อาทิตย์ 16 ธ.ค. 2012 9:29 am
เอวํ กิจฺฉาภโต โปโส ปิตุ อปริจารโก ปิตริมิจฺฉาจริตฺวาน นิรยํ โส อุปปชฺชติ : ผู้ที่มีมารดาบิดาเลี้ยงมา ได้โดยยากอย่างนี้ ไม่บำรุงมารดาบิดา ประพฤติผิดในมารดาบิดา ย่อมเข้าถึงนรก
ในข้อนั้น หากจะพึงมีคำถามว่า ธรรมดาว่าศีลนี้ เป็นเครื่อง
ประดับอันเลิศของพระโยคี ดังที่พระโบราณาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า
ศีลเป็นอลังการของพระโยคี ศีลเป็นเครื่องประดับ
ของพระโยคี พระโยคีผู้ตกแต่งด้วยศีลทั้งหลาย
ถึงความเป็นผู้เลิศในการประดับ ดังนี้.
อนึ่ง แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ได้ตรัสศีล ทรงกระทำให้ยิ่งใหญ่
ทีเดียวในพระสูตรหลายร้อยสูตร อย่างที่ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หาก
ภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจ เป็นที่เคารพ และเป็น
ที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ดังนี้ ก็พึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์
ในศีลทั้งหลายทีเดียว ดังนี้ และว่า
นกต้อยตีวิดรักษาฟองไข่ฉันใด จามรีรักษาขนหางฉันใด
คนมีบุตรคนเดียวรักษาบุตรผู้เป็นที่รักฉันใด
คนมีนัยน์ตาข้างเดียว รักษานัยน์ตาที่ยังเหลืออีกข้างฉันใด
ท่านทั้งหลายจงตามรักษาศีลเหมือนฉันนั้นทีเดียว
จงเป็นผู้มีศีลเป็นที่รักด้วยดี มีความเคารพทุกเมื่อเถิด
ดังนี้ และว่า กลิ่นดอกไม้ไม่ฟุ้งทวนลม
จันทน์หรือกฤษณา และมะลิซ้อน ก็ไม่ฟุ้งทวนลม
แต่กลิ่นสัตบุรุษย่อมฟุ้งทวนลม สัตบุรุษย่อมฟุ้งไปได้ทุกทิศ
จันทน์ก็ดี กฤษณาก็ดี อุบลก็ดี มะลิก็ดี กลิ่นคือศีล
ยอดเยี่ยมกว่าบรรดาคันธชาตเหล่านั้น กลิ่นกฤษณา
และจันทน์นี้มีประมาณน้อย ส่วนกลิ่นของผู้มีศีล
เป็นกลิ่นสูงสุด ฟุ้งไปในทวยเทพทั้งหลาย
มารย่อมไม่พบทางของท่านเหล่านั้น ผู้มีศีลสมบูรณ์
มีปกติอยู่ด้วยความไม่ประมาท หลุดพ้นแล้ว เพราะรู้ชอบ
ภิกษุเป็นพระผู้มีปัญญา ตั้งอยู่ในศีลแล้ว
ยังจิตและปัญญาให้เจริญอยู่ ผู้มีความเพียร
มีปัญญารักษาตนนั้น พึงสางชัฏนี้ได้ ดังนี้ และว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พีชคามและภูตคามเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมถึง
ความเจริญงอกงามไพบูลย์ พีชคามและภูตคามเหล่านั้นทั้งหมด อาศัย
แผ่นดิน ตั้งอยู่บนแผ่นดิน จึงถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ได้อย่างนี้ มี
อุปมาแม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีล เจริญ
โพชฌงค์ ๗ กระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗ ย่อมถึงความเป็นใหญ่หรือ
ความไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย ก็อุปไมยฉันนั้นเหมือนกัน ดังนี้ พระสูตร
แม้อื่น ๆ อีกไม่น้อย ก็พึงเห็นอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสศีล
ทรงกระทำให้ยิ่งใหญ่ทีเดียวในพระสูตร หลายร้อยสูตรอย่างนี้มิใช่หรือ
เหตุไฉน ในที่นี้จึงตรัสศีลนั้นว่ามีประมาณน้อยเล่า ?
ตอบว่า เพราะทรงเทียบเคียงคุณชั้นสูง. ด้วยว่า ศีลยังไม่ถึงสมาธิ
สมาธิยังไม่ถึงปัญญา ฉะนั้น ทรงเทียบเคียงคุณสูง ๆ ชั้นไป ศีลอยู่เบื้องล่าง
จึงชื่อว่า ยังต่ำนัก.
ภิกษุควรเป็นผู้ว่าง่ายอย่างพระราธะ
พระศาสดาครั้นตรัสชาดกปรารภพระเถระอย่างนั้นแล้ว ทรง
ปรารภพระราธเถระ ตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย ธรรมดาภิกษุควรเป็น
ผู้ว่าง่ายเหมือนราธะ, แม้อาจารย์ชี้โทษกล่าวสอนอยู่ ก็ไม่ควรโกรธ
อนึ่ง ควรเห็นบุคคลผู้ให้โอวาท เหมือนบุคคลผู้บอกขุมทรัพย์ให้ฉะนั้น
ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม ได้ตรัสพระคาถานี้ว่า :-
๑. ข. ชา. ๒๗/ข้อ ๑๖๑. อรรถกถา. ๓/๒๓.
๑. นิธีนํว ปวตฺตารํ ยํ ปสฺเส วชฺชทสฺสินํ
นิคฺคยฺหวาทึ เมธาวึ ตาทิสํ ปณฺฑิตํ ภเช
ตาทิสํ ภชมานสฺส เสยฺโย โหติ น ปาปิโย
"บุคคลพึงเห็นผู้มีปัญญาใด ซึ่งเป็นผู้กล่าว
นิคคหะ ชี้โทษ ว่าเป็นเหมือนผู้บอกขุมทรัพย์ให้,
พึงคบผู้มีปัญญาเช่นนั้น ซึ่งเป็นบัณฑิต, ( เพราะว่า)
เมื่อคบท่านผู้เช่นนั้น มีแต่คุณอย่างประเสริฐ
ไม่มีโทษที่ลามก."
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิธีนํ ได้แก่ หม้อแห่งขุมทรัพย์อัน
เต็มด้วยเงินทองเป็นต้น ซึ่งเขาฝังเก็บไว้ในที่นั้น ๆ
บทว่า ปวตฺตารํ คือ เหมือนอย่างผู้ทำความอนุเคราะห์คนเข็ญใจ
ซึ่งเป็นอยู่โดยฝืดเคือง แล้วชักชวนว่า " ท่านจงมา, เราจักชี้อุบาย
เลี้ยงชีพโดยสะดวกแก่ท่าน" ดังนี้แล้ว นำไปยังที่ขุมทรัพย์แล้ว เหยียด
มือออกบอกว่า " ท่านจงถือเอาทรัพย์นี้เลี้ยงชีพตามสบายเถิด."
วินิจฉัยในบทว่า วชฺชทสฺสินํ ภิกษุผู้ชี้โทษมี ๒ จำพวก คือ
ภิกษุคอยแส่หาโทษ ด้วยคิดว่า "เราจักข่มภิกษุนั้นด้วยมารยาทอันไม่
สมควร หรือด้วยความพลั้งพลาดอันนี้ในท่ามกลางสงฆ์" ดังนี้ จำพวก ๑,
ภิกษุผู้ดำรงอยู่แล้วตามสภาพ ด้วยสามารถแห่งการอุ้มชูด้วยการแลดูโทษ
นั้น ๆ เพื่อประโยชน์จะให้รู้สิ่งที่ยังไม่รู้ เพื่อต้องการจะได้ตามถือเอาสิ่ง
ที่รู้แล้ว เพราะความเป็นผู้ปรารถนาความเจริญแห่งคุณมีศีลเป็นต้นแก่ผู้นั้น
จำพวก ๑; ภิกษุจำพวกหลังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์
ในบทว่า วชฺชทสฺสินํ นี้. คนเข็ญใจถูกผู้อื่นคุกคามก็ดี ตีก็ดี ชี้ขุมทรัพย์
ให้ว่า "แกจงถือเอาทรัพย์นี้" ย่อมไม่ทำความโกรธ, มีแต่ปราโมทย์
อย่างเดียว ฉันใด; เมื่อบุคคลเห็นปานดังนั้น เห็นมารยาทมิบังควรก็ดี
ความพลั้งพลาดก็ดี แล้วบอกอยู่. ผู้รับบอกไม่ควรทำความโกรธ ควร
เป็นผู้ยินดีอย่างเดียว ฉันนั้น, ควรปวารณาทีเดียวว่า "ท่านเจ้าข้า
กรรมอันใหญ่ อันท่านผู้ตั้งอยู่ในฐานะเป็นอาจารย์ เป็นอุปัชฌาย์ ของ
กระผมแล้ว สั่งสอนอยู่กระทำแล้ว, แม้ต่อไป ท่านพึงโอวาทกระผม"
ดังนี้.
บทว่า นิคฺคยฺหวาทึ ความว่า ก็อาจารย์บางท่านเห็นมารยาท
อันมิบังควรก็ดี ความพลั้งพลาดก็ดี ของพวกศิษย์มีสัทธิวิหาริกเป็นอาทิ
แล้ว ไม่อาจเพื่อจะพูด ด้วยเกรงว่า "ศิษย์ผู้นี้อุปัฏฐากเราอยู่ด้วยกิจวัตร
มีให้น้ำบ้วนปากเป็นต้น แก่เรา โดยเคารพ; ถ้าเราจักว่าเธอไซร้,
เธอจักไม่อุปัฏฐากเรา, ความเสื่อมจักมีแก่เรา ด้วยอาการอย่างนี้" ดังนี้
ย่อมหาชื่อว่าเป็นผู้กล่าวนิคคหะไม่, เธอผู้นั้นชื่อว่าเรี่ยรายหยากเยื่อ,
ลงในศาสนานี้. ส่วนอาจารย์ใด เมื่อเห็นโทษปานนั้นแล้ว คุกคาม
ประณาม ลงทัณฑกรรม ไล่ออกจากวิหาร ตามสมควรแก่โทษ ให้ศึกษา
อยู่. อาจารย์นั้น ชื่อว่าผู้กล่าวนิคคหะ แม้เหมือนอย่างพระสัมมาสัมพุทธ-
เจ้า. สมจริงอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำนี้ไว้ว่า
"ดูก่อนอานนท์ เราจักกล่าวข่ม ๆ,
ดูก่อนอานนท์ เราจักกล่าวยกย่อง ๆ
ผู้ใดเป็นสาระ,
ผู้นั้นจักดำรงอยู่ได้."
บทว่า เมธาวึ คือ ผู้ประกอบด้วยปัญญาอันรุ่งเรืองในธรรม.
บทว่า ตาทิสํ เป็นต้น ความว่า
บุคคลพึงคบ คือพึงเข้าไปนั่งใกล้ บัณฑิตเห็นปานนั้น,
เพราะเมื่ออันเตวาสิกคบอาจารย์เช่นนั้นอยู่,
คุณอย่างประเสริฐย่อมมี โทษที่ลามกย่อมไม่มี
คือมีแต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเสีย.
ในที่สุดเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผล
เป็นต้น ดังนี้แล.
เอาบุญมาฝากจะถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ สักการะพระธาตุ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาทสร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ ให้อาหารสัตว์เป็นทานเป็นประจำ กรวดน้ำอุทิศบุญ อนุโมทนากับพ่อแม่ญาติพี่น้องที่รักษาศีล ฟังธรรม ให้ทาน อนุโมทนากับเพื่อนๆที่รักษาศีล ศึกษาการรักษาโรค ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ถวายสังฆทานมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ปิดทองพระ รักษาอาการป่วยของผู้อื่นกับผู้ร่วมงาน และที่ผ่านมาได้รักษาอาการป่วยของบิดามารดา ปล่อยชีวิตสัตว์มาโดยตลอด ถวายยาแก่ภิกษุ ขัดองค์พระ จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย ให้ความรู้สมุนไพรเพื่อสุขภาพเป็นวิทยาทาน ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ทำบุญหลายอย่างมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ถวายสังฆทานและทำบุญสร้างอาคารผู้ป่วยและกฐินกับเพื่อนๆและให้อาหารเป็นทานแก่สรรพสัตว์กับเพื่อนๆและเพื่อนคนหนึ่งและบริวารของเพื่อนและครอบครัวของเพื่อนได้มีจิตเมตตาให้ทานและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือผู้อื่นอยู่ตลอดและเพื่อนได้เคยสวดมนต์เย็นกับคุณแม่และที่ผ่านมาได้ทำบุญสักการะพระธาตุทำบุญปิดทองชำระหนี้สงฆ์และไหว้พระและทำบุญตามกล่องรับบริจาคตามวัดต่างๆกับเพื่อนและตั้งใจว่าจะสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอให้อนุโมทนาบุญด้วย
ขอเชิญถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน สักการะพระธาตุ ฟังธรรม สวดมนต์ ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาท
สร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย กรวดน้ำอุทิศบุญ ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สนทนาธรรม
ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น รักษาอาการป่วยของผู้อื่น รักษาอาการป่วยของบิดามารดา จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย
ปิดทอง สักการะพระธาตุ กราบอดีตสังขารเจ้าอาวาสที่ไม่เน่าเปื่อย ที่วัดแจ้ง อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ปิดทองพระ ปล่อยชีวิตสัตว์ถวายยาแก่ภิกษุ ไหว้พระตามวัดต่างๆ ขัดองค์พระ ให้ความรู้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพเป็นทาน
และสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอเชิญร่วมบุญกุศลร่วมกันนะ
เชิญร่วมเป็นเจ้าภาพซื้อเสาไม้ 40 ต้นเพื่อสร้างศาลาปฏิบัติธรรม วัดป่ากมโลฯ อุดรธานี
โทร.083-140-2285
ร่วมสร้างห้องน้ำห้องส้วมเป็นการชำระวิบากกรรมและเสริมบารมีใหม่กับครูบาไตรภพ
0844118852
ไฟไหม้กุฏิสงฆ์ พระสงฆ์เดือดร้อนลำบากมากๆ โปรดร่วมบุญช่วยกันสร้างกุฏิสงฆ์ทดแทน
080 6789916
ขอเชิญร่วมสร้างพระรอดหลวงคุ้มภัยองค์ใหญ่ที่สุดในโลก
0892638461
ผ้าป่าสามัคคี เปิดอาคารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ชีวสุทโธ จารุวัณโณ
083-140-2285
กุฏิสงฆ์ไฟไหม้ ขอท่านผู้ใจบุญช่วยเหลือทางวัดด้วย
087 3032098
ปฏิบัติธรรมส่งท้ายปีเก่า – ต้อนรับปีใหม่ ٭
٭- ในวันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๕๕ – ๒ มกราคม ๒๕๕๖ ٭
หมายเหตุ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
- ศาลา ๘๐ ปี โทร ๐๘๗ – ๕๖๓ – ๕๕๑๐
- คุณนก (วิภาวรรณ) โทร ๐๘๑ – ๕๑๓ - ๕๒๒๑
ขอเชิญร่วมปฏิบัติธรรมตารางปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน
http://www.rakdham.com/index.php?mo=10&art=455393