เจตสิก๕๒ ได้แก่
๑.ผัสสะ - ความกระทบอารมณ์ ๒.เวทนา - ความเสวยอารมณ์ ๓.สัญญา - ความ
หมายรู้อารมณ์ ๔.เจตนา - ความจงใจต่ออารมณ์ ๕.เอกัคคตา - ความมีอารมณ์เป็น
หนึ่งเดียว ๖.ชีวิตินทรีย์ - อินทรีย์คือชีวิต,สภาวะที่เป็นใหญ่ในการรักษานามธรรมทั้ง
ปวง ๗.มนสิการ - ความกระทำอารมณ์ไว้ในใจ,ใส่ใจ ๘.วิตก - ความตรึกอารมณ์
๙.วิจาร - ความตรองหรือพิจารณาอารมณ์ ๑๐.อธิโมกข์ - ความปลงใจหรือปักใจใน
อารมณ์ ๑๑.วิริยะ - ความเพียร ๑๒.ปีติ - ความปลาบปลื้มในอารมณ์,ความอิ่มใจ
๑๓.ฉันทะ - ความพอใจในอารมณ์ ๑๔.โมหะ - ความหลง ๑๕.อหิริกะ - ความไม่
ละอายต่อบาป ๑๖.อโนตตัปปะ - ความไม่สะดุ้งกลัวต่อบาป ๑๗.อุทธัจจะ - ความ
ฟุ้งซ่าน ๑๘.โลภะ - ความอยากได้อารมณ์ ๑๙.ทิฎฐิ - ความเห็นผิด ๒๐.มานะ -
ความถือตัว ๒๑.โทสะ - ความคิดประทุษร้าย ๒๒.อิสสา - ความริษยา ๒๓.มัจฉริยะ
- ความตระหนี่ ๒๔.กุกกุจจะ - ความเดือดร้อนใจ ๒๕.ถีนะ - ความหดหู่ ๒๖.มิทธะ -
ความง่วงเหงา ๒๗.วิจิกิจฉา - ความคลางแคลงสงสัย ๒๘.สัธทา(ศรัทธา) - ความ
เชื่อ ๒๙.สติ - ความระลึกได้,ความสำนึกพร้อมอยู่ ๓๐.หิริ - ความละอายต่อบาป
๓๑.โอตตัปปะ - ความสะดุ้งกลัวต่อบาป ๓๒.อโลภะ - ความไม่อยากได้อารมณ์
๓๓.อโหสิ - อโทสะ - ความไม่คิดประทุษร้าย ๓๔.ตัตรมัชฌัตตตาหรืออุเบกขา - ความ
เป็นกลางในอารมณ์นั้นๆ ๓๕.กายปัสสัทธิ - ความสงบแห่งกองเจตสิก ๓๖.จิตต
ปัสสัทธิ - ความสงบแห่งจิต ๓๗.กายลหุตา - ความเบากองเจตสิก ๓๘.จิตตลหุตา -
ความเบาแห่งจิต ๓๙.กายมุทุตา - ความอ่อนหรือนุ่มนวลแห่งกายหรือกองเจตสิก
๔๐.จิตตมุทุตา - ความอ่อนหรือนุ่มนวลแห่งจิต ๔๑.กายกัมมัญญตา - ความควรแก่การ
ใช้งานแห่งกายหรือกองแห่งเจตสิก ๔๒.จิตตกัมมัญญตา - ความควรแก่การใช้งานแห่ง
จิต ๔๓.กายปาคุญญตา - ความคล่องแคล่วแห่งกองเจตสิก ๔๔.จิตตปาคุญญตา -
ความคล่องแคล่วแห่งจิต ๔๕.กายุชุกตา - ความซื่อตรงแห่งกองเจตสิก ๔๖.จิตตุชุก
ตา - ความซื่อตรงแห่งจิต ๔๗.สัมมาวาจา - เจรจาชอบ ๔๘.สัมมากัมมันตะ - กระทำ
ชอบ ๔๙.สัมมาอาชีวะ - เลี้ยงชีพชอบ ๕๐.กรุณา - ความสงสารสัตว์ผู้ถึงทุกข์
๕๑.มุทิตา - ความยินดีต่อสัตว์ผู้ได้สุข ๕๒.ปัญญินทรีย์หรืออโมหะ - ความรู้เข้าใจ,ไม่
หลง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓- หน้าที่ 722
๓. ตติยนิพพานสูตร
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติไม่เกิดแล้ว ไม่
เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว ปรุงแต่งไม่ได้
แล้ว มีอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าปัจจัยกระทำไม่ได้
แล้ว เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว
ปรุงแต่งไม่ได้แล้ว จักไม่ได้มีแล้วไซร้ การสลัด
ออกซึ่งธรรมชาติที่เกิดแล้ว เป็นแล้ว อันปัจจัย
กระทำแล้ว ปรุงแต่งแล้ว จะไม่พึงปรากฏในโลกนี้
เลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะธรรมชาติอันไม่
เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว
ปรุงแต่งไม่ได้แล้ว มีอยู่ ฉะนั้น การสลัดออกซึ่ง
ธรรมชาติที่เกิดแล้ว เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำแล้ว
ปรุงแต่แล้วจึงปรากฏ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โมฆบุรุษ บางพวกในพระธรรม
วินัยนี้ ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน
อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ โมฆบุรุษเหล่านั้น เล่าเรียนธรรม
นั้นแล้ว ย่อมไม่ไตร่ตรองเนื้อความแห่งธรรมเหล่านั้นด้วยปัญญา ธรรมเหล่า
นั้น ย่อมไม่ควรซึ่งการเพ่งแห่งโมฆบุรุษเหล่านั้น ผู้ไม่ไตร่ตรองเนื้อความ
ด้วยปัญญา โมฆบุรุษเหล่านั้น ข่มผู้อื่นเป็นอานิสงส์ หมายเปลื้องคำกล่าว
ร้ายของผู้อื่นเป็นอานิสงส์ จึงเล่าเรียนธรรม ก็กุลบุตรทั้งหลาย ย่อมเล่าเรียน
ธรรมเพื่อประโยชน์อันใด โมฆบุรุษเหล่านั้น ย่อมไม่ได้เสวยประโยชน์นั้น
แห่งธรรมนั้น ธรรมเหล่านั้น อันโมฆบุรุษเหล่านั้นเรียนไม่ดีแล้ว ย่อมเป็น
ไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน ข้อนั้นเป็นเพราะอะไร
เพราะธรรมทั้งหลายอันตนเรียนไม่ดีแล้ว ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษ
ผู้มีความต้องการด้วยงูพิษ เสาะหางูพิษ เที่ยวแสวงหางูพิษ เขาพึงพบงูพิษ
ตัวใหญ่ พึงจับงูพิษนั้นที่ขนดหรือที่หาง งูพิษนั้นพึงแว้งกัดเขาที่มือ ที่แขน
หรือที่อวัยวะใหญ่น้อยแห่งใดแห่งหนึ่ง เขาพึงถึงความตายหรือความทุกข์ปาง
ตาย มีการกัดนั้นเป็นเหตุ ข้อนั้นเป็นเหตุเพราะอะไร เพราะงูพิษตนจับไม่ดีแล้ว
ข้อความบางตอนจากอรรถกถา
ภิกษุใดเล่าเรียนพุทธวจนะ เหตุปรารภลาภสักการะว่า เราจักได้จีวรเป็นต้น
หรือคนทั้งหลายจักรู้จักเราในท่ามกลางบริษัท ๔ อย่างนี้ ปริยัตินั้นของภิกษุนั้น
ชื่อว่า อลคัททปริยัติ. จริงอยู่ การไม่เล่าเรียนพุทธวจนะ แล้วนอนหลับเสีย
ยังดีกว่าการเล่าเรียนอย่างนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรบางพวกในพระธรรมวินัยนี้
ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ. . . อัพภูตธรรม เวทัลละ กุลบุตร
เหล่านั้น เล่าเรียนธรรมนั้นแล้ว ย่อมไตร่ตรองเนื้อความแห่งธรรมเหล่านั้น
ด้วยปัญญา ธรรมเหล่านั้น ย่อมควรซึ่งการเพ่งแห่งกุลบุตรเหล่านั้น ผู้ไตร่-
ตรองซึ่งเนื้อความด้วยปัญญา กุลบุตรเหล่านั้นไม่มุ่งข่มผู้อื่นเป็นอานิสงส์
และไม่มุ่งเปลื้องคำกล่าวร้ายผู้อื่นเป็นอานิสงส์ ย่อมเล่าเรียนธรรม และกุลบุตร
เหล่านั้น ย่อมเล่าเรียนธรรมเพื่อประโยชน์ใด ย่อมได้เสวยประโยชน์นั้นแห่ง
ธรรมนั้น ธรรมเหล่านั้นอันกุลบุตรเหล่านั้นเรียนดีแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ
ประโยชน์ เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน ข้อนี้เป็นเพราะเหตุอะไร เพราะธรรม
ทั้งหลายอันตนเรียนดีแล้ว ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีความต้องการ
งูพิษ เสาะหางูพิษ เที่ยวแสวงหางูพิษ เขาพึงพบงูพิษตัวใหญ่ พึงกดงูพิษนั้น
ไว้มั่นด้วยไม้มีสัณฐานเหมือนเท้าแพะ ครั้นกดไว้มั่นด้วยไม้มีสัญฐานเหมือน
เท้าแพะแล้วจับที่คอไว้มั่น ถึงแม้งูพิษนั้นพึงรัดมือ แขน หรืออวัยวะใหญ่
น้อยแห่งใดแห่งหนึ่ง ของบุรุษนั้นด้วยขนดก็จริง ถึงอย่างนั้น เขาไม่พึงถึง
ความตายหรือความทุกข์ปางตาย ซึ่งมีการพันนั้นเป็นเหตุ ข้อนั้นเป็นเพราะ
เหตุอะไร เพราะงูพิษอันตนจับไว้มั่นแล้ว แม้ฉันใด กุลบุตรบางพวกใน
ธรรมวินัยนี้ ก็ฉันนั้นนั่นแล ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยา-
กรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ กุลบุตร
เหล่านั้นเล่าเรียนธรรมนั้นแล้ว ย่อมไตร่ตรองเนื้อความแห่งธรรมเหล่านั้นด้วย
ปัญญา ธรรมเหล่านั้น ย่อมควรซึ่งการเพ่งแห่งกุลบุตรเหล่านั้น ผู้ไตร่ตรอง
ซึ่งเนื้อความด้วยปัญญา กุลบุตรเหล่านั้น ไม่มุ่งข่มผู้อื่นเป็นอานิสงส์ และ
ไม่มุ่งเปลื้องคำกล่าวร้ายของผู้อื่นเป็นอานิสงส์ จึงเล่าเรียนธรรม และกุลบุตร
เหล่านั้นย่อมเล่าเรียนธรรมเพื่อประโยชน์ใด ย่อมได้เสวยประโยชน์นั้นแห่ง
ธรรมนั้น ธรรมเหล่านั้น อันกุลบุตรเหล่านั้นเรียนดีแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ
ประโยชน์เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุอะไร เพราะธรรม
ทั้งหลายอันตนเรียนดีแล้ว
จักขุวัตถุ
จกฺขุ ( ตา ) + วตฺถุ ( ที่ตั้ง , ที่เกิด )
ที่เกิดของจิตคือตา หมายถึง จักขุปสาทรูปซึ่งเป็นที่อยู่หรือเป็นที่เกิดของจักขุวิญญาณ
มี ๒ ดวง ( กุศลวิบาก ๑ ดวง อกุศลวิบาก ๑ ดวง ) จักขุปสาทเป็นรูปปรมัตถ์ที่เป็น
สภาวรูป จะเรียกว่าชื่อว่า จักขุวัตถุ เมื่อมีจักขุวิญญาณเกิดขึ้นเท่านั้น โสตวัตถุ
โสต ( หู ) + วตฺถุ ( ที่ตั้ง , ที่อยู่ , ที่เกิด )
ที่เกิดของจิตคือหู หมายถึง โสตปสาทรูป ซึ่งเป็นที่อยู่หรือเป็นที่เกิดของโสต-
วิญญาณ ๒ ดวง ( กุศลวิบาก ๑ ดวง อกุศลวิบาก ๑ ดวง ) โสตปสาทเป็นรูปปร-
มัตถ์ที่เป็นสภาวรูป จะเรียกชื่อว่า โสตวัตถุเมื่อมีโสตวิญญาณเกิดขึ้นเท่านั้น ฆานวัตถุ
ฆาน ( จมูก ) + วตฺถุ ( ที่อยู่ , ที่ตั้ง , ที่เกิด )
ที่เกิดของจิตคือจมูก หมายถึง ฆานปสาทรูปซึ่งเป็นที่อยู่หรือเป็นที่เกิดของฆาน
วิญญาณ ๒ ดวง ( กุศลวิบาก ๑ ดวง อกุศลวิบาก ๑ ดวง ) ฆานปสาทเป็นรูป
ปรมัตถ์ที่เป็นสภาวรูป จะเรียกชื่อว่า ฆานวัตถุ เมื่อมีฆานวิญญาณเกิดขึ้นเท่านั้น ชิวหาวัตถุ
ชิวฺหา ( ลิ้น ) + วตฺถุ ( ที่อยู่ , ที่ตั้ง , ที่เกิด )
ที่เกิดของจิตคือลิ้น หมายถึง ชิวหาปสาทรูปซึ่งเป็นที่อยู่หรือเป็นที่เกิดของชิวหาวิญญาณ
๒ ดวง ( กุศลวิบาก ๑ ดวง อกุศลวิบาก ๑ ดวง ) ชิวหาปสาทรูปเป็นรูปปรมัตถ์ที่เป็นสภาวรูป
จะเรียกชื่อว่า ชิวหาวัตถุเมื่อมีชิวหาวิญญาณเกิดขึ้นเท่านั้น กายวัตถุ
กาย ( กาย ) + วตฺถุ ( ที่อยู่ , ที่ตั้ง , ที่เกิด )
ที่เกิดของจิตคือกาย หมายถึง กายปสาทรูป ซึ่งเป็นที่อยู่ หรือเป็นที่เกิดของกายวิญญาณ
๒ ดวง ( กุศลวิบาก ๑ ดวง อกุศลวิบาก ๑ ดวง ) กายปสาทรูปเป็นรูปปรมัตถ์ที่เป็น
สภาวรูป จะเรียกชื่อว่า กายวัตถุ เมื่อมีกายวิญญาณเกิดขึ้นเท่านั้น ถ้าจิตอื่นเกิดขึ้นที่วัตถุ
อื่น ปสาทก็เป็นเพียงรูปที่เกิดขึ้นแล้วดับไป มีอายุ ๑๗ ขณะจิตเท่ากับสภาวรูปอื่นๆ แต่ไม่
ได้ชื่อว่าเป็นกายวัตถุ วัตถุ ๖
รูปซึ่งเป็นที่เกิดของจิตในภูมิที่มีขันธ์ ๕ นั้น มี ๖ รูป เรียกว่า วัตถุรูป ๖ คือ
จักขุปสาทรูป ๑ เป็นจักขุวัตถุ เป็นที่เกิดของจักขุวิญญาณจิต ๒ ดวง
โสตปสาทรูป ๑ เป็นโสตวัตถุ เป็นที่เกิดของโสตวิญญาณจิต ๒ ดวง
ฆานปสาทรูป ๑ เป็นฆานวัตถุ เป็นที่เกิดของฆานวิญญาณจิต ๒ ดวง
ชิวหาปสาทรูป ๑ เป็นชิวหาวัตถุ เป็นที่เกิดของชิวหาวิญญาณจิต ๒ ดวง
กายปสาทรูป ๑ เป็นกายวัตถุ เป็นที่เกิดของกายวิญญาณจิต ๒ ดวง
หทยรูป ๑ เป็นหทยวัตถุ เป็นที่เกิดของจิตอื่นทั้งหมดในภูมิที่มี
ขันธ์ ๕ เว้นเฉพาะทวิปัญจวิญญาณจิต ๑๐ ดวงเท่านั้น
เอาบุญมาฝากจะถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ สักการะพระธาตุ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาทสร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ ให้อาหารสัตว์เป็นทานเป็นประจำ กรวดน้ำอุทิศบุญ อนุโมทนากับพ่อแม่ญาติพี่น้องที่รักษาศีล ฟังธรรม ให้ทาน อนุโมทนากับเพื่อนๆที่รักษาศีล ศึกษาการรักษาโรค ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ถวายสังฆทานมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ปิดทองพระ รักษาอาการป่วยของผู้อื่นกับผู้ร่วมงาน และที่ผ่านมาได้รักษาอาการป่วยของบิดามารดา ปล่อยชีวิตสัตว์มาโดยตลอด ถวายยาแก่ภิกษุ ขัดองค์พระ ถวายเทียน ให้ความรู้สมุนไพรเพื่อสุขภาพเป็นวิทยาทาน ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ทำบุญหลายอย่างมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ถวายสังฆทานและทำบุญสร้างอาคารผู้ป่วยและกฐินกับเพื่อนๆและให้อาหารเป็นทานแก่สรรพสัตว์กับเพื่อนๆและเพื่อนคนหนึ่งและบริวารของเพื่อนและครอบครัวของเพื่อนได้มีจิตเมตตาให้ทานและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือผู้อื่นอยู่ตลอดและเพื่อนได้เคยสวดมนต์เย็นกับคุณแม่และที่ผ่านมาได้ทำบุญสักการะพระธาตุทำบุญปิดทองชำระหนี้สงฆ์และไหว้พระและทำบุญตามกล่องรับบริจาคตามวัดต่างๆกับเพื่อนที่ผ่านมาได้ไปทำบุญที่วัดป่าโพธิแก้วของหลวงปู่ผ่านได้ร่วมสร้างวิหารกลางน้ำ และซื้อที่ดิน เป็นเจ้าภาพบวชพระ 108 รูปและบุญตามกล่องบริจาคต่างๆและได้บริจาคงานบำรุงห้องคลอด และถวายน้ำยาขัดห้องน้ำและแปรงขัดห้องน้ำไฟแชคและมีดโกรนแก่พระสงฆ์และตั้งใจว่าจะสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอให้อนุโมทนาบุญด้วย
ขอเชิญถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน สักการะพระธาตุ ฟังธรรม สวดมนต์ ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาท สร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย กรวดน้ำอุทิศบุญ ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สนทนาธรรม ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น รักษาอาการป่วยของผู้อื่น รักษาอาการป่วยของบิดามารดา ปิดทอง สักการะพระธาตุ กราบอดีตสังขารเจ้าอาวาสที่ไม่เน่าเปื่อย ที่วัดแจ้ง อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ปิดทองพระ ปล่อยชีวิตสัตว์ถวายยาแก่ภิกษุ ไหว้พระตามวัดต่างๆ ขัดองค์พระ ให้ความรู้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพเป็นทานทำบุญที่วัดป่าโพธิแก้วของหลวงปู่ผ่านได้ร่วมสร้างวิหารกลางน้ำ และซื้อที่ดิน เป็นเจ้าภาพบวชพระ 108 รูปและบุญตามกล่องบริจาคต่างๆและได้บริจาคงานบำรุงห้องคลอด ถวายน้ำยาขัดห้องน้ำและแปรงขัดห้องน้ำไฟแชคและมีดโกรนแก่พระสงฆ์ และสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอเชิญร่วมบุญกุศลร่วมกันนะ
|