//page10// นาคเสนนั้นมาบวช. เมื่อนาคเสนนั้นบวชแล้ว ท่านจงพ้นจากทัณฑกรรม." พระโรหณะผู้มีอายุก็รับคำของพระเถรเจ้าแล้ว. ฝ่ายมหาเสนเทพบุตร ได้จุติจากเทวโลก, ถือปฏิสนธิในครรภ์ แห่งภริยาของโสณุตตรพราหมณ์. ขณะถือปฏิสนธินั้นได้มีอัศจรรย์ปรากฏ สามประการ: คือเครื่องอาวุธทั้งหลายส่องแสงโพลงขึ้นประการหนึ่ง, ข้าวกล้า ที่ยังไม่ออกรวงก็ออกรวงสุกประการหนึ่ง, มหาเมฆบันดาลเมฆให้ฝนห่าใหญ่ ตกลงมาประการหนึ่ง. ฝ่ายพระโรหณะผู้มีอายุ จำเดิมแต่มหาเสนเทพบุตรถือปฏิสนธิมาได้ เข้าไปบิณฑบาตที่ตระกูลนั้นมิได้ขาด ถึงเจ็ดปีกับสิบเดือน, ก็ไม่ได้ข้าวสวย แม้สักทรพีหนึ่ง, ไม่ได้ข้าวต้มแม้สักกระบวยหนึ่ง, ไม่ได้รับใครไหว้ใครประณม มือหรือแสดงอาการเคารพอย่างอื่น แม้สักวันเดียว; กลับได้แต่คำด่าว่าเสียดสี ไม่มีใครที่จะกล่าวโดยดี แม้แต่เพียงว่าโปรดสัตว์ข้างหน้าเถิดเจ้าข้า ดังนี้ ใน วันหนึ่ง. วันนั้นโสณุตตรพราหมณ์กลับมาจากที่ทำงานภายนอกบ้าน, พบ พระเถรเจ้าเดินสวนทางมาจึงถามว่า "บรรพชิต, วันนี้ท่านได้ไปเรือนของเรา แล้วหรือ ?" ท่านตอบว่า "เออ พราหมณ์, วันนี้เราได้ไปเรือนของท่านแล้ว." พราหมณ์ถามว่า "ท่านได้อะไร ๆ บ้างหรือเปล่า ?"- ท่านตอบว่า "เออ พราหมณ์, วันนี้เราได้." พราหมณ์ได้ยินท่านบอกว่าได้ ดังนั้น, สำคัญว่าท่านได้อะไรไปจาก เรือนของตน, มีความเสียใจ, กลับไปถึงเรือนถามว่า "วันนี้เจ้าได้ให้อะไร ๆ แก่ บรรพชิตนั้นหรือ ?" คนในเรือนตอบว่า "ข้าพเจ้าไม่ได้ให้อะไรเลย." ครั้นวันรุ่งขึ้นพราหมณ์ นั่งคอยอยู่ที่ประตูเรือน ด้วยหวังจะยกโทษพระเถรเจ้าด้วยมุสาวาท, พอเห็น พระเถรเจ้าไปถึง, จึงกล่าวท้วงว่า "เมื่อวานนี้ท่านไม่ได้อะไรในเรือนของเรา สักหน่อย พูดได้ว่าตัวได้. การพูดมุสาควรแก่ท่านหรือ ?"
//page11// พระเถรเจ้าตอบว่า "ดูก่อนพราหมณ์ เราไม่ได้แม้แต่เพียงคำว่า 'โปรด สัตว์ข้างหน้าเถิดเจ้าข้า' ดังนี้ ในเรือนของท่านถึงเจ็ดปีกับสิบเดือนแล้ว พึ่งได้ คำเช่นนั้นเมื่อวานนี้เอง; เช่นนี้ เราจึงได้บอกแก่ท่านว่าเราได้ ด้วยหมายเอา การกล่าวปราศรัยด้วยวาจานั้น." พราหมณ์นึกว่า "บรรพชิตพวกนี้ได้รับแต่เพียงการกล่าวปราศรัยด้วย วาจา ยังพูดสรรเสริญในท่ามกลางประชาชนว่าตนได้รับ, ถ้าได้ของเคี้ยวของ กินอะไร ๆ อย่างอื่นอีกแล้ว, เหตุไฉนจะไม่พูดสรรเสริญ?" จึงมีความเลื่อมใส สั่งคนให้แบ่งข้าวที่จัดไว้เพื่อตัว ถวายพระเถรเจ้าทรพีหนึ่ง ทั้งกับข้าวพอสม ควรกันแล้ว, ได้พูดว่า "ท่านจักได้อาหารนี้เสมอเป็นนิตย์ จำเดิมแต่วันรุ่งขึ้น." เมื่อพระเถรเจ้าไปถึง; พราหมณ์ได้เห็นอาการสงบเสงี่ยมเรียบร้อยของท่าน เข้า, ก็ยิ่งเลื่อมใสมากขึ้น, จึงอาราธนาพระเถรเจ้าให้ทำภัตกิจในเรือนของตน เป็นนิตย์. พระเถรเจ้ารับอาราธนาด้วยดุษณีภาพ (นิ่งอยู่) แล้ว; ตั้งแต่นั้นมา ทำภัตตกิจเสร็จแล้ว, เมื่อจะไป, ได้กล่าวพระพุทธวจนะน้อยหนึ่ง ๆ แล้ว จึงไปเสมอทุกวัน ๆ. ฝ่ายนางพราหมณี ครั้นล่วงสิบเดือนคลอดบุตรชายคนหนึ่ง ชื่อนาค เสน. นาคเสนนั้นเติบใหญ่ขึ้นโดยลำดับกาล จนมีอายุได้เจ็ดขวบ; บิดาจึง กล่าวกะเขาว่า "พ่อนาคเสน, บัดนี้เจ้าควรจะเรียนวิทยาในตระกูลพราหมณ์นี้ แล้ว." นาคเสนถามว่า "วิทยาอะไรพ่อ ชื่อว่าวิทยาในตระกูลพราหมณ์นี้ ?" บิดาบอกว่า "ไตรเพทแล, พ่อนาคเสน, ชื่อว่าวิทยา; ศิลปศาสตร์ที่ เหลือจากนั้น ชื่อว่าศิลปศาสตร์." นาคเสนก็รับว่าจะเรียน. โสณุตตรพราหมณ์ จึงให้ทรัพย์พันกษาปณ์แก่พราหมณ์ผู้จะเป็นครู เป็นส่วนสำหรับบูชาครูแล้ว, ให้ตั้งเตียงสองตัวให้ชิดกัน ในห้องภายในปราสาทแห่งหนึ่งแล้ว กำชับสั่ง พราหมณ์ผู้เป็นครูว่า "ขอท่านจงให้เด็กผู้นี้ท่องมนต์เถิด"
//page12// พราหมณ์ผู้เป็นครูพูดว่า "ถ้าอย่างนั้น พ่อหนูเรียนมนต์เถิด;" ดังนี้แล้ว, ก็สาธยายขึ้น. นาคเสนว่าตามครั้งเดียว, ไตรเพทก็ขึ้นใจขึ้นปากกำหนดจำได้ แม่นยำ, ทำในใจตรึกตรองได้ดีโดยคล่องแคล่ว, เกิดปัญญาดุจดวงตาเห็นใน ไตรเพท พร้อมทั้งคัมภีร์นิคัณฑุศาสตร์และ' คัมภีร์เกฏุภศาสตร์ พร้อมทั้ง อักษรประเภท พร้อมทั้งคัมภีร์อิติหาสศาสตร์ครบทั้งห้าอย่าง, ว่าขึ้นอย่างหนึ่ง แล้วก็เข้าใจความแห่งพากย์นั้น ๆ พร้อมทั้งไวยากรณ์. ชำนิชำนาญในคัมภีร์ โลกายตศาสตร์ และมหาปุริสลักษณพยากรณศาสตร์ ครบทุกอย่างแล้ว, จึง ถามบิดาว่า "พ่อ, ในตระกูลพราหมณ์นี้ ยังมีข้อที่จะต้องศึกษายิ่งกว่านี้อีก หรือมีแต่เพียงเท่านี้." เมื่อบิดาบอกว่า "ข้อที่จะต้องศึกษายิ่งกว่านี้อีกไม่มี แล้ว ข้อที่ต้องศึกษานั้นมีเพียงเท่านี้," แล้วจึงสอบความรู้ต่ออาจารย์เสร็จ แล้ว, กลับลงมาจากปราสาท, อันวาสนาคือกุศลที่ได้เคยอบรมมาแต่ปางก่อน เข้าเตือนใจบันดาลให้หลีกเข้าไปอยู่ ณ ที่สงัดแล้ว, พิจารณาดูเบื้องต้น ท่ามกลางที่สุดแห่งศิลปศาสตร์ของตน, ไม่แลเห็นแก่นสารในเบื้องต้น ในท่ามกลางหรือในที่สุดนั้น แม้สักหน่อยหนึ่งแล้ว, จึงมีความเดือดร้อนเสียใจ ว่า "ไตรเพทเหล่านี้เปล่าจากประโยชน์เทียวหนอ, ไตรเพทเหล่านี้เป็นแต่ของ จะต้องท่องเพ้อเปล่า ๆ เทียวหนอไม่มีแก่นสาร หาแก่นสารมิได้เลย." ในสมัยนั้น พระโรหณะผู้มีอายุนั่งอยู่ที่วัตตนิยเสนาสน์ ทราบปริวิตก แห่งจิตของนาคเสนด้วยวารจิตของตนแล้ว, ครองผ้าตามสมณวัตรแล้ว, ถือ บาตรจีวรอันตรธานจากวัตตนิยเสนาสน์, มาปรากฏที่หน้าบ้านกชังคลคาม. นาคเสนยืนอยู่ที่ซุ้มประตูแลเห็นพระเถรเจ้ามาอยู่แต่ไกล, ก็มีใจยินดี ร่าเริงบันเทิงปีติโสมนัส, ดำรงว่า "บางทีบรรพชิตรูปนี้จะรู้วิทยาที่เป็นแก่นสาร บ้างกระมัง," จึงเข้าไปใกล้แล้ว, ถามว่า "ท่านผู้นิรทุกข์, ท่านเป็นอะไร จึงโกน ศีรษะและนุ่งห่มผ้าย้อมด้วยน้ำฝาดเช่นนี้ ?" ร. "เราเป็นบรรพชิต." น. "ท่านเป็นบรรพชิต. ด้วยเหตุอย่างไร ?"
//page13// น. "เราเว้นจากกิจการบ้านเรือน เพื่อจะละมลทินที่ลามกเสียแล้ว, เรา จึงชื่อว่าเป็นบรรพชิต." น. "เหตุไฉน ผมของท่านจึงไม่เหมือนของเขาอื่นเล่า ?" ร. "เราเห็นเหตุเครื่องกังวลสิบหกอย่าง เราจึงโกนเสีย. เหตุเครื่องกังวล สิบหกอย่างนั้น คือ กังวลด้วยต้องหาเครื่องประดับหนึ่ง กังวลด้วยต้องแต่ง หนึ่ง, กังวลด้วยต้องทาน้ำมันหนึ่ง, กังวลด้วยต้องสระหนึ่ง, กังวลด้วยต้อง ประดับดอกไม้หนึ่ง, กังวลด้วยต้องทาของหอมหนึ่ง, กังวลด้วยต้องอบกลิ่น หนึ่ง, กังวลด้วยต้องหาสมอ (สำหรับสระ) หนึ่ง, กังวลด้วยต้องหามะขามป้อม (สำหรับสระ) หนึ่ง, กังวลด้วยจับเขม่าหนึ่ง, กังวลด้วยต้องเกล้าหนึ่ง, กังวล ด้วยต้องหวีหนึ่ง, กังวลด้วยต้องตัดหนึ่ง, กังวลด้วยต้องสางหนึ่ง, กังวลด้วย ต้องหาเหาหนึ่ง, และเมื่อผมร่วงโกรน เจ้าของย่อมเสียดายหนึ่ง: รวมเป็นเหตุ เครื่องกังวลสิบหกอย่าง. คนที่กังวลอยู่ในเหตุสิบหกอย่างนี้ ย่อมทำศิลปที่ สุขุมยิ่งนักให้ฉิบหายเสียทั้งหมด." น. "เหตุไฉน ผ้านุ่งผ้าห่มของท่าน จึงไม่เหมือนของเขาอื่นเล่า ?" ร. "ผ้าที่กิเลสกามอิงอาศัย เป็นที่ใคร่ของคน เป็นเครื่องหมายเพศ คฤหัสถ์; ภัยอันตรายอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งจะเกิดขึ้นเพราะผ้า, ภัยนั้นมิได้มีแก่ ผู้ที่นุ่งห่มผ้าย้อมด้วยน้ำฝาด; เหตุนั้น ผ้านุ่งห่มของเราจึงไม่เหมือนของเขา อื่น." น. "ท่านรู้ศิลปศาสตร์อยู่บ้างหรือ ?"- ร. "เออ เรารู้, แม้มนต์ที่สูงสุดในโลกเราก็รู้." น. "ท่านจะให้มนต์นั้นแก่ข้าพเจ้าได้หรือ ?" ร. "เออ เราจะให้ได้." น. "ถ้าอย่างนั้น ท่านให้เถิด." ร. "เวลานี้ยังไม่เป็นกาล เพราะเรายังกำลังเที่ยวบิณฑบาตอยู่."
//page14// ลำดับนั้น นาคเสนรับบาตรจากหัตถ์พระเถรเจ้าแล้ว, นิมนต์ให้เข้าไป ในเรือนแล้ว, อังคาสด้วยขัชชะโภชชาหารอันประณีต ด้วยมือของตนจนอิ่ม แล้ว, พูดเตือนว่า "เวลานี้ท่านให้มนต์นั้นเถิด." พระเถรเจ้าตอบว่า "ท่านจะขอให้มารดาบิดาอนุญาตแล้ว ถือเพศ บรรพชิตที่เราถืออยู่นี้ เป็นคนไม่มีกังวลได้เมื่อใด, เราจะให้แก่ท่านเมื่อนั้น." นาคเสนจึงไปหามารดาบิดาบอกว่า "บรรพชิตรูปนี้พูดอยู่ว่า 'รู้มนต์ที่ สูงสุดในโลก' ก็แต่ไม่ยอมให้แก่ผู้ที่ไม่ได้บวชในสำนักของตน ฉันจะขอบวช เรียนมนต์นั้นในสำนักของบรรพชิตผู้นี้." มารดาบิดาสำคัญใจว่า ลูกของตนบวชเรียนมนต์นั้นแล้ว จักกลับมา จึงอนุญาตว่า "เรียนเถิดลูก." ครั้นมารดาบิดาอนุญาตให้นาคเสนบวชแล้ว พระโรหณะผู้มีอายุก็พานาคเสนไปสู่วัตตนิยเสนาสน์และวิชัมภวัตถุเสนาสน์ แล้ว พักอยู่ที่วิชัมภวัตถุเสนาสน์ราตรีหนึ่งแล้วไปสู่พื้นถ้ำรักขิตคูหา แล้ว บวชนาคเสนในท่ามกลางพระอรหันต์เจ้าร้อยโกฏิ ณ ที่นั้น. พอบวชแล้วสามเณรนาคเสนก็เตือนพระเถรเจ้าว่า "ข้าพเจ้าได้ถือเพศ ของท่านแล้ว, ขอท่านให้มนต์นั้นแก่ข้าพเจ้าเถิด." พระเถรเจ้าตรองว่า "เราจะแนะนาคเสนในอะไรก่อนดีหนอ จะแนะใน พระสุตตันปิฎกก่อนดี หรือจะแนะในพระอภิธรรมปิฏกก่อนดี," ครั้นตรองอยู่ อย่างนี้ ได้สันนิษฐานลงว่า "นาคเสนผู้นี้ มีปัญญาสามารถจะเรียนพระ อภิธรรมปิฎกได้โดยง่าย," จึงได้แนะให้เรียนพระอภิธรรมปิฏกก่อน. สามเณรนาคเสนสาธยายหนเดียว ก็จำพระอภิธรรมปิฏกได้คล่องทั้ง หมดแล้ว จึงบอกพระเถรเจ้าว่า "ขอท่านหยุดอย่าสวดต่อไปเลย; ข้าพเจ้าจัก สาธยายแต่เพียงเท่านี้ก่อน." แล้วเข้าไปหาพระอรหันต์เจ้าร้อยโกฏิแล้ว กล่าว ว่า "ข้าพเจ้าจะสวดพระอภิธรรมปิฎกทั้งหมดถวายโดยพิสดาร." พระอรหันต์เจ้าร้อยโกฏินั้นตอบว่า "ดีละ นาคเสน ท่านสวดเถิด."
//page15// สามเณรนาคเสนก็สวดพระธรรมเจ็ดคัมภีร์นั้นโดยพิสดาร ถึงเจ็ด เดือนจึงจบ มหาปฐพีบันลือเสียงลั่น, เทวดาถวายสาธุการ, มหาพรหมตบ พระหัตถ์, เทพเจ้าทั้งหลายบันดาลจุรณ์จันทน์และดอกมัณฑทารพอันเป็น ของทิพย์ให้ตกลง ดุจห่าฝนแล้ว. ครั้นสามเณรนาคเสนมีอายุได้ยี่สิบปี บริบูรณ์แล้ว. พระอรหันต์เจ้าร้อยโกฏิ ก็ประชุมกันที่พื้นถ้ำรักขิตคูหา ให้ สามเณรนาคเสนอุปสมบทเป็นพระภิกษุ, ครั้นรุ่งเช้าพระนาคเสนเข้าไป บิณฑบาตในบ้านกับพระอุปัชฌาย์ดำริแต่ในจิตว่า "พระอุปัชฌาย์ของเรา เป็นคนไม่รู้จักอะไรหนอ, พระอุปัชฌาย์ของเราเป็นคนเขลาหนอ, เพราะ ท่านสอนให้เราศึกษาพระอภิธรรมปิฎกก่อนกว่าพระพุทธวจนะอื่น ๆ. พระโรหณะผู้มีอายุผู้เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้ทราบความดำริในจิตของ พระนาคเสนแล้ว กล่าวว่า "นาคเสน ท่านดำริไม่สมควร, ความดำริเช่นนี้สม ควรแก่ท่านก็หามิได้." พระนาคเสนนึกในใจว่า "น่าอัศจรรย์หนอ ! พระอุปัชฌาย์ของเรา ท่านมาทราบความดำริในจิตของเรา ด้วยวารจิตของท่าน, พระอุปัชฌาย์ของ เรา ท่านมีปัญญาแท้ ๆ, ถ้าอย่างไร เราจะขอขมาให้ท่านอดโทษเสีย." ครั้นคิด อย่างนี้แล้ว จึงขอขมาโทษว่า "ขอท่านจงอดโทษให้แก่ข้าพเจ้า ต่อไปข้าพเจ้า จักไม่คิดเช่นนี้อีก." พระเถรเจ้าตอบว่า "เราไม่ยอมอดโทษด้วยเพียงแต่สักว่าขอขมาเท่านี้. ก็แต่ว่ามีราชธานีหนึ่ง ชื่อว่าสาคลนคร, พระเจ้าแผ่นดินผู้ครองราชสมบัติใน ราชธานีนั้น ทรงพระนามว่าพระเจ้ามิลินท์, เธอโปรดตรัสถามปัญหาปรารภ ทิฏฐิลัทธิต่าง ๆ ทำพระภิกษุสงฆ์ให้ได้ความลำบาก ในการที่จะกล่าวแก้ ปัญหา ซึ่งเธอตรัสถาม, ถ้าว่าท่านจะไปทรมานเธอให้เลื่อมใสได้แล้ว เราจึง จะยอมอดโทษให้."
//page16// พระนาคเสนเรียนตอบว่า "อย่าว่าแต่พระเจ้ามิลินท์องค์เดียวเลย, ให้ พระเจ้าแผ่นดินในชมพูทวีปทั้งหมด มาถามปัญหาข้าพเจ้า ๆ จะแก้ปัญหานั้น ทำลายล้างเสียให้หมด, ขอท่านอดโทษให้แก่ข้าพเจ้าเถิด" เมื่อพระเถรเจ้ายัง ไม่ยอมอดให้ จึงเรียนถามว่า "ถ้าอย่างนั้นในไตรมาสนี้ ข้าพเจ้าจะไปอยู่ใน สำนักของใครเล่า ?" พระเถรเจ้าตอบว่า "พระอัสสคุตตเถระผู้มีอายุ ท่านอยู่ที่วัตตนิย เสนาสน์, ท่านจงไปหาท่านแล้ว กราบเรียนตามคำของเราว่า "พระอุปัชฌาย์ ของข้าพเจ้าให้มากราบเท้าท่าน และเรียนถามว่า "ท่านไม่มีอาพาธเจ็บไข้ ยัง มีกำลังลุกคล่องแคล่วอยู่ผาสุกหรือ, และส่งข้าพเจ้ามาด้วยปรารถนาจะให้อยู่ ในสำนักของท่าน สิ้นไตรมาสนี้; และเมื่อท่านจะถามว่า "พระอุปัชฌาย์ของ ท่านชื่อไร" ดังนี้แล้ว, ก็เรียนท่านว่า "พระอุปัชฌาย์ของข้าพเจ้าชื่อโรหณ เถระ," และเมื่อท่านจะถามว่า "เราชื่อไรเล่า" ก็เรียนท่านว่า "พระอุปัชฌาย์ ของข้าพเจ้าทราบชื่อของท่าน." พระนาคเสนรับคำของพระเถรเจ้าแล้วกราบลา ทำประทักษิณแล้ว ถือ บาตรจีวรหลีกจาริกไปโดยลำดับ ถึงวัตตนิยเสนาสน์แล้วเข้าไปหาพระอัสส คุตตเถรเจ้า กราบท่านแล้วยืน ณ ที่สมควรแห่งหนึ่งเรียนตามคำซึ่งพระ อุปัชฌาย์ของตนสั่งมาทุกประการ. พระอัสสคุตตเถรเจ้าถามว่า "ท่านชื่อไร ?" น. "ข้าพเจ้าชื่อนาคเสน." อ. "พระอุปัชฌาย์ของท่านชื่อไร ?" น. "พระอุปัชฌาย์ของข้าพเจ้า ชื่อโรหณเถระ." อ. "เราชื่อไรเล่า ?"- น. "พระอุปัชฌาย์ของข้าพเจ้าทราบชื่อของท่าน." อ. "ดีละ นาคเสน ท่านเก็บบาตรจีวรเถิด." พระนาคเสนเก็บบาตรจีวรไว้แล้ว ในวันรุ่งขึ้น ได้กวาดบริเวณตั้งน้ำ บ้วนปากและไม้สีฟันไว้ถวาย. //page17// พระเถรเจ้ากลับกวาดที่ซึ่งพระนาคเสนกวาดแล้วเสียใหม่, เทน้ำนั้นเสียแล้ว ตักน้ำอื่นมา, หยิบไม้สีฟันนั้นออกเสียแล้ว หยิบไม้สีฟันอันอื่นใช้, ไม่ได้เจรจา ปราศรัยแม้สักหน่อยเลย. พระเถรเจ้าทำดังนี้ถึงเจ็ดวัน ต่อถึงวันที่เจ็ดจึงถาม อย่างนั้นอีก. พระนาคเสนก็เรียนตอบเหมือนนั้น. ท่านจึงอนุญาตให้อยู่จำ พรรษาในที่นั้น. ในสมัยนั้น มีมหาอุบาสิกาผู้หนึ่ง ซึ่งได้อุปฐากพระเถรเจ้ามาถึง สามสิบพรรษาแล้ว เมื่อล่วงไตรมาสนั้นแล้ว มาหาพระเถรเจ้าเรียนถามว่า "มี ภิกษุอื่นมาจำพรรษาอยู่ในสำนักของท่านบ้างหรือไม่ ?" ท่านตอบว่า "มีพระนาคเสนองค์หนึ่ง." มหาอุบาสิกานั้นจึงนิมนต์พระเถรเจ้ากับพระนาคเสนไปฉันที่เรือนใน วันรุ่งขึ้น. พระเถรเจ้ารับนิมนต์ด้วยดุษณีภาพแล้ว ครั้นล่วงราตรีนั้นถึงเวลา เช้าแล้ว ท่านครองผ้าตามสมณวัตรแล้ว ถือบาตรจีวรไปกับพระนาคเสนเป็น ปัจฉาสมณะตามหลังถึงเรือนมหาอุบาสิกานั้นแล้ว นั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้ ถวาย. มหาอุบาสิกานั้นจึงอังคาสพระเถรเจ้ากับพระนาคเสนด้วยของเคี้ยว ของฉันอันประณีต ด้วยมือของตน. ครั้นฉันเสร็จแล้ว พระเถรเจ้าสั่งพระนาค เสนว่า "ท่านทำอนุโมทนาแก่มหาอุบาสิกาเถิด." ครั้นสั่งดังนั้นแล้ว ลุกจาก อาสนะหลีกไป. ส่วนมหาอุบาสิกานั้นกล่าวขอกะพระนาคเสนว่า "ตนเป็นคนแก่แล้ว ขอให้พระนาคเสนทำอนุโมทนาแก่ตนด้วยธรรมีกถาที่ลึกสุขุมเถิด" พระ นาคเสนก็ทำอนุโมทนาแก่มหาอุบาสิกานั้นด้วยอภิธรรมกถาอันลึกละเอียด แสดงโลกุตตรธรรมปฏิสังยุตด้วยสุญญตานุปัสสนา ขณะนั้น มหาอุบาสิกา นั้นได้ธรรมจักษุคือปัญญาที่เห็นธรรมปราศจากธุลีปราศจากมลทินคือกิเลส ในที่นั่งนั้นเองว่า "สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งทั้งปวงนั้นมี ความดับเป็นธรรมดา" ดังนี้. แม้พระนาคเสนเอง ทำอนุโมทนาแก่อุบาสิกา นั้นแล้ว พิจารณาธรรมที่ตนแสดงอยู่ นั่งเจริญวิปัสสนาอยู่ที่อาสนะนั้นก็ได้ บรรลุโสดาปัตติผล. //page18// เวลานั้น พระอัสสคุตตเถรเจ้านั่งที่วิหาร ทราบว่าพระนาคเสนและ มหาอุบาสิกา ได้ธรรมจักษุบรรลุโสดาปัตติผลทั้งสองคน จึงให้สาธุการว่า "ดี ละ ๆ นาคเสน ท่านยิงศรเล่มเดียว ทำลายกองสักกายทิฏฐิอันใหญ่ได้ถึงสอง กอง." แม้เทวดาทั้งหลายก็ได้ถวายสาธุการหลายพันองค์. พระนาคเสนลุก จากอาสนะกลับมาหาพระอัสสคุตตเถรเจ้า อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้าง หนึ่ง. พระเถรเจ้าจึงสั่งว่า "ท่านจงไปสู่เมืองปาฏลิบุตร, เรียนพระพุทธวจนะ ในสำนักแห่งพระธรรมรักขิตเถระผู้มีอายุ ซึ่งอยู่ในอโสการามเถิด." น. "เมืองปาฏลิบุตร แต่ที่นี้ไปไกลกี่มากน้อย ?"- อ. "ไกลร้อยโยชน์." น. "หนทางไกลนัก, ในกลางทางอาหารก็หาได้ยาก, ข้าพเจ้าจะไป อย่างไรได้ ?" อ. "ไปเถิดนาคเสน, ในกลางทางท่านจักได้บิณฑบาตข้าวสาลีที่ บริสุทธิ์และแกงกับเป็นอันมาก." พระนาคเสนรับคำของพระเถรเจ้าแล้ว กราบลาทำประทักษิณแล้ว ถือ บาตรจีวรจาริกไปเมืองปรากฏลิบุตร. ในสมัยนั้น เศรษฐีชาวเมืองปาฎลิบุตรพร้อมด้วยเกวียนห้าร้อยกำลัง เดินทางจะไปเมืองปาฎลิบุตรอยู่. ได้เห็นพระนาคเสนเดินทางมาแต่ไกล, จึง สั่งให้กลับเกวียนห้าร้อยนั้นแล้ว ไปหาพระนาคเสนถามว่า "พระผู้เป็นเจ้าจัก ไปข้างไหน ?" พระนาคเสนตอบว่า "จะไปเมืองปาฏลิบุตร." เศรษฐีชวนว่า "ดีละ ข้าพเจ้าก็จะไปเมืองปาฏลิบุตร เหมือนกัน, พระผู้ เป็นเจ้าจงไปกับข้าพเจ้าเถิด จะได้ไปเป็นสุข" ดังนี้, แล้วเลื่อมใสในอิริยาบถ ของพระนาคเสน แล้วอังคาสท่านด้วยของเคี้ยวของฉันอันประณีต ด้วยมือ ของตนจนอิ่มเสร็จแล้ว นั่ง ณ ที่อาสนะต่ำแห่งหนึ่งแล้วถามว่า "พระผู้เป็นเจ้า ชื่อไร ?"
เอาบุญมาฝากจะถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ สักการะพระธาตุ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาทสร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ ให้อาหารสัตว์เป็นทานเป็นประจำ กรวดน้ำอุทิศบุญ อนุโมทนากับพ่อแม่ญาติพี่น้องที่รักษาศีล ฟังธรรม ให้ทาน อนุโมทนากับเพื่อนๆที่รักษาศีล ศึกษาการรักษาโรค ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ถวายสังฆทานมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ปิดทองพระ รักษาอาการป่วยของผู้อื่นกับผู้ร่วมงาน และที่ผ่านมาได้รักษาอาการป่วยของบิดามารดา ปล่อยชีวิตสัตว์มาโดยตลอด ถวายยาแก่ภิกษุ ขัดองค์พระ จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย ให้ความรู้สมุนไพรเพื่อสุขภาพเป็นวิทยาทาน ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ทำบุญหลายอย่างมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ถวายสังฆทานและทำบุญสร้างอาคารผู้ป่วยและกฐินกับเพื่อนๆและให้อาหารเป็นทานแก่สรรพสัตว์กับเพื่อนๆและเพื่อนคนหนึ่งและบริวารของเพื่อนและครอบครัวของเพื่อนได้มีจิตเมตตาให้ทานและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือผู้อื่นอยู่ตลอดและเพื่อนได้เคยสวดมนต์เย็นกับคุณแม่และที่ผ่านมาได้ทำบุญสักการะพระธาตุทำบุญปิดทองชำระหนี้สงฆ์และไหว้พระและทำบุญตามกล่องรับบริจาคตามวัดต่างๆกับเพื่อนและตั้งใจว่าจะสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอให้อนุโมทนาบุญด้วย
ขอเชิญถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน สักการะพระธาตุ ฟังธรรม สวดมนต์ ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาท สร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย กรวดน้ำอุทิศบุญ ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สนทนาธรรม ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น รักษาอาการป่วยของผู้อื่น รักษาอาการป่วยของบิดามารดา จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย ปิดทอง สักการะพระธาตุ กราบอดีตสังขารเจ้าอาวาสที่ไม่เน่าเปื่อย ที่วัดแจ้ง อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ปิดทองพระ ปล่อยชีวิตสัตว์ถวายยาแก่ภิกษุ ไหว้พระตามวัดต่างๆ ขัดองค์พระ ให้ความรู้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพเป็นทาน และสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอเชิญร่วมบุญกุศลร่วมกันนะ
|