พระพุทธพจน์ - พุทธภาษิต พระธรรมเทศนา และ ธรรมะจากครูบาอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
อังคาร 14 ก.พ. 2012 4:33 am
นักปฏิบัติที่ยึดศาสดาเป็นสรณะจริง ๆ ควรระลึกถึง
ธรรมที่ประทานไว้ให้มากกว่าคิดถึงความลำบากต่าง ๆ มีความ
กลัวตายเป็นตัวการสำคัญ เช่น ความลำบากเพราะขาดแคลน
กันดารในปัจจัยสี่ มีอาหารบิณฑบาตเป็นต้น ความลำบาก
ในการประกอบความเพียร คือการฝึกทรมานจิตที่แสนคะนอง
โลดโผนประจำนิสัยมาดั้งเดิม ความลำบากเพราะเดินจงกรมนาน
เพราะนั่งภาวนานาน เกิดทุกขเวทนาขึ้นมาทรมานกายทรมานใจ
ความลำบากเพราะจิตไม่ยอมอยู่ในขอบเขตร่องรอยที่ต้องการ
ความลำบากเพราะความหิวโหยโรยแรงเนื่องจากอาหารน้อย เพราะ
ฉันแต่น้อย เพราะหยุดพักไม่ฉันบ้างเป็นวัน ๆ หยุดไปหลาย ๆ
วัน เพื่อความเพียรทางใจจะได้ดำเนินสะดวกตามจริตเป็นราย ๆ
ความลำบากเพราะความเปลี่ยวกายเปลี่ยวใจไร้เพื่อนฝูง
ครูอาจารย์ ผู้เคยอบรมสั่งสอนและแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็น
ต่อกัน ความลำบากเพราะคิดถึงบ้านถึงเรือน คิดถึงเพื่อนฝูง
ญาติมิตรที่เคยให้ความอบอุ่นทางกายทางใจ ความลำบากเพราะ
เปียกฝนทนทุกข์ไม่มีที่มุงที่บังกันแดดกันฝน ความลำบากเพราะ
ความหนาวเหน็บเจ็บปวดที่เกิดขึ้นเพราะเหตุต่าง ๆ ความลำบาก
เพราะเป็นไข้ ความเจ็บหัวตัวร้อนปวดอวัยวะส่วนต่าง ๆ ไม่มี
หยูกยาเครื่องบำบัดรักษา ความลำบากเพราะกลัวตายอยู่ในป่า
ในเขาคนเดียวไม่มีผู้ปรนนิบัติรักษา เวลาตายไม่มีผู้เก็บซากศพ
มีแต่แร้งกาหมากินและแมลงวันมายื้อแย่งแข่งกันกิน
ความคิดเหล่านี้เป็นเครื่องกีดขวางทางดำเนินเพื่อ
พระนิพพาน อย่าปล่อยให้เข้ามารบกวนใจได้ จะเสียคนไปไม่ตลอด
ควรทราบทันทีว่า ความคิดนี้คือกองสมุทัย ซึ่งเป็นกุญแจเปิดทุกข์ขึ้นทับถมจิตใจ จนหาทางออกมิได้ ผู้ปฏิบัติต้องเป็นคนกล้า
หาญอดทน คือทนต่อแดดต่อฝน ทนต่อความหิวโหย ทนต่อความ
ทุกข์ทรมานต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นทางกายทางใจ ทนต่อความเจ็บปวด
แสบร้อนต่าง ๆ ที่มาสัมผัสทั้งภายในภายนอกซึ่งโลกทั้งหลาย
ก็ยอมรับว่ามีว่าเป็นโดยทั่วกัน
นักปฏิบัติต้องฝึกหัดใจให้กล้าแข็ง ต่อแรงพายุที่คอยจะ
เกิดขึ้นอยู่เสมอ ซึ่งโดยมากก็มักเกิดจากใจตัวเอง และคอยหักราน
ตัวเองให้ทุพพลภาพทางความเพียรกลายเป็นคนอ่อนแอ ที่เคย
เข้มแข็งอดทนก็ลดวาราศอกลงโดยลำดับ และลดลงจนก้าวไม่ออก
สุดท้ายก็จอดจมงมทุกข์ไปตามเคย ศาสดาก็นับวันห่างไกลจิตใจ
ไปทุกที พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ ก็เป็นเพียงลมปากแสดงออกมา
ซึ่งเด็กก็ว่าได้ แต่ส่วนใหญ่ที่แท้จริงของคำว่า พุทฺธํ เลยจืดจาง
ว่างเปล่าไปจากใจ นี่ท่านเรียกว่าผู้ท้อถอยพ่ายแพ้กิเลสมาร คือสู้
ความคิดฝ่ายต่ำภายในใจของตนไม่ได้ ผู้พ่ายแพ้ขันธมารคือปล่อย
ให้กองทุกข์ในสังขารเหยียบย่ำทำลายอยู่เปล่า ๆ ไม่สามารถหาทาง
คิดค้นแก้ไขด้วยสติปัญญาที่มีอยู่ พอมีทางหลบหลีกปลีกตัวออก
ได้ด้วยอุบายอันแยบคายของนักต่อสู้เพื่อกู้ตนจากหล่มลึก
ข้าศึกใดก็ตามในแหล่งโลกธาตุ ไม่มีอำนาจอันลึกลับ
แหลมคมเหมือนข้าศึกภายในใจ คือกิเลสตัณหานี่เลย ข้าศึกนี้
น่าหนักใจมากสำหรับผู้มีนิสัยอ่อนแอและขี้เกียจ ไม่เป็นคนช่างคิด
มีอะไรนิดมาสัมผัสคอยแต่จะยอมแพ้ ไม่คิดหาอุบายต่อสู้เพื่อ
ตัวเองบ้างเลย นิสัยชนิดนี้กิเลสมารชอบมากเป็นพิเศษ ใครอยาก
เป็นคนพิเศษของมันก็ต้องฝึกและสั่งสมนิสัยนี้ขึ้นให้มาก จะได้เป็น
ผู้รับใช้ที่โปรดปรานของมันชนิดไม่มีวันโผล่หน้าขึ้นมาเห็นแสงอรรถแสงธรรมเครื่องนำให้พ้นทุกข์ได้เลย เกิดมาภพใดชาติใดก็มอบ
ดวงใจที่มีคุณค่า เป็นเครื่องสังเวยเซ่นสรวงแต่กิเลสตัวมีอำนาจ
ยิ่งกว่าธรรมภายในใจตลอดไป
คิดแล้วก็น่าสลดสังเวชที่พระเราขนาดเป็นนักปฏิบัติ ยังยอม
ตัวลงตามความรู้สึกฝ่ายต่ำ โดยไม่ใช้สติปัญญาเป็นเครื่องฉุดลาก
ขึ้นมาบ้าง พอได้หายใจอยู่กับความสงบแห่งธรรม สมกับเป็น
นักพรตแบกกลดสะพายบาตรขึ้นเขาเข้าถ้ำอยู่ป่าภาวนา แต่ท่านที่
มุ่งหน้ามาอบรมศึกษาและปฏิบัติถึงขนาดนี้ ยังจะยอมตนให้กิเลส
ตัณหาเหยียบย่ำทำลายและมาติกาบังสุกุลเอาตามชอบใจละหรือ
ถ้าเป็นได้อย่างนั้น ผู้สั่งสอนก็อกแตกตายก่อนผู้มาศึกษาอบรม
โดยไม่ต้องสงสัยดังนี้
อุบายวิธีสอนของท่านอาจารย์มั่น ยากที่จะจับนิสัยท่านได้
เพราะเป็นอุบายของปราชญ์ผู้ฉลาดแหลมคมในสมัยปัจจุบัน จึงรู้สึก
เสียใจที่ผู้เขียนประวัติท่านและปฏิปทาพระธุดงค์สายของท่าน
ไม่มีความจดจำและความฉลาดสมศักดิ์ศรีท่าน จึงไม่อาจขุดค้น
เนื้ออรรถเนื้อธรรมที่สำคัญในการสั่งสอนของท่านออกมาให้ท่าน
ได้อ่านอย่างสมใจ สมกับท่านเป็นพระในนาม “ธรรมทั้งองค์” ตาม
ความรู้สึกของผู้เขียน ถ้าผิดก็ขออภัยด้วย
การสั่งสอนพระ ท่านหนักไปในธุดงควัตร เฉพาะอย่างยิ่ง
การอยู่ในป่าในเขาในถ้ำและเงื้อมผาที่เปลี่ยว ๆ รู้สึกว่าท่านเน้นหนัก
ลงเป็นพิเศษ แทบทุกครั้งที่อบรม ไม่แสดงขึ้นต้นด้วยสถานที่
ดังกล่าว ก็ตอนสุดท้ายเป็นต้องนำมาสรุปจนได้ สมกับท่านเป็น
นักพรตและชอบอยู่ในป่าในเขาประจำชีวิตนิสัยของนักบวชจริง ๆ
การอบรมไม่ยอมให้เนื้อธรรมห่างจากธุดงควัตรเลย พอจบจากการนำพระเที่ยวชมป่าชมเขาชมถ้ำและเงื้อมผาต่าง ๆ อัน
เป็นสถานที่รื่นเริงแล้ว ก็นำพระเข้าบิณฑบาตในหมู่บ้านด้วย
บทธรรมหมวดต่าง ๆ คือสอนวิธีครองผ้าและท่าสำรวมในเวลา
เข้าบิณฑบาต ไม่ให้มองโน้นมองนี้อันเป็นกิริยาของคนไม่มีสติ
อยู่กับตัว แต่ให้มองในท่าสำรวมและสงบเสงี่ยมมีสติทุกระยะที่
ก้าวไปและถอยกลับ ใจรำพึงในธรรมที่เคยบำเพ็ญมาประจำนิสัย
การบิณฑบาต ถือเป็นกิจวัตรสำคัญประจำพระธุดงค์ใน
สายของท่านไม่ให้ขาดได้ เว้นแต่ไม่ฉันก็ไม่จำเป็นต้องไป ขณะไป
ก็สอนให้มีความเพียรทางภายในไม่ลดละทั้งไปและกลับจนมา
ถึงที่พัก ตลอดการจัดอาหารใส่บาตรและลงมือฉัน ก่อนฉันก็สอน
ให้พิจารณาปัจจเวกขณะ คือ ปฏิสังขา โยนิโสฯ โดยแยบคาย
ตามภูมิสติปัญญาของแต่ละราย อย่างน้อยเป็นเวลาราวหนึ่ง
นาทีก่อน แล้วจึงลงมือฉันด้วยความสำรวมและมีสติอยู่กับ
ตัวและในบาตร อาหารที่รวมอยู่ในบาตรมีหลายชนิดและมี
รูปลักษณะสีสันต่าง ๆ กัน เมื่อรวมกันอยู่ในบาตร ใจมีความรู้สึก
อย่างไรบ้าง คอยดูมารยาของใจจะแสดงท่าต่าง ๆ ออกมาใน
เวลาฉัน กำหนดสติปัญญาคอยสังเกตตรวจตราทั้งความหิวที่อาจ
ออกนอกลู่นอกทาง อันเป็นทางเดินของตัณหา ตาเป็นไฟใจเป็น
วานร (ลิง) ทั้งมารยาของใจที่อาจคิดว่าอาหารที่ผสมกันอยู่มี
รสชาติแปรไปต่าง ๆ ใจเกิดความสะอิดสะเอียนเบื่อหน่ายไม่อยาก
รับประทาน อันผิดวิสัยของผู้บำเพ็ญพรตเพื่อความรอบคอบและ
ความหมดจดของใจ
อุบายการพิจารณาของแต่ละรายนั้น แล้วแต่ใครจะแยบคาย
ในทางใด ทางปฏิกูล ทางธาตุ หรือทางใด ที่เป็นเครื่องบรรเทาและกำจัดกิเลสตัณหาความลืมตัว ย่อมถือเป็นความถูกต้องดีงาม
ในการฉันเป็นราย ๆ ที่มีความแยบคายต่างกัน ขณะฉันก็ให้มี
สติเป็นความเพียรไปทุกประโยค โดยสังเกตระหว่างจิต
กับอาหารที่เข้าไปสัมผัสกับชิวหาประสาทและธาตุขันธ์ในเวลา
กำลังเคี้ยวกลืน ไม่ให้จิตกำเริบลำพองไปตามรสอาหารชนิดต่าง ๆ
อันเป็นความลืมตนเพราะความหิวโหยที่เป็นไปด้วยอำนาจ
ของธาตุขันธ์ที่กำลังบกพร่องและต้องการสิ่งเยียวยาก็มี ที่เป็นไป
ด้วยอำนาจตัณหาความดิ้นรนของใจก็มี อย่างต้นถือเป็นธรรมดา
ของขันธ์ แม้พระอรหันต์ท่านก็มีได้เช่นสามัญธาตุทั่ว ๆ ไป แต่
อย่างหลังต้องคอยระวังสังเกตและปราบปราม ขืนปล่อยไว้ไม่สนใจ
นำพา ต้องทำคนให้เสียได้ เพราะเป็นประเภทความอยากที่เป็นไป
ด้วยอำนาจตัณหาน้ำไหลนองล้นฝั่ง ไม่มีเมืองพอดี
ผู้ปฏิบัติจำต้องมีสติปัญญาใกล้ชิดกับใจอยู่เสมอ
เกี่ยวกับการขบฉันทุก ๆ ครั้งไป เพื่อใจจะได้มีความเคยชินต่อ
การพิจารณาและการรักษาตนในท่าต่าง ๆ คือ ท่ายืน ท่าเดิน
ท่านั่ง ท่านอน ท่าขบฉัน ตลอดการทำข้อวัตรปฏิบัติปัดกวาด
ต่าง ๆ อันเป็นกิจของพระจะพึงทำ ไม่ปล่อยสติปัญญาอันเป็น
ประโยคแห่งความเพียรปราศจากใจ การกระทำทุกอย่างจะกลาย
เป็นเครื่องเชิดหุ่นที่ไม่มีความหมายของงานไปโดยไม่รู้ตัว เมื่อฉัน
เสร็จแล้วนำบาตรไปล้างให้สะอาด เช็ดให้แห้งกับมือ ถ้ามีแดด
ก็ผึ่งแดดสักครู่ แล้วนำไปเก็บไว้ในสถานที่ควร เสร็จแล้วทำธุระอื่น
ต่อไป เช่น เดินจงกรม นั่งสมาธิภาวนา หรือทำกิจอย่างอื่น
หลังจากฉันเสร็จแล้ว โดยมากมีการเดินจงกรมมากกว่า
การนั่งทำความเพียร เพราะเป็นท่าที่ระงับความโงกง่วงได้ดีกว่าท่าอื่น ๆ แต่ถ้าไม่ได้ฉันจังหันในวันใด วันนั้นแม้จะนั่งในเวลาใด
ก็ได้ ไม่ค่อยมีความง่วงเหงาหาวนอนมารบกวน ประกอบความเพียร
ได้สะดวกทุกอิริยาบถไป ฉะนั้นท่านที่มีนิสัยชอบในทางนี้ จึงชอบ
อดอาหารกันบ่อย ๆ บางครั้งอดแต่น้อยวัน ไปจนถึงทีละหลาย ๆ
วัน คือครั้งละ ๒-๓ วันบ้าง ครั้งละ ๔-๕ วันบ้าง ๕-๖ วันบ้าง
๙-๑๐ วันบ้าง ๑๔-๑๕ วันบ้าง ๑๙-๒๐ วันบ้าง บางรายอดได้
เป็นเดือนไม่ฉันอะไรเลยก็ยังมี ฉันเฉพาะน้ำธรรมดา ในระหว่าง
ที่อดไปหลาย ๆ วัน บางวันก็มีฉันโอวัลตินบ้างเล็กน้อย (ถ้ามี)
พอบรรเทาความอิดโรย แต่มิได้ฉันทุกวันไป คือฉันเฉพาะวันที่
อ่อนเพลียมากเท่านั้น
แต่สมัยท่านอาจารย์มั่นพาพระบำเพ็ญโน้น เรื่องนม
โอวัลติน น้ำตาลทราย โกโก้ กาแฟ หรืออะไรเหล่านี้ไม่ควรถามถึง
เลย แม้แต่จะหาถ่ายเอารูปไว้ เวลาเกิดความหิวโหยขึ้นมาจะได้ดู
แม้ไม่ได้ฉัน ก็ยังไม่มีให้ถ่ายเลย ไม่เหมือนปัจจุบันที่มีหรูหราเสีย
ทุกอย่าง จนกลายเป็นความฟุ่มเฟือยมากกว่าอดอยากขาดแคลน
คงจะเป็นเพราะเหตุนี้กระมัง ที่พระธุดงคกรรมฐานเราภาวนา
ตามท่านไปอย่างลำบากลำบน และบ่นกันอู้ว่าจิตไม่รวมไม่สงบ
แย่จริง ๆ แทบทุกแห่งทุกหน ความจริงก็จะให้สงบได้อย่างไรกัน
ต้องขออภัยเขียนตามความจริง ตอนเช้าไปบิณฑบาตก็เต็มบาตร
กลับมาทั้งหวานทั้งคาว แถมบางครั้งมือหนึ่งยังหิ้วปิ่นโต พอมาถึง
ศาลา ปิ่นโตก็วางเป็นแถว ๆ ไม่ชนะที่จะรับประเคน ซึ่งล้วนแต่
ท่านศรัทธาที่มุ่งต่อบุญกุศล อุตส่าห์แหวกว่ายมาจากที่ต่าง ๆ
ทั้งใกล้ทั้งไกลทุกทิศทุกทาง มาขอแบ่งบุญจากพระธุดงคกรรมฐาน
ด้วยความยิ้มแย้มแจ่มใส ให้ทานเท่าไรไม่กลัวหมดกลัวสิ้น เพราะแรงศรัทธาพาขวนขวาย เพียงเท่านี้ก็แย่อยู่แล้ว
พอกลางวันหรือตอนบ่ายตอนเย็น ๆ น้ำแข็ง น้ำส้ม
น้ำหวาน โกโก้ กาแฟ น้ำอ้อย น้ำตาล อะไรเต็มไปหมด ก็มา
อีกแล้วจนไม่ชนะจะฉัน และนอนแช่กันอยู่แบบนั้น พระธุดงค์จึง
รวยใหญ่ แต่ภาวนาไม่เป็นท่า มีแต่ความอืดอาดเนือยนายเหมือน
เรือบรรทุกของหนัก คอยแต่จะจมน้ำทั้งที่ยังไม่ได้ออกจากท่า
ดังนั้น ท่านผู้มุ่งต่อฝั่งแห่งพระนิพพาน ท่านจึงระมัดระวังตัวอย่าง
เข้มงวดกวดขัน ไม่เห็นแก่ปากแก่ท้อง ความลำบากอิดโรยต่าง ๆ
พยายามบากบั่นฟันฝ่าสิ่งกีดขวางต่อทางดำเนินมิได้นอนใจ สิ่งของ
หรืออาหารปัจจัยแม้มีมากท่านก็รับแต่น้อย ด้วยความรู้จักประมาณ
ท่านที่อดนอนผ่อนอาหารหรืออดอาหารก็เช่นกัน เป็นวิธี
หนึ่งที่จะพาให้ท่านถึงความสงบสุขทางใจ รายที่ถูกจริตกับการอด
อาหาร อดไปหลายวันเท่าไร ใจยิ่งสงบผ่องใสและเขยิบฐานะขึ้นสู่
ความละเอียดโดยลำดับ ความสงบก็สงบได้ง่ายและเร็วกว่าธรรมดา
เวลาออกคิดค้นทางปัญญา ใจก็คล่องแคล่วแกล้วกล้า พิจารณา
อะไรก็ทะลุปรุโปร่งโล่งไปได้ดังใจหวัง ความหิวโหยโรยแรง แทนที่จะ
เป็นความลำบากทรมานทางกายทางใจ แต่กลับกลายเป็นเส้นทาง
อันราบรื่นชื่นใจต่อการดำเนินของท่าน ไปทุกระยะที่ผ่อนและ
อดอาหารเป็นคราว ๆ ไป ท่านที่มีนิสัยในทางนี้ ท่านก็พยายาม
ตะเกียกตะกายบำเพ็ญไปด้วยความอดอยากขาดแคลนแบบนี้
ตลอดไป ในท่ามกลางแห่งความสมบูรณ์ด้วยปัจจัยสี่ เพราะถือเป็น
เครื่องอาศัยพอยังความเป็นอยู่ให้เป็นไปเป็นวัน ๆ เท่านั้น สาระ
สำคัญคือธรรมภายในใจ ท่านถืออย่างเอาจริงเอาจัง เอาเป็น
เอาตายเข้าประกัน ไม่ยอมลดละปล่อยวางตลอดไป
เอาบุญมาฝากจะถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ สักการะพระธาตุ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาทสร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ ให้อาหารสัตว์เป็นทานเป็นประจำ กรวดน้ำอุทิศบุญ อนุโมทนากับพ่อแม่ญาติพี่น้องที่รักษาศีล ฟังธรรม ให้ทาน อนุโมทนากับเพื่อนๆที่รักษาศีล ศึกษาการรักษาโรค ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ถวายสังฆทานมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ปิดทองพระ รักษาอาการป่วยของผู้อื่นกับผู้ร่วมงาน และที่ผ่านมาได้รักษาอาการป่วยของบิดามารดา ปล่อยชีวิตสัตว์มาโดยตลอด ถวายยาแก่ภิกษุ ขัดองค์พระ ถวายเทียน ให้ความรู้สมุนไพรเพื่อสุขภาพเป็นวิทยาทาน ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ทำบุญหลายอย่างมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ถวายสังฆทานและทำบุญสร้างอาคารผู้ป่วยและกฐินกับเพื่อนๆและให้อาหารเป็นทานแก่สรรพสัตว์กับเพื่อนๆและเพื่อนคนหนึ่งและบริวารของเพื่อนและครอบครัวของเพื่อนได้มีจิตเมตตาให้ทานและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือผู้อื่นอยู่ตลอดและเพื่อนได้เคยสวดมนต์เย็นกับคุณแม่และที่ผ่านมาได้ทำบุญสักการะพระธาตุทำบุญปิดทองชำระหนี้สงฆ์และไหว้พระและทำบุญตามกล่องรับบริจาคตามวัดต่างๆกับเพื่อนและตั้งใจว่าจะสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอให้อนุโมทนาบุญด้วย
ขอเชิญถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน สักการะพระธาตุ ฟังธรรม สวดมนต์ ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาท
สร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย กรวดน้ำอุทิศบุญ ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สนทนาธรรม
ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น รักษาอาการป่วยของผู้อื่น รักษาอาการป่วยของบิดามารดา
ปิดทอง สักการะพระธาตุ กราบอดีตสังขารเจ้าอาวาสที่ไม่เน่าเปื่อย ที่วัดแจ้ง อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ปิดทองพระ ปล่อยชีวิตสัตว์ถวายยาแก่ภิกษุ ไหว้พระตามวัดต่างๆ ขัดองค์พระ ให้ความรู้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพเป็นทาน
และสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอเชิญร่วมบุญกุศลร่วมกันนะ
Powered by phpBB © phpBB Group.
phpBB Mobile / SEO by Artodia.