สังโยชน์ 10 ประการ ได้แก่ •
1 สักกายทิฏฐิ มีความรู้สึกว่าร่างกายนี้เป็น เราเป็นของเรา เรามีในร่างกาย ร่างกายมีในเรา 2 วิจิกิจฉา สงสัยในคำสั่งสอน ... ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยสงฆ์ 3 สีลัพพตปรามาส ลูบคลำศีลไม่รักษาศีลจริงจัง 4 กามฉันทะ พอใจในกามคุณ 5 ปฏิฆะ มีอารมณ์กระทบใจ จิตมีความโกรธ 6 รูปราคะ หลงในรูปฌาน 7 อรูปราคะ หลงในอรูปฌาน 8 มานะ มีการถือตัวถือตน 9 อุทธัจจะ มีอารมณ์ฟุ้งซ่าน... 10 อวิชชา ไม่รู้ตามความจริงของเรื่องนิพพาน
ทุกท่านที่ปฏิบัติพระกรรมฐานด้วยความจริงใจ ตั้งใจจริง มีศีลบริสุทธิ์ ตั้งใจทรงสมาธิให้ตั้งมั่น ตั้งใจรักษาปัญญาให้แจ่มใส รู้เท่าทันความเป็นจริง แต่ว่ายังไม่ถึง พระโสดาปัตติมรรค ก็ควรภูมิใจว่า เข้าอยู่ในเขตของความดี คือ ความอยู่ในเขตของคนดี แต่ว่าเราจะดีมากจะดีน้อยนั่นประมาทไม่ได้ ถ้ารู้ตัวว่าดีเมื่อไรก็แสดงว่า เราเลวเมื่อนั้น
จงจำพระพุทธภาษิตที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า อัตตานา โจทยัตตานัง จงกล่าวโทษโจทย์ความผิดของตนไว้เสมอ คือ ให้ความรู้สึกว่าเรายังชั่วอยู่ เรามันชั่วตรงไหน ไปนั่งดูนิวรณ์ ๕ ว่า ถ้า นิวรณ์ ๕ ประการ ส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือในเวลาใดเวลาหนึ่ง มันเข้ามากวนใจเราได้ แสดงว่าเรายังมีช่องโหว่แห่งความชั่วในด้านฌานโลกีย์ ถ้า นิวรณ์ ๕ ไม่สามารถจะสิงใจเราได้ แสดงว่าเราดีขึ้นถึงระดับของผู้ทรงฌาน
คนเราไม่ได้เป็นผู้บริสุทธิ์มาตั้งแต่ท้องพ่อท้องแม่ ต้องมาพากเพียรฝึกฝน อบรม ข่มจิตใจ คนดีก็เคยชั่วมาก่อน พระอรหันต์ ทั้งหลายก็มาจากปุถุชนคนกิเลสหนา เพราะฉะนั้นมนุษย์คือผู้ที่ฝึกได้ เราลิขิตชีวิตตัวเองได้ด้วยการกระทำของเรา
การเจริญภาวนา หรือ กรรมฐาน หมายถึง การอบรมจิต ฝึกจิตชำระสิ่งเศร้าหมองทางจิต การเจริญ การทำศีล สมาธิ ปัญญาให้เกิดให้มีขึ้น แบ่งออกได้เป็น ๒ อย่าง คือ ๑. สมถกรรมฐาน หมายถึง ที่ตั้งแห่งการงานฝึกจิต อันเป็นอุบายทำจิตให้สงบตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์หนึ่งอารมณ์ใด อารมณ์ของสมถะเป็นอารมณ์ที่เป็นสมมุติบัญญัติ ไม่ใช่สภาวะธรรมที่แท้มีผลอย่างสูงแค่ฌาน ท่านแสดงอารมณ์ไว้ ๔๐ อย่าง คือ กสิณ ๑๐, อสุภะ ๑๐, อนุสติ ๑๐..., อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑, จตุธาตุวัฏฐาน ๑, อรูป ๔, พรหมวิหาร ๔, ผลของการเจริญสมถกรรมฐาน คือ ฌาน ตายแล้วไปบังเกิด ในรูปพรหม อรูปพรหม การเจริญสมถกรรมฐาน ถ้าหากเจริญถูกทางรู้จักพิจารณาให้เกิดปัญญาแล้วจะมีประโยชน์สามารถบรรลุมรรคผลนิพพานได้ ถ้าหากว่าผู้ใดมากล่าวว่าสมถะไม่มีประโยชน์ ไม่มีผลเสียเวลา ผู้นั้นกล่าว ตู่พระพุทธพจน์เพราะพระองค์ได้ทรงแสดงไว้ในมหาสติปัฏฐานสูตรในข้อ“กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน” จึงขอให้ท่านนำไปพิจารณาเพื่อประพฤติปฏิบัติดังที่พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมให้พิจารณาซากศพของนางสิริมา หญิงนครโสเภณีคนสวยแห่งนครราชคฤห์ ปรากฏว่าเมื่อฟังธรรมมีผู้บรรลุมรรคผล ณที่นั้นเป็นจำนวนมาก ๒. วิปัสสนากรรมฐาน หมายถึง เห็นแจ้งด้วยปัญญาจักษุ คือ ตาปัญญาเห็นรูปนามเกิดดับเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นความรู้ชัดทางใจอย่างแจ่มแจ้งรู้แล้วหมดสงสัย (วิจิกิจฉา) ไม่ใช่เห็นด้วยตาเนื้อหรือเห็นนิมิตสีแสง นรก สวรรค์ การเห็นอย่างนั้นเป็นผลของสมถกรรมฐาน เมื่อจิตมีสมาธิแล้วก็เห็นนิมิตต่างๆได้ มีทั้งของจริงของปลอม อย่าเชื่อ อย่าหลง จะทำให้การปฏิบัติไม่ก้าวหน้า ไม่เป็นไปเพื่อความพ้นทุกข์ ผลของการเจริญวิปัสสนา คือ เกิดปัญญาเห็นแจ้งในสภาวธรรมเห็นรูปนามเกิดดับเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เกิดความละคลายในตัวตน สัตว์บุคคลเราเขา เกิดความว่างเป็นสุญญตาสำเร็จเป็นพระอริยบุคคล ๔ ประเภทตั้งแต่พระโสดาบันบุคคล สกทาคามี อนาคามี และอรหันต์ ผู้ที่สำเร็จเป็นพระโสดาบัน จะไม่ไปเกิดในอบายภูมิอีกและจะเกิดอีกอย่างมากไม่เกิน ๗ ชาติ เข้าสู่กระแสพระนิพพาน สกทาคามีบุคคลจะเกิดอีกเพียงไม่เกิน ๑ ชาติ พระอนาคามีบุคคล คือผู้ไม่กลับมาเกิดอีกตายแล้วไปเกิดพรหมโลกและดับขันธปรินิพพานบนนั้น ส่วนพระอรหันต์ดับอนุสัยกิเลสเป็นสมุจเฉทประหาน เรียกว่า ดับขันธปรินิพพาน แนวทางปฏิบัติให้สำเร็จเข้าสู่กระแสพระนิพพาน คือ พระโสดาบันนั้นมีปัจจัยที่พระไตรปิฎกแสดงไว้ ๗ หัวข้อ ๓๗ ประการ เรียกว่า “โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ” ๑. สติปัฏฐาน ๔ ๒. สัมมัปปธาน ๔ ๓. อิทธิบาท ๔ ๔. อินทรีย์ ๕ ๕. พละ ๕ ๖. โพชฌงค์ ๗ ๗. มรรค ๘ สติปัฏฐาน ๔ คือ การเจริญสติให้เป็นไปอย่างใหญ่ในกุศลธรรม ๔ประการ ได้แก่ ๑. กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ การเจริญสติกำหนดพิจารณากายในกายระลึกรู้อิริยาบทกายส่วนย่อยในกายส่วนใหญ่ที่กระทบกาย เย็นร้อนอ่อนแข็ง ตึงไหวที่เป็นไปในการยืน เดิน นั่ง นอน เหยียดคู้ การพิจารณาลมหายใจเข้าออก พิจารณาความน่าเกลียดของร่างกาย การพิจารณาร่างกายโดยความเป็นธาตุ การพิจารณาร่างกายที่เป็นศพ ฯลฯ เป็นต้น ๒. เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ การเจริญสติกำหนดพิจารณาอย่างเวทนาในเวทนาระลึกรู้ความรู้สึกอารมณ์ส่วนย่อยในความรู้สึกอารมณ์ส่วนใหญ่ ในความรู้สึกอารมณ์ ๙ อย่าง ได้แก่ สุข ทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์ สุขประกอบด้วยอามิส – ไม่ประกอบด้วยอามิส ทุกข์ประกอบด้วยอามิส – ไม่ประกอบด้วยอามิส ไม่ทุกข์ไม่สุขประกอบด้วยอามิส – ไม่ประกอบด้วยอามิส ๓. จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ การเจริญสติกำหนดพิจารณาจิตในจิตหรือจิตส่วนย่อยในจิตส่วนใหญ่ คือจิตดวงใดดวงหนึ่งในจิตที่เกิดขึ้นดับไปมากดวง ๔. ธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ การเจริญสติกำหนดพิจารณาธรรมในธรรมหรือธรรมส่วนย่อยในธรรมส่วนใหญ่ การพิจารณาธรรมที่เรียกว่านิวรณ์ธรรม ๕ ประการ การพิจารณาขันธ์ ๕ อายตนะ ๖ โพชฌงค์ ๗ อริยสัจจ์ ๔ ฯลฯ เป็นต้น อนึ่ง การพิจารณากาย เวทนา จิต ธรรม ทั้ง ๔ ประการนี้ ยังมีรายการที่ต้องปฏิบัติตรงกันอีก ๖ ประการ คือ ๑. ที่อยู่ภายใน ๒. ที่อยู่ภายนอก๓.ที่อยู่ทั้งภายในภายนอก ๔. ที่มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ๕. ที่มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา ๖. ที่มีทั้งความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปเป็นธรรมดา
เอาบุญมาฝากจะถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ สักการะพระธาตุ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาทสร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ ให้อาหารสัตว์เป็นทานเป็นประจำ กรวดน้ำอุทิศบุญ อนุโมทนากับพ่อแม่ญาติพี่น้องที่รักษาศีล ฟังธรรม ให้ทาน อนุโมทนากับเพื่อนๆที่รักษาศีล ศึกษาการรักษาโรค ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ถวายสังฆทานมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ปิดทองพระ รักษาอาการป่วยของผู้อื่นกับผู้ร่วมงาน และที่ผ่านมาได้รักษาอาการป่วยของบิดามารดา ปล่อยชีวิตสัตว์มาโดยตลอด ถวายยาแก่ภิกษุ ขัดองค์พระ ที่ผ่านมาได้จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย ให้ความรู้สมุนไพรเพื่อสุขภาพเป็นวิทยาทาน ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ทำบุญหลายอย่างมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ถวายสังฆทานและทำบุญสร้างอาคารผู้ป่วยและกฐินกับเพื่อนๆและให้อาหารเป็นทานแก่สรรพสัตว์กับเพื่อนๆและเพื่อนคนหนึ่งและบริวารของเพื่อนและครอบครัวของเพื่อนได้มีจิตเมตตาให้ทานและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือผู้อื่นอยู่ตลอดและเพื่อนได้เคยสวดมนต์เย็นกับคุณแม่และที่ผ่านมาได้ทำบุญสักการะพระธาตุทำบุญปิดทองชำระหนี้สงฆ์และไหว้พระและทำบุญตามกล่องรับบริจาคตามวัดต่างๆกับเพื่อนและตั้งใจว่าจะสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอให้อนุโมทนาบุญด้วย
ขอเชิญถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน สักการะพระธาตุ ฟังธรรม สวดมนต์ ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาท สร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย กรวดน้ำอุทิศบุญ ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สนทนาธรรม ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น รักษาอาการป่วยของผู้อื่น รักษาอาการป่วยของบิดามารดา จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย ปิดทอง สักการะพระธาตุ กราบอดีตสังขารเจ้าอาวาสที่ไม่เน่าเปื่อย ที่วัดแจ้ง อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ปิดทองพระ ปล่อยชีวิตสัตว์ถวายยาแก่ภิกษุ ไหว้พระตามวัดต่างๆ ขัดองค์พระ ให้ความรู้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพเป็นทาน และสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอเชิญร่วมบุญกุศลร่วมกันนะ
|