"ขอเดชะ พระองค์เป็นสมมติเทพผู้ไม่ยินดีในทางอภิรมย์ สมควรจะสนทนาธรรมกับปราชญ์ เพื่อให้รู้กระจ่างเห็นแจ้งในธรรมยิ่งขึ้นพระเจ้าข้า"
เมื่ออำมาตย์วิชัยกราบทูลถวายทางสงบ พระเจ้าอังคติราชก็ทรงตรัสเห็นด้วย อำมาตย์อลาตะจึงรีบทูลเอาความดีว่า
"ข้าพระองค์คุ้นเคยกับท่านคุณาชีวกะ ท่านเป็นผู้ใฝ่ธรรมและมีผู้ศรัทธามากพระเจ้าข้า"
คำตอบพราหมณ์เขลา
ครั้นพระราชาทรงสดับฟังแล้ว จึงให้ยกขบวนเสด็จไปยังสำนักชีต้นนั้น พระราชาทรงตรัสถามแก่คุณาชีวะเป็นปริศนาธรรมว่า
"สิ่งใดควรทำสำหรับพระราชา เมื่อทำแล้วย่อมสำเร็จสู่สวรรค์ สิ่งใดมิควรทำสำหรับพระราชา ทำแล้วย่อมเป็นทางนำสู่นรก และสิ่งใดเป็นข้อควรประพฤติปฏิบัติต่อบิดามารดา อาจารย์ บุตรภรรยา ผู้เฒ่าผู้อาวุโส พราหมณ์และสมณสงฆ์ และไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน"
เมื่อชีเปลือยคุณาชีวกะอับจนปัญญา จึงกราบทูลตามลัทธิมิจฉาทิฐิของตนว่า
"ขอเดชะท่านมหาบพิตรความสงสัยของพระองค์นั้นตอบได้ดังนี้
๑ เรื่องของบุญนั้นไม่มีจริง บาปก็ไม่มี ภพหน้าก็ไม่มี
๒ เรื่องของบุพการีบิดามารดาก็ไม่มีจริง มิต้องปฏิบัติด้วยดีอย่างใด เพราะคนเราเกิดมาตามธรรมดา ดั่งเรือเล็กตามเรือใหญ่ ไม่ใช่ผู้มีบุญคุณต่อกัน
๓ สัตว์ทั้งหลายก็เสมอกันเช่นดั่งคน วัยผู้เฒ่าผู้อาวุโสก็เสมอเหมือนกัน มิต้องนอบน้อมบำรุงปฏิบัติหรือเกื้อกูลแต่อย่างไร
๔ สมณพราหมณ์ก็มิได้วิเศษใด ทำดีไปสวรรค์ ทำชั่วไปนรกมิใช่เรื่องจริง ทำทานไปก็มิได้สิ่งใดตอบแทน มิมีผลแห่งบุญหรือผลแห่งบาป
๕ การถือศีลก็จะทำให้หิว มิควรถือศีลการให้ทานก็คือความโง่ แต่คนฉลาดคิดแต่รับทาน"
คุณาชีวิกะเห็นพระราชานิ่งสดับฟังด้วยความทึ่งดังนั้น ก็รีบกล่าวต่อย่างลำพองใจในปัญญาอันมืดมิดของตนอีกว่า
"แม้แต่ร่างกายของคนเรานั้นก็รวมกันมาจาก ๗ สิ่งคือ ดิน น้ำ ลม ไฟ สุข ทุกข์ และชีวิต หากเมื่อสูญสลายตายไปแล้วส่วนที่เป็นไฟก็จะไปอยู่กับไฟ ส่วนที่เป็นลมก็จะล่องลอยไปอยู่กับลม สุขและทุกข์ก็ลอยไปในลมในอากาศเช่นเดียวกับชีวิต
ดังนั้นการฆ่าหรือตัดชีวิตใครก็จึงมิใช่เรื่องของบาปหรือกรรม สัตว์และมนุษย์เวียนว่ายตายเกิดอีกชั่ว ๖๔ กัปป์กัลล์อยู่แล้ว ต่อจากนั้นก็จะบริสุทธิ์ได้เองมิต้องถือศีลทำบุญ"
อำมาตย์อลาตะฟังดังนั้นก็รีบทูลสนับสนุน ว่าตนเองก็เห็นจริงเช่นนั้น อ้างว่าตนระลึกชาติได้ว่าเคยเป็นคนใจบาปชื่อ "ปิงคละ"ผู้ฆ่าโคขาย ชาติต่อมายังได้เกิดเป็นกุลบุตรในตระกูลเสนาบดีจนมียศศักดิ์จนถึงวันนี้ มิเห็นต้องตกนรกหมกไหม้แต่อย่างใด ก็ย่อมแสดงว่าบาปบุญไม่มีจริงดังที่ท่านอาจารย์กล่าว เพราะหากบาปมีจริง ตนก็คงต้องไปตกนรกหมกไหม้แล้ว
แต่ในทางแห่งความเป็นจริงที่เป็นมา อำมาตย์อลาตะเกิดเป็นกุลบุตรในตระกูลดี เนื่องจากในสมัยพระกัสสปพุทธเจ้า ได้ถวายพวงอังกาบบูชาพระเจดีย์ เมื่อตายไปเกิดเป็นปิงคะผู้ฆ่าโคขาย และอานิสงส์ในภพที่ถวายพวงอังกาบ จึงได้มาเกิดเป็นเสนาอำมาตย์ในชาติภพนี้ แต่อำมาตย์ระลึกชาติได้ชาติเดียวจึงเห็นผิดไปว่า เรื่องการทำบาปมิได้ส่งผลให้ต้องชดใช้กรรมแต่อย่างใด
คนบาปเห็นผิดเป็นชอบ
ในขณะนั้น บุรุษนาม "วิชกะ" บุตรช่างหม้อยากไร้ได้ฟังความด้วยก็ร่ำไห้ออกมา
ครั้นพระราชาตรัสถาม วิชกะก็กราบทูลว่า ตนเสียใจนัก ตนเคยระลึกชาติว่าเป็นเศรษฐีเมตตาจิตบริจาคทานอยู่ตลอดชีวิต แต่ชาตินี้จึงมาเกิดเป็นคนจนอนาถา แสดงว่าบุญและบาปไม่มีจริง ๆ แน่นอนแล้วล่ะนี่
ซึ่งในความจริงนั้น ชาติเดิมวิชกะเป็นคนเลี้ยงโค วันหนึ่งโคหายก็พาลดุด่าพระภิกษุที่ผ่านมาถามหนทาง ตายไปจึงมาเกิดเป็นคนต่ำต้อย ซึ่งวิชกะระลึกชาติได้แค่ชาติเดียวที่เกิดเป็นเศรษฐี
เมื่อมีผู้สนับสนุนเห็นพ้องด้วย พระเจ้าอังคติราชก็พลอยเชื่อถือคำของคุณาชีวกะ จึงทรงตรัสแก่วิชกะว่าพระองค์ก็บริจาคทานไปแล้วเหมือนกัน นับเป็นทางที่ผิด พระองค์จะหาความสุขให้ตัวเองนับแต่นี้ และไม่มาสำนักนี้อีกเลย ในเมื่อมิได้มีใครบันดาลผลบุญธรรมแก่เราทุกคน
ตรัสดังนั้นก็มิทรงทำความเคารพชีเปลือยอีก ทว่าเสด็จกลับวังในทันทีนั้นเอง
เมื่อเสด็จสู่พระราชวังพระเจ้าอังคติราชก็ทรงให้จัด มหรสพรื่นเริงให้มีดุริยางค์ขับกล่อมตลอดเวลา มีนางกำนัลตกแต่งกายยั่วยวนฟ้อนรำ จัดสุราอาหารสำราญพร้อม มิสนใจในกิจแห่งแผ่นดินอีก ทรงมุ่งแต่มัวเมาในทางกามคุณ ละเว้นโรงทานและศาลาธรรมจนสิ้น
พระธิดาช่วยเหนี่ยวรั้ง
ครั้นเมื่อถึงวันพระขึ้น ๑๕ ค่ำ พระธิดารุจากุมารก็ทรงเข้าเฝ้าตามกำหนด พระราชาก็ทรงพระราชทานทรัพย์พันหนึ่งดั่งเดิม แต่มิได้ใส่พระทัยว่าจะนำเงินไปทำบุญหรือทำสิ่งใด
พระธิดายังทรงถือศีลอุโบสถและทำทานเป็นนิจ และทรงระลึกชาติได้ ๑๔ ชาติ คือ ชาติภพเดิม ๗ ชาติ ภพหน้า ๗ ชาติ และพระนางก็คิดช่วยเหลือพระราชบิดา ด้วยว่าทั่วนครต่างก็เลื่องลือว่าพระราชา หลงอบายมุขตามลัทธิชีเปลือยไปเสียแล้วนั้น
ครั้นถึงวันพระอีกคราว พระธิดารุจาก็เสด็จเข้าตามกำหนด ทรงให้นางกำนัลแต่งกายละลานตา ทรงได้สนทนากับพระราชาเป็นอันดี ทว่าเมื่อทรงทูลขอทรัพย์ตามปกติ พระราชจึงทรงตรัสว่า ตั้งแต่แจกทานทำบุญก็มีแต่หมดทรัพย์ แต่มิได้สิ่งตอบแทนคืน ตอนนี้พระองค์รู้ทางถูกแล้ว คนเราควรเอาเงินบำรุงบำเรอความสุขให้ตนเอง ดังนั้นขอให้พระธิดาเลิกเอาเงินไปบริจาคทานเสียทีเถิด คุณาชีวกะอาจารย์ก็ได้สำแดงลัทธิให้เข้าใจแล้ว ทาสวิชกะก็ยังยืนยันเช่นกัน
เมื่อธิดารุจาได้ฟังก็ให้สลดพระทัยยิ่งจึงกราบทูลว่า
"ข้าแต่พระบิดา ไฉนพระองค์หลงผิดไปเชื่อความของคนที่ไร้สติปัญญาเช่นนั้น"
พระราชบิดาตรัสตอบพระธิดาว่า
"เจ้าหญิงเอ๋ย พ่อเชื่อเพราะเห็นว่าความที่คุณาชีวกะแสดงมานั้นเป็นเรื่องจริงที่น่าเชื่อถือ ทำให้พ่อหายโง่ เลิกทำบุญถือศีลซึ่งมิได้ผลดีอันใด"
"หากพราหมณ์นั้นกล่าวว่าคนนั้นเสมอเหมือนกัน และการบำเพ็ญภาวนาไม่มีผลใด แล้วพราหมณ์นั้นไฉนจึงเฝ้าบำเพ็ญภาวนา เป็นอาจารย์ให้ผู้คนกราบไหว้และเชื่อฟัง
ข้าแต่พระราชบิดา หากคนเราคบคนพาลย่อมเป็นพาลไปด้วย หากคบหาบัณฑิตนักปราชญ์ก็ย่อมจะพลอยเป็นปราชญ์ไปด้วย ชีเปลือยคุณาชีวกะก็ยังให้คนนับถือตนและบำเพ็ญกิริยาต่าง ๆ แล้วจะมาว่าการบำเพ็ญไม่มีผลบุญบาปได้อย่างไร"
ส่วนอลาตะและวิชกะนั้นระลึกชาติแค่ชาติเดียวเท่านั้น หม่อมฉันระลึกได้ถึง ๑๔ ชาติ ในชาติหนึ่งนั้นเกิดเป็นหญิงมีสกุลแต่คบชู้ ตายไปก็ได้เกิดเป็นบุตรมหาเศรษฐี ด้วยผลบุญก่อนยังหนุน และผลกรรมยังตามมามิทัน ยามเป็นบุตรเศรษฐีก็ทำทานถือศีลเพราะมีมิตรดี เมื่อตายไปก็ตกนรกหมกไหม้เพราะผลกรรมที่ลักลอบเป็นชู้ตามมาทัน จากนรกก็ไปเกิดเป็นลา ถูกทรมานตาย แล้วเกิดเป็นลูกลิง ถูกกัดกินจนตาย ก็ไปเกิดเป็นกะเทย จากนั้นจึงไปเกิดบนชั้นสวรรค์ เป็นพระมเหสีของพระอินทร์ ๔ ชาติ เพราะผลบุญจากชาติที่ทำทานตามมา และในชาตินี้ก็เกิดเป็นพระราชธิดาพระราชาคือพระบิดานี้เอง"
พระราชาทรงเงียบนิ่งด้วยเพราะหาทางโต้แย้งมิได้ พระธิดารุจาจึงทูลต่อว่า
"การคบคนเลวต่างหากที่จะพาให้พระบิดาตกนรก การคบหาคนดีจึงจะเสด็จสู่สวรรค์ได้ คนที่เป็นครูเป็นอาจารย์ หากอบรมสั่งสอนสิ่งชั่วร้ายเลวทรามให้แก่ศิษย์ ผู้เป็นศิษย์ก็ย่อมตกต่ำไปด้วยเสมือนดั่งใช้ใบไม้เน่าห่อปลา ปลานั้นย่อมจะเหม็นเน่าไปด้วย หากห่อปลาด้วยใบไม้หอม ปลาก็ย่อมจะหอมหวลด้วยแน่นอน ขอให้พระบิดาทรงใคร่ครวญ"
เมื่อพระราชาสดับฟังดังนั้นก็ยังมิเปลี่ยนความเชื่อมั่น ด้วยเพราะยังคงทรงตกต่ำมัวเมาอยู่ในเพศรสมิจฉาทิฐิดังเดิม
ให้ทวยเทพช่วยเหลือ
พระธิดารุจาจึงทรงนมัสการ ๑๐ ทิศ แล้วตั้งสัตย์อธิษฐานว่า ขอให้ทวยเทพยดาช่วยให้พระราชบิดา ให้พ้นทางมัวเมาตามมิจฉาทิฐินั้นด้วยเถิด
"ข้าแต่ทวยเทพยดา ท้าวจตุโลกบาล ท้าวมหาพรหมแลสมณพราหมณ์ผู้ตั้งอยู่ในธรรม ขอพระองค์ทั้งหลายทรงโปรดช่วยพระราชบิดาให้พ้นทางมัวเมา ให้เห็นทางสว่างพ้นจากทางผิดอันมืดมิดด้วยเทอญ"
ยามนั้นพระนารทะมหาพรหมซึ่งคือพระพุทธเจ้านั้นเอง ได้ทรงจำแลงกายเป็นนักบวชมาเข้าเฝ้าพระเจ้าอังคติราช โดยเหาะลอยมาในอากาศพร้อมทองหาบหนึ่ง
พระราชาทรงตรัสถามพระมหานารทะว่า ไฉนพรหมจึงเหาะได้ พระนารทะจึงทรงทูลว่า เพราะพระองค์บำเพ็ญคุณธรรม ๔ ประการ คือ รักษาสัจจะ ไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ไม่ประพฤติผิดในกาม และประพฤติชอบธรรมทั้งกาย วาจา ใจ คือเสียสละ
พระราชาแคลงพระทัยนัก ทรงถามว่าภพหน้าและบาปบุญมีจริงหรือ
พระนารทะทรงทูลว่า เรื่องนั้นมีจริงพระราชาจึงทรงว่า ถ้างั้นก็ขอยืมเงิน ๑ พัน แล้วชาติหน้าจะใช้คืนให้ พระนารทะว่า พระราชเป็นคนผิดศีล ไม่มีธรรม ตายไปก็จะเกิดในนรก ซึ่งคงไม่มีใครกล้าลงไปทวงในนรก แต่หากพระราชาเป็นคนประพฤติชอบ แม้กี่พันก็จะให้ยืม เพราะชาติหน้าพระองค์ย่อมชดใช้โดยดี
เมื่อพระราชาฟังแล้วเงียบนิ่ง พระนารทะจึงทรงกล่าวสืบไปว่า ถ้าพระราชาหลงผิดในทางอบายมุขละเว้นธรรมเช่นนี้ เมื่อตายไปก็จะเกิดในนรก ต้องถูกแร้งกาจิกกินจนเลือดโทรมกาย เจ็บปวดทรมานในนรกโลกันต์อันมืดมิด มีดหอกคอยทิ่มตำ มีหนามงิ้วเสียดแทง มีทั้งฝนอาวุธตกลงมาทิ่มแทงใส่กาย หากล้มไปก็ถูกนิริยบาลรุมแทง กระหน่ำย่ำเหยียบและโยนลงกะทะเดือด
ในนรกมีภูเขาเหล็กลูกมหึมากลิ้งมาทับบดร่างให้แหลกยับ ถูกกรอกด้วยน้ำทองแดงจนตับไตไส้พุงขาดวิ่น ยามหิวต้องกินน้ำเลือดน้ำหนองของตนเอง บรรดาสุนัขนรกตัวเท่าช้างก็คอยมาแทะกัดกินเนื้อตัว ให้ทุกข์ทรมานมิรู้สุดสิ้น
พระราชาทรงนิ่งสดับฟังเสร็จแล้วก็ให้หวาดหวั่นพระทัยนัก ทรงตรัสด้วยความกลัวตัวสั่นว่า
"เรานี้เป็นคนหลงมัวเมาในทางผิด เรามิอยากตกในนรกเลยนะท่านนารทะ ขอให้ท่านจงช่วยชี้ทางถูกให้ข้าพเจ้าเถิด"
จากนั้นพระนารทะจึงทรงทูลว่า ให้พระราชาทรงละมิจฉาทิฐิหมั่นบำเพ็ญกุศลทำทาน และรักษาศีลอย่างแน่วแน่
บรรดาช้าง ม้า โค กระบือที่แก่เฒ่าก็ให้ปล่อยเสีย เช่นเดียวกับอำมาตย์ชราก้ฬห้เลี้ยงดูมิต้องทำราชการอีก และให้ยึดมั่นในการรักษาศีล ๕ และศีล ๘ อันจะมีผลในภายหน้าอย่างสูงส่ง เป็นทางสู่สวรรค์ชั้นฟ้าด้วย
ให้พระราชาครองราชย์โดยชอบธรรม ตั้งกายเป็นราชรถ ตั้งจิตเป็นสารถี ให้สารถีขับรถคือจิตนำกายไป ประพฤติตามกุศลกรรมบท ๑๐ ประการ ละเว้นกิเลส สำรวมตน คบมิตรที่ดี และไม่ประมาทเสมอไป
เมื่อทรงแสดงโอวาทแล้ว พระนารทะมหาพรหมก็เหาะกลับสู่วิมานแมน
พระราชาและเหล่าเสนาอำมาตย์ที่พบเห็นก็แตกตื่นรีบก้มสัการะ และนับแต่นั้นมาพระเจ้าอังคติราชก็ประพฤติตามโอวาทพระนารทะ บำเพ็ญกุศลถือศีลทำทาน ปกครองเมืองโดยสงบร่มเย็น เมื่อเสด็จสวรรคตก็ทรงขึ้นสู่สวรรค์
คติธรรมอดีตนิทานนี้มีว่าสัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ทำดี ย่อมได้ผลดี ทำผิดบาป ย่อมได้ชั่วช้าสามานย์เป็นผลตอบ และการคบมิตรสหายนั้นก็จะส่งผลดีเลวแก่ตัวบุคคลนั้นด้วย ทศชาติที่ ๙ พระวิฑูรบัณฑิต... รายละเอียด : เมื่อครั้งอดีตกาลนานมาแล้ว พระบรมศาสดาเคยเสวยชาติ เป็นผู้มีปัญญาบารมี เข้าใจเวไนยสัตว์และปราบมารให้สิ้นพยศได้ อดีตนิทานมีเรื่องราวดังนี้
ในแคว้นกุรุรัฐ พระเจ้านัญชัยโกรพทรงครองเมืองอินทปัตตี มีราชเสวกนามว่า "วิฑูรบัณฑิต" เป็นอาจารย์สอนธรรมที่มีความปราดเปรื่อง และน้าวพระทัยให้พระราชาใฝ่ธรรมะด้วยดีเสมอมา
ครั้งนั้นมีพราหมณ์ ๔ คน คบหาเป็นมิตรกัน ออกบวชด้วยเพราะเบื่อในทางโลกีย์ มีชาวบ้านเลื่อมใสกันทั่วไป วันหนึ่งคหบดี ๔ คนพบเห็นก็พึงพอใจ นิมนต์ให้พราหมณ์ไปพักที่บ้านของตนบ้านละคน ต่างก็สักการะและถวายอาหารอย่างดี ฝ่ายพราหมณ์ก็พักผ่อนยามกลางวัน
โดยองค์หนึ่งไปสู่ภพดาวดึงส์ องค์หนึ่งไปยังภพพญานาค องค์หนึ่งไปยังภพพญาครุฑ องค์หนึ่งไปยังอุทยานพระเจ้าโกรพ
เมื่อกลับมาจากพักผ่อนมาก็เล่าให้เศรษฐีที่อุปการะตนฟัง ตามที่พราหมณ์แต่ละคนไปพบเห็นมาว่า สมบัติของแต่ละในภพนั้นเลิศเลออย่างไร หากอยากได้เสวยสุขเช่นนั้นก็ต้องหมั่นทำกุศลไว้ให้มั่น
คหบดีทั้ง ๔ ก็ปฏิบัติตามเคร่งครัด เมื่อตายไปก็ได้ไปเกิดเป็นพระอินทร์อยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ อีกคนได้ไปเกิดเป็นพญานาคในเมืองบาดาล อีกคนหนึ่งไปเกิดเป็นพญาครุฑ อีกคนไปเกิดในครรภ์พระมเหสีพระเจ้าโกรพ ประสูติออกมามีพระนามว่า ธนัญชัยกุมาร
เมื่อเจริญพระชันษาขึ้นครองราชย์ พระเจ้าธนัญชัยก็ทรงรักษาศีลบำเพ็ญทานตามที่วิฑูรบัณฑิตถวายพระโอวาท
ตัดสินด้วยปัญญา
คราวหนึ่งพระเจ้าธนัญชัยออกไปถือศีลที่อุทยานในวันอุโบสถ บรรดาพญานาคพญาครุฑและพระอินทร์ก็มาเจริญสมาธิ ณ อุทยานแห่งนั้นด้วย
ทั้ง ๔ ต่างใคร่รู้ว่าศีลของผู้ใดจะประเสริฐล้ำยิ่งกว่ากัน พญานาคจึงกล่าวว่า
"ธรรมดาของครุฑนั้นมักเช่นฆ่านาคอยู่เสมอ แต่ข้าพเจ้าสามารถอดทนได้ มิให้เกิดอารมณ์เคืองโกรธ ศีลของข้าพเจ้าจึงประเสริฐนัก"
พญาครุฑจึงเอ่ยว่า "ข้าพเจ้าอดกลั้นความอยากได้สำเร็จ เพราะธรรมดาของครุฑย่อมกินนาค แต่ข้าพเจ้าอดกลั้นได้ ศีลของข้าพเจ้าย่อมประเสริฐนัก"
พระอินทร์เอ่ยบ้างว่า "ข้าพเจ้าละกามละสมบัติมารักษาศีลได้ ศีลของข้าพเจ้าจึงประเสริฐนัก"
มาถึงพระเจ้าธนัญชัยตรัสบ้างว่า "ข้าพเจ้าไม่ยึดมั่นในตัณหา ไม่กังวลในสิ่งใด ศีลของข้าพเจ้าประเสริฐที่สุด"
เมื่อทั้ง ๔ มิอาจตัดสินยอมกันได้ว่าศีลของผู้ใดจึงประเสริฐกว่ากัน ทั้งหมดจึงพากันไปเล่าความให้วิฑูรบัณฑิตช่วยตัดสินให้กระจ่าง
วิฑูรบัณฑิตทรงทูลว่า ศีลทั้ง ๔ ข้อ ล้วนเสมอกันเป็นคุณธรรมเลิศล้ำด้วย เพราะความไม่โกรธคือความขันติ ความไม่ทำชั่วก็คือความดีงาม การละกามคุณก็ดีงาม การไม่ยึดติดกังวลใดก็ดีงามเสมอกัน
ทั้ง ๔ พระองค์ได้สดับก็ให้ปีติยินดี พระอินทร์พระราชทานผ้าทิพย์สีดอกบัวเนื้อละเอียดเป็นเครื่องบูชาธรรม พญาครุฑพระราชทานดอกไม้ทอง เกสรแก้ว พญานาคพระราชทานดอกแก้วมณี พระเจ้าธนัญชัยพระราชทานโค ๑ พันตัว รถม้า ๑๐๐ คัน ส่วย ๑๖ บ้าน
ครั้นด้านพญานาคเมื่อร่ำลากลับบาดาล มเหสีวิมาลาเทวีจึงทูลถามหาดวงแก้วที่พระศอ พญานาคเล่าความให้ฟัง พระมเหสีจึงอยากฟังธรรมและพบวิฑูรย์บัณฑิตบ้าง แต่คงขึ้นไปเองมิได้แน่ จึงวางอุบายแกล้งป่วยไข้ ร้องทูลขอหัวใจของวิฑูร บัณฑิตโดยเจ้าตัวต้องยินดีมอบให้
พญานาคลำบากใจอ้างว่า วิฑูรบัณฑิตไม่มีใครได้พบเห็นง่ายดาย ในวังเองก็มีการอารักขาแน่นหนา จะพาตัวมาก็ยากดั่งสอยพระอาทิตย์นั่นไซร้
พญานาคได้แต่กลัดกลุ้มเมื่อวิมาลาเทวียังป่วยหนักอยู่ พระนางอิรันฑตีพระราชธิดาทราบความก็ทรงอาสา
"เสด็จแม่มิต้องทรงกังวลหรอกเพคะ เรื่องของวิฑูรบัณฑิตนี้ ขอให้ลูกได้จัดการเอง ลูกจะไปยังภพของมนุษย์และ นำหัวใจของวิฑูรบัณฑิตมาถวายให้เพคะ"
ธิดานาคและยักษา
ครั้นแล้วพระธิดาอิรันฑตีจึงแต่งองค์งดงาม ประดับดอกไม้แก้วมณีและเครื่องหอม ว่ายน้ำไปยังกาฬคีรีขึ้นยืนบนยอดแล้วขับร้องฟ้อนรำในบทอันเสนาะหูว่า
"ผู้มีปัญญาทั้งปวง คนธรรพ์ กินนร นาค ครุฑ หรือมนุษย์อันใดหากนำหัวใจวิฑูรบัณฑิตมาถวายพระมารดาของเราได้ เราจะยอมเป็นคู่ครองภักดีจนตาย"
ยามนั้นยังมียักษ์นามปุณณกะ ผู้เป็นหลานท้าวเวชสุวรรณ กำลังขี่ม้าเหาะผ่านมาทางยอดเขา ได้ยินเพลงไพเราะและโฉมงดงามของพระธิดาก็ให้เกิดหลงใหล เพราะเคยครองคู่กันมาแต่ปางก่อน จึงเข้าพบถามความแล้วตกลงจะไปนำดวงใจวิฑูรบัณฑิตมาให้ได้
ยักษ์ปุณณกะ กลับไปทูลขออนุญาตท้าวเวชสุวรรณ แต่ขณะนั้นท้าวเธอตัดสินคดีพิพาทของยักษ์มิทันฟังความ ยักษ์ปุณณกะจึงทูลลาไปด้วยนึกว่าทรงอนุญาตแล้ว
เมื่อปุณณกะเหาะไปถึงเมืองราชคฤห์ แวะเก็บแก้วมณีชื่อ "มโนหร" บนยอดเขาบรรพตไปด้วย แก้วนั้นมีแวววาวพราวรัศมี เมื่อเหาะไปถึงอินทปัตตีนครก็เข้าพระราชวังไปขอเฝ้า พระเจ้าธนัญชัยด้วยสืบทราบมาว่าพระราชาโปรดเล่นสกายิ่งนัก จึงคิดอุบายทูลท้าแข่งสกา
ขอเดิมพันคือดวงแก้วดวงหนึ่งและม้าตัวหนึ่ง
พระราชาทรงตรัสว่ามีม้าและแก้วมากมายแล้ว แต่ปุณณกะที่จำแลงเป็นมนุษย์ได้อ้างว่า ม้าและแก้วของตนมีฤทธานุภาพยิ่งนัก จากนั้นจึงสำแดงให้พระราชาทอดพระเนตร
จากนั้นจึงขึ้นขี่ม้าทะยานขึ้นบนกำแพง ฝีเท้าม้าว่องไวจนไม่เห็นตัวม้า แม้ทะยานลงสระผิวน้ำก็ไม่กระเพื่อม แล้วก็แสดงดวงแก้วให้ดูในดวงแก้วปรากฎเหล่าเทวบุตรและนางฟ้า ทั้งนาค ครุฑ และบนสวรรค์ชั้นต่าง ๆ พระราชาทอดพระเนตรเห็นดังนั้นก็อยากได้ จึงทรงตรัสว่า ถ้าพระองค์เป็นฝ่ายพ่ายก็จะทรงยกราชสมบัติทั้งปวงให้ เว้นเพียงตัวพระองค์ พระมเหสี และเศวตฉัตรเท่านั้น
แข่งสกา
ครั้นแล้วการเล่นสกาก็ถูกจัดขึ้นที่โรงสกา พระเจ้าธนัญชัย ทรงอธิษฐานถึงเทพธิดาที่รักษาพระองค์ และสรรเสริญคุณมารดา จากนั้นพระราชาเลือกลูกบาศก์ชื่อพาหุลี ส่วนปุณณกะเลือกลูกบาศก์สาวดี
ก่อนจะทอดลูกสกาทองคำนั้น ปุณณกะได้ขอให้เสนาอำมาตย์ และกษัตริย์ทั่วทวีปที่มาประชุมกันพอดีในวันนั้นได้ร่วมเป็นพยานการแข่งขัน มิให้เกิดการอิดออดบิดพลิ้ว ถ้ามีการพ่ายแพ้ คนทั้งปวงในที่นั้นต่างก็รับคำโดยดี
เมื่อพระราชาทอดลูกบาศก์ลง ปุณณกะก็บังคับลูกบาศก์ให้ออกแต้มไม่ดี
พระราชาทรงรับลูกบาศก์ไว้ได้ก่อนตกพื้น ปุณณกะจึงถลึงตาใส่เทพธิดาและยักษ์เสนาบดีของเมือง จนตกใจหวาดกลัวหนีไปจนสุดขอบจักรวาลกันทั้งสิ้น
เมื่อโยนลูกบาศก์อีก ผลออกมาแต้มพระราชาก็พ่ายแพ้ ยักษ์ปุณณกะจึงประกาศก้องว่า
"เราชนะแล้ว พระราชาแพ้แล้ว"
จากนั้นปุณณกะก็ทูลทวงถามถึงของเดิมพัน ซึ่งผู้ชนะจะต้องได้ พระเจ้าธนัญชัยราชาจึงตรัสว่า
"พ่อหนุ่มเอ๋ย เมื่อท่านเป็นผู้ชนะ ก็จงขนเอาทรัพย์สินแก้วแหวนเงินทอง แลช้างม้าทั้งปวงของเราไปเสียเถิด"
"ข้าแต่พระราชา สิ่งที่มีค่าเหล่านั้นข้าพระองค์มิต้องการหรอกพระเจ้าข้า"
พระราชาสดับฟังดังนั้นก็ให้งุนงงนัก ตรัสถามว่า
"ถ้าเจ้าไม่ต้องการทรัพย์สินเงินทอง แล้วยังมีสิ่งใดที่ต้องการอีกหรือ"
ยักษ์ปุณณะทูลตอบด้วยเสียงอันดังว่า "ข้าพระองค์ต้องการตัววิฑูรบัณฑิตพระเจ้าข้า"
พระราชาทรงตกพระทัย ตรัสปฏิเสธว่า "เราเดิมพันยกเว้นตัวเราด้วย แต่วิฑูรบัณฑิตนั้นก็เปรียบเป็นตัวของเราเอง จึงมิอาจยกให้ได้หรอกนะ ขอให้เป็นสิ่งของอื่นเถิด
เอาบุญมาฝากจะถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ สักการะพระธาตุ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาทสร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ ให้อาหารสัตว์เป็นทานเป็นประจำ กรวดน้ำอุทิศบุญ อนุโมทนากับพ่อแม่ญาติพี่น้องที่รักษาศีล ฟังธรรม ให้ทาน อนุโมทนากับเพื่อนๆที่รักษาศีล ศึกษาการรักษาโรค ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ถวายสังฆทานมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ปิดทองพระ รักษาอาการป่วยของผู้อื่นกับผู้ร่วมงาน และที่ผ่านมาได้รักษาอาการป่วยของบิดามารดา ปล่อยชีวิตสัตว์มาโดยตลอด ถวายยาแก่ภิกษุ ขัดองค์พระ จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย ให้ความรู้สมุนไพรเพื่อสุขภาพเป็นวิทยาทาน ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ทำบุญหลายอย่างมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ถวายสังฆทานและทำบุญสร้างอาคารผู้ป่วยและกฐินกับเพื่อนๆและให้อาหารเป็นทานแก่สรรพสัตว์กับเพื่อนๆและเพื่อนคนหนึ่งและบริวารของเพื่อนและครอบครัวของเพื่อนได้มีจิตเมตตาให้ทานและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือผู้อื่นอยู่ตลอดและเพื่อนได้เคยสวดมนต์เย็นกับคุณแม่และที่ผ่านมาได้ทำบุญสักการะพระธาตุทำบุญปิดทองชำระหนี้สงฆ์และไหว้พระและทำบุญตามกล่องรับบริจาคตามวัดต่างๆกับเพื่อนและตั้งใจว่าจะสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอให้อนุโมทนาบุญด้วย
ขอเชิญถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน สักการะพระธาตุ ฟังธรรม สวดมนต์ ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาท สร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย กรวดน้ำอุทิศบุญ ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สนทนาธรรม ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น รักษาอาการป่วยของผู้อื่น รักษาอาการป่วยของบิดามารดา จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย ปิดทอง สักการะพระธาตุ กราบอดีตสังขารเจ้าอาวาสที่ไม่เน่าเปื่อย ที่วัดแจ้ง อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ปิดทองพระ ปล่อยชีวิตสัตว์ถวายยาแก่ภิกษุ ไหว้พระตามวัดต่างๆ ขัดองค์พระ ให้ความรู้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพเป็นทาน และสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอเชิญร่วมบุญกุศลร่วมกันนะ
|