แสดงปัญญาเป็นที่เลื่องลือ
"เรื่องชิ้นเนื้อ" มีความเป็นมาว่าเหยี่ยวตัวหนึ่งโฉบเอาชิ้นเนื้อบนเขียงสัตว์ แล้วบินผ่านมายังกลุ่มเด็ก ๆ ที่เล่นสนุกกันอยู่ เด็ก ๆ อยากจะได้ชิ้นเนื้อนั้นก็วิ่งกันจะแย่งคว้าเอา แต่ต้องล้มคะมำคว่ำไปกันทั่ว พระมโหสถจึงออกวิ่งราวกับลมแล้วตวาดเสียงกึกก้อง จนเหยี่ยวตกใจทิ้งชิ้นเนื้อบินหนีไป เด็ก ๆ และชาวบ้านต่างก็โห่ร้องสรรเสริญอย่างอัศจรรย์นัก
เมื่อราชบุรุษกราบทูลเรื่องที่ ๑ นี้ พระราชาทรงพอพระทัยนักแต่เสนกะบัณฑิตก็ทรงทูลยับยั้งอีก และให้เฝ้าดูต่อไปก่อนดีกว่าเด็กมโหสถมีปัญญาเป็นบัณฑิตได้หรือไม่
"เรื่องโค" มีความเป็นมาว่า โคตัวหนึ่งถูกลักขโมยไป คน ๒ คนต่างก็อ้างเป็นเจ้าของโคตัวนั้น เมื่อให้พระมโหสถตัดสินที่ศาลา พระมโหสถถามโจรว่า ให้ของสิ่งใดเลี้ยงวัวของตน โจรตอบว่าเลี้ยงด้วยข้าวยาคู แป้ง และงา ส่วนเจ้าของผู้ยากจนตอบว่า เลี้ยงโคด้วยหญ้า พระมโหสถจึงสั่งคนให้ตำใบประยงค์ผสมน้ำ กรอกปากโคจนโคอาเจียนออกมาเป็นหญ้า พระมโหสถจึงตัดสินว่า เจ้าของตัวจริงคือผู้ที่ตอบว่าเลี้ยงโคด้วยหญ้านั่นเอง เหล่าชาวบ้านก็จะรุมตีและส่งเจ้าหน้าที่ พระมโหสถจึงอบรมสั่งสอน ให้โจรทำความดีกลับใจใหม่และปล่อยตัวไป
เมื่อราบบุรุษทูลพระราชาเรื่องนี้เสนกะบัณฑิตก็ยังทูลคัดค้านว่า เรื่องนี้ยังมิอาจยืนยันได้ว่ามีปัญญาบารมีดั่งบัณฑิต พระราชาจึงทรงให้ไปเฝ้าดูเรื่องต่อไปอีก
"เรื่องสร้อยคอ" มีความเป็นมาว่า หญิงอนาถาถอดสร้อยคอที่ถักเป็นหลากสีเป็นปล้องไว้ก่อนลงสระน้ำ ดรุณีนางหนึ่งเพิ่งเจริญวัยก็ชอบใจ จึงเข้ามาสนทนาแล้วคว้าเอาสร้อยคอไปใส่แล้วชิงแย่งไป ครั้งหญิงอนาถาแย่งคืน ดรุณีน้อยก็อ้างว่าเป็นของตน เมื่อแย่งชิงวิวาทกันไม่สำเร็จจึงมาให้พระมโหสถตัดสินความ พระมโหสถจึงถามดรุณีว่า ถ้าสร้อยคอเป็นของนางแล้วนางย้อมสีด้วยอะไร ดรุณีผู้ขโมยตอบว่า ย้อมด้วยของหอมนานาชนิด ส่วนหญิงยากจนตอบว่าย้อมด้วยดอกประยงค์ พระมโหสถจึงให้คนเอาอ่างน้ำมาและให้ถอดสร้อยคอแช่อ่างน้ำ ปรากฎว่าในน้ำมีแต่กลิ่นดอกประยงค์อย่างเดียว เพราะหญิงยากจนมิอาจหาเครื่องหอมกำยานมาย้อมไ พระมโหสถจึงตัดสินได้ว่าสร้อยคอเป็นของหญิงอนาถา
เมื่อราชบุรุษไปกราบทูลให้พระราชาทรงทราบ เสนกะบัณฑิตก็ทูลยับยั้งอีก โดยอ้างว่าให้พระราชารอดูต่อไปก่อนว่า มโหสถจะแสดงปัญญาบารมีอะไรที่ดีกว่านี้อีก เพราะเรื่องนี้ถือว่าใช้ปัญญาเล็กน้อยเท่านั้น
"เรื่องกลุ่มด้วย" มีความเป็นมาว่าหญิงชาวไร่ฝ้าย เก็บดอกฝ้ายมาหีบแล้วปั่นเป็นด้าย แล้วนำเม็ดมะพลับมาทำเป็นแกนพันด้าย ครั้นลงอาบน้ำในสระโบกขรณีก็วางกลุ่มด้ายไว้ หญิงหนึ่งผ่านมาเห็นกลุ่มด้ายก็คว้าเอาไป หญิงเจ้าของจะขอคืน หญิงนั้นก็อ้างว่าเป็นของตัว เมื่อพระมโหสถตัดสินความจึงได้ถามว่า แกนด้ายเป็นอะไร หญิงขโมยตอบว่าเอาเมล็ดฝ้ายเป็นแกนพันด้ายไว้ หญิงเจ้าของตอบว่าเอาเม็ดมะพลับเป็นแกนพันด้ายไว้ เมื่อพระมโหสถให้คลี่ด้ายออกจนสิ้น ก็พบว่าแกนในคือเม็ดมะพลับนั่นเอง
เมื่อพระราชสดับฟังจากราชบุรุษ เสนกะบัณฑิตก็ทูลค้านว่าให้รอดูไปก่อนอีก
"เรื่องบุตร" มีความว่ามารดาวางบุตรไว้ริมสระ นางยักษ์คิดอยากได้ทารกน้อย จึงแปลงกายเป็นหญิงแล้วชิงบุตรของมารดาไป เมื่อพระมโหสถตัดสินความ ก็รู้ว่าใครเป็นนางยักษ์เพราะนัยน์ตาไม่มีแวว แต่ก็ต้องตัดสิ้นให้ชาวบ้านเห็นชัดแจ้ง จึงให้คนขีดเส้นบนพื้นแล้วอุ้มทารกมาวางตรงกลางเส้นนั้น ให้นางยักษ์จับเด็กด้านศีรษะ ให้มารดาจับเด็กด้านเท้า แล้วสั่งให้ทั้ง ๒ หญิงนั้นฉุดดึงแย่งเด็กอย่างสุดแรง ถ้าเด็กเลื่อนเข้าไปที่ด้านใครมากกว่าคนผู้นั้นก็จะได้เด็กไป เมื่อ ๒ หญิงดึงเด็กได้ครู่หนึ่งเด็กก็ร่ำไห้ มารดาจึงหยุดดึงร้องไห้ปิ่มว่าใจจะขาด พระมโหสถจึงให้ชาวบ้านตอบว่าผุ้ใดเป็นแม่ที่แท้จริง ชาวบ้านก็ตอบว่าแม่เด็กย่อมมิอาจดึงลูกตนให้เจ็บปวด นางยักษ์จึงสารภาพออกมาโดยสิ้น
"เรื่องโคธกาฬ" มีความว่าบุรุษนามโคธกาฬมีผิวดำร่างเตี้ย ชวนภรรยานามทีฆตาลาไปเยี่ยมบ้านพ่อแม่ซึ่งจากมานาน ๗ ปีแล้ว เมื่อเดินทางถึงแม่น้ำเชี่ยวกรากข้ามลำบากนัก พอดีมีชายผู้หนึ่งร่างสูง ชื่อ ทีฆปิฏฐิ ผ่านมาและอาสาพาข้ามน้ำโดยอ้างว่าต้องแบกขึ้นหลังพาข้ามทีละคน เมื่อนายทีฆปิฏฐิพาภรรยาโคธกาฬข้ามไปแล้ว ก็เกี้ยวพาราสีจนนางทีฆตาลายอมไปอยู่ด้วย โคธกาฬแค้นใจจะกระโดดน้ำตาย ครั้นพอกระโดดไปแล้วปรากฎว่าน้ำตื้นมาก จึงวิ่งลุยน้ำตามไปจนทันคนทั้งสองแล้วเกิดวิวาทกัน จนชาวบ้านนำพามาให้พระมโหสถตัดสิน เพราะนายทีฆปิฏฐิอ้างว่าตนเป็นสามีตัวจริงของนางทีฆตาลา
พระมโหสถจึงเรียกโคธกาฬเข้าไปถามว่าพ่อแม่นางทีฆตาลาชื่ออะไร แต่งงานกันที่ใด มีใครรู้เห็นเป็นพยาน ซึ่งโคธกาฬตอบได้ทั้งสิ้น
ครั้นเรียกนายทีฆปิฏฐิไปถาม เขาก็ไม่สามารถตอบชื่อพ่อแม่ นางทีฆตาลาได้ จึงอ้างว่าอยู่กินกันเองมิได้แต่งงานมีพยานใด
เมื่อถึงนางทีฆตาลา นางก็อ้างว่าเป็นภรรยาของทีฆปิฏฐิ แต่นางกลับตอบพระมโหสถไม่ได้ว่าสามีนางมีพ่อแม่ชื่ออะไร แต่งงานกันที่ใดมีใครรู้เห็นบ้าง
ในที่สุดนางจึงยอมรับสารภาพว่าเป็นภรรยาโคธกาฬ พระมโหสถจึงอบรมให้ซื่อสัตย์ต่อกันและสั่งสอนทีฆปิฏฐิ มิให้ประพฤติผิดลูกเมียใครอีก
"เรื่องรถม้า" มีความเป็นมาว่า ชายผู้หนึ่งถูกขโมยรถม้า ซึ่งชายผู้เป็นขโมยนั้นแท้จริงคือพระอินทร์ปลอมมา เพื่อจะประกาศปัญญาบารมีพระมโหสถให้ผู้คนประจักษ์ เมื่อทั้งสองถูกนำมาให้พระมโหสถพินิจความ พระมโหสถก็ให้ทั้งสองบุรุษเกาะท้ายรถม้า แล้วให้คนผู้หนึ่งขับรถทะยานไป เมื่อคนทั้งสองวิ่งตามรถม้า ชายธรรมดาเจ้าของรถก็เหน็ดเหนื่อยมิอาจตามทันได้ ส่วนพระอินทร์นั้นวิ่งทันรถม้าโดยมิมีเหงื่อสักหยด พระมโหสถจึงเอ่ยว่าท่านไม่ใช่คน แต่เป็นเทพมาขโมยรถม้าเพื่อเหตุใด พระอินทร์จึงทรงสารภาพว่าเป็นเทพจริง และมาเพื่อประกาศภูมิปัญญาของพระมโหสถให้ปรากฎ จากนั้นพระอินทร์ก็คืนรถม้าแล้วเสด็จจากไป เรื่องนี้เป็นที่เลื่องลือทั่วแคว้น
พระราชทรงคิดขอตัวพระมโหสถเข้าวัง แต่เสนกะบัณฑิตก็ยังคัดค้านให้รออีก
"เรื่องท่อนไม้" มีความเป็นมาว่าพระราชาวิเทหะ ทรงคิดลองภูมิปัญญาพระมโหสถด้วยองค์เอง จึงสั่งช่างให้กลึงไม้ตะเคียนท่อนหนึ่งแล้วส่งไปให้ พระมโหสถตอบว่าด้านไหนปลายด้านไหนเป็นต้น ซึ่งก่อนหน้านี้พระราชาทรงลองปัญญา ๔ ราชบัณฑิต แต่ทว่ามิมีผู้ใดตอบได้ ฝ่ายพระมโหสถนั้นก็ให้นำ ไม้ตะเคียนแช่น้ำโดยมัดเชือกกลางท่อนไม้ไว้ ท่อนไม้ด้านที่จมลงน้ำมากกว่าก็คือด้านโคนต้น และทางปลายต้นจึงเบากว่าและไม่จมน้ำ
"เรื่องงู" มีความเป็นมาโดยพระราชาทรงทดลองเอง ทรงให้พระมโหสถหาว่างูตัวใดเป็นตัวเมียตัวผู้ พระมโหสถก็ตอบได้ว่างูตัวที่หัวใหญ่หางใหญ่คืองูตัวผู้ งูตัวเมียหางเล็กตาเล็กและลวดลายขาดจากกัน
"เรื่องศีรษะ" มีความเป็นมาว่าพระราชาให้พระมโหสถทายว่า กะโหลกศีรษะ ๒ กระโหลกนั้นเป็นของเพศใดอันใด พระมโหสถก็ชี้ได้ว่ากะโหลกที่มีแสกตรง คือกะโหลกของเพศชาย และกะโหลกที่มีแสกคดคือกะโหลกของสตรีนั่นเอง
"เรื่องไก่" มีความเป็นมาว่าพระราชารับสั่งให้ชาวบ้านส่งโคเผือก มีโหนกที่ศีรษะและมีเขาที่เท้า ร้อง ๓ เวลา มาให้พระราชา ซึ่งพระมโหสถก็ส่งไก่ไปถวาย โดยชี้แจงว่าไก่มีกายขาวและมีเดือยที่ขา มีหงอนไก่หรือโหนกที่ศีรษะ และร้องขันเพียงวันละ ๓ หนเท่านั้น
"เรื่องดวงแก้ว" มีความเป็นมาว่า พระราชาให้ส่งดวงแก้วมณีที่สายร้อยเก่าขาดไปให้พระมโหสถ รับสั่งให้ร้อยดวงแก้วนั้นให้ได้ พระมโหสถเห็นดวงแก้วซึ่งมีรูคดยากจะร้อยเช่นนั้น ก็นำน้ำผึ้งมาทาช่องดวงแก้วแล้วฟั่นด้ายแดงร้อยจ่อไว้ให้ชุ่มน้ำผึ้ง จากนั้นนำไปวางที่ปากรูมดแดงเหล่าฝูงมดแดงก็กรูกันไปกินน้ำผึ้ง จนด้ายเก่าข้างในถูกดึงออกมา และด้ายใหม่ก็ถูกดึงร้อยเข้าไปจดทะลุอีกด้าน
"เรื่องโคตัวผู้" มีความเป็นมาว่า พระราชาทดลองให้ขุนวัวตัวหนึ่งจนอ้วน เอาน้ำมันทาเขา ชุบตัวด้วยขมิ้น แล้วส่งไปให้พระมโหสถพร้อมรับสั่งว่า โคตัวผู้นี้ตั้งท้อง ขอให้ส่งโคพร้อมลูกโคให้พระราชาเมื่อโคคลอดแล้ว พระมโหสถจึงให้หญิงผู้หนึ่งปล่อยผมสยาย คร่ำครวญร่ำไห้ไปตลอดทางจนถึงพระราชาแล้วให้ร่ำไห้ทูลว่า บิดาของนางน้องโตแต่คลอดออกมามิได้ ขอให้พระองค์ช่วยด้วย พระราชาทรงหัวร่อแล้วตรัสว่าบุรุษเพศผู้จะคลอดทารกได้อย่างไร หญิงผู้นั้นจึงทูลว่า หากเพศผู้มิอาจคลอดทารก แล้วโคตัวผู้ที่ส่งให้ชาวบ้านทำคลอดนั้นจะเป็นไปได้อย่างไร พระราชาทรงตรัสถามว่าเป็นความคิดใคร ครั้นพอทราบว่าพระมโหสถคิดมาดังนี้ พระราชาก็พอพระทัยยิ่งนัก
"เรื่องข้าว" พระราชาทรงรับสั่งให้ชาวบ้านหุงข้าว ๘ ประการให้ได้คือ ไม่ให้ใช้ข้าวสาร ไม่ให้ใช้น้ำ ไม่ให้ใช้หม้อ ไม่ให้ใช้เตา ไม่ให้ใช้ไฟ ไม่ให้ใช้ฟืน ไม่ให้ชายหญิงยกมา ไม่ให้นำมาโดยทาง พระมโหสถจึงแก้ปริศนา ๘ ข้อคือ ๑ ไม่ใช้ข้าวสาร ก็ใช้ข้าวป่นหรือปลายข้าวที่ตำแหลกแล้ว ๒ ไม่ให้ใช้น้ำ ก็รวบรวมเอาน้ำค้างมาหุงแทน ๓ ไม่ให้ใช้หม้อ ก็หุงในกะทะดินแทน ๔ ไม่ให้ใช้เตา ก็ใช้ก้อนหินวางเป็นสามเส้าแทนเตา ๕ ไม่ให้ใช้ไฟ ก็ใช้เพลิงสีกันที่สีจากหิน ๖ ไม่ให้ใช้ฟืน ก็ใช้ใบไม้และเศษวัตถุต่าง ๆ ๗ ไม่ให้ใช้หญิงชายเป็นผู้ยก ก็ให้กะเทยยกไป ๘ ไม่ให้นำมาตามทาง ก็ให้คนเดินออกนอกทางเดินตรง ๆ
"เรื่องชิงช้า" พระราชาทรงรับสั่งให้ชาวบ้านร้อยชิงช้าด้วยเชือกทราย พระมโหสถจึงให้ชาวบ้านไปกราบทูลว่ามิอาจร้อยได้ เพราะมิได้รับสั่งว่าจะกำหนดให้ฟั่นกี่เกลียว มิได้บอกว่าขนาดยาวสั้นเท่าใด แล้วที่ว่าเชือกที่ทำด้วย "ทราย" ของในวังขาดไปนั้นของของเดิมมาเป็นตัวอย่างด้วยจะได้ทำใหม่ได้ ครั้นพระราชาทรงตรัสถามว่าใครย้อนปริศนานี้ ชาวบ้านก็ตอบว่า พระมโหสถให้ย้อนตอบมา
"เรื่องสระน้ำ" พระราชาทรงรับสั่งให้ชาวบ้านส่งสระโบกขรณี ซึ่งมีดอกบัว ๕ ชนิดมาให้พระองค์ภายใน ๗ วัน ให้จงได้ มิฉะนั้นจะถูกปรับ พระมโหสถจึงให้ชาวบ้านลงเล่นน้ำจนผมเผ้ายุ่งเหยิง ตาแดงก่ำเนื้อตัวเปื้อนดินโคลน มือถือเชือกบ้าง ท่อนไม้บ้าง แล้วให้ไปเข้าเฝ้าพระราชา
แล้วชาวบ้านก็ทูลตอบว่า พวกตนเอาเชือกผูกสระโบกขรณีมาถึงหน้าวัง สระนั้นเคยอยู่แต่ในป่าเมื่อเห็นวังก็ตกใจวิ่งหนีไปจนพวกตนมีสภาพดังนี้ ขอให้พระองค์นำสระน้ำของพระองค์ไปในป่า สระน้ำในป่าจะได้คุ้นเคยกับสระน้ำในวังจนไม่หนีไปอีก พระราชาสดับฟังดังนั้นก็ทรงพระสรวลที่พระมโหสถย้อนปัญหาได้อีก
"เรื่องสวน" พระราชาทรงรับสั่งให้ชาวบ้านส่งอุทยานใหม่มาให้พระองค์ อุทยานเก่าของพระองค์ทรุดโทรมนักแล้ว อุทยานใหม่ต้องเป็นสวนที่ร่มรื่นด้วยไม้นานาพันธุ์ พระมโหสถก็ให้ชาวบ้านย้อนปริศนาคืนเหมือนกับครั้งสระน้ำ พระมโหสถขอให้พระองค์ทรงพาหนะขนาดใหญ่ไปบรรทุกสวนจากเป่าเข้าวังด้วย ซึ่งพระราชาย่อมมิอาจหาพาหนะใหญ่โตเช่นนั้นได้
ครั้งนี้พระราชาตัดสิ้นพระทัยจะรับพระมโหสถเข้าวัง แต่เสนกะบัณฑิตทูลว่ามิควรเสด็จไปเอง ควรตั้งปริศนาให้ พระมโหสถส่งม้าอัสดรมาถวายและให้พระมโหสถและบิดาเข้ามาเฝ้าด้วย
"เรื่องม้า" เมื่อพระราชายอมทดลองอีกครั้งตามคำเสนกะบัณฑิต พระมโหสถก็ให้บิดาเข้าเฝ้าพระราชาก่อนโดยนำบริวาร ๑ พันคน ไปพร้อมกับผอบไม้จันทร์ใส่เนย เมื่อตนไปถึงขอให้บิดาลุกขึ้น และพูดว่าลูกจงมานั่งที่นี้เถิด
เมื่อพระมโหสถนำลาเข้ามาผูกไว้แล้วเข้าเฝ้า เศรษฐีสิริวัฒกะก็ทำตามที่นัดกันไว้ ราชบัณฑิตต่างก็หัวร่อที่พระมโหสถให้พ่อลุกและนั่งแทนพ่อ พระราชาทอดพระเนตรดังนั้นก็เสียพระทัยกล่าวว่าบิดาย่อมประเสริฐกว่าบุตร พระมโหสถจึงทูลว่าหากตนนั่งแทนพ่อคือความผิด ก็แสดงว่าบิดาย่อมต้องมีค่ากว่าบุตรเสมอ ถ้าเช่นนั้น พระองค์ควรรับลานี้ไว้ไม่ต้องหาม้า เพราะลาเป็นพ่อของพ่อม้า และบิดาก็เป็นพ่อของตน ดังนั้นพระราชาควรรับการถวายลาและบิดาตนเถิด
พระราชาสดับฟังก็เข้าพระทัย ทรงหลั่งน้ำรดมือเศรษฐี และให้ครองหมู่บ้านปาจีนวย ทั้งยังฝากของกำนัลแก่นางสุมนาเทวี จากนั้นก็ขอให้พระมโหสถเป็นบัณฑิตอยู่ในเรือข้าหลวงนอกสืบต่อไป
เข้ารับราชการ
"เรื่องแก้วในรังกา" คราวหนึ่งในสระโบกขรณีเกิดแสงสว่างเรืองรองเป็นที่ร่ำลือกันว่า มีแก้วมณีดวงใหญ่อยู่ในสระเป็นแน่แท้ เสนกะบัณฑิตทูลว่าให้ขุดสระ หาดวงแก้วแต่ทว่าก็มิอาจพบดวงแก้วได้ เมื่อพระราชาปรึกษาพระมโหสถบ้าง พระมโหสถก็ให้นำขันน้ำบ้าง อ่างน้ำบ้าง วางอยู่ทั่วบริเวณนั้นก็ปรากฏว่ามีแสงสว่างเรืองในน้ำนั้นทุกภาชนะ จึงให้ปีนดูบนต้นตาลริมสระ ก็พบแก้วมณีอยู่ในรังกาบนต้นตาลนั่นเอง
"เรื่องกิ้งก่า" มีความเป็นมาว่าพระราชาพอพระทัยกิ้งก่าที่ลงจากซุ้มประตูมาหมอบถวายตัว ทรงปรึกษาพระมโหสถก็ได้ความว่าให้พระราชาทานแค่อาหาร มิควรประทานของมีค่า ภายหลังราชบุรุษนำมณีมาผูกคอกิ้งก่า ครั้นพระราชาเสด็จผ่าน กิ้งก่าก็อยู่บนซุ้มสูงมิลงมาหมอบอีก พระมโหสถจึงว่ากิ้งก่าได้พลอยจึงลืมตัวและทูลค้านมิให้ฆ่ามัน ซึ่งเป็นสัตว์ไร้ปัญญา พระราชาจึงรับสั่งให้งดเลี้ยงเนื้อแก่มัน
"เรื่องสิริกาลกิณี" มีความว่าปิงคุตตระลาอาจารย์เมืองตักสิลากลับบ้าน อาจารย์มอบสตรีรูปงามให้ไปด้วย แต่งปิงคุตตระเป็นกาลกิณีมิอาจเข้ากับสิริได้จึงมิชอบพอนาง มิพูดจาด้วย มิร่วมนอนด้วย และมิหาผลไม้ให้กิน เมื่อนางต้องปีนขึ้นต้นมะเดื่อเองก็ลงไม่ได้ เพราะปิงคุตตระผูกลวดหนามไว้โคนต้น พระราชาวิเทหะเสด็จผ่านมาเกิดรักใคร่ ก็นำไปอภิเษกให้นามว่าพระนางอุทุมพร
ต่อมาขณะเสด็จประพาสเมืองเห็นปิงคุตตระนั่งแผ้วถางริมทาง พระนางอุทุมพรทรงแย้มสรวลที่บุรุษกาลกิณีมิอาจรับสิริมงคลเช่นตัวนางได้ พระราชาเข้าพระทัยผิดคิดว่าพระนางพึงพระทัยบุรุษนั้น แม้พระนางทูลเล่าความจริงก็มิทรงเชื่อ คิดจะประหารพระนางด้วยความกริ้ว เสนกะบัณฑิตก็ทูลว่าเป็นไปไม่ได้ที่ชายใดจะชิงชังสตรีเลอโฉม แต่พระมโหสถทูลว่าเป็นไปได้ เหมือนกับดินและฟ้า ซึ่งมิอาจร่วมกันได้เหมือนทะเลคนละฝั่งซึ่งต้องไกลกันมิอาจบรรจบ พระราชาทรงเชื่อพระมโหสถและทรงอนุญาตให้ พระนางอุทุมพรรับพระมโหสถเป็นน้องชาย
"เรื่องแพะกับสุนัข" มีความว่าพระราชาทอดพระเนตรเห็นแพะกับสุนัขเป็นมิตรกัน แพะแอบเอาเนื้อมาให้สุนัขเพราะแพะเข้าโรงครัวได้ไม่ถูกคนตี สุนัขก็เข้าโรงช้างแอบเอาหญ้ามาให้แพะกิน ทั้งคู่ก็มิต้องถูกคนตีดั่งก่อนมา พระราชจึงตั้งปัญหาบัณฑิตในวังว่า ทำไมสัตว์ ๒ ตัว จึงเป็นมิตรกันได้ หากใครตอบไม่ได้จะไล่ออกจากราชวัง พระมโหสถทูลถามพระนางอุทุมพรว่าพระราชาทรงประทับ ณ ที่ใดเมื่อเช้านี้ เมื่อทราบแล้วพระมโหสถไปดูสถานที่นั่นจึงทราบความ และมาบอก ๔ บัณฑิตที่คิดไม่ออก บัณฑิตทั้งหมดจึงตอบได้ แต่พระนางอุทุมพรทูลว่าพระมโหสถบอกความแก่ ๔ บัณฑิต พระมโหสถน่าจะได้รางวัลพิเศษกว่าผู้อื่น
พระราชาทดลองภูมิปัญญา
พระราชาตรัสถามเสนกะว่า คนมีปัญญาแต่ไร้ยศศักดิ์ กับคนมียศศักดิ์แต่ไร้ปัญญา ผู้ใดประเสริฐเหนือกว่ากัน เสนกะกราบทูลว่าคนมียศศักดิ์ประเสริฐกว่า แต่พระมโหสถกราบทูลว่าคนมีปัญญาประเสริฐกว่า เสนกะแก้ว่าคนมีปัญญาแต่ไร้ยศ พูดจากใดไปก็มิมีใครเชื่อถือ พระมโหสถแก้ว่าคนมียศถ้าไร้ปัญญาก็พูดจาให้ร้ายคนอื่น และตนเอง คนมีปัญญาพูดแต่สัจจะวาจา ภายหน้าผู้คนย่อมสรรเสริญเอง
คราวนี้ไม่ว่าเสนกะกล่าวใดมา พระมโหสถก็แก้ได้หมด เสนกะจนปัญญายอมแพ้รับว่าคนมีปัญญาประเสริฐกว่า พระราชาจึงพระราชทานโค ๑ พันตัว รถม้า ๑๐ คัน ส่วย ๑๖ บ้าน ให้แก่พระมโหสถ ด้วยทรงพอพระทัยยิ่งนัก
เนื้อคู่ปัญญาเลิศ
ครั้นพระมโหสถเจริญวัยถึง ๑๖ ปี พระนางอุทุมพรอยากให้มีคู่ พระมโหสถจึงขอออกเดินทางไปเลือกกัลยาณีด้วยตนเอง พระมโหสถปลอมเป็นคนชุนผ้า เมื่อถึงหมู่บ้านอุตตระยวมัชฌคาม ก็พบอมรเทวีผู้มีลักษณะดีและมีปัญญา เมื่อพบก็ลองภูมิปัญญา กันหลายข้อจนพอใจ อย่างเช่นนางอมรเทวีตอบว่าบิดานางไถนาอยู่ที่ไปแล้วไม่กลับ พระมโหสถก็รู้ว่าที่ป่าช้า เมื่อสู่ขอแก่บิดานางแล้วก็พากลับเมือง ระหว่างทางลองใจนางโดยฝากนางไว้ที่บ้านคนเฝ้าประตู แล้ววางอุบายจ้างบุรุษรูปงามไปเกี้ยวนางทุกวัน นางก็ไม่ใยดีผู้ใด จึงวางอุบายฉุดนางมาที่บ้านแล้วปลอมตัวรอ นางก็ร่ำไห้ว่าเป็นเศรษฐีแต่กลับฉุดหญิงมีเจ้าของ ย่อมต้องตกนรกหมกไหม้พระมโหสถจึงให้นำนางกลับไป
เมื่อเช้ารุ่งขึ้น พระมโหสถทูลพระราชาและพระนางอุทุมพร พระราชาจึงทรงจัดงานวิวาห์ให้พระมโหสถอย่างสมเกียรติ และพระราชทานทรัพย์มากมาย นางอมรเทวีและพระมโหสถก็แบ่งทรัพย์ทำทานหลายส่วนอีกด้วย
ถูกใส่ร้าย
เอาบุญมาฝากจะถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ สักการะพระธาตุ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาทสร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ ให้อาหารสัตว์เป็นทานเป็นประจำ กรวดน้ำอุทิศบุญ อนุโมทนากับพ่อแม่ญาติพี่น้องที่รักษาศีล ฟังธรรม ให้ทาน อนุโมทนากับเพื่อนๆที่รักษาศีล ศึกษาการรักษาโรค ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ถวายสังฆทานมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ปิดทองพระ รักษาอาการป่วยของผู้อื่นกับผู้ร่วมงาน และที่ผ่านมาได้รักษาอาการป่วยของบิดามารดา ปล่อยชีวิตสัตว์มาโดยตลอด ถวายยาแก่ภิกษุ ขัดองค์พระ จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย ให้ความรู้สมุนไพรเพื่อสุขภาพเป็นวิทยาทาน ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ทำบุญหลายอย่างมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ถวายสังฆทานและทำบุญสร้างอาคารผู้ป่วยและกฐินกับเพื่อนๆและให้อาหารเป็นทานแก่สรรพสัตว์กับเพื่อนๆและเพื่อนคนหนึ่งและบริวารของเพื่อนและครอบครัวของเพื่อนได้มีจิตเมตตาให้ทานและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือผู้อื่นอยู่ตลอดและเพื่อนได้เคยสวดมนต์เย็นกับคุณแม่และที่ผ่านมาได้ทำบุญสักการะพระธาตุทำบุญปิดทองชำระหนี้สงฆ์และไหว้พระและทำบุญตามกล่องรับบริจาคตามวัดต่างๆกับเพื่อนและตั้งใจว่าจะสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอให้อนุโมทนาบุญด้วย
ขอเชิญถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน สักการะพระธาตุ ฟังธรรม สวดมนต์ ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาท สร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย กรวดน้ำอุทิศบุญ ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สนทนาธรรม ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น รักษาอาการป่วยของผู้อื่น รักษาอาการป่วยของบิดามารดา จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย ปิดทอง สักการะพระธาตุ กราบอดีตสังขารเจ้าอาวาสที่ไม่เน่าเปื่อย ที่วัดแจ้ง อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ปิดทองพระ ปล่อยชีวิตสัตว์ถวายยาแก่ภิกษุ ไหว้พระตามวัดต่างๆ ขัดองค์พระ ให้ความรู้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพเป็นทาน และสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอเชิญร่วมบุญกุศลร่วมกันนะ
|