พระพุทธพจน์ - พุทธภาษิต พระธรรมเทศนา และ ธรรมะจากครูบาอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
ศุกร์ 01 ก.พ. 2013 8:24 pm
คาถาว่า ยทคฺคโต ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร ?
ได้ยินว่า ในกรุงสาวัตถี มีพราหมณ์คนหนึ่งชื่อว่า ปัญจัคคทายก
เขาเมื่อข้าวกล้าทั้งหลายสำเร็จอยู่ ย่อมให้ทานอันเลิศ ๕ ประการเหล่านี้ คือ
เขตัคคทาน ราสัคคทาน โกฏฐัคคทาน กุมภิอัคคทาน โภชนัคคทาน.
ในทานอันเลิศ ๕ ประการนั้น พราหมณ์เป็นผู้มีความเห็นอย่างนี้ว่า ก็คนมี
ปัญญาใดให้นำมาซึ่งข้าวสาลี ข้าวเหนียว รวงข้าวละมาน ที่สุกก่อน เตรียม
จัดแจงข้าวยาคู ข้าวปายาสและข้าวเม่าเป็นต้นให้ทานอันเลิศ คนนั้นย่อมได้
ผลอันเลิศ แล้วให้ทานแก่ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข นี้ชื่อว่า
เขตัคคทาน ของพราหมณ์นั้น.
ก็เมื่อข้าวกล้าทั้งหลายสำเร็จแล้ว เกี่ยวแล้ว และนวดแล้ว ถือเอา
ธัญญะอันประเสริฐให้ทานอย่างนั้นเทียว นี้ชื่อว่า ราสัคคทาน ของพราหมณ์
นั้น.
พราหมณ์ยังยุ้งฉางทั้งหลายให้เต็มด้วยธัญชาติเหล่านั้น ถือเอาธัญญะ
ทั้งหลายที่นำออกครั้งแรก ในการเปิดยุ้งฉางก่อนแล้ว ให้ทานอย่างนั้นเทียว
ชื่อว่า โกฏฐัคคทาน ของพราหมณ์นั้น.
ก็ภัตใด ๆ หุงต้มในเรือนของพราหมณ์นั้น พราหมณ์ไม่ให้ภัตอันเลิศ
จากภัตนั้นแก่บรรพชิตที่มาถึงแล้ว โดยที่สุดแม้แก่เด็กทั้งหลาย ก็ไม่ให้อะไรเลย
นี้ชื่อว่า กุมภิอัคคทาน ของพราหมณ์นั้น.
พราหมณ์ไม่ให้โภชนะที่เขาน้อมมาครั้งแรก ในกาลที่ตนบริโภคอีก
แก่สงฆ์ในกาลแห่งปุเรภัต แก่ยาจกที่มาถึงทั้งหลายในกาลแห่งปัจฉาภัต โดย
ที่สุดแม้แก่สุนัขทั้งหลาย เพราะไม่มีสงฆ์เป็นต้นนั้น ย่อมไม่บริโภค นี้ชื่อว่า
โภชนัคคทาน ของพราหมณ์นั้น พราหมณ์นั้นจึงถูกกำหนดว่า ปัญจัคคทายก
อย่างนี้แล.
อยู่มาวันหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรวจดูโลก ด้วยพุทธจักษุ
ในสมัยใกล้รุ่ง ทรงเห็นอุปนิสัยแห่งโสดาปัตติมรรค ของพราหมณ์นั้น และ
นางพราหมณี ทรงกระทำการปฏิบัติพระสรีระ เสด็จเข้าสู่พระคันธกุฎีแต่เช้าตรู่
เทียว ภิกษุทั้งหลายเห็นพระคันธกุฎีปิดประตูรู้ว่า วันนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า
มีพระประสงค์เพื่อเสด็จเข้าไปสู่บ้านแต่พระองค์เดียว ในเวลาภิกขาจารทำ
ประทักษิณพระคันธกุฎี เข้าไปเพื่อบิณฑบาต ฝ่ายพระผู้มีพระภาคเจ้าในเวลา
พราหมณ์บริโภค เสด็จออกเข้าไปในกรุงสาวัตถี มนุษย์ทั้งหลายพอเห็นพระผู้-
มีพระภาคเจ้าเท่านั้น ก็รู้ว่าในวันนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุเคราะห์สัตว์บาง
คนแน่นอน ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าไปแต่พระองค์เดียว จึง
ไม่เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อประโยชน์แก่การนิมนต์ แม้พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าเสด็จไปถึงประตูเรือนของพราหมณ์โดยลำดับ ประทับยืนอยู่.
ก็โดยสมัยนั้น พราหมณ์กำลังนั่งรับประทานโภชนะ ส่วนนาง
พราหมณีของพราหมณ์นั้น ยืนพัดอยู่ นางเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วคิดว่า
ถ้าพราหมณ์นี้พึงเห็นไซร้ ก็จะพึงรับบาตรถวายโภชนะทั้งหมด แต่นั้น เราก็
จะพึงหุงต้มโภชนะอีก ก็เกิดความไม่เลื่อมใสและความตระหนี่ จึงเอาพัด
ก้านตาลบังไว้ โดยประการที่พราหมณ์จะมองไม่เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้เหตุนั้น จึงเปล่งแสงสว่างจากพระสรีระ พราหมณ์
เห็นแสงสว่างสีทองแล้ว มองดูว่า นั่นอะไร ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า
ประทับยืนอยู่ที่ประตู ฝ่ายนางพราหมณีคิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าอันพราหมณ์
นั้นเห็นแล้ว จึงวางพัดก้านตาลทันที เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว
ไหว้ด้วยเบญจางคประดิษฐ์ ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้ว่า นางพราหมณีนั้น
ผู้กำลังยืนอยู่มีสัปปายะ จึงตรัสคาถานี้ว่า
ผู้ใดไม่มีความยึดถือว่า ของเราใน
นามและรูปโดยประการทั้งปวง และไม่
เศร้าโศก เพราะไม่มีความยึดถือนั้น ผู้นั้น
แลเรียกว่า ภิกษุ.
ในเวลาจบคาถานั้นเทียว นางก็ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล.
ฝ่ายพราหมณ์ทูลนิมนต์พระผู้มีพระภาคเจ้าให้เสด็จเข้าภายในเรือน
กราบทูลให้ประทับนั่งบนอาสนะ ถวายน้ำทักขิโณทก น้อมถวายโภชนะที่เขา
จัดให้แก่ตนว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ทรงเป็นทักขิไณยบุคคลที่เลิศ
ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก ดีละ ขอพระองค์จงทรงรับโภชนะนั้นของข้าพระองค์
ประดิษฐ์ลงในบาตรของพระองค์เถิด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับเสวยแล้ว เพื่อ
อนุเคราะห์แก่พราหมณ์นั้น และทรงทำภัตกิจเสร็จแล้ว ทรงรู้ความสบายของ
พราหมณ์ จึงตรัสคาถานี้.
คาถานั้นมีเนื้อความว่า ผู้ใดได้ก้อนข้าวแต่ส่วนที่เลิศ เพราะเป็น
ก้อนข้าวที่ตักมาจากหม้อก่อนทีเดียว แต่ส่วนปานกลาง เพราะเป็นก้อนข้าวที่
ตักมาจากหม้อที่เหลือกึ่งหนึ่งแล้ว ถือเอาจากส่วนที่เหลือนั้น หรือจากส่วน
ที่เหลือ เพราะเป็นก้อนข้าวที่ตักมาจากหม้อที่เหลือประมาณ ๑ ทัพพี หรือ
๒ ทัพพีแล้วถือเอาจากส่วนที่เหลือนั้น.
บทว่า ปรทตฺตูปชีวี ได้แก่ บรรพชิต จริงอยู่ บรรพชิตนั้น
เว้นน้ำและไม้สีฟันแล้ว ย่อมเข้าไปอาศัยอาหารที่เหลืออันผู้อื่นให้เป็นอยู่
เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า ปรทัตตูปชีวี.
บทว่า นาล ถุตุ นาปิ นิปจฺจวาที ความว่า ได้ก้อนข้าวแต่ส่วน
ที่ดี ไม่อาจจะกล่าวชมตน หรือทายก เพราะความเป็นผู้ละความยินดีแล้ว
ได้แต่ส่วนที่เหลือ ก็ไม่อาจแม้เพื่อให้ทายกตกต่ำแล้วกล่าวคำอันไม่เป็นที่รัก
ทั้งหลายโดยนัยมีอาทิว่า ทายกนี้ให้ก้อนข้าวอะไร ดังนี้ เพราะความเป็นผู้ละ
ความยินร้ายได้แล้ว.
นักปราชญ์ย่อมประกาศแม้ผู้นั้นว่าเป็นมุนี คือ นักปราชญ์เท่านั้น
ย่อมประกาศแม้ผู้นั้น คือผู้ละความยินดีและความยินร้ายได้แล้วว่า เป็นมุนี
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงคาถาด้วยยอดคือพระอรหัตแก่พราหมณ์ ด้วย
ประการฉะนี้ ในเวลาจบคาถา พราหมณ์ได้ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผลแล.
คาถาว่า มุนึ จรนฺต ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร ?
ได้ยินว่า บุตรเศรษฐีคนหนึ่งในกรุงสาวัตถี ถูกบำรุงบำเรออยู่ด้วย
สมบัติทั้งปวง ในปราสาท ๓ หลัง ด้วยอำนาจแห่งฤดู ยังหนุ่มแน่นเป็นผู้
ประสงค์จะบวช แต่นั้น จึงอ้อนวอนมารดาบิดา แล้วบวชและสึกถึง ๓ ครั้ง
ในครั้งที่ ๔ จึงได้บรรลุอรหัต โดยนัยที่กล่าวแล้วในอุบัติแห่งเรื่อง ในคาถา
นี้ว่า กามา หิ จิตฺรา ในขัคควิสาณสูตร ภิกษุทั้งหลายกล่าวกะภิกษุนั้น
ตามความเคยชินในกาลก่อนว่า ดูก่อนอาวุโส ถึงสมัยเพื่อจะสึกหรือ ภิกษุนั้น
กล่าวว่า ดูก่อนอาวุโส บัดนี้ เราไม่ควรเพื่อจะสึก ภิกษุทั้งหลายฟังดังนั้นแล้ว
จึงทูลบอกแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เป็นจริงดังนั้น บัดนี้ เธอไม่ควรเพื่อจะสึก เมื่อจะทำความที่ภิกษุ
นั้นเป็นมุนีผู้ขีณาสพให้แจ่มแจ้ง จึงตรัสคาถานี้.
คาถานั้นมีเนื้อความว่า ชื่อว่า มุนี เพราะถึงพร้อมด้วยโมเนยยธรรม
เที่ยวไปอยู่ ด้วยความเป็นผู้อยู่คนเดียว หรือด้วยจริยาบางอย่าง บรรดาจริยา
มีประการที่กล่าวแล้วในกาลก่อน ปราศจากความยินดีในเมถุน ด้วยวิรัติอัน
ยอดเยี่ยม เพราะไม่ทำจิตในเมถุนธรรม ดุจในกาลก่อน.
ความสัมพันธ์แห่งบาทที่ ๒ หากจะมีคำถามว่า มุนี เที่ยวไปปราศจาก
ความยินดีในเมถุน เช่นไร ตอบว่า ผู้ใดไม่หมกมุ่นอยู่ในรูปแห่งหญิงอะไร ๆ
ที่กำลังเป็นสาว คือ ผู้ใดไม่หมกมุ่นอยู่ในรูปแห่งหญิงอะไร ๆ เมื่อความสาว
แม้สวยงามเป็นไปอยู่ ด้วยเมถุนราคะ ดุจในกาลก่อน.
อีกอย่างหนึ่ง ในคาถานี้มีเนื้อความอย่างนี้ว่า ผู้ใดไม่หมกมุ่นด้วยราคะ
ในความเป็นหนุ่มของตนหรือของคนอื่นอะไร ๆ อย่างนี้ว่า เรายังหนุ่ม หรือ
หญิงนี้ยังสาว เราจะเสพกามก่อน ก็ปราศจากความยินดีในเมถุนอย่างเดียว
เท่านั้น ก็หามิได้ โดยที่แท้ งดเว้นแล้วจากความเมาอันต่างด้วยความเมาเพราะ
ชาติเป็นต้น และแม้จากความประมาท กล่าวคือ การปล่อยสติในกามคุณห้า
เพราะความเป็นผู้งดเว้นแล้ว จากความเมาและความประมาท และหลุดพ้นจาก
เครื่องผูกคือกิเลสทั้งปวงอย่างนี้.
หรือคนหนึ่งเป็นผู้งดเว้นแล้ว ด้วยวิรัติแม้เป็นโลกิยะ ฉันใด ผู้นี้
หาเป็นฉันนั้นไม่ ก็หลุดพ้นแล้ว งดเว้นแล้วอย่างไร อธิบายว่า งดเว้นแล้ว
ด้วยวิรัติอันเป็นโลกุตระ เพราะความที่ภิกษุนี้ เป็นผู้หลุดพ้นแล้ว จากเครื่อง
ผูกคือกิเลสทั้งปวง.
บทว่า ต วาปิ ธีรา ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า
นักปราชญ์ทั้งหลายเท่านั้น ย่อมประกาศแม้ผู้นั้นว่า เป็นมุนี ก็ท่านทั้งหลาย
ไม่พึงว่ากล่าวภิกษุนั้น ด้วยเหตุนั้น ท่านทั้งหลายจงกล่าวภิกษุนั้น (ว่าเป็น
มุนี) อย่างนี้แล.
คาถาว่า อญฺาย โลก ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร ?
พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ กรุงกบิลพัสดุ์ ก็โดยสมัยนั้นแล
พระญาติทั้งหลายได้ทรงกระทำมงคล ๓ ประการ คือ อาภรณมงคล อภิเสก-
มงคล อาวาหมงคล แก่เจ้าชายนันทะ แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ถูกนิมนต์
ในงานมงคลนั้น เสด็จไปในงานมงคลนั้น พร้อมกับภิกษุ ๕๐๐ รูป เสวย
พระกระยาหารเสร็จแล้ว เสด็จออกไปทรงประทานบาตรในพระหัตถ์ของ
เจ้าชายนันทะ เจ้าหญิงชนบทกัลยาณีเห็นเจ้าชายนันทะนั้นเสด็จออกไป จึง
ตรัสว่า ขอพระลูกเจ้าจงด่วนเสด็จกลับมา เจ้าชายนันทะนั้นเมื่อไม่อาจเพื่อทูล
ว่า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงรับบาตรเถิด ด้วยความเคารพพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า ก็เสด็จไปสู่วิหารนั่นเทียว พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับยืนที่บริเวณ
พระคันธกุฎีตรัสว่า จงนำบาตรมา นันทะ ครั้นรับแล้ว ก็ตรัสว่า เธอจักบวช
ไหม ? เจ้าชายนั้น เมื่อไม่อาจปฏิเสธด้วยความเคารพต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงทูลว่า จะบวชพระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้เจ้าชายนันทะ
ทรงผนวชแล้ว.
ก็พระนันทะนั้น ระลึกถึงคำพูดของเจ้าหญิงชนบทกัลยาณีบ่อย ๆ
ก็กระสัน ภิกษุทั้งหลายกราบทูลบอกเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มี-
พระภาคเจ้ามีพระประสงค์จะทรงกำจัดความไม่ยินดีของพระนันทะจึงตรัสว่า
ดูก่อนนันทะ เธอเคยไปสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ไหม ? พระนันทะทูลบอกว่า
ข้าพระองค์ไม่เคยไปพระเจ้าข้า แต่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนำพระนันทะ
นั้นไปสู่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ด้วยอานุภาพของพระองค์แล้วประทับยืนที่ประตู
เวชยันตปราสาท ท้าวสักกะทรงทราบการเสด็จมาของพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้อัน
หมู่อัปสรแวดล้อมแล้ว เสด็จลงจากปราสาท นางอัปสรเหล่านั้นแม้ทั้งหมด
เคยให้น้ำมันทาเท้าแก่สาวกทั้งหลายของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า กัสสป
จึงเป็นผู้มีเท้าดุจเท้าของนกพิราบ.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกพระนันทะว่า ดูก่อนนันทะ
เธอเห็นนางอัปสร ๕๐๐ ซึ่งมีเท้าดุจเท้านกพิราบเหล่านี้ไหม ? เรื่องทั้งหมด
พึงให้พิสดาร คำว่า พึงถือนิมิตและอนุพยัญชนะชื่อของมาตุคาม นั่นไม่มีใน
พระพุทธพจน์แม้ทั้งหมด แต่ในที่นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์จะทำลาย
ราคะของพระนันทะออกไป ดุจหมอมีความประสงค์จะกำจัดโทษของผู้เดือนร้อน
ออกไปฉะนั้น เพราะความที่พระองค์ทรงฉลาดในอุบายโกศล จึงทรงอนุญาต
ให้พระนันทะนั้นถือเอานิมิตและอนุพยัญชนะ เป็นดุจสารถีผู้ฝึกบุรุษที่ยอด-
เยี่ยมฉะนั้น แต่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้ว่าพระนันทะยินดียิ่งในพรหมจรรย์
เพราะเหตุแห่งนางอัปสร ทรงสั่งภิกษุทั้งหลายว่า จงเตือนนันทะ ด้วยวาทะว่า
ลูกจ้าง พระนันทะนั้น อันภิกษุเหล่านั้นเตือนอยู่ ละอายแล้วมนสิการโดย
แยบคาย ปฏิบัติแล้วไม่นานนัก ก็กระทำให้แจ้งซึ่งพระอรหัต เทวดาที่สิงสถิต
อยู่ที่ต้นไม้ ใกล้ที่สุดจงกรมของพระนันทะนั้น ได้ทูลบอกเรื่องนั่นแด่พระผู้มี-
พระภาคเจ้า ญาณก็ได้บังเกิดแม้แก่พระผู้มีพระภาคเจ้า ภิกษุทั้งหลายเมื่อไม่รู้
ก็เตือนพระผู้มีอายุเหมือนอย่างนั้นเทียว พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอไม่พึงเตือนนันทะเหมือนอย่างนั้น เมื่อจะทรงแสดง
ความที่พระนันทะนั้นเป็นมุนีผู้ขีณาสพ จึงตรัสคาถานี้ เพื่อทรงแสดงธรรม
แก่ภิกษุเหล่านั้น.
คาถานั้นมีเนื้อความว่า ผู้รู้จัก คือ รู้แล้ว กำหนดแล้วซึ่งโลกมีขันธ์
เป็นต้น ด้วยการกระทำการกำหนดทุกขสัจจะ เห็นปรมัตถประโยชน์ด้วยการ
ทำให้แจ้งซึ่งนิโรธสัจจะ ข้ามพ้น คือ ก้าวล่วงโอฆะ ๔ อย่าง ด้วยการละสมุทัย
และสมุทรคืออายตนะมีจักขุเป็นต้น ด้วยการอดทนต่อกำลังแห่งความเมาในรูป
เป็นต้น เพราะความเป็นผู้ละสมุทัยได้แล้ว กำจัดออกซึ่งสมุทัยนั้น ด้วยมรรค-
ภาวนา.
บทว่า ตาทึ ได้แก่ เป็นผู้คงที่ ด้วยการถึงลักษณะผู้คงที่นี้.
ผู้ศึกษาทราบเนื้อความและอธิบายในคาถานี้อย่างนี้ว่า ก็กองแห่งกิเลสมี
กามราคะเป็นต้นนั่นแลนี้ใด ชื่อว่า โอฆะ เพราะอรรถว่าไหลไป ชื่อว่า
สมุทร เพราะอรรถว่าพุ่งขึ้น โดยปริยายแห่งคติอันน่าเกลียด ข้ามพ้นกองกิเลส
นั้น คือ โอฆะและสมุทรด้วยการละสมุทัย เพราะความเป็นผู้ข้ามพ้นโอฆะ
ได้แล้ว ชื่อว่า เป็นผู้คงที่ เพราะความเป็นผู้ไม่ถึงความผิดปกติ ในคำพูด
ที่ท่านทั้งหลายแม้กล่าวอยู่อย่างนี้ในบัดนี้.
ก็คำว่า ต ฉินฺนคนฺถ อสิต อนาสว นี้ เป็นคำกล่าวสรรเสริญ
พระนันทะนั้น มีอธิบายว่า ชื่อตัดกิเลสเครื่องร้อยรัดได้ขาดแล้ว เพราะความ
ที่คันถะ (เครื่องร้อยรัด) ๔ อย่าง ถูกตัดขาดได้แล้ว ด้วยสัจจภาวนาทั้งสี่นี้
ชื่อว่า อันทิฏฐิหรือตัณหาอาศัยไม่ได้แล้ว เพราะความที่ทิฏฐิหรือตัณหาไม่
อาศัยแล้วในที่ไหน ๆ ชื่อว่า ไม่มีอาสวะ เพราะไม่มีอาสวะทั้งสี่.
บทว่า ต วาปิ ธีรา มุนิ เวทยนฺติ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงแสดงว่า หรือนักปราชญ์ย่อมประกาศแม้ผู้นั้นว่า เป็นมุนีผู้ขีณาสพ แต่
ท่านทั้งหลายผู้ไม่ถูกประกาศ จงกล่าว (ว่าเป็นมุนี) อย่างนี้แล.
คาถาว่า อสมา อุโภ ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร ?
ภิกษุรูปหนึ่งอาศัยปัจจันตคาม ในแคว้นโกศล อยู่ในป่า ก็พรานเนื้อ
ในบ้านนั้น ไปสู่โอกาสเป็นที่อยู่ของภิกษุนั้น ผูกเนื้อทั้งหลาย เข้าไปสู่ป่า
เห็นพระเถระแม้เข้าไปสู่บ้าน เพื่อบิณฑบาต เมื่อมาจากป่า ก็เห็นพระเถระ
แม้กำลังออกจากบ้าน ก็เกิดความรักใคร่ในพระเถระ ด้วยการเห็นเนือง ๆ
อย่างนี้ ถวายบิณฑบาตที่มีรสแม้แก่พระเถระในเวลาที่ตนได้เนื้อมาก มนุษย์
ทั้งหลายโพนทะนาว่า ภิกษุนี้ย่อมบอกแก่พรานว่า ในประเทศชื่อโน้น เนื้อ
ทั้งหลายย่อมยืน เดินดื่มน้ำที่ควรดื่ม แต่นั้นพรานก็ฆ่าเนื้อทั้งหลาย ด้วยเหตุนั้น
คนทั้งสองจึงรวมกันเลี้ยงชีวิต.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเที่ยวจาริกในชนบท ได้เสด็จไป
สู่ชนบทนั้น ภิกษุทั้งหลายเข้าไปสู้บ้านเพื่อบิณฑบาต ฟังประพฤติการณ์นั้น
แล้ว ทูลบอกแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดง
ความที่ภิกษุนั้นเป็นมุนีผู้ขีณาสพ ซึ่งไม่สำเร็จการเลี้ยงชีวิตร่วมกับพราน จึง
ตรัสคาถานี้ เพื่อทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุเหล่านั้น.
คาถานั้นมีเนื้อความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นและพรานนั้น
คนทั้งสองนั้นไม่เสมอกัน มนุษย์ทั้งหลายย่อมกล่าวคำใดว่า มีการเลี้ยงชีพ
ร่วมกัน คำนั้นผิด เพราะเหตุไร เพราะมีที่อยู่และความเป็นอยู่ไกลกัน ที่อยู่
และความเป็นอยู่ของคนทั้งสองนั้นไกลกัน เพราะเหตุนั้น คนทั้งสองนั้น
จึงชื่อว่า ทูริวิหารวุตฺติโน แปลว่า มีที่อยู่และความเป็นอยู่ไกลกัน.
บทว่า วิหาโร ได้แก่ โอกาสเป็นที่อยู่. ก็โอกาสเป็นที่อยู่นั้นของ
ภิกษุมีในป่า และของพรานมีในบ้าน. บทว่า วุตฺติ ได้แก่ มีความเป็นอยู่.
ก็ความเป็นอยู่นั้นของภิกษุได้แก่การเที่ยวไปเพื่อภิกขาตามตรอกในบ้าน และ
ของพราน คือ การฆ่าเนื้อและนกในป่า.
อีกประการหนึ่ง คฤหัสถ์เลี้ยงลูกเมีย เพราะเหตุนั้น พรานนั้นย่อม
เลี้ยงลูกเมียด้วยกรรมนั้น ส่วนภิกษุผู้ขีณาสพนั้นไม่ยึดถือว่าเป็นของเรา มี
วัตรงาม คือ เว้นจากความยึดถือว่าเป็นของเราด้วยตัณหาและทิฏฐิในลูกเมีย
ทั้งหลาย ชื่อว่า มีวัตรงาม เพราะความเป็นผู้มีวัตรอันสะอาด และความเป็น
ผู้มีวัตรอันงาม.
อีกประการหนึ่ง คฤหัสถ์ไม่สำรวมเพราะบั่นรอนสัตว์อื่น พรานนั้น
เป็นคฤหัสถ์ ชื่อว่า ไม่สำรวมแล้ว ด้วยกายวาจาและจิต เพราะบั่นรอนสัตว์อื่น
คือ การเข้าไปตัดชีวิตินทรีย์ของสัตว์เหล่านั้น มุนีสำรวมเป็นนิตย์ รักษาสัตว์
มีชีวิตไว้ ส่วนภิกษุนอกนี้เป็นมุนีผู้ขีณาสพ สำรวม คือ สังวรเป็นนิตย์ด้วย
กาย วาจา และจิต ย่อมรักษาสัตว์มีชีวิตไว้ เมื่อเป็นเช่นนี้คนทั้งสองนั้นจัก
มีการเลี้ยงชีพร่วมกันอย่างไรได้ดังนี้แล.
คาถาว่า สิขี ยถา ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร ?
ครั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ กรุงกบิลพัสดุ์ การสนทนา
ได้เกิดขึ้นแก่ศากยะทั้งหลายว่า ผู้บรรลุโสดาก่อน ย่อมเป็นผู้แก่กว่าผู้บรรลุ
โสดาภายหลังโดยธรรม เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้บรรลุโสดาภายหลัง พึงกระทำ
กิจทั้งหลายมีการอภิวาทน์เป็นต้น แก่คฤหัสถ์ผู้บรรลุโสดาก่อน ภิกษุผู้บิณฑบาต
เป็นวัตรรูปหนึ่ง ได้ฟังการสนทนานั้น จึงกราบทูลบอกแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายว่า ก็ชาตินี้เป็นอย่างหนึ่ง เพศเป็นวัตถุพึงบูชา
จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าอนาคามีเป็นคฤหัสถ์ไซร้ อนาคามีผู้คฤหัสถ์
นั้นพึงการทำกิจทั้งหลายมีการอภิวาทน์เป็นต้น แก่สามเณรแม้ผู้บวชในวันนั้น
เมื่อจะทรงแสดงคุณพิเศษของภิกษุแม้ผู้บรรลุโสดาภายหลัง มีคุณใหญ่ยิ่งกว่า
คฤหัสถ์ผู้บรรลุโสดาก่อนอีก จึงตรัสคาถานี้ เพื่อทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุ
ทั้งหลาย.
คาถานั้นมีเนื้อความว่า นกยูงบินไปในอากาศนี้ใดเรียกว่า มีหงอน
เพราะมีภาวะที่หงอนซึ่งเกิดที่ศีรษะ และมีสร้อยคอเขียวที่คอเช่นท่อนแก้วมณี
นกยูงนั้นย่อมไม่ถึงเสี้ยวแม้ที่ ๑๖ ด้วยความเร็วของสุวรรณหงส์ ในบรรดา
หริตหงส์ ตัมพหงส์ กาฬหงส์ ปากหงส์และสุวรรณหงส์ แม้สุวรรณหงส์
ย่อมบินไปได้พันโยชน์บ้าง หนึ่งโยชน์บ้าง โดยครู่เดียว ส่วนนกยูงนอกนี้
ไม่ปรากฏว่าสามารถ แต่หงส์และนกยูงแม้ทั้งสองก็เป็นสัตว์น่าดู เพราะความ
เป็นสัตว์ที่น่าดู ฉันใด คฤหัสถ์แม้บรรลุโสดาก่อนก็ฉันนั้น ย่อมเป็นผู้ที่น่าดู
ด้วยมรรคทัสสนะแม้ก็จริง ถึงอย่างนั้นแล คฤหัสถ์นั้น ทำตามภิกษุผู้บรรลุ
โสดาภายหลังก็ดี ผู้มีภาวะอันเที่ยงตรงน่าดู ด้วยมรรคทัสสนะก็ดี ด้วยเชาว์
ไม่ได้ ถามว่า ด้วยเชาว์ไหน ตอบว่า ด้วยเชาว์คือวิปัสสนาญาณในมรรค
เบื้องสูง เพราะญาณนั้นของคฤหัสถ์เป็นของช้า เพราะความเป็นญาณที่ยุ่ง
ด้วยความยุ่งมีบุตรภรรยาเป็นต้น ส่วนญาณของภิกษุเป็นของเร็ว เพราะความ
ยุ่งนั้นถูกสางแล้ว เนื้อความนี้นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วด้วยบทนี้
ว่า ผู้เป็นมุนี สงัดเงียบเพ่งอยู่ในป่า ก็ภิกษุผู้เสกขมุนีนี้ สงัดเงียบด้วย
กายวิเวกและจิตวิเวก และเพ่งอยู่ในป่าเป็นนิตย์ ด้วยลักขณารัมมณูปนิชฌาน
วิเวกและฌานเห็นปานนี้ของคฤหัสถ์จะมีแต่ที่ไหน ก็อธิบายในคาถานี้ มีเพียง
เท่านี้แล.
เอาบุญมาฝากจะถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ สักการะพระธาตุ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาทสร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ ให้อาหารสัตว์เป็นทานเป็นประจำ กรวดน้ำอุทิศบุญ อนุโมทนากับพ่อแม่ญาติพี่น้องที่รักษาศีล ฟังธรรม ให้ทาน อนุโมทนากับเพื่อนๆที่รักษาศีล ศึกษาการรักษาโรค ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ถวายสังฆทานมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ปิดทองพระ รักษาอาการป่วยของผู้อื่นกับผู้ร่วมงาน และที่ผ่านมาได้รักษาอาการป่วยของบิดามารดา ปล่อยชีวิตสัตว์มาโดยตลอด ถวายยาแก่ภิกษุ ขัดองค์พระ ที่ผ่านมาได้จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย ให้ความรู้สมุนไพรเพื่อสุขภาพเป็นวิทยาทาน ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ทำบุญหลายอย่างมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ถวายสังฆทานและทำบุญสร้างอาคารผู้ป่วยและกฐินกับเพื่อนๆและให้อาหารเป็นทานแก่สรรพสัตว์กับเพื่อนๆและเพื่อนคนหนึ่งและบริวารของเพื่อนและครอบครัวของเพื่อนได้มีจิตเมตตาให้ทานและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือผู้อื่นอยู่ตลอดและเพื่อนได้เคยสวดมนต์เย็นกับคุณแม่และที่ผ่านมาได้ทำบุญสักการะพระธาตุทำบุญปิดทองชำระหนี้สงฆ์และไหว้พระและทำบุญตามกล่องรับบริจาคตามวัดต่างๆกับเพื่อนและตั้งใจว่าจะสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอให้อนุโมทนาบุญด้วย
ขอเชิญถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน สักการะพระธาตุ ฟังธรรม สวดมนต์ ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาท
สร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย กรวดน้ำอุทิศบุญ ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สนทนาธรรม
ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น รักษาอาการป่วยของผู้อื่น รักษาอาการป่วยของบิดามารดา จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย
ปิดทอง สักการะพระธาตุ กราบอดีตสังขารเจ้าอาวาสที่ไม่เน่าเปื่อย ที่วัดแจ้ง อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ปิดทองพระ ปล่อยชีวิตสัตว์ถวายยาแก่ภิกษุ ไหว้พระตามวัดต่างๆ ขัดองค์พระ ให้ความรู้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพเป็นทาน
และสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอเชิญร่วมบุญกุศลร่วมกันนะ
Powered by phpBB © phpBB Group.
phpBB Mobile / SEO by Artodia.