นวรัตน์ดอทคอม

รวบรวมสาระความรู้เกี่ยวกับวัตถุมงคล-เครื่องรางของขลัง

  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
วันเวลาปัจจุบัน พฤหัสฯ. 16 ม.ค. 2025 11:48 am

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


Switch to mobile style


โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 
เจ้าของ ข้อความ
 หัวข้อกระทู้: เรื่องราว
โพสต์โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. 05 ก.ค. 2012 9:08 am 
ออฟไลน์

ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 07 มิ.ย. 2009 7:24 pm
โพสต์: 4804
ข้ามทะเลเด็ดเดี่ยว

ระหว่างที่พระมหาชนกแล่นสำเภาไปกลางทะเลนั้นเอง
เรือสำเภาก็อับปางลงเพราะลมมรสุมซัดกระหน่ำจนพ่อค้าและผู้คนเกือบพันคน
กลายเป็นเหยื่อของสัตว์ทะเลและจมน้ำตายกันไปสิ้น

ตลอด ๗ วัน พระมหาชนกก็พยายามว่ายน้ำอยู่กลางทะเลมุ่งสู่เมืองมิถิลา
โดยอธิษฐานอุโบสถไปด้วย นางมณีเมขลาเทพธิดารักษามหาสมุทรจึงมา
ปรากฎกายกลางอากาศ แล้วถามพระมหาชนกว่า

"ท่านอาจจะตายเสียแน่แท้ที่มัวว่ายน้ำในทะเลลึกทั้ง ๆ ที่มองไม่เห็นฝั่งอย่างนี้"

พระมหาชนิกตรัสว่า

"เราพากเพียรเช่นนี้ แม้ตายก็มิถูกติเตียนได้
การไม่รักษาชีวิตไว้อย่างพากเพียรก็เท่ากับว่าเป็นคนเกียจคร้าน"

นางมณีเมขลาจึงพาพระมหาชนกเหาะลอยไปยังอุทยานของพระเจ้าโปลชนก

เจ้าหญิงลองพระปัญญา

ในขณะนั้นพระเจ้าโปลชนกทรงพระประชวรและสวรรคตไปแล้ว ๗ วัน
พระราชธิดาทรงหาคู่ครองมาอภิเษก
เพื่อครองราชสมบัติตามคำรับสั่งของพระราชบิดา
โดยทรงปรึกษากับราชปุโรหิตแล้วให้เซ่นสรวงเทพยดา
เพื่อเสี่ยงราชรถตามพระประเพณีโบราณ หากราชรถไปเกยที่ผู้ใด
ผู้นั้นก็มีบุญพอจะขึ้นครองเมืองได้

ครั้นเมื่อเทียมรถม้ามงคลแล้ว
ม้าก็วิ่งออกจากพระราชวังไปยังอุทยานของนคร
รถม้าเข้าไปแล่นวนรอบพระมหาชนก ๓ รอบ
แล้วก็หยุดอยู่ที่ปลายเท้าของพระองค์ซึ่งบรรทมอยู่ ณ ที่นั้น

พระราชปุโรหิตจึงสั่งให้ประโคมดนตรีอึกทึก
พระมหาชนกตื่นบรรทมขึ้นมาดูจึงรู้ว่าคงถึงเวลาแห่งการครองบัลลังก์แล้ว
และมิได้ทรงแตกตื่นตกพระทัยแต่อย่างใด
พระราชปุโรหิตจึงทูลเชิญไปครองเมือง
พระมหาชนกจึงตรัสถามว่า
เหตุใดจึงมาให้พระองค์ไปครองเมืองแล้วพระราชาของนครไปไหนเสียแล้ว

"พระราชาได้เสด็จสวรรคตแล้วพระเจ้าข้า"

"แล้วพระราชาไม่มีราชโอรสเลยรึ"

"ขอเดชะ มีเพียงพระราชธิดาองค์เดียวพระเจ้าข้า"

เมื่อได้ฟังดังนั้น
พระมหาชนกจึงทรงรับสั่งว่าจะยินยอมรับราชสมบัติ
ราชปุโรหิตจึงถวายเครื่องทรงและทำพิธีเถลิงราชสมบัติ
ณ อุทยานนั้นเอง

ครั้นเข้าสู่พระราชมณเฑียรแล้ว พระราชธิดาคิดลองพระทัย
จึงทรงวางอุบายให้ราชบุรุษผู้หนึ่งทูลพระมหาชนกว่า
มีรับสั่งจากพระราชธิดาให้เข้าเฝ้า
พระมหาชนกก็ยังคงดำเนินชมปราสาทหาได้ใส่พระทัยไม่
จนเมื่อชมปราสาทพอพระทัยแล้วจึงเสด็จขึ้นตำหนักหลวง
พระราชธิดาถึงกับเสด็จออกมารับและยื่นพระหัตถ์ให้พระมหาชนก
ทรงสัมผัสอีกด้วยความเกรงพระบรมเดชานุภาพ
และพระบารมีอันสง่างามยิ่งนัก

เมื่อเข้าประทับแล้ว พระมหาชนกทรงตรัสถามราชปุโรหิตว่า
"ก่อนเสด็จสวรรคต พระราชาของท่านมีรับสั่งอย่างไรบ้าง"

"ขอเดชะ พระราชาทรงรับสั่งไว้ว่า
ถ้าผู้ใดสามารถทำให้เจ้าหญิงสวิลีปีติได้ก็ให้มอบนครให้คนผู้นั้น
ข้อต่อมาคือผู้ใดรู้จักด้านศีรษะและด้านเท้าของบัลลังก์ ๔ เหลี่ยม
จึงจะครองบัลลังก์ได้
ข้อต่อมาคือผู้นั้นต้องโก่งคันธนูของเมืองได้
และข้อสุดท้ายคือผู้นั้นต้องค้นหาขุมทรัพย์ ๑๖ แห่งให้จงได้"

ซึ่งรับสั่งเหล่านี้นั้น
เจ้าหญิงสิวลีพระราชธิดาได้ทรงคัดเลือกอำมาตย์
และเสนาบดีหนุ่มมาหลายคนแล้ว
เมื่อทรงตรัสให้ผู้ใดเข้าเฝ้า คนผู้นั้นก็ทำตาม
รับสั่งให้มานวดเท้า คนผู้นั้นก็มานวด
เจ้าหญิงจึงทรงขับไล่ออกไปจนสิ้นด้วยเคืองพิโรธว่า
คนเหล่านั้นไร้ปัญญาบารมีอันมิควรจะครองราชย์ได้

ราชปุโรหิตทูลต่อพระมหาชนกว่า
ข้อแรกนั้นพระราชธิดาทรงยื่นพระหัตถ์ให้พระมหาชนกแล้ว
ก็หมายความว่าทรงปิติยินดีแล้ว
แต่ยังมีข้อให้หาด้านศีรษะและเท้าของบัลลังก์อีกด้วย

พระมหาชนกจึงทรงถอดปิ่นทองคำจากพระเศียรส่งให้พระราชธิดา
ซึ่งพระนางก็ทรงเปี่ยมด้วยพระปัญญาจึงได้นำปิ่นทองคำไว้
ด้านหนึ่งของบัลลังก์

"ด้านนั้นแหละคือด้านศีรษะของบัลลังก์"

พระมหาชนกจึงทรงตรัสได้ถูกต้อง จากนั้นทรงยกธนูเมืองอันมีน้ำหนักถึง
๑ พันคนจึงจะยกได้ ทว่าพระองค์ทรงยกอย่างเบาราวกงดีดฝ้ายของสตรี
และก็ทรงโก่งคันธนูน้าวสายธนูได้ด้วยพละกำลังดั่งพญาคชสาร

ครั้งถึงข้อที่ให้ค้นหาขุมทรัพย์ ๑๖ แห่ง
พระมหาชนกจึงทรงตรัสถามถึงปริศนาของขุมทรัพย์แรก
ราชปุโรหิตทูลว่า

"ขอเดชะ ขุมทรัพย์ที่ ๑
อยู่ทางทิศตะวันขึ้นพระเจ้าข้า
พวกข้าพระองค์เคยลองขุดหาทางทิศตะวันออกที่ดวงอาทิตย์ขึ้นแล้ว
แต่ไม่พบทรัพย์ใดเลย"

"พวกท่านจงไปขุดยังที่ที่ซึ่งพระราชาของท่านยืนประทับรอพระปัจเจกโพธิ
ที่พระราชานิมนต์มารับอาหารบิณฑบาตในทุก ๆ รุ่งเช้านั้นเถิด"

พวกอำมาตย์ราชวัลลภพากันไปขุด ณ จุดนั้น
ก็ปรากฎว่า พบขุมทรัพย์ที่หนึ่งสมจริงดั่งรับสั่งของพระมหาชนก
ยังความอัศจรรย์ใจแก่เหล่าอำมาตย์
จนพากันมาทูลถามพระมหาชนกถึงความนัยของปริศนานั้น

พระมหาชนกตรัสว่า พระปัจเจกโพธิเปรียบดั่งตะวัน
พระราชายืนคอย ณ ที่ใด ที่นั้นก็คือขุมทรัพย์ตะวันขึ้น
ดังนั้นปริศนาข้อต่อไปที่ว่าขุมทรัพย์ที่ตะวันอัศดง
ก็คือจุดที่พระปัจเจกโพธิรับทานแล้วจะเสด็จกลับทางนั้น

บรรดาอำมาตย์จึงพากันไปขุดหาทางท้ายพระราชมณเฑียร
ก็ปรากฎว่าพบขุมทรัพย์ที่ ๒ อีก

สำหรับปริศนาข้อต่อไปที่ว่า "ขุมทรัพย์ภายใน" นั้น
พระมหาชนกทรงรับสั่งให้ไปขุดที่ใต้ธรณีประตูพระราชฐาน

"ขุมทรัพย์ไม่ใช่ภายในไม่ใช่ภายนอก" ก็ให้ขุดที่ใต้ธรณีนอกประตูพระราชฐาน

"ขุมทรัพย์ไม่ใช่ภายในไม่ใช่ภายนอก" ก็ให้ขุดที่เกยทองสำหรับขึ้น-ลงประทับมงคลหัตถี

"ขุมทรัพย์ในที่ขึ้น" ก็ให้ขุดหน้าประตูพระนิเวศ

"ขุมทรัพย์ขาลง" ให้ขุดที่หน้าเกยยามพระราชาขึ้น-ลงคอช้างหน้าชาลา

"ขุมทรัพย์ระหว่างไม้รังทั้ง ๔" ก็ให้ขุดที่ทวารทั้ง ๔ ซึ่งพระแท่นทำด้วยไม้รัง

"ขุมทรัพย์รอบ ๑ โยชน์" ให้ขุดที่ห่างจากแท่นบรรทมช้างละ ๔ ศอกทั้ง ๔ ทิศ

"ขุมทรัพย์ที่ปลายงา" ให้ขุดที่โรงคชสารตรงที่งาของพญาเศวตกุญชรจรดปลายงาลงดิน

เสวยราชย์-พบสัจธรรมชีวิต

เมื่อทรงไขปริศนาได้ทั้งสิ้น บรรดาเสนาอำมาตย์และไพร่ฟ้า
ข้าแผ่นดินต่างก็พากันโห่ร้องกันกึกก้องทั่วพระนคร
คำสรรเสริญเอกเกริกต่างเทอดทูนพระปัญญาบารมีของพระมหาชนก
ที่ไขปริศนาจนพบขุมทรัพย์ทั้งปวงของพระราชา
ต่างก็ยินดีปรีดาแซ่ซ้องถึงพระราชาองค์ใหม่ผู้เป็นปราชญ์อัจฉริยะกันเลื่องลือไป

หลังจากนั้นพราหมณ์มหาชนกจึงทรงมีรับสั่งให้ตั้งโรงทาน ๖ แห่ง ที่กลางนคร
ประตูนคร และประตูรอบนคร ๔ ทิศเพื่อบริจาคทรัพย์ทรงโปรดให้เชิญพระมารดา
และพราหมณ์ทิศาปาโมกข์สู่นคร ทรงทำสักการะสมโภชน์และประกาศความจริงว่า
พระองค์คือพระราชโอรสของพระเจ้าอริฏฐชนกในพิธีเถลิงถวัลย์ราชย์นั้นเอง

ครั้งนี้พระมหาชนกทรงรำลึกถึงความพากเพียรของพระองค์
ที่ทรงพยายามว่ายน้ำกลางมหาสมุทรจึงได้พบความสำเร็จดังนี้
ทรงโสมนัสและตระหนักว่าคนเราพึงหมั่นเพียรพยายามโดยสุดกำลัง
เพื่อให้ลุล่วงสำเร็จดั่งมุ่งหวังไว้

จากนั้นพระมหาชนกทรงครองราชย์โดยทศพิธราชธรรม
เสนาและไพร่พลเมืองต่างก็เป็นสุขกันถ้วนหน้า
จนกระทั่งเจ้าหญิงสิวลีประสูติพระราชโอรสทรงพระนามว่า ทีฆาวุราชกุมาร
และพระมหาชนกทรงพระราชทานตำแหน่งอุปราชให้เมื่อพระโอรสเจริญวัยแล้ว

คราวหนึ่ง พระมหาชนกทรงช้างเสด็จประพาสอุทยาน ทรงเห็นต้นมะม่วง ๒ ต้น
ที่ประตูอุทยาน ต้นหนึ่งมีผลดกเต็มต้น อีกต้นหนึ่งไม่มีผล

พระมหาชนกทรงเก็บมะม่วงจากต้นผลดกมาเสวยแล้วเข้าไปในอุทยาน
ครั้นกลับออกมาก็พบว่ามะม่วงต้นดกนั้นกิ่งก้านหักโค่นใบร่วงหมดสิ้น
มะม่วงแม้แต่ผลเดียวก็มิเหลือ บรรดาอำมาตย์จึงกราบทูลว่า
พสกนิกรต่างก็มาเก็บมะม่วงจากต้นนี้ด้วยเพราะเป็นต้นที่พระราชาเก็บเสวย
จึงได้เข้ายื้อแย่งเก็บไปเป็นมงคลจนสภาพของต้นมะม่วงแหลกราญดังนี้เอง

พระมหาชนกทอดพระเนตรดูมะม่วงต้นที่ไม่มีผล
ซึ่งยังคงยืนตั้งอยู่อย่างมั่นคงดุจผาแก้วโดยมิบอบช้ำยับเยิน
บัดนั้นเองจึงทรงดำริว่า
ต้นมะม่วงที่มีผลก็เปรียบดั่งราชสมบัติซึ่งจะทำลายตัวเอง
หากไม่มีผลก็ไม่มีภัย การละสมบัติออกบวชก็เปรียบดั่งต้นไม้ที่ไร้ผลซึ่งย่อมไร้ภัย

ครั้นเสด็จกลับพระราชวัง พระมหาชนกจึงทรงมีดำรัสว่า
"เราจะเจริญสมณธรรมในตำหนักนับแต่นี้ไป
ขอให้พวกท่านรักษาราชกิจตามแต่เห็นควร
ผู้ใดจะเข้ามาในตำหนักเราก็เพื่อนำอาหารมาเท่านั้น"

ทรงละกิเลสกลางราชวัง

เวลาต่อมาพระมหาชนกก็ทรงบำเพ็ญสมณธรรมสงบอยู่ในปราสาท
มิได้ออกเสด็จมางานมหรสพใดอีกเลยจำนเป็นที่ร่ำลือกันทั่วไปทั้งนคร
พระมหาชนกมีพระทัยน้อมนำไปทางออกบรรพชา
ทรงครุ่นคิดอยู่ในพระทัยว่า

"เมื่อใดหนอ เราจึงจะได้พบพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งปวงผู้ซึ่งตัดโลกละกิเลสได้แล้ว
เมื่อใดหนอเราจักได้ออกบวช อุ้มบาตร ถือเพศสมณแสวงธรรมอยู่ลำพังในป่า"

ด้วยพระทัยที่มุ่งในทางธรรมยิ่งนัก วันหนึ่งพระองค์ทรงรับสั่งให้กัลบกมาชำระ
พระเกศาและปลงพระมัสสุ ให้อำมาตย์จัดบาตรดินและผ้ากาสาวพัสตร์มาถวาย
จากนั้นพระองค์ก็ทรงครองผ้ากาสาวพัสตร์ นุ่งห่มเกล้าผมดั่งนักบวช
เสด็จจงกรมในปราสาทด้วยพุทธลีลาแลเปล่งพระวาจาว่า

"การบวชนี้เป็นสุขจริงหนอ"

ยามนั้นอัครมเหสีเจ้าหญิงสิวลีได้รับสั่งให้สนม ๖๐๐ กว่านาง
จัดแต่งเครื่องประดับงดงามเพื่อพากันไปเข้าเฝ้า
พระราชาซึ่งจำศีลนานเกือบ ๖ เดือนแล้ว
ครั้นพบว่าพระราชามหาชนกเสด็จออกบวชก็ทรงกันแสงปิ่มจะวายชนม์
พระนางทรงวางอุบายจุดไฟเผาศาลาเก่า
แล้วให้อำมาตย์ไปทูลเชิญเสด็จกลับด้วยว่าพระราชวังไฟไหม้แล้ว

หากทว่าพระมหาชนกก็มิทรงเสด็จกลับ พระนางสิวลีและไพร่ฟ้า
เสนาอำมาตย์จึงพากันออกตามเสด็จ
พระมหาชนกจึงทรงเอาไม้ขีดเป็นเส้นบนพื้นแล้วตรัสว่า

"หากผู้ใดลบรอยเส้นนี้ได้ ก็จึงจะตามเราไปได้"

แต่เส้นนั้นมิอาจมีผู้ใดกล้าลบได้ ด้วยเกรงจะเป็นการละเมิดพระอาญาสิทธิ์
พระมเหสีก็ได้แต่กันแสงกลิ้งเกลือกด้วยอาดูรยิ่งนัก
เมื่อพระนางกลิ้งเกลือกร่ำไห้นั้น เส้นที่ขีดขวางอยู่ก็ลบหายไป
คนทั้งปวงจึงพากันติดตามไปอีก

ยามนั้นพระดาบสนาม นารทะ เห็นด้วยตาทิพย์ว่า
พระมหาชนกต้านแรงมหาชนไม่ได้
จึงมาปรากฏและปลอบให้พระองค์รักษาศีลและพรหมวิหารธรรม ๔ อย่างมุ่งมั่น
เพื่อให้การออกบวชลุล่วงดังประสงค์

พระฤาษีนาม มิคาชินะ ก็มาถวายโอวาทให้พระองค์ไม่ประมาทเพื่อความสำเร็จ
พระมหาชนกจึงทรงตั้งพระทัยมั่นไม่อ่อนไหวไปกับการยับยั้งของพระมเหสี

ข่มพระทัยตัดเยื่อใย มุ่งมั่นบรรพชา


เมื่อพระมหาชนกเสด็จถึงถุนันนคร
พบสุนัขที่คาบเนื้อมาจากแผงเร่ที่พ่อค้าขายเนื้อเผลอ
แต่สุนัขวิ่งหนีมาทางพระมหาชนกจึงตกใจทิ้งก้อนเนื้อไว้
พระมหาชนกจึงเก็บก้อนเนื้อชิ้นนั้นมาปัดทำความสะอาดแล้วใส่ลงในบาตร
ครั้นพระมเหสีทูลตำหนิด้วยความสังเวช พระองค์ก็ทรงตรัสว่า
เนื้อชิ้นนี้สุนัขละทิ้งแล้วถือว่าชอบธรรมแล้วที่จะทรงบริโภคสิ่งของที่ไร้เจ้าของ

ต่อมาพระมหาชนกทอดพระเนตรดูเด็กหญิงที่วิ่งเล่นกันอยู่ใกล้ประตูนคร
เด็กผู้หญิงตัวน้อยสวมกำไลมือ ๑ วง อีกมือหนึ่งสวมกำไล ๒ วงกระทบกันดังไพเราะ
ทรงตรัสถามว่าทำไมกำไลหนึ่งไม่มีเสียงแต่อีกข้างหนึ่งมีเสียง

กุมารีน้อยทูลตอบว่า
"ก็ข้างหนึ่งมีวงเดียวจึงไม่มีเสียง อีกข้าหนึ่งมี ๒ วงจึงกระทบกันเกิดเสียงไงเล่า"

พระมหาชนกสดับดังนั้นก็ทรงตรัสกับพระมเหสีว่า
"ดูกร น้องหญิง เราเป็นเพศบรรพาชิตแล้ว
หากมีท่านติดตามไปด้วยย่อมเป็นเหตุแห่งคำนินทาให้พรหมจรรย์มัวหมอง
ขอให้ท่านแยกเดินคนละทางเถิด และอย่าเรียกอาตมาเป็นพระสวามีอีกเลย"

พระอัครมเหสีทรงเสียพระทัยยอมแยกทางไป
แต่ไม่นานพระนางก็เสด็จตามอีกด้วยว่าตัดพระทัยไม่ได้

พระมหาชนกจึงทรงให้พระนางดูช่างทำลูกศรที่ข้างทาง
ช่างนั้นเล็งได้คัดลูกศรด้วยตาข้างเดียว
ด้วยเพราะถ้าเล็ง ๒ ตา ก็จะพร่ามัวมองไม่ชัดแจ้ง
หากเล็งตาเดียวจึงจะเห็นชัดแจ้ง ซึ่งเปรียบดั่งพระองค์กับพระนาง
ซึ่งประพฤติน่าครหายิ่งนัก ขอให้แยกทางกันบัดนี้เถิด

พระนางสิวลีโทมนัสจนร่ำไห้สิ้นสติไป
ครั้นบรรดาอำมาตย์และสนมดูแลพยาบาลให้พระนางฟื้นขึ้นมา
พระนางก็ทรงอาดูรเมื่อพระมหาชนกเสด็จจากไปแล้ว
จึงทรงโปรดให้สถาปนาพระเจดีย์
ณ ที่พระมหาชนกประทับยืนก่อนเสด็จจากไปนั้น
ให้บูชาด้วยเครื่องหอมนานาก่อนเสด็จกลับนครมิถิลา

จากนั้นพระนางทรงอภิเษกพระทีฆาวุให้ขึ้นครองราชย์
แล้วพระนางก็ทรงออกบวชบำเพ็ญตนเป็นดาบสินี
ประทับ ณ อุทยานจนทรงบรรลุฌาณ ด้วยดำริว่า
พระสวามียังมิอาลัยใยดีต่อราชสมบัติทั้งมวลแล้ว
พระนางยังจะอาลัยอยู่ใย
พระมเหสีทรงบำเพ็ญพรตตลอดพระชนมายุของพระนาง

มหาชนกชาดกนี้มีคติธรรมว่า
เกิดเป็นคนควรมีความพากเพียร
ให้ถึงที่สุด เพื่อให้ถึงแก่สิ่งที่มุ่งหวัง
เพียรสุดกำลังจนชีวิตหาไม่ก็จงเพียรแล้วความสำเร็จจะมาเยือน


ทศชาติที่ ๓ พระสุวรรณสาม...

รายละเอียด : พ่อแม่ในครอบครัวพราน

เมื่อครั้นอดีตกาลนานมาแล้ว
มีนายพรานผู้หนึ่งตั้งบ้านเรือนอยู่ริมฝั่งแม่น้ำทางตอนใต้ของเมืองพาราณสี
ซึ่งเป็นละแวกหมู่บ้านนายพราน

ฝั่งตรงกันข้ามแม่น้ำก็มีนายพรานอีกหลัง ซึ่งเป็นเพื่อนสนิท
รักใคร่ชอบพอกันดีกับนายพรานฝั่งนี้
ทั้งสองสัญญากันว่าหากมีลูกสาวกับลูกชายก็จะให้แต่งงานกัน
ซึ่งในไม่ช้าภรรยาของทั้งสองนายพรานก็ตั้งครรภ์ในเวลาไล่เรี่ยกัน
นายพรานทั้งสองบ้านยิ่งปีตินักเมื่อนายพรานฝั่งนี้ได้บุตรชาย
และให้ชื่อว่า ทุกูลกุมาร ส่วนบ้านฝั่งโน้นได้บุตรีมีชื่อว่า ปาริกากุมารี

ทั้งสองลูกนายพรานนี้นับว่ามีนิสัยใจคอแตกต่างผิดจากบุพการียิ่งนัก
แม้เกิดในหมู่บ้านนายพราน หากทว่าเด็กทั้งคู่กลับมินำพาในการล่าสัตว์ล่าเนื้อ
ทุกูลและปาริกาต่างก็มีน้ำใจเมตตาปรานี มิยอมให้ผู้คนฆ่าสัตว์ตัดชีวิต
เมื่อเห็นสภาพสัตว์ที่ถูกทำร้ายก็จะพากันสลดหดหู่ใจเป็นยิ่งนัก


ครั้นเมื่อเด็กทั้งสองเติบโตจนมีอายุได้ ๑๖ ปี บิดามารดาของทั้งสองก็จัดงาน
แต่งงานให้ทุกูลและปาริกา และก็อบรมสั่งสอนวิชาพรานให้แก่คนทั้งสอง
เพื่อจะได้ล่าสัตว์ยังชีพสืบต่อไปได้

"ท่านพ่อ ลูกไม่อยากเรียนวิชาฆ่าสัตว์ ยิงธนู ล่าเนื้อ
ลูกไม่อยากทำลายชีวิตอื่นแล้วเอามาเลี้ยงชีวิตเราขอรับ"
ทุกูลกุมารบอกกับพ่ออย่างมุ่งมั่นด้วยจิตใจอันอ่อนโยน
พรานผู้พ่อไม่เข้าใจจึงว่า

"แล้วเจ้าจะทำมาหากินอย่างไร ในเมื่อเจ้าก็เกิดมาอยู่ในบ้านพรานเช่นนี้
ถ้าคิดรังเกียจการล่าสัตว์ล่าเนื้อ ก็คงต้องไปเดินทางสายอื่นของเจ้า"

"ถ้าเช่นนั้น ลูกก็ขอไปออกบวชขอรับท่านพ่อ"

นับแต่นั้น ทุกูลและปาริกาก็ชวนกันออกจากบ้านนายพรานไปอยู่ที่ลุ่มแม่น้ำมิคสัมมตา
บำเพ็ญพรตอยู่ในป่าอย่างสงบสุข

กำเนิดในป่า เลี้ยงบิดามารดาฤาษี

ยามนั้นพระอินทร์บนสรวงสวรรค์คิดช่วยเหลือคนทั้งสอง
จึงให้พระวิษณุกรรมลงมาเนรมิตรบรรณศาลาให้
และพระอินทร์ยังทรงห่วงภายหน้าว่า
คนทั้งสองจะต้องเสียดวงตาด้วยผลกรรมเก่าแล้ว
ถ้าไม่มีผู้ปรนนิบัติดูแลคนทั้งสองจะอยู่ได้สะดวกสบายอย่างไร
ดังนั้นพระอินทร์จึงจำแลงกายไปหาทุกูลและปาริกา
แนะวิธีที่จะให้ทั้งสองมีบุตรได้โดยไม่ต้องยุ่งเกี่ยวกันทางกามารมณ์

"เมื่อถึงวาระที่ภรรยาของท่านมีระดู
ท่านจงเอามือของท่านลูบท้องของนาง ๓ ครั้ง
แล้วนางก็จะตั้งครรภ์ได้"

เมื่อทุกูลกระทำตามเช่นนั้น ในไม่ช้าปาริกาก็ตั้งครรภ์
และคลอดบุตรชายผิพรรณงามดั่งทอง
จึงขนานนามว่า "สุวรรณสาม"
ซึ่งเป็นเด็กที่มีจิตใจอ่อนโยนอาทรและ
มีความประพฤติดีงามเหมือนบิดามารดา

ด้วยความที่มีบุญญาและความเมตตาปรานี
ยามบิดามารดาออกไปหาผลไม้ในป่า
เด็กชายสุวรรณสามก็จะมีเพื่อนเล่นเป็นพวกกินรี
และสัตว์ป่าทั้งหลายที่มาแวดล้อมชิดใกล้มิได้ทำอันตรายใด ๆ

เมื่อสุวรรณสามเจริญวัยได้ ๑๖ ปีแล้ว
ก็ไม่อยากให้บิดามารดาต้องลำบากออกไปเก็บผลหมากรากไม้ตามลำพัง
จึงแอบสะกดรอยตามไปจนล่วงรู้เส้นทางดีว่าจะต้องไปหายังหนแห่งใดบ้าง
จนกระทั่งวันหนึ่งขณะที่ทุกูลและปาริกาเข้าป่าไปหาผลหมากรากไม้
ก็ประสบพายุลมฝนพัดกระหน่ำจนต้องเข้าไปหลบพายุใต้ร่มไม้เหนือจอมปลวก
ซึ่งเป็นที่อยู่ของงูเห่ามีพิษร้าย

งูเห่านั้นเมื่อถูกบุกรุกก็โกรธ จึงพ่นพิษงูออกมาใส่ดวงตาของทุกูล
และปาริกาจนดวงตามืดบอดมองอะไรไม่เห็น

อันผลกรรมเก่านี้เนื่องเพราะในชาติปางก่อน
ทุกูลเป็นแพทย์ที่รักษาตาให้เศรษฐีแล้วมิได้ค่ารักษา
ปาริกาผู้ภรรยาจึงโกรธและให้เอายาป้ายตาให้บอดเสีย
บาปนี้จึงติดตามมาสนองในชาตินี้

ฝ่ายสุวรรณสามเห็นบิดามารดาหายไปนานจนเย็นย่ำแล้ว
จึงออกจากบรรณศาลาไปตามหา เมื่อพบว่าบิดามารดาถูกพิษงูตามืดบอด
สุวรรณสามก็ร้องไห้แล้วก็หัวเราะออกมา

"ลูกหัวเราะเรื่องนี้ทำไมรึ" บิดามารดาถามอย่างไม่เข้าใจ

"ก็ลูกจะได้ปรนนิบัติดูแลพ่อแม่สักทีไงเล่า
ที่ร้องไห้นั้นด้วยเพราะเสียใจกับเคราะห์กรรมของพ่อแม่
แต่ดีใจยิ่งนักที่จะได้รับใช้พ่อแม่สืบไป"

ปรนนิบัติอย่างงดงาม


เอาบุญมาฝากจะถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ สักการะพระธาตุ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาทสร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ ให้อาหารสัตว์เป็นทานเป็นประจำ กรวดน้ำอุทิศบุญ อนุโมทนากับพ่อแม่ญาติพี่น้องที่รักษาศีล ฟังธรรม ให้ทาน อนุโมทนากับเพื่อนๆที่รักษาศีล ศึกษาการรักษาโรค ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ถวายสังฆทานมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ปิดทองพระ รักษาอาการป่วยของผู้อื่นกับผู้ร่วมงาน และที่ผ่านมาได้รักษาอาการป่วยของบิดามารดา ปล่อยชีวิตสัตว์มาโดยตลอด ถวายยาแก่ภิกษุ ขัดองค์พระ ถวายเทียน ให้ความรู้สมุนไพรเพื่อสุขภาพเป็นวิทยาทาน ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ทำบุญหลายอย่างมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ถวายสังฆทานและทำบุญสร้างอาคารผู้ป่วยและกฐินกับเพื่อนๆและให้อาหารเป็นทานแก่สรรพสัตว์กับเพื่อนๆและเพื่อนคนหนึ่งและบริวารของเพื่อนและครอบครัวของเพื่อนได้มีจิตเมตตาให้ทานและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือผู้อื่นอยู่ตลอดและเพื่อนได้เคยสวดมนต์เย็นกับคุณแม่และที่ผ่านมาได้ทำบุญสักการะพระธาตุทำบุญปิดทองชำระหนี้สงฆ์และไหว้พระและทำบุญตามกล่องรับบริจาคตามวัดต่างๆกับเพื่อนและตั้งใจว่าจะสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอให้อนุโมทนาบุญด้วย


ขอเชิญถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน สักการะพระธาตุ ฟังธรรม สวดมนต์ ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาท
สร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย กรวดน้ำอุทิศบุญ ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สนทนาธรรม
ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น รักษาอาการป่วยของผู้อื่น รักษาอาการป่วยของบิดามารดา
ปิดทอง สักการะพระธาตุ กราบอดีตสังขารเจ้าอาวาสที่ไม่เน่าเปื่อย ที่วัดแจ้ง อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ปิดทองพระ ปล่อยชีวิตสัตว์ถวายยาแก่ภิกษุ ไหว้พระตามวัดต่างๆ ขัดองค์พระ ให้ความรู้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพเป็นทาน
และสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอเชิญร่วมบุญกุศลร่วมกันนะ


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
แสดงโพสจาก:  เรียงตาม  
โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และ บุคคลทั่วไป 36 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ไปที่:  
ขับเคลื่อนโดย phpBB® Forum Software © phpBB Group
Thai language by phpBBThailand.com
phpBB SEO