นวรัตน์ดอทคอม

รวบรวมสาระความรู้เกี่ยวกับวัตถุมงคล-เครื่องรางของขลัง

  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
วันเวลาปัจจุบัน พฤหัสฯ. 16 ม.ค. 2025 3:32 pm

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


Switch to mobile style


โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 
เจ้าของ ข้อความ
 หัวข้อกระทู้: เรื่องราว
โพสต์โพสต์แล้ว: เสาร์ 04 พ.ค. 2013 2:56 pm 
ออฟไลน์

ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 07 มิ.ย. 2009 7:24 pm
โพสต์: 4804
ศีลเป็นกำลังหาที่เปรียบมิได้ เป็นอาวุธอย่างสูงสุด เป็นอาภรณ์อันประเสริฐ

เป็นเกราะอันน่าอัศจรรย์ ศีลเป็นสะพาน เป็นมหาอำนาจ เป็นกลิ่นหอม อย่างยอด-

เยี่ยม เป็นเครื่องลูบไล้อันประเสริฐ บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยศีล ย่อมหอมฟุ้งไปทั่วทุกทิศ

ศีลเป็นเสบียงอันเลิศ เป็นเสบียงเดินทางชั้นเยี่ยม เป็นพาหนะอันประเสริฐยิ่งนัก

เป็นเครื่องหอมฟุ้งไปทั่ว


สักกายทิฏฐิ คือ การเห็นว่า ขันธ์ 5 หรือ สภาพธรรมที่สมมติว่าเป็นเรา สำคัญ คือ

จะต้องเกิดความเห้นว่า มีเราจริงๆ ในขณะนั้นเป็นสักกายทิฏฐิ และ ไม่ใช่เพียงความ

เห็นเพียงเท่านี้ที่เป็นสักกายทิฏฐิ แม้แต่ การยึดถื รูปร่างกายคนอื่น และ สิ่งหนึ่งสิ่งใด

เป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน จริงๆ ก็ชื่อว่า เป็นสักกายทิฏฐิเช่นกัน เพียงแต่จะต้องเข้าใจ

คำจำกัดความว่าจะต้องมีความเห็นเกดขึ้นมา
ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ถ้าจะพึงมีผู้ถามว่า การพิจารณาเห็นธรรมเป็น

ธรรม ๒ อย่าง โดยชอบเนือง ๆ พึงมีโดยปริยายอย่างอื่นบ้างไหม พึงตอบเขาว่า

พึงมี ถ้าเขาถามว่า พึงมี อย่างไรเล่า พึงตอบเขาว่า การพิจารณาเห็นเนือง ๆ ว่า

ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งทั้งหมด ย่อมเกิดขึ้นเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นี้เป็นข้อที่ ๑

การพิจารณาเห็นเนือง ๆ ว่า เพราะวิญญาณนั่นเองดับ เพราะสำรอกโดยไม่เหลือ

ทุกข์จึงไม่เกิด นี้เป็นข้อที่ ๒ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นเนือง ๆ

ซึ่งธรรมเป็นธรรม ๒ อย่างโดยชอบอย่างนี้ เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจ

เด็ดเดี่ยวอยู่ พึงหวังผล ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อรหัตผลในปัจจุบันนี้

หรือเมื่อยังมีความถือมั่นเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตนี้ จบลงแล้ว จึงได้

ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า

ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งทั้งหมด ย่อมเกิดขึ้นเพราะวิญญาณ

เป็นปัจจัย เพราะวิญญาณดับโดยไม่เหลือ ทุกข์จึงไม่เกิด

ภิกษุรู้โทษนี้ว่า ทุกข์ย่อมเกิดขึ้น เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยดังนี้แล้ว

ย่อมเป็นผู้หายหิว ดับรอบแล้ว เพราะความเข้าไปสงบแห่งวิญญาณ.

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ พึงตอบเขาว่า การพิจารณาเห็นเนือง ๆ

ว่า ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งทั้งหมด ย่อมเกิด เพราะผัสสะเป็นปัจจัยนี้เป็นข้อที่ ๑

การพิจารณาเห็นเนือง ๆ ว่า เพราะผัสสะนั่นเองดับเพราะสำรอกโดยไม่เหลือ ทุกข์

จึงไม่เกิด นี้เป็นข้อที่ ๒ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นเนือง ๆ ซึ่งธรรมเป็น

ธรรม ๒ อย่าง โดยชอบอย่างนี้ ฯลฯ จึงตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า

ความสิ้นไปแห่งสังโยชน์ ของชนทั้งหลายผู้อันผัสสะครอบงำแล้ว

ผู้แล่นไปตามกระแสแห่งภวตัณหา ผู้ดำเนินไปแล้วสู่หนทางผิด ย่อมอยู่

ห่างไกล ส่วนชนเหล่าใดกำหนดรู้ผัสสะด้วยปัญญา ยินดีแล้วในธรรมเป็น

ที่เข้าไปสงบ ชนแม้เหล่านั้น เป็นผู้หายหิว ดับรอบแล้ว เพราะการดับไป

แห่งผัสสะ.

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ พึงตอบเขาว่า การพิจารณาเห็นเนือง ๆ

ว่า ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งทั้งหมด ย่อมเกิดขึ้นเพราะเวทนาเป็นปัจจัยนี้เป็นข้อที่ ๑

การพิจารณาเห็นเนือง ๆ ว่า เพราะเวทนานั่นเองดับเพราะสำรอกโดยไม่เหลือ ทุกข์

จึงไม่เกิด นี้เป็นข้อที่ ๒ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นเนือง ๆ ซึ่งธรรมเป็น

ธรรม ๒ อย่าง โดยชอบอย่างนี้ ฯลฯ จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปว่า

ภิกษุรู้เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ สุขเวทนา หรือ ทุกขเวทนา

กับ อทุกขมสุขเวทนา ที่มีอยู่ทั้งภายในและภายนอก ว่าเวทนานี้ เป็นเหตุ

แห่งทุกข์ มีความสูญสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความทรุดโทรมไปเป็นธรรมดา

ถูกต้องด้วยอุทยัพพยญาณแล้ว เห็นความเสื่อมไปอยู่ ย่อมรู้แจ่มแจ้งความ

เป็นทุกข์ในเวทนานั้นอย่างนี้ เพราะเวทนาทั้งหลายสิ้นไปนั้นเอง ทุกข์จึงไม่

เกิด.
ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ พึงตอบเขาว่า การพิจารณาเห็นเนือง ๆ ว่า

ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งทั้งหมด ย่อมเกิดขึ้นเพราะตัณหาเป็นปัจจัยนี้เป็นข้อที่ ๑ การ

พิจารณาเห็นเนือง ๆ ว่า เพราะตัณหานั่นเอง ดับเพราะสำรอกโดยไม่เหลือ ทุกข์จึง

ไม่เกิด นี้เป็นข้อที่ ๒ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นเนือง ๆ ซึ่งธรรมเป็น

ธรรม ๒ อย่าง โดยชอบอย่างนี้ ฯลฯ จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า

บุรุษผู้มีตัณหาเป็นเพื่อนสอง ท่องเที่ยวไปสิ้นกาลนาน ย่อมไม่ล่วง

พ้นสังสาระ อันมีความเป็นอย่างนี้ และความเป็นอย่างอื่นไปได้ ภิกษุรู้โทษนี้

ว่า ตัณหาเป็นเหตุเกิดแห่งทุกข์ เป็นผู้มีตัณหาปราศจากไปแล้วไม่ถือมั่น

มีสติ พึงเว้นรอบ.



ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ พึงตอบเขาว่า การพิจารณาเห็นเนือง ๆ

ว่า ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งทั้งหมด ย่อมเกิดขึ้นเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย นี้เป็นข้อ

ที่ ๑ การพิจารณาเห็นเนือง ๆ ว่า เพราะอุปาทานนั่นเองดับเพราะสำรอกโดยไม่

เหลือ ทุกข์จึงไม่เกิด นี้เป็นข้อที่ ๒ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นเนือง ๆ

ซึ่งธรรมเป็นธรรม ๒ อย่างโดยชอบอย่างนี้ ฯลฯ จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไป

อีกว่า

ภพย่อมมี เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย สัตว์ผู้เกิดแล้วย่อมเข้าถึงทุกข์

ต้องตาย นี้ เป็นเหตุเกิดแห่งทุกข์ เพราะเหตุนั้น บัณฑิตทั้งหลายรู้แล้ว

โดยชอบ รู้ยิ่งความสิ้นไปแห่งชาติแล้ว ย่อมไม่ไปสู่ภพใหม่ เพราะความ

สิ้นไปแห่งอุปาทาน.

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ พึงตอบเขาว่า การพิจารณาเห็นเนือง ๆ

ว่าทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งทั้งหมด ย่อมเกิดขึ้นเพราะความริเริ่มเป็นปัจจัย นี้เป็น

ข้อที่ ๑ การพิจารณาเห็นเนือง ๆ ว่า เพราะการริเริ่มนั่นเองดับ เพราะสำรอกโดย

ไม่เหลือ ทุกข์จึงไม่เกิด นี้เป็นข้อที่ ๒ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณา

เห็นเนือง ๆ ซึ่งธรรมเป็นธรรม ๒ อย่างโดยชอบอย่างนี้ ฯลฯ จึงได้ตรัสคาถา

ประพันธ์ต่อไปอีกว่า

ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งทั้งหมด ย่อมเกิดขึ้นเพราะความริเริ่มเป็น

ปัจจัย เพราะความริเริ่มดับโดยไม่เหลือ ทุกข์จึงไม่เกิด

ภิกษุรู้โทษนี้ว่า ทุกข์ย่อมเกิดขึ้น เพราะความริเริ่มเป็นปัจจัยดังนี้

แล้ว สละคืนความริเริ่มได้ทั้งหมดแล้ว น้อมไปในนิพพานที่ไม่มีความริเริ่ม

ถอนภวตัณหาขึ้น ได้แล้ว มีจิตสงบ มีชาติสงสารสิ้นแล้วย่อมไม่มีภพใหม่.

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ พึงตอบเขาว่า การพิจารณาเห็นเนือง ๆ

ว่า ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งทั้งหมด ย่อมเกิดขึ้นเพราะอาหารเป็นปัจจัยนี้เป็นข้อที่ ๑

การพิจารณาเห็นเนือง ๆ ว่า เพราะอาหารทั้งหมดนั่นเองดับเพราะสำรอกโดยไม่เหลือ

ทุกข์จึงไม่เกิด นี้เป็นข้อที่ ๒ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นเนือง ๆ ซึ่งธรรม

เป็นธรรม ๒ อย่างโดยชอบอย่างนี้ ฯลฯ จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า

ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งทั้งหมด ย่อมเกิดขึ้นเพราะอาหารเป็นปัจจัย

เพราะอาหารทั้งหลายดับ โดยไม่เหลือ ทุกข์จึงไม่เกิด

ภิกษุผู้ตั้งอยู่ในธรรม ผู้ถึงเวท รู้โทษนี้ว่า ทุกข์ย่อมเกิดขึ้นเพราะ

อาหารเป็นปัจจัย ดังนี้แล้ว กำหนดรู้อาหารทั้งปวง เป็นผู้อันตัณหาไม่อาศัย

ในอาหารทั้งหมด รู้โดยชอบซึ่งนิพพานอันไม่มีโรค พิจารณาแล้วเสพ

ปัจจัย ๔ ย่อมไม่เข้าถึงการนับว่า เป็นเทวดาหรือมนุษย์ เพราะอาสวะ

ทั้งหลายหมดสิ้นไป.

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ พึงตอบเขาว่า การพิจารณาเห็นเนือง ๆ

ว่า ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งทั้งหมด ย่อมเกิดขึ้นเพราะความหวั่นไหวเป็นปัจจัย

นี้เป็นข้อที่ ๑ การพิจารณาเห็นเนือง ๆ ว่า เพราะความหวั่นไหวทั้งหลายนั่นเอง

ดับไป เพราะสำรอกโดยไม่เหลือ ทุกข์จึงไม่เกิด นี้เป็นข้อที่ ๒ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุผู้พิจารณาเห็นเนือง ๆ ซึ่งธรรมเป็นธรรม ๒ อย่างโดยชอบอย่างนี้ ฯลฯ จึงได้

ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า

ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งทั้งหมด ย่อมเกิดขึ้นเพราะความหวั่นไหวเป็น

ปัจจัย เพราะความหวั่นไหวดับ ไม่มีเหลือ ทุกข์จึงไม่เกิด

ภิกษุ รู้โทษนี้ว่า ทุกข์ย่อมเกิดขึ้นเพราะความหวั่นไหว เป็นปัจจัย

ดังนี้ เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุสละตัณหาแล้ว ดับสังขารทั้งหลายได้แล้ว

เป็นผู้ไม่มีความหวั่นไหว ไม่ถือมั่น แต่นั้น พึงเว้นรอบ.

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ พึงตอบเขาว่า การพิจารณาเห็นเนือง ๆ

ว่า ความดิ้นรน ย่อมมีแก่ผู้อันตัณหา ทิฏฐิ และมานะอาศัยแล้ว นี้ เป็นข้อที่ ๑

การพิจารณาเห็นเนือง ๆ ว่า ผู้ที่ตัณหา ทิฏฐิ และมานะไม่อาศัยแล้ว ย่อมไม่ดิ้นรน

นี้เป็นข้อที่ ๒ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นเนือง ๆ ซึ่งธรรมเป็นธรรม ๒

อย่าง โดยชอบอย่างนี้ ฯลฯ จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า

ผู้อันตัณหา ทิฏฐิ และมานะไม่อาศัยแล้ว ย่อมไม่ดิ้นรน ส่วนผู้อัน

ตัณหา ทิฏฐิ และมานะอาศัยแล้ว ถือมั่นอยู่ ย่อมไม่ล่วงพ้น สังสาระอัน

มีความเป็นอย่างนี้ และ ความเป็นอย่างอื่นไปได้ ภิกษุรู้โทษนี้ว่าเป็นภัยใหญ่

ในเพราะนิสสัย คือ ตัณหา ทิฏฐิ และมานะทั้งหลายแล้วเป็นผู้อันตัณหาทิฏฐิ

และมานะไม่อาศัยแล้ว ไม่ถือมั่น มีสติ พึงเว้นรอบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖- หน้าที่ ๖๘๔

พึงทราบวินิจฉัยในวาระที่ ๕ ต่อไป. บทว่า วิญฺญาณปจฺจยา

เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย คือเพราะวิญญาณปรุงแต่งให้เกิดร่วมกับกรรมเป็น

ปัจจัย บทว่า นิจฺฉาโต เป็นผู้หายหิว คือหมดอยาก. บทว่า ปรินิพฺพุโต

ดับรอบแล้ว คือเป็นผู้ดับรอบด้วยการดับกิเลส. บทที่เหลือมีความปรากฏ

ชัดแล้ว.

พึงทราบวินิจฉัยในวาระที่ ๖ ต่อไป. บทว่า ผสฺสปจฺจยา เพราะ

ผัสสะเป็นปัจจัย อธิบายว่า เพราะผัสสะสัมปยุตด้วยอภิสังขารและวิญญาณเป็น

ปัจจัย ในที่นี้ท่านกล่าวถึงผัสสะมิได้กล่าวถึงนามรูป สฬายตนะนั้นควรจะกล่าว

ตามลำดับ เพราะนามรูปและสฬายตนะเหล่านั้น มิได้สัมปยุตด้วยกรรมเท่านั้น

เพราะปนกับรูป อนึ่งวัฏทุกข์นี้พึงเกิดจากกรรม หรือจากธรรมอันสัมปยุตด้วย

กรรม. บทว่า ภวโสตานุสารินํ ผู้แล่นไปตามกระแสแห่งภวตัณหา คือแล่น

ไปตามตัณหา. บทว่า ปริญฺญาย กำหนดรู้ คือกำหนดรู้ด้วยปริญญา ๓. บทว่า

ปญฺญาย คือรู้ด้วยอรหัตมรรคปัญญา. บทว่า อุปสเม รตา ยินดีแล้วใน

ธรรมเป็นที่เข้าไปสงบ คือยินดีแล้วในนิพพานด้วยผลสมาบัติ. บทว่า ผสฺสา-

ภิสมยา คือเพราะการดับไปแห่งผัสสะ. บทที่เหลือมีความปรากฏชัดแล้ว.

พึงทราบวินิจฉัยในวาระที่ ๗ ต่อไป. บทว่า เวทนาปจฺจยา

เพราะเวทนาเป็นปัจจัย คือเพราะเวทนาสัมปยุตด้วยกรรมเป็นปัจจัย. บทว่า

อทุกฺขมสุขํ สห คือพร้อมด้วยอทุกขมสุขเวทนา. บทว่า เอตํ ทุกฺขนฺติ

ญตฺวาน รู้ว่านี้ทุกข์ คือรู้ว่าการเสวยอารมณ์ทั้งปวงนั้นเป็นเหตุแห่งทุกข์ หรือ

รู้ว่าทุกข์ เพราะความปรวนแปรไปไม่คงที่ และความเป็นทุกข์เพราะไม่รู้.

บทว่า โมสธมฺมํ มีความสูญสิ้นไปเป็นธรรมดา คือมีความสูญหายไปเป็น

ธรรมดา. บทว่า ปโลกินํ มีความทรุดโทรมไปเป็นธรรมดา คือมีความ

ทรุดโทรมไปด้วยชราและมรณะเป็นธรรมดา. บทว่า ผุสฺส ผุสฺส ถูกต้อง

ถูกต้อง คือถูกต้อง ถูกต้องแล้วด้วยอุทยัพพยญาณ (ปัญญากำหนดรู้ความเกิด

และความเสื่อม). บทว่า วยํ ปสฺสํ เห็นความเสื่อม คือเห็นความแตกทำลาย

ในที่สุดนั่นเอง. บทว่า เอวํ ตตฺถ วิชานติ ย่อมรู้แจ่มแจ้งความเป็นทุกข์

ในเวทนานั้นอย่างนี้ คือรู้แจ่มแจ้งเวทนานั้นอย่างนี้ หรือรู้แจ่มแจ้งความเป็น

ทุกข์ในเวทนานั้น. บทว่า เวทนานํ ขยา เพราะเวทหาทั้งหลายสิ้นไปคือ

เบื้องหน้าแต่นั้น เพราะเวทนาสัมปยุตด้วยกรรมสิ้นไปด้วยมรรคญาณ. บทที่

เหลือมีความง่ายทั้งนั้น.

พึงทราบวินิจฉัยในวาระที่ ๘ ต่อไป. บทว่า ตณฺหาปจฺจยา เพราะ

ตัณหาเป็นปัจจัย คือเพราะตัณหาสะสมกรรมเป็นปัจจัย. บทว่า เอตมาทีนวํ

ญตฺวา ตณฺหา ทุกฺขสฺส สมฺภวํ ภิกษุรู้โทษนี้ว่าตัณหาเป็นเหตุเกิดแห่ง

ทุกข์ คือรู้โทษของตัณหานั้นว่าเป็นเหตุเกิดแห่งทุกข์. บทที่เหลือมีความง่าย

ทั้งนั้น.

พึงทราบวินิจฉัยวาระที่ ๙ ต่อไป. บทว่า อุปาทานปฺปจฺจยา

เพราะอุปทานเป็นปัจจัย คือเพราะอุปทานสะสมกรรมเป็นปัจจัย. บทว่า ภโว

ภพได้แก่มีภพเป็นวิบาก คือความปรากฏแห่งขันธ์. บทว่า ภูโต ทุกฺขํ สัตว์

ผู้เกิดแล้วย่อมเข้าถึงทุกข์ คือ สัตว์ผู้เกิดแล้วและเป็นแล้วย่อมเข้าถึงวัฏทุกข์.

บท่า ชาตสฺส มรณํ เกิดแล้วต้องตาย ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อ

จะทรงแสดงถึงทุกข์เท่านั้นในเมื่อคนพาลทั้งหลายสำคัญว่า เกิดแล้วย่อมเข้าถึง

สุข จึงตรัสว่า ชาตสฺส มรณํ โหติ เกิดแล้วต้องตายดังนี้. ในคาถาที่ ๒

โยชนาแก้ว่า บัณฑิตทั้งหลายรู้แล้วโดยชอบ โดยความไม่เที่ยงเป็นต้น รู้ยิ่ง

นิพพานว่าเป็นความสิ้นชาติ เพราะสิ้นอุปาทานแล้วย่อมไม่ไปสู่ภพใหม่.

พึงทราบวินิจฉัยในวาระที่ ๑๐. ต่อไป. บทว่า อารมฺภปฺปจฺจยา

เพราะความริเริ่มเป็นปัจจัย คือเพราะความเพียรสัมปยุตด้วยกรรมเป็นปัจจัย.

บทว่า อนารมฺเภ วิมุตฺติโน ได้แก่น้อมไปในนิพพานที่ไม่มีความริเริ่ม.

บทที่เหลือมีความง่ายทั้งนั้น.

พึงทราบวินิจฉัยในวาระที่ ๑๑ ต่อไป. บทว่า อาหารปฺปจฺจยา

เพราะอาหารเป็นปัจจัย คือเพราะอาหารสัมปยุตด้วยกรรมเป็นปัจจัย. อาจารย์

อีกพวกหนึ่ง กล่าวว่า สัตว์สี่ประเภท คือ รูปูปคา (เข้าถึงรูป) ๑ เวทนูปคา

(เข้าถึงเวทนา) ๑ สัญญูปคา (เข้าถึงสัญญา) ๑ สงฺขารูปคา (เข้าถึงสังขาร) ๑.

ในสัตว์สี่ประเภทนั้นสัตว์ผู้ข้องอยู่ด้วยกามธาตุ ๑๑ อย่าง ชื่อว่า รูปู-

ปคา เพราะเสพกวฬีการาหาร. สัตว์ผู้ข้องอยู่ด้วยรูปธาตุ เว้นอสัญญีสัตว์ชื่อว่า

เวทนูปคา เพราะเสพผัสสาหาร. สัตว์ผู้ข้องอยู่ด้วยอรูปธาตุ ๓ อย่าง เบื้อง

ต่ำชื่อว่า สัญญูปคา เพราะเสพมโนสัญเจตนาหารอันเกิดแต่สัญญา สัตว์ใน

ยอดภูมิ (เนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ) ชื่อว่า สังขารูปคา เพราะเสพวิญญา-

หารอันเกิดแต่สังขาร. พึงทราบว่า ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งทั้งหมดเกิดขึ้นเพราะ

อาหารเป็นปัจจัย. บทว่า อาโรคฺยํ ความไม่มีโรค คือนิพพาน. บทว่า

สงฺขาย เสวิ พิจารณาแล้วเสพ ความว่า พิจารณาปัจจัยแล้วเสพปัจจัย ๔

หรือพิจารณาโลกอย่างนี้ว่าขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ ดังนี้แล้วเสพด้วย

ญาณว่า อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ดังนี้.

บทว่า ธมฺมฏฺโฐ ผู้ตั้งอยู่ในธรรมคือตั้งอยู่ในสัจธรรม ๔. บทว่า สงฺขฺยํ

โนเปติ ย่อมไม่เข้าถึงการนับ คือไม่เข้าถึงการนับว่า เป็นเทวดาหรือเป็น

มนุษย์เป็นต้น. บทที่เหลือมีความง่ายทั้งนั้น.

พึงทราบวินิจฉัยในวาระที่ ๑๒ ต่อไป. บทว่า อิญฺชิตปฺปจฺจยา

เพราะความหวั่นไหวเป็นปัจจัย คือ เพราะในบรรดาความหวั่นไหว คือตัณหา

มานะ ทิฏฐิ กรรมและกิเลส ความหวั่นไหวอย่างใดอย่างหนึ่งสะสมกรรมเป็น

ปัจจัย. บทว่า เอชํ โวสฺสชฺช สละแล้ว คือสละตัณหา. บทว่า สงฺขาเร

อุปรุนฺธิย ดับสังขารทั้งหลายได้แล้ว คือดับกรรมและสังขารสัมปยุตด้วยกรรม.

บทที่เหลือมีความง่ายทั้งนั้น.

พึงทราบวินิจฉัยในวาระที่ ๑๓ ต่อไป. บทว่า นิสฺสิตสฺส จลิตํ

ความดิ้นรนย่อมมีแก่ผู้อันตัณหามานะและทิฏฐิอาศัยแล้ว คือความดิ้นรนเพราะ

ความกลัวย่อมมีแก่ผู้อันตัณหามานะและทิฏฐิอาศัยแล้วในขันธ์ ดุจความดิ้นรน

เพราะควานกลัวย่อมมีแก่เทวดาทั้งหลายในสีหสูตร. บทที่เหลือมีความง่าย

ทั้งนั้น



เอาบุญมาฝากจะถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ สักการะพระธาตุ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาทสร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ ให้อาหารสัตว์เป็นทานเป็นประจำ กรวดน้ำอุทิศบุญ อนุโมทนากับพ่อแม่ญาติพี่น้องที่รักษาศีล ฟังธรรม ให้ทาน อนุโมทนากับเพื่อนๆที่รักษาศีล ศึกษาการรักษาโรค ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ถวายสังฆทานมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ปิดทองพระ รักษาอาการป่วยของผู้อื่นกับผู้ร่วมงาน และที่ผ่านมาได้รักษาอาการป่วยของบิดามารดา ปล่อยชีวิตสัตว์มาโดยตลอด ถวายยาแก่ภิกษุ ขัดองค์พระ ที่ผ่านมาได้จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย ให้ความรู้สมุนไพรเพื่อสุขภาพเป็นวิทยาทาน ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ทำบุญหลายอย่างมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ถวายสังฆทานและทำบุญสร้างอาคารผู้ป่วยและกฐินกับเพื่อนๆและให้อาหารเป็นทานแก่สรรพสัตว์กับเพื่อนๆและเพื่อนคนหนึ่งและบริวารของเพื่อนและครอบครัวของเพื่อนได้มีจิตเมตตาให้ทานและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือผู้อื่นอยู่ตลอดและเพื่อนได้เคยสวดมนต์เย็นกับคุณแม่และที่ผ่านมาได้ทำบุญสักการะพระธาตุทำบุญปิดทองชำระหนี้สงฆ์และไหว้พระและทำบุญตามกล่องรับบริจาคตามวัดต่างๆกับเพื่อนและตั้งใจว่าจะสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอให้อนุโมทนาบุญด้วย


ขอเชิญถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน สักการะพระธาตุ ฟังธรรม สวดมนต์ ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาท
สร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย กรวดน้ำอุทิศบุญ ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สนทนาธรรม
ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น รักษาอาการป่วยของผู้อื่น รักษาอาการป่วยของบิดามารดา จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย
ปิดทอง สักการะพระธาตุ กราบอดีตสังขารเจ้าอาวาสที่ไม่เน่าเปื่อย ที่วัดแจ้ง อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ปิดทองพระ ปล่อยชีวิตสัตว์ถวายยาแก่ภิกษุ ไหว้พระตามวัดต่างๆ ขัดองค์พระ ให้ความรู้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพเป็นทาน
และสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอเชิญร่วมบุญกุศลร่วมกันนะ


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
แสดงโพสจาก:  เรียงตาม  
โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Bing [Bot], Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 37 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ไปที่:  
cron
ขับเคลื่อนโดย phpBB® Forum Software © phpBB Group
Thai language by phpBBThailand.com
phpBB SEO