก ) + ปัจจยะ ( อาศัยเป็นไป )
สภาพเป็นที่อาศัยเป็นไปโดยความเป็นกรรม หมายถึง เจตนาเจตสิกซึ่งเป็นปัจจัย
ให้เกิดปัจจยุบบัน ( ผล ) แบ่งเป็น ๒ ประเภท ได้แก่ สหชาตกัมมปัจจัย ๑ และ
นานักขณิกัมมปัจจัย ๑
๑. สหชาตกัมมปัจจัย ได้แก่ กรรม คือ เจตนาเจตสิก ที่เกิดกับจิตทุกดวงเป็น
ปัจจัยแก่สภาพธรรมที่เกิดพร้อมกัน คือ เป็นปัจจัยแก่จิต เจตสิกอื่น จิตตชรูป และ
ปฏิสนธิกัมมชรูปด้วย
๒. นานักขณิกกัมมปัจจัย ได้แก่ กรรม คือ เจตนาเจตสิก ที่เกิดกับกุศลจิต
และอกุศลจิต เป็นปัจจัยแก่สภาพธรรมะที่เกิดต่างขณะ คือเป็นปัจจัยแก่วิบากจิต วิบาก
เจตสิก และกัมมชรูปที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 80 [๑๔] กัมมปัจจัย ธรรมที่ช่วยอุปการะ โดยความปรุงแต่งเพื่อ
ให้กิจต่าง ๆ สำเร็จลง กล่าวคือ
๑. กุศลธรรมและอกุศลกรรม ก็เป็นปัจจัยแก่วิบากขันธ์ทั้งหลาย
และกฏัตตารูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย
๒. สภาวธรรมคือเจตนาทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่ธรรมทั้งหลาย
ที่ประกอบกับเจตนา และแก่รูปทั้งหลายที่มีเจตนา และธรรมทั้งหลาย
ที่ประกอบกับเจตนานั้นเป็นสมุฏฐาน ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.
วรรณนานิทเทสแห่งกัมมปัจจัย
พึงทราบวินิจฉัยใน กัมมปัจจัยนิทเทส ต่อไป.
บทว่า กมฺมํ ได้แก่ เจตนาธรรม. สองบทว่า กฏตฺตา จ รูปานํ
แปลว่า รูปที่เกิดขึ้นเพราะถูกกรรมทำ (กรรมสร้าง). บทว่า กมฺมปจฺจเยน
ความว่า ด้วยอำนาจของนานากขณิกกัมมปัจจัย ที่สามารถให้ผลของตน
เกิดขึ้นได้ในที่สุดแห่งโกฏิกัป มิใช่น้อย.
จริงอยู่ กุศลกรรมและอกุศลกรรม ย่อมไม่ให้ผลในขณะที่ตน
เป็นไป ถ้าจะพึงให้ผล (ในขณะนั้น) ไซร้ คนทำกุศลกรรมที่เป็น
เหตุให้เข้าถึงเทวโลกอันใดไว้ ก็จะพึงกลายเป็นเทวดาในขณะนั้นทีเดียว
ด้วยอานุภาพแห่งกรรมนั้น.
ก็กรรมนั้นที่บุคคลทำไว้ในขณะใด แม้จะไม่มีอยู่ในขณะอื่น
จากนั้น ย่อมยังผลให้เกิดขึ้นในกาลที่บุคคลพึงเข้าถึงปัจจุบัน หรือต่อ
จากนั้น ในเมื่อมีการประกอบพร้อมแห่งปัจจัยที่เหลือ เพราะเป็น
สภาพที่กรรมทำไว้เสร็จแล้ว เปรียบเหมือนการหัดทำศิลปะครั้งแรก
แม้จะสิ้นสุดไปแล้ว ก็ให้เกิดการทำศิลปะครั้งหลัง ๆ ในกาลอื่นได้ เพราะ
ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกว่า นานากขณิกกัมมปัจจัย.
สองบทว่า เจตนาสมฺปยุตฺตกานํ ธมฺมานํ ความว่า เจตนาอย่างใด
อย่างหนึ่ง เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุตกับตน. ด้วยบทว่า ตํ สมุฏฺา-
นานํ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือเอากัมมชรูปในปฏิสนธิขณะด้วย.
คำว่า กมฺมปจฺจเยน นี้ ตรัสหมายถึงเจตนาที่เกิดพร้อมกัน. จริงอยู่
บรรดาธรรมมีกุศลธรรมเป็นต้น เจตนาอย่างใดอย่างหนึ่งช่วยอุปการะ
แก่ธรรมที่เหลือโดยความเป็นกิริยา กล่าวคือ ความพยายามแห่งจิต เพราะ-
ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรียกว่า สหชาตกัมมปัจจัย. พรรณนา
บาลีในกัมมปัจจัยนี้เท่านี้ก่อน.
ก็กัมมปัจจัยนี้ โดยอรรถได้แก่ เจตนาที่เป็นไปในภูมิ ๔ เจตนานั้น
ว่าโดยประเภทแห่งชาติ จำแนกออกเป็น ๔ ชาติ คือกุศล อกุศล วิบาก
และกิริยา. ใน ๔ ชาตินั้น กุศลว่าโดยภูมิมี ๔ ภูมิ ด้วยอำนาจกามาวจร-
ภูมิเป็นต้น. อกุศลมี ๑ ภูมิเท่านั้น วิบากมี ๔ ภูมิ กิริยามี ๓ ภูมิ.
ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยโดยการจำแนกด้วยประการต่าง ๆ ในกัมมปัจจัย
ดังกล่าวมาแล้ว.
ก็ใน กัมมปัจจัย มีจำแนกได้ดังกล่าวมาแล้ว กามาวจรกุศลเจตนา
ที่เกิดพร้อมกัน เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุตกับตน และรูปที่มีจิตเป็น
สมุฏฐาน ในปัญจโวการภพ, ในจตุโวการภพ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สัมปยุต
กับตนอย่างเดียวเท่านั้น ด้วยอำนาจของสหชาตกัมมปัจจัย.
ส่วนเจตนาที่เกิดขึ้นแล้วดับไป เป็นปัจจัยแก่วิบากขันธ์ของตน
และกัมมชรูปโดยนานากขณิกกัมมปัจจัย. ก็แลเจตนานั้นเป็นปัจจัยเฉพาะ
ในปัญจโวการภพเท่านั้น หาเป็นในภพอื่นไม่.
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 82
รูปาวจรกุศลเจตนาที่เกิดพร้อมกัน เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุต
กับตน และแก่รูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน ด้วยอำนาจของสหชาตกัมมปัจจัย
โดยส่วนเดียว. แต่ รูปาวจรกุศลเจตนาที่เกิดขึ้นแล้วดับไป เป็นปัจจัย
แก่วิบากของตนและกัมมชรูป ด้วยอำนาจของนานากขณิกกัมมปัจจัย.
อรูปาวจรกุศลเจตนา และ โลกุตตรกุศลเจตนาที่เกิดพร้อมกัน
เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุตกับตน และแก่รูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐานในปัญจ-
โวการภพ, ในจตุโวการภพ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สัมปยุตกับตนอย่างเดียว
ด้วยอำนาจของสหชาตกัมมปัจจัย.
และเจตนาทั้งสองนั้นที่เกิดขึ้นแล้วดับไป เป็นปัจจัยแก่วิบากขันธ์
ของตน ๆ ด้วยอำนาจของนานากขณิกกัมมปัจจัย. อกุศลเจตนาที่เกิด
พร้อมกัน เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สัมปยุตกับตน และรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน
ในปัญจโวการภพ, ในจตุโวการภพ เป็นปัจจัยเฉพาะแก่อรูปขันธ์เท่านั้น
ด้วยอำนาจของสหชาตกัมมปัจจัย.
อกุศลเจตนานั้นที่เกิดขึ้นแล้วดับไป เป็นปัจจัยแก่วิบากขันธ์และ
กัมมชรูป ด้วยอำนาจของนานากขณิกกัมมปัจจัย.
วิบากเจตนาฝ่ายกามาวจรและรูปาวจร เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุต
กับตน และเป็นปัจจัยแก่จิตตชรูปในปวัตติกาล แก่กัมมชรูปในปฏิสนธิ-
กาล ด้วยอำนาจของสหชาตกัมมปัจจัย.
อรูปาวจรวิบากเจตนา เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุตกับตนอย่าง
เดียว ด้วยอำนาจของสหชาตกัมมปัจจัย. โลกุตตรวิบากเจตนา เป็นปัจจัย
แก่ธรรมที่สัมปยุตกับตน และรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน ในปัญจโวการภพ,
ในจตุโวการภพ เป็นปัจจัยแก่อรูปธรรมเท่านั้น ด้วยอำนาจของสหชาต-
กัมมปัจจัย.
กิริยาเจตนา ที่เกิดในภูมิทั้งสาม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุต
และจิตตชรูป ในปัญจโวการภพ ด้วยอำนาจของสหชาตกัมมปัจจัย. ก็กิริยา
เจตนาที่เกิดในอรูปภพ เป็นปัจจัยเฉพาะแก่อรูปธรรมเท่านั้น ด้วยอำนาจ
ของสหชาตกัมมปัจจัย. ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยแม้โดยธรรมที่เป็นปัจจ-
ยุบบันในกัมมปัจจัยนี้ ดังกล่าวมาแล้วแล.
วรรณนานิทเทสแห่งกัมมปัจจัย จบ
คำว่า เหตุ แสดงไว้หลายนัย ในพระอภิธรรมปิำำฎก แสดงเหตุไว้ ๔
ประการ ที่เรียกว่า เหตุ ๔ ได้แก่
เหตุเหตุ หมายถึง เหตุที่เป็นมูล ซึ่งหมายถึงเหตุ ๖ ประการ อันได้แก่เจตสิก ๖
ประเภท คือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ(ปัญญา) และ โลภะ โทสะ โมหะ
ปัจจัยเหตุ หมายถึง เหตุที่เป็นปัจจัย ตรัสหมายถึง มหาภูตรูป ซึ่งเป็นรูปที่เป็น
ใหญ่เป็นประธานของรูปทั้งหบาย เพราะมีมหาภูตรูป จึงมีการบัญญัติเรียกว่า รูปขันธ์
อุตตมเหตุ หมายถึง เหตุที่เป็นประธาน หรือ สูงสุด มุ่งหมายถึง กุศลกรรม
และ อกุศลกรรม เพราะมีกุศลกรรม และ อกุศลกรรม จึงเป็นเหตุให้เกิดผลขึ้นในภาย
หน้า กุศลกรรมให้ผลทำให้ได้รับสิ่งที่น่าปรารถนา่น่าใคร่น่าพอใจ(อิฏฐารมณ์) ในทาง
ตรงกันข้าม อกุศลกรรมให้ผล ย่อมทำให้ได้รับสิ่งที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่า
พอใจที่เป็นอนิฏฐารมณ์) เหตุ ย่อมสมควรแก่ผล ผลที่เกิดขึ้นย่อมมาจากเหตุ
ส่วน สาธารณเหตุ นั้น ได้แก่ อวิชชา หรือ โมหะ ซึ่งเป็นเหตุที่ทั่วไปแก่สัตว์
ทั้งหลาย ที่ยังมีกิเลสอยู่ อวิชชานี้เอง เป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร คือ การกระทำที่
เป็นบุญบ้าง เป็นบาป บ้าง
เหตุมี ๔ อย่าง คือ
เหตุเหตุ คือเหตุที่เป็นมูล
ปัจจยเหตุ คือเหตุที่เป็นปัจจัย
อุตตมเหตุ คือเหตุที่เป็นประธาน
สาธารณเหตุ คือเหตุทั่วไปแก่สรรพสัตว์.
บรรดาเหตุทั้ง ๔ เหล่านั้น เหตุนี้คือ กุศลเหตุ ๓ (อโลภะ อโทสะ
อโมหะ) อกุศลเหตุ ๓ และอัพยากฤตเหตุ ๓ ชื่อว่า เหตุเหตุ. เหตุที่
ตรัสไว้ในบาลีว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มหาภูตรูป เหล่านี้เป็นเหตุ มหาภูต
รูป เหล่านั้นเป็นปัจจัยเพื่อการบัญญัติรูปขันธ์นี้ ชื่อว่า ปัจจยเหตุ. เหตุที่
ตรัสไว้ว่า กุศลธรรมและอกุศลธรรมเป็นเหตุสูงสุด ในฐานะแห่งการให้ผล
ของตน อิฏฐารมณ์เป็นเหตุสูงสุดในฐานะแห่งกุศลวิบาก อนิฏฐารมณ์เป็น
เหตุสูงสุดในฐานะแห่งอกุศลวิบาก ดังนี้ เหมือนที่ตรัสว่า ตถาคตย่อมรู้ชัด
ตามความเป็นจริงซึ่งผลแห่งกรรมสมาทาน อันเป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน
โดยฐานะ โดยเหตุ ดังนี้ ชื่อว่า อุตตมเหตุ. เหตุที่ตรัสไว้ว่า ข้อที่อวิชชานี้
เท่านั้นเป็นเหตุ อวิชชานี้เป็นปัจจัยแก่สังขารทั้งหลาย อวิชชาเป็นเหตุทั่วไป
แม้แก่สังขารทั้งหลาย ย่อมแผ่ไปสู่ความเป็นปัจจัย ดังนี้ เหมือนที่ตรัสว่า
ปฐวีรส อาโปรส เป็นปัจจัยแก่มธุรสบ้าง แก่อมธุรสบ้าง ฉันใด อวิชชาก็
เป็นสาธารณปัจจัยแก่สังขารที่เป็นกุศลบ้าง ที่เป็นอกุศลบ้าง ฉันนั้น ชื่อว่า
สาธารณเหตุ.
เอาบุญมาฝากจะถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ สักการะพระธาตุ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาทสร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ ให้อาหารสัตว์เป็นทานเป็นประจำ กรวดน้ำอุทิศบุญ อนุโมทนากับพ่อแม่ญาติพี่น้องที่รักษาศีล ฟังธรรม ให้ทาน อนุโมทนากับเพื่อนๆที่รักษาศีล ศึกษาการรักษาโรค ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ถวายสังฆทานมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ปิดทองพระ รักษาอาการป่วยของผู้อื่นกับผู้ร่วมงาน และที่ผ่านมาได้รักษาอาการป่วยของบิดามารดา ปล่อยชีวิตสัตว์มาโดยตลอด ถวายยาแก่ภิกษุ ขัดองค์พระ ถวายเทียน ให้ความรู้สมุนไพรเพื่อสุขภาพเป็นวิทยาทาน ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ทำบุญหลายอย่างมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ถวายสังฆทานและทำบุญสร้างอาคารผู้ป่วยและกฐินกับเพื่อนๆและให้อาหารเป็นทานแก่สรรพสัตว์กับเพื่อนๆและเพื่อนคนหนึ่งและบริวารของเพื่อนและครอบครัวของเพื่อนได้มีจิตเมตตาให้ทานและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือผู้อื่นอยู่ตลอดและเพื่อนได้เคยสวดมนต์เย็นกับคุณแม่และที่ผ่านมาได้ทำบุญสักการะพระธาตุทำบุญปิดทองชำระหนี้สงฆ์และไหว้พระและทำบุญตามกล่องรับบริจาคตามวัดต่างๆกับเพื่อนและตั้งใจว่าจะสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอให้อนุโมทนาบุญด้วย
ขอเชิญถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน สักการะพระธาตุ ฟังธรรม สวดมนต์ ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาท สร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย กรวดน้ำอุทิศบุญ ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สนทนาธรรม ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น รักษาอาการป่วยของผู้อื่น รักษาอาการป่วยของบิดามารดา ปิดทอง สักการะพระธาตุ กราบอดีตสังขารเจ้าอาวาสที่ไม่เน่าเปื่อย ที่วัดแจ้ง อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ปิดทองพระ ปล่อยชีวิตสัตว์ถวายยาแก่ภิกษุ ไหว้พระตามวัดต่างๆ ขัดองค์พระ ให้ความรู้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพเป็นทาน และสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอเชิญร่วมบุญกุศลร่วมกันนะ
|