พระพุทธพจน์ - พุทธภาษิต พระธรรมเทศนา และ ธรรมะจากครูบาอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
พฤหัสฯ. 13 ก.พ. 2014 6:28 am
เอาสังโยชน์ ๑๐ เป็นเครื่องวัดอารมณ์
นักปฏิบัติเพื่อมรรคผล ที่ท่านปฏิบัติกันมาและได้รับผลเป็นมรรคผลนั้น ท่านคอยเอาสังโยชน์เข้าวัดอารมณ์เป็นปกติ เทียบเคียงจิตกับสังโยชน์ ว่าเราตัดอะไรได้เพียงใด แล้วจะรู้ผลปฏิบัติตามอารมณ์ที่ละนั้นเอง ไม่ใช่คิดเอาเองว่าเราเป็นพระโสดา สกิทาคา อนาคา อรหัต ตามแบบคิดแบบเข้าใจเอาเอง
สังโยชน์ ๑๐
สังโยชน์ แปลว่า กิเลสเครื่องร้อยรัดจิตใจให้จมอยู่ในวัฏฏะมี ๑๐ อย่าง คือ
๑. สักกายทิฏฐิ มีความเห็นว่า ขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นี้ เป็นเรา เป็นของเรา เรามีในขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ มีในเรา
๒. วิจิกิจฉา สงสัยในผลการปฏิบัติว่าจะไม่ได้ผลจริงตามที่ฟังมา
๓. สีลัพพตปรามาส ถือศีลไม่จริงไม่จัง สักแต่ถือตามๆเขาไปอย่างนั้นเอง
สามข้อนี้ ถ้าตัดได้เด็ดขาด ท่านว่าได้บรรลุเป็นพระโสดากับพระสกิทาคามี
๔. กามราคะ ความกำหนัดยินดีในกามคุณ ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส และอาการถูกต้องสัมผัส
๕. ปฏิฆะ ความกระทบกระทั่งใจ ทำให้ไม่พอใจ อันนี้เป็นโทสะแบบเบาๆ
ข้อ (๑) ถึง (๕) นี้ ถ้าละได้เด็ดขาด ท่านว่าบรรลุเป็นอนาคามี
๖. รูปราคะ พอใจในรูปธรรม คือความพอใจในวัตถุ หรือ รูปฌาน
๗ รูปราคะ พอใจในอรูป คือเรื่องราวที่กล่าวถึง หรือในอรูปฌาน
๘. อุทธัจจะ อารมณ์ฟุ้งซ่าน คิดนอกลู่นอกทาง
๙. มานะ ความถือตนโดยความรู้สึกว่า เราดีกว่าเขา เราเลวกว่าเขา เราเสมอเขา
๑๐.อวิชชา ความโง่ คือหลงพอใจในกามคุณ ๕ และกำหนัดยินดีในกามคุณ ๕ ที่ท่านเรียกว่า อุปาทาน เป็นคุณธรรมฝ่ายทรามที่ท่านเรียกว่า อวิชชา
สังโยชน์ทั้ง ๑๐ ข้อนี้ ถ้าท่านพิจารณาวิปัสสนาญาณแล้ว จิตค่อย ๆ ปลดอารมณ์ที่ยึดถือได้ครบ ๑๐ อย่างโดยไม่กำเริบอีกแล้ว ท่านว่าท่านผู้นั้นบรรลุอรหัตผล
เครื่องวัดอารมณ์ที่พระพุทธเจ้าตรัสจำกัดไว้อย่างนี้ ขอนักปฏิบัติจงศึกษาไว้ แล้วพิจารณาไปตามแบบท่านสอน เอาอารมณ์มาเปรียบกับสังโยชน์ ๑๐
ทางที่ดีควรคิดเอาชนะกิเลสคราวละข้อ เอาชนะให้เด็ดขาด แล้วค่อยเลื่อนเข้าไปทีละข้อ ข้อต้น ๆ ถ้าเอาชนะไม่ได้ ก็อย่าเพิ่งเลื่อนเข้าไปหาข้ออื่น ทำอย่างนี้ได้ผลเร็ว เพราะข้อต้นหมอบแล้ว ข้อต่อไปไม่ยากเลย
จะชนะหรือไม่ชนะ ก็ข้อต้นนี้แหละ เพราะเป็นของใหม่และมีกำลังครบถ้วนที่จะต่อต้านเรา ถ้าด่านหน้าแตก ด่านต่อไปง่ายเกินคิด ขอให้ข้อคิดไว้เพียงเท่านี้
หลวงพ่อตอบปัญหาธรรม
ถาม : พระสุปฏิปันโน หลวงปู่หลวงพ่อที่หลวงพ่อวัดท่าซุงท่านเคยพาลูกศิษย์ไปกราบและนิมนต์มางาน ๑๐๐ ปีหลวงปู่ปาน เคยมีความเนื่องอย่างไรบ้างกับหลวงพ่อวัดท่าซุง ?
ตอบ: มีหลายองค์ที่เคยปรารถนาพระโพธิญาณมาด้วยกัน อย่างหลวงปู่ธรรมชัย หลวงปู่ครูบาไชยวงศ์
ผู้ที่ปรารถนาพระโพธิญาณ เขาเรียกว่าพระโพธิสัตว์ บุคคลที่เป็นพระโพธิสัตว์เขาถือว่าเป็นเพื่อนกันหมด หลายองค์ในอดีตก็เคยเนื่องกันมาอย่างหลวงปู่ครูบาชุ่ม วัดวังมุย ที่ลำพูน ในอดีตก็เคยเป็นพี่ชายของหลวงพ่อวัดท่าซุงมา แต่ละท่านส่วนใหญ่จะต้องมีความเนื่องกันมาก่อน
พระพุทธเจ้าท่านก็ตรัสไว้ชัดในพระไตรปิฎกว่า บุคคลที่เกิดมาได้พบกันในปัจจุบัน ในอดีตที่ไม่เคยเนื่องถึงกันมานั้นไม่มี อย่างน้อย ๆ ต้องมีฐานะใดฐานะหนึ่งที่สืบเนื่องถึงกัน อาจจะเป็นคนครอบครัวเดียวกัน พ่อแม่ลูกเมีย หรือไม่ก็ครูบาอาจารย์ ศิษย์ หรือเพื่อนฝูงมิตรสหายกัน จะต้องมีลักษณะใดลักษณะหนึ่ง ไม่เช่นนั้นไม่มีโอกาสได้มาเจอกัน
สนทนากับพระอาจารย์เล็ก สุธมฺมปญฺโญ
ณ บ้านอนุสาวรีย์ฯ เดือนพฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๔๕
มีคํากล่าวว่า อยู่กับปัญหาโดยไม่มีปัญหา อยู่กับบ่วงโดยไม่ติดบ่วง อยู่กับโซ่ตรวนโดยไม่ถูกผูกมัดเช่น ผู้คุมนักโทษในเรือนจํา พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า “เนื้อป่าบางพวกติดบ่วงนายพราน แล้ว เมื่อนายพรานมาถึงก็ไม่อาจวิ่งหนีไปได้ ถูกฆ่าตาย เนื้อป่าบางพวกนอนทับกองบ่วงอยู่แต่ไม่ติดบ่วง เมื่อนายพรานมาถึงก็วิ่งหนีไปได้ตามสบาย” บุคคลบางพวกอยู่ในโลกแต่ติดโลก ติดเหยื่อของโลกคือรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข เหมือนเนื้อที่ติดบ่วง หรือคนติดโซ่ตรวน คนบางพวกอยู่ในโลกแต่ไม่ติดโลกเป็นอิสระเหมือนเนื้อที่ไม่ติดบ่วง หรือปลาที่กินแต่เหยื่อ แต่ไม่ติดเบ็ด
อารมณ์พระนิพพานเป็นยังไง โดยหลวงพ่อฤๅษี วัดท่าซุง
จาก หนังสือ เรื่องจริงอิงนิทาน (พิเศษ)
ตัดตอนมาจาก การคุยกันหลังเจริญพระกรรมฐานที่ศาลานวราช
…คืนวันนั้นหลังเจริญพระกรรมฐานแล้ว หลวงพ่อเมตตาลูก ๆ โดยอยู่นั่งคุยท่านเล่าให้ลูกๆ ฟังว่า วันนี้ร่างกายหลวงพ่อไม่ดีมาก ยิ่งร่างกายไม่ดีมากเพียงใด จิตใจก็จะดีมากเท่านั้น เพราะไม่แน่ว่าร่างกายมันจะพังขณะนี้หรือไม่
อารมณ์พระนิพพานเป็นยังไง ใครตอบได้ ท่านที่เข้าพระนิพพานแล้วนั่นแหละตอบได้ ท่านแม่ศรี ของลูก ๆ เป็นผู้ตอบคำถามนี้…ท่านบอกว่า
“มันไม่มีอารมณ์อะไรนี่ อารมณ์อย่างเทวดาก็ไม่มี อารมณ์อย่างพรหมก็ไม่มี จะมานั่งห่วงคนนั้นจะแก่ก็ไม่มี ห่วงว่าคนนั้นจะป่วยมันก็ไม่มี ห่วงว่าคนนั้นจะหิวมันก็ไม่มี ห่วงว่าคนนี้จะเหนื่อยมันก็ไม่มี มันไม่มีอะไรจะห่วงทั้งหมด อารมณ์มันเฉย ๆ ถึงจะเป็นลูก เป็นพี่ เป็นน้อง เป็นสามี เป็นภรรยา อารมณ์เดิมมันก็ไม่มี แต่ความเนื่องถึงกันในอดีตนั่นเป็นเรื่องธรรมดา แต่ขึ้นมาบนนี้อารมณ์มันปล่อยหมด แต่ทว่า คำว่า พันธะยังมีอยู่นิดหนึ่งคือ ห่วงพวกที่ยังไม่เป็นพระอรหันต์ แต่ห่วงแล้วจิตมันก็ไม่เป็นทุกข์หรอก มีกังวลอยู่นิดเดียวว่า ทำอย่างไรเขาจึงจะเป็นพระอรหันต์ จะหาวิธีใดที่จะให้เขามานิพพานได้”
หลวงพ่อถามท่านแม่ว่า “สมมติว่า ถ้าเขามีกำลังที่จะมานิพพานไม่ได้ล่ะ จะมีกังวลไหมท่านแม่ตอบว่า ไม่มีกังวลเพราะรู้ว่ากำลังเขาไม่พอ เราก็ไม่มีกังวล เราก็จะมีทางอย่างเดียวว่า ชี้แนว แนะแนว เพื่อความเข้าใจ เวลาที่จิตเขาเป็นทิพย์จะสร้างความเข้าใจให้เกิด ว่าการจะเป็นพระอริยเจ้าเบื้องสูงน่ะจะทำยังไง ให้เขาเกิดอารมณ์ความรู้สึกเอง”
ท่านแม่ถามหลวงพ่อว่า “ขึ้นมาบนนี้มีกังวลไหม” หลวงพ่อตอบว่า “ฉันจะไปกังวลอะไรกะฉัน ฉันอยู่เมืองมนุษย์ฉันยังไม่กังวลเลย”ท่านแม่ถามอีกว่า “ห่วงใครบ้าง”
หลวงพ่อตอบว่า “ตัวฉัน ฉันยังไม่ห่วงเลย แล้วฉันจะห่วงใครล่ะ”
คราวนั้นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งประทับเป็นประธานอยู่ด้วยตรัสว่า
“ถูก ตัวคุณก็ไม่ห่วง และคำว่าห่วงจริง ๆ มันก็ไม่มี แต่ทว่าพระหรือคนก็ตาม ถ้าทำอารมณ์จิตถึงที่สุดได้ ก็อย่าลืมว่า ถ้าขันธ์ ๕ มันยังมีอยู่ ภาระก็ยังมี นี่เราไม่ห่วงจริงแต่เราก็ต้องทำงานตามหน้าที่ ฉะนั้น ความหนักในขณะที่ยังทรงขันธ์ ๕ มันจึงยังมีอยู่ แต่ทว่าจิตที่ยังทรงขันธ์ ๕ อยู่ควรจะทำอารมณ์ให้เบา เหมือนกับที่มาอยู่ที่นิพพาน”
ทำยังไงรึ ก็ว่าคาถาไว้ว่า ช่างมัน ช่างมัน ช่างมัน ชั่งจนกระทั่งน้ำหนักที่ชั่งเหมือนชั่งอากาศ
พระองค์อธิบายว่า ขณะที่ทรงขันธ์ ๕ อยู่ให้ทำจิตเหมือนกับอยู่ที่นิพพาน แต่ทว่ากิจที่จะต้องทำก็คือภาระเกี่ยวกับขันธ์ ๕ ถือว่าเราทำเพื่อมันทรงอยู่เพราะมันยังไม่ดับ แต่อย่ามีอารมณ์กังวล มันอยากกินก็ให้มันกิน มันอยากขี้ก็ให้มันขี้ มันอยากนอนก็ให้มันนอน ทำสภาวะเหมือนกับว่า ร่างกายเป็นเสือตัวร้ายที่เราเลี้ยงไว้ แต่เรากำลังจะกระโดดหนีเสือ แต่มันยังไปไม่ได้ เมื่อเราอยู่กับเสือก็มีความรังเกียจเสือ เราให้มันกินเพราะความจำใจ เราเอาใจมันเพราะความจำใจ แต่เนื้อแท้จริง ๆ เราไม่ต้องการมันเลย แล้วพระพุทธองค์ทรงสรุปอีกว่า
“ให้พยายามรักษากำลังใจว่า ที่เราทรงขันธ์ ๕ อยู่ ให้เหมือนกับว่าเราละขันธ์ ๕ ไปอยู่ที่นิพพาน คืออย่าให้มีอารมณ์ยุ่ง หน้าที่ก็ให้มันเป็นหน้าที่ จิตจงอย่ายุ่งทำทุกอย่างเพื่อเราละโลกนี้ เทวโลก พรหมโลก ซึ่งเหมือนพยัคฆ์ร้ายที่คอยทำอันตรายเรา เราต้องการอย่างเดียวคือพระนิพพาน
ประวัติ --- พระควัมปติเถระ
ท่านพระควัมปติเถระ เป็นบุตรของเศรษฐีในเมืองพาราณสี เป็นสหายที่รักใคร่สนิทสนมกับท่านพระยสะ เมื่อยสกุลบุตรออกแล้ว ได้ทราบข่าวจึงคิดว่า ธรรมวินัยที่ยสกุลบุตรสหายของตนออกบวชนั้นจักไม่เป็นของเลวทราม ต้องเป็นของดีแน่นอน ควรที่เราจะเข้า ไปหาแล้วบวช บวชตามบ้าง
เมื่อคิดอย่างนั้นแล้วจึงพร้อมด้วยสหาย ๓ คน ได้แก่ วมละ สุพาหุ ปุณณชิ ได้พากันไปหาท่านพระยสะ หลังจากนั้น ท่านพระยสะก็พาเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้า และทูลขอให้พระองค์ทรงสั่งสอน
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัส อนุปุพพิกถา และ อริยสัจ ๔ ในเวลาจบพระธรรมเทศนา ควัมปติและสหายก็ได้ธรรมจักษุ คือดวงตาคือปัญญาอันเห็นธรรมได้เกิดขึ้นว่า สิ่งใด สิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดก็มีความดับไปเป็นธรรมดา
เมื่อท่านได้ดวงตาเห็นธรรมแล้วจึงทูลขออุปสมบท ใน พระธรรม วินัย พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตให้เป็นภิกษุด้วยวิธี เอหิภิกขุอุปสัมปทา เมื่อมีอินทรีย์แก่กล้าแล้ว ได้ฟังธรรม มีกถาที่พระองค์ ตรัสสอนในภายหลัง จิตของท่านก็หลุดพ้นจากอาสวะ ไม่ยึดมั่นถือมั่นด้วยอุปาทาน
ท่านได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง ที่นับเข้าในจำพวก พระสาวกผู้ใหญ่ ในคราวที่พระพุทธเจ้าส่งสาวกออกไปประกาศพระศาสนา ท่านก็ได้รับอนุมัติให้ไปประกาศ พระศาสนาในชนบท ช่วยสั่งสอนให้กุลบุตรเกิดความเลื่อมใสได้มาก เมื่อดำรงอยู่ถึงกาลอายุขัยแล้ว ก็ดับขันธปรินิพพาน
เอาบุญมาฝากจะถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ สักการะพระธาตุ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาทสร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ ให้อาหารสัตว์เป็นทานเป็นประจำ กรวดน้ำอุทิศบุญ อนุโมทนากับพ่อแม่ญาติพี่น้องที่รักษาศีล ฟังธรรม ให้ทาน อนุโมทนากับเพื่อนๆที่รักษาศีล ศึกษาการรักษาโรค ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ถวายสังฆทานมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ปิดทองพระ รักษาอาการป่วยของผู้อื่นกับผู้ร่วมงาน และที่ผ่านมาได้รักษาอาการป่วยของบิดามารดา ปล่อยชีวิตสัตว์มาโดยตลอด ถวายยาแก่ภิกษุ ขัดองค์พระ ที่ผ่านมาได้จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย ให้ความรู้สมุนไพรเพื่อสุขภาพเป็นวิทยาทาน ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ทำบุญหลายอย่างมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ถวายสังฆทานและทำบุญสร้างอาคารผู้ป่วยและกฐินกับเพื่อนๆและให้อาหารเป็นทานแก่สรรพสัตว์กับเพื่อนๆและเพื่อนคนหนึ่งและบริวารของเพื่อนและครอบครัวของเพื่อนได้มีจิตเมตตาให้ทานและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือผู้อื่นอยู่ตลอดและเพื่อนได้เคยสวดมนต์เย็นกับคุณแม่และที่ผ่านมาได้ทำบุญสักการะพระธาตุทำบุญปิดทองชำระหนี้สงฆ์และไหว้พระและทำบุญตามกล่องรับบริจาคตามวัดต่างๆกับเพื่อนและตั้งใจว่าจะสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอให้อนุโมทนาบุญด้วย
ขอเชิญถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน สักการะพระธาตุ ฟังธรรม สวดมนต์ ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาท
สร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย กรวดน้ำอุทิศบุญ ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สนทนาธรรม
ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น รักษาอาการป่วยของผู้อื่น รักษาอาการป่วยของบิดามารดา จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย
ปิดทอง สักการะพระธาตุ กราบอดีตสังขารเจ้าอาวาสที่ไม่เน่าเปื่อย ที่วัดแจ้ง อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ปิดทองพระ ปล่อยชีวิตสัตว์ถวายยาแก่ภิกษุ ไหว้พระตามวัดต่างๆ ขัดองค์พระ ให้ความรู้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพเป็นทาน
และสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอเชิญร่วมบุญกุศลร่วมกันนะ
Powered by phpBB © phpBB Group.
phpBB Mobile / SEO by Artodia.