พระพุทธพจน์ - พุทธภาษิต พระธรรมเทศนา และ ธรรมะจากครูบาอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
ศุกร์ 26 ก.ค. 2013 5:49 pm
พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในติตถายตนสูตรว่า
ปุพฺเพกตํ โข ปน ภิกฺขเว สารโต ปจฺจาคจฺฉตํ,
น โหติ ฉนฺโท วา วายาโม วา อิทํ วา กรณียํ อิทํ วา อกรณียนฺติ,
อิติ ... มุฏฺฐสฺสตีนํ อนารกฺขานํ วิหรตํ น โหติ ปจฺจตฺตํ สหธมฺมิโก สมณวาโท
เมื่อบุคคลยึดถือกรรมที่ทำไว้ในปางก่อน โดยความเป็นแก่นสาร,
ฉันทะ หรือความพยายามว่า “สิ่งนี้ควรทำ หรือสิ่งนี้ไม่ควรทำ” ก็ย่อมไม่มี,
เมื่อเป็นเช่นนั้น...สมณวาทะที่สมควร ที่เป็นของเฉพาะตัว ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้มีสติหลงลืม ผู้ไม่รักษาคุ้มครองทวาร
ถ้าเราไปเห็นผิดว่า สุขทุกข์ทั้งหมดเป็นเรื่องของกรรมเก่าก็ดี ผู้มีอำนาจบันดาลก็ดี หรือเป็นไปตามยถากรรมก็ดี เราโทษสิ่งภายนอก ไม่ได้มองมาที่ภายในตนเอง เมื่อโทษสิ่งเหล่านั้นแล้ว ฉันทะคือความพอใจหรือความเพียรพยายามว่าสิ่งนี้ควรทำหรือสิ่งนี้ไม่ควรทำก็ย่อมไม่เกิดขึ้น มีแต่ปล่อยปละละเลยไม่ได้มีการปรับปรุงแก้ไขอะไรให้ดีขึ้น ไม่ได้ฝึกฝนศึกษาหาความรู้เพื่อป้องกันความผิดพลาดที่อาจจะเกิดอีก มีแต่ความหลงลืม
แต่ถ้าเรารู้เรื่องกรรมโดยถูกต้อง เวลาเราหลงไปทำไม่ดี พลาดพลั้งไป เราจะเกิดความรู้สึกบางอย่างว่า อันนี้ไม่ควรทำ ต้องเอาสิ่งนี้เป็นเครื่องเตือนใจ ไม่ประมาท ฝึกฝนตนเองให้มีสติมากขึ้น ระวังมากขึ้น คราวต่อไปจะได้ไม่เกิดความผิดพลาดอีก เมื่อมีสติ รู้สึกตัวได้บ่อยๆ อย่างนี้ หิริโอตตัปปะก็เกิดขึ้น การงดเว้นสิ่งที่ไม่ดีก็จะเกิดขึ้น ศีลก็จะมีเกิดขึ้น สมาธิและปัญญาก็จะค่อยๆ ตามมา
นี้เป็นการเข้าใจเรื่องกรรมที่ถูกต้อง ทำให้เราเห็นว่า สิ่งไหนควรทำ สิ่งไหนไม่ควรทำ เราฝึกฝนจิตใจตนเองเป็นสำคัญ ถ้าไปถือเรื่องอื่นเป็นสำคัญ ก็เข้าใจเรื่องของกรรมไม่ถูกต้อง ไม่เกิดการพัฒนาตนเอง การปฏิบัติก็ไม่มี ความเป็นผู้สงบก็ไม่มี กลายเป็นผู้มีแต่ความหลงลืม มัวเมา ประมาท ไม่รักษาคุ้มครองอินทรีย์เมื่อมีการรับรู้อารมณ์ต่างๆ ไม่มีสติ ไม่รู้ทันความยินดียินร้ายเมื่อรับรู้อารมณ์
พระพุทธเจ้าแสดงพระธรรมหมวดต่างๆ นั้น ทรงแสดงจากการรู้จริง มองเห็นความจริงทั้งหมดแล้วหยิบมาแสดง อุปมาเหมือนกับคนอยู่บนยอดภูเขาแล้วก็มองลงมา เห็นทุกอย่างชัดเจนแจ่มแจ้งแล้ว รู้ว่าการที่จะขึ้นไปถึงบนภูเขานั้นทำอย่างไร มีจุดพักเหนื่อยอยู่กี่ที่ มีรายละเอียดในแต่ละทางอย่างไรบ้าง จึงนำทางนั้นมาบอกโดยละเอียด ฉะนั้น คำสอนจึงครอบคลุมและเข้าใจง่าย แสดงโดยมุมมองของคนที่อยู่ข้างบนมองลงมาข้างล่าง
แต่เราโดยส่วนใหญ่ที่อธิบายธรรมะกันนั้น อธิบายจากข้างล่างขึ้นไปหาข้างบน คำอธิบายของเราทั้งหลายจึงได้แต่รายละเอียด เนื้อหามากมายและเต็มไปด้วยความสับสน คือ เราเป็นแบบ ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ พระพุทธเจ้าไม่ได้เรียนปริยัติ ไปปฏิบัติ แล้วเกิดปฏิเวธ พระองค์ปฏิเวธก่อน รู้แจ้งทุกอย่างแล้วจึงนำมาสอน คำสอนของพระองค์จึงครอบคลุม เข้าใจง่าย ขอให้เราค่อยๆ ศึกษาไปก็จะเข้าใจได้
ถ้าเราศึกษาคำสอนของพระองค์ก่อนแล้วค่อยไปฟังคนอื่นจะเข้าใจง่าย แต่ถ้าเราฟังคนอื่นก่อนแล้วมาฟังพระพุทธเจ้า เราจะงง เพราะเราเรียนแต่ของคนอื่นมา อย่างเรื่องของกรรมก็เช่นเดียวกัน เวลาที่เราไปเรียนตามที่ต่างๆ เขาจะสอนแง่ใดแง่หนึ่ง เราก็จำแต่แง่นั้นมา เข้าใจเหมือนกัน แต่เข้าใจแง่เดียว บางทีก็มีแต่รายละเอียดปลีกย่อยเยอะแยะเหลือเกิน มองไม่เห็นภาพรวม
การสอนธรรมะของพระพุทธเจ้ากับที่เราเรียนรู้นี้ไม่เหมือนกันนะ พระพุทธเจ้าปฏิเวธคือตรัสรู้ก่อนแล้ว นำความจริงมาสอน เราทั้งหลายนี้เป็นสาวก เราเรียนปริยัติแล้วนำไปปฏิบัติให้เข้าถึงธรรมะที่ท่านแสดงไว้ แล้วจึงปฏิเวธคือบรรลุธรรม รู้แจ้งเห็นจริงดังที่ทรงแสดงเอาไว้ ตอนที่เรายังไม่รู้แจ้งเห็นจริง เราเชื่อพระองค์ไว้ก่อน ค่อยๆ ประพฤติปฏิบัติไปก็จะเข้าใจธรรมะได้
ผมได้พูดถึงเรื่องกรรมเป็นแนวคิดแบบกว้างๆ ไปแล้ว ต่อไปจะพูดสิ่งที่ควรทราบเกี่ยวกับกรรม
ในอังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต นิพเพธิกสูตร พระพุทธเจ้าตรัสสิ่งที่ควรทราบเกี่ยวกับกรรมไว้ ๖ อย่างด้วยกัน ในพระสูตรอื่นๆ พระองค์ก็แสดงเรื่องของกรรมไว้หลากหลาย แต่โดยเนื้อหานั้นก็คล้ายๆ กันนั่นเอง พระองค์ตรัสว่า
กมฺมํ ภิกฺขเว เวทิตพฺพํ, กมฺมานํ นิทานสมฺภโว เวทิตพฺโพ,
กมฺมานํ เวมตฺตตา เวทิตพฺพา, กมฺมานํ วิปาโก เวทิตพฺโพ,
กมฺมนิโรโธ เวทิตพฺโพ, กมฺมนิโรธคามินี ปฏิปทา เวทิตพฺพา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงทราบ
(๑) กรรม
(๒) เหตุเกิดแห่งกรรม
(๓) ความต่างกันแห่งกรรม
(๔) วิบากแห่งกรรม
(๕) ความอิสระจากกรรม
(๖) ข้อปฏิบัติให้ถึงความอิสระจากกรรม
ในพระสูตรนี้ ทรงแสดงสิ่งควรทราบเกี่ยวกับเรื่องกรรมไว้ ๖ อย่าง ครอบคลุมเพียงพอที่จะทำให้เราเข้าใจเรื่องกรรมได้เป็นอย่างดี ข้อ ๕ กับ ข้อ ๖ ความอิสระ แปลมาจากคำว่า นิโรธ นิโรธ ในภาษาไทยเรานิยมแปลว่าความดับ ความจริงไม่ใช่แปลว่าความดับ นิ แปลว่า ไม่มี โรธ แปลว่าเครื่องคุมขังจิต หรือ สังสารวัฏที่วนเวียนไปไม่สิ้นสุด การไม่มีเครื่องคุมขังจิต ไม่มีการวนเวียน ไม่มีการเกิดขึ้น การหมดเหตุที่จะทำให้เกิด เรียกว่านิโรธ จะแปลว่า ความพ้นไป ความไม่มี อย่างนี้ก็ได้ การถึงนิโรธก็คือความอิสระจากทุกข์ กายกับใจ ขันธ์ ๕ ทำงานไป แต่อยู่เหนือมัน อิสระจากมัน จิตปล่อยวางไป ไม่ข้องเกี่ยวกันอีก นี้เรียกว่า ถึงนิโรธ
นิโรธนั้นท่านมีใช้มาก ในปฏิจจสมุปบาทฝ่ายนิโรธวาระ ฝ่ายที่ไม่มีทุกข์ ฝ่ายพ้นทุกข์ เช่น เวทนานิโรธ หมายถึง อิสระจากเวทนา อยู่เหนือเวทนา เวทนาไม่มีอิทธิพลต่อใจอีก ไม่ใช่ไปดับเวทนา บางท่านพอได้ยินเรื่องดับเวทนา จะได้ดับตัณหา ก็ตั้งท่าจะดับเวทนาอย่างโน้นอย่างนี้ไป บางท่านนั่งไปนานๆ ปวดหลังก็กำหนดเพื่อจะดับเวทนา พอทุกขเวทนาหายไป กลายเป็นเฉยๆ ก็นึกว่าดับได้ ความจริง เฉยๆ ก็เป็นเวทนาชนิดหนึ่งเหมือนกัน เราไม่ได้ฝึกหัดดับเวทนา เรารู้เวทนา เราศึกษาเพื่อให้ไม่เข้าใจผิด ไม่หลงยึดมั่นถือมั่นในเวทนา อยู่เหนือเวทนา เวทนาทำอะไรใจไม่ได้อีกต่อไป ทุกขเวทนาเกิดขึ้น ใจไม่เกิดความหวั่นไหว ไม่ดิ้นรนหนีเวทนาที่เป็นทุกข์ ไปดิ้นรนแสวงหาเวทนาที่เป็นสุข หรือไม่ไปนิ่งอยู่กับเวทนาที่มันเฉยๆ การอยู่เหนือเวทนา พ้นจากอำนาจของเวทนาอย่างนี้เรียกว่า เวทนานิโรธ จิตอยู่เหนือเวทนา ไม่หลงปรุงแต่ง ไม่หลงขวนขวาย ไม่หลงดิ้นรนไปตามเวทนา
ผัสสะก็โดยทำนองเดียวกัน ผัสสนิโรธ คือ จิตที่เหนือผัสสะ อิสระจากผัสสะ ไม่หลงปรุงแต่ง ไม่หลงยินดียินร้าย ไม่แสวงหา ไม่ดิ้นรนขวนขวายไปหาอารมณ์มากระทบ ถึงแม้จะมีการกระทบ ใจก็ไม่เกิดความดิ้นรน อย่างนี้เรียกว่า อยู่เหนือผัสสะ
กรรมก็โดยทำนองเดียวกัน เรามีกิเลสจึงเกิดการทำกรรมแล้วเกิดวิบาก กัมมนิโรธ คือ อิสระจากกรรม ไม่มีการทำกรรม ไม่เกิดกระบวนการอันก่อทุกข์ขึ้นมา ด้วยการมีสติสัมปชัญญะรู้เท่าทัน ถ้าผู้ที่มีปัญญา มีวิชชาอย่างสูงสุด อวิชชาไม่มีเลย ไม่หลงเลย ก็ไม่ก่อกรรมอะไรขึ้นมาอีกเลย ท่านนี้คือพระอรหันต์นั่นเอง แต่ถ้าเป็นผู้ที่ยังมีอวิชชาเหลืออยู่ ก็มีการทำกรรมบ้างบางส่วน ตามลำดับนะ อย่างเราทั่วไปก็ทำกรรมมากมาย ส่วนพระอริยบุคคลก็น้อยลงตามลำดับ
ในตอนต้นๆ เรายังทำกรรมเยอะ ก็ให้ทำกรรมดีเข้าไว้ให้มากๆ จริงอยู่ว่า เราปฏิบัตินี้เพื่ออยู่เหนือกรรม แต่การจะอยู่เหนือกรรมได้ ต้องอาศัยกรรมดีเป็นพื้นฐานเท่านั้น ไม่ใช่ว่า ดีก็ไม่เอา ชั่วก็ไม่เอา ฉันก็เลยเฉยๆ ไม่ทำอะไร ไม่ใช่อย่างนั้น อยู่เหนือกรรมนะจึงจะพ้นทุกข์ได้ แต่การที่จะอยู่เหนือกรรมได้อาศัยฝ่ายดีมาก่อน
เอาบุญมาฝากจะถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ สักการะพระธาตุ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาทสร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ ให้อาหารสัตว์เป็นทานเป็นประจำ กรวดน้ำอุทิศบุญ อนุโมทนากับพ่อแม่ญาติพี่น้องที่รักษาศีล ฟังธรรม ให้ทาน อนุโมทนากับเพื่อนๆที่รักษาศีล ศึกษาการรักษาโรค ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ถวายสังฆทานมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ปิดทองพระ รักษาอาการป่วยของผู้อื่นกับผู้ร่วมงาน และที่ผ่านมาได้รักษาอาการป่วยของบิดามารดา ปล่อยชีวิตสัตว์มาโดยตลอด ถวายยาแก่ภิกษุ ขัดองค์พระ ที่ผ่านมาได้จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย ให้ความรู้สมุนไพรเพื่อสุขภาพเป็นวิทยาทาน ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ทำบุญหลายอย่างมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ถวายสังฆทานและทำบุญสร้างอาคารผู้ป่วยและกฐินกับเพื่อนๆและให้อาหารเป็นทานแก่สรรพสัตว์กับเพื่อนๆและเพื่อนคนหนึ่งและบริวารของเพื่อนและครอบครัวของเพื่อนได้มีจิตเมตตาให้ทานและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือผู้อื่นอยู่ตลอดและเพื่อนได้เคยสวดมนต์เย็นกับคุณแม่และที่ผ่านมาได้ทำบุญสักการะพระธาตุทำบุญปิดทองชำระหนี้สงฆ์และไหว้พระและทำบุญตามกล่องรับบริจาคตามวัดต่างๆกับเพื่อนและตั้งใจว่าจะสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอให้อนุโมทนาบุญด้วย
ขอเชิญถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน สักการะพระธาตุ ฟังธรรม สวดมนต์ ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาท
สร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย กรวดน้ำอุทิศบุญ ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สนทนาธรรม
ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น รักษาอาการป่วยของผู้อื่น รักษาอาการป่วยของบิดามารดา จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย
ปิดทอง สักการะพระธาตุ กราบอดีตสังขารเจ้าอาวาสที่ไม่เน่าเปื่อย ที่วัดแจ้ง อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ปิดทองพระ ปล่อยชีวิตสัตว์ถวายยาแก่ภิกษุ ไหว้พระตามวัดต่างๆ ขัดองค์พระ ให้ความรู้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพเป็นทาน
และสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอเชิญร่วมบุญกุศลร่วมกันนะ