พระพุทธพจน์ - พุทธภาษิต พระธรรมเทศนา และ ธรรมะจากครูบาอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
พุธ 29 ม.ค. 2014 9:53 am
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามท่านพระอุปนันท์ว่า ดูก่อนอุปนันท์
ข่าวว่า เธอรับนิมนต์เข้าแล้ว มีภัตตาหารอยู่แล้ว ถึงความเป็นผู้เที่ยวไปใน
ตระกูลทั้งหลาย ก่อนเวลาฉัน จริงหรือ.
ท่านพระอุปนันท์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ เธอรับ
นิมนต์เขาแล้ว มีภัตตาหารอยู่แล้ว ไฉนจึงได้ถึงความเป็นผู้เที่ยวไปในตระกูล
ทั้งหลาย ก่อนฉันเล่า การกระทำของเธอนั่นไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของ
ชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว . . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้
ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๙๕. ๖. ก. อนึ่ง ภิกษุใด รับนิมนต์แล้ว มีภัตอยู่แล้ว ถึง
ความเป็นผู้เที่ยวไปในตระกูลทั้งหลายก่อนฉัน เป็นปาจิตตีย์.
ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุ
ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร จบ
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร (ต่อ)
[๕๔๘] ก็โดยสมัยนั้นแล ตระกูลอุปัฏฐากของท่านพระอุปนันท-
ศากยบุตรได้ส่งของเคี้ยวไปถวายแก่สงฆ์ สั่งว่า ต้องมอบให้พระคุณเจ้าอุปนันท์
ถวายแก่สงฆ์ แต่เวลานั้นท่านพระอุปนันทศากยบุตรกำลังเข้าไปบิณฑบาตยัง
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 602
หมู่บ้าน เมื่อชาวบ้านเหล่านั้นไปถึงอารามแล้วถามภิกษุทั้งหลายว่า พระคุณเจ้า
อุปนันท์ไปไหน เจ้าข้า.
ภิกษุทั้งหลายตอบว่า ท่านพระอุปนันทศากยบุตรนั้น เข้าไปบิณฑบาต
ยังหมู่บ้านแล้วจ้ะ.
ชาวบ้านสั่งว่า ท่านขอรับ ของเคี้ยวนี้ต้องมอบให้พระคุณเจ้าอุปนันท์
ถวายแก่สงฆ์.
ภิกษุทั้งหลายได้กราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ รับสั่ง
ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้นพวกเธอจงรับประเคนแล้วเก็บไว้จนกว่า
อุปนันท์จะกลับมา.
ส่วนท่านพระอุปนันทศากยบุตรได้คิดว่า การถึงความเป็นผู้เที่ยวไป
ในตระกูลทั้งหลายก่อนเวลาฉัน พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามแล้ว จึงเข้าไปยัง
ตระกูลทั้งหลายหลังเวลาฉันแล้ว บ่ายจึงกลับ ของเคี้ยวได้ถูกส่งคืนกลับไป.
บรรดาภิกษุที่มักน้อย. . . ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉน
ท่านพระอุปนันทศากยบุตร จึงได้ถึงความเป็นผู้เที่ยวไป ในตระกูลทั้งหลาย
หลังเวลาฉันเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า . . .
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามท่านพระอุปนันท์ว่า ดูก่อนอุปนันท์
ข่าวว่า เธอถึงความเป็นผู้เที่ยวไปในตระกูลทั้งหลายหลังเวลาฉัน จริงหรือ.
ท่านพระอุปนันท์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรง ติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ ไฉนเธอจึง
ได้ถึงความเป็นผู้เที่ยวไปในตระกูลทั้งหลายหลังเวลาฉันเล่า การกระทำของ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 603
เธอนั่นไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความ
เลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว . . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้
ว่าดังนี้ :-
พระอนุบัญญัติ ๑
๙๕. ๖. ข. อนึ่ง ภิกษุใด รับนิมนต์แล้ว มีภัตอยู่แล้ว
ถึงความเป็นผู้เที่ยวไปในตระกูลทั้งหลาย ก่อนฉันก็ดี ทีหลังฉันก็ดี
เป็นปาจิตตีย์.
ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุ
ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร จบ
ทรงอนุญาตให้เข้าสู่ตระกูลในคราวถวายจีวร
[๕๔๙] โดยสมัยต่อมา ถึงคราวถวายจีวรกัน ภิกษุทั้งหลายพากัน
รังเกียจ ไม่เข้าไปสู่ตระกูล จีวรจึงเกิดขึ้นเพียงเล็กน้อย ภิกษุทั้งหลายได้
กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ใน
คราวที่ถวายจีวร เราอนุญาตให้เข้าไปสู่ตระกูลได้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้
ว่าดังนี้ :-
พระอนุบัญญัติ ๒
๙๕. ๖. ค. อนึ่ง ภิกษุใด รับนิมนต์แล้ว มีภัตอยู่แล้ว
ถึงความเป็นผู้เที่ยวไปในตระกูลทั้งหลาย ก่อนฉันก็ดี ทีหลังฉันก็ดี
เว้นไว้แต่สมัย เป็นปาจิตตีย์ นี้สมัยในเรื่องนั้น คือ คราวที่ถวายจีวร
นี้สมัยในเรื่องนั้น.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 604
ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุ
ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.
เรื่องทรงอนุญาตให้เข้าสู่ตระกูลในคราวถวายจีวร จบ
ทรงอนุญาตให้เข้าสู่ตระกูลในคราวทำจีวร
[๕๕๐] โดยสมัยต่อมาอีก ภิกษุทั้งหลายทำจีวรกันอยู่ ต้องการเข็ม
บ้าง ด้ายบ้าง มีดบ้าง ภิกษุทั้งหลายพากันรังเกียจไม่เข้าไปสู่ตระกูล จึง
กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ใน
คราวที่ทำจีวร เราอนุญาตให้เข้าไปสู่ตระกูลได้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ ขึ้นแสดงอย่างนี้
ว่าดังนี้ :-
พระอนุบัญญัติ ๓
๙๕. ๖. ฆ. อนึ่ง ภิกษุใด รับนิมนต์แล้ว มีภัตอยู่แล้ว
ถึงความเป็นผู้เที่ยวไปในตระกูลทั้งหลาย ก่อนฉันก็ดี ทีหลังฉันก็ดี
เว้นไว้แต่สมัย เป็นปาจิตตีย์ นี้สมัยในเรื่องนั้น คือ คราวที่ถวาย
จีวร คราวที่ทำจีวร นี้สมัยในเรื่องนั้น.
ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุ
ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.
เรื่องทรงอนุญาตให้เข้าสู่ตระกูลในคราวทำจีวร จบ
ทรงอนุญาตให้บอกลาก่อนเข้าสู่ตระกูล
[๕๕๑] โดยสมัยต่อจากนั้นมา ภิกษุทั้งหลายอาพาธ และมีความ
ต้องการเภสัช ภิกษุทั้งหลายพากันรังเกียจไม่เข้าไปสู่ตระกูล จึงกราบทูลเรื่อง
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 605
นั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้บอกลา
ภิกษุซึ่งมีอยู่แล้วเข้าไปสู่ตระกูลได้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้
ว่าดังนี้:-
พระอนุบัญญัติ ๔
๙๕. ๖. ง. อนึ่ง ภิกษุใด รับนิมนต์แล้ว มีภัตอยู่แล้วไม่
บอกลาภิกษุซึ่งมีอยู่ ถึงความเป็นผู้เที่ยวไปในตระกูลทั้งหลาย ก่อน
ฉันก็ดี ทีหลังฉันก็ดี เว้นไว้แต่สมัย เป็นปาจิตตีย์ นี้สมัยในเรื่องนั้น
คือ คราวที่ถวายจีวร คราวที่ทำจีวร นี้สมัยในเรื่องนั้น.
เรื่องทรงอนุญาตให้บอกลาก่อนเข้าสู่ตระกูล จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๕๕๒] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ. . .นี้
ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า รับนิมนต์แล้ว คือ รับนิมนต์ฉันโภชนะ ๕ อย่างใด
อย่างหนึ่ง.
ที่ชื่อว่า มีภัตอยู่แล้ว คือ มีอาหารที่รับนิมนต์เขาไว้แล้ว.
ภิกษุที่ชื่อว่า ซึ่งมีอยู่ คือ อาจที่จะบอกลาก่อนเข้าไป.
ภิกษุที่ชื่อว่า ซึ่งไม่มีอยู่ คือ ไม่อาจที่จะบอกลาก่อนเข้าไป
ที่ชื่อว่า ก่อนฉัน คือ ภิกษุยังไม่ได้ฉันอาหารที่รับนิมนต์เขาไว้.
ที่ชื่อว่า ทีหลังฉัน คือ ภิกษุฉันอาหารที่รับนิมนต์เขาไว้แล้วโดย
ที่สุด แม้ด้วยปลายหญ้าคา.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 606
ที่ชื่อว่า ตระกูล ได้แก่ตระกูล ๔ คือ ตระกูลกษัตริย์ ตระกูล
พราหมณ์ ตระกูลแพศย์ ตระกูลศทร.
คำว่า ถึงความเป็นผู้เที่ยวไปในตระกูลทั้งหลาย นั้น ความว่า
ภิกษุก้าวลงสู่อุปจารเรือนของผู้อื่น ต้องอาบัติทุกกฏ ก้าวเท้าที่ ๑ ล่วงธรณี-
ประตู ต้องอาบัติทุกกฏ ก้าวเท้าที่ ๒ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
บทว่า เว้นไว้แต่สมัย คือ ยกเว้นแต่มีสมัย.
ที่ชื่อว่า คราวที่ถวายจีวร คือ เมื่อยังไม่ได้กรานกฐิน ๑ เดือน
ท้ายฤดูฝน เมื่อกรานกฐินแล้ว ๕ เดือน.
ที่ชื่อว่า คราวที่ทำจีวร คือ เมื่อคราวกำลังทำจีวรกันอยู่.
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๕๕๓] รับนิมนต์แล้ว ภิกษุสำคัญว่ารับนิมนต์แล้ว ไม่บอกลาภิกษุ
ซึ่งมีอยู่ ถึงความเป็นผู้เที่ยวไปในตระกูลทั้งหลาย ก่อนฉันก็ดี ทีหลังฉันก็ดี
เว้นไว้แต่สมัย ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
รับนิมนต์แล้ว ภิกษุสงสัย ไม่บอกภิกษุซึ่งมีอยู่ ถึงความเป็นผู้เที่ยว
ไปในตระกูลทั้งหลาย ก่อนฉันก็ดี เว้นไว้แต่สมัย ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
รับนิมนต์แล้ว ภิกษุสำคัญว่ามิได้รับนิมนต์ ไม่บอกลาภิกษุซึ่งมีอยู่
ถึงความเป็นผู้เที่ยวไปในตระกูลทั้งหลาย ก่อนฉันก็ดี ทีหลังฉันก็ดี เว้นไว้แต่
สมัย ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์.
ทุกะทุกกฏ
ไม่ได้รับนิมนต์ ภิกษุสำคัญว่ารับนิมนต์แล้ว .. . ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ได้รับนิมนต์ ภิกษุสงสัย...ต้องอาบัติทุกกฏ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 607
ไม่ต้องอาบัติ
ไม่ได้รับนิมนต์ ภิกษุสำคัญว่าไม่ได้รับนิมนต์...ไม่ต้องอาบัติ.
อนาปัตติวาร
[๕๕๔] ภิกษุฉันในสมัย ๑ ภิกษุบอกลาภิกษุซึ่งมีอยู่แล้วจึงเข้าไป ๑
ไม่ได้บอกลาภิกษุซึ่งไม่มีอยู่ แล้วเข้าไป ๑ เดินทางผ่านเรือนผู้อื่น ๑ เดิน
ทางผ่านอุปจารเรือน ๑ ไปอารามอื่น ๑ ไปสู่สำนักภิกษุณี ๑ ไปสู่สำนัก
เดียรถีย์ ๑ ไปโรงฉัน ๑ ไปเรือนที่เขานิมนต์ฉัน ๑ ไปเพราะมีอันตราย ๑
ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
อเจลกวรรค สิกขาบทที่ ๖ จบ
จาริตสิกขาบทที่ ๖
ในสิกขาบทที่ ๖ มีวินิจฉัยดังนี้ :-
[แก้อรรถบางปาฐะปฐมบัญญัติและอนุบัญญัติ]
ในคำว่า เทถาวุโส ภตฺต นี้ มีวินิจฉัยว่า ได้ยินว่า ภัตนั้น เป็น
ของที่พวกชาวบ้านน้อมนำมาแล้ว; เพราะเหตุนั้น พวกภิกษุจึงได้กล่าวอย่าง
นั้น . แต่ในภัตตาหาร ที่พวกชาวบ้านมิได้น้อมนำมา ภิกษุย่อมไม่ได้เพื่อที่จะ
กล่าวอย่างนั้น (กล่าวว่า ให้ภัตตาหารเถิด อาวุโส) เป็นปยุตตวาจา (การ
ออกปากขอของ).
ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้นพวก
เธอจงรับประเคนแล้วเก็บไว้ ดังนี้ เพื่อต้องการรักษาศรัทธาของตระกูล. ก็
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 608
ถ้าว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพึงตรัสว่า พวกเธอแบ่งกันฉันเถิด, พวกชาว-
บ้านจะพึงคลายความเลื่อมใส.
บทว่า อุสฺสาทยิตฺถ แปลว่า ได้ถูกนำกลับคืนไป. มีคำอธิบายว่า
พวกชาวบ้านได้นำขาทนียะนั้นกลับไปยังเรือนอย่างเดิม.
ในคำว่า สนฺต ภีกฺขุ นี้ มีวินิจฉัยดังนี้:- ภิกษุชื่อว่ามีอยู่ด้วย
เหตุมีประมาณเท่าไร ? ชื่อว่า ไม่มี ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไร ? คือ ภิกษุ
ผู้อยู่ในสถานแห่งใดภายในวิหาร เกิดมีความคิดว่า จะเข้าไปเยี่ยมตระกูล,
จำเติมแต่นั้น เห็นภิกษุใดที่ข้าง ๆ หรือตรงหน้า หรือภิกษุใดที่ตนอาจจะบอก
ด้วยคำพูดตามปกติได้, ภิกษุนี้ชื่อว่า มีอยู่. แต่ไม่มีกิจที่จะต้องเที่ยวไปบอก
ลาทางโน้นและทางนี้. จริงอยู่ ภิกษุที่ตนต้องเที่ยวหาบอกลาอย่างนี้ ชื่อว่า
ไม่มีนั่นเอง. อีกนัยหนึ่ง ภิกษุไปด้วยทำในใจว่า เราพบภิกษุภายในอุปจาร-
สีมาแล้วจักบอกลา พึงบอกลาภิกษุที่ตนเห็นภายในอุปจารสีมานั้น ถ้าไม่พบ
ภิกษุ ชื่อว่า เป็นผู้เข้าไปไม่บอกลาภิกษุที่ไม่มี.
บทว่า อนฺตราราม ได้แก่ ไปสู่วิหารที่มีอยู่ในภายในบ้าน.
บทว่า ภตฺติยฆร ได้แก่ เรือนที่เขานิมนต์ หรือเรือนของพวก
ชาวบ้านผู้ถวายสลากภัตเป็นต้น.
บทว่า อาปทาสุ มีความว่า เมื่อมีอันตรายแห่งชีวิตและพรหมจรรย์
จะไปก็ควร. บทที่เหลือในสิกขาบทนี้ ตื้นทั้งนั้น .
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานเหมือนกฐินสิกขาบท เกิดขึ้นทางกายกับวาจา
๑ ทางกายวาจากับจิต ๑ เป็นทั้งกิริยาทั้งอกิริยา เป็นโนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ
ปันณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ดังนี้แล
จาริตสิกขาบทที่ ๖ จบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 609
อเจลกวรรค สิกขาบทที่ ๗
เรื่องมหานามศากยะ
[๕๕๕] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับ อยู่ ณ
นิโครธาราม เขตพระนครกบิลพัสดุ์ สักกชนบท ครั้งนั้น มหานามศากยะมี
เภสัชมากมาย จึงเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วน
ข้างหนึ่ง ได้กราบทูลว่า ข้าพระพุทธเจ้าประสงค์จะปวารณาต่อสงฆ์ด้วยปัจจัย
เภสัชตลอด ๔ เดือน พระพุทธเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดี ๆ มหานาม ถ้าเช่นนั้น เธอจงปวารณา
ต่อสงฆ์ด้วยปัจจัยเภสัชตลอด ๘ เดือนเถิด.
ภิกษุทั้งหลายรังเกียจไม่รับปวารณา ได้กราบทูลเหตุนั้นแด่พระผู้มี
พระภาคเจ้า ๆ ทรงอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ยินดีการ
ปวารณาด้วยปัจจัย ๔ ตลอด ๔ เดือน.
ก็สมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายขอปัจจัยเภสัชต่อมหานามศากยะเพียงเล็ก
น้อยเท่านั้น ปัจจัยเภสัชของมหานามศากยะ จึงยังคงมากมายอยู่ตามเดิมนั่น
แหละ.
แม้ครั้งที่สอง มหานามศากยะก็เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคม
แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้กราบทูลว่า ข้าพระพุทธเจ้าประสงค์จะ
ปวารณาต่อสงฆ์ด้วยปัจจัยเภสัชต่ออีก ๔ เดือน พระพุทธเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดี ๆ มหานาม ถ้าเช่นนั้น เธอจงปวารณา
ต่อสงฆ์ด้วยปัจจัยเภสัชต่ออีก ๔ เดือนเถิด.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 610
ภิกษุทั้งหลายรังเกียจไม่รับปวารณา ได้กราบทูลเหตุนั้นแด่พระผู้มี-
พระภาคเจ้า ๆ ทรงอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ยินดีการ
ปวารณาต่ออีกได้.
ก็สมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายขอปัจจัยเภสัชต่อมหานามศากยะเพียงเล็ก
น้อยเท่านั้น ปัจจัยเภสัชของมหานามศากยะจึงยังคงมากมายอยู่ตามเดิมนั่นแหละ
แม้ครั้งที่สาม มหานามศากยะก็เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคม
แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้กราบทูลว่า ข้าพระพุทธเจ้าประสงค์จะ
ปวารณาต่อสงฆ์ด้วยปัจจัยเภสัชตลอดชีวิต พระพุทธเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดี ๆ มหานาม ถ้าเช่นนั้น เธอจงปวารณา
ต่อสงฆ์ด้วยปัจจัยเภสัชตลอดชีวิตเถิด
ภิกษุทั้งหลายรังเกียจไม่รับปวารณา ได้กราบทูลเหตุนั้นแด่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า ๆ ทรงอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ยินดี แม้ซึ่งการ
ปวารณาเป็นนิตย์.
[๕๕๖] ครั้นสมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์นุ่งผ้าไม่เรียบร้อย ไม่สมบูรณ์
ด้วยมรรยาท ถูกมหานามศากยะกล่าวตำหนิว่า ทำไมท่านทั้งหลายจึงนุ่งห่มผ้า
ไม่เรียบร้อย ไม่สมบูรณ์ด้วยมรรยาท ธรรมเนียมบรรพชิตต้องนุ่งห่มผ้าให้
เรียบร้อย ต้องสมบูรณ์ด้วยมรรยาท มิใช่หรือ พระฉัพพัคคีย์ผูกใจเจ็บใน
มหานามศากยะ ครั้นแล้วได้ปรึกษากันว่า ด้วยอุบายวิธีไหนหนอ เราจึงจะ
ทำมหานามศากยะให้ได้รับความอัปยศ แล้วปรึกษากันต่อไปว่า อาวุโสทั้งหลาย
มหานามศากยะได้ปวารณาไว้ต่อสงฆ์ด้วยปัจจัยเภสัช พวกเราพากันไปขอเนยใส
ต่อมหานามศากยะเถิด แล้วเข้าไปมหานามศากยะกล่าวคำนี้ว่า อาตมภาพทั้ง-
หลายต้องการเนยใส ๑ ทะนาน.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 611
มหานามศากยะขอร้องว่า วันนี้ขอพระคุณเจ้าได้โปรดคอยก่อน คน
ทั้งหลายยังไปคอกนำเนยใสมา พระคุณเจ้าทั้งหลายจักได้รับทันกาล.
แม้ครั้งที่สอง . . .
แม้ครั้งที่สาม พระฉัพพัคคีย์ก็ได้กล่าวว่า อาตมภาพทั้งหลายต้องการ
เนยใส ๑ ทะนาน
มหานามศากยะรับสั่งว่า วันนี้ขอพระคุณเจ้าทั้งหลาย ได้โปรดรอก่อน
คนทั้งหลายยังไปคอกนำเนยใสมา พระคุณเจ้าจักได้รับทันกาล พระฉัพพัคคีย์
ต่อว่า จะมีประโยชน์อะไรด้วยเนยใสที่ท่านไม่ประสงค์จะถวาย แต่ได้ปวารณา
ไว้ เพราะท่านปวารณาไว้แล้วไม่ถวาย.
จึงมหานามศากยะ เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ก็เมื่อฉันขอร้อง
พระคุณเจ้าว่า วันนี้ ขอพระคุณเจ้าทั้งหลายได้โปรดคอยก่อน ดังนี้ ไฉน
พระคุณเจ้าจึงรอไม่ได้เล่า.
ภิกษุทั้งหลาย ได้ยินมหานามศากยะ เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาอยู่
บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย.. .ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า พระฉัพพัคคีย์อัน
มหานามศากยะ ขอร้องว่า วันนี้ ขอพระคุณเจ้าทั้งหลายได้โปรดคอยอยู่ก่อน
ดังนี้ ไฉนจึงคอยไม่ได้เล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า .. .
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่า พวกเธออันมหานามศากยะพูดขอร้องว่า วันนี้ขอพระคุณเจ้าทั้งหลาย
ได้โปรดคอยก่อน ดังนี้ แล้วไม่คอย จริงหรือ.
พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 612
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย พวกเธอ
อันมหานามศากยะพูดขอร้องเช่นนั้นแล้ว ไฉนจึงคอยอยู่ไม่ได้เล่า การกระทำ
ของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อ
ความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว . . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่า
ดังนี้ :-
พระบัญญัติ
๙๖. ๗. ภิกษุมิใช่ผู้อาพาธ พึงยินดีปวารณาด้วยปัจจัยเพียงสี่
เดือน เว้นไว้แต่ปวารณาอีก เว้นไว้แต่ปวารณาเป็นนิตย์ ถ้าเธอยิน
ดี ยิ่งกว่านั้น เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องมหานามศากยะ จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๕๕๗] คำว่า ภิกษุมิใช่ผู้อาพาธ พึงยินดีปวารณาด้วยปัจจัย
สี่เดือน นั้น ความว่าพึงยินดีปวารณาเฉพาะปัจจัยของภิกษุไข้แม้เขาปวารณา
อีกก็พึงยินดีว่า เราจักขอชั่วเวลาที่ยังอาพาธอยู่ แม้เขาปวารณาเป็นนิตย์ ก็
พึงยินดีว่า เราจักขอชั่วเวลาที่ยังอาพาธอยู่.
[๕๕๘] บทว่า ถ้าเธอยินดียิ่งกว่านั้น ความว่า การปวารณา
กำหนดเภสัชแต่ไม่กำหนดกาลก็มี กำหนดกาลแต่ไม่กำหนดเภสัชก็มี กำหนด
ทั้งเภสัชและกาลก็มี ไม่กำหนดเภสัชไม่กำหนดกาลก็มี
ที่ชื่อว่า กำหนดเภสัช คือ เขากำหนดเภสัชไว้ว่า ข้าพเจ้าขอ
ปวารณาด้วยเภสัชประมาณเท่านี้ .
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 613
ที่ชื่อว่า กำหนดกาล คือ เขากำหนดกาลไว้ว่า ข้าพเจ้าขอปวารณา
ในระยะกาลเท่านี้
ที่ชื่อว่า กำหนดทั้งเภสัชและกาล นั้น คือ เขากำหนดเภสัช และ
กาลไว้ว่า ข้าพเจ้าขอปวารณาด้วยเภสัชมีประมาณเท่านี้ ในระยะกาลเพียงเท่านี้
ที่ชื่อว่า ไม่กำหนดเภสัชไม่กำหนดกาล นั้น คือ เขาไม่ได้
กำหนดเภสัชและกาลไว้ว่า ข้าพเจ้าขอปวารณาด้วยเภสัชมีประมาณเท่านี้ ใน
ระยะกาลเพียงเท่านี้.
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๕๕๙] ในการกำหนดเภสัช ภิกษุขอเภสัชอย่างอื่นนอกจากเภสัชที่
เขาปวารณา ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ในการกำหนดกาล ภิกษุขอในกาลอื่นนอกจากกาลที่เขาปวารณา ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์
ในการกำหนดทั้งเภสัชกำหนดทั้งกาล ภิกษุขอเภสัชอย่างอื่นนอกจาก
เภสัชที่เขาปวารณา และในกาลอื่นนอกจากกาลที่เขาปวารณา ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์.
ไม่ต้องอาบัติ
ในการไม่กำหนดเภสัช ไม่กำหนดกาละ... ไม่ต้องอาบัติ.
ปัญจกปาจิตตีย์
[๕๖๐] ในเมื่อต้องการใช้ของที่มิใช่เภสัช ภิกษุขอเภสัช ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 614
ในเมื่อต้องการใช้เภสัชอย่างอื่น ขอเภสัชอีกอย่าง ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ยิ่งกว่านั้น ภิกษุสำคัญว่ายิ่งกว่านั้น ขอเภสัช ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ยิ่งกว่านั้น ภิกษุยังแคลงอยู่ ขอเภสัช ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ยิ่งกว่านั้น ภิกษุสำคัญว่าไม่ยิ่งกว่านั้น ขอเภสัช ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ทุกะทุกกฏ
ไม่ยิ่งกว่านั้น ภิกษุสำคัญว่ายิ่งกว่านั้น.. . ต้องอาบัติทุกกฏ.
ไม่ต้องอาบัติ
ไม่ยิ่งกว่านั้น ภิกษุสำคัญว่าไม่ยิ่งกว่านั้น... ไม่ต้องอาบัติ.
อนาปัตติวาร
[๕๖๑] ภิกษุผู้ขอเภสัช ตามที่เขาปวารณาไว้ ๑ ขอในระยะกาลตามที่
เขาปวารณาไว้ ๑ บอกขอว่า ท่านปวารณาพวกข้าพเจ้าด้วยเภสัชเหล่านี้ แต่
พวกข้าพเจ้าต้องการเภสัชชนิดนี้และชนิดนี้ ๑ บอกขอว่า ระยะกาลที่ท่านได้
ปวารณาไว้ได้ผ่านพ้นไปแล้ว แต่ข้าพเจ้ายังต้องการเภสัช ๑ ขอต่อญาติ ๑ ขอ
ต่อคนปวารณา ๑ ขอเพื่อประโยชน์แก่ภิกษุรูปอื่น ๑ จ่ายมาด้วยทรัพย์ของตน ๑
ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
อเจลกวรรค สิกขาบทที่ ๗ จบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 615
มหานามสิกขาบทที่ ๗
ในสิกขาบทที่ ๗ มีวินิจฉัยดังนี้:-
[แก้อรรถ เรื่องท้าวมหานามปวารณาเภสัช ]
พระโอรสแห่งพระเจ้าอาว์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า แก่กว่าพระผู้มี-
พระภาคเจ้าเพียงเดือนเดียว เป็นพระอริยสาวก ดำรงอยู่ในผลทั้ง ๒ ทรงพระ
นามว่า ท้าวมหานาม.
สามบทว่า เภสชฺช อุสฺสนฺน โหติ มีความว่า เนยใสที่เขานำ
มาจากดอกเก็บไว้มีเป็นอันมาก.
บทว่า สาทิตพฺพา มีความว่า ภิกษุไม่พึงปฏิเสธในสมัยนั้นว่า ไม่
มีโรค พึงรับไว้ด้วยใส่ใจว่า เราจักขอในเมื่อมีโรค.
สามบทว่า เอตฺตเกหิ เภสชฺเชหิ ปวาเรมิ มีความว่า เขาปวารณา
ด้วยอำนาจชื่อ คือ ด้วยเภสัช ๒-๓ อย่าง มีเนยใสและ น้ำมันเป็นต้น หรือ
ด้วยอำนาจจำนวน คือ ด้วยกอบ ๑ ทะนาน ๑ อาฬหกะ ๑ เป็นต้น .
สามบทว่า อญฺ เภสชฺช วิญฺาเปติ มีความว่า เขาปวารณา
ด้วยเนยใส ขอน้ำมัน เขาปวารณาด้วยอาฬหกะ ขอโทณะ.
สองบทว่า น เภสฺชฺช กรณีเย มีความว่า ถ้าภิกษุอาจเพื่อดำรง
อัตภาพอยู่ได้ แม้ด้วยภัตระคนกัน ชื่อว่า กิจจะพึงทำด้วยเภสัชไม่มี.
บทว่า ปวาริตาน มีความว่า ไม่เป็นอาบัติแก่พวกภิกษุที่คนของตน
ปวารณาไว้ ด้วยการปวารณาเป็นส่วนบุคคล เพราะการออกปากขอตามสมควร
แก่เภสัชที่ปวารณาไว้. แต่ในเภสัช ที่เขาปวารณาด้วยอำนาจแห่งสงฆ์ ควรกำหนด
รู้ประมาณทีเดียวแล. คำทีเหลือตื้นทั้งนั้น.
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน ๖ เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ
ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ดังนี้แล.
มหานามสิกขาบทที่ ๗ จบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 616
อเจลกวรรค สิกขาบทที่ ๘
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๖๒] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พระเจ้า
ปเสนทิโกศลทรงยกกองทัพออก พระฉัพพัคคีย์ได้ไปดูกองทัพที่ยกออกแล้ว
พระเจ้าปเสนทิโกศลได้ทอดพระเนตรเห็นพระฉัพพัคคีย์กำลังเดินมาแต่ไกล
เทียว ครั้นแล้วรับสั่งให้นิมนต์มาตรัสถานว่า พระคุณเจ้าทั้งหลายมาเพื่อประ-
สงค์อะไร เจ้าข้า.
พระฉัพพัคคีย์ถวายพระพรว่า พวกอาตมภาพประสงค์จะเฝ้ามหา-
บพิตร.
พระเจ้าปเสนทิโกศลรับสั่งว่า จะได้ประโยชน์อะไรด้วยการดูดิฉันผู้
เพลิดเพลินในการรบ พระคุณเจ้าควรเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ามิใช่หรือ.
ประชาชนพากันเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉน พระสมณะเชื้อ
สายพระศากยบุตรจึงได้พากันมาดูกองทัพซึ่งยกออกแล้วเล่า ไม่ใช่ลาภของพวก
เรา แม้พวกเราที่พากันมาในกองทัพ เพราะเหตุแห่งอาชีพ เพราะเหตุแห่ง
บุตรภรรยาก็ได้ไม่ดีแล้ว.
ภิกษุทั้งหลายได้ยินประชาชนเหล่านั้น พากันเพ่งโทษติเตียนโพนทะนา
อยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย . . . ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉน พระ-
ฉัพพัคคีย์จึงได้ได้ไปดูกองทัพที่ยกออกไปเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี
พระภาคเจ้า . . .
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 617
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่า พวกเธอไปดูกองทัพซึ่งยกออกแล้ว จริงหรือ.
พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุทั้งหลาย ไฉน
พวกเธอได้ไปดูกองทัพซึ่งยกออกไปเล่า การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่
เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่ง
ของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่า
ดังนี้:-
พระบัญญัติ
๙๗. ๘. อนึ่ง ภิกษุใด ไปเพื่อจะดูเสนาอันยกออกแล้วเป็น
ปาจิตตีย์ .
ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุ
ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง
[๕๖๓] ก็โดยสมัยนั้นแล ลุงของภิกษุรูปหนึ่งป่วยอยู่ในกองทัพ เขา
ส่งทูตไปในสำนักภิกษุนั้นว่า ลุงกำลังป่วยอยู่ในกองทัพ ขอพระคุณเจ้าจงมา
ลุงต้องการให้พระคุณเจ้ามา จึงภิกษุนั้นดำริว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติ
สิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลายไว้ว่า ภิกษุไม่พึงไปเพื่อจะดูเสนาอันยกออกแล้ว ก็นี่
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 618
ลุงของเราป่วยอยู่ในกองทัพ เราจะพึงปฏิบัติอย่างไรหนอ แล้วแจ้งความนั้น
แก่ภิกษุทั้งหลาย ๆ กราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
ทรงอนุญาตให้ไปในกองทัพได้เมื่อจำเป็น
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถาในเพราะเป็นเค้ามูล
นั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เราอนุญาตให้ไปในกองทัพได้ เพราะปัจจัยเห็นปานนั้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้
ว่าดังนี้:-
พระอนุบัญญัติ
๙๗. ๘. อนึ่ง ภิกษุใด ไปเพื่อจะดูเสนาอันยกออกแล้วเว้น
ไว้แต่ปัจจัยมีอย่างนั้นเป็นรูป เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๕๖๔] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด...
บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ. . .
นี้ ชื่อว่าภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า อันยกออกแล้ว ได้แก่ กองทัพซึ่งยกออกจากหมู่บ้านแล้ว
ยังพักอยู่หรือเคลื่อนขบวนต่อไปแล้ว.
ที่ชื่อว่า เสนา ได้แก่กองทัพช้าง กองทัพม้า กองทัพรถ กองพล
เดินเท้า
ช้าง ๑ เชือก มีทหารประจำ ๑๒ คน ม้า ๑ ม้ามีทหารประจำ ๓ คน
รถ ๑ คัน มีทหารประจำ ๔ คน กองพลเดินเท้ามีทหารถือปืน ๔ คน.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 619
ภิกษุไปเพื่อจะดู ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ภิกษุละทัศนูปจารแล้ว ยังมองดูอยู่อีก ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
บทว่า เว้นไว้แต่ปัจจัยมีอย่างนั้นเป็นรูป คือ ยกเหตุจำเป็นเสีย.
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๕๖๕] กองทัพยกออกไปแล้ว ภิกษุสำคัญว่ายกออกไปแล้ว ไป
เพื่อจะดูเว้นไว้แต่ปัจจัยเห็นปานนั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
กองทัพยกออกไปแล้ว ภิกษุยังแคลงอยู่ ไปเพื่อจะดู เว้นไว้แต่ปัจจัย
เห็นปานนั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
กองทัพยกออกไปแล้ว ภิกษุสำคัญว่ายิ่งไม่ได้ยกออกไป ไปเพื่อจะดู
เว้นไว้แต่ปัจจัยเห็นปานนั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ปัญจกทุกกฏ
ไปเพื่อจะดูกองทัพแต่ละกอง ต้องอาบัติทุกกฏ.
ยืนดูอยู่ในที่ใดมองเห็นได้ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ละทัศนูปจารแล้วยังมองดูอยู่อีก ต้องอาบัติทุกกฏ.
กองทัพยังไม่ได้ยกออกไป ภิกษุสำคัญว่ายกออกไปแล้ว. ..ต้องอาบัติ
ทุกกฏ.
กองทัพยังไม่ได้ยกออกไป ภิกษุยังแคลงอยู่ ...ต้องอาบัติทุกกฏ.
ไม่ต้องอาบัติ
กองทัพยังไม่ได้ยกออกไป ภิกษุสำคัญว่ายังไม่ได้ยกออกไป . .. ไม่ต้อง
อาบัติ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 620
อนาปัตติวาร
[๕๖๖] ภิกษุอยู่ในอารามมองเห็น ๑ กองทัพยกผ่านมายังสถานที่ภิกษุ
ยืนนั่ง หรือนอน เธอมองเห็น ๑ ภิกษุเดินสวนทางไปพบเข้า ๑ มีเหตุจำเป็น
๑ มีอันตราย ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
อเจลกวรรค สิกขาบทที่ ๘ จบ
อุยยุตตสิกขาบทที่ ๘
ในสิกขาบทที่ ๘ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:-
[ว่าด้วยกองทัพ ๔ เหล่าสมัยโบราณ]
บทว่า อพฺภุยยาโต คือ ทรงยกกองทัพออกไป, มีใจความว่า
เคลื่อนกองทัพออกไปจากพระนคร ด้วยตั้งพระทัยว่า เราจักไปประจัญหน้า
ข้าศึก.
บทว่า อุยฺยุตฺต ได้แก่ กองทัพที่ทำการยกออกไปแล้ว, มีใจความว่า
กองทัพที่เคลื่อนออกจากหมู่บ้านไปแล้ว.
สองบทว่า ทฺวาทสปุริโส หตฺถี มีความว่า ช้าง ๑ เชือก มีทหาร
ประจำ ๑๒ คน อย่างนี้ คือ พลขับขี่ ๔ คน, พลรักษาประจำ เท้าช้างเท้าละ
๒ คน.
สองบทว่า ติปุริโส อสฺโส มีความว่า ม้า ๑ ม้า มีทหารประจำ
๓ คน อย่างนี้ คือ พลขับขี่ ๑ คน. พลรักษาประจำเท้า ๒ คน.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 621
สองบทว่า จตุปฺปุริโส รโถ มีความว่า รถ ๑ คัน มีทหาร
ประจำ ๔ คน อย่างนี้ คือ สารถี (พลขับ) ๑ คน นักรบ (นายทหาร) ๑
พลรักษาสลักเพลา ๒ คน.
ข้อว่า จตฺตาโร ปุริสา สรหตฺถา ได้แก่ พลเดินเท้า มีพล
อย่างนี้ คือ ทหารถืออาวุธครบมือ ๔ คน. กองทัพประกอบด้วยองค์ ๔ นี้
โดยกำหนดอย่างต่ำ ชื่อว่า เสนา. เมื่อไปดูเสนาเช่นนี้ เป็นทุกกฏ ทุก ๆ
ย่างเท้า.
สองบทว่า ทสฺสนูปจาร วิชหิตฺวา มีความว่า กองทัพถูกอะไร
บังไว้ หรือว่า ลงสู่ที่ลุ่ม มองไม่เห็น, คือ ภิกษุยืนในที่นี้แล้วไม่อาจมองเห็น
เพราะเหตุนั้น เมื่อภิกษุไปยังสถานที่อื่นดู เป็นปาจิตตีย์ ทุก ๆ ประโยค.
บทว่า เอกเมก มีความว่า บรรดาองค์ ๔ มีช้างเป็นต้น แต่ละองค์ ๆ
ชั้นที่สุดช้าง ๑ เชือกมีพลขับ ๑ คนก็ดี พลเดินเท้าอาวุธ ๑ คนก็ดี. พระราชา
ชื่อว่าไม่ได้เสด็จยาตราทัพ เสด็จไปประพาสพระราชอุทยานหรือแม่น้ำ อย่างนี้
ชื่อว่า ไม่ได้ทรงยาตราทัพ.
บทว่า อาปทาสุ มีความว่า เมื่อมีอันตรายแห่งชีวิต และอันตราย
แห่งพรหมจรรย์ ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้ ไปด้วยคิดว่า เราไปในกองทัพนี้
จักพ้นไปได้. บทที่เหลือในสิกขาบทนี้ ตื้นทั้งนั้น.
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานเหมือนเอฬกโลมสิกขาบท เป็นกิริยา
โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม อกุศลจิต มีเวทนา ๓
ดังนี้แล.
อุยยุตตสิกขาบทที่ ๘ จบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 622
อเจลกวรรค สิกขาบทที่ ๙
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๖๗] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พระ-
ฉัพพัคคีย์มีกิจจำเป็นเดินผ่านกองทัพไป แล้วแรมคืนอยู่ในกองทัพ ๓ ราตรี
ประชาชนพากันเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉน พระสมณะเชื้อสายพระ-
ศากยบุตรจึงได้พักแรมอยู่ในกองทัพเล่า มิใช่ลาภของพวกเรา แม้พวกเราที่มา
อยู่ในกองทัพ เพราะเหตุแห่งอาชีพ เพราะเหตุแห่งบุตรภรรยา ก็ได้ไม่ดีแล้ว
ภิกษุทั้งหลายได้ยินประชาชนเหล่านั้นเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาอยู่
บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย ...ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่าไฉนพระฉัพพัคคีย์
จึงได้พักแรมอยู่ในกองทัพเกิน ๓ ราตรีเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี-
พระภาคเจ้า . . .
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่า พวกเธอพักแรมอยู่ในกองทัพเกิน ๓ ราตรี จริงหรือ.
พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลายไฉน
พวกเธอจึงได้พักแรมอยู่ในกองทัพเกิน ๓ ราตรีเล่า การกระทำของพวกเธอนั่น
ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่ง
ของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว . . .
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 623
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่า
ดังนี้:-
พระบัญญัติ
๙๘. ๙. อนึ่ง ปัจจัยบางอย่างเพื่อจะไปสู่เสนา มีแก่ภิกษุนั้น
ภิกษุนั้นพึงอยู่ได้ ในเสนาเพียง ๒-๓ คืน ถ้าอยู่ยิ่งกว่านั้น เป็น
ปาจิตตีย์.
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๕๖๘] คำว่า อนึ่ง ปัจจัยบางอย่างเพื่อจะไปสู่เสนา มีแก่
ภิกษุนั้น คือ มีเหตุ ได้แก่ มีกิจจำเป็น.
คำว่า ภิกษุนั้นพึงอยู่ได้ในเสนาเพียง ๒-๓ คืน คือ พึงอยู่ได้
๒-๓ คืน.
คำว่า ถ้าอยู่ยิ่งกว่านั้น ความว่า เมื่ออาทิตย์อัสดงในวันที่ ๔ แล้ว
ภิกษุยังอยู่ในกองทัพ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๕๖๙] เกิน ๓ คืน ภิกษุสำคัญว่าเกิน อยู่ในกองทัพ ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์.
เกิน ๓ คืน ภิกษุยังแคลงอยู่ อยู่ในกองทัพ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
เกิน ๓ คืน ภิกษุสำคัญว่ายังไม่ถึง อยู่ในกองทัพต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ทุกะทุกกฏ
ยังไม่ถึง ๓ คืน ภิกษุสำคัญว่าเกิน. . .ต้องอาบัติทุกกฏ.
ยังไม่ถึง ๓ คืน ภิกษุยังแคลงอยู่ . . . ต้องอาบัติทุกกฏ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 624
ไม่ต้องอาบัติ
ยังไม่ถึง ๓ คืน ภิกษุสำคัญว่ายังไม่ถึง . . .ไม่ต้องอาบัติ.
อนาปัตติวาร
[๕๗๐] ภิกษุอยู่ ๒-๓ คืน ๑ ภิกษุอยู่ไม่ถึง ๒-๓ คืน ๑ ภิกษุอยู่
๒ คืนแล้ว ออกไปก่อนอรุณของคืนที่ ๓ ขึ้น กลับอยู่ใหม่ ๑ ภิกษุอาพาธพัก
แรมอยู่ ๑ ภิกษุอยู่ด้วยกิจธุระของภิกษุอาพาธ ๑ ภิกษุตกอยู่ในกองทัพที่ถูกข้าศึก
ล้อมไว้ ๑ ภิกษุมีเหตุบางอย่างขัดขวางไว้ ๑ มีอันตราย ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑
ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
อเจลกวรรค สิกขาบทที่ ๙ จบ
เสนาวาสสิกขาบทที่ ๙
ในสิกขาบทที่ ๙ มีวินิจฉัยดังนี้ :-
[ว่าด้วยเหตุต้องอยู่ในกองทัพเกิน ๓ ราตรี ]
คำว่า อตฺถงฺคเต สุริเย เสนาย วสติ มีความว่า ถ้าแม้นภิกษุ
สำเร็จอิริยาบถบางอิริยาบถ บนอากาศด้วยฤทธิ์ จะยืนหรือนั่ง หรือนอน
ก็ตามที เป็นปาจิตตีย์ทั้งนั้น.
คำว่า เสนา วา ปฏิเสนาย รุทฺธา โหติ มีความว่า กองทัพ
ถูกทัพข้าศึกล้อมไว้ ทำให้ทางสัญจรขาดลง.
บทว่า ปลิพุทฺโธ คือ ถูกไพรีหรืออิสรชนขัดขวางไว้. บทที่เหลือ
ตื้นทั้งนั้น.
สิกขาบทนี้มีสมุฏฐานดุจเอฬกโลมสิกขาบท เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์
อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ดังนี้แล.
เสนาวาสสิกขาบทที่ ๙ จบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 625
อเจลกวรรค สิกขาบทที่ ๑๐
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๗๑] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พระ-
ฉัพพัคคีย์กำลังอยู่ในกองทัพ ๒-๓ คืน ไปสู่สนามรบบ้าง ไปสู่ที่พักพลบ้าง
ไปสู่ที่จัดขบวนทัพบ้าง ไปดูกองทัพที่จัดเป็นขบวนแล้วบ้าง พระฉัพพัคคีย์
รูปหนึ่งไปสู่สนามรบแล้วถูกยิงด้วยลูกปืน คนทั้งหลายจึงล้อเธอว่า พระคุณเจ้า
ได้รบเก่งมาแล้วกระมัง พระคุณเจ้าได้คะแนนเท่าไร เธอถูกเขาล้อได้เก้อเขิน
แล้ว ชาวบ้านจึงเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนพระสมณะเชื้อสายพระ-
ศากยบุตร จึงได้มาถึงสนามรบ เพื่อจะดูเขาเล่า มิใช่ลาภของพวกเรา แม้
พวกเราที่มาสนามรบ เพราะเหตุแห่งอาชีพ เพราะเหตุแห่งบุตรภรรยา ก็ได้
ไม่ดีแล้ว.
ภิกษุทั้งหลายได้ยินเขาเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็น
ผู้มักน้อย. . . ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์จึงได้ไป
ถึงสนามรบเพื่อดูเขา แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ...
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่า พวกเธอไปถึงสนามรบเพื่อดูเขา จริงหรือ.
พระฉัพพัคคีย์ทูลรับ ว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 626
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน
พวกเธอจึงได้ถึงสนามรบเพื่อดูเขาเล่า การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไป
เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชน
ที่เลื่อมใสแล้ว . . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ ขึ้นแสดงอย่างนี้
ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๙๙. ๑๐. ถ้าภิกษุอยู่ในเสนา ๒-๓ คืน ไปสู่สนามรบก็ดี ไปสู่
ที่พักพลก็ดี ไปสู่ที่จัดขบวนทัพก็ดี ไปดูกองทัพที่จัดเป็นขบวนแล้ว
ก็ดี เป็นปาจิตตีย์ .
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๕๗๒] คำว่า ถ้าภิกษุอยู่ในเสนา ๒-๓ คืน นั้น คือ พักแรม
อยู่ ๒-๓ คืน.
ที่ชื่อว่า สนามรบ ได้แก่ สถานที่มีการรบพุ่ง ซึ่งยังปรากฏอยู่
ที่ชื่อว่า ที่พักพล ได้แก่สถานที่พักกองช้างมีประมาณเท่านี้ กองม้า
มีประมาณเท่านี้ กองรถมีประมาณเท่านี้ กองพลเดินเท้ามีประมาณเท่านี้.
ที่ชื่อว่า ที่จัดขบวนทัพ ได้แก่สถานที่เขาจัดว่า กองช้างจงอยู่ทางนี้
กองม้าจงอยู่ทางนี้ กองรถจงอยู่ทางนี้ กองพลเดินเท้าจงอยู่ทางนี้ .
ที่ชื่อว่า กองทัพที่จัดเป็นขบวนแล้ว ได้แก่ กองทัพช้าง ๑ กอง
ทัพม้า ๑ กองทัพรถ ๑ กองพลเดินเท้า ๑.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 627
กองทัพช้างอย่างต่ำมี ๓ เชือก กองทัพม้าอย่างต่ำมี ๓ ม้า กองทัพ
รถอย่างต่ำมี ๓ คัน กองพลเดินเท้าอย่างต่ำมีทหารถือปืน ๔ คน.
บทภาชนีย์
[๕๗๓] ภิกษุไปเพื่อจะดู ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุยืนอยู่ในสถานที่เช่นไรมองเห็น ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ภิกษุละทัศนูปจารแล้ว ยังมองดูอยู่อีก ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ภิกษุไปเพื่อจะดูกองทัพแต่ละกอง ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุยืนดูอยู่ในที่ใดมองเห็น ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุละทัศนูปจารแล้วยังมองดูอีก ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
[๕๗๔] ภิกษุอยู่ในอารามมองเห็น ๑ การรบพุ่งผ่านมายังสถานที่
ภิกษุยืน นั่ง หรือนอน เธอมองเห็น ๑ ภิกษุเดินสวนทางไปพบเข้า ๑
ภิกษุมีกิจจำเป็นเดินไปพบเข้า ๑ มีอันตราย ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิ-
กัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
อเจลกวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ จบ
ปาจิตตีย์ วรรคที่ ๕ จบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 628
อุยโยธิก สิกขาบทที่ ๑๐
ในสิกขาบทที่ ๑๐ มีวินิจฉัยดังนี้ :-
[ว่าด้วยการจัดขบวนทัพสมัยโบราณ]
ชนทั้งหลายยกพวกไปรบกัน ณ ที่นี้ เพราะฉะนั้น ที่นั้นจึงชื่อว่า
สนามรบ. คำว่า อุยโยธิกะ นี้ เป็นชื่อแห่งที่สัมประหารกัน (ยุทธภูมิ
หรือสมรภูมิ).
พวกชนย่อมรู้จักที่พักของพลรบ ณ ที่นี้ ฉะนั้น ที่นั้น จึงชื่อว่า ที่พัก
พล. ได้ความว่าสถานที่ตรวจพล.
การจัดขบวนทัพ ชื่อว่า เสนาพยูหะ. คำว่า เสนาพยูหะ นี้
เป็นชื่อแห่งการจัดขบวนทัพ.
ข้อว่า กองทัพช้างอย่างต่ำมีช้าง ๓ เชือก นั้น ได้แก่ ช้าง ๓ เชือก
รวมกับช้างเชือกที่มีทหารประจำ ๑๒ คน ดังกล่าวแล้วในเบื้องต้น . แม้ในบท
ที่เหลือก็นัยนี้นั่นแล. คำที่เหลือพร้อมด้วยสมุฏฐานเป็นต้น บัณฑิตพึงทราบ
โดยนัยดังกล่าวแล้ว ในอุยยุตตสิกขาบทนั้นแล.
อุยโยธิกสิกขาบทที่ ๑๐ จบ
อเจลกวรรคที่ ๕ จบบริบูรณ์ตามวรรณนานุกรม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 629
หัวข้อประจำเรื่อง
๑. อเจลกสิกขาบท ว่าด้วยแจกขนมแก่นักบวช
๒. อุยโยชนสิกขาบท ว่าด้วยบอกให้กลับ
๓. สโภชนสิกขาบท ว่าด้วยนั่งแทรกแซง
๔. ปฐมานิยตสิกขาบท ว่าด้วยนั่งในที่กำบัง
๕. ทุติยานิยตสิกขาบท ว่าด้วยนั่งในที่ลับ
๖. จาริตตสิกขาบท ว่าด้วยรับนิมนต์แล้วไปฉันที่อื่น
๗. มหานามสิกขาบท ว่าด้วยปวารณาด้วยปัจจัย.
๘. อุยยุตตสิกขาบท ว่าด้วยไปดูกองทัพ
๙. เสนาวาลสิขาบท ว่าด้วยอยู่ในกองทัพ
๑๐. อุยโยธิกสิกขาบท ว่าด้วยไปสู่สนามรบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 630
ปาจิตตีย์ วรรคที่ ๖
สุราปานวรรค สิกขาบทที่ ๑
เรื่องพระสาคตะ
[๕๗๕] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเสด็จจาริกในเจติย-
ชนบท ได้ทรงพระดำเนินไปทางตำบลบ้านรั้วงาม คนเลี้ยงโค คนเลี้ยงปศุสัตว์
คนชาวนา คนเดินทาง ได้แลเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้ากำลังทรงพระดำเนินมา
แต่ไกลเทียว ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ขอพระองค์อย่าได้
เสด็จไปยังท่ามะม่วงเลย พระพุทธเจ้าข้า เพราะที่ท่ามะม่วงมีนาคอาศัยอยู่ใน
อาศรมชฎิล เป็นสัตว์มีฤทธิ์ เป็นอสรพิษมีพิษร้าย มันจะได้ไม่ทำร้ายพระองค์
พระพุทธเจ้าข้า.
เมื่อเขากราบทูลอย่างนั้นแล้ว พระองค์ได้ทรงดุษณี.
แม้ครั้งที่สองแล . . . แม้ครั้งที่สามแล . . .
ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริกโดยลำดับ ถึงตำบลบ้านรั้วงามแล้ว
ทราบว่า พระองค์ประทับอยู่ ณ ตำบลบ้านรั้วงามนั้น.
ครั้งนั้นแล ท่านพระสาคตะเดินผ่านไปทางท่ามะม่วง อาศรมชฎิล
ครั้นถึงแล้วได้เข้าไปยังโรงบูชาไฟ ปูหญ้าเครื่องลาด นั่งบัลลังก์ ตั้งกาย
ตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า นาคนั้นพอแลเห็นท่านพระสาคตะเดินผ่านเข้ามา
ได้เป็นสัตว์ดุร้ายขุ่นเคือง จึงบังหวนควันขึ้นในทันใด แม้ท่านพระสาคตะก็
บังหวนควันขึ้น มันทนความลบหลู่ไม่ได้ จึงพ่นไฟสู้ในทันที แม้ท่านพระ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 631
สาคตะก็เข้าเตโชธาตุกสิณสมาบัติ บันดาลไฟต้านทานไว้ ครั้นท่านครอบงำ
ไฟของนาคนั้นด้วยเตโชกสิณแล้ว เดินผ่านไปทางตำบลบ้านรั้วงาม.
ส่วนพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ทำบลบ้านรั้วงาม ตามพระ-
พุทธาภิรมย์แล้ว เสด็จหลีกไปสู่จาริกทางพระนครโกสัมพี พวกอุบาสกชาว
พระนครโกสัมพีได้ทราบข่าวว่า พระคุณเจ้าสาคตะได้ต่อสู้กับนาคผู้อยู่ ณ
ทำบลท่ามะม่วง พอดีพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริกโดยลำดับถึงพระนคร
โกสัมพี จึงพวกอุบายสกชาวพระนครโกสัมพีพากันรับเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า
แล้ว เข้าไปหาท่านพระสาคตะ กราบไหว้แล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
แล้วถามท่านว่า ท่านขอรับ อะไรเป็นของหายากและเป็นของชอบของพระคุณ-
เจ้า พวกกระผมจะจัดของอะไรถวายดี.
เมื่อเขาถามอย่างนั้นแล้ว พระฉัพพัคคีย์ได้กล่าวตอบคำนี้กะพวก
อุบาสกว่า มี ท่านทั้งหลาย สุราใสสีแดงดังเท้านกพิราบ เป็นของหายาก
ทั้งเป็นของชอบของพวกพระ ท่านทั้งหลายจงแต่งสุรานั้น ถวายเถิด.
ครั้งนั้น พวกอุบาสกชาวพระนครโกสัมพี ได้จัดเตรียมสุราใสสีแดง
ดังเท้านกพิราบไว้ทุก ๆ ครัวเรือน พอเห็นท่านพระสาคตะเดินมาบิณฑบาต
จึงต่างพากันกล่าวเชื้อเชิญว่า นิมนต์พระคุณเจ้าสาคตะดื่มสุราใสสีแดงดังเท้า
นกพิราบเจ้าข้า นิมนต์พระคุณเจ้าสาคตะดื่มสุราใสสีแดงดังเท้านกพิราบ เจ้าข้า.
ครั้งนั้น ท่านพระสาคตะได้ดื่มสุราใสสีแดงดังเท้านกพิราบทุก ๆ ครัว
เรือนแล้ว เมือจะเดินออกจากเมือง ได้ล้มกลิ้งอยู่ที่ประตูเมือง.
พอดีพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากเมืองพร้อมด้วยภิกษุเป็นอันมาก
ได้ทอดพระเนตรเห็นท่านพระสาคตะล้มกลิ้งอยู่ที่ประตูเมือง จึงรับสั่งกะภิกษุ
ทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงช่วยกันหามสาคตะไป.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 632
ภิกษุเหล่านั้นรับสนองพระพุทธดำรัสแล้ว หามท่านพระสาคตะไปสู่
อาราม ให้นอนหันศีรษะไปทางพระผู้มีพระภาคเจ้า แต่ท่านพระสาคตะได้
พลิกกลับนอนผันแปรเท้าทั้งสองไปทางพระผู้มีพระภาคเจ้า.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย สาคตะมีความเคารพ มีความยำเกรงในคถาคตมิใช่หรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า เป็นดังรับสั่ง พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เออก็บัดนี้ สาคตะมีความเคารพ มีความ
ยำเกรงในตถาคตอยู่หรือ.
ภิ. ข้อนั้นไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สาคตะได้ต่อสู้กับนาคอยู่ที่ตำบลท่ามะม่วง
มิใช่หรือ.
ภิ. ใช่ พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เดี๋ยวนี้สาคตะสามารถจะต่อสู้แม้กับงูน้ำได้
หรือ.
ภิ. ไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย น้ำที่ดื่มเข้าไปแล้วถึงวิสัญญีภาพนั้น ควรดื่ม
หรือไม่.
ภิ. ไม่ควรดื่ม พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การกระทำของสาคตะไม่เหมาะ. ไม่สม
ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉนสาคตะจึงได้ดื่มน้ำที่ทำ
ผู้ดื่มให้เมาเล่า การกระทำของสาคตะนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของ
ชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว . ..
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 633
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้
ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๑๐๐. ๑. เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะดื่มสุราและเมรัย.
เรื่องพระสาคตะ จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๕๗๖] นี้ชื่อว่า สุรา ได้แก่สุราที่ทำด้วยแป้ง สุราที่ทำด้วยขนม
สุราที่ทำด้วยข้าวสุก สุราที่หมักส่าเหล้า สุราที่ผสมด้วยเครื่องปรุง
ที่ชื่อ เมรัย ได้แก่น้ำดองดอกไม้ น้ำดองผลไม้ น้ำดองน้ำผึ้ง
น้ำดองน้ำอ้อยงบ น้ำดองที่ผสมด้วยเครื่องปรุง.
คำว่า ดื่ม คือ ดื่มโดยที่สุดแม้ด้วยปลายหญ้าคา ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๕๗๗] น้ำเมา ภิกษุสำคัญว่าน้ำเมา ดื่ม ต้องอาบัติปาจิตตีย์ น้ำเมา
ภิกษุสงสัย ดื่ม ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
น้ำเมา ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่น้ำเมา ดื่ม ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ทุกะทุกกฏ
ไม่ใช่น้ำเมา ภิกษุสำคัญว่าน้ำเมา ดื่ม ต้องอาบัติทุกกฏ.
ไม่ใช่น้ำเมา ภิกษุสงสัย ดื่ม ต้องอาบัติทุกกฏ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 634
ไม่ต้องอาบัติ
ไม่ใช่น้ำเมา ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่น้ำเมา ดื่ม ไม่ต้องอาบัติ.
อนาปัตติวาร
[๕๗๘] ภิกษุดื่มน้ำที่มีกลิ่นรสเหมือนน้ำเมา แต่ไม่ใช่น้ำเมา ๑ ภิกษุ
ดื่มน้ำเมาที่เจือลงในแกง ๑ . . .ที่เจือลงในเนื้อ ๑ ... ที่เจือลงในน้ำมัน ๑
...น้ำเมาในน้ำอ้อยที่ดองมะขามป้อม ๑ ภิกษุดื่มยาดองอริฏฐะซึ่งไม่ใช่ของ
เมา ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมนิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติและ
สุราปานวรรค สิกขาบทที่ ๑ จบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 635
ปาจิตตีย์ สุราปานวรรคที่ ๖
สุราปานสิกขาบทที่ ๑
พึงทราบวินิจฉัย ในสิกขาบทที่ ๑ แห่งสุราปานวรรค ดังต่อไปนี้:-
[แก้อรรถปฐมบัญญัติ เรื่องสุราเมรัย]
หมู่บ้านแห่งหนึ่ง ชื่อว่า ภัททวติกะ. หมู่บ้านนั้นได้ชื่ออย่างนี้
เพราะประกอบด้วยรั้วงาม.
บทว่า ปถาวิโน แปลว่า คนเดินทาง.
สองบทว่า เตชสา เตช ได้แก่ (ครอบงำ) ซึ่งเดชแห่งนาคด้วยเดช
คือ ด้วยอานุภาพของตน.
บทว่า กาโปติกา คือ มีสีแดงเสมอเหมือนกับสีเท้าแห่งพวกนกพิราบ.
คำว่า ปสนฺนา นี้ เป็นชื่อแห่งสุราใส.
สามบทว่า อนนุจฺฉวิก ภิกฺขเว สาคตสฺส มีรูปความที่ท่านกล่าว
ไว้ว่า ชื่อว่า การดื่มน้ำเมา เป็นการไม่สมควรแก่สาคตะผู้สำเร็จอภิญญา ๕.
เมรัยที่เขาทำด้วยรสแห่งดอกมะซางเป็นต้น ชื่อว่า ปุปผาสวะ. เมรัย
ที่เขาคั้นผลลูกจันทน์เป็นต้นแล้ว ทำด้วยรสแห่งผลลูกจันทน์เป็นต้นนั้น ชื่อว่า
ผลาสวะ. เมรัยที่เขาทำด้วยรสชาติแห่งผลลูกจันทน์ (หรือองุ่น) เป็นต้น
ชื่อว่า มัธวาสวะ. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า เขาทำด้วยน้ำผึ้งก็มี. เมรัยที่
ชื่อว่า คุฬาสวะ. เขาทำด้วยน้ำอ้อยสด เป็นต้น.
ธรรมดาสุรา ที่เขาใส่เธอแป้ง กระทำด้วยรสแม้แห่งจั่นมะพร้าว
เป็นต้น ย่อมถึงการนับว่า สุราทั้งนั้น. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า เมื่อตักเอา
น้ำใสแห่งสุราใส่เชื้อแล้วนั่นแล (ที่เหลือ) ย่อมถึงการนับว่าเมรัยทั้งนั้น.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 636
สามบทว่า อนฺตมโส กุสคฺเคนาปิ ปิวติ มีความว่า ภิกษุดื่มสุรา
หรือเมรัยนั่นตั้งแต่เชื้อ แม้ด้วยปลายหญ้าคา เป็นปาจิตตีย์. แต่เมื่อดื่มแม้มาก
ด้วยประโยคเดียว เป็นอาบัติเพียงตัวเดียว. เมื่อดื่มขาดเป็นระยะ ๆ เป็นอาบัติ
มากตัวโดยนับประโยค.
คำว่า อมชฺชญฺจ โหต มชฺชวณฺณ มชฺชคนฺธ มชฺชรส มี
ความว่า เป็นยาดองน้ำเกลือก็ดี มีสีแดงจัดก็ดี.
บทว่า สูปสปาเก มีความว่า ชนทั้งหลายใส่น้ำเมาลงนิดหน่อย
เพื่ออบกลิ่นแล้วต้มแกง, เป็นอนาบัติ ในเพราะแกงใส่น้ำเมาเล็กน้อยนั้น.
แม้ในต้มเนื้อก็นัยนี้เหมือนกัน . ก็ชนทั้งหลายย่อมเจียวน้ำมันกับน้ำเมา แม้
เพื่อเป็นยาระงับลม, ไม่เป็นอาบัติในน้ำมัน แม้นั้นที่ไม่ได้เจือน้ำเมาจนเกินไป
เท่านั้น. ในน้ำมันที่เจือน้ำเมาจัดไป จนมีสีมีกลิ่น และรสแห่งน้ำเมาปรากฏ
เป็นอาบัติแท้.
สองบทว่า อมชฺช อริฏฺ มีความว่า ในยาดองชื่ออริฏฐะซึ่งไม่ใช่
น้ำเมา ไม่เป็นอาบัติ. ได้ยินว่า ชนทั้งหลายทำยาดองชื่ออริฏฐะ ด้วยรสแห่ง
มะขามป้อมเป็นต้นนั่นแหละ. ยาดองนั้นมี สี กลิ่น และรสคล้ายน้ำเมา
แต่ไม่เมา. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอายาดองชื่ออริฏฐะนั้น จึงตรัสคำนี้
แต่ยาดองอริฏฐะที่เขาปรุงด้วยเครื่องปรุงจัดเป็นน้ำเมา ไม่ควรตั้งแต่เชื้อ. บท
ที่เหลือในสิกขาบทนี้ ตื้นทั้งนั้น.
สิกขาบทนี้ มีสมุฎฐานดุจเอฬกโลมสิกขาบท เป็นกิริยา โนสัญญา-
วิโมกข์ อจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม อกุศลจิต มีเวทนา ๓ แล. ก็ใน
สมุฏฐานเป็นต้นนี้ บัณฑิตพึงทราบว่า เป็นอจิตตกะ. เพราะไม่รู้วัตถุ. พึง
ทราบว่า เป็นโลกวัชชะ เพราะจะพึงดื่มด้วยอกุศลจิตเท่านั้น ดังนี้แล.
สุราปานสิกขาบทที่ ๑ จบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 637
สุราปานวรรค สิกขาบทที่ ๒
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๗๙] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น
พระฉัพพัคคีย์ได้ทำภิกษุรูปหนึ่งในจำพวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์ให้หัวเราะ เพราะ
จี้ด้วยนิ้วมือ ภิกษุรูปนั้นเหนื่อย หายใจไม่ทันได้ถึงมรณภาพลง บรรดาภิกษุ
ที่เป็นผู้มักน้อย.. . ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์จึง
ได้ทำภิกษุให้หัวเราะ เพราะจี้ด้วยนิ้วมือเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี
พระภาคเจ้า . . .
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่า พวกเธอทำภิกษุให้หัวเราะเพราะจี้ด้วยนิ้วมือ จริงหรือ.
พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน
พวกเธอจึงได้ทำภิกษุให้หัวเราะ เพราะจี้ด้วยนิ้วมือเล่า การกระทำของพวก
เธอนั่นไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความ
เลื่อมใสยิงของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้
ว่าดังนี้:-
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 638
พระบัญญัติ
๑๐๑. ๒. เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะจี้ด้วยนิ้วมือ.
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๕๘๐] ที่ชื่อว่า จี้ด้วยนิ้วมือ คือ ใช้นิ้วมือจี้ อุปสัมบันมีความ
ประสงค์จะยังอุปสัมบันให้หัวเราะ ถูกต้องกายด้วยกาย ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๕๘๑] อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอุปสัมบัน ใช้นิ้วมือจี้ให้หัวเราะ
ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
อุปสัมบัน ภิกษุสงสัย ใช้นิ้วมือจี้ให้หัวเราะ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอนุปสัมบัน ใช้นิ้วมือจี้ให้หัวเราะ ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์.
ทุกกฏ
[๕๘๒] ภิกษุเอากายถูกต้องของเนื่องด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุเอาของเนื่องด้วยกายถูกต้องกาย ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุเอาของเนื่องด้วยกายถูกต้องของเนื่องด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุเอาของโยนถูกต้องกาย ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุเอาของโยนถูกต้องของเนื่องด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุเอาของโยนถูกต้องของโยน ต้องอาบัติทุกกฏ.
[๕๘๓] ภิกษุเอากายถูกต้องกายอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 639
ภิกษุเอากายถูกต้องของเนื่องด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุอาของเนื่องด้วยกายถูกต้องกาย ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุเอาของเนื่องด้วยกายถูกต้องของเนื่องด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุเอาของโยนถูกต้องกาย ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุเอาของโยนถูกต้องของเนื่องด้วยกาย ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุเอาของโยนไปถูกต้องของโยนมา ต้องอาบัติทุกกฏ.
[๕๘๔] อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอุปสัมบัน เอานิ้วมือจี้ให้หัวเราะ
ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนุปสัมบัน ภิกษุสงสัย... ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอนุปสัมบัน...ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
[๕๘๕] ภิกษุไม่ประสงค์จะให้หัวเราะ เมื่อมีกิจจำเป็น ถูกต้องเข้า ๑
ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
สุราปานวรรค สิกขาบทที่ ๒ จบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 640
อังคุลีปโฏทกสิกขาบทที่ ๒
ในสิกขาบทที่ ๒ มีวินิจฉัยดังนี้:-
[แก้อรรถว่าด้วยการจี้ด้วยนิ้วมือ]
ด้วยบทว่า องฺคุลีปโฏทเกน นี้ ตรัสการเอานิ้วมือจี้ที่รักแร้เป็นต้น .
บทว่า อุตฺตสนฺโต คือ เหน็ดเหนื่อยด้วยการหัวเราะเกินไป.
บทว่า อนสฺสาสโก คือ เป็นผู้มีลมอัสสาสะปัสสาสะขาดการสัญจร
ไปมา.
สามบทว่า อนุปสมฺปนฺน กาเยน กาย มีความว่า แม้นางภิกษุณี
ก็ตั้งอยู่ในฐานแห่งอนุปสัมบัน ในสิกขาบทนี้. เมื่อภิกษุถูกต้องนางภิกษุณี
แม้นั้น ด้วยประสงค์จะเล่น ก็เป็นทุกกฏ. บทที่เหลือในสิกขาบทนี้ ตื้นทั้งนั้น.
สิกขาบทนี้ มีสมุฎฐานดุจปฐมปาราชิกสิกขาบท เป็นกิริยา สัญญา-
วิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม อกุศลจิต มีเวทนา ๒ ดังนี้แล.
อังคุลีปโฏทกสิกขาบทที่ ๒ จบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 641
สุราปานวรรค สิกขาบทที่ ๓
เรื่องพระสัตตรสวัคคีย์
[๕๘๖] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พระ-
สัตตรสวัคคีย์กำลังเล่นน้ำกันอยู่ในแม่น้ำอจิรวดี ขณะนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศล
ประทับอยู่ ณ พระปราสาทชั้นบน พร้อมด้วยพระนางมัลลิกาเทวี ได้ทอด
พระเนตรเห็นพระสวัตตรสวัคคีย์กำลังเล่นน้ำอยู่ในแม่น้ำอจิรวดี ครั้นแล้วก็ได้
รับสั่งกะพระนางมัลลิกาเทวีว่า นี่แน่ะแม่มัลลิกา นั่นพระอรหันต์กำลังเล่นน้ำ.
พระนางกราบทูลว่า ขอเดชะ ชะรอยพระผู้มีพระภาคเจ้ายังมิได้ทรง
บัญญัติสิกขาบท หรือภิกษุเหล่านั้นจะยังไม่สันทัดในพระวินัยเป็นแน่ พระพุทธ
เจ้าข้า.
ขณะนั้น ท้าวเธอทรงรำพึงว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ เราจะไม่ต้อง
กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า และพระผู้มีพระภาคเจ้าจะพึงทรงทราบได้ว่า ภิกษุ
เหล่านั้นเล่นน้ำ ครั้นแล้วท้าวเธอรับสั่งให้นิมนต์พระสัตตรสวัคคีย์มา แล้ว
พระราชทานน้ำอ้อยงบใหญ่แก่ภิกษุเหล่านั้น รับสั่งว่า ขอพระคุณเจ้าโปรด
ถวายน้ำอ้อยงบนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระสัตตรสวัคคีย์ได้นำน้ำอ้อยงบนั้นไปเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว
กราบทูลว่า พระเจ้าแผ่นดินถวายน้ำอ้อยงบนี้แต่พระองค์ พระพุทธเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็พระเจ้าแผ่นดิน
พบพวกเธอที่ไหนเล่า.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 642
พระสัตตรสวัคคีย์กราบทูลว่า พบพวกข้าพระพุทธเจ้ากำลังเล่นน้ำอยู่
ในแม่น้ำอจิรวดี พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย
ไฉนพวกเธอจึงได้เล่นน้ำเล่า การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความ
เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใสแล้ว หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่
เลื่อมใสแล้ว . . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่า
ดังนี้ :-
พระบัญญัติ
๑๐๒.๓. เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะธรรมคือหัวเราะในน้ำ.
เรื่องพระสัตตรสวัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๕๘๗] ที่ชื่อว่า ธรรมคือหัวเราะในน้ำ ความว่า ในน้ำลึกพ้น
ข้อเท้าขึ้นไป ภิกษุมีความประสงค์จะรื่นเริง ดำลงก็ดี ผุดขึ้นก็ดี ว่ายไปก็ดี
ต้องอาบัติปาจิตตีย์
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๕๘๘] เล่นน้ำ ภิกษุสำคัญว่าเล่น ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
เล่นน้ำ ภิกษุสงสัย ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
เล่นน้ำ ภิกษุก็สำคัญว่ามิได้เล่น ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 643
ทุกกฏ
[๕๘๙] ภิกษุเล่นน้ำตื้นใต้ข้อเท้า ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุเล่นเรือ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุเอามือวักน้ำก็ดี เอาเท้าแกว่งน้ำก็ดี เอาไม้ขีดน้ำก็ดี เอากระเบื้อง
ปาน้ำเล่นก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ.
น้ำ น้ำส้ม น้ำนม เปรียง น้ำย้อม น้ำปัสสาวะ หรือน้ำโคลน ซึ่ง
ขังอยู่ในภาชนะ ภิกษุเล่น ต้องอาบัติทุกกฏ.
[๕๙๐] ไม่ได้เล่นน้ำ ภิกษุสำคัญว่าเล่น ต้องอาบัติทุกกฏ.
ไม่ได้เล่นน้ำ ภิกษุสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
ไม่ต้องอาบัติ
ไม่ได้เล่นน้ำ ภิกษุสำคัญว่าไม่ได้เล่น ไม่ต้องอาบัติ.
อนาปัตติวาร
[๕๙๑] ภิกษุไม่ประสงค์จะเล่น แต่เมื่อมีกิจจำเป็น ลงน้ำแล้วดำลง
ก็ดี ผุดขึ้นก็ดี ว่ายไปก็ดี ๑ ภิกษุผู้จะข้ามฟาก ดำลงก็ดี ผุดขึ้นก็ดี ว่ายไป
ก็ดี ๑ มีอันตราย ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
สุราปานวรรค สิกขาบทที่ ๓ จบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 644
หัสสธรรมสิกขาบทที่ ๓
ในสิกขาบทที่ ๓ มีวินิจฉัยดังนี้:-
[แก้อรรถว่าด้วยธรรม คือหัวเราะในน้ำ]
บทว่า อปฺปกตญฺญุโน มีความว่า ภิกษุเหล่านั้นจะยังไม่รู้ข้อที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแต่งตั้ง ไว้ คือ ทรงบัญญัติไว้แล้ว. การเล่นน้ำ พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า ธรรม คือ การหัวเราะในน้ำ.
บทว่า อุปริโคปฺผเก คือ ในน้ำลึกขนาดท่วมส่วนเบื้องบนของข้อ
เท้าทั้ง ๒.
บทว่า หสุสาธิปฺปาโย แปลว่า มีความประสงค์จะเล่น.
ในคำว่า นิมุชฺชติ วา เป็นต้น มีวินิจฉัยว่า เนื้อหยั่งลงเพื่อต้อง
การจะดำลง เป็นทุกกฏ ทุก ๆ ย่างเท้า. ในการดำลงและผุดขึ้นเป็นปาจิตตีย์
ทุก ๆ ประโยค. ภิกษุดำลงว่ายไปภายในน้ำนั่นเอง เป็นปาจิตตีย์ ทุก ๆ ครั้ง
ที่ขยับมือขยับเท้าในที่ทั้งปวง.
บทว่า ปลวติ แปลว่า ว่ายข้ามไป. เมื่อใช้มือทั้ง ๒ ว่ายข้ามไป
เป็นปาจิตตีย์ ทุก ๆ ครั้งที่ขยับมือ. แม้ในเท้าทั้ง ๒ ก็นัยนี้นั้นแล ภิกษุว่ายข้าม
ไปด้วยอวัยวะใด ๆ เป็นปาจิตตีย์ ทุก ๆ ประโยค แห่งอวัยวะนั้น ๆ. ภิกษุ
กระโดดลงในน้ำ จากฝั่งก็ดี จากต้นไม้ก็ดี เป็นปาจิตตีย์เหมือนกัน .
สองบทว่า นาวาย กีฬติ มีความว่า ภิกษุแล่นเรือด้วยพายและถ่อ
เป็นต้น หรือเข็นเรือบนตลิ่ง ชื่อว่าเล่นเรือ เป็นทุกกฏ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 645
แม้ในบทว่า หตฺเถน วา เป็นต้น บัณฑิตพึงทราบว่าเป็นทุกกฏ
ทุก ๆ ประโยค. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า เมื่อภิกษุเอามือปากระเบื้องไปบน
น้ำ เป็นทุกกฏ ทุก ๆ ครั้งที่กระเบื้องตกลงและแฉลบขึ้น. คำนั้นไม่ควรถือ
เอา แท้จริง ในเพราะกระเบื้องที่ปาลงไปในน้ำนั้น เป็นทุกกฏตัวเดียวเท่านั้น
เพราะมีประโยคเดียว.
อีกนัยหนึ่ง ภิกษุข้ามน้ำ หรือมิได้ข้าม เล่นน้ำที่ขังอยู่ในที่แห่งใด
แห่งหนึ่ง ด้วยอาการอย่างใดอย่างหนึ่งอื่น เว้นการคำผุดเป็นต้น ที่กล่าวแล้ว
ในน้ำพ้น ข้อเท้าขึ้นไป ขึ้นที่สุด แม้เล่นวักหยาดน้ำสาดก็เป็นทุกกฏเหมือนกัน.
แต่จะเขียนอักษรขยายความ ควรอยู่. ในสิกขาบทนี้ มีวินิจฉัยเท่านี้. บทที่
เหลือในสิกขาบทนี้ ตื้นทั้งนั้น.
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานเหมือนปฐมปาราชิก เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์
สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม อกุศลจิต มีเวทนา ๓ ดังนี้ แล.
หัสสธรรมสิกขาบทที่ ๓ จบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 646
สุราปานวรรค สิกขาบทที่ ๔
เรื่องพระฉันนะ
[๕๙๒] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม
เขตพระนครโกสัมพี ครั้งนั้น ท่านพระฉันนะประพฤติอนาจาร ภิกษุทั้งหลาย
ได้ว่ากล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโสฉันนะ ท่านอย่าได้ทำเช่นนั้น การกระทำเช่นนั้น
ไม่ควร ท่านพระฉันนะไม่เอื้อเฟื้อยังขืนทำอยู่อย่างเดิม บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มัก
น้อย...ต่างก็พากันเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนท่านพระฉันนะจึงได้ไม่
เอื้อเฟื้อยังขืนทำอยู่เล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า . . .
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามท่านพระฉันนะว่า ดูก่อนฉันนะ ข่าว
ว่า เธอไม่เอื้อเฟื้อยังขืนทำอยู่ จริงหรือ.
ท่านพระฉันนะทูลรับ ว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ ไฉนเธอ
จึงได้ไม่เอื้อเฟื้อยังขืนทำอยู่อีกเล่า การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความ
เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อม
ใสแล้ว . . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้
ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๑๐๓.๔. เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะความไม่เอื้อเฟื้อ.
เรื่องพระฉันนะ จบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 647
สิกขาบทวิภังค์
[๕๙๓] ที่ชื่อว่า ความไม่เอื้อเฟื้อ ได้แก่ความไม่เอื้อเฟื้อ ๒ อย่าง
คือ ความไม่เอื้อเฟื้อในบุคคล ๑ ความไม่เอื้อเฟื้อในธรรม ๑.
ที่ชื่อว่า ความไม่เอื้อเฟื้อในบุคคล ได้แก่ ภิกษุผู้อันอุปสัมบัน
ว่ากล่าวอยู่ด้วยพระบัญญัติ แสดงความไม่เอื้อเฟื้อโดยอ้างว่า ท่านผู้นี้ถูกยก
วัตร ถูกดูหมิ่น หรือถูกติเตียน เราจักไม่ทำตามถ้อยคำของท่านผู้นี้ ดังนี้
ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ที่ชื่อว่า ความไม่เอื้อเฟื้อในธรรม ได้แก่ภิกษุผู้อันอุปสัมบัน ว่า
กล่าวอยู่ด้วยพระบัญญัติ แสดงความไม่เอื้อเฟื้อโดยอ้างว่า ไฉนธรรมข้อนี้จะ
พึงเสื่อม สูญหาย หรืออันตรธานเสีย ดังนี้ก็ดี ไม่ประสงค์จะศึกษาพระบัญญัติ
นั้น จึงแสดงความไม่เอื้อเฟื้อก็ดี ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๕๙๔] อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอุปสัมบัน แสดงความไม่เอื้อเฟื้อ
ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
อุปสัมบัน ภิกษุสงสัยแสดงความไม่เอื้อเฟื้อ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ทุกกฏ
[๕๙๕] ภิกษุอุปสัมบันว่ากล่าวอยู่ ด้วยข้อธรรมอันมิใช่พระบัญญัติ
แสดงความไม่เอื้อเฟื้อโดยอ้างว่า ข้อนี้ไม่เป็นไปเพื่อความขัดเกลา ไม่เป็นไป
เพื่อความกำจัด ไม่เป็นไปเพื่อความเป็นผู้ที่น่าเลื่อมใส ไม่เป็นไปเพื่อความไม่
สะสม ไม่เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร ต้องอาบัติทุกกฏ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 648
ภิกษุถูกอนุปสัมบันว่ากล่าวอยู่ด้วยพระบัญญัติก็ดี ด้วยข้อธรรมอัน
มิใช่พระบัญญัติก็ดี แสดงความไม่เอื้อเฟื้อโดยอ้างว่า ข้อนี้ ไม่เป็นไปเพื่อความ
ขัดเกลาไม่เป็นไปเพื่อความกำจัด ไม่เป็นไปเพื่อความเป็นผู้ที่น่าเลื่อมใส ไม่
เป็นไปเพื่อความไม่สะสม ไม่เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร ต้องอาบัติทุกกฏ.
[๕๙๖] อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอุปสัมบัน แสดงความไม่เอื้อเฟื้อ
ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุสงสัย แสดงความไม่เอื้อเฟื้อ ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอนุปสัมบัน แสดงความไม่เอื้อเฟื้อ ต้อง
อาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
[๕๙๗] ภิกษุกล่าวชี้เหตุว่า อาจารย์ทั้งหลายของพวกข้าพเจ้าเรียนมา
อย่างนี้ สอบถามมาอย่างนี้ ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้อง
อาบัติแล.
สุราปานวรรค สิกขาบทที่ ๔ จบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 649
อนาทริยสิกขาบทที่ ๔
ในสิกขาบทที่ ๔ มีวินิจฉัยดังนี้:-
[แก้อรรถว่าด้วยความไม่เอื้อเฟื้อในธรรม]
คำว่า กถาย นสฺเสยฺย มีความว่า ไฉน ธรรม คือแบบแผน
ประเพณีนี้ จะพึงเสื่อมไปเสีย.
คำว่า ต วา น สิกฺขิตุกาโม มีความว่า ผู้ไม่ประสงค์จะศึกษา
พระบัญญัติ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติไว้ ซึ่งเป็นเหตุให้พวกภิกษุเรียก
(เธอว่าผู้ไม่เอื้อเฟื้อ).
บทว่า อปฺปญฺตฺเตน คือ ไม่ได้มาในพระสูตร หรือในพระ-
อภิธรรม.
ในคำว่า เอว อมฺหาก อาจริยาน อุคฺคโห นี้ ไม่ควรถือเอา
การเรียนของอาจารย์ที่น่าติเตียน. ควรถือเอาการเรียนของอาจารย์ที่มาตาม
ประเพณีเท่านั้น. ในกุรุนที กล่าวว่า การเรียนตามอาจารย์ในทางโลกวัชชะ
ไม่ควร, แต่ในทางปัณณัตติวัชชะ ควรอยู่. ในมหาปัจจรีกล่าวว่า การเรียน
ของพวกอาจารย์ผู้เรียนสูตร และสุตตานุโลมเท่านั้น จัดเป็นประมาณได้, ถ้อย
คำของพวกอาจารย์ผู้ไม่รู้ (สูตรและสุตตานุโลม) หาเป็นประมาณได้ไม่. คำ
ทั้งหมดนั้น ก็รวมลงในการเรียนที่มาตามประเพณี. บทที่เหลือตื้นทั้งนั้น .
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน ๓ เกิดขึ้นทางกายกับจิต ๑ ทางวาจากับจิต ๑
ทางกายวาจากับจิต ๑ เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม
วจีกรรม อกุศลจิต เป็นทุกชเวทนา ดังนี้แล.
อนาทริยสิกขาบทที่ ๔ จบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 650
สุราปานวรรค สิกขาบทที่ ๕
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๙๘] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ
พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พระ-
ฉัพพัคคีย์หลอนพระสัตตรสวัคคีย์ พวกเธอถูกหลอนจึงร้องไห้.
ภิกษุทั้งหลายถามพระสัตตรสวัคคีย์ว่า อาวุโสทั้งหลาย พวกท่าน
ร้องไห้ทำไม.
พระสัตตรสวัคคีย์ตอบว่า พระฉัพพัคคีย์พวกนี้หลอนพวกผมขอรับ.
บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย.. . ต่างก็พากันเพ่งโทษติเตียนโพนทะนา
ว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์จึงได้หลอนภิกษุทั้งหลายเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่
พระผู้มีพระภาคเจ้า. . .
ทรงสอบถาม
พระผู้มีตระภาคเจ้าทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่า พวกเธอหลอนภิกษุทั้งหลาย จริงหรือ.
พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน
พวกเธอจึงได้หลอนภิกษุทั้งหลายเล่า การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็น
ไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของ
ชุมชมที่เลื่อมใสแล้ว . . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้
ว่าดังนี้:-
เอาบุญมาฝากจะถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ สักการะพระธาตุ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาทสร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ ให้อาหารสัตว์เป็นทานเป็นประจำ กรวดน้ำอุทิศบุญ อนุโมทนากับพ่อแม่ญาติพี่น้องที่รักษาศีล ฟังธรรม ให้ทาน อนุโมทนากับเพื่อนๆที่รักษาศีล ศึกษาการรักษาโรค ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ถวายสังฆทานมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ปิดทองพระ รักษาอาการป่วยของผู้อื่นกับผู้ร่วมงาน และที่ผ่านมาได้รักษาอาการป่วยของบิดามารดา ปล่อยชีวิตสัตว์มาโดยตลอด ถวายยาแก่ภิกษุ ขัดองค์พระ ที่ผ่านมาได้จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย ให้ความรู้สมุนไพรเพื่อสุขภาพเป็นวิทยาทาน ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ทำบุญหลายอย่างมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ถวายสังฆทานและทำบุญสร้างอาคารผู้ป่วยและกฐินกับเพื่อนๆและให้อาหารเป็นทานแก่สรรพสัตว์กับเพื่อนๆและเพื่อนคนหนึ่งและบริวารของเพื่อนและครอบครัวของเพื่อนได้มีจิตเมตตาให้ทานและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือผู้อื่นอยู่ตลอดและเพื่อนได้เคยสวดมนต์เย็นกับคุณแม่และที่ผ่านมาได้ทำบุญสักการะพระธาตุทำบุญปิดทองชำระหนี้สงฆ์และไหว้พระและทำบุญตามกล่องรับบริจาคตามวัดต่างๆกับเพื่อนและตั้งใจว่าจะสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอให้อนุโมทนาบุญด้วย
ขอเชิญถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน สักการะพระธาตุ ฟังธรรม สวดมนต์ ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาท
สร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย กรวดน้ำอุทิศบุญ ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สนทนาธรรม
ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น รักษาอาการป่วยของผู้อื่น รักษาอาการป่วยของบิดามารดา จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย
ปิดทอง สักการะพระธาตุ กราบอดีตสังขารเจ้าอาวาสที่ไม่เน่าเปื่อย ที่วัดแจ้ง อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ปิดทองพระ ปล่อยชีวิตสัตว์ถวายยาแก่ภิกษุ ไหว้พระตามวัดต่างๆ ขัดองค์พระ ให้ความรู้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพเป็นทาน
และสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอเชิญร่วมบุญกุศลร่วมกันนะ