โยคาวจรเหมือนราชบุรุษ, กิเลสเหมือนสาหร่าย จอก แหน และตม ศรัทธา เหมือนดวงแก้วมณีที่ สำหรับแช่น้ำให้ใส, เมื่อดวงแก้วมณีนั้น พอราชบุรุษแช่ลงไปในน้ำแล้ว สาหร่าย จอก แหน ก็ หลีกลอยไป, ตมก็จมลง, น้ำก็ผ่องใสไม่ขุ่นมัว ฉันใด; ศรัทธาเมื่อเกิดขึ้นย่อม ข่มนิวรณ์ไว้ได้, จิตก็ ปราศจากนิวรณ์ผ่องใสไม่ขุ่นมัว ฉันนั้น. ศรัทธามีลักษณะให้ใจผ่องใสอย่าง นี้." ร. "ศรัทธามีลักษณะให้แล่นไปด้วยดีเป็นอย่างไร ?" ถ. "เหมือนอย่างว่า พระโยคาวจรได้เห็นจิตของผู้อื่น พ้นพิเศษจาก กิเลสอาสวะแล้ว ย่อม แล่นไปด้วยดีในพระโสดาปัตติผลบ้าง ในพระสกทาคามิผลบ้าง ในพระ อนาคามิผลบ้าง ในพระ อรหัตตผลบ้างย่อมทำความเพียร เพื่อบรรลุธรรมที่ตนไม่บรรลุแล้ว เพื่อได้ ธรรมที่ตนยังไม่ได้แล้ว เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ตนยังไม่ทำให้แจ้งแล้ว; ศรัทธามีลักษณะให้แล่นไปด้วย ดีอย่างนี้." ร. "ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอุปมาให้ฟัง."-------------------- ถ. "เหมือนอย่างว่า มหาเมฆจะให้ฝนตกบนยอดภูเขา, น้ำนั้นจะไหล ลงมาที่ต่ำ ทำลำธาร ห้วยละหานให้เต็มแล้ว ทำแม่น้ำให้เต็ม, แม่น้ำนั้นก็จะไหลเซาะให้เป็นฝั่งทั้ง สองข้างไป, ทีนั้น ประชุมชนหมู่ใหญ่มาถึงแล้ว ไม่ทราบว่าแม่น้ำนั้นตื้นหรือ ลึกก็กลัวไม่อาจข้ามได้ ต้องยืนที่ขอบฝั่ง, เมื่อเป็นดังนั้น บุรุษคนหนึ่งมาถึง แล้ว เห็นเรี่ยวแรงและกำลังของตนว่าสามารถจะข้ามได้ ก็นุ่งผ้าขอดชาย กระเบนให้มั่นแล้ว ก็แล่นข้ามไปได้, ประชุมชนหมู่ใหญ่เห็นบุรุษนั้นข้าไปได้ แล้ว ก็ข้ามตามได้บ้าง ข้อนั้นฉันใด; พระโยคาวจรได้เห็นจิตของผู้อื่นพ้น พิเศษจากกิเลสอาสวะแล้ว ย่อมแล่นไปด้วยดีในพระโสดาปัตติผลบ้าง ใน พระสกทาคามิผลบ้าง ในพระอนาคามิผลบ้าง ในพระอรหัตตผลบ้าง ย่อมทำ ความเพียร เพื่อบรรลุธรรมที่ตนยังไม่ได้บรรลุแล้ว เพื่อได้ธรรมที่ตนยังไม่ได้ แล้ว เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ตนยังไม่ทำให้แจ้งแล้ว ข้อนี้ก็ฉันนั้น. ศรัทธามี ลักษณะให้แล่นไปด้วยดีอย่างนี้. แม้พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ได้ตรัสไว้ในพระ คัมภีร์สังยุตตนิกายว่า "บุคคลย่อมข้ามห้วงกิเลสได้ เพราะศรัทธา, ข้าม มหาสมุทร คือ สังสารวัฏฏ์ได้ เพราะความไม่ประมาท, ล่วงทุกข์ไปได้ เพราะ ความเพียร, ย่อมบริสุทธ์ได้เพราะปัญญา ดังนี้." ร. "พระผู้เป็นเจ้าช่างฉลาดจริง ๆ." ๑๑. วิริยลักขณปัญหา ๑๑
พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้า วิริยะมีลักษณะเป็นอย่างไร ?" พระเถรเจ้าทูลตอบว่า "วิริยะมีลักษณะค้ำจุนไว้, กุศลธรรมทั้งหลาย ทั้งปวง ที่วิริยะค้ำจุนไว้แล้ว ย่อมไม่เสื่อมรอบ." ร. "ขอพระผู้เป็นเจ้าอุปมาให้ข้าพเจ้าฟัง." ถ. "เหมือนอย่างว่า เมื่อเรือนซวนจะล้ม บุรุษค้ำจุนไว้ด้วยไม้อื่น ก็ไม่ ล้ม ฉันใด; วิริยะมีลักษณะค้ำจุนไว้, กุศลธรรมทั้งหลายทั้งปวงที่วิริยะค้ำจุนไว้ แล้วย่อมไม่เสื่อมรอบ ฉันนั้น." ร. "ขอพระผู้เป็นเจ้า อุปมาให้ข้าพเจ้าฟังอีก." ถ. เหมือนอย่างว่า กองทัพหมู่ใหญ่ตีหักกองทัพที่น้อยกว่าให้แตกพ่าย ไป, ในภายหลัง พระราชาจะทรงจัดกองทัพหมู่อื่น ๆ ส่งเป็นกองหนุนเพิ่มเติม ไป, กองทัพหมู่ที่น้อยกว่านั้น ครั้นสมทบเข้ากับกองทัพที่ยกหนุนไป ก็อาจหัก เอาชัยชำนะตีกองทัพหมู่ใหญ่นั้นให้แตกพ่ายได้ ฉันใด; วิริยะมีลักษณะค้ำจุน ไว้, กุศลธรรมทั้งหลายทั้งปวงที่วิริยะค้ำจนไว้แล้ว ย่อมไม่เสื่อมรอบ ฉันนั้น. แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ได้ตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้มีเพียร ย่อมละ อกุศล ทั้งกุศลให้เกิดได้, ย่อมละกรรมที่มีโทษเสีย ทำกรรมที่ไม่มีโทษให้เกิด ได้, ย่อมรักษาตนให้บริสุทธิ์ ดังนี้." ร. "พระผู้เป็นเจ้าช่างฉลาดจริง ๆ." ๑๒. สติลักขณปัญหา ๑๒
พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้า สติมีลักษณะเป็นอย่างไร ?" พระเถรเจ้าทูลตอบว่า "สติมีลักษณะให้นึกได้ และมีลักษณะถือไว้." ร. "สติมีลักษณะให้นึกได้เป็นอย่างไร ?" ถ. "สติเมื่อเกิดขึ้น ย่อมให้นึกถึงธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล มีโทษและ ไม่มีโทษ เลวทรามและประณีต มีส่วนเปรียบด้วยของดำและของขาวได้, นี้ อินทรีย์ห้า, นี้พละห้า, นี้โพชฌงค์เจ็ด, นี้มรรคมีองค์แปดอย่างประเสริฐ, นี้ สมถะ, นี้วิปัสสนา, นี้วิชชา, นี้วิมุตติ" ดังนี้. แต่นั้นพระโยคาวจร ย่อมเสพ ธรรมที่ควรเสพ ย่อมไม่เสพธรรมที่ไม่ควรเสพ, ย่อมคบธรรมที่ควรคบ ย่อมไม่ คบธรรมที่ไม่ควรคบ, สตินี้มีลักษณะให้นึกได้อย่างนี้." ร. "ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอุปมาให้ข้าพเจ้าฟัง." ถ. "เหมือนอย่างว่า คฤหบดีรัตน์ผู้จัดการพระคลังหลวง ของพระเจ้า จักรพรรดิราช กราบทูลพระเจ้าจักรพรรดิราชให้ทรงระลึกพระราชอิสริยยศ ของพระองค์ได้ทุกเย็นเช้าว่า "ช้างของพระองค์มีเท่านั้น ม้ามีเท่านั้น รถมีเท่า นั้น พลราบมีเท่านั้น เงินมีเท่านั้น ทองมีเท่านั้น พัสดุต่าง ๆ มีอย่างละเท่านั้น ๆ "เขากราบทูลพระเจ้าจักรพรรดิราชให้ทรงนึกถึงราชสมบัติได้ ข้อนั้นมีอุปมา ฉันใด; สติเมื่อเกิดขึ้นก็ย่อมให้นึกถึงธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล มีโทษและไม่ มีโทษ เลวทรามและประณีต มีส่วนเปรียบด้วยของดำและของขาวได้, และให้ นึกได้ว่า "นี้สติปัฏฐานสี่, นี้สัมมัปปธานสี่, นี้อิทธิบาทสี่, นี้อินทรีย์ห้า, นี้พละ ห้า, นี้โพชฌงค์เจ็ด, นี้มรรคมีองคืแปดอย่างประเสริฐ, นี้สมถะ, นี้วิปัสสนา, นี้ วิชชา, นี้วิมุตติ" ดังนี้. แต่นั้น พระโยคาวจรย่อมเสพธรรมที่ควรเสพ ย่อมไม่ เสพธรรมที่ไม่ควรเสพ, ย่อมคบธรรมที่ควรคบ ย่อมไม่คบธรรมที่ไม่ควรคบ ข้อ นี้ก็มีอุปไมยฉันนั้น สติมีลักษระให้นึกได้อย่างนี้." ร. "สติมีลักษณะถือไว้นั้นเป็นอย่างไร ?" ถ. "สติเมื่อเกิดขึ้นย่อมค้นหาที่ไปแห่งธรรมทั้งหลาย ที่เป็นประโยชน์ และไม่เป็นประโยชน์; ให้รู้ว่า "ธรรมเหล่านี้เป็นประโยชน์ ,ธรรมเหล่านี้ไม่เป็น ประโยชน์, ธรรมเหล่านี้เป็นอุปการะ ธรรมเหล่านี้ไม่เป็นอุปการะ." แต่นั้น พระโยคาวจรย่อมเกียดกันธรรมที่ไม่เป็นประโยชน์เสีย ถือไว้แต่ธรรมที่เป็น ประโยชน์, ย่อมเกียดกันธรรมที่ไม่เป็นอุปการะเสีย ถือไว้แต่ธรรมที่เป็น อุปการะ. สติมีลักษณะถือไว้อย่างนี้." ร. "ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอุปมาให้ข้าพเจ้าฟัง." ถ. "เหมือนอย่างว่า ปริณายกรัตน์ของพระเจ้าจักรพรรดิราช ย่อม ทราบสิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ กราบทูลแด่พระเจ้าจักรพรรดิ ราชว่า "สิ่งนี้เป็นประโยชน์แด่พระราชา สิ่งนี้ไม่เป็นประโยชน์ สิ่งนี้เป็น อุปการะ สิ่งนี้ไม่เป็นอุปการะ." แต่นั้น ย่อมเกียดกันสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์เสีย ประคองไว้แต่สิ่งที่เป็นประโยชน์, ย่อมเดียดกันสิ่งที่ไม่เป็นอุปการะเสีย ถือไว้ แต่สิ่งที่เป็นอุปการะ," ข้อนั้นมีอุปมาฉันใด; สติเมื่อเกิดขึ้น ย่อมค้นหาที่ไป แห่งธรรมทั้งหลายที่เป็นประโยชน์ และไม่เป็นประโยชน์; ให้รู้ว่า "ธรรมเหล่านี้ เป็นประโยชน์ ธรรมเหล่านี้ไม่เป็นประโยชน์, ธรรมเหล่านี้เป็นอุปการะ ธรรม เหล่านี้ไม่เป็นอุปการะ." แต่นั้น พระโยคาวจรย่อมเกียดกันธรรมที่ไม่เป็น ประโยชน์เสีย ถือไว้แต่ธรรมที่เป็นประโยชน์, ย่อมเดียดกันธรรมที่ไม่เป็น อุปการะเสีย ถือไว้แต่ธรรมที่เป็นอุปการะ ข้อนี้ก็มีอุปไมยฉันนั้น. สติมี ลักษณะถือไว้อย่างนี้. แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย เรา กล่าวสติว่าเป็นธรรมที่ควรปรารถนาในที่ทั้วงปวง ดังนี้." ร. "พระผู้เป็นเจ้าช่างฉลาดจริง ๆ."
๑๓. สมาธิลักขณปัญหา ๑๓
พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้า สมาธิ มีลักษณะเป็นอย่างไร ?" พระเถรเจ้าทูลตอบว่า "สมาธิ มีลักษณะเป็นประธาน, บรรดากุศล ธรรมทั้งหลาย ล้วนมีสมาธิเป็นประธาน เป็นไปในสมาธิ น้อมไปในสมาธิ เงื้อมไปในสมาธิ." ร. "ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอุปมาให้ข้าพเจ้าฟัง." ถ. "บรรดากลอนของเรือนที่มียอด ย่อมน้อมไปหายอด ย่อมเอนไปหา ยอด มียอดเป็นที่ชุมชน, เขาจึงกล่าวยอดว่าเป็นประธานของกลอนเหล่านั้น ข้อนั้นฉันใด, บรรดากุศลธรรมทั้งหลาย ล้วนมีสมาธิเป็นประธาน เป็นไปใน สมาธิ น้อมไปในสมาธิ เงื้อมไปในสมาธิ ข้อนี้ก็ฉันนั้น." ร. "ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอุปมาให้ข้าพเจ้าฟังอีก." ถ. "เหมือนอย่างว่า พระราชาพระองค์หนึ่ง จะเสด็จพระราชดำเนินสู่ งานพระราชสงคราม พรือมด้วยจตุรงคินีเสนา, บรรดาหมู่กองทัพนั้น หมดทั้ง ช้างม้ารถและพลราบ ย่อมมีพระราชานั้นเป็นประธานตามเสด็จห้อมล้อมพระ ราชานั้น ข้อนั้นฉันใด; บรรดากุศลธรรมทั้งหลาย ล้วนมีสมาธิเป็นประธาน เป็นไปในสมาธิ น้อมไปในสมาธิ เงื้อมไปในสมาธิ ข้อนี้ก็ฉันนั้น. สมาธิมี ลักษณะเป็นประธาน อย่างนี้. แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ได้ตรัสว่า "ภิกษุทั้ง หลาย ท่านทั้งหลายเจริญสมาธิเถิด, เพราะว่าผู้ที่มีจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมรู้ ประจักษ์ตามเป็นจริงอย่างไร ดังนี้." ร. "พระผู้เป็นเจ้าช่างฉลาดจริง ๆ."
๑๔. ปัญญาลักขณปัญหา ๑๔
พระราชาตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้า ปัญญา มีลักษณะเป็นอย่างไร ?" พระเถรเจ้าทูลตอบว่า "แต่ก่อนอาตมภาพได้กล่าวว่า 'ปัญญา มี ลักษณะตัดให้ขาด,' อีกอย่างหนึ่ง ปัญญา มีลักษณะส่องให้สว่าง." ร. "ปัญญามีลักษณะส่องให้สว่างเป็นอย่างไร ?" ถ. "ปัญญา เมื่อเกิดขึ้นย่อมกำจัดมืด คือ อวิชชา, ทำความสว่าง คือ วิชชาให้เกิด, ส่องแสง คือ ญาณ, ทำอริยสัจทั้งหลายให้ปรากฏ, แต่นั้น พระ โยคาวจรย่อมเห็นด้วยปัญญาอันชอบว่า 'สิ่งนี้ไม่เที่ยง สิ่งนี้เป็นทุกข์ สิ่งนี้ไม่ ใช่ตัว." ร. "ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอุปมาให้ข้าพเจ้าฟัง." ถ. "เหมือนอย่างว่า จะมีบุรุษถือไฟเข้าไปในเรือนที่มืด, ไฟที่เข้าไปแล้ว นั้นย่อมกำจัดมืดเสียทำความสว่างให้เกิด, ส่องแสง ทำรูปให้ปรากฏ ข้อนั้น ฉันใด; ปัญญา เมื่อเกิดขึ้นย่อมกำจัดมืด คือ อวิชชา, ทำความสว่าง คือ วิชชา ให้เกิด, ส่องแสง คือ ญาณ, ทำอริยสัจทั้งหลายให้ปรากฏ, แต่นั้น พระ โยคาวจรย่อมเห็นด้วยปัญญาอันชอบว่า 'สิ่งนี้ไม่เที่ยง สิ่งนี้เป็นทุกข์ สิ่งนี้มิใช่ ตัว' ข้อนี้ก็ฉันนั้น. ปัญญา มีลักษณะส่องให้สว่างอย่างนี้." ร. "พระผู้เป็นเจ้าช่างฉลาดจริง ๆ."
เอาบุญมาฝากจะถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ สักการะพระธาตุ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาทสร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ ให้อาหารสัตว์เป็นทานเป็นประจำ กรวดน้ำอุทิศบุญ อนุโมทนากับพ่อแม่ญาติพี่น้องที่รักษาศีล ฟังธรรม ให้ทาน อนุโมทนากับเพื่อนๆที่รักษาศีล ศึกษาการรักษาโรค ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ถวายสังฆทานมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ปิดทองพระ รักษาอาการป่วยของผู้อื่นกับผู้ร่วมงาน และที่ผ่านมาได้รักษาอาการป่วยของบิดามารดา ปล่อยชีวิตสัตว์มาโดยตลอด ถวายยาแก่ภิกษุ ขัดองค์พระ จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย ให้ความรู้สมุนไพรเพื่อสุขภาพเป็นวิทยาทาน ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ทำบุญหลายอย่างมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ถวายสังฆทานและทำบุญสร้างอาคารผู้ป่วยและกฐินกับเพื่อนๆและให้อาหารเป็นทานแก่สรรพสัตว์กับเพื่อนๆและเพื่อนคนหนึ่งและบริวารของเพื่อนและครอบครัวของเพื่อนได้มีจิตเมตตาให้ทานและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือผู้อื่นอยู่ตลอดและเพื่อนได้เคยสวดมนต์เย็นกับคุณแม่และที่ผ่านมาได้ทำบุญสักการะพระธาตุทำบุญปิดทองชำระหนี้สงฆ์และไหว้พระและทำบุญตามกล่องรับบริจาคตามวัดต่างๆกับเพื่อนและตั้งใจว่าจะสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอให้อนุโมทนาบุญด้วย
ขอเชิญถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน สักการะพระธาตุ ฟังธรรม สวดมนต์ ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาท สร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย กรวดน้ำอุทิศบุญ ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สนทนาธรรม ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น รักษาอาการป่วยของผู้อื่น รักษาอาการป่วยของบิดามารดา จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย ปิดทอง สักการะพระธาตุ กราบอดีตสังขารเจ้าอาวาสที่ไม่เน่าเปื่อย ที่วัดแจ้ง อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ปิดทองพระ ปล่อยชีวิตสัตว์ถวายยาแก่ภิกษุ ไหว้พระตามวัดต่างๆ ขัดองค์พระ ให้ความรู้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพเป็นทาน และสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอเชิญร่วมบุญกุศลร่วมกันนะ
|