นวรัตน์ดอทคอม

รวบรวมสาระความรู้เกี่ยวกับวัตถุมงคล-เครื่องรางของขลัง

  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
วันเวลาปัจจุบัน พฤหัสฯ. 16 ม.ค. 2025 5:30 pm

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


Switch to mobile style


โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 
เจ้าของ ข้อความ
 หัวข้อกระทู้: จงปฏิบัติภาวนา
โพสต์โพสต์แล้ว: ศุกร์ 03 ม.ค. 2014 6:19 am 
ออฟไลน์

ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 07 มิ.ย. 2009 7:24 pm
โพสต์: 4804
วิธีทดแทนคุณบุพการี จาก สมเด็จโต
"การให้ธรรมะพ่อแม่ เป็นการทดแทนพระคุณที่สูงสุด"
ลูกเอ๋ย.... ยามที่พ่อแม่ของเจ้ามีอายุมากขึ้นย่อมมีโรคภัยไข้เจ็บมาเบียดเบียน ความแข็งแรงของร่างกายก็ลดลง ใจน้อย โกรธง่าย ความจำก็เสื่อม ขี้หลงขี้ลืม จิตใจก็หมดความสุขสดชื่น ถึงแม้พวกเจ้าจะคอยจะคอยดูแลเอาใจใส่ดูแลใกล้ชิดสักเพียงใดก็ตาม ก็ไม่อาจช่วยให้พ่อแม่ของเจ้ามีความสุขได้เต็มที่ เพราะพวกเจ้าทุกคนต่างก็มีภาระหน้าที่ต้องรับผิดชอบ เจ้าช่วยให้ท่านได้รับความสุขเพียงการให้กินอยู่หลับนอนอันเป็นความสุขทางกายเท่านั้นแต่จิตใจของท่านหาได้ร่าเริงสดชื่นผ่องใสไม่ เจ้าจงจำไว้ว่า... การให้ความสุขแก่พ่อแม่อย่างแท้จริงก็คือ การให้ธรรมะด้วยการสอนหลักธรรมะอย่างง่ายๆให้กับพ่อแม่ของเจ้า พาท่านไปทำบุญทำทาน สอนท่านให้รู้จักการปฏิบัติบูชา สอนให้ท่านรู้จักสวดมนต์ ภาวนา แผ่เมตตา ธรรมะจะอยู่ในจิตใจของพ่อแม่เจ้าทุกภพทุกชาติ ถือว่าเป็นการทดแทนพระคุณที่สูงสุด ...
เจ้าจงจำไว้ นะลูกเอ๋ย....




ท่านเจ้าคุณอุบาลี ได้พิจารณาถอยร่นปฎิจสมุปบาท มาจนถึงรูปนามนี้แล้ว ท่านเกิดความสงสัยว่า ถอยจากรูปนามยังมวิญญาณและสังขาร แล้วจึงขึ้นต้นด้วยอวิชชา และวิญญาณ สังขารนี้ก็มีแล้วในนามรูป เหตุใด จึงมามีสังขารและวิญญาณ โดยเฉพาะของตัวมันอีก
ท่านอาจารย์มั่น ได้อธิบายถวายท่านเจ้าคุณอุบาลีว่า "ปฎิจสมุปบาท ข้อที่ว่าวิญญาณเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร สังขารเป็นปัจจัยให้เกิดนามรูปน้ันแล ในนามรูปก็มีทั้งวิญญาณและสังขาร ซึ่งมันจะมแตกต่างกันดังนี้ คือ สังขาร วิญญาณที่ต่อจากอวิชชาน้ัน เรียกว่า สังขารกรรม วิญญาณกรรม
แตกต่างกับสังขาร-วิญญาณ-ของนามรูป สังขารวิญญาณของนามรูปน้ัน เป็นสังขารวิญญาณวิบาก เนื่องจากเป็นการปรุงแต่งที่สำเร็จรูปแล้ว สังขารกรรม วิญญาณกรรมเป็นการปรุงแต่งที่กำลังทำอยู่ คือว่า สังขารกรรม วิญญาณกรรม เป็นภาวะที่ไม่เป็นอิสระ อยู่ภายใต้อำนาจของกรรม มีอวิชชาเป็นหางเรือใหญ๋ อาศัยสังขารการปรุงแต่งอาศัย วิญญาณความรู้สึกที่กำลังปรับปรุงภพ อันจะเป็นแนวทางก่อให้เกิด ซึ่งในขณะน้ันจิตเป็นประธานอาศัยสังขารปรุงแต่ง อาศัยวิญญาณความรู้สึกในขณะที่กำลังปรุงภพอันจะต้องตกอยู่ภายใต้อำนาจของสังขารกรรม วิญญาณกรรมทั่้ง ๒นี้สืบเนื่องมาจากจิต ณ ที่นี้จึงแล้วแต่กรรมจะจำแนกไป คือให้สังขารและวิญญาณนี้เห็นดีไป เมื่อเห็นดีไปอย่างไร จิตก็จะไปต้ังก่อให้เกิดไปตามน้ัน เพราะที่นี้จึงเป็นสถานที่กำลังปรุงแต่งภพ ถ้าพิจารณาแล้วจะรู้สึกละเอียด และพึงจะรู่้จริงได้คือ เมื่อจิตได้ดำเนินตามอริยสัจ และเป็นวิปัสสนาอันแก่กล้่าแล้วนั้นที่เดียว นี่เป็นสักแต่แนวทางเท่าน้ัน ตามความเป็นจริง ต้องมีตาภายในคือกระแสจิต กระแสธรรมเท่าน้ัน ที่จะเข้าไปรู้จริงได้
หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต



ผู้สามารถจะรับรู้ในสัจจธรรมแล้ว ย่อมรอบรู้ท้ังภายนอกและภายใน ตลอดดวงจิตไม่มีอันใดเหลือ คำว่ารอบรู้ภายนอกน้ัน หมายถึง รูป เสียง กลิ่น รส เครื่องสัมผัสและปล่อยวางได้ การพิจารณาภายในคือ ย้่อนจิตเข้ามาสู่ภายในกายจนสามารถรู้เท่ากายทุกส่วน เพราะอำนาจการพิจารณา จนถอนจากอุปาทานความถือกายเสียได้ ส่วนเวทนาจะเป็นสุขก็ดี ทุกข์ก็ดี เฉยๆ ก็ดี สัญญาความจำได้หมายรู้ก็ดี สังขาร ความปรุง จะปรุงดี ปรุงชั่ว ปรุงกลางๆ ปรุงอดึต อนาคต ก็ทราบชัดว่าเป็นเพียงสภาวะอันหนึ่งๆ วิญญาณความรับรู้ก็เพียงสภาวะอันหนึง รวมแล้วเรียกว่า กองอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาทั้งน้ัน ปัญญารู้รอบและปล่อยวางเข้าไปเป็นลำดับ
จงพิจารณาจนเห็นว่านี้คือไตรลักษณ์ และเป็นเครืองมือของไตรจักรเช่นเดียวกันกับสภาวธรรมอื่นๆ เมื่อรู้เห็นชัดแล้ว ความถือมั่นยึดม่ันในความรู้ที่เจือด้วยยาพิษจะหมดไป ต้องสลัดปัดทิ้งทันที ความรู้ซึ่งเป็นตัวอวิชชาก็ขาดกระเด็นออกจากใจ เรื่องที่เป็นกิเลสทั้งมวลไม่มีทางเกิดขึ้น จึงยุติลง
"อำนาจของกิเลสมันหนามันแน่นมันมืดมิดปิดตาอยู่ตลอดเวลา ถ้าไม่เปิดไม่แหวกไม่ถากไม่ถางมันออก มันจะมืดอยู่อย่างนั้นตลอดไป กลางคืนก็ยังเปลี่ยนสภาพเป็นกลางวัน มืดทางโลกยังเปลี่ยนแปลงออกไปเป็นสว่างได้ แต่มืดภายในจิตใจและมืดออกมาทางตาทางหูทางจมูกทางลิ้นทางกายนี้ไม่มีวันเปลี่ยนแปลง มีแต่มืดแปดทิศแปดด้าน ถ้าไม่แก้ไขเปลี่ยนแปลงตัวเองด้วยความถูกต้องตามหลักธรรมจะไม่มีวันสว่าง ให้ถือเอาตรงนี้ไว้ ยึดไว้เป็นหลักใจ"

หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน



โอวาทพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
การนอน การสงบเข้าฌาณ เป็นอาหารของจิตและร่างกายอย่างหนึ่ง สมถะ ต้องพักจิตสอบอารมณ์ ส่วน วิปัสสนา จิตเดินไตรลักษณ์ให้รู้อริยสัจ เหนื่อยแล้วเข้าพักจิตพักจิตหายเหนื่อยแล้ว จิตตรวจอริยสัจอีกดังนี้ ฉะนั้นให้ฉลาดการพักจิต การเดินจิต ทั้งวิปัสสนาและสมถะ พระโยคาวจรเจ้าทิ้งไม่ได้ ชำนิชำนาญทั้งสองวิธี จึงเอาตัวพ้นจากกิเลสทั้งหลายไปได้ เป็นมหาศีล เป็นมหาสมาธิ เป็นมหาปัญญา
มีศีลทั้งอย่างหยาบอย่างกลาง อย่างละเอียด พร้อมทั้งจิตเจตสิก พร้อมทั้งกรรมบถ ๑๐ ไม่กระทำผิดในที่ลับและที่แจ้ง สว่างทั้งภายในและภายนอก มีมหาสติรอบคอบหมด วิโมกข์ วิมุติ อกุปธรรม จิตบริสุทธิ์ จิตปกติเป็นจิตพระอรหันต์ สว่างแจ้งทั้งภายนอกภายในสว่างโร่ ปุถุชนติเตียนเกิดบาป เพราะพระอรหันต์บริสุทธิ์ กายเป็นชาตินิพพาน วาจา ใจ เป็นชาตินิพพาน นิพพานมี ๒ อย่าง นิพพานยังมีชีวิตอยู่ ๑ นิพพานตายแล้ว ๑"


ใจและจิต ไม่เหมือนกัน ใจ อยู่นิ่งสว่างใสอยู่ดั่งเดิม จิต เป็นผู้ทำงานรับรู้เคลื่อนไหวส่งไปตามธรรมชาติ ไปไกลใกล้ (ความคิด) และทำหน้าที่รู้ทุกเรื่องที่ ตา หู จมูก กายใจได้สัมผัส จิต ก็นำสิ่งต่างๆ มากมายในชีวิต นำมาอาบทาใจให้ดูหมองดำ ไม่ใสสว่าง..เช่นเดียวกับดวงอาทิตย์ คือใจ แสงของดวงอาทิตย์คือ จิต ไม่มีดวงอาทิตย์ ก็ไม่มีแสง สิ่งที่ทำให้ดวงอาทิตย์หมองมืดไป คือการบดบังแสง เช่น เมฆ หมอก ภูเขา เป็นต้น เมื่อเอาเมฆ หมอก ภูเขาออก ดวงอาทิตย์ก็เหมือนเดิม ดวงอาทิตย์คือ ใจ แสงของดวงอาทิตย์คือ จิต ฉันใดก็ฉันนั้น ปรากฏการณ์ของความเศร้าหมองคือจิตไปรับเอาสภาวะภายนอกมาบดบัง อาบ ทาใจ ให้หมองคล้ำลงนั่นเอง.. ฉะนั้นถ้าแก้ก็ให้แก้ที่จิต (จิตเสพคุ้นแนบแน่อยู่กับขันธ์5) เพราะจิต เกิดจากใจ และจิต ก็ทำหน้าที่ของมันอยู่ ไม่เคยหยุดนิ่ง เพียงไปรับสิ่งต่างๆ มาบดบังใจ จึงควรรักษาจิต ดูแลจิต อบรมจิต ด้วยขั้นตอนศีล สมาธิ ปัญญา และขั้นตอนของปัญญาจะอาศัย ศีลและสมาธิอบรม เมื่อปัญญาถูกอบรมดี ปัญญาก็จะทำหน้าที่อบรมจิต เมื่อจิตถูกอบรมดี ใจก็ใสสว่างขึ้นมาเข้าสู่สภาวะเดิม เพราะจิตนั้นก็เป็นไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา คือ ใช้ปัญญา ทำลายจิตนั่นเอง ในสภาวะเกิดขึ้นของสมาธิก็แบ่งเป็น สัมมาสมาธิ (มีไว้ละกรรมเวร) และมิจฉาสมาธิ (มีไว้สร้างกรรมเวร)



"ยถาภูติญาณทัสสนวิปัสสนา" คือทั้งเห็นท้ังรู้ตามความเป็นจริง ขั้นนี้เป็นเบื้องต้นในอันที่จะดำเนินต่อไป ไม่ใช่ที่สุด พึงเจริญให้มาก ทำให้มาก จึงจะเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่งอีกจนรอบจนชำนาญ เห็นแจ้งชัดว่า สังขารความปรุงแต่งอันเป็นความสมมติว่า โน่นเป็นของเรา นั่นเป็นเรา เป็นความไม่เที่ยง อาศัยอุปาทานความยึดถือจึงเป็นทุกข์
ความเข้าไปปรุงแต่ง คืออาการของจิตนั่นแลไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวเราของเรา ให้พิจารณาอริยสัจธรรมทั่้ง ๔ เป็นเครื่องแก้อาการของจิต ให้เห็นแนแท้โดยปัจจักขสิทธิว่ ตัวอาการของจิตนี่้เองมันไม่เที่ยง เป็นทุกข์ จึงหลงตามสังขาร เมื่อเห็นจริงลงไปแล้ว ก็เป็นเครืองแก้อาการของจิต



เหตุใดถึงต้องตั้ง นะโม ก่อนเสมอ ?

สาเหตุของการต้องตั้งนโม

ได้มีโยมคนหนึ่ง คือ อาชญาขุนพิจารณ์ (บุญมาก) สุวรรณรงค์ เป็นผู้ช่วยสมุห์บัญชีอยู่ในอำเภอพรรณา นิคม บุตรของพระเสนาณรงค์ (สุวรรณ์) เจ้าเมืองพรรณานิคมคนที่ 4 ( และเป็นนายอำเภอพรรณานิคม คนแรกในรัชสมัยของพระจุลจอมเกล้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5)
ได้นมัสการถามพระอาจารย์มั่นถึงเรื่อง"นโม" ว่า
เหตุใดการให้ทานหรือการรับศีลจึงต้องตั้ง "นโม" ก่อนทุกครั้ง จะกล่าวคำถวายทาน และรับศีลเลยที เดียวไม่ได้หรือ
พระอาจารย์มั่นได้เทศชี้แจงเรื่อง "นโม" ให้ฟังว่า...

"เหตุใดหนอ นักปราชญ์ทั้งหลาย จะสวดก็ดีจะรับ ศีลก็ดีหรือจะทำการกุศลใดๆก็ดีจึงต้องตั้งนโมก่อนจะทิ้ง นโมไม่ได้เลย เมื่อเป็นเช่นนี้ นโม ก็ต้องเป็น สิ่งสำคัญ จะยกขึ้นพิจารณา ได้ความปรากฏว่า น คือธาตุน้ำ โมคือธาตุดิน พร้อมกับบทพระคาถาขึ้นมาว่า
มาตาเปตฺติกสมฺภโว โอทนกุมฺมาสุปจโย
สัมภวธาตุของมารดาบิดาผสมกันจึงเป็นตัวตนขึ้นมาเมื่อคลอดจากครรภ์มารดาแล้วก็ได้รับข้าวสุกและขนมกุมมาสเป็นเครื่องเลี้ยงจึงเจริญเติบโตขึ้นมาได้
"น" เป็นธาตุ ของมารดา โม เป็นธาตุของบิดา ฉะนั้น เมื่อธาตุทั้ง 2 ผสมกันเข้าไป ไฟธาตุของมารดาเคี่ยวเข้าจนได้นามว่า "กลละ" คือ น้ำมันหยดเดียว ณ ที่นี้เอง ปฏิสนธิวิญญาณเข้าถือปฏิสนธิ ได้จิต จึงได้ปฏิสนธิในธาตุ "นโม" นั้นเมื่อจิตเข้าไปอาศัยแล้ว "กลละ" ก็ค่อยเจริญขึ้นเป็น "อัมพุชะ" คือ เป็นก้อนเลือด เจริญจากก้อนเลือดมาเป็น "ฆนะ" คือ แท่งและเปสี คือ ชิ้นเนื้อ แล้วขยายตัวออกคล้ายรูปจิ้งเหลน จึงเป็น ปัญจสาขา คือ แขน 2 ขา 2 หัว 1
ส่วนธาตุ "พ" คือ ลม "ธ" คือ ไฟนั้น เป็นธาตุเข้ามาอาศัยภายหลัง เพราะจิตไม่ถือ เมื่อละจาก" กลละ" นั้นแล้ว กลละ ก็ต้องเข้ามาอาศัยภายหลัง เพราะจิตไม่ถือ เมื่อละจาก
กลละนั้นแล้ว กลละ ก็ต้องทิ้งเปล่า หรือ สูญเปล่า ลม และไฟก็ไม่มี คนตายลมและไฟก็ดับหายสาบสูญไป จึงว่าเป็นธาตุอาศัย ข้อสำคัญจึงอยู่ที่ธาตุ ทั้ง 2 คือ นโม เป็นดั้งเดิม
ในกาลต่อมาเมื่อคลอดออกมาแล้วก็ต้องอาศัย "น" มารดา "โม" บิดาเป็นผู้ทะนุถนอมกล่อมเกลี้ยงเลี้ยงมา ด้วยการให้ข้าวสุก และขนมกุมมาสเป็นต้น ตลอดจนการแนะนำสั่งสอนความดีทุกอย่าง
ท่านจึงเรียกมารดาบิดา ว่า "ปุพพาจารย์" เป็นผู้สอนก่อนใคร ๆ ทั้งสิ้น มารดาบิดาเป็นผู้มีเมตตาจิตต่อบุตรธิดาจะนับจะประมาณมิได้ มรดกที่ท่านทำให้กล่าวคือ รูปกายนี้แลเป็นมรดกดั้งเดิม ทรัพย์สินเงินทองอันเป็นภายนอก ก็เป็นไปจากรูปกายนี้เอง ถ้ารูปกายนี้ไม่มีแล้วก็ทำอะไรไม่ได้ ชื่อว่าไม่มีอะไรเลย
เพราะเหตุนั้นตัวของเราทั้งตัวนี้เป็น "มูลมรดก" ของมารดาบิดาทั้งสิ้น จึงว่าคุณของท่านจะนับจะประมาณมิได้เลย ปราชญ์ทั้งหลายจึงหาได้ละทิ้งไม่
เราต้องเอาตัวเราคือ นโม ตั้งขึ้นก่อน แล้วจึงทำกิริยา หาได้แปล ต้นกิริยาไม่ มูลมรดกนี้แลเป็นต้นทุนทำการฝึกหัดปฏิบัติตน ไม่ต้องเป็นคนจนทรัพย์สำหรับทำทุนปฏิบัติ
นโม เมื่อกล่าวเพียง 2 ธาตุเท่านั้นยังไม่สมประกอบ หรือยังไม่เต็มส่วน ต้องพลิกสระพยัญชนะดังนี้ คือ เอาสระอะ จากตัว "น" มาใส่ตัว "ม" เอา สระโอจากตัว "ม" มาใส่ตัว "น" แล้วกลับตัวมะ มาไว้หน้าตัว โน เป็น มโน แปลว่า ใจ เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงได้ทั้งกายทั้งใจ เต็มตามสมควรแก่การใช้เป็นมูลฐานแห่งการปฏิบัติได้
มโน คือ ใจ นี้เป็นดั้งเดิมเป็นมหาฐานใหญ่ จะทำจะพูดอะไรก็ย่อมเป็นไปจากใจนี้ทั้งหมดได้ในพระพุทธพจน์ว่า มโนปุพฺพงฺ คมา ธมฺมา มโนเสฎฐา มโมยา
ธรรมทั้งหลายมีใจถึงก่อน มีใจเป็นใหญ่ สำเร็จแล้วด้วยใจ พระบรมศาสดาจะทรงบัญญัติพระธรรมวินัยก็ทรงบัญญัติออกไปจากใจ คือ มหาฐานนี้ทั้งสิ้น
เหตุนี้เมื่อพระสาวกผู้ได้มาพิจารณาตามจนถึงรู้สึก นโมแจ่มแจ้งแล้ว มโน ก็สุดบัญญัติ คือพ้นจากบัญญัติทั้งสิ้น สมบัติทั้งหลาย ในโลกนี้ต้องออกไปจากนโมทั้งสิ้น
ของใครก็ก้อนของใคร ต่างคนต่างถือเอาก้อนอันนี้ ถือเอาเป็นสมบัติ บัญญัติตามกระแสแห่งน้ำ โอฆะ จนเป็นอวิชชาตัวก่อภพก่อชาติด้วยการไม่รู้เท่า ด้วยการหลงถือว่าตัวเป็นเราเป็นของเราไปหมด"


ความอยากมันมี ๒ ประเภท ความอยากที่เป็นอำนาจของกิเลส นี้ไม่มีเมืองพอ.... แต่ความอยากทางด้านธรรมนี้พอ ทำบุญให้ทานรักษาศีลภาวนาเพื่อบุญเพื่อกุศลเพื่อมรรคผลนิพพาน เวลาดำเนินไปตามความอยากนี้เป็น มรรค คือ ทางดำเนินเพื่อบุญเพื่อกุศล เพื่อความพ้นทุกข์ จะเป็นกิเลสตัณหาได้อย่างไร ถ้าเป็นกิเลสตัณหาใครจะพ้นทุกข์ไปได้
การต่อสู้กิเลสอย่างสุดเหวี่ยงนี้ล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องของธรรมทั้งน้ัน กิเลสมาหนักขนาดไหน กำลังของเราหมายถึงกำลังของด้านธรรมะ เรียกว่ามรรค ต้องเอาให้หนัก ไม่หนักไม่ทันกัน ไม่หนักก็แพ้กิเลส ต้องให้มีน้ำหนักกว่ากิเลส นี่เรียกว่าเป็นมรรค

อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา สงฺขารปจฺจยา วิญฺญาณํ จนกระทั่ง สมุทโย โหติ นี่คือธรรมชาติที่พาให้สัตว์เกิดสัตว์ตาย ท่องเทียวในวัฎสงสารไม่มีเวลาจบสิ้น คือเชื้ออันนี้แล นี้แหละกษัตริย์แห่งกิเลสทั้งหลาย จอมกษัตริย์ของกิเลสก็คือ อวิชชา แขนงของอวิชชาแต่ละแขนงๆ ก็แสดงออกมาเป็นความโลภ ความโกรธ ความหลง มาเป็นกิ่งใหญ่ๆ๓ กิ่งแล้วแตกแขนงออกไปเรื่อยๆ ไม่มีที่สิ้นสุดเลย จะทำลายสิ่งเหล่านี้ จะแก้ไขส่ิงเหล่านี้ได้ด้วยอำนาจของสติกับปัญญาเป็นสำคัญ มีศรัทธา ความเพียร เป็นเครืองหนุนหลังให้พากันจำเอาไว้อย่างถึงใจ

"ขอให้ยึดหลักใหญ่คือธรรม เฉพาะอย่างยิ่งจิตตภาวนานี้ให้ดี เราจะเห็นธรรมทั้งหลายของแปลกประหลาดอัศจรรย์ปรากฏขึ้นที่ใจของเรา ทั้งๆ ที่เรายังไม่ตายนี่แหละ ธรรมก็จะปรากฏขึ้นที่นี่ ทั้งๆ ที่ยังไม่ตาย ปรากฏสดๆ ร้อนๆ ที่ใจของนักภาวนานี่แหละ ไม่ใช่ว่าจะไปคอยเอาสวรรค์นิพพานท่าเดียวๆ อันนั้นเป็นความคาดหมายของเรา แต่ความรู้จริงจังแล้วจะรู้ขึ้นที่ใจ ไม่ว่าธรรมขั้นใด จะรู้ขึ้นที่ใจ หายสงสัยที่ใจ หลุดพ้นที่ใจนี้ทั้งนั้น


ทางเดินของอวิชชา ผลิตบริษัทบริวารออกมาทางตาทางจมูกทางลิ้นทางกาย ออกสู่รูป เสียง กลิ่น รส เครื่องสัมผัส กว้านผลรายได้เข้ามาสุ่ใจ
เพราะฉนั้น ปัญญาจึงต้องตามต้อนไปทุกแง่ทุกมุมทุกแห่งทุกหน ที่สิ่งเหล่านี้ธรรมชาติเหล่านี้ไปแทรกไปซ้อนอยู่ในสถานที่ใด ทำลายกันด้วยความรู้แจ้งเห็นจริง แล้วปล่อยวางเข้ามาๆ ความยึดม่ั่นถือมั่นหดตัวเข้ามาจนกระทั่งถึงธาตุถึงขันธ์ ซึ่งอวิชชามันแทรกมันซ้อนมันยึดมันถืออยู่ ความยึดถือนี้เป็นกิ่งก้านของอวิชชาน่ันละพาให้เป็นไป จนกระทั่งรู้่เท่าทันโดยลำดับลำดาก็ปล่อยเข้าไปๆ จนถึงตัวอวิชชา น่ันละตัวปัจจยาการแท้ จึงพังทลายกันแหลกไปหมด อวิชฺชายเตฺวา อเสสวิราคนิโรธา สงฺขารนิโรโธ อะไรๆ ก็ตาม พออวิชชาดับเท่่าน้ัน มันดับไปพร้อมๆกันหมด
ที่ท่านแสดงไว้ว่า อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา, สงฺขารปจฺจยา วิญฺญาณํ เราอย่าเข้าใจว่าอวิชชาทำงาน มันจะค่อยทำไปโดยลำดับลำดาอย่างน้ันนะ เหมือนกับเราหยดน้ำมันเชื้อเพลิงไว้ตรงนี้ดูซิ นี่จุดใหญ่ น่ั้่นเป็นจุดเล็กๆ รอบจุดใหญ่ของน้ำมันเชื้อเพลิงน้ัน พอจ่อเข้าไปนี่ พึ่บพร้อมกันหมดทีเดียวเลย แต่เบื้องต้น มันก็ไหม้น้ำมันที่จุดใหญ่ คือ อวิชชานี้ก่อน แต่ในขณะเดียวกันมันก็ไปพร้อมๆกัน
ท่านว่า อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา, สงฺขาราปจฺจยา วิญฺญาณํ, วิญฺญาณปจฺจยา นามรูปํ ไม่ใช่อวิชชานี้จะหนุนอันนี้แล้วไปหนุนอันน้ัน แล้วไปหนุนอันโน้นๆ แต่ความจริงแล้วมันพร้อมกันหมด มีอวิชชาเท่าน้ันหรือทั้งนั้นเป็นผู้หนุน ปัจจยาๆมันหนุน พออวิชชาดับดวงเดียว ทีนี้ก็ อวิชฺชายเตฺวว อเสสวิราคนิโรธา สงฺขารนิโรโธ คือ ดับพร้อมกันหมดไม่มีอะะไรเหลือเลย นิโรโธ โหติ นี่เป็นหลักธรรมชาติแห่งการปฎิบัติ


การเจริญภาวนาเป็นการบำรุง การระมัดระวังรักษากระแสจิตของตนที่จะคิดไปในแง่ต่างๆน้ันเรียกว่าการรักษา ปัญญาเป็นผู้ให้เหตุผลจนจิตมีความจำนนตามเหตุผลของปัญญาที่เป็นผู้นำหน้า ใจเมื่อมีสติปัญญาเป็นเครื่องควบคุมอยู่เสมอแล้ว อันตรายจะเกิดได้ยาก
คำว่า อันตราย หมายถึงอะไร เราอย่าหมายถึงรูป ถึงเสียง กลิ่น รส เครืองสัมผัสซึ่งเป็นของอยู่ภายนอกน้ันมากไปกว่าอันตรายคือสมุทัย ซึ่งเกิดขึ้นจากใจของเรานี้ โดยอาศัยการเคยได้เห็น ได้ยิน ดมกลิ่น ลิ้มรส ซึ่งเป็นอดีตารมณ์เข้ามาประมวลไว้ในจิต ประการหนึ่งเชื้อของจิตมันก็มีอยุ่แล้ว กิเลสที่เป็นเชื้อย่อมคอยผลักดันจิตใจออกนอกลู่นอกทางเสมอ ถ้าสติไม่มีจิตใจก็เสียได้ในตอนน้ัน
การภาวนาที่ไม่เป็นไปดังใจหวัง ก็เพราะความโลเล เพราะสติปัญญาไม่มี ปล่อยให้จิตคิดไปตามอำเภอใจ ด้วยอำนาจแห่งความผลักดันของอันตราย ได้แก่ สมุทัย คือ กิเลส กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา นี้เป็นตัวใหญ่ของกิเลส รากเหง้าเค้ามูลของกิเลสก็คือนี้ เมื่อกระจายออกไปก็มีจำนวนมาก เช่นเดียวกับต้นไม้เพียงต้นเดียวเท่าน้ัน รากฝอยมีมาก นอกจากน้ันยังมีรากแก้วที่ฝังลึกลงไปอีกด้วย กิ่งก้านสาขาดอกใบมีมากมาย นับกี่วันกี่คืนก็ไม่ครบถ้วนได้



การปฎิบัติธรรมเอาให้จริงให้จัง มรรคผลนิพพานรออยู่แล้วเวลานี้ รออยู่ในวงสัจธรรม มรรคผลนิพพานไม่นอกเหนือไปจากสัจธรรม สัจธรรมเบื้องต้น คือ ทุกข์ สมุทัย เป็นเครื่องปิดกั้นทางเดินเพื่อมรรคผลนิพพาน มรรคปฎิปทามีสัมมาทิฎฐิเป็นต้น สัมมาสมาธิเป็นที่สุด นี้คือเครื่องบุกเบิกทุกข์ สมุทัยเหล่านี้ออกเพื่อเดินได้สะดวกสบาย นิโรธคือความดับ คือส่ิงเหล่านี้ขาดไปๆ ทุกข์ขาดไป กิเลสขาดไปด้วยมรรค กิริยาที่ขาดไปเรียกว่านิโรธ เลยจากทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรคไปนั้นคืออะไร นั้นแลคือผู้บริสุทธิ์ อยู่ตรงนี้ไม่ได้อยู่ที่ไหน
อย่าไปคาดนะ คาดมรรคผลนิพพานอย่าไปคาด เสียเวลาเปล่าๆ ทำให้เกิดความสงสัยสนเท่ห์ ยิ่งเสียไปอีก เป็นเรื่องสมุทัยไปอีก
อย่าหนีจากสัจธรรม ทุกข์ก็ให้รู้ ให้พิจารณาให้เห็น ทุกข์เป็นเพียงเตือนเฉยๆ เพื่่อให้พิจารณาหาสาเหตุของทุกข์ มันมาจากไหน มี่เรามีของเราเป็นสำคัญ นั่นตัวอุปทาน ค้นลงไปๆ จนกระทั่งเห็นความจริงของกาย เห็นความจริงของทุกข์ มันปล่อยของมันเอง


ปัจฉิมโพธิกาล ทรงแสดงปัจฉิมเทศนา ในที่ชุมนุมพระอริยสาวก ณ พระราชอุทยานสาลวัน ของมัลลกษัตริย์ กรุงกุสินารา ในเวลาจวนจะปรินิพพานว่า

"หนฺททานิ อามนฺตยามิ โว ภิกฺขเว ปฎิเวทยามิ โว ภิกฺขเว ขยวยธมฺมา สงฺขารา อปฺปมาเทน สมฺปาเท"

"เราบอกท่านทั้งหลายว่า จงเป็นผู้ไม่ประมาท พิจารณาสังขารที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมไป เมื่อท่านทั้งหลายพิจารณาเช่นน้ันจักเป็นผู้แทงตลอด"

พระองค์ตรัสธรรมเทศนาเพียงเท่านี้ ก็ปิดพระโอษฐ์ มิได้ตรัสอะไรต่อไปอีกเลย จึงเรียกว่าปัจฉิมเทศนา

อธิบายความต่อไปว่า สังขารมันเกิดขึ้นที่ไหน อะไรเป็นสังขาร สังขารมันเกิดขึ้นที่จิตของเราเอง เป็นอาการของจิตพาให้เกิดขึ้นซึ่งสมมุติทั้งหลาย สังขารนี้แลเป็นตัวการสมมุติบัญญัติสิ่งทั้งหลายในโลก ความจริงของในโลก ทั่งหลายหรือธรรมธาตุทั้งหลาย เขามีเขาอยู่อย่างนั้น แผ่นดิน ต้นไม้ ภูเขา ฟ้า แดด เขาไม่ได้ว่าเขาเป็นอะไรเลย ตลอดจนตนตัวมนุษย์ก็เป็นธาตุของโลก เขาไมได้ว่าเขาเป็นน้่นเป็นนี่เลย เจ้าสังขารตัวการนี้เข้าไปปรุงแต่งว่า เขาเป็นนั่้น เขาเป็นนี้ จึงหลงกันว่าเป็นของจริง ถือเอาว่าเป็นเราเป็นของๆเราเสียสิ้น จึงมี ราคะ โทสะ โมหะเกิดขึ้น ทำจิตด้ังเดิมให้หลงตามไป เกิด แก่ เจ็บ ตาย เวียนว่ายไปไม่มีที่สิ้นสุดเป็นอเนกภพ อเนกชาติ เพราะเจ้าสังขารนั่นแลเป็นตัวเหตุ จึงทรงสอนให้พิจารณาสังขารว่า

"สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา" ให้ปรีชาญาณชัดแจ้ง เกิดจากผลแห่งการเจริญปฎิภาค เป็นส่วนเบื้องต้น จนทำจิตให้เข้าภวังค์ เมื่อกระแสแห่งภวังค์หายไป มีญาณเกิดขึ้นว่า

"นั่นเป็นอย่างน้ัน เป็นสภาพไม่เที่ยง เป็นทุกข์" เกิดขึ้นในจิตจริงๆ จนชำนาญเห็นจริงแจ้งประจักษ์ ก็รู้เท่าสังขารได้ สังขารก็จะมาปรุงแต่งให้จิตกำเริบอีกไม่ได้ ได้ในคาถาว่า อกุปฺปู สพฺพธมฺเมสุ เฌยฺยธมฺมา ปเวสฺสนฺโต เมื่อสังขารปรุงแต่งจิตไม่ได้แล้ว ก็ไม่กำเริบรู้เท่าทันธรรมทั้งปวง สนฺโต ก็เป็นผู้สงบระงับ ถึงซึ่่งวิมุตติธรรม ด้วยประการฉะนี้

ปัจฉิมเทศนานี้เป็นคำสำคัญแท้ ทำให้ผู้พิจารณารู้แจ้งถึงที่สุด พระองค์จึงได้ปิดพระโอษฐ์แต่เพียงนี้




เอาบุญมาฝากจะถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ สักการะพระธาตุ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาทสร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ ให้อาหารสัตว์เป็นทานเป็นประจำ กรวดน้ำอุทิศบุญ อนุโมทนากับพ่อแม่ญาติพี่น้องที่รักษาศีล ฟังธรรม ให้ทาน อนุโมทนากับเพื่อนๆที่รักษาศีล ศึกษาการรักษาโรค ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ถวายสังฆทานมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ปิดทองพระ รักษาอาการป่วยของผู้อื่นกับผู้ร่วมงาน และที่ผ่านมาได้รักษาอาการป่วยของบิดามารดา ปล่อยชีวิตสัตว์มาโดยตลอด ถวายยาแก่ภิกษุ ขัดองค์พระ ที่ผ่านมาได้จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย ให้ความรู้สมุนไพรเพื่อสุขภาพเป็นวิทยาทาน ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ทำบุญหลายอย่างมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ถวายสังฆทานและทำบุญสร้างอาคารผู้ป่วยและกฐินกับเพื่อนๆและให้อาหารเป็นทานแก่สรรพสัตว์กับเพื่อนๆและเพื่อนคนหนึ่งและบริวารของเพื่อนและครอบครัวของเพื่อนได้มีจิตเมตตาให้ทานและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือผู้อื่นอยู่ตลอดและเพื่อนได้เคยสวดมนต์เย็นกับคุณแม่และที่ผ่านมาได้ทำบุญสักการะพระธาตุทำบุญปิดทองชำระหนี้สงฆ์และไหว้พระและทำบุญตามกล่องรับบริจาคตามวัดต่างๆกับเพื่อนและตั้งใจว่าจะสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอให้อนุโมทนาบุญด้วย

ขอเชิญถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน สักการะพระธาตุ ฟังธรรม สวดมนต์ ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาท
สร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย กรวดน้ำอุทิศบุญ ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สนทนาธรรม
ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น รักษาอาการป่วยของผู้อื่น รักษาอาการป่วยของบิดามารดา จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย
ปิดทอง สักการะพระธาตุ กราบอดีตสังขารเจ้าอาวาสที่ไม่เน่าเปื่อย ที่วัดแจ้ง อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ปิดทองพระ ปล่อยชีวิตสัตว์ถวายยาแก่ภิกษุ ไหว้พระตามวัดต่างๆ ขัดองค์พระ ให้ความรู้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพเป็นทาน
และสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอเชิญร่วมบุญกุศลร่วมกันนะ



ขอเชิญร่วมสร้างพระพุทธเมตตาประชาไทยไตรโลกนาถคันธารราฐอนุสรณ์
การก่อสร้างพระพุทธเมตตาประชาไทยไตรโลกนาถคันธารราฐอนุสรณ์ เป็นพระพุทธรูปปางขอฝน (ปางคันธารราฐ) สร้างด้วยโลหะสัมฤทธิ์ ความสูง ๓๒ เมตร ยืนอยู่บนฐานสูงประมาณ ๘ เมตร ตั้งอยู่ลานประทักษิณ ซึ่งเสมือนเขตพุทธาวาส ใช้ระยะเวลาดำเนินการประมาณ ๔ ปี แล้วเสร็จปี ๒๕๕๗ บริเวณโดยรอบประกอบด้วย หอเกียรติประวัติสมเด็จพระมหาธีราจารย์ อาคารประกอบต่าง ๆ และ การปรับปรุงภูมิทัศน์โดยรอบให้เปรียบเสมือน "พุทธอุทยาน" ที่มีลานปฏิบัติธรรม รวมถึงจัดสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานที่จำเป็น บนพื้นที่ประมาณ ๓๔๐ ไร่ามารถร่วมบริจาคได้ที่
•ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาเทเวศร์ บัญชีออมทรัพย์ ชื่อ “วัดชนะสงครามเพื่อโครงการจัดสร้างพระพุทธเมตตาประชาไทย” เลขที่บัญชี 020-269664-9


ขอเชิญร่วมบุญซื้อที่ดินปลูกป่าสร้างวัดป่าโนนเมือง
บ้านนาเมือง เสลภูมิ ร้อยเอ็ดร่วมบุญได้ที่ธนาคาร ไทยพาณิชย์ สาขาเสลภูมิ ออมทรัพย์เลขที่ 546-255-917-4 ชื่อบัญชี "พระเฉลิมชัย อรุโณ"หรือธนาคารกรุงไทยจำกัด สาขาแมคโครจริญ ออมทรัพย์เลขที่ 864-0-190690


บอกบุญสร้างผอบทองคำ บรรจุพระบรมธาตุ
ร่วมกันสร้างผอบทองคำแท้สลักดุนลายน้ำหนัก 2 บาทเพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประดิษฐานภายในองค์พระธาตุเจดีย์ชเวดากองจำลอง ที่สร้างบนยอดเขา อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรีซึ่งบัดนี้ สามารถรวบรวมปัจจัยได้ส่วนหนึ่ง ซึ่งท่านผู้สนใจร่วมบุญโดยโอนมาได้ที่ บัญชีออมทรัพย์ ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาสภากาชาดไทย เลขที่ 045-507-7092 ชื่อบัญชี กนก พฤฒิวทัญญู หรือสามารถโทรสอบถามได้ที่ นายแพทย์กนก พฤฒิวทัญญู โทร. 086-889-7332


ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพสร้างศาลาการเปรียญวัดป่าโนนนิเวศ อ.เมือง อุดรธานี


เรียนเชิญผู้มีจิตศรัทธาร่วมทำบุญเททองคำหล่อยอดบัวตูม 9 ชั้น พระมหาเจดีย์มงคล พระบรมสารีริกธาตุ ส่วนพระจักษุธาตุ
ในวันพฤหัสบดีที่ 16 มกราคม 2557 เวลา 09.00 น. ทองคำที่ใช้ทั้งหมด 483 บาท ยอดทั้งแปดยอดชั้น 2 ชั้น 3 ยอดทองคำหนัก 48 บาทยอดประธานยอดที่เก้า ใช้ทองคำหนัก 99 บาท1.ชื่อบัญชี กองทุนสร้างมหาเจดีย์มงคลพระบรมสารีริกธาตุ(ส่วนพระจักษุธาตุ) วัดป่าศรีคุณาราม ธนาคารกรุงเทพ สาขากุมภวาปี เลขที่บัญชี 369-4-23919-9


ร่วมทำบุญบูรณะพระเจดีย์ หลวงปู่พรหม จิรปุญโญมาทำบุญด้วยตนเองที่ วัดประสิทธิธรรม ต.ดงเย็น อ.บ้านดุง จ.อุดรธานี


ขอเชิญร่วมบุญหอสวดมนต์และกุฏิสงฆ์ ณ วัดวัง อ.นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา ถวายเป็นพุทธบูชา
สามารถร่วมทำบุญได้ที่ ชื่อบัญชี วัดวัง เลขที่ 265-0-15821-2 ธนาคารกรุงไทย สาขา ตลาดหัวรอ โทร. 08-1994-7714


ขอเชิญร่วมบุญ"สุภัททะพุทโธเจดีย์หิน" เริ่มก่อสร้าง ปี 2552 สร้างขึ้นเพื่อ
เป็น เจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันธาตุ เพื่อระลึกถึงพระรัตนตรัยและ เป็น พระอุโบสถ เพื่อประกอบสังฆกรรม
ร่วมบุญได้ที่ธ.กรุงไทย สาขาอุบลราชธานี บ/ช.สะสมทรัพย์ ชื่อ "วัดสุภัททมงคลเลขที่ 313-0-59007-2


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
แสดงโพสจาก:  เรียงตาม  
โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และ บุคคลทั่วไป 124 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ไปที่:  
cron
ขับเคลื่อนโดย phpBB® Forum Software © phpBB Group
Thai language by phpBBThailand.com
phpBB SEO