Switch to full style
พระพุทธพจน์ - พุทธภาษิต พระธรรมเทศนา และ ธรรมะจากครูบาอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
ตอบกระทู้

จิตใจกับการบังคับ

ศุกร์ 30 พ.ค. 2014 5:52 am

จิตใจ ซึ่งมากด้วยมารยา เพราะถูกกิเลสตัณหาชักนำไป ให้ลุ่มหลงในสิ่งต่างๆ มากด้วยอคติ ไม่มีความเที่ยงธรรม อยากได้อยากมีอยากเป็น ในสิ่งที่ชาวโลกเขาชื่นชมนิยมกัน ครั้นได้ มีเป็นในสิ่งที่ปรารถนา ก็หลงยึดติดในสิ่งนั้น ไม่อยากให้สิ่งดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไปในทางเสื่อม ครั้นเมื่อสิ่งนั้นเปลี่ยนไปในทางที่ตนเสียประโยชน์ก็มีความทุกข์ นอกจากนี้เมื่อปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์

สิ่งที่เราเห็นว่าเป็นความทุกข์ทางกายก็คือ ความแก่ ทำให้อวัยวะบางอย่างเสื่อม ไม่สามารถใช้การได้ตามปกติ ทำให้ช่วยตัวเองไม่ได้ ความเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรง ทำให้เจ็บปวด ได้รับความทุกข์ทรมานและความตาย ซึ่งคนทั่วๆ ไปไม่อยากตาย เพราะไม่อยากพลัดพรากจากของรักของหวง
แต่ทุกคนก็ต้องแก่ ต้องเจ็บ และต้องตายด้วยกันทั้งนั้นเมื่อเป็นเช่นนี้ เมื่อมีร่างกาย จึงมีความทุกข์ติดมากับร่างกายด้วยจะปฏิเสธไม่เอาทุกข์ไม่ได้เลย


อันว่าจิตนี้เป็นธรรมชาติที่ผ่องใสอยู่โดยปกติ แต่เศร้าหมองไปเพราะคลุกเคล้าด้วยกิเลสนานาชนิด ศีลสมาธิและปัญญา เป็นเครื่องฟอกจิตให้ขาวสะอาดดังเดิม จิตที่ฟอกด้วยศีล สมาธิและปัญญาย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งปวง



อตฺตนาว กตํ ปาปํ
อตฺตนา สงฺกิลิสฺสติ
อตฺตนา อกตํ ปาปํ
อตฺตนาว วิสุชฺฌติ
สุทฺธิ อสุทฺธิ ปจฺจตฺตํ
นาญฺโญ อญฺญํ วิโสธเย ฯ ๑๖๕ ฯ


ตนทำบาปเอง ตนก็เศร้าหมองเอง
ตนไม่ทำบาปตนก็บริสุทธิ์เอง
ความบริสุทธิ์หรือไม่บริสุทธิ์เป็นของเฉพาะตน
คนอื่นจะให้คนอื่นบริสุทธิ์แทนไม่ได้



**กายนครที่ปลอดภัย**

""ภิกษุ ท. !
อริยสาวก ประกอบดวยสัทธรรม ๗ ประการ และเป็นผู้มีปกติได้ตามปรารถนาโดยไม่ยากได้โดยไม่ลําบาก ซึ่งฌานทั้งสี่อันประกอบในจิตอันยิ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขใน
ทิฏฐธรรม, ในกาลใด ;

""ภิกษุ ท. ! ในกาลนั้นอริยสาวกนี้เรียกได้ว่าเป็นผู้ที่มารอันมีบาป
กระทําอะไรไมีได้.

""ภิกษุ ท. !
อริยสาวกประกอบด้วยสัทธรรม ๗ประการอย่างไรเล่า?.

""ภิกษุ ท. !
เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชามีเสาระเนียดอันมีราก
ลึก ฝังไว้ดี ไม่หวั่นไหว ไม่คลอนแคลน สําหรับคุ้มภัยในภายใน
และป้องกันในภายนอก, นี้ฉันใด ;

""ภิกษุ ท. ! อริยสาวกก็มีสัทธาเชื่อการตรัสรู้ของพระตถาคตว่า
“แม้ เพราะเหตุอย่างนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น
.... ฯลฯ .... เป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบาน เป็นผู้จําแนกธรรม” ดังนี้,

""ภิกษุ ท. !
อริยสาวกผู้ มีสัทธาเป็นเสาระเนียด ย่อมละอกุศล เจริญกุศล ละกรรมอันมีโทษเจริญกรรมอันไม่มีโทษบริหารตนให้หมดจดอยู่. ฉันนั้นเหมือนกัน : นี้ชื่อ
ว่าผู้ประกอบด้วย สัทธรรมประการที่หนึ่ง.

""ภิกษุ ท. !
เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชามีคูรอบทั้งลึกและกว้างสําหรับคุ้มภัยในภายในและป้องกันในภายนอก, นี้ฉันใด;

""ภิกษุ ท. !
อริยสาวกก็มีหิริละอายต่อกายทุจริตวจีทุจริตมโนทุจริตละอายต่อการถึงพร้อมด้วยอกุศลธรรมอันลามกทั้งหลาย,

""ภิกษุ ท. !
อริยสาวกผู้มีหิริเป็นคูล้อมรอบย่อมละอกุศลเจริญกุศลละกรรมอันมีโทษเจริญกรรมอันไมมีโทษบริหารตนให้หมดจดอยู่, ฉันนั้นเหมือนกัน : นี้ชื่อว่าผู้ประกอบด้วย สัทธรรมประการที่สอง.

""ภิกษุ ท. !
เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชามีเชิงเทินเดินรอบทั้งสูงและกว้างสําหรับคุ้มภัยในภายในและป้องกันในภายนอก, นี้ฉันใด;

""ภิกษุ ท. ! อริยสาวกก็มีโอตตัปปะสะดุ้งกลัวต่อกายทุจริตวจีทุจริตมโนทุจริตสะดุ้งกลัวต่อความถึงพร้อมด้วยอกุศลธรรมอันเป็นบาปทั้งหลาย.

""ภิกษุ ท. !
อริยสาวกผู้มีโอตตัปปะเป็นเชิงเทินเดินรอบย่อมละอกุศล
เจริญกุศลละกรรมอันมีโทษเจริญกรรมอันไม่มีโทษบริหารตน
ให้หมดจดอยู่,ฉันนั้นเหมือนกัน.
นี้ชื่อว่าผู้ประกอบด้วย สัทธรรมประการที่สาม.

""ภิกษุ ท. !
เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชา มีอาวุธอัน
สั่งสมไว้เป็นอันมากทั้งชนิดที่ใช้ประหารใกล้ตัวและ
ประหารไกลตัวสําหรับคุ้มภัยในภายในและป้องกันในภายนอก, นี้ฉันใด;

""ภิกษุ ท. !
อริยสาวกก็มีสุตะอันตนสดับแล้วมาก ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ,ธรรมเหล่าใดงามในเบื้องต้นงามในท่าม
กลางงามในที่สุดที่เป็นการประกาศพรหมจรรย์อัน
บริสุทธิ์บริบูรณสิ้นเชิงพร้อมทั้งอรรถะพร้อมทั้ง
พยัญชนะ, ธรรมมีรูปเห็นปานนั้น อันเขาสดับแล้วมาก ทรงไว้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิ.

""ภิกษุ ท. !
อริยสาวกผู้ มีสุตะเป็นอาวุธ ย่อมละอกุศล เจริญกุศล ละกรรมอันมีโทษเจริญกรรมอันไม่มีโทษบริหารตนให้หมดจดอยู่, ฉันนั้นเหมือนกัน :
นี้ชื่อว่าผู้ประกอบด้วย สัทธรรมประการที่สี่.

""ภิกษุ ท. !
เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชามีกองกําลัง
ประจําอยู่เป็นอันมาก คือกองช้าง กองม้า กองรถ กองธนู กองจัดธงประ-จํากอง กองเสนาธิการ กองพลาธิการ กองอุคคโยธี กองราชบุตร กองจูโจม
กองมหานาค กองคนกล้า กองโลไม้ กองเกราะโลหนัง กองทาสกบุตร สําหรับคุ้มภัยในภายในและป้องกันในภายนอก, นี้ฉันใด ;

"" ภิกษุ ท. ! อริยสาวกมีความเพียรอันปรารภแล้วเพื่อละอกุศล
ธรรมทั้งหลาย เพื่อยังกุศลธรรมทั้งหลายให้ถึงพร้อม มีกําลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดทิ้งธุระในกุศล-ธรรมทั้งหลาย,

""ภิกษุ ท. !
อริยสาวกผู้ มีวิริยะเป็นพลกาย ย่อมละอกุศล
เจริญกุศล ละกรรมอันมีโทษ เจริญกรรมอันไม่มีโทษ บริหารตนให้หมดจดอยู่.ฉันนั้นเหมือนกัน : นี้ชื่อว่าผู้ประกอบด้วย สัทธรรมประการที่ห้า.

""ภิกษุท.!
เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชา มีนายทวาร
ที่เป็นบัณฑิต เฉลียวฉลาด มีปัญญา ห้ามเข้าแก่คนที่ไม่รู้จัก ให้เข้าแก่คนที่รู้จัก
เพื่อคุมภัยในภายในและป้องกันในภายนอก, นี้ฉันใด ;

"" ภิกษุ ท.!
อริยสาวกเป็นผู้มีสติประกอบดวยสติเป็นเครื่องรักษา
อย่างยิ่งระลึกถึงตามระลึกถึงซึ่งกิจที่กระทําและคําที่พูดแล้วแม้
นานได้,

""ภิกษุ ท. !
อริยสาวกผู้ มีสติเป็นนายทวาร ย่อมละอกุศล เจริญกุศล ละกรรมอันมีโทษ เจริญกรรมอันไม่มีโทษ บริหารตนให้หมดจดอยู่ ฉันนั้นเหมือนกัน : นี้ชื่อว่าผู้ประกอบด้วย สัทธรรมประการที่หก.

""ภิกษุ ท. !
เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชา มีกําแพง
ทั้งสูงและกว้าง สมบูรณด้วยการก่อและการฉาบ เพื่อคุ้มภัยในและป้องกันในภายนอก, นี้ฉันใด ;

""ภิกษุ ท. !
อริยสาวกเป็นผู้มีปัญญาประกอบด้วยปัญญาเป็น
เครื่องถึงธรรมสัจจะแห่งการตั้งขึ้นและการตั้งอยู่ไม่
ได้อันเป็นอริยะเป็นเครื่องชําแรกกิเลสใหถึงความสิ้นทุกขโดย
ชอบ,

"" ภิกษุ ท. !
อริยสาวกผู้มีปัญญาเป็นความสมบูรณ์ด้วยการก่อและการฉาบ ย่อมละอกุศลเจริญกุศล ละกรรมอันมีโทษ เจริญกรรมอันไม่มีโทษ บริหารตนให้หมดจดอยู่,
ฉันนั้นเหมือนกัน : นี้ชื่อว่าผู้ประกอบด้วยสัทธรรมประการที่เจ็ด.

อริยสาวก เป็นผู้ประกอบพร้อมด้วยสัทธรรม ๗ ประการเหล่านี้แล.

""ภิกษุ ท. !
อริยสาวก เป็นผู้มีปกติได้ตามปรารถนา ได้ไม่ยาก ได้ไม่ลําบาก ซึ่งฌานทั้งสี่ อันประกอบในจิตอันยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรมเป็นอย่างไรเล่า ?

""ภิกษุ ท. !
เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชา มีหญ้า ไม้
และนํ้าสั่งสมไว้เป็นอันมากเพื่อความยินดีไมสะดุ้ง
กลัว อยู่เป็นผาสุก ในภายใน เพื่อป้องกันในภายนอก, นี้ฉันใด ;

""ภิกษุ ท. !
อริยสาวก สงัดจากกาม สงัดจาก อกุศลธรรม เข้าถึงปฐมฌาน อันมีวิตกวิจาร มีปติและสุขอันเกิด
จากวิเวก แล้วแลอยู่ เพื่อความยินดี ไม่สะดุงกลัว อยู่เป็นผาสุก แห่งตนเพื่อก้าวลงสูนิพพาน, ฉันนั้นเหมือนกัน.

""ภิกษุ ท. !
เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชา มีข้าวสาลี
และข้าวยวะสะสมไว้เป็นอันมาก เพื่อความยินดี ไม่สะดุงกลัวอยู่เป็นผาสุกในภายในเพื่อป้องกันในภายนอก, นี้ฉันใด ;

""ภิกษุ ท. !
อริยสาวกเพราะความเข้าไปสงบระงับแห่งวิตกและ
วิจารเข้าถึงทุติยฌานอันเป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจใน
ภายในนําใหสมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดมีขึ้นไม่มีวิตกไม่มีวิจารมี
แต่ปติและสุขอันเกิดจากสมาธิ แล้วแลอยู่ เพื่อความยินดี ไม่สะดุ้งกลัว อยู่เป็นผาสุก แห่งตน เพื่อก้าวลงสู่นิพพาน, ฉันนั้นเหมือนกัน.

""ภิกษุ ท. !
เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชา มีอปรัณณ-
ชาติคืองา ถั่วเขียว ถั่วราชมาส เป็นตนสั่งสมไว้เป็นอัน
มาก เพื่อความยินดีไม่สะดุงกลัว อยู่เป็นผาสุก ในภายใน เพื่อปองกันในภายนอก, นี้ฉันใด ;

""ภิกษุ ท. !
อริยสาวก เพราะ ความจางคลายไปแห่งปติเป็นผู้อยู่
อุเบกขามีสติและสัมปปชัญญะและย่อมเสวยความสุข
ด้วยนามกายอันชนิดที่พระอริยเจ้ากล่าวสรรเสริญผู้
นั้นว่า เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติ อยู่เป็นปกติสุข ดังนี้ เข้า
ถึงตติยฌาน แล้วแลอยู่ เพื่อความยินดี ไม่สะดุ้งกลัว อยู้เป็นผาสุก แห่งตนเพื่อก้าวลงสูนิพพาน, ฉันนั้นเหมือนกัน.

""ภิกษุ ท. !
เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชา มีเภสัช
สั่งสมไว้เป็นอันมาก คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำออ้ย และเกลือเพื่อความยินดี ไม่สะดุงกลัว อยู่เป็นผาสุก ในภายใน เพื่อป้องกันในภายนอก,นี้ฉันใด ;

""ภิกษุ ท. !
อริยสาวก เพราะละสุขและละทุกข์เสียได้ เพราะความ
ดับไปแห่งโสมนัสและโทมนัสทั้งสองในกาลก่อน เข้าถึงจตุตถฌานไม่มีทุกข์ไมมีสุขมีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติ
บริสุทธิ์เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่
เพื่อความยินดี ไม่สะดุงกลัว อยู่เป็นผาสุก แห่งตน เพื่อก้าวลงสู่นิพพาน, ฉันนั้นเหมือนกัน.
อริยสาวก เป็นผู้มีปกติได้ตามปรารถนา ได้ไม่ยาก ได้ไม่ลําบากซึ่งฌานทั้งสี่อันประกอบในจิตอันยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม เหล่านี้แล.

""ภิกษุ ท. !
อริยสาวก ประกอบพร้อมด้วย สัทธรรม ๗ ประการ
เหล่านี้และเป็นผู้มีปกติได้ตามปรารถนา ได้ไม่ยาก ได้ไม่ลําบาก ซึ่งฌานทั้งสี่ อันประกอบ ในจิตอันยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม เหล่านี้ด้วย, ในกาลใด ;

""ภิกษุ ท. !
ในกาลนั้น อริยสาวกนี้ เรียกได้ว่าเป็นผู้ที่มารอันมีบาป กระทําอะไรไม่ได้.



## ที่นั่ง - นอน - ยืน - เดิน อันเป็นทิพย์ ##


“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! ที่นั่งนอนสูงใหญ่อันเป็นทิพย์ ซึ่งในบัดนี้ พระโคดมผู้เจริญได้ตามปรารถนา ได้โดยไม่ยาก โดยไม่ลำบาก นั้นเป็นอย่างไรเล่า ?”

พราหมณ์ ! ในกรณีนี้ เราเข้าอาศัยบ้านหรือนิคมใดอยู่ เวลาเช้าครองจีวร เที่ยวไปบิณฑบาตในบ้านหรือนิคมนั้น. ครั้นเวลาหลังอาหารกลับจากบิณฑบาตแล้ว เที่ยวไปตามแนวป่า. เรานั้น, วัตถุใดมีอยู่ในที่นั้นๆจะเป็นหญ้าหรือใบไม้ก็ตาม, คร่ามาแล้ว (ทำเป็นที่รองนั่ง) นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรงดำรงสติเฉพาะหน้า, เรานั้นสงัดจากกามและอกุศธรรมทั้งหลาย ย่อมเข้าถึง ฌานที่๑ .... ที่ ๒ .... ที่ ๓ .... ที่ ๔ อันไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีแต่สติอันบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่,


พราหมณ์ ! เราขณะเมื่อเป็นอย่างนี้
ถ้าเดินอยู่, ในสมัยนั้น สถานที่ตรงนั้น ก็ชื่อว่า ที่เดินอันเป็นทิพย์,
ถ้ายืนอยู่ สถานที่ตรงนั้น ในสมัยนั้น ก็ชื่อว่า ที่ยืนอันเป็นทิพย์,
ถ้านั่งอยู่ สถานที่ตรงนั้น ในสมัยนั้น ก็ชื่อว่า อาสนะทิพย์,
ถ้าสำเร็จการนอนอยู่ สถานที่ตรงนั้น ในสมัยนั้น ก็ชื่อว่า ที่นอนอันเป็นทิพย์.
พราหมณ์ ! นี้แล ที่นั่งนอนสูงใหญ่อันเป็นทิพย์ ซึ่งในบัดนี้ เราได้ตามปรารถนา ได้โดยไม่ยาก โดยไม่ลำบากเลย.



~•~คติธรรม~•~
~องค์ท่านพุทธทาสภิกขุ~
ท่านได้เปรียบการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานไว้ว่า
"การงานของจิต"
อันการงาน คือค่า ของมนุษย์
ของมีเกียรติ สุงสุด อย่าสงสัย
ถ้าสนุก ด้วยการงาน เบิกบานใจ
ไม่เท่าไร รู้ธรรม ฉ่ำซึ้งจริง
ตัวการงาน คือตัวการ ประพฤติธรรม
พร้อมกันไป หลายล่ำ มีค่ายิ่ง
ถ้าจะเปรียบ ก็เหมือนคน ฉลาดยิง
นัดเดียววิ่ง เก็บนก หลายพกเอย.
งานของจิตคือการได้นึกคิดต่างๆนาๆ คิดดีใจก็เป็นสุข คิดไม่ดีก็เพิ่มทุกข์ ให้แก่ตนเป็นการสร้าง
สมบาปให้แก่ตัวโดยใช่เหตุ หากคิดล่วงเกิดผู้อื่น
ปรารถนาใ้ห้ผู้อื่นเป็นทุกข์นี้คือ โทษของจิตติดห่วง
กรรมด้วยมโนกรรม
เพื่อไม่ให้จิตต้องคิดไปในทางต่ำ เราจึงต้องมีหลักให้จิตได้ทำตามที่เราต้องการ คือการบังคับจิตให้อยู่กับการเคลื่อนไหว ของร่างกายเท่านั้น
จะได้ไม่ต้องไหลไปตามวิบากกรรมชั่ว ที่ติดตัวมา
หยุดระงับให้จิตติดในทางอบาย ในเวลาเดียวกัน
เราก็จะได้พบความสุขสงบของจิต ไม่วุ่นวายไม่ลง
ทางต่ำ ดวงจิตก็จะเป็นจิตที่ดีบริบูรณ์ได้.



เอาบุญมาฝากจะถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ สักการะพระธาตุ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาทสร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ ให้อาหารสัตว์เป็นทานเป็นประจำ กรวดน้ำอุทิศบุญ อนุโมทนากับพ่อแม่ญาติพี่น้องที่รักษาศีล ฟังธรรม ให้ทาน อนุโมทนากับเพื่อนๆที่รักษาศีล ศึกษาการรักษาโรค ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ถวายสังฆทานมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ปิดทองพระ รักษาอาการป่วยของผู้อื่นกับผู้ร่วมงาน และที่ผ่านมาได้รักษาอาการป่วยของบิดามารดา ปล่อยชีวิตสัตว์มาโดยตลอด ถวายยาแก่ภิกษุ ขัดองค์พระ ที่ผ่านมาได้จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย ให้ความรู้สมุนไพรเพื่อสุขภาพเป็นวิทยาทาน ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ทำบุญหลายอย่างมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ถวายสังฆทานและทำบุญสร้างอาคารผู้ป่วยและกฐินกับเพื่อนๆและให้อาหารเป็นทานแก่สรรพสัตว์กับเพื่อนๆและเพื่อนคนหนึ่งและบริวารของเพื่อนและครอบครัวของเพื่อนได้มีจิตเมตตาให้ทานและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือผู้อื่นอยู่ตลอดและเพื่อนได้เคยสวดมนต์เย็นกับคุณแม่และที่ผ่านมาได้ทำบุญสักการะพระธาตุทำบุญปิดทองชำระหนี้สงฆ์และไหว้พระและทำบุญตามกล่องรับบริจาคตามวัดต่างๆกับเพื่อนและตั้งใจว่าจะสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอให้อนุโมทนาบุญด้วย

ขอเชิญถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน สักการะพระธาตุ ฟังธรรม สวดมนต์ ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาท
สร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย กรวดน้ำอุทิศบุญ ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สนทนาธรรม
ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น รักษาอาการป่วยของผู้อื่น รักษาอาการป่วยของบิดามารดา จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย
ปิดทอง สักการะพระธาตุ กราบอดีตสังขารเจ้าอาวาสที่ไม่เน่าเปื่อย ที่วัดแจ้ง อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ปิดทองพระ ปล่อยชีวิตสัตว์ถวายยาแก่ภิกษุ ไหว้พระตามวัดต่างๆ ขัดองค์พระ ให้ความรู้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพเป็นทาน
และสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอเชิญร่วมบุญกุศลร่วมกันนะ
ตอบกระทู้