พระพุทธพจน์ - พุทธภาษิต พระธรรมเทศนา และ ธรรมะจากครูบาอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
อาทิตย์ 28 ก.ค. 2013 9:37 am
สำหรับผู้ที่มีสติสัมปชัญญะ รู้ว่าเป็นเพียงการกระทบเท่านั้น รู้ว่าเป็นความรู้สึกเท่านั้น รู้ว่าเป็นความคิดนึกเท่านั้น รู้ว่าเป็นเพียงสภาวะต่างๆ เท่านั้นที่เกิดขึ้น ทำหน้าที่ของมันเป็นคราวๆ ไป สิ่งเหล่านั้นไม่ครอบงำใจ จะไม่รู้สึกว่ามีตัวเราจริง การกระทำที่ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะอย่างเต็มเปี่ยม ไม่เป็นกรรม แต่ถ้าไม่มีสติสัมปชัญญะ ความรู้สึกว่ามีตัวเรานี้จะครอบงำใจ รู้สึกว่าเราเป็นคนนั้น เราเป็นคนนี้ เวลามีความรู้สึกว่ามีเรา ก็จะเกิดการกระทำอะไรบางอย่างเพื่อเรา อย่างนี้เป็นกรรม เกิดการทำดีบ้าง ไม่ดีบ้าง เราทั้งหลายทั่วไปที่เป็นปุถุชนนี้ ถ้าไม่ได้ฝึกสติสัมปชัญญะให้มากพอ ก็ไม่สามารถจะรู้ทันกระบวนการทำงานนี้ได้
ดังนั้น ก็ต้องมีกรอบกันตัวเองไม่ให้ทำผิดพลาดเอาไว้ก่อน ต่อไป ถ้าเราได้ฝึกสติสัมปชัญญะไปพอสมควร ได้เห็นจิตใจตนเอง เห็นกายใจโดยความเป็นขันธ์ มันทำงานได้เองของมัน เราจะสามารถมองเห็นว่า ตอนไหนที่เกิดกระทำกรรมขึ้น ตอนไหนที่มีสติสัมปชัญญะรู้เท่าทันแล้วไม่เกิดการปรุงแต่งทำกรรม อย่างนี้จะเห็นอริยสัจในจิต เห็นว่า ทุกข์ในจิตเกิดขึ้นมาได้อย่างไร และทุกข์ไม่เกิดขึ้นเพราะเหตุไร ทุกข์เกิดขึ้นเพราะมีความหลง จนเกิดความรู้สึกว่ามีเรา มีของเรา ก็ไปทำอะไรเพื่อเรา ตะครุบนั่น ตะครุบนี่ โดยคิดว่าจะทำให้เรามีความสุข เห็นสิ่งที่ปรากฏทางตาแล้วก็ตะครุบ เอาเป็นจริงเป็นจัง เห็นข่าวในหนังสือพิมพ์ก็เข้าไปรู้สึกเป็นจริงเป็นจัง เข้าไปมีอารมณ์ร่วมกับเรื่องนั้นเรื่องนี้ ก็จะเกิดทุกข์ขึ้น แล้วเกิดการทำกรรมตามมา อย่างนี้เข้าสู่วงจรของทุกข์แล้ว
การปรุงแต่งการกระทำทางกาย เรียกว่ากายสังขาร เริ่มจากกายสัญเจตนา เจตนากระทำทางกายเพื่อเรา มีทางออกของการกระทำเรียกว่ากายทวาร เป็นกายกรรม ตัวกรรมแท้ๆ ก็ดูที่ตัวสัญเจตนา ไม่ได้ดูที่การกระทำที่ออกมาทางกาย การกระทำที่ออกมาทางกายยังบอกไม่ได้ ต้องดูที่ตัวเจตนาในใจ เช่น การฆ่าสัตว์ก็ดูที่เจตนาว่าเรามีเจตนาฆ่าหรือไม่ บางทีเราขับรถไปเหยียบแมวตาย เราไม่ได้มีเจตนาจะฆ่าเลย อย่างนี้ ก็ไม่ได้เป็นการฆ่าสัตว์ เราดูเจตนาที่อยู่ในจิต ในการที่เราฝึกให้ตนเองมีศีล ไม่ล่วงสิกขาบท แท้ที่จริงเป็นการเฝ้าดูเจตนาในใจ เวลาที่จะทำทางกาย ทางวาจา จะทำให้จิตมีศีล ที่เราฝึกสติสัมปชัญญะ เป็นการพัฒนาความสามารถในการเฝ้าดู เพื่อให้รู้ทันจิตตนเองในตอนที่จะทำ จะพูด ทำให้จิตมีศีล เป็นปกติ ไม่ถูกอภิชฌาและโทมนัสครอบงำ จนไปทำผิดพลาดทางกาย ทางวาจา
กรรมแท้ๆ อยู่ที่จิตนะ ที่เราฝึกฝนก็ฝึกที่จิต ที่ตัวกายสัญเจตนา ไม่ได้ดูที่อาการทางกาย เช่น เรารักษาสิกขาบทข้อที่ ๑ ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ใช่ว่านอนอยู่บ้านเฉยๆ ก็ถือว่ามีศีลแล้ว ไม่ใช่อย่างนั้นนะ เราไม่ไปฆ่าสัตว์ ไม่ไปทำล่วงละเมิดสิกขาบทก็ดีแล้ว แต่เรื่องมีศีลนี้ต้องดูให้ละเอียดอีกที จิตยังเต็มไปด้วยอกุศลนั้นไม่ใช่จิตที่มีศีล ศีลนั้นเป็นสภาวะจิตที่เป็นกุศล เป็นกุศลประเภทงดเว้นจากการกระทำที่ไม่ดี การที่เรามีศีลก็คือเรารู้ทันเจตนาเวลาจะทำ จะพูด แล้วงดเว้นการกระทำที่เกิดจากจิตอกุศล เว้นการกระทำด้วยเจตนาที่ไม่ดีออกไป
ในการฝึกให้จิตมีศีลนั้น ก็เป็นการที่เราเฝ้าดูเจตนาทางใจให้เห็นว่า ที่พูดนี้พูดด้วยเจตนาอะไร ถ้าพูดด้วยเจตนาที่ไม่ดี เบียดเบียนคนอื่น โกหก เพ้อเจ้อเกินความจำเป็น พูดเพื่อเอาหน้าเอาตาให้คนอื่นรักเรา อย่างนี้เป็นต้น ก็ให้เลิกการพูดเหล่านั้น เราละเว้นการพูดด้วยเจตนาไม่ดี พูดแต่คำที่ดี มีเจตนาบริสุทธิ์ พูดตามความเหมาะสม นี้เป็นวจีสุจริต เราจึงต้องเตือนตนเองบ่อยๆ ให้ระลึกได้บ่อยๆ จนมีสติรู้เท่าทันวจีสัญเจตนา ตัวสัญเจตนา เกิดเพราะมีความรู้สึกว่า มีตัวเรา มีของเรา จึงเกิดการกระทำที่ดีบ้าง ไม่ดีบ้างเพื่อตัวเรา เรียกว่าการทำอภิสังขาร เป็นฝ่ายบุญก็ได้ ฝ่ายบาปก็ได้ เป็นวงกลมของกองทุกข์ที่วนเวียนไป แต่พระพุทธศาสนานั้นสอนเหนือกรรม คือย้อนกลับมาศึกษาเรียนรู้ที่กายที่ใจ ให้เกิดปัญญาเห็นว่า ไม่มีตัวเราจริง ไม่มีตัวสุข ตัวดี ตัววิเศษอะไร มีแต่ทุกข์ทั้งนั้น ก็จะปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่น ไม่มีการทำกรรมอีก
พระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นในโลก ทรงประกาศพรหมจรรย์ คือวิธีการปฏิบัติอันประเสริฐสุดทำให้หมดทุกข์ได้จริง สอนให้มีปัญญารู้ความจริงว่า ทุกอย่างที่เกิดขึ้นนั้น เป็นเพียงขันธ์ที่เกิดขึ้นเป็นคราวๆ ไม่ใช่ตัวเรา ไม่ใช่สิ่งเที่ยงแท้ถาวรอะไร เวทนา คือ ความรู้สึก เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป กายรู้สึกไม่ได้ กายมันเจ็บปวดไม่ได้ ความเจ็บปวดเป็นเวทนา สัญญา คือ ความจำได้หมายรู้ ผุดขึ้นมาตามผัสสะ พอกระทบสิ่งนี้ก็ผุดเรื่องนี้ขึ้นมา กระทบอีกสิ่งหนึ่งก็ผุดเรื่องอื่นๆ ขึ้นมา บางครั้งจำได้ บางครั้งจำไม่ได้ สังขาร ก็นำเวทนาและสัญญามาปรุงต่อ หากเราไม่มีสติสัมปชัญญะ รู้ไม่ทันก็ถูกมันครอบงำให้ไปทำกรรมเพื่อตัวเรา ถ้าเรารู้เท่าทันกระบวนการทำงานก็จะไม่ถูกครอบงำ ไม่เกิดการยึดว่าเป็นเรา เป็นของเราขึ้นมา
ส่วนมโนสังขาร เริ่มจาก มโนสัญเจตนา คิดจะทำอะไรเพื่อเรา อาศัยทางใจเป็นทางออกของการกระทำ ทำกรรมทางมโนทวาร เป็นมโนกรรม ซึ่งมโนกรรมนี้สำคัญที่สุด การฝึกฝนก็คือฝึกให้รู้ทันเจตนาทั้ง ๓ คือ กายสัญเจตนา วจีสัญเจตนา มโนสัญเจตนา ไม่ให้มีเจตนาไปทำผิดพลาด ไม่ไปทำอะไรที่รุนแรง เบียดเบียนตนเองและเบียดเบียนคนอื่น ที่แยกเป็นประเภท คือ กายกรรม ๓ วจีกรรม ๔ มโนกรรม ๓ ให้ทำกรรมที่เป็นกุศลอยู่เสมอ เรียกว่ากุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ เมื่อประพฤติถูกต้องอยู่เสมอ ตัวกุศลกรรมบถ ๑๐ นี้จะช่วยรักษาเรา อย่างน้อยที่สุดก็เป็นเหตุให้ได้เกิดเป็นมนุษย์อีก เบาใจได้ระดับหนึ่งว่า ไม่ไปเกิดในอบาย
สำหรับทางใจ ก็อย่าไปมีอภิชฌา คือความเพ่งเล็งอยากได้ของคนอื่น ฝึกให้เป็นคนคิดเสียสละ รู้จักแบ่งปัน ไม่พยาบาท ไม่ไปคิดปองร้าย ไม่คิดผูกเวรกับใครๆ มีแต่ความหวังดี ปรารถนาดี อยากให้คนอื่นมีความสุข ไม่มีมิจฉาทิฏฐิ ไม่มีความเห็นที่ผิดพลาด เป็นผู้มีความเห็นที่ถูกต้อง เช่น เห็นว่า ทานที่ให้แล้วมีผล การบูชามีผล พ่อแม่มีคุณ กรรมที่ทำแล้วมีผล เป็นต้น
เมื่อเรายังอยู่ในโลก ก็ได้รับสุขบ้างทุกข์บ้าง ยังต้องทำกรรมอยู่ ก็พยายามทำกรรมที่ดี จะได้ไม่ทุกข์กับโลกมากนัก เพราะกรรมดีทำให้ได้รับผลดี เป็นความสุข กรรมชั่วทำให้ได้รับผลไม่ดี เป็นความทุกข์ เราเรียนรู้เรื่องกรรมเอาไว้จะได้ปฏิบัติตนได้ถูกต้อง จะได้ไม่เจ็บปวดกับโลกมากนัก ถ้าจะให้ดียิ่งกว่านั้น ก็คือฝึกสติสัมปชัญญะให้เกิดปัญญารู้เท่าทันกระบวนการทำงานของการปรุงแต่ง ตั้งแต่ผัสสะ เวทนา รู้ทันสังขาร รู้ทันการปรุงแต่งของจิต ไม่หลงเข้าใจผิด ไม่เกิดความยึดมั่นถือมั่น
ที่เราฝึกสติสัมปชัญญะ เจริญสมถะวิปัสสนา ก็เพื่อให้มีปัญญารู้ทันอย่างนี้ ถึงแม้จะยังรู้ไม่ทัน สติสัมปชัญญะก็เป็นตัวช่วยให้เราละกรรมที่ไม่ดี ทำกรรมที่ถูกต้องดีงาม จิตเกิดความละอายและเกรงกลัวต่อบาปอกุศล ก็จะเกิดศีล ไม่ถูกอภิชฌาโทมนัสครอบงำใจ จิตมีศีลเป็นปกติ เป็นการฝึกอธิศีลสิกขา ต่อมาก็ฝึกรู้จิตใจให้ละเอียดยิ่งขึ้นไป เป็นการฝึกอธิจิตตสิกขา เมื่อรู้เท่าทันจิตใจของตนเอง จิตเป็นกุศลก็รู้ เป็นอกุศลก็รู้ ดีก็รู้ ไม่ดีก็รู้ รู้เท่าทันไปหมด จิตก็จะไม่หลงยินดียินร้าย เมื่อรับรู้อารมณ์ต่างๆ จะละกิเลสนิวรณ์ต่างๆ ได้ จิตจะมีความเบิกบาน อ่อนเบา ผ่องใส เอิบอิ่ม เป็นสมาธิ เป็นจิตที่มีความตั้งมั่น ตามดูกายดูใจตามที่เป็นจริง ก็จะเกิดปัญญา เป็นการฝึกอธิปัญญาสิกขา
เรื่องกรรมนั้นก็เป็นคำสอนที่สำคัญเพราะเป็นคำสอนในแง่ทำให้เราอยู่กับโลกได้อย่างถูกต้อง การทำกรรมนี้เกิดจากการดิ้นรนทางใจ อยากให้ตัวเองดี อยากให้ตัวเองมีความสุข ในเมื่อยังต้องดิ้นรนอย่างนี้ ก็ไปฝ่ายดีซะก่อน แต่ถ้าจะให้ดีกว่านั้น ก็คือปล่อยวางทั้งดีทั้งไม่ดี มีปัญญาเห็นแจ้งความจริง จิตใจหมดความดิ้นรน แบบนี้เป็นวิปัสสนา เป็นแบบเหนือโลก จะพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้
ทีนี้ในระหว่างยังเกิดวนเวียนอยู่ก็ต้องทำกรรมให้ถูกต้อง อย่างน้อยยังอยู่ในโลกก็ไม่บาดเจ็บมากนัก คือมีความสุขตามสมควร แล้วก็มีโอกาสได้ยินได้ฟังพระธรรม ฝึกฝนตนเองไปเรื่อยๆ ไม่ต้องไปทนทุกข์ทรมาน ไม่ต้องไปตกอบายภูมิ อะไรพวกนี้
ในตอนที่ ๑ ผมได้พูดมาถึงสิ่งที่ควรทราบเกี่ยวกับกรรม ซึ่งพระผู้มีพระภาคได้ตรัสเอาไว้ใน อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต นิพเพธิกสูตร ซึ่งมีอยู่ ๖ ประการ โดยปกติเวลาเราพูดถึงเรื่องกรรม เราก็จะพูดด้วนๆ เช่นว่า กรรมคือการกระทำด้วยเจตนา ทำแล้วได้รับผลอย่างนั้นอย่างนี้ นี่ยังเข้าใจไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ บางทีก็เข้าใจกรรมเป็นผู้มีอำนาจใหญ่เหมือนกับพระเจ้าองค์หนึ่ง อย่างนี้ก็มี
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสสิ่งที่ควรทราบเกี่ยวกับกรรมไว้ ๖ อย่างด้วยกัน พระองค์ตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงทราบ
(๑) กรรม
(๒) เหตุเกิดแห่งกรรม
(๓) ความต่างกันแห่งกรรม
(๔) วิบากแห่งกรรม
(๕) ความอิสระจากกรรม
(๖) ข้อปฏิบัติให้ถึงความอิสระจากกรรม
กรรม คือการกระทำที่ประกอบด้วยเจตนา ตัวเจตนานั่นแหละเป็นกรรม ตัวการกระทำออกมาทางกาย ทางวาจา ทางใจ นี้เป็นทวารออกของกรรม ตัวกรรมแท้ๆ ก็คือตัวเจตนาในใจ ถ้าใครอยากเห็นกรรมก็ให้ดูเจตนาในใจ เวลาจะทำ จะพูด มันจะมีความคิดและมีเจตนามาก่อน อันนั้นแหละคือตัวกรรม เรียกว่าสัญเจตนา
ด้วยความที่เรายังมีความเข้าใจผิด มีความยึดมั่นถือมั่นในกายในใจอยู่ ก็คิดว่ากายใจนี้เป็นตัวเรา เป็นตัวดี ตัววิเศษ เรารักตัวเอง เราก็อยากจะให้ตัวเรานี้ได้ดีมีความสุข ก็เกิดเจตนาจะทำเพื่อเราอย่างใดอย่างหนึ่ง ตัวเจตนานี้เวลาจะทำอะไรออกมาทางกาย เรียกว่ากายสัญเจตนา ออกมาเป็นกายกรรม เจตนาพูดทางวาจา เรียกว่าวจีสัญเจตนา ออกมาเป็น วจีกรรม เจตนาจะทำทางใจ เรียกว่ามโนสัญเจตนา ออกมาเป็นมโนกรรม
ส่วนใหญ่เราจะพูดถึงกายกรรม ๓ วจีกรรม ๔ มโนกรรม ๓ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นปลายทางนะ ตัวกรรมแท้ๆ นี่เป็นตัวเจตนา เจตนาจะทำเพื่อตัวเรา มันเข้าใจผิด มันยึด นึกว่ามีตัวเรา พอยึดว่ามีเราอยู่ก็ต้องทำเพื่อเรา
เราทั้งหลายคิดอะไรก็เพื่อตัวเราทั้งนั้นเลย นี้เรียกว่ามโนกรรม มโนกรรมจึงเยอะที่สุด พระพุทธเจ้าจึงเน้นเรื่องมโนกรรมเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ถ้ามโนกรรมยังมีอยู่ ก็ให้คิดพิจารณาฝ่ายดีเข้าไว้ ให้ทาน รักษาศีล ให้เป็นคนที่เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ให้อภัยทาน มีจิตคิดเมตตา เป็นต้น นี้ก็เป็นการปรับมโนกรรมให้มันดีขึ้น เพราะไหนๆ ก็ต้องคิด ก็คิดให้ดี ให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น
ถ้าเราไม่ฝึกหัด จิตก็พร้อมที่จะลงต่ำอยู่เสมอ จิตเราโดยทั่วไป ถ้าเราไม่ได้ฝึกฝน ไม่มีสติปัญญา จะมีลักษณะอย่างหนึ่งคือโน้มเอียงลงต่ำ เราลองสังเกตดูนะ ถ้าไม่ฝึกตนเอง หรือไม่เตือนตนเองเอาไว้ มันจะชอบคิดเรื่องไม่ดีอยู่เรื่อย ชอบคิดให้เกิดความทุกข์ เกิดความเบียดเบียนตนเองและผู้อื่น บางทีไม่มีเรื่องอะไร เรื่องที่ทำให้เกิดความสุขนึกไม่ได้ ส่วนเรื่องที่ทำให้ทุกข์ชอบจำได้ ชอบคิด จิตเรามันเป็นอย่างนี้
อาการที่จิตเราชอบไหลลงต่ำนี้ จะเป็นความเคยชิน เวลาความเคยชินนานๆ ไปแล้ว ก็จะถูกผู้คนถูกสังคมชักจูงให้ทำกรรมชั่วได้ง่าย พระพุทธเจ้าท่านจึงบอกว่า กรรมชั่วคนชั่วทำง่าย แต่กรรมชั่วคนดีทำยากนะ กรรมดีนั้นคนดีทำง่าย คนชั่วบอกว่าทำดีแต่ละทียากจริงๆ การทำยากหรือง่ายอยู่ที่คุณภาพจิต
เหตุเกิดของกรรมคือผัสสะ การกระทบอารมณ์ เกิดการรับรู้ขึ้น ได้เห็นรูปทางตาแล้ว ได้ยินเสียงทางหูแล้ว ดมกลิ่นทางจมูกแล้ว ลิ้มรสทางลิ้นแล้ว ถูกต้องสัมผัสทางกายแล้ว คิดนึกรู้สึกทางใจแล้ว ก็เกิดความรู้สึกขึ้น เรียกว่าเวทนา ทีนี้นอกจากเวทนาแล้ว ยังมีสัญญาผุดขึ้นมาด้วย สัญญาคือความจำได้หมายรู้ เวทนาและสัญญานี้เป็นตัวปรุงแต่งจิต ภาษาบาลีเรียกว่าจิตตสังขาร
จิตเราที่ปรุงดีบ้าง ไม่ดีบ้าง เกิดจากความรู้สึกคือเวทนากับสัญญาที่มาพร้อมกับผัสสะ เราเห็นหน้าคนนี้แล้ว เป็นคนรู้จัก รู้สึกชอบหน้า จิตก็ปรุงแต่งไปอย่างหนึ่ง ทำให้เกิดความคิด เกิดคำพูด เกิดการกระทำทางกาย เห็นหน้าอีกคนแล้วไม่ชอบ จิตก็ปรุงแต่งไปอีกแบบหนึ่ง ทำให้เกิดความคิด เกิดคำพูด เกิดการกระทำทางกายเปลี่ยนแปลงไปตามความไม่ชอบนั้น อย่างนี้เรียกว่า เห็นแล้วเกิดความรู้สึกขึ้น รู้สึกชอบ รู้สึกไม่ชอบ รู้สึกว่าคนนี้ดี คนนี้ไม่ดี คนนี้น่าเข้าใกล้ คนนี้น่าออกห่างๆ ยิ่งถ้าเป็นญาติเรา หรือคนที่เคยทำไม่ดีกับเรา ก็จะรู้สึกแตกต่างออกไปมากขึ้น
นอกจากเวทนาแล้วก็มีสัญญาด้วย เราเห็นหน้าคนนี้แล้วจำได้ว่าเขาคือใคร จำได้ว่าคนนี้เคยยืมเงินเราแล้วไม่ได้ใช้คืน ตอนนี้เขารวยแล้ว เขาโกงเราไปแต่รวย เราจะเกิดความคิดจะทำอย่างหนึ่งขึ้นมา กายวาจาก็เปลี่ยนแปลงไป ตัวความคิดที่เกิดขึ้นมาอย่างนี้ เป็นมโนกรรม กระทำออกไปทางกายเป็นกายกรรม พูดทางวาจาเป็นวจีกรรม เกิดผัสสะ มีการรับรู้อารมณ์ จึงเกิดเวทนา เกิดสัญญา และเกิดการกระทำที่แตกต่างกันติดตามมา ฉะนั้น ตัวต้นตอของกรรม คือผัสสะ
สัญญาเก่าๆ โดยส่วนใหญ่ที่เราเก็บเอาไว้คือสัญญาที่ประกอบไปด้วยอคติ เจือด้วยความเห็นผิด อันไหนที่เป็นฝ่ายเรา ของเรา จะให้ค่าเป็นบวก ฝ่ายคนอื่น ให้ค่าเป็นลบ เวลาเรากระทำอะไรลงไปจึงเกิดความผิดพลาดได้มาก ถ้าลูกเราไปทะเลาะกับลูกคนอื่น ลูกเราก็จะเป็นฝ่ายถูกไว้ก่อน คนที่เป็นฝ่ายเราทำอะไรก็ดูเข้าท่าไปหมด คนที่เป็นฝ่ายคนอื่นทำอะไรก็ดูไม่เข้าท่าเลย มันตรงข้ามกันอย่างนี้ เราจึงต้องระวังความรู้สึกตัวเองดีๆ เพราะถ้าไม่ระวังจะทำให้เกิดความผิดพลาดได้ง่าย
ผัสสะนั้นเป็นตัวรับผลของกรรมเก่า และเป็นต้นตอทำให้เกิดกรรมใหม่ ถ้าอยากดูผลของกรรมเก่าก็ดูตรงผัสสะ โดยเฉพาะคุณภาพใจเรา ถ้าอยากจะรู้ว่าเราสะสมอะไรมาบ้าง ก็ดูตอนกระทบอารมณ์แล้วมีปฏิกิริยาตอบสนองอย่างไร ความรู้สึกต่างๆ ที่เกิดขึ้นเป็นปฏิกิริยาโต้ตอบนี้ เรียกว่าผลของกรรมเก่า คุณภาพใจเรานี้ก็เป็นผลของกรรมเก่าที่เราสะสมมาจนเป็นบุคคลนี้ในปัจจุบัน
ตอนที่กระทบผัสสะเป็นการแสดงถึงผลของกรรมด้วย และเป็นเหตุให้เกิดการทำกรรมใหม่ด้วย พอทำกรรมใหม่ก็มีผลเป็นวิบากต่อไปอีก เราได้รับสิ่งที่น่าพอใจบ้างไม่น่าพอใจบ้าง ด้วยความไม่รู้ก็เกิดกิเลสไปทำกรรมแล้วได้รับผล วนเวียนกันเป็นวงกลม อย่างนี้แหละเรียกว่าการวนเวียนเป็นวัฏฏะ
เอาบุญมาฝากจะถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ สักการะพระธาตุ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาทสร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ ให้อาหารสัตว์เป็นทานเป็นประจำ กรวดน้ำอุทิศบุญ อนุโมทนากับพ่อแม่ญาติพี่น้องที่รักษาศีล ฟังธรรม ให้ทาน อนุโมทนากับเพื่อนๆที่รักษาศีล ศึกษาการรักษาโรค ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ถวายสังฆทานมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ปิดทองพระ รักษาอาการป่วยของผู้อื่นกับผู้ร่วมงาน และที่ผ่านมาได้รักษาอาการป่วยของบิดามารดา ปล่อยชีวิตสัตว์มาโดยตลอด ถวายยาแก่ภิกษุ ขัดองค์พระ ที่ผ่านมาได้จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย ให้ความรู้สมุนไพรเพื่อสุขภาพเป็นวิทยาทาน ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ทำบุญหลายอย่างมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ถวายสังฆทานและทำบุญสร้างอาคารผู้ป่วยและกฐินกับเพื่อนๆและให้อาหารเป็นทานแก่สรรพสัตว์กับเพื่อนๆและเพื่อนคนหนึ่งและบริวารของเพื่อนและครอบครัวของเพื่อนได้มีจิตเมตตาให้ทานและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือผู้อื่นอยู่ตลอดและเพื่อนได้เคยสวดมนต์เย็นกับคุณแม่และที่ผ่านมาได้ทำบุญสักการะพระธาตุทำบุญปิดทองชำระหนี้สงฆ์และไหว้พระและทำบุญตามกล่องรับบริจาคตามวัดต่างๆกับเพื่อนและตั้งใจว่าจะสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอให้อนุโมทนาบุญด้วย
ขอเชิญถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน สักการะพระธาตุ ฟังธรรม สวดมนต์ ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาท
สร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย กรวดน้ำอุทิศบุญ ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สนทนาธรรม
ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น รักษาอาการป่วยของผู้อื่น รักษาอาการป่วยของบิดามารดา จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย
ปิดทอง สักการะพระธาตุ กราบอดีตสังขารเจ้าอาวาสที่ไม่เน่าเปื่อย ที่วัดแจ้ง อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ปิดทองพระ ปล่อยชีวิตสัตว์ถวายยาแก่ภิกษุ ไหว้พระตามวัดต่างๆ ขัดองค์พระ ให้ความรู้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพเป็นทาน
และสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอเชิญร่วมบุญกุศลร่วมกันนะ
Powered by phpBB © phpBB Group.
phpBB Mobile / SEO by Artodia.