"สิ่งบริโภคใช้สอยแม้มากมายกินใช้ไปก็หมดได้ กิเลสตัญหาอยู่ๆกันไป หากเกิดเบื่อหน่ายได้เมื่อไหร่ ก็ไปจากกัน"
ก่อนที่จะปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานจะต้องรู้อะไรบ้าง? การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานเป็นเรื่องสำคัญมากๆ วิปัสสนาเป็นชื่อของปัญญาที่รู้แจ้งในรูปและในนามว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และไม่สามารถบังคับบัญชาได้ เป็นอนัตตา การที่มีบัญญัติธรรมขึ้นมาก็เพื่อที่จะสามารถอธิบายให้เกิดความรู้และเข้าใจได้ ฉะนั้นก่อนที่ลงมือจะปฏิบัติ เราจะต้องเข้าใจเสียก่อน หากไม่เข้าใจก็ปฏิบัติไม่ได้ ต้องมีโยนิโสมนสิการได้แก่การใส่ใจให้ถูก ให้ตรงต่อความเป็นจริง
ที่ว่าการใส่ใจให้ถูก ทำความเห็นให้ตรงนั้น ตรงอะไร? ตรงกับสิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ และตรัสสอนไว้ ความเห็นนั้นจึงเรียกว่า โยนิโสมนสิการ เมื่อได้โยนิโสมนสิการบ่อยๆ ศึกษาไปเรื่อยๆ ก็จะทราบว่า รูปนามนี้เป็นทุกข์จริงๆ ไม่เที่ยงจริงๆ และเป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ปัญญาที่จะเกิดรู้ตามความเป็นจริงของอารมณ์ ก็จะเกิดขึ้นเป็นลำดับๆ ฉะนั้นการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานจึงหมายถึงการทำใจให้รู้แจ้ง รู้แจ้งว่าเป็นรูป เป็นนาม มนสิการให้เห็นเป็นรูป เห็นเป็นนาม เมื่อเห็นว่าเป็นรูปเป็นนามแล้ว รูปนามนั้นก็จะประกาศความจริงออกมาอีกทีหนึ่งว่า
…รูปที่เห็นนั้นแหละไม่เที่ยง เป็นทุกข์ บังคับบัญชาไม่ได้
…นามนี้ก็ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ บังคับบัญชาไม่ได้
ตั้งคำถามว่า ทำวิปัสสนาแล้วเห็นอะไร?
มีคนหมู่มากมีความเข้าใจผิดว่า ทำวิปัสสนาแล้วจะเห็นนรก จะเห็นสวรรค์ จะเห็นพระอรหันต์ จะได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า หรือไม่ก็หลับตาเห็นเลขต่างๆ หรือไม่ก็เห็นญาติที่ตายไปแล้ว …ช่วยทำวิปัสสนาดูหน่อยว่าญาติฉันตายแล้วไปไหน เป็นต้น ความจริงการทำวิปัสสนาไม่ได้เห็นอะไรอย่างนั้นเลย การทำวิปัสสนา จะไม่เห็นนิมิตอะไรเลย นอกเสียจากรูปและนามเท่านั้นเอง เพราะรูปและนามเป็นอารมณ์ให้เห็น และการเห็นรูปนามก็ไม่ได้เห็นนิมิตด้วย ไม่ได้เห็นเครื่องหมายเป็นรูปร่างปรากฏ
ฉะนั้นการที่เห็นรูปร่างว่าเป็นคนนั้น ว่าเป็นคนนี้ ว่าเป็นสิ่งนั้น ว่าเป็นสิ่งนี้ การเห็นเช่นนั้นไม่ใช่เห็นแบบวิปัสสนาเห็น แต่เป็นอารมณ์ของสมาธิ การเห็นเป็นสิ่งต่างๆ แสดงว่าจิตได้ตกไปจากอารมณ์วิปัสสนาแล้ว ตกไปสู่อารมณ์อย่างอื่น ผู้ที่รู้และเข้าใจในเรื่องอารมณ์ของวิปัสสนา จะรู้ทันทีว่าจิตตกไปแล้ว ตกไปจากอารมณ์วิปัสสนา คือรูปและนาม ก็จะมีนิมิตต่างๆเข้ามาแทน เหมือนหนัง มีฉายหลายรอบ คนที่ดูหนังรอบนี้ออกไปแล้วทางประตูหนึ่ง พวกใหม่ก็เข้ามาอีกประตูหนึ่ง ฉะนั้น เมื่อรูปนามถูกออกไป นิมิตก็เข้ามาแทน
ตั้งคำถามต่อว่า เห็นรูป เห็นนามแล้วได้อะไร? เห็นรูป เห็นนาม ถ้าเชื่อแค่นี้ เท่ากับว่าฟังตามกันมา ต้องมีความรู้อีกว่า จะเห็นรูป เห็นนาม เห็นแล้วได้อะไร ผลลัพธ์ที่ได้จากการเจริญวิปัสสนาก็คือ เมื่อเห็นรูปเห็นนามแล้ว ก็จะเห็นแจ้ง และรู้แจ้งตามความเป็นจริง เมื่อเห็นแจ้ง และรู้แจ้งตามความเป็นจริงเกิดขึ้น ความเห็นผิดนานาประการที่เรียกว่าวิปลาสก็ออกไป แล้ววิปลาสจะออกไปได้อย่างไร เพราะถูกโมหะอวิชชาปิดบังอยู่ เมื่อมีปัญญาหรือแสงสว่าง ความมืดหรือวิปลาสก็ออกไป ๑. อัตตวิปลาส...เห็นว่าเป็นอัตตา เป็นตัวเรา เป็นของๆเรา
๒. นิจจาวิปลาส...เห็นว่าเที่ยง เห็นว่ามั่นคง ไม่ผันแปร ไม่เปลี่ยนแปลง
๓. สุขวิปลาส...เห็นว่าสุข เห็นว่าเป็นของดี
๔. สุภวิปลาส...เห็นว่าสวยงาม น่ารัก น่าปรารถนา
ในวิปลาส ๔ อย่างนี้ เกี่ยวโยงกันเหมือนลูกโซ่ เหมือนปฏิจจสมุปบาท ลูกโซ่ที่ไม่เคยขาดจากสังสารวัฎฎ์ ได้แก่…. การเห็นว่าเป็นตัวตน เมื่อเกิดขึ้นมา ==> ก็จะเห็นว่าเที่ยง
เมื่อเห็นว่าเที่ยงแล้ว ==> ก็จะเห็นว่าสุข
เมื่อเห็นว่าสุขแล้ว ==> ก็จะเห็นว่าสวยงาม น่าพอใจ น่าปรารถนา ถ้าไม่มีตัวตนแล้ว จะเที่ยงไหม? สุขไหม? สวยไหม?
แท้จริงความเห็นดังกล่าวเป็นความเห็นผิด เข้าใจผิด
และการที่จะละความเห็นผิด เข้าใจผิด นี้ได้ต้องอาศัยการเจริญวิปัสสนากรรมฐานเท่านั้น
การเห็นเป็นรูป เป็นนาม เห็นว่าไม่ใช่เรา เห็นว่าไม่ใช่ตัวตน คนสัตว์ตามความเป็นจริงนี้ จะช่วยถ่ายถอนความยึดมั่น ความเชื่อมั่นว่าเป็นเรา (มานะ ทิฏฐิ) ถ่ายถอนออกไปทีละเล็กทีละน้อย จนกว่าอำนาจของปรีชาปัญญา เห็นเป็นรูปเป็นนาม ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ตัวตน ปัญญาก็จะสามารถประกาศความจริงของรูปของนามให้ชัดว่า ในรูปนามนั้นเองก็มีไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และไม่สามารถบังคับบัญชาได้ เหมือนเห็นเสือ ก็จะต้องเห็นลวดลายเสือว่า นี่เสือดำ นี่เสือดาว เห็นชัด ฉะนั้นทั้งรูปและทั้งนามอยู่ในฐานะเดียวกัน เป็นอนิจจัง เป็นทุกขัง เป็นอนัตตา เมื่อปัญญาเห็นรูปนามไม่เที่ยง เป็นทุกข์ บังคับบัญชาไม่ได้ ความเห็นผิด ความเข้าใจผิด คือนิจจวิปลาส ก็ถูกถ่ายถอนออกไปจากจิตใจ … ความเห็นว่าสุข … ว่าสวย ก็พลอยถูกถอนออกในขณะเดียวกันเลย วิปัสสนาให้ประโยชน์อย่างไร ? ประโยชน์ของการทำวิปัสสนา คือ ทำให้หมดจดจากกิเลสเครื่องเศร้าหมอง (แต่ถ้าถามว่าได้อะไร? ได้ละวิปลาส) ละความเศร้าโศก ความร่ำไห้รำพรรณ (ทุกข์ประจำ-ทุกข์จร) และ ทำให้พ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด คือละทุกข์นั่นเอง ประโยชน์ก็คือทำให้ทุกข์หมดไป ประโยชน์สูงสุดของวิปัสสนามีเท่านี้ ความดีเลิศของวิปัสสนากรรมฐาน อยู่ที่พ้นไปจากการเวียนว่ายตายเกิด ทำกุศลอย่างอื่น เช่นสร้างโบสถ์วิหารศาลาการเปรียญใหญ่โต ทอดกฐิน ทอดผ้าป่า จะกี่วัดก็ตาม ก็ยังไม่ประเสริฐเท่ากับการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน เพราะการกระทำเหล่านั้นไม่สามารถประหานกิเลสได้ ไม่สามารถนำให้พ้นจากกองทุกข์ คือขันธ์ ๕ ได้ ส่วนการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน…สามารถทำลายกิเลสด้วย …เป็นเหตุให้เข้าถึงพระนิพพานด้วย …ทำให้พ้นจากกองทุกข์ทั้งหลายทั้งปวงด้วย …จึงวิเศษสุด ฉะนั้นก่อนที่จะปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานจะต้องรู้อะไรบ้าง? ก่อนลงมือปฏิบัติต้องมีความรู้ ความรู้ต้องคู่กับการปฏิบัติ คือ
๑. ต้องรู้ ทวาร ๖
๒. ต้องรู้ อารมณ์ ๖
๓. ต้องรู้ว่าอะไรเป็นนาม อะไรเป็นรูป ทางทวารทั้ง ๖
๔. ต้องรู้กำหนดนามอะไร กำหนดรูปอะไร ในทวารทั้ง ๖
๕. ต้องรู้วิธีการกำหนดหรือการวางใจในอารมณ์ตามเหตุผลที่เกิดขึ้นตามทวารทั้ง ๖
เมื่อมีความรู้และความเข้าใจ ก็สามารถที่จะปฏิบัติวิปัสสนา ฝึกฝนทำบ่อยเข้าๆ เหมือนวสี พอทำบ่อยๆ หนักๆเข้า ความสะสม ทำให้รู้แจ้ง ทำบ่อยๆ จากน้อย ไปหามาก จาก ปริตตารมณ์ ก็เป็น อติมหันตารมณ์ อารมณ์นั้นหนักแน่นขึ้น รู้เป็นรูป รู้เป็นนาม เห็นถูกต้องตามความเป็นจริงของรูปและนามก่อนลงมือปฏิบัติต้องมีความรู้ ความรู้ต้องคู่กับการปฏิบัติ คือ ๑. ต้องรู้ ทวาร ๖
๒. ต้องรู้ อารมณ์ ๖
๓. ต้องรู้ว่าอะไรเป็นนาม อะไรเป็นรูป ทางทวารทั้ง ๖
๔. ต้องรู้ว่ากำหนดนามอะไร กำหนดรูปอะไร ในทวารทั้ง ๖
๕. ต้องรู้วิธีการกำหนดหรือการวางใจในอารมณ์ตามเหตุผลที่เกิดขึ้นตามทวารทั้ง ๖ ๑. ต้องรู้ ทวาร ๖ ทวาร คือทางรับรู้อารมณ์ของจิต คือจิตอาศัยรู้อารมณ์ทางทวารนั่นเอง จิตอาศัยรู้อารมณ์ทางไหน ทางนั้นเรียกว่าทวาร ทวารมี ๖ ทวาร คือ จักขุทวาร โสตทวาร ฆานทวาร ชิวหาทวาร กายทวาร มโนทวาร ต้องรู้จักทวารทั้ง ๖ รู้แค่นี้คือท่อง แล้วต้องรู้จักอย่างไร?.........ต้องรู้ว่า......
๑. จักขุทวาร ได้แก่ ทวารทางตา เป็นที่อาศัยรู้อารมณ์ของจักขุวิญญาณ คือจิตเห็น หรือ นามเห็น ๒. โสตทวาร
ได้แก่ ทวารทางหู เป็นที่อาศัยรู้อารมณ์ของโสตวิญญาณ คือจิตได้ยิน หรือ นามได้ยิน ๓. ฆานทวาร
ได้แก่ ทวารทางจมูก เป็นที่อาศัยรู้อารมณ์ของฆานวิญญาณ คือจิตรู้กลิ่น หรือ นามรู้กลิ่น ๔. ชิวหาทวาร
ได้แก่ ทวารทางลิ้น เป็นที่อาศัยรู้อารมณ์ของชิวหาวิญญาณ คือจิตรู้รส หรือ นามรู้รส ๕. กายทวาร
ได้แก่ ทวารทางกาย เป็นที่อาศัยรู้อารมณ์ของกายวิญญาณ คือจิตรู้การสัมผัสเย็นร้อนอ่อนแข็งหย่อนตึง หรือ นามรู้การสัมผัส ๖. มโนทวาร
ได้แก่ ทวารทางใจ เป็นที่อาศัยรู้อารมณ์ของมโนวิญญาณ คือจิตคิดนึก รู้สึก
หรือ นามคิดนึก นามรู้สึก
ฉะนั้นจิตเกิดขึ้นได้ทั้ง ๖ ทวาร คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
เรียกตามภาษาบาลี ก็เรียกว่า จักขุทวาร โสตทวาร ฆานทวาร ชิวหาทวาร กายทวาร มโนทวาร
แต่ถ้ารู้ ก็เป็นจักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานทวาร ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ เกิดขึ้นตามทวาร
สำหรับในทางปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน
เรียก จักขุวิญญาณ ว่า ..... นามเห็น
เรียก โสตวิญญาณ ว่า .... นามได้ยิน
เรียก ฆานวิญญาณ ว่า .... นามรู้กลิ่น
เรียก ชิวหาวิญญาณ ว่า ... นามรู้รส
เรียก กายวิญญาณ ว่า ...... นามรู้การสัมผัส
เรียก มโนวิญญาณ ว่า ..... นามรู้
ที่เรียกแบบนี้เพราะในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานต้องทำความรู้ชัดและรู้แจ้ง ไม่ใช่ทำไปด้วยความไม่รู้
ฉะนั้นต้องรู้ก่อน เรื่องทวาร ๖ ว่า ถ้าวิปัสสนา เขาเรียกชื่อกันอย่างไร ต้องเรียกแบบวิปัสสนาเรียก คือกำหนดเข้าไปจนกระทั่งฝังราก แรกๆ ก็เหมือนท่อง ค่อยๆ แทรกซึมเข้าไปจนฝังราก เมื่อมีความเชื่อจริงๆ แล้วไปปฏิบัติ คือเชื่อว่าเป็นรูปเป็นนาม ขณะเห็น เป็นนามเห็น จะมีความกำหนดของมันเอง ก็เหมือนกับเราเข้าป่าช้าแล้วกลัวผีเอง ๒. ต้องรู้ อารมณ์ ๖อารมณ์ คือสิ่งที่จิตรู้สิ่งใดที่จิตยังไม่รับรู้
หมายความว่า... สิ่งที่จิตรู้สิ่งใด ที่จิตยังไม่รับรู้ สิ่งนั้นไม่เรียกว่า อารมณ์
สิ่งใดก็แล้วแต่ที่จิตรู้ ที่จิตมีหน้าที่รู้แต่ยังไม่ได้รับรู้ สิ่งนั้นไม่เรียกว่า อารมณ์
สิ่งใดที่จิตเข้าไปรู้สิ่งนั้น สิ่งนั้นถึงเรียกว่า อารมณ์
เช่น ตอนนี้ของตรงหน้าเต็มไปหมด หลวงพ่อสั่งให้ยกมือขวาขึ้น …โสตวิญญาณได้ยิน ตอนนั้นรู้ แต่ของตรงหน้าไม่รู้ จิตรู้ทีละประตู ฉะนั้น เสียงเป็นอารมณ์ ต้องให้เข้าใจชัดแบบนี้เลย
ฉะนั้นคงไม่งงกับคำว่า "สิ่งใดที่จิตนั้นยังไม่เข้าไปรับรู้ สิ่งนั้นไม่เรียกว่า อารมณ์" แต่ "สิ่งใดที่จิตเข้าไปรับรู้ สิ่งนั้นเรียกว่า อารมณ์" อารมณ์นั้นมีความมากมายหลากหลาย สุดจะคณานับได้ เมื่อกล่าวโดยพระปรมัตถ์แล้ว อารมณ์เกิดขึ้นทางทวารต่างๆ มี ๖ อารมณ์ด้วยกัน คือ
๑. รูปารมณ์ ได้แก่ สีต่างๆ... ที่กำลังปรากฏเป็นอารมณ์ของ... จักขุวิญญาณ หรือนามเห็น
๒. สัททารมณ์ ได้แก่ เสียง ...ที่กำลังปรากฏเป็นอารมณ์ของ... โสตวิญญาณ หรือนามได้ยิน
๓. คันธารมณ์ ได้แก่ กลิ่น ...ที่กำลังปรากฏเป็นอารมณ์ของ... ฆานวิญญาณ หรือนามรู้กลิ่น
๔. รสารมณ์ ได้แก่ รส ...ที่กำลังปรากฏเป็นอารมณ์ของ... ชิวหาวิญญาณ หรือนามรู้รส
๕. โผฏฐัพพารมณ์ ได้แก่ ความเย็นร้อน อ่อนแข็ง หย่อนตึง ...ที่กำลังปรากฏเป็นอารมณ์ของ... กายวิญญาณ หรือนามรู้กระทบ
๖. ธัมมารมณ์ ได้แก่ ความรู้สึกนึกคิดชอบ ชัง ดีใจ เสียใจ เฉยๆ ...ที่กำลังปรากฏเป็นอารมณ์ของ... มโนวิญญาณ หรือ นามรู้ทางใจ๓. ต้องรู้ว่าอะไรเป็นรูป อะไรเป็นนาม ทางทวารทั้ง ๖ การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ต้องรู้รูปนามทางทวารทั้ง ๖ ว่า
- รูปคืออะไร
- นามคืออะไร
- มีอยู่เท่าไร
- อะไรบ้าง
รูปคืออะไร ?
รูป คือธรรมชาติที่รู้อารมณ์ไม่ได้ ธรรมชาติที่ต้องแตกดับและย่อยยับไปด้วยสิ่งต่างๆที่เป็นข้าศึกแก่กันและกัน เช่น ความเย็นและความร้อน เป็นข้าศึกกัน อยากให้ความเย็นหาย ก็ไปตั้งไฟ อยากให้ความร้อนหาย ก็ไปใส่น้ำเย็น
หรือกล่าวโดยสรุป สิ่งใดก็ตามรู้อารมณ์ไม่ได้ ต้องแตกดับย่อยยับไปด้วยสิ่งที่เป็นข้าศึกของกันละกัน ..สิ่งเหล่านั้นแหละเรียกว่า รูป และรูปนี้มีอยู่เท่าไร? รูปมีอยู่ ๒ อย่าง คือ รูปที่ไม่มีวิญญาณครอง ..โต๊ะ เก้าอี้ กับ รูปที่มีวิญญาณครอง ..รูปนั่ง นามคืออะไร ?
นาม คือธรรมชาติที่รู้อารมณ์
ธรรมชาติที่น้อมไปหาอารมณ์ เรียกว่า นาม
นาม คือธรรมชาติที่มีความรู้สึกต่ออารมณ์ หรือธรรมชาติที่รู้สึก คิดนึก
หรือกล่าวโดยสรุปก็คือ ความรู้สึกชอบ ความรู้สึกไม่ชอบ ความรู้สึกต่างๆ เห็น ได้ยิน ได้รู้กลิ่น ได้รู้รส ได้รู้สัมผัส เหล่านี้แหละเรียกว่า นาม หรือตัวรู้ต่างๆ เรียกว่า นาม รูปที่จะนำมาเป็นอารมณ์ของวิปัสสนานั้นมีเท่าไร ?
รูปที่จะนำมาเป็นอารมณ์ของวิปัสสนามี ๖ คือ รูปารมณ์ สัททารมณ์ คันธารมณ์ รสารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์ และอิริยาบท ก็คือ …
๑. รูปทาง ตา คือ รูปารมณ์ ได้แก่.... สีต่างๆ
๒. รูปทาง หู คือ สัททารมณ์ ได้แก่.... เสียงต่างๆ
๓. รูปทาง จมูก คือ คันธารมณ์ ได้แก่.... กลิ่นต่างๆ
๔. รูปทาง ลิ้น คือ รสารมณ์ ได้แก่.... รสต่างๆ
๕. รูปทาง กาย คือ โผฏฐัพพารมณ์ ได้แก่.... ความเย็น ร้อน อ่อน แข็ง หย่อน ตึงที่ปรากฏทางกาย
๖. รูปทาง ใจ คือ อิริยาบทใหญ่ทั้ง ๔ได้แก่ .... รูปที่อยู่ในท่านั่ง รูปที่อยู่ในท่านอน รูปที่อยู่ในท่ายืน รูปที่อยู่ในท่าเดิน (รูปที่กำลังก้าวไป) รวมถึงอิริยาบทย่อย เหยียด คู้ ก้ม เงย เหลียวซ้าย แลขวา ฉะนั้น เวลาเรียนเรื่องรูป มี ๒๘ แต่เวลาทำวิปัสสนา เรื่องรูป มี ๖ รูป
นามที่จะนำมาเป็นอารมณ์ของวิปัสสนานั้นมีเท่าไร ? นามที่จะนำมาเป็นอารมณ์ของวิปัสสนามี ๖ คือ ...
๑.นามเห็น เกิดขึ้นทางตา มีชื่อเรียกในปริยัติศาสนาว่า.... จักขุวิญญาณ
๒.นามได้ยิน เกิดขึ้นทางหู มีชื่อเรียกในปริยัติศาสนาว่า.... โสตวิญญาณ
๓.นามรู้กลิ่น เกิดขึ้นทางจมูก มีชื่อเรียกในปริยัติศาสนาว่า.... ฆานวิญญาณ
๔.นามรู้รส เกิดขึ้นทางลิ้น มีชื่อเรียกในปริยัติศาสนาว่า.... ชิวหาวิญญาณ
๕.นามรู้สัมผัส เกิดขึ้นทางกาย มีชื่อเรียกในปริยัติศาสนาว่า.... กายวิญญาณ
๖.นามรู้สึกนึกคิด เกิดขึ้นทางใจ มีชื่อเรียกในปริยัติศาสนาว่า.... มโนวิญญาณ
เมื่อรู้ขนาดนี้แล้วก็ยังปฏิบัติไม่ได้ ฉะนั้นต้องรู้อีกว่า…
ทางตา อะไรเป็นรูป อะไรเป็นนาม: .... สิ่งที่เห็น เป็น รูป
.... รู้สึกเห็น เป็น นาม
ทางหู อะไรเป็นรูป อะไรเป็นนาม: .... เสียง เป็น รูป
.... รู้สึกได้ยิน เป็น นาม
ทางจมูก อะไรเป็นรูป อะไรเป็นนาม: ....กลิ่น เป็น รูป
.... รู้กลิ่น เป็น นาม
ทางลิ้น อะไรเป็นรูป อะไรเป็นนาม: ....รสชาติต่างๆ เป็น รูป
.... รู้รส เป็น นาม
ทางกาย อะไรเป็นรูป อะไรเป็นนาม: ....เย็นร้อนอ่อนแข็งหย่อนตึง เป็น รูป
....รู้เย็น รู้ร้อน รู้อ่อน รู้แข็ง รู้หย่อน รู้ตึง เป็น นาม
ทางใจ อะไรเป็นรูป....อะไรเป็นนาม: ....อาการของรูปกายที่อยู่ในท่านั่ง ท่ายืน ท่าเดิน ท่านอน เป็น รูป รู้ว่ารูปนั่ง รูปยืน รูปเดิน รูปนอน เป็นนาม
....รู้ว่ารูปนั่ง รูปยืน รูปเดิน รูปนอน เป็น นาม ๔. ต้องรู้กำหนดนามอะไร กำหนดรูปอะไร ในทวารทั้ง ๖ ฉะนั้นเมื่อมีรูป มีนามแล้ว ใน ๖ ทวาร นี้ วิปลาสเกิดขึ้นทางไหน ระหว่างรูป หรือ นาม ตามทวาร
ทางตา ... สิ่งที่เห็น เป็นรูป รู้สึกเห็น เป็นนาม
วิปลาสเกิดขึ้นหลงว่าเราเห็น
แท้ที่จริงนามเห็น จึงต้องมีมนสิการว่า นามเห็น ไม่ใช่เราเห็น
รูปไม่สำคัญ รูปไม่ได้ทำให้วิปลาส เราวิปลาสที่เป็นเราเห็น
ทางหู... เสียง เป็นรูป รู้สึกได้ยิน เป็นนาม
เสียงจะไม่ปฏิกิริยาอะไรเลย ถ้าไม่มีนามได้ยิน
แต่เราโง่ หลงว่าเราได้ยินจึงเกิดพอใจ ไม่พอใจ
จึงต้องแก้ไข เห็นผิดที่นาม ว่าเราเป็นผู้ได้ยิน แท้จริง นามได้ยิน
ทางจมูก... กลิ่น เป็นรูป รู้กลิ่น เป็นนาม
เราหลงผิดว่าเราเป็นผู้เหม็น หรือหอม
แท้จริง รูปเหม็น รูปหอม
จึง ต้องกำหนดที่รูป
ทางลิ้น... เปรี้ยว หวาน มัน เค็ม เผ็ด จืด เป็นรูป รู้รส เป็นนาม
เราหลงผิดว่าเราเป็นผู้เปรี้ยว หวาน มัน เค็ม เผ็ด จืด
แท้จริง เปรี้ยว หวาน มัน เค็ม เผ็ด จืด เป็นสภาวธรรมอยู่
จึง ต้องกำหนดที่รูปรสต่างๆ
ทางกาย... เย็นร้อนอ่อนแข็งหย่อนตึง เป็นรูป
รู้ว่าเย็น ร้อน อ่อน แข็ง หย่อน ตึง เป็นนาม
ความโง่อยู่ที่ความรู้ผิดว่าเราเป็นผู้เย็น ผู้ร้อน อ่อน แข็ง หย่อน ตึง
แท้จริง นามเป็นผู้รู้ แต่รูปมันเย็น รูปมันร้อน รูปมันแข็ง รูปมันอ่อน ไม่ใช่เรา
จึง ต้องมีความรู้ไปที่รูป
ทางใจ...ท่าทางต่างๆ ของการนั่ง การยืน การเดิน การนอน เป็นรูป
ที่รู้ว่าเดินอยู่ นั่งอยู่ ยืนอยู่ เป็นนาม
ฉะนั้นจึง ต้องกำหนดรู้รูป ..ใครรู้.. นามรู้ในรูปนั้น คือ รูปนั่ง รูปยืน รูปเดิน รูปนอน
ก่อนที่จะกำหนดวิปัสสนากรรมฐาน จะต้องเข้าใจคำว่า นึก กับรู้สึก ต่างกันอย่างไร? เพราะเข้าปฏิบัติไปนึกไม่ได้เด็ดขาด ต้องไปรู้สึก
คำว่า "นึก" หมายถึง จิตน้อมไปสู่อารมณ์ในอดีต หรืออนาคต คือนึกไปในเรื่องอดีตบ้าง ในเรื่องอนาคตบ้าง จิตจึงไม่ได้รู้อยู่กับปัจจุบัน แต่ รู้สึก อยู่กับปัจจุบัน
แล้วทำอย่างไรจึงจะเรียกว่า "รู้สึก"
เปรียบเสมือนมีผู้ป่วยคนหนึ่ง เดินไปหาหมอ เล่าอาการให้หมอฟังว่าอาการตนเองหนัก
หมอ….. ต้องฉีดยา
ผู้ป่วย…..อย่าฉีดเลย มันเจ็บ กินยาก็ได้ ฉีดยามันเจ็บ
หมอ….. รู้ได้อย่างไรว่ามันเจ็บ
ผู้ป่วย…..ก็เข็มมันแหลม ทิ่มไปตรงไหนมันก็เจ็บ
หมอ….. หมอยังไม่ได้ฉีดเลย รู้สึกเจ็บแล้ว แล้วคุณรู้สึกเจ็บได้อย่างไร?
ผู้ป่วย….. คิดๆเอาว่ามันเจ็บ ก็เข็มมันแหลม แล้วก็เคยถูกฉีดมาแล้ว
นี่แหละ คือรู้ว่าเจ็บ โดยอาการคิดนึก ยังไม่ทันเกิด ไม่ได้เจ็บจริงๆ
หมอ….. จัดแจงบรรจุยาเข้าในกระบอกฉีด ให้ผู้ป่วยนอนคว่ำ
โดยก่อนที่หมอจะฉีด หมอก็ถามว่า เจ็บหรือยัง ปวดมากไหม?
ผู้ป่วย….. ยังไม่เจ็บ ยังไม่ปวดครับ
นี่จะแสดงให้เห็นว่าความรู้สึกเจ็บ กับความรู้สึกปวดยังไม่มี
หมอ….. ค่อยๆ แทงเข็มเข้าไปที่กล้ามเนื้ออย่างช้าๆ
ผู้ป่วย….. ร้องว่า เจ็บ
หมอ…... ที่ร้องว่าเจ็บ ต้องนึก ต้องคิด หรือเปล่า?
ผู้ป่วย….. ไม่ได้คิดเลย มันรู้สึกจริงๆเดี๋ยวนี้ นี่มันกำลังเจ็บอยู่ในขณะนี้แหละ
หมอ…... คิดนึกเจ็บ กับรู้สึกเจ็บต่างกันไหม?
ผู้ป่วย….. ต่างกันสิหมอ ความนึกคิดเจ็บ...มันไม่ได้เจ็บจริงๆ นี่ แต่ความรู้สึกเจ็บ....มันเจ็บจริงๆ นะหมอ
หมอ…... ฉะนั้นความนึกคิด กับ ความรู้สึก จึงต่างกัน ...จำไว้นะ
ทีนี้ก็รู้แล้วว่า คิดนึก กับรู้สึก ต่างกัน
ความคิดนึก เป็นอารมณ์ใน อดีต ที่ผ่านมาแล้วหรือ ในอนาคต ที่ยังมาไม่ถึงเลย ไม่ได้เป็นอารมณ์ปัจจุบัน
ส่วนความรู้สึก เป็นอารมณ์ ปัจจุบัน คือ กำลังปรากฏอยู่เฉพาะหน้า กำลังเกิดขึ้นจริงๆ
เมื่อเข้าใจว่า นึกคิด กับรู้สึก แตกต่างกันได้ แยกแยะได้ ก็สามารถไปทำวิปัสสนาได้ แต่ถ้าแค่นี้ก็ไม่เข้าใจ แยกแยะไม่เป็น ทำวิปัสสนาก็ไม่ได้ ไม่ได้อะไรเลย ไม่ได้อะไรเลยจริงๆ
เมื่อเข้าใจแบบนี้ ก็กำหนดรูป หรือนามก็ได้ ...ด้วยความรู้สึกที่กำลังดูรูปอยู่ รูปอะไร .... ดูนามอยู่ นามอะไร ได้ปัจจุบัน ๕. ต้องรู้วิธีการกำหนดหรือการวางใจในอารมณ์ตามเหตุผลที่เกิดขึ้นตามทวารทั้ง ๖ ทีนี้จะดูรูป ดูนามกันอย่างไร มีตั้ง ๖ …รูปก็ ๖ นาม ก็ ๖ ดูกันอย่างไร?
รูปนั้นมี ๖ คือ รูปทางตา รูปทางหู รูปทางจมูก รูปทางกาย รูปทางใจ
การดูรูป ก็ต้องดูที่รูปใดรูปหนึ่งที่กำลังปรากฏ หมายถึงที่กำลังมีอยู่ ซึ่งเรียกว่า ปัจจุบันอารมณ์
นามก็มี ๖ คือ นามทางตา นามทางหู นามทางจมูก นามทางกาย นามทางใจ
การดูนาม ก็ต้องดูนามใดนามหนึ่งที่กำลังปรากฏ กำลังมีอยู่ เช่นเดียวกัน
เอาบุญมาฝากจะถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ สักการะพระธาตุ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาทสร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ ให้อาหารสัตว์เป็นทานเป็นประจำ กรวดน้ำอุทิศบุญ อนุโมทนากับพ่อแม่ญาติพี่น้องที่รักษาศีล ฟังธรรม ให้ทาน อนุโมทนากับเพื่อนๆที่รักษาศีล ศึกษาการรักษาโรค ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ถวายสังฆทานมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ปิดทองพระ รักษาอาการป่วยของผู้อื่นกับผู้ร่วมงาน และที่ผ่านมาได้รักษาอาการป่วยของบิดามารดา ปล่อยชีวิตสัตว์มาโดยตลอด ถวายยาแก่ภิกษุ ขัดองค์พระ จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย ให้ความรู้สมุนไพรเพื่อสุขภาพเป็นวิทยาทาน ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ทำบุญหลายอย่างมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ถวายสังฆทานและทำบุญสร้างอาคารผู้ป่วยและกฐินกับเพื่อนๆและให้อาหารเป็นทานแก่สรรพสัตว์กับเพื่อนๆและเพื่อนคนหนึ่งและบริวารของเพื่อนและครอบครัวของเพื่อนได้มีจิตเมตตาให้ทานและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือผู้อื่นอยู่ตลอดและเพื่อนได้เคยสวดมนต์เย็นกับคุณแม่และที่ผ่านมาได้ทำบุญสักการะพระธาตุทำบุญปิดทองชำระหนี้สงฆ์และไหว้พระและทำบุญตามกล่องรับบริจาคตามวัดต่างๆกับเพื่อนและตั้งใจว่าจะสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอให้อนุโมทนาบุญด้วย
ขอเชิญถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน สักการะพระธาตุ ฟังธรรม สวดมนต์ ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาท สร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย กรวดน้ำอุทิศบุญ ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สนทนาธรรม ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น รักษาอาการป่วยของผู้อื่น รักษาอาการป่วยของบิดามารดา จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย ปิดทอง สักการะพระธาตุ กราบอดีตสังขารเจ้าอาวาสที่ไม่เน่าเปื่อย ที่วัดแจ้ง อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ปิดทองพระ ปล่อยชีวิตสัตว์ถวายยาแก่ภิกษุ ไหว้พระตามวัดต่างๆ ขัดองค์พระ ให้ความรู้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพเป็นทาน และสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอเชิญร่วมบุญกุศลร่วมกันนะ
|