พระพุทธพจน์ - พุทธภาษิต พระธรรมเทศนา และ ธรรมะจากครูบาอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
พุธ 30 ม.ค. 2013 7:54 am
พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๒ บทว่า โย ชาตมุจฺฉิชฺช ความว่า
ผู้ใดพยายามอยู่โดยประการที่จะละอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว ตัดกิเลสที่เกิดแล้ว คือ
มีแล้ว บังเกิดแล้ว ในวัตถุไร ๆ นั่นแล ด้วยยังคุณให้เกิดในวัตถุนั้น และ
กิเลสแม้ยังไม่มาแล้วใด เรียกว่า เกิดอยู่ ด้วยลักษณะกำลังเป็นไป ในที่ใกล้
อันเป็นไปอยู่ เพราะความเป็นกิเลสมุ่งหน้า เพื่อเกิดขึ้น ด้วยการประชุมปัจจัย
มีรูปเห็นปานนั้น ไม่พึงปลูกกิเลสนั้นให้เกิดขึ้นอีก อธิบายว่า พยายามอยู่
โดยประการที่จะมีความไม่เกิดขึ้นแห่งอกุศลที่ยังไม่เกิด ชื่อว่า ไม่พึงให้กิเลส
เกิดขึ้น.
ถามว่า ก็จะไม่พึงให้กิเลสเกิดขึ้นอย่างไร ?
ตอบว่า ไม่พึงให้กิเลสนั้นหลั่งไหลเข้าไป คือ ไม่พึงให้ปัจจัยที่เป็น
เหตุให้กิเลสนั้นเกิดหลั่งไหลเข้าไป ไม่พึงรวมเข้าไว้ ไม่พึงปลูกกิเลสนั้นให้เกิด
ขึ้นอีก ด้วยการทำให้อ่อนกำลังในการก่อตัวอย่างนี้.
อีกอย่างหนึ่ง ผู้ศึกษาพึงทราบการประกอบในคาถานี้อย่างนี้ว่า เพราะ
กิเลสทั้งหลายที่เป็นไปในอดีตก็ดี ก็ตัดด้วยมรรคภาวนา ที่เป็นปัจจุบันก็ดี
ไม่ปลูกด้วยความไม่มีกิเลสส่วนอดีต ที่เป็นอนาคตก็ดี ไม่ให้หลั่งไหลเข้าไปสู่
ความสืบต่อแห่งจิต เพราะไม่มีกิเลสส่วนปัจจุบันนั้น ด้วยการทำลายความ
สามารถแห่งการเกิดเสีย เพราะฉะนั้น ผู้ใดตัดกิเลสที่เกิดแล้ว ด้วยอริยมรรค
ภาวนา ไม่พึงปลูกให้เกิดขึ้นอีก และเมื่อกิเลสนั้นเกิดขึ้นอยู่ ก็ไม่พึงให้กิเลส
แม้ที่เป็นอนาคตหลั่งไหลเข้าไป บัณฑิตทั้งหลายกล่าวผู้นั้นว่า เป็นมุนีเอก
เที่ยวไปอยู่ และผู้นั้นเป็นผู้แสวงหาคุณอันใหญ่ ได้เห็นสันติบท.
บทว่า เอก ความว่า ชื่อว่า เอก เพราะปราศจากกิเลส หรือ
ชื่อว่า เอก เพราะอรรถว่า ประเสริฐที่สุด. บทว่า มุนี ได้แก่ เป็นมนี
หรือเป็นเอกในมุนีทั้งหลาย. บทว่า จรนฺต ความว่า เที่ยวไปอยู่ ด้วยความ
บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง ด้วยโลกัตถจริยา และด้วยจริยาที่เหลือทั้งหลาย.
บทว่า อทฺทกฺขิ ความว่า ได้เห็นแล้ว. บทว่า โส ความว่า
พุทธมุนีที่ตรัสไว้ว่า ผู้ใดตัดกิเลสที่เกิดแล้ว ชื่อว่า ไม่พึงปลูกให้เกิดขึ้นอีก
เพราะความเป็นผู้สามารถในการไม่ปลูก และในการไม่ให้หลั่งไหลเข้าไป เมื่อ
กิเลสนั้นเกิดอยู่ ก็ไม่พึงให้หลั่งไหลเข้าไป. บทว่า สนฺติปท ได้แก่ส่วนแห่ง
สันติ. ผู้ศึกษาพึงทราบเนื้อความอย่างนี้ว่า ผู้แสวงหาคุณอันใหญ่ ได้เห็น
อัจจันตสันติ ในโลกที่ตามเห็นอย่างนี้ว่า ประเสริฐที่สุด ในบรรดาสมมติสันติ
ตทังคสันติและอัจจันตสันติ ทั้ง ๓ อันต่างโดยทิฏฐิ ๖๒ วิปัสสนา และนิพพาน.
พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๓ บทว่า สงฺขาย ได้แก่ นับแล้ว กำ-
หนดแล้ว พิจารณาแล้ว ได้แก่รู้โดยตามความเป็นจริงแล้ว อธิบายว่า กำหนด
รู้แล้ว ด้วยทุกขปริญญา.
บทว่า วตฺถูนิ ความว่า ที่ตั้งแห่งกิเสสทั้งหลาย อันต่างด้วยขันธ์
อายตนะและธาตุ ซึ่งเป็นที่ตั้งให้บุคคลนี้ติดอยู่ในโลกอย่างนี้. บทว่า ปมาย
พีช ความว่า พืช คือ อภิสังขารวิญญาณแห่งวัตถุเหล่านั้นใด ฆ่า คือ
เบียดเบียนทำลายพืชนั้น. อธิบายว่า ละขาดแล้ว ด้วยสมุจเฉทปหาน.
บทว่า สิเนหมสฺส นานุปฺปเวจฺเฉ ความว่า พืชนั้นเปียกชุ่มด้วย
ยาง คือ ตัณหาและทิฏฐิ พึงงอกงามเป็นวัตถุตามที่กล่าวแล้วนั้น ด้วยอำนาจ
แห่งปฏิสนธิต่อไป ไม่ทำยางแห่งพืชนั้นให้หลั่งไหลเข้าไป อธิบายว่า ไม่ทำยาง
นั้นให้หลั่งไหลเข้าไป ด้วยมรรคภาวนา ซึ่งเป็นปฏิปักษ์ต่อยางแห่งพืชนั้น.
บทว่า ส เว มุนิ ชาติกฺขยนฺตทสฺสี ความว่า พุทธมุนีนั้น คือ
เห็นปานนั้น ชื่อว่า มีปกติเห็นที่สุดแห่งความสิ้นไปแห่งชาติ เพราะความที่
นิพพานอันเป็นที่สิ้นสุดแห่งชาติและมรณะอันมุนีเห็นแล้ว ด้วยนิพพานสัจฉิ-
กิริยา ละวิตกเสียแล้ว ย่อมไม่เข้าถึงการนับ คือ ละอกุศลวิตกแม้ ๙ ประเภท
ด้วยสัจจภาวนาทั้งสี่นี้ บรรลุสอุปาทิเสสนิพพานธาตุ กระทำโลกัตถจริยา ชื่อว่า
ไม่เข้าถึงการนับว่า เป็นเทวดาและมนุษย์ ด้วยการบรรลุอนุปาทิเสสนิพพาน.
ธาตุ เพราะความสิ้นไป แห่งจริมวิญญาณโดยลำดับ อีกอย่างหนึ่ง พึงเห็น
เนื้อความในคาถานี้อย่างนี้ว่า บุคคลผู้ยังไม่ปรินิพพานนั่นแล ย่อมเข้าถึงการ
นับว่า บุคคลนี้กำหนัดแล้ว หรือ ประทุษร้ายแล้ว เพราะยังไม่ละวิตกมีกาม
วิตกเป็นต้นฉันใด ละวิตกเสียแล้ว ไม่เข้าถึงการนับ ฉันนั้น.
พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๔ บทว่า อญฺาย ความว่า รู้แล้วโดย
นัยมีความไม่เที่ยงเป็นต้น. บทว่า สพฺพานิ ได้แก่ ไม่มีส่วนเหลือ. บทว่า
นิเวสนานิ ได้แก่ ภพทั้งหลายมีกามภพเป็นต้น เพราะสัตว์ทั้งหลายย่อม
อาศัยอยู่ในภพเหล่านั้น เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า ภพอันเป็นที่อาศัยอยู่.
บทว่า อนิกามย อญฺตรมฺปิ เตส ความว่า ไม่ปรารถนาภพ
อันเป็นที่อาศัยอยู่เหล่านั้นแม้ภพหนึ่ง เพราะเห็นโทษอย่างนี้ พุทธมุนีนั้น
คือ เห็นปานนั้น ชื่อว่า ปราศจากกำหนัด เพราะความเป็นผู้ปราศจากกำหนัด
คือ ตัณหาแล้ว และชื่อว่า ไม่ยินดีแล้ว เพราะความเป็นผู้ปราศจากกำหนัด
นั้นแล ด้วยกำลัง คือมรรคภาวนา ไม่ก่อกรรม คือ ไม่ทำโดยประการที่
บุคคลพวกหนึ่ง ยังไม่ปราศจากกำหนัดเลย แต่ปฏิญญาว่า เราไม่ยินดีแล้ว.
บทว่า นายูหติ ความว่า ไม่ทำกุศลหรืออกุศล ซึ่งเกิดแก่ภพอัน
เป็นที่อาศัยอยู่นั้น ๆ เพราะเหตุไร เพราะเป็นผู้ถึงฝั่งโน้นแล้ว อธิบายว่า
เพราะมุนีเห็นปานนั้น เป็นผู้ถึงฝั่งโน้นแล้วแห่งภพอันเป็นที่อาศัยอยู่ทั้งปวง
คือ พระนิพพาน.
ครั้นทรงติเตียนการเห็นของปุถุชนแล้ว ทรงสรรเสริญการเห็นของ
พระองค์ด้วยคาถาที่ ๑ ด้วยประการฉะนี้แล้ว ทรงสรรเสริญการบรรลุสันติบท
ของพระองค์ เพราะความไม่มีกิเลสทั้งหลายซึ่งปุถุชนยังไม่สงบระงับ ด้วย
คาถาที่ ๒ ทรงสรรเสริญการละวิตกไม่เข้าถึงการนับของพระองค์ ด้วยสัจจภาว-
นาทั้งสี่ในที่ตั้งแห่งกิเลสซึ่งปุถุชนยังไม่ละวิตก แล้วเข้าถึงการนับอย่างนั้น ๆ
ด้วยคาถาที่ ๓ ทรงสรรเสริญการไม่ก่อกรรมของพระองค์แม้ต่อไป เพราะไม่
มีตัณหาในภพอันเป็นที่อาศัยอยู่ ซึ่งปุถุชนปรารถนายิ่งนัก ก่อกรรมเพราะ
ภวตัณหา ด้วยคาถาที่ ๔ ทรงจบเทศนาในการอุบัติครั้งแรก ด้วยยอดคือ
พระอรหัตด้วยคาถาทั้งสี่นั่นแล.
คาถาว่า สพฺพาภิภู ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร ?
มหาบุรุษทรงทำมหาภิเนษกรมณ์แล้ว ทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ
โดยลำดับ เสด็จไปสู่กรุงพาราณสี เพื่อประโยชน์แก่การยังพระธรรมจักรให้
เป็นไป ทรงพบอุปกาชีวกในระหว่างโพธิมัณฑ์และตำบลคยา และผู้อันอุป-
กาชีวกทูลถามว่า ท่านผู้มีอายุ อินทรีย์ทั้งหลายของท่านผ่องใสแล จึงตรัส
พระดำรัสว่า เราเป็นผู้ครอบงำธรรมทั้งปวง ดังนี้เป็นต้น อุปกาชีวก ทูลว่า
เฮ้ย ! อาวุโส สั่นศีรษะสวนทางหลีกไป และไปถึงนาควิกคามแห่งหนึ่ง ใน
วังคชนบทโดยลำดับ หัวหน้าพรานเนื้อเห็นอุปกาชีวกนี้นั้น ก็คิดว่า โอ !
สมณะมักน้อยไม่นุ่งแม้ผ้า สมณะนี้เป็นอรหันต์ในโลก แล้วนำไปสู่เรือน
อังคาสด้วยรสเนื้อ และพร้อมกับบุตรภรรยาไหว้เขาผู้บริโภคแล้ว นิมนต์ว่า
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงอยู่ในที่นี้แหละ ผมจะบำรุงด้วยปัจจัย ได้จัด
โอกาสที่อยู่ให้ อุปกาชีวกนั้น ก็อยู่ในที่นั้น.
พรานเนื้อ เมื่อเนื้อทั้งหลายไม่หนีไกลเพื่อเที่ยวไปในประเทศที่เย็น
สมบูรณ์ด้วยน้ำในคิมหกาล เมื่อจะไปในประเทศนั้น จึงสั่งธิดา ชื่อว่า ฉาวา
ว่า เจ้าจักบำรุงอรหันต์ของพวกเราโดยเคารพ แล้วไปพร้อมกับบุตรและน้อง
ชายทั้งหลาย ก็นางเป็นคนน่าดูถึงพร้อมด้วยสัดส่วน ในวันที่ ๒ อุปกาชีวกมา
สู่เรือน เห็นทาริกานั้นเข้าใกล้ชิดเพื่ออังคาสถูกราคะครอบงำ ไม่อาจเพื่อบริโภค
ถือภาชนภัตรไปสู่ที่อยู่ เก็บภัตรไว้ในที่สุดข้างหนึ่ง คิดว่า ถ้าเราได้นางฉาวา
จะเป็นอยู่ ถ้าไม่ได้ จักตาย ดังนี้ ปราศจากอาหารนอนอยู่ ในวันที่ ๗ พราน
เนื้อกลับมาแล้วถามธิดาถึงประพฤติการณ์ของอุปกาชีวก นางพูดว่า มาใน
วันหนึ่งเท่านั้น แล้วไม่เคยมาอีก พรานเนื้อคิดว่า เราจักเข้าไปหาอุปกาชีวก
นั้นไต่ถามดู ด้วยเพศที่มานั่นแหละ จึงมาในขณะนั้นทีเดียว ลูบเท้าถามว่า
ท่านผู้เจริญไม่ผาสุกหรือ อุปกาชีวกทุรนทุราย กลิ้งไปมาอยู่นั่นเทียว พราน
เนื้อนั้นกล่าวว่า จงพูดเถิด ท่านผู้เจริญ ผมอาจเพื่อทำสิ่งใด จักทำสิ่งนั้น
ทั้งหมด อุปกาชีวกกล่าวว่า ถ้าได้นางฉาวา จะเป็นอยู่ ถ้าไม่ได้ ผมตายใน
ที่นี้แหละประเสริฐกว่า.
มาควิก. ท่านผู้เจริญ ก็ท่านรู้ศิลปะอะไรบ้าง.
อุปถะ. ไม่รู้เลย.
มาควิก. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านไม่รู้ศิลปะอะไรเลย ไม่อาจเพื่อดำรง
ฆราวาสได้.
อุปกาชีวกนั้นกล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่รู้ศิลปะอะไรเลย แต่ข้าพเจ้าจักเป็น
ผู้นำเนื้อของท่านและขายเนื้อ ฝ่ายพรานเนื้อกล่าวว่า พวกเราชอบการขายเนื้อ
นั่นแล จึงให้ผ้าเนื้อหนานำสู่เรือนให้ธิดา เพราะอาศัยการอยู่ร่วมของเขาทั้ง-
สองนั้น บุตรก็เกิดแล้ว เขาจึงตั้งชื่อบุตรนั้นว่า สุภัททะ นางฉาวาพูด
เสียดสีอุปกะ ด้วยเพลงขับกล่อมบุตร อุปกะนั้นเมื่อไม่ทนต่อคำเสียดสีนั้น จึง
กล่าวว่า แน่ะ แม่คนสวย ฉันจะไปสู่สำนักของพระอนันตชิน แล้วมุ่งหน้า
ต่อมัชฌิมประเทศหลีกไป.
ก็โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร
ใกล้กรุงสาวัตถี ลำดันนั่นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสั่งภิกษุทั้งหลายก่อนที-
เดียวว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดมาถามอยู่ว่า พระอนันตชิน ท่านทั้งหลาย
พึงแสดงเราต่อผู้นั้น ฝ่ายอุปกะแลมาสู่กรุงสาวัตถี โดยลำดับนั่นเทียว ยืนอยู่
ในท่ามกลางวิหารถามว่า สหายของเรา ชื่อ อนันตชิน มีอยู่ในวิหารนี้ ท่านอยู่
ที่ไหน ? ภิกษุทั้งหลายนำอุปกะนั้นไปสู่สำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มี
พระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมอันสมควรแก่อุปกะนั้น ในที่สุดแห่งเทศนา อุปกะ
ได้ดำรงอยู่ในอนาคามิผล.
ภิกษุทั้งหลายฟังประพฤติการณ์ในกาลก่อนของอุปกะนั้นแล้ว ยังถ้อย-
คำให้ตั้งขึ้นว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมแก่สมณเปลือยปราศจากสิริ
ก่อน พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้การตั้งขึ้นแห่งถ้อยคำนั้น เสด็จออกจากพระ-
คันธกุฏิ ประทับนั่งบนพุทธาสนะ ด้วยปาฏิหาริย์ อันสมควรแก่ขณะนั้น
ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนั่งสนทนาเรื่อง
อะไรหนอ ภิกษุเหล่านั้นทูลบอกเรื่องทั้งหมด แต่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตไม่แสดงธรรม เพราะไม่มีเหตุไม่มีปัจจัย
ธรรมเทศนาของตถาคตปราศจากมลทิน ใคร ๆ ไม่อาจเห็นโทษในธรรม-
เทศนานั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุปกะได้เป็นอนาคามีในบัดนี้ เพราะอุปนิสัย
แห่งธรรมเทศนานั้น ได้ทรงภาษิตคาถานี้ ซึ่งแสดงความที่พระองค์ทรงมี
เทศนาอันไม่มีมลทิน.
คาถานั้นมีเนื้อความว่า ชื่อว่า ผู้ครอบงำธรรมได้ทั้งหมด เพราะ
ความที่พระองค์เป็นผู้อันธรรมเหล่านั้นไม่ครอบงำ ด้วยการละฉันทราคะใน
ขันธ์ อายตนะ และธาตุทั้งปวง ที่มีอาสวะ และเพราะความที่พระองค์ทรง
เป็นไปครอบงำธรรมเหล่านั้นหมดไว้ด้วยพระองค์เอง ชื่อว่า รู้แจ้งธรรม
ทุกอย่าง เพราะความที่ธรรมเหล่านั้น และสรรพธรรมเหล่าอื่น อันพระองค์
ทรงรู้แจ้งโดยอาการทั้งปวง ชื่อว่า มีปัญญาดี เพราะความที่พระองค์ทรงถึง
พร้อมแล้วด้วยเมธาอันงาม ซึ่งสามารถในการทรงแสดงธรรมทั้งปวง ชื่อว่า
ไม่เข้าไปติดในธรรมทั้งปวงเหล่านั้น เพราะไม่มีความติด คือ ตัณหาและทิฏฐิ
ทั้งหลาย ซึ่งเป็นเหตุให้คนเข้าไปติดในธรรมทั้งปวง อันต่างด้วยขันธ์ที่มีอาสวะ
เป็นต้น ชื่อว่า ละธรรมได้ทั้งหมด เพราะความที่พระองค์ไม่มีฉันทราคะ
ในสรรพธรรมเหล่านั้น และเพราะพระองค์ทรงละธรรมเหล่านั้นทั้งหมด ดำรง
อยู่ ชื่อว่า น้อมไปแล้วในธรรมเป็นที่สิ้นตัณหา มีอธิบายว่าน้อมไปยิ่งแล้ว
เพราะความที่พระองค์ทรงน้อมไปแล้วโดยพิเศษในนิพพานอันเป็นที่สิ้นตัณหา
ด้วยจิตอันโน้มไปในอุปธิวิเวก.
บทว่า ต วาปิ ธีรา มุนิ เวทยนฺติ ความว่า สัตว์ ผู้นักปราชญ์
ทั้งหลายย่อมประกาศ คือ ย่อมรู้แม้ผู้นั้นว่า เป็นมุนี.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยังพระองค์ให้แจ่มแจ้งว่า ท่านทั้งหลายจงดู
มุนีนี้เป็นผู้ประเสริฐยิ่งเพียงใด เทศนาของมุนี ผู้ประเสริฐยิ่งเพียงนั้นจะมี
มลทินแต่ที่ไหน จริงอยู่ วาศัพท์ ในบทว่า ต วาปิ ธีรา นี้มีความแจ่มแจ้ง
เป็นอรรถ ส่วนอาจารย์บางพวกกล่าวว่า อุปกะแม้เห็นพระตถาคตในกาลนั้น
ไม่เชื่อแล้วว่า พระตถาคตนี้เป็นพุทธมุนี ภิกษุทั้งหลาย ยังถ้อยคำให้ตั้งขึ้น
อย่างนี้แล้ว ต่อแต่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงว่า จงเชื่อก็ตาม
ไม่เชื่อก็ตาม แต่นักปราชญ์ทั้งหลายประกาศผู้นั้นว่า เป็นมุนี จึงตรัสคาถา
นี้แล.
เอาบุญมาฝากจะถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ สักการะพระธาตุ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาทสร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ ให้อาหารสัตว์เป็นทานเป็นประจำ กรวดน้ำอุทิศบุญ อนุโมทนากับพ่อแม่ญาติพี่น้องที่รักษาศีล ฟังธรรม ให้ทาน อนุโมทนากับเพื่อนๆที่รักษาศีล ศึกษาการรักษาโรค ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ถวายสังฆทานมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ปิดทองพระ รักษาอาการป่วยของผู้อื่นกับผู้ร่วมงาน และที่ผ่านมาได้รักษาอาการป่วยของบิดามารดา ปล่อยชีวิตสัตว์มาโดยตลอด ถวายยาแก่ภิกษุ ขัดองค์พระ ที่ผ่านมาได้จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย ให้ความรู้สมุนไพรเพื่อสุขภาพเป็นวิทยาทาน ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ทำบุญหลายอย่างมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ถวายสังฆทานและทำบุญสร้างอาคารผู้ป่วยและกฐินกับเพื่อนๆและให้อาหารเป็นทานแก่สรรพสัตว์กับเพื่อนๆและเพื่อนคนหนึ่งและบริวารของเพื่อนและครอบครัวของเพื่อนได้มีจิตเมตตาให้ทานและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือผู้อื่นอยู่ตลอดและเพื่อนได้เคยสวดมนต์เย็นกับคุณแม่และที่ผ่านมาได้ทำบุญสักการะพระธาตุทำบุญปิดทองชำระหนี้สงฆ์และไหว้พระและทำบุญตามกล่องรับบริจาคตามวัดต่างๆกับเพื่อนและตั้งใจว่าจะสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอให้อนุโมทนาบุญด้วย
ขอเชิญถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน สักการะพระธาตุ ฟังธรรม สวดมนต์ ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาท
สร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย กรวดน้ำอุทิศบุญ ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สนทนาธรรม
ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น รักษาอาการป่วยของผู้อื่น รักษาอาการป่วยของบิดามารดา จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย
ปิดทอง สักการะพระธาตุ กราบอดีตสังขารเจ้าอาวาสที่ไม่เน่าเปื่อย ที่วัดแจ้ง อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ปิดทองพระ ปล่อยชีวิตสัตว์ถวายยาแก่ภิกษุ ไหว้พระตามวัดต่างๆ ขัดองค์พระ ให้ความรู้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพเป็นทาน
และสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอเชิญร่วมบุญกุศลร่วมกันนะ
Powered by phpBB © phpBB Group.
phpBB Mobile / SEO by Artodia.