ศุกร์ 24 ก.พ. 2012 4:39 am
การฝึกจิตทรมานใจ ถ้าฝึกได้แล้วต้องเป็นแบบนี้ คือ อยู่
ไหนก็สบาย ไม่รบกวนตัวเองด้วยเรื่องต่าง ๆ มีเรื่องกลัวเสือกลัวผี
เป็นต้น แต่เมื่อทรมานได้แล้ว แม้จิตไม่แสดงความกลัวเหมือน
แต่ก่อนก็ตาม เมื่อเห็นว่าเป็นที่สะดวกใจเพราะสถานที่เช่นไร ท่าน
มักจะชอบอยู่ในสถานที่เช่นนั้นเป็นปกตินิสัยตลอดไป ไม่ค่อยผิด
กับครั้งพุทธกาลที่พระสาวกท่านชอบอยู่ตามนิสัยอะไรนัก เช่น
องค์ชอบอยู่ป่าอยู่เขา ท่านก็อยู่ของท่านไปเรื่อย ๆ จนถึงอายุขัย
ดังพระอัญญาโกณฑัญญะเป็นตัวอย่าง
เมื่อถึงกาลจะนิพพานแล้วค่อยออกจากป่าจากเขา มาเฝ้า
พระศาสดาและทูลลาเข้าสู่นิพพาน จนพระภิกษุหนุ่มสามเณรน้อย
ทั้งหลายในสำนักพระศาสดาที่ไม่เคยเห็นองค์ท่าน ซึ่งครองผ้าที่
ย้อมด้วยดินแดงเพราะไม่มีสีกรักหรือสีแก่นขนุนจะย้อม เนื่องจาก
อยู่ในป่าลึกอันรกชัฏ พากันสงสัยนึกว่าขรัวตาบริโภคมาจากที่ไหน
จึงทูลถามพระพุทธเจ้าตามความรู้สึกของตน ๆ ว่าพระพุทธเจ้าข้า
ขรัวตาองค์นี้มาจากที่ไหน ดูสีผ้าแล้วน่ากลัวจริง แดงเหมือนกะย้อม
ด้วยเลือดอะไรไม่ทราบ พระองค์ทรงเห็นอาการไม่ดีของพระหนุ่ม
เณรน้อยทั้งหลายที่แสดงอาการสงสัยไม่เคารพท่าน จึงรับสั่งทันทีว่า
นี่แลคือพระอัญญาโกณฑัญญะพี่ชายของเธอทั้งหลาย ซึ่งบรรลุ
ธรรมก่อนใคร ๆ ทั้งหมดในบรรดาสาวกของเราตถาคต จงพากันจำ
พี่ชายของเธอทั้งหลายไว้แต่บัดนี้เป็นต้นไป
พระอัญญาโกณฑัญญะเธอเป็นพระอรหันต์แต่ต้นศาสนา
ของเราตถาคต และปฏิบัติตนเป็นสามีจิกรรมตลอดมา โดยชอบอยู่
ในป่าในเขาเป็นประจำนิสัย ไม่ชอบพลุกพล่านวุ่นวายด้วยฝูงชน
บัดนี้สังขารของเธอชราภาพหมดทางเยียวยา เธอจึงออกจากป่ามาเฝ้าและลาเราตถาคตเพื่อเข้าสู่นิพพานในไม่ช้านี้ สาวกที่ชอบอยู่ป่า
อยู่เขามีนิสัยดังพระอัญญาโกณฑัญญะลูกเราตถาคตนี้หายาก พวก
เธอทั้งหลายจงจำไว้ว่า ที่ไปจากเราตถาคตตะกี้นี้คือพระอัญญา
โกณฑัญญะ ซึ่งเป็นลูกหัวปีของเราตถาคต และเป็นพี่ชายใหญ่ของ
เธอทั้งหลายนั้นเอง มิใช่พระขรัวตามาจากที่ไหนดังที่เธอทั้งหลาย
สงสัยกัน
พอพระพุทธเจ้าทรงชี้แจงเหตุผลของพระอัญญาโกณฑัญญะ
ให้ฟัง พระหนุ่มเณรน้อยทั้งหลายเกิดความเสียใจ เห็นโทษที่
กล่าววาจาไม่สมควรต่อท่านต่อพระศาสดาโดยมิได้สำนึกอะไรก่อน
และเกิดความเลื่อมใสในองค์ท่านพระอัญญาโกณฑัญญะมาก
ทั้งด้วยความเสียดายที่ท่านได้จากไปเสียก่อนที่จะรู้จักเรื่องท่าน
ได้ดีจากพระศาสดา เรื่องที่ยกมากับเรื่องพระธุดงค์ที่ท่านปฏิบัติ
ดำเนินตามท่านอาจารย์มั่น ในการชอบอยู่ป่าอยู่เขาตามนิสัยนั้น
มีลักษณะคล้ายคลึงกัน ที่ผิดกันก็พระอัญญาโกณฑัญญะท่านเป็น
พระอรหันต์ทราบกันทั่วแดนพุทธศาสนิก แต่ท่านที่ดำเนินตาม
ท่านอาจารย์มั่นเรื่อยมาจนทุกวันนี้ ท่านจะเป็นพระอะไรบ้าง จะมี
ส่วนอย่างท่านบ้าง หรือมีแต่ “ปุถุ” ล้วน ๆ ผู้เขียนทราบไม่ได้ จึง
เรียนไว้เท่าที่ความสามารถอำนวย
ส่วนท่านที่ทั้งฝึกทรมานตนด้วยการอยู่ป่าอยู่เขา และ
ทรมานตนด้วยวิธีผ่อนอาหาร ท่านก็ผ่อนของท่านไปเรื่อย ๆ คำว่า
ผ่อนนั้นคือ ท่านฉันแต่น้อย มิได้ฉันตามความต้องการของธาตุ
หรือด้วยอำนาจตัณหาที่อาจมีแทรกขึ้นมาได้ในบางเวลา เช่น ฉัน
เพียง ๗๐% บ้าง ๖๐% บ้าง ๕๐% บ้าง ๔๐% บ้าง ตามที่
เห็นควร หรืออาจเพิ่มขึ้น ผ่อนลงบ้างในบางโอกาส ท่านพยายามผ่อนของท่านไปเรื่อย หรืออาจถือเป็นปฏิปทาคู่เคียงกันไปกับวิธี
บำเพ็ญทั้งหลายเป็นเวลานาน เช่น เป็นเดือน ๆ หรือหลาย ๆ
เดือนก็ได้ ตามแต่สะดวกในการปฏิบัติจิตตภาวนาและธาตุขันธ์ให้
พอเป็นไป ไม่เกิดโรคภัยและไม่เกิดความหิวโหยอ่อนเพลียจนเกินไป
ท่านก็พยายามพยุงความเพียรของท่านไปจนกว่าธาตุขันธ์จะแสดง
ปฏิกิริยา หรือจิตใจดีขึ้นโดยไม่ต้องฝึกทรมานวิธีนี้เข้าช่วย ก็ดำเนิน
ไปได้ด้วยความราบรื่นสม่ำเสมอ ท่านอาจงดการผ่อนอาหารไปก็ได้
ทั้งนี้ก็แล้วแต่กรณีไม่แน่นอนตายตัวนัก
เท่าที่ทราบมา ท่านเคยได้กำลังใจจากวิธีใด ท่านมักจะ
ยึดวิธีนั้นไว้ไม่ยอมปล่อยวางไปเสียอย่างเดียว แม้มีกำลังใจสูง
ขนาดไหนท่านก็มักจะมีลวดลายไปในทางที่เคยดำเนินมาอยู่
เสมอ ราวกับท่านเห็นคุณและระลึกถึงวิธีนั้นอยู่เสมอด้วยความ
สำนึกตน ถ้าเป็นคนก็เรียกว่ารู้บุญคุณต่อผู้ที่เคยทำคุณแก่ตน ถ้า
เป็นธรรมก็คงระลึกถึงคุณของธรรมที่เคยให้คุณแก่ตน ดังพระองค์
ทรงกราบไหว้พระธรรมเป็นตัวอย่าง
การผ่อนอาหารฉันแต่น้อย ทำให้ร่างกายทุกส่วนเบา
กำลังก็ลดน้อยลงไม่ทับจิต การภาวนาก็สะดวกและสงบได้เร็ว
กว่าธรรมดาที่ไม่ได้ผ่อน (สำหรับรายที่ถูกกับจริต) การภาวนา
ในเวลาผ่อนอาหาร ใจไม่ค่อยมีทีได้ทีเสียเกี่ยวกับความสงบ ผิดกับ
ปกติที่ไม่ได้ผ่อนซึ่งกำลังอยู่ในขั้นฝึกหัด ขณะผ่อนอาหารเวลาเดิน
จงกรมก็สะดวก นั่งสมาธิก็สบาย กลางคืนกลางวันภาวนามักได้ผล
พอ ๆ กัน ซึ่งตามปกติเดินจงกรมนั่งสมาธิในเวลากลางคืนอันเป็น
เวลาที่ธาตุละเอียด มักจะดีกว่ากลางวันอยู่เสมอ ส่วนผู้ชอบผ่อน
อาหารก็มีลักษณะเช่นเดียวกัน ถ้าอดไปหลายวันความรู้สึกหิวโหยอ่อนเพลียจะมีมาก ส่วนจิตมักละเอียดยิ่งกว่าการผ่อนอาหาร
อยู่มาก ทั้งด้านสมาธิและด้านปัญญามีความคล่องแคล่วกว่ากัน
การอดท่านมักจะอดแต่น้อยไปหามาก คือแรกก็อดเป็น
การทดลองดูเพียง ๒-๓ วันบ้าง ๔-๕ วันบ้าง พอเห็นได้ว่า
ผลทางการภาวนาดี ก็ขยับขึ้นไปอีกเป็นครั้งละ ๖-๗ วันบ้าง
๘-๙ วันบ้าง ในระหว่างที่กำลังอดก็ภาวนาไปและสังเกตจิต
และธาตุขันธ์ไปด้วย ถ้าเห็นว่าทุกส่วนยังดีก็อดไปบ้าง ฉันบ้าง
สลับกันไป จนกลายเป็นอดครั้งละหลาย ๆ วันขึ้นไปเรื่อย ๆ คือ
ครั้งละ ๑๔-๑๕ วันบ้าง ๑๖-๑๗ วันบ้าง จนถึงเดือนก็มีใน
บางราย ขณะที่กำลังอดอาหารนั้น ถ้าธาตุรู้สึกอ่อนเพลียมาก ท่าน
ก็ฉันนมบ้างเป็นบางวันระหว่างที่อด สำหรับรายที่ถูกกับนิสัยย่อม
ได้ประโยชน์หลายอย่าง คือ ความง่วงเหงาหาวนอนนับแต่สองคืน
ล่วงไปแล้วไม่ค่อยมี ยิ่งหลายคืนล่วงไปเท่าไร ความง่วงไม่รบกวน
เลย นั่งอยู่ที่ไหนกายก็เที่ยงตรงอยู่ตลอดเวลาเหมือนหัวตอ ไม่มี
อาการสัปหงกงกงันใด ๆ ทั้งสิ้น สติดีไม่ค่อยเผลอ นานวันไป
เท่าไรสติยิ่งดีไม่ค่อยเผลอเลย จิตคิดเรื่องอะไรขึ้นมาสติรู้ทันแทบ
ทุกระยะหรือทุกระยะ โดยมิได้เข้มงวดกวดขันว่าจะพยายามไม่ให้
เผลอสติ แต่ก็เป็นไปได้เอง
ทั้งนี้อาจเป็นเพราะการอดอาหารก็เพื่อความเพียร และ
ตั้งสติเรื่อยมานับแต่วันเริ่มแรกอดก็เป็นได้ สติจึงไม่ค่อยเผลอใน
ระยะแรกอด และไม่เผลอสติเวลาอดไปหลายวัน การภาวนารู้สึกว่า
สะดวกคล่องแคล่วไปเสียทุกอย่าง ทั้งด้านสมาธิและปัญญา เมื่อ
ต้องการให้จิตพักลงในสมาธิ ก็ลงได้ตามใจหวัง เวลาต้องการ
พิจารณาทางปัญญาหลังจากจิตถอนขึ้นมาจากสมาธิแล้ว ก็เป็นปัญญาอย่างคล่องแคล่วไปโดยลำดับ ไม่อืดอาดเนือยนายดังที่
พิจารณาในเวลาปกติ ในอิริยาบถต่าง ๆ มีสติอยู่กับตัว ไม่ค่อย
เผลอไปกับอะไรง่าย ๆ พิจารณาเรื่องราวต่าง ๆ ก็รวดเร็วทันใจ
และเข้าใจแจ่มแจ้งได้เร็วผิดธรรมดา ร่างกายก็ไม่ค่อยขัดที่นั่น
เจ็บปวดที่นี่ และเบาผิดปกติ จิตก็มักเห็นภัยได้ง่าย ไม่ค่อยฝืน
ความจริงและดื้อดึงนักเหมือนที่เคยเป็น
ผู้อยู่ในขั้นสมาธิก็อยู่ด้วยความสงบในอิริยาบถต่าง ๆ ผู้อยู่
ในขั้นปัญญาก็อยู่ด้วยการใคร่ครวญไตร่ตรองกรองเหตุกรองผล
ไปตามสิ่งที่มาสัมผัสชนิดต่าง ๆ ไม่มีประมาณ จิตเพลินต่อการ
พิจารณาในธรรมทั้งหลาย หายเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าราวกับฉัน
อาหารอยู่โดยปกติ ถ้ารู้สึกเมื่อยหิวอ่อนเพลียก็ต่อเมื่อจิตถอนออก
จากสมาธิ หรือจิตพักจากการพิจารณาและเวลาออกเปลี่ยน
อิริยาบถจึงจะรู้สึกตอนนั้น เวลาจิตเข้าสมาธิและกำลังพิจารณา
ธรรมทั้งหลายอยู่ ไม่รู้สึกหิวหรืออ่อนเพลียเลย เนื่องจากจิตเพลิน
ต่อสมาธิและปัญญา ไม่สนใจกับธาตุขันธ์ เวทนาทางกายจึงเป็น
เหมือนไม่มีในเวลานั้น
พอถึงวันกำหนดจะฉัน ระหว่างจิตกับขันธ์เกิดทะเลาะ
ไม่ลงรอยกัน ฝ่ายธาตุขันธ์ก็ว่าอ่อนเพลียต้องการอาหารเครื่อง
เยียวยาพอประทังชีวิต ฝ่ายจิตก็ว่าขณะอดอาหารภาวนาดี จิตใจ
สงบผ่องใส ไม่กังวลวุ่นวายกับสิ่งใด ๆ พอฉันแล้วภาวนาไม่ดี
อิ่มแล้วคิดถึงแต่หมอนแทนที่จะคิดถึงอรรถถึงธรรมเหมือนเวลาอด
จึงไม่อยากฉัน เพราะเวลาฉันแล้วภาวนาไม่เป็นท่า แทนที่กายมี
กำลังแล้วจะดี ระหว่างจิตกับขันธ์ทะเลาะกันอย่างนี้แล เจ้าของต้อง
ตัดสินให้อดบ้างอิ่มบ้างนั่นแลดี จิตก็ได้ประโยชน์ กายก็รู้จักอดทนเสียบ้าง ไม่ปรนปรือจนเกินไปซึ่งเป็นทางของสัตว์เดียรัจฉาน มีแต่
กินกับนอน การอดมากก็ทนไม่ไหว กายต้องแตก การอิ่มมากก็
ขี้เกียจวิ่งหาแต่หมอน แทนที่จะวิ่งหาอรรถหาธรรมเหมือนเวลาอด
การอดอาหารมีประโยชน์หลายอย่างดังนี้แล
เวลาที่กำลังอดเป็นเวลาที่เร่งความเพียรเต็มที่ในอิริยาบถ
ต่าง ๆ การหลับนอนมีน้อย หลับงีบเดียวก็พอกับความต้องการ
ของธาตุโดยไม่มีความโงกง่วงอีกเลย สำหรับรายที่ถูกกับจริต ทำให้
เห็นทันตาทั้งด้านสมาธิและปัญญา ความหิวจัดจะมีเฉพาะสอง
สามวันแรก พอเลยไปหลายวันแล้วความหิวก็เบาลง แต่ความ
อ่อนเพลียค่อยเพิ่มขึ้น จิตก็มีความละเอียดแยบคายไปโดยลำดับ
ตามวันที่อด ดังนั้นถึงวันจะฉันจึงทำให้เสียดาย อยากจะอดต่อไป
แต่ธาตุขันธ์รู้สึกเต็มทน ต้องผ่อนให้เขาบ้าง ไม่เช่นนั้นทำงาน
ไม่ตลอดสาย ธาตุขันธ์จะทลายไปก่อนกิเลส จำต้องเยียวยากันไป
ถ้าจะทำตามใจ กายคงไปไม่รอดแน่ แต่ถ้าจะปล่อยตามร่างกายที่
เขาต้องการ ใจก็คงไม่ได้ดื่มธรรมตามความมุ่งหมายเท่าที่ควรจะได้
การอดอาหารได้ผลประจักษ์ทั้งสมาธิและปัญญา จึงทำให้
ระลึกถึงพระพุทธองค์เวลาทรงทำทุกรกิริยาไม่เสวยพระกระยาหาร
ด้วยทรงมุ่งความตรัสรู้ธรรมจากการทรงอดโดยถ่ายเดียวไม่ทรง
บำเพ็ญเพียรทางใจ จึงไม่ทรงปรากฏผลในเวลานั้น แต่พอมาเสวย
ข้าวมธุปายาสที่นางสุชาดานำไปถวายแล้ว ในคืนวันนั้นเอง ซึ่งแม้
เสวยแล้วก็ตาม แต่พระอาการทุกส่วนแห่งพระกายยังผ่องใสและ
เบาหวิวอยู่ พอทรงเจริญอานาปานสติอันเป็นความเพียรทางใจ
จึงทำให้พระองค์ได้ตรัสรู้ในราตรีวันนั้น ผลทางพระกายที่เกี่ยวกับ
การทรงอดพระกระยาหารจึงเข้าใจว่ามีส่วนช่วยทางพระทัยอยู่บ้างไม่ทับใจจนเกินไปในเวลานั้น แม้พระองค์จะทรงตำหนิว่าการอด
อาหารมิใช่ทางตรัสรู้นั้น คงมิได้หมายการอดเพื่อความเพียรทางใจ
ด้วย น่าจะหมายการอดเพื่อตรัสรู้ล้วนๆ จึงผิดทาง
เพราะการตรัสรู้หรือบรรลุธรรมต้องหมายถึงใจเป็นสำคัญ
มิได้หมายถึงกายแต่อย่างใดเลย เนื่องจากกิเลสมีอยู่ที่ใจอย่างเดียว
มิได้อยู่ที่กาย ส่วนกายเป็นปัจจัยเครื่องหนุนกิเลสให้กำเริบรุนแรงได้
นั้นมีทางเป็นได้ เช่น เวลาธาตุมีกำลังเต็มที่ จะแสดงให้ใจที่อบรม
มาด้วยดีแล้วรู้ทันทีว่าขันธ์กำเริบ ถ้ามีกิเลสอยู่ในใจด้วยแล้วก็ต้อง
ฉุดลากกันไปใหญ่ ดีไม่ดีตามไม่ทันเสียด้วยและพากันจมปลักไปเลย
จนโผล่ขึ้นจากปลักในเวลาพอตัวแล้วถึงจะทราบถ้าสังเกต แต่ถ้า
ไม่สังเกตก็ไม่มีทางทราบได้ตลอดไป ปล่อยให้กิเลสและธาตุขันธ์
พาไป แบบถึงไหนถึงนั่นแล กิเลสกับกายมีส่วนเกี่ยวข้องกันอย่างนี้
แต่ลำพังขันธ์ล้วน ๆ ก็ไม่เป็นภัยแก่จิตใจที่บริสุทธิ์แล้ว
ดังนั้นการอดอาหารจึงมีส่วนดีแก่จิตตภาวนาอยู่ไม่น้อยใน
บางนิสัย ท่านจึงมิได้ห้ามไม่ให้อดอาหารไว้โดยเด็ดขาดที่มีส่วน
เกี่ยวข้องกับการภาวนาอยู่ด้วย จะเห็นได้จากพระวินัยบางข้อที่ว่า
ด้วยการอดอาหารว่า ภิกษุที่อดอาหารเพื่อการอวดโลก เป็น
อาบัติทุกครั้งที่อด และทุกประโยคที่เคลื่อนไหวเพื่อการโอ้อวด
แต่ถ้าอดเพื่อความเพียรทางใจแล้วอดเถิด เราตถาคตอนุญาต
ดังนี้ ทั้งนี้พระองค์อาจทรงมองเห็นสาระของการอดเพื่อความ
เพียรทางใจอยู่บ้าง ซึ่งอาจเหมาะกับจริตเป็นบางราย จึงทรง
อนุญาต ไม่ทรงห้ามไปเสียทีเดียว ส่วนรายที่ไม่เกี่ยวกับนิสัย แม้
ขืนอดก็คงไม่เกิดประโยชน์เช่นเดียวกับกรรมฐานที่ไม่ถูกกับจริตของ
นักภาวนาฉะนั้น จึงเป็นทำนองว่าลางเนื้อชอบลางยาเป็นราย ๆ ไปเท่าที่สังเกตดู ท่านที่ถูกจริตกับการอดอาหารรู้สึกมีมากแม้
ปัจจุบันนี้ จึงเรียนไว้ในที่นี้บ้างพอเป็นข้อคิด เฉพาะวัดป่าบ้านตาด
ซึ่งเป็นวัดของผู้เขียนเองยังมีพระท่านชอบอดอาหารกันบ่อยและมี
มากรายด้วยกัน แทบทั้งวัดที่ผลัดเปลี่ยนกันอดเสมอมานับแต่เริ่ม
สร้างวัดมาจนบัดนี้ ทั้งแล้งทั้งฝน ทั้งในพรรษาและนอกพรรษา
แม้ทุกวันนี้ก็ยังมีผู้อดอาหารอยู่ในวัดเช่นกัน พระฝรั่งอังกฤษไม่
เลือกหน้า ชอบอดกันทั้งนั้น โดยท่านให้เหตุผลว่า เวลาอดอาหาร
แล้วภาวนาดีกว่าไม่อด จึงต้องอดบ่อย ๆ ซึ่งเป็นความสมัครใจของ
แต่ละท่าน มิได้มีการบังคับขู่เข็ญแต่อย่างใด พระฝรั่งก็อดอาหาร
เก่งเหมือนพระไทยและอดได้ทีละหลาย ๆ วันจึงฉันเสียวันสองวัน
แล้วก็อดต่อไปอีก บางองค์อดได้ถึง ๑๔-๑๕ วันก็มี นับว่าท่าน
อดทนอยู่มาก บางองค์ก็อดได้ราว ๙-๑๐ วัน ท่านอดได้เช่นเดียว
กับพระไทยเรา
ท่านบอกว่าขณะอดอาหาร จิตไม่ค่อยดิ้นรนกวัดแกว่ง
บังคับง่ายกว่าปกติที่ไม่ได้อด ทั้งจิตก็สงบเย็นดีและสม่ำเสมอ
ไม่วอกแวกคลอนแคลนอย่างง่ายดาย จึงทำให้อยากอดบ่อย ๆ
เพื่อจิตจะได้ก้าวหน้าเร็วเท่าที่ควร ดังนี้จึงน่าสงสารและอนุโมทนา
กับท่านที่อุตส่าห์ข้ามน้ำข้ามทะเลมาบวชในพระพุทธศาสนา มา
จำศีลภาวนาด้วยความอดอยากกันดาร ข้าวปลาอาหารก็ไม่ค่อยฉัน
ทั้งจากบ้านจากเมืองจากบิดามารดาวงศาคณาญาติเป็นเวลานานปี
ไม่ค่อยบ่นว่าคิดถึงบ้านคิดถึงเมือง คิดถึงหมู่เพื่อนญาติวงศ์พงศ์พันธุ์
ที่เคยอยู่อาศัยใกล้ชิดสนิทสนมมาแต่ก่อนเลย นับว่าท่านบวชมา
เพื่อแสวงหาธรรมความเจริญจริง ๆ สมเป็นชาติที่ฉลาดมาดั้งเดิม
ไม่เคยแสดงความเย่อหยิ่งถือตัวให้ปรากฏเลย มีแต่ความอ่อนน้อม
เอาบุญมาฝากจะถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ สักการะพระธาตุ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาทสร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ ให้อาหารสัตว์เป็นทานเป็นประจำ กรวดน้ำอุทิศบุญ อนุโมทนากับพ่อแม่ญาติพี่น้องที่รักษาศีล ฟังธรรม ให้ทาน อนุโมทนากับเพื่อนๆที่รักษาศีล ศึกษาการรักษาโรค ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ถวายสังฆทานมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ปิดทองพระ รักษาอาการป่วยของผู้อื่นกับผู้ร่วมงาน และที่ผ่านมาได้รักษาอาการป่วยของบิดามารดา ปล่อยชีวิตสัตว์มาโดยตลอด ถวายยาแก่ภิกษุ ขัดองค์พระ ถวายเทียน ให้ความรู้สมุนไพรเพื่อสุขภาพเป็นวิทยาทาน ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ทำบุญหลายอย่างมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ถวายสังฆทานและทำบุญสร้างอาคารผู้ป่วยและกฐินกับเพื่อนๆและให้อาหารเป็นทานแก่สรรพสัตว์กับเพื่อนๆและเพื่อนคนหนึ่งและบริวารของเพื่อนและครอบครัวของเพื่อนได้มีจิตเมตตาให้ทานและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือผู้อื่นอยู่ตลอดและเพื่อนได้เคยสวดมนต์เย็นกับคุณแม่และที่ผ่านมาได้ทำบุญสักการะพระธาตุทำบุญปิดทองชำระหนี้สงฆ์และไหว้พระและทำบุญตามกล่องรับบริจาคตามวัดต่างๆกับเพื่อนและและที่ผ่านมาได้ทำบุญทอดผ้าป่าสร้างพระอุโบสถและพระประธานที่วัดตะโกโคก ต.ตาจั่น อ.คง จ.นครราชสีมา ตั้งใจว่าจะสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอให้อนุโมทนาบุญด้วย
ขอเชิญถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน สักการะพระธาตุ ฟังธรรม สวดมนต์ ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาท
สร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย กรวดน้ำอุทิศบุญ ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สนทนาธรรม
ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น รักษาอาการป่วยของผู้อื่น รักษาอาการป่วยของบิดามารดา
ปิดทอง สักการะพระธาตุ กราบอดีตสังขารเจ้าอาวาสที่ไม่เน่าเปื่อย ที่วัดแจ้ง อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ปิดทองพระ ปล่อยชีวิตสัตว์ถวายยาแก่ภิกษุ ไหว้พระตามวัดต่างๆ ขัดองค์พระ ให้ความรู้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพเป็นทาน
และสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอเชิญร่วมบุญกุศลร่วมกันนะ
ศูนย์ปฏิบัติธรรมชำระจิต บารมีธรรม 641/1 ม. 6 ต.เขาคันทรง อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี 20110
โทรศัพท์ 086 - 5432000 | แฟ๊กซ์ 038 - 745-457
E-mail :
mail@paramidhamma.comขอเชิญพุทธศาสนิกชนทุกท่าน เข้าอบรมวิปัสสนากรรมฐาน ในวันที่ 7 - 11 มีนาคม 2555 จำนวน 4 คืน 5 วัน โดยพระอาจารย์มหาเฉลิม ชนะพันธ์ วัดนาคปรก หลักสูตร สติปัฏฐาน-พองยุบ เนื่องในโอกาสวันมาฆะบูชาไปสร้างบารมีให้ตัวเองนะ
โครงการอบรมวิปัสสนากรรมฐาน ณ บ้านไรวา ตารางปฏิบัติธรรมปี 2555 ในเดือน พฤษภาคมวันที่ 9-15 และเดือนตุลาคมวันที่ 19-25
ขออนุญาตประชาสัมพันธ์โครงการประชุมวิชาการ เกี่ยวกับธรรมะ เรื่อง จิตประภัสสรกับการคลอดธรรมชาติ: สู่ครอบครัวที่เข้มแข็ง ในวันที่ 23-25 พฤษภาคม 2555 ณ ห้องประชุมปฏิบัติการ โรงแรม เทาทอง มหาวิทยาลัยบูรพา จ.ชลบุรี เป็นการนำธรรมะเข้ามาใช้ในการตั้งครรภ์และการคลอด โดยเราได้รับเกียรติจากคุณแม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุด แห่งเสถียรธรรมสถาน มาเป็นวิทยากร ในวันที่ 23 พฤษภาคม 2555 ขอเชิญ
ขอเชิญทำบุญทอดผ้าป่าสร้างพระอุโบสถและพระประธานที่วัดตะโกโคก ต.ตาจั่น อ.คง จ.นครราชสีมา
โทร.0879609571