หลายบทว่า อิเม เทฺว ธมฺมา พหูการา ความว่า ธรรม คือ สติ และ สัมปชัญญะ
๒ เหล่านี้ มีอุปการะ คือ นำประโยชน์เกื้อกูลมาให้ในที่ทั้งปวง เหมือนความไม่ประมาท
มีอุปการะในกิจทั้งหลายมีการบำเพ็ญศีลเป็นต้น ฉะนั้น. สติ ก็คือ สตินั่นเอง.
สัมปชัญญะ คือ ญาณ (ปัญญา)
หลายบทว่า สมโถ จ วิปสฺสนา จ ความว่า ธรรมอันเป็นโลกิยะ และโลกุตตระ ทั้ง ๒
เหล่านี้ ท่านกล่าวไว้ในสังคีติสูตร. สมถะ คือ สมาธิ. วิปัสสนา คือ ปัญญา.
นาม ได้แก่อรูปขันธ์ ๔ และนิพพาน ๑. อนึ่ง ขันธ์ ๔ ในบรรดาธรรมเหล่านั้น ก็ชื่อว่า
นาม แม้ด้วยอรรถว่า น้อมไป เพราะขันธ์เหล่านั้น ย่อมมุ่งหน้าน้อมไปในอารมณ์.
ขันธ์ ๔ ย่อมยังกันและกันให้น้อมไปในอารมณ์. นิพพานย่อมยังธรรมอันไม่มีโทษให้
น้อมไปในตน เพราะเป็นปัจจัยแห่งธรรมที่เป็นใหญ่ในอารมณ์.
คำว่ารูป หมายถึงมหาภูตรูป ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔. ทั้งหมดนั้นชื่อว่า รูป
เพราะอรรถว่า ต้องย่อยยับไป.
คำว่า อวิชฺชา ได้แก่ความไม่รู้ในสัจจะ มีทุกข์เป็นต้น. แม้เรื่องนี้ก็ได้กล่าวไว้โดย
ละเอียดแล้วในวิสุทธิมรรคเช่นกัน.
คำว่า ภวตณฺหา หมายถึงความปรารถนาภพ. สมดังที่ตรัสไว้ว่า "บรรดาตัณหาเหล่า
นั้น ภวตัณหา คืออะไร คือความพอใจความเป็นในภพทั้งหลาย" ดังนี้เป็นต้น.
คำว่า ภวทิฏฺฐิ ( นี้ ) ความเที่ยง ท่านเรียกว่า ภวะ คือ ทิฏฐิ ที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจความ
เห็นว่าเที่ยง แม้ทิฏฐินั้นท่านก็แถลงรายละเอียด ไว้แล้วในพระอภิธรรมโดยนัยเป็นต้น
ว่า "บรรดาทิฏฐิเหล่านั้น ภวทิฏฐิคืออะไร คือ ทิฏฐิ ได้แก่ความเห็นที่เกิดขึ้นว่า "ตนมี
โลกมี" ดังนี้.
คำว่าวิภวทิฏฺฐิ (นี้) ความขาดสูญ ท่านเรียกว่า วิภวะ คือทิฏฐิที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจเห็น
ว่าขาดสูญ แม้ที่นั้นท่านก็แถลงรายละเอียดไว้แล้วในพระอภิธรรมเช่นเดียวกันโดยนัย
เป็นต้นว่า "บรรดาทิฐิเหล่านั้น วิภวทิฏฐิ คือ อะไร คือ ทิฏฐิ ได้แก่ ความเห็นที่ว่า "ตน
ไม่มี โลกไม่มี" ดังนี้.
คำว่า โทวจสฺสตา มีบทอธิบายดังนี้ - การว่ากล่าวในบุคคลนี้ ผู้มักถือเอาแต่สิ่งน่า
รังเกียจ ติดใจในสิ่งที่เป็นข้าศึก ไม่เอื้อเฟื้อเชื่อฟัง เป็นการยาก ดังนั้น บุคคลผู้นี้จึงชื่อ
ทุพฺพโจ (ผู้ว่ายาก) การกระทำของบุคคลผู้ว่ายากนั้น ชื่อว่า โทวจสฺสํ, ภาวะของ
โทวจัสสะนั้น ชื่อว่า โทวจสฺสตา ภาวะแห่งการกระทำของผู้ว่ายาก - ความเป็นผู้ว่ายาก.
ความเป็นผู้ว่ายากนี้ รายละเอียดมีมาในพระอภิธรรมว่า "บรรดาธรรมเหล่านั้น
โทวจัสสตา คือ อะไร คือความเป็นผู้ว่ายากสอนยาก ในเมื่อเพื่อนสหธรรมิกกำลังว่า
กล่าวตักเตือนอยู่ โทวจัสสตานั้น โดยความหมาย ย่อมเป็นสังขารขันธ์ แต่บาง
ท่านกล่าวว่า คำนี้เป็นชื่อของขันธ์ทั้ง ๔ ที่เป็นไปโดยอาการเช่นนี้.
คำว่า ปาปมิตฺตตา มีบทอธิบายดังนี้ คนชั่วทั้งหลาย มีคนไร้ศรัทธาเป็นต้น เป็นมิตร
ของผู้นั้น ดังนั้น เขาจึงชื่อว่า ปาปมิตฺโต ภาวะแห่งปาปมิตตะนั้น ชื่อว่า ปาปมิตฺตตา
(ความเป็นผู้มีคนชั่วเป็นมิตร ). ความเป็นผู้มีคนชั่วเป็นมิตรนี้ รายละเอียดมีมาในพระ
อภิธรรม อย่างนี้ว่า "บรรดาธรรมเหล่านั้น ปาปมิตฺตตา คืออะไร ? คือ การคบหา
สมาคมส้องเสพ มั่วสุม จงรักภักดี ประพฤติคล้อยตามบุคคลผู้ไร้ศรัทธา ทุศีล ขาดการ
ศึกษา ตระหนี่ และไม่มีปัญญา"
แม้ปาปมิตตตานั้น โดยความหมาย ก็พึงทราบเช่นเดียวกับ โทวจัสสตา. ความเป็น
ผู้ว่าง่าย และความมีคนดีเป็นมิตร พึงทราบโดยนัยตรง กันข้ามจากที่กล่าวมาแล้ว.
คุณธรรมทั้ง ๒ ประการนี้ ในที่นี้ ท่านกล่าวระคนกันทั้งโลกิยะ และโลกุตตระ.
หลายบทว่า สตฺตานํ สงฺกิเลสาย สตฺตานํ วิสุทฺธิยา ความว่า อโยนิโสมนสิการ เป็น
เหตุ และเป็นปัจจัยเพื่อความเศร้าหมองแห่งสัตว์ทั้งหลาย โยนิโสมนสิการเป็นเหตุและ
เป็นปัจจัย เพื่อความหมดจดแห่งสัตว์ทั้งหลาย. เหมือนอย่างนั้นความเป็นผู้ว่ายาก
ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว ก็เป็นเหตุ เป็นปัจจัยเพื่อความเศร้าหมองแห่งสัตว์ทั้งหลาย ความ
เป็นผู้ว่าง่าย ความเป็นผู้มีกัลยาณมิตร ก็เป็นเหตุ เป็นปัจจัยเพื่อความหมดจด แห่ง
สัตว์ทั้งหลาย เหมือนกัน.
อกุศลมูล ๓ (โลภะ โทสะ โมหะ) กุศลมูล ๓ (อโลภะ อโทสะ อโมหะ) โยคะ ๔
วิสังโยคะ ๔ เจโตขีละ ๕ อินทรีย์ ๕ อคารวะ ๖ คารวะ ๖ อสัทธรรม ๗ สัทธรรม ๗
กุสีตวัตถุ ๘ อารัพภวัตถุ ๘ อาฆาตวัตถุ ๙ อาฆาตปฏิวินัย ๙ อกุศลกรรมบถ ๑๐ กุศล-
กรรมบถ ๑๐ ตกเป็นธรรมอย่างละ ๒ มีประเภทดังที่กล่าวมาเหล่านี้ บัณฑิต พึงทราบ
ว่า แทงตลอดได้ยาก
สองบทว่า สงฺขตา ธาตุ ความว่า ขันธ์ห้าอันปัจจัยทั้งหลาย กระทำแล้ว. สองบทว่า
อสงฺขตา ธาตุ ความว่า พระนิพพาน อันปัจจัยทั้งหลายมิได้กระทำ.
พึงทราบวินิจฉัยในสองบทนี้ว่าวิชฺชา จ วิมุตฺติ จ ดังต่อไปนี้ วิชชา ๓ ชื่อว่า วิชชา
อรหัตตผล ชื่อว่าวิมุตติ
คำว่า ขเย ญานํ ได้แก่ ญาณในอริยมรรค อันทำให้กิเลสสิ้นไป. คำว่า อนุปฺปเท
ญาณํ ได้แก่ญาณในอริยผล อันเป็นผลที่ยังไม่เกิดโดยปฏิสนธิ หรือที่เกิดขึ้นในที่สุด
แห่งความไม่เกิดขึ้นแห่งกิเลสที่มรรคนั้น ๆ ฆ่าได้แล้ว. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
คำว่า ขเย ญาณํ คือ ญาณของผู้พรั่งพร้อมด้วยมรรค. คำว่า อนุปฺปเท ญาณํ คือ ญาณ
ของผู้พรั่งพร้อมด้วยผล.
เอาบุญมาฝากจะถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ สักการะพระธาตุ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาทสร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ ให้อาหารสัตว์เป็นทานเป็นประจำ กรวดน้ำอุทิศบุญ อนุโมทนากับพ่อแม่ญาติพี่น้องที่รักษาศีล ฟังธรรม ให้ทาน อนุโมทนากับเพื่อนๆที่รักษาศีล ศึกษาการรักษาโรค ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ถวายสังฆทานมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ปิดทองพระ รักษาอาการป่วยของผู้อื่นกับผู้ร่วมงาน และที่ผ่านมาได้รักษาอาการป่วยของบิดามารดา ปล่อยชีวิตสัตว์มาโดยตลอด ถวายยาแก่ภิกษุ ขัดองค์พระ ถวายเทียน ให้ความรู้สมุนไพรเพื่อสุขภาพเป็นวิทยาทาน ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ทำบุญหลายอย่างมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ถวายสังฆทานและทำบุญสร้างอาคารผู้ป่วยและกฐินกับเพื่อนๆและให้อาหารเป็นทานแก่สรรพสัตว์กับเพื่อนๆและเพื่อนคนหนึ่งและบริวารของเพื่อนและครอบครัวของเพื่อนได้มีจิตเมตตาให้ทานและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือผู้อื่นอยู่ตลอดและเพื่อนได้เคยสวดมนต์เย็นกับคุณแม่และที่ผ่านมาได้ทำบุญสักการะพระธาตุทำบุญปิดทองชำระหนี้สงฆ์และไหว้พระและทำบุญตามกล่องรับบริจาคตามวัดต่างๆกับเพื่อนและตั้งใจว่าจะสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอให้อนุโมทนาบุญด้วย
ขอเชิญถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน สักการะพระธาตุ ฟังธรรม สวดมนต์ ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาท สร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย กรวดน้ำอุทิศบุญ ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สนทนาธรรม ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น รักษาอาการป่วยของผู้อื่น รักษาอาการป่วยของบิดามารดา ปิดทอง สักการะพระธาตุ กราบอดีตสังขารเจ้าอาวาสที่ไม่เน่าเปื่อย ที่วัดแจ้ง อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ปิดทองพระ ปล่อยชีวิตสัตว์ถวายยาแก่ภิกษุ ไหว้พระตามวัดต่างๆ ขัดองค์พระ ให้ความรู้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพเป็นทาน และสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอเชิญร่วมบุญกุศลร่วมกันนะ
|