ใหญ่โตมาขนาดนี้ แทบหยิกข่วนไม่รู้จักเจ็บเพราะเนื้อหนังของ สัตว์ทั้งหลายหุ้มห่ออยู่รอบตัว บทเวลาจะควรยอมสละเนื้อหนัง ของตัวเพื่อเป็นทานแก่เสือเพียงตัวเดียว ทำไมจึงเหนียวแน่นแก่คน ผู้ตระหนี่หึงหวงนักล่ะ มิหนำยังหวงจนตัวสั่นชนิดแกะไม่ออกบอก ไม่ยอมเชื่อฟังธรรมเสียอีกด้วย ไม่เป็นการบวชมาเพื่อเห็นแก่ตัว เพราะกลัวกิเลสตัวอุบาทว์จนไม่มองเห็นใคร ๆ ในโลกไปแล้วหรือ ถ้าเชื่อกิเลสยิ่งกว่าธรรม จงยืนตัวสั่นเฝ้าร่างแห่งกองทุกข์อยู่ ที่นี่ ถ้าเชื่อธรรมของพระพุทธเจ้า จงสละเลือดเนื้อให้เสือเอาไปเป็น อาหารพอมีลมหายใจสืบชีวิตของมันต่อไปเดี๋ยวนี้อย่าชักช้า ว่า อย่างไร จะไปตามธรรมหรือจะโดดลงหลุมอุบาทว์แห่งความตระหนี่ รีบตัดสินใจ อย่าให้เสียเวลาของเสือที่กำลังรอฟังนักบวชอันเป็นเพศ แห่งบุคคลผู้เสียสละ จะประกาศความอาจหาญออกมาด้วยปัญญา ที่ใคร่ครวญดีแล้วว่า “จะให้หรือจะหวง” นับแต่สงครามอันเข้มข้นระหว่างเสือกับท่านกำลังเป็นไปอยู่ ซึ่งต่างฝ่ายต่างไม่ยอมลดราวาศอกให้แก่กันเป็นเวลาชั่วโมงเศษ ๆ ท่านองค์นั้นจึงตัดสินใจลงได้ด้วยความเห็นภัยในความหึงหวงแห่ง ชีวิต กลับเป็นใจที่กล้าหาญและเต็มเปี่ยมด้วยเมตตาสงสารเสือตัว นั้นเป็นกำลัง โดยถือธรรมบทว่าสัตว์ทั้งหลายเป็นเพื่อนทุกข์เกิดแก่ เจ็บตายด้วยกันหมดสิ้น เป็นหลักใจ มองเห็นภาพเสือตัวกำลังเป็น ศัตรูกลายเป็นภาพแห่งมิตรอย่างสนิทใจ คิดอยากลูบคลำอวัยวะ ของมันเล่น ด้วยความรักสงสารและสนิทสนมในใจจริง ๆ จึงก้าว ออกจากทางจงกรม ถือเอาโคมไฟที่แขวนอยู่ข้างทาง เดินตรงไปที่ เสืออยู่ทันทีพร้อมด้วยจิตใจที่อ่อนโยนด้วยความเมตตา พอไปถึงที่ ที่เข้าใจว่าเสืออยู่ แต่ไม่ปรากฏมีเสืออยู่ที่นั้นเลย จึงเดินตามหาเสือตัวนั้นทั่วทั้งป่าแถบบริเวณนั้น ขณะที่เดินตามหาเสือด้วยความ กล้าหาญและใจอ่อนโยนด้วยเมตตานั้น ก็ไม่เห็นเสือตัวนั้นอีกเลย เสือก็ไม่ทราบว่าหายตัวไปที่ไหนอย่างลึกลับ ขณะที่เดินตามหาเสือไม่พบจนอ่อนใจนั้น มีอะไรผุดขึ้น ภายในใจราวกับคนมาเตือนว่า จะตามหามันทำไมกัน ความรู้ กับความหลงก็ตกอยู่กับเราคนเดียว มิได้อยู่กับสัตว์กับเสือ ตัวไหนนี่ ความกลัวตายถึงกับจะเป็นบ้าไปในขณะนั้นก็คือ ความหลงของตัวผู้เดียว ความรู้ว่าธรรมท่านสอนไว้ว่า สัตว์ ทั้งหลายเป็นเพื่อนทุกข์เกิดแก่เจ็บตายด้วยกันทั้งสิ้น ถึงกับ สละความหึงหวงเสียได้ กลายเป็นคนมีเมตตาจิตอ่อนโยนต่อ เพื่อนร่วมโลกก็เป็นความรู้ของตัวผู้เดียว ทั้งสองประโยคนี้มิได้ เป็นสมบัติของใคร แต่เป็นสมบัติของตนโดยเฉพาะ แล้วจะ เที่ยวหาอะไรอีก เมื่อรู้ก็ควรมีสติอยู่กับผู้รู้ เพียรไปกับผู้รู้ จัดว่า เป็นความถูกต้องดีงามแล้ว จะไปตามเอาอะไรกับสัตว์กับเสือ ให้กลายเป็นความเห็นผิดไปอีกเล่า พอความรู้ผุดขึ้นเตือนจบลง ก็กลับได้สติขึ้นมาทันที ท่านว่าขณะที่กำลังเดินไปหาเสือนั้น เป็นความแน่ใจว่าเสือ เป็นมิตรกับตนอย่างสนิทสามารถจะลูบคลำหลังและอวัยวะต่าง ๆ ของมันได้อย่างเต็มมือโดยมิได้นึกคิดว่ามันจะทำอะไรตนได้เลย แต่ ความจริงจะเป็นอย่างไรไม่ทราบได้ จากนั้นก็กลับมาเดินจงกรม อย่างสบายหายห่วง ไม่มีความหวาดกลัวเหลืออยู่เลย เสียงเสือที่ คำรามและหยุดไปเป็นพัก ๆ นั้นก็หายไปในทันที ไม่มาปรากฏ อีกเลยทั้งในคืนวันนั้นและคืนต่อ ๆ ไป จนท่านหนีจากที่นั้น ท่าน ว่าน่าอัศจรรย์ที่จิตกลัวแทบตั้งตัวไม่อยู่และจวนจะเป็นบ้าในขณะนั้นอยู่แล้ว แต่พอถูกขู่เข็ญทรมานด้วยอุบายต่าง ๆ กลับเป็นจิตที่ กล้าหาญขึ้นมา สามารถสละเลือดเนื้อชีวิตจิตใจพลีต่อเสือได้ โดยไม่มีความสะทกสะท้านหวั่นไหวและอาลัยเสียดายเลย นับแต่วันนั้นมา เวลาเดินจงกรมหรือนั่งภาวนา ถ้าจิต ไม่ยอมสงบง่าย ใจคิดอยากให้เสือมาหาและกระหึ่มให้ฟังบ่อย ๆ จิตจะได้มีความตื่นตัว อย่างน้อยก็ได้รับความสงบ มากกว่านั้นก็ เป็นใจมีเมตตาอ่อนโยนและเป็นสุขไปกับสัตว์กับเสือ เพราะขณะ ที่ใจพลิกไปกับเสียงสัตว์ต่าง ๆ มีเสือเป็นต้น รู้สึกเป็นสุขอย่าง ละเอียดที่บอกไม่ถูก ขออภัยลืมประโยคที่อะไรผุดขึ้นในใจท่านขณะที่เดินตาม หาเสือ ยังเก็บไม่หมด จำต้องวกเวียนมาอีก ท่านว่าอะไรผุดขึ้นมา ว่า ความเมตตาที่แสดงเป็นความอ่อนโยนนั่นแล เป็นความ สนิทสนมกับสัตว์ทั้งหลาย ทั้งที่เป็นศัตรูและทั่ว ๆ ไป ตลอด มนุษย์มนาเทวดาอินทร์พรหมยมยักษ์ทั่วไตรโลกธาตุ ไม่มีอะไร เป็นศัตรูในเวลานั้น ใจของพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ ทั้งหลาย เป็นใจที่เต็มไปด้วยเมตตาในสัตว์ไม่มีประมาณ อย่างนั้นแล ผู้มีเมตตา หลับแลตื่นย่อมเป็นสุข สิ่งที่ผุดขึ้น ในเวลานั้น เหมือนเป็นโอวาทสั่งสอนเราคนเดียว ปรากฏแว่ว ๆ ขึ้นมาในจิต ฟังได้คนเดียว รู้ได้คนเดียว ชัดถ้อยชัดคำและผุดขึ้น มากมาย แต่จำไม่ได้ทุกประโยค ยังรู้สึกเสียดายอยู่ไม่หายดังนี้ การอยู่ป่าอยู่เขาซึ่งเป็นที่เปลี่ยว ๆ สำหรับผู้มุ่งต่อธรรม อย่างยิ่งย่อมเกิดประโยชน์ผิดธรรมดาอยู่มาก ดังท่านอาจารย์องค์นี้ เล่าตอนจิตอ่อนโยนกับสัตว์เสือต่าง ๆ ไม่มีประมาณ คิดอยากไป ลูบคลำหลังและอวัยวะต่าง ๆ ของมันเล่นด้วยความสงสารนั้นผู้เขียนเชื่ออย่างเต็มใจเพราะเคยได้ประสบมากับตัวเอง ขณะที่เกิด ความกลัวมาก ๆ จนแทบตั้งตัวไม่อยู่ ได้พยายามใช้อุบายวิธีฝึก ทรมานตนเช่นเดียวกับท่าน จนจิตหายพยศ ปรากฏเป็นความ อาจหาญและอ่อนโยนด้วยเมตตาขึ้นมา สามารถเดินเข้าหาศัตรู ทุกชนิดได้โดยไม่มีความหวั่นเกรงใด ๆ เลย พอได้ยินท่านเล่าให้ฟัง ใจจึงรู้สึกซึ้งในความเป็นของท่านทันทีว่า ยังมีผู้ทำแบบป่า ๆ เถื่อน ๆ เช่นเราอยู่เหมือนกัน นึกว่าเป็นอะไรไปเฉพาะเราคนเดียว เพราะเป็นเรื่องที่พูดได้ยาก เนื่องจากเป็นเรื่องนอกบัญชีแห่ง ความนึกคิดของคนทั่วไปที่จะคิดกัน ธุดงค์ ๑๓ แต่ละข้อมีความหมายในการปราบปรามกิเลส ทุกประเภทได้อย่างอัศจรรย์ยากที่จะคาดให้ทั่วถึงได้ แต่ได้อธิบายไว้ ในประวัติท่านพระอาจารย์มั่นพอสมควรแล้ว ในปฏิปทาฯนี้จึงคิดว่า จะไม่ขออธิบายมากมายนัก ทั้งที่พระธุดงค์บรรดาที่เป็นศิษย์ท่าน ต่างดำเนินตามปฏิปทาสายของท่านเป็นประจำตลอดมา ธุดงค์ ๑๓ ข้อที่ได้อธิบายไว้ในประวัติของท่านพระอาจารย์มั่น ปรากฏว่ามี ดังนี้ถ้าจำไม่ลืม ข้ออยู่รุกขมูลร่มไม้ บิณฑบาตเป็นวัตร ฉันในบาตร ฉันหนเดียวในวันหนึ่ง ๆ ถือผ้าบังสุกุล ข้อไม่รับอาหารที่ตามส่ง ทีหลัง ที่อาจอธิบายซ้ำอีกบ้างก็เป็นเพียงเพิ่มเติมเล็กน้อย พอเขียนธุดงค์นี้จบลง ไปปรึกษาหมู่เพื่อนว่าจะไม่เขียนซ้ำ อีก เกรงว่าจะซ้ำกับที่เขียนไว้แล้วในประวัติท่านอาจารย์มั่น แต่ โดยมากมีความเห็นว่าอยากให้อธิบายธุดงค์ข้อที่เคยเขียนในประวัติ ท่านอาจารย์แล้วซ้ำอีก ทั้งนี้ไม่แน่ใจว่าท่านผู้อ่านทั้งหลายอาจจะ ไม่ได้รับหนังสือประวัติท่านอาจารย์มั่นโดยทั่วถึงก็เป็นได้ จะไม่มี โอกาสทราบว่าธุดงควัตรมีความสำคัญกับการปฏิบัติธรรมอย่างไรบ้างเลยจำต้องอธิบายไว้ในที่นี้ซ้ำอีกเล็กน้อย ขอความกรุณาท่านที่เคย ได้อ่านธุดงค์ในประวัติท่านพระอาจารย์มั่นมาแล้ว อย่าได้รำคาญ เพราะสำนวนซ้ำซาก โปรดคิดเสียว่าเพื่ออนุเคราะห์ท่านที่ยังไม่เคย ทราบเรื่องธุดงควัตร ๑๓ ข้อ จะพอมีทางทราบจากที่นี่บ้าง ธุดงค์ข้ออยู่รุกขมูลคือร่มไม้นี้ พระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญ มาก่อนธุดงค์ทั้งหลาย วันตรัสรู้ธรรมแดนโลกธาตุหวั่นไหวทั่ว ไตรภพ ก็ตรัสรู้ใต้ร่มไม้คือร่มพระศรีมหาโพธิ์ ที่พุทธบริษัทถือเป็น ไม้ศักดิ์สิทธิ์ เป็นคู่เคียงพระศาสนาและพระศาสดามาจนทุกวันนี้ เวลาปรินิพพานก็ทรงนิพพานใต้ร่มไม้คือนางรังทั้งคู่ ที่เรียกว่า รุกขมูลแห่งธุดงค์ข้อนี้ การอยู่ในกุฎีที่มุงที่บังมิดชิดปลอดภัยจาก อันตรายต่าง ๆ กับการอยู่ใต้ร่มไม้ มีความแตกต่างกันมาก ข้อนี้ จะทราบได้ชัดจากผู้ที่เคยอยู่ทั้งที่มุงที่บังคือกุฎีวิหาร ทั้งเคยอยู่ รุกขมูลคือร่มไม้เปลี่ยว ๆ มาแล้ว ใจจะรู้สึกและว้าเหว่ต่างกันมาก ยิ่งกุฎีในป่าเปลี่ยวและร่มไม้ในป่าเปลี่ยวที่เต็มไปด้วยสัตว์เสือด้วย แล้ว จะเห็นได้ชัดว่าระหว่างกุฎีกับร่มไม้มีความแปลกต่างกันอยู่มาก ผู้ที่อยู่กุฎีในป่าเปลี่ยวจะสนุกนั่งสนุกนอนมากกว่าจะสนุก ภาวนาเสียซ้ำ อย่างสบายหายระแวงต่าง ๆ ส่วนผู้ที่อยู่ใต้ร่มไม้ ในป่าเปลี่ยวปราศจากเครื่องอารักขา หาที่จะพอหลบซ่อนนั่งนอน ให้สบายมิได้ จำต้องระวังภัยอยู่ทุกอิริยาบถ สติกับจิตไม่มีเวลาจาก กันเพราะกลัวจะเสียท่าเวลามีอันตราย ซึ่งอาจเกิดได้ทุกอิริยาบถ ความสุขทุกข์ของการอยู่ในที่ต่างกันนั้นรู้สึกต่างกันมาก ผู้อยู่ใต้ ร่มไม้จะเป็นทุกข์มากแทบทุกด้าน แต่ทางสมาธิภาวนาสำหรับผู้มุ่ง ต่อธรรมแล้ว ผู้อยู่รุกขมูลร่มไม้มีทางเจริญมากกว่า เพราะอยู่ในท่า แห่งความเพียรทุกอิริยาบถ นอกจากเวลาหลับเท่านั้น ความระวังรักษาสติไม่ให้พรากจากใจเนื่องจากความกลัวภัยเป็นเหตุนั้น เป็น ประโยคแห่งความเพียรที่จะยังจิตให้เจริญทางสมาธิปัญญาได้ไม่มี ทางสงสัย ดังนั้นการอยู่รุกขมูลในป่าเปลี่ยวของนักรบผู้กล้าตาย จึงเป็นเหมือนเข้าสู่แนวรบในอิริยาบถ แม้จิตที่ไม่เคยสงบ ไม่เคย รู้ว่าสมาธิเป็นอย่างไร ปัญญาเป็นอย่างไรหรือมรรคผลนิพพาน เป็นอย่างไรก็ตาม เมื่อตั้งสติเข้าใกล้ชิดติดแนบกับใจ พยายามรักษา ไม่ให้พลั้งเผลอ จะบริกรรมภาวนาด้วยธรรมบทต่าง ๆ ก็เป็นภาวนา ขึ้นมาได้โดยถูกต้องด้วยสติ จะพิจารณาสภาวธรรมเพื่อความเห็น แจ้งทางปัญญา ก็เป็นปัญญาขึ้นมาได้ด้วยสติเครื่องควบคุม สติ จึงเป็นธรรมจำเป็นและสำคัญอย่างยิ่งเกี่ยวกับกิจการต่าง ๆ ทั้ง ภายนอกภายใน ผู้อยู่ในที่เปลี่ยวมีรุกขมูลเป็นต้นเป็นที่บำเพ็ญ จึงมีโอกาส ส่งเสริมความเพียรได้ดีกว่าที่ที่เห็นว่าปลอดภัยไร้กังวลทั้งหลายมีกุฎี เป็นต้น คุณสมบัติแห่งการอยู่รุกขมูลร่มไม้ทำให้ไม่นอนใจ มีสติอยู่ กับตัว อันเป็นทางเจริญแห่งสมาธิสมาบัติมรรคผลนิพพานโดย ลำดับ ไม่ชักช้าหรือมัวสงสัยอยู่เพราะความประมาทนอนใจ ผู้ที่เคย อยู่รุกขมูลในป่าเปลี่ยวมาจนเคยชินแล้ว ย่อมเป็นเหมือนผู้จัดเจนใน สงครามไม่สะทกสะท้านต่อข้าศึก อยู่ที่ไหนก็อยู่ได้ ผิดกับผู้ไม่เคย ฝึกหัดอยู่มาก ท่านอาจารย์มั่นท่านสรรเสริญการอยู่รุกขมูลอย่างถึงใจ และติดปากติดใจท่านตลอดมาจนอวสานแห่งชีวิต และเคยพูดเป็น เชิงเตือนสติพระลูกศิษย์ทั้งหลายให้สำนึกตัว เกิดความสนใจในการ อยู่รุกขมูลว่า พระเราถ้าอยากทราบเรื่องหยาบละเอียดของตัวและเชื่อความสามารถของตนว่าเป็นพระปฏิบัติเต็มภูมิหรือไม่ เพียงไร จงพากันไปอยู่รุกขมูลร่มไม้ในป่าเปลี่ยว ที่เต็มไปด้วย สัตว์เสือเป็นสิ่งเตือนใจ และทดลองความสามารถอาจหาญหรือ ความขี้ขลาดไม่เป็นท่าของตัว จนรู้ความลึกตื้นแห่งความหมายของ การอยู่รุกขมูลที่ทรงบัญญัติไว้ พอทราบความกลัวตามนิสัยดั้งเดิม และความกล้าที่เกิดจากความเพียรที่ตนชำระได้ ศีล สมาธิ ปัญญา ตลอดธรรมเบื้องสูงขึ้นไปเป็นขั้น ๆ ย่อมเจริญขึ้นตาม ๆ กัน และ รู้ประจักษ์ใจตัวเองเป็นระยะไป นั่นแลจะเห็นคุณของธุดงค์ข้อนี้ อย่างถึงใจ พระพุทธเจ้าและสาวกท่านทรงถือและถือธุดงค์ข้อนี้ เป็นคู่ กับชีวิตความเพียรไปตลอดสายไม่ทรงละเลย เพราะเป็นที่อยู่ของ บุคคลผู้ตื่นตัวตื่นใจไม่ประมาทนิ่งนอน ความเพียรด้านจิตใจท่านจึง เจริญและเจริญจนสุดขีดสุดแดน ไม่มีอะไรเทียบเท่าเสมอได้ในโลก ทั้งสาม จึงทรงบัญญัติไว้เพื่อเป็นกรุยหมายป้ายบอก ราวกับท่าน ตรัสว่า นี่น่ะทางเดินเพื่อพ้นภัยไร้ทุกข์ทั้งมวล เธอทั้งหลายมัว งุ่มง่ามต้วมเตี้ยมอยู่ทำอะไรกัน สถานที่นี้มิใช่สถานที่งุ่มง่ามทราม สติปัญญา แต่เป็นสถานที่ฟื้นฟูสติปัญญาความเพียรทุกด้านให้แก่ กล้าแหลมคม มา เราตถาคตจะพาไปไม่ชักช้า อย่ามัวพะรุงพะรัง แบกภาระหนักโดยสำคัญว่าตนมีกำลังสามารถอยู่เลย เวลา คับขันจะไม่มีอะไรติดตัว รีบแสวงหาชัยสมรภูมิที่บำเพ็ญ เหมาะ ๆ มีรุกขมูลเป็นต้น จิตจะได้บรรลุธรรมที่เหมาะกับ ใจ ไร้กิเลสกองทุกข์ทั้งหลายเสียได้ สถานที่เช่นนี้แลตถาคตปราบปรามกิเลสทั้งมวลให้หมอบ เสียได้ โน้นต้นพระศรีมหาโพธิ์อย่างไรล่ะ ที่เป็นเครื่องหมายมหาชัย
เอาบุญมาฝากจะถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ สักการะพระธาตุ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาทสร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ ให้อาหารสัตว์เป็นทานเป็นประจำ กรวดน้ำอุทิศบุญ อนุโมทนากับพ่อแม่ญาติพี่น้องที่รักษาศีล ฟังธรรม ให้ทาน อนุโมทนากับเพื่อนๆที่รักษาศีล ศึกษาการรักษาโรค ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ถวายสังฆทานมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ปิดทองพระ รักษาอาการป่วยของผู้อื่นกับผู้ร่วมงาน และที่ผ่านมาได้รักษาอาการป่วยของบิดามารดา ปล่อยชีวิตสัตว์มาโดยตลอด ถวายยาแก่ภิกษุ ขัดองค์พระ ถวายเทียน ให้ความรู้สมุนไพรเพื่อสุขภาพเป็นวิทยาทาน ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ทำบุญหลายอย่างมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ถวายสังฆทานและทำบุญสร้างอาคารผู้ป่วยและกฐินกับเพื่อนๆและให้อาหารเป็นทานแก่สรรพสัตว์กับเพื่อนๆและเพื่อนคนหนึ่งและบริวารของเพื่อนและครอบครัวของเพื่อนได้มีจิตเมตตาให้ทานและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือผู้อื่นอยู่ตลอดและเพื่อนได้เคยสวดมนต์เย็นกับคุณแม่และที่ผ่านมาได้ทำบุญสักการะพระธาตุทำบุญปิดทองชำระหนี้สงฆ์และไหว้พระและทำบุญตามกล่องรับบริจาคตามวัดต่างๆกับเพื่อนและตั้งใจว่าจะสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอให้อนุโมทนาบุญด้วย
ขอเชิญถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน สักการะพระธาตุ ฟังธรรม สวดมนต์ ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาท สร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย กรวดน้ำอุทิศบุญ ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สนทนาธรรม ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น รักษาอาการป่วยของผู้อื่น รักษาอาการป่วยของบิดามารดา ปิดทอง สักการะพระธาตุ กราบอดีตสังขารเจ้าอาวาสที่ไม่เน่าเปื่อย ที่วัดแจ้ง อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ปิดทองพระ ปล่อยชีวิตสัตว์ถวายยาแก่ภิกษุ ไหว้พระตามวัดต่างๆ ขัดองค์พระ ให้ความรู้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพเป็นทาน และสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอเชิญร่วมบุญกุศลร่วมกันนะ
|