".......การสร้างกุศลให้มีขึ้นในดวงจิตดวงใจ...... เช่นนี้ก็เท่ากับเราเป็นคนมีทรัพย์ และเมื่อมีทรัพย์ก็จะต้องมีสิ่งรบกวนเหมือนต้นไม้ที่มีดอกสวยงาม ก็มักมีบุ้งหนอนหรือแมลงต่างๆมารบกวนเพราะดอกของมันมีกลิ่นหอม
จิตของเราก็เหมือนกัน..เมื่อมีพุทธคุณ ธรรมคุณและสังฆคุณเกิดขึ้น ก็จะต้องมีเครื่องทำลายรบกวน คือ "...นิวรณ์...." หรือ "...นิมิต...." เหมือนดอกไม้ที่มีแมลงมาตอม ดอกของมันก็จะต้องร่วงหล่น เมื่อดอกร่วงหล่นเสียแล้ว ผลของมันก็ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ จิตของเราก็เช่นเดียวกัน อย่าให้ความดีร่วงหล่นไปตามนิวรณ์ จึงต้องคอยระวังจิตให้ตั้งเฉยอยู่ในตัวของเราเอง จนรู้สึกว่าไม่มีสิ่งอะไรมารบกวนหรือทำลาย จิตก็จะเหมือนกับช่อมะม่วงที่ถูกละอองฝนหล่อเลี้ยง ไม่ช้าก็จะมีผลตามมาแล้วเราก็เก็บผลกินสบาย
...
พระอาจารย์ลี ธัมมธโร วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ
เมื่อมีปํญญาเกิดขึ้นในจิต ของเราแล้ว จะมองไปทางไหน ก็มีแต่ธรรมะทั้งนั้น เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ตลอดเวลา โอวาทธรรม หลวงปู่ชา สุภัทโท
ความทุกข์ทำให้รู้เรื่องดับทุกข์ ในที่สุดเราก็พูดว่า ขอบใจความทุกข์ ขอบใจความทุกข์ที่มันทำให้เราฉลาด ที่มันทำให้เกิดพระพุทธเจ้า ผู้รู้ความดับทุกข์ขึ้นมาในโลก ขอบใจความทุกข์ แม้แต่มันจะเป็นในแง่ดีมากไปหน่อยก็ไม่เป็นไรหรอก เรามองกันในแง่นี้ดีกว่า เมื่อความทุกข์เกิดขึ้นต้อนรับมันให้ดีๆ เราจะพบความดับทุกข์ พุทธทาสภิกขุ... ที่มา หนังสืออริยสัจสำหรับคนสมัยใหม่
ประกิณกะธรรม. พระธรรมเทศนาในโวหารพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร, เพื่อเจริญสติภาวนา พุทโธ ครับ. ---------------------------------------------------------------------@
" สัตว์เกิดอยู่ด้วยอันใด, เจ็บหรือตายก็ด้วยอารมณ์ที่ตนหลงนั้น. ถ้ากิเลสตัวหลงนี้ยังมีอยู่.
ความเกิดแล้วตาย ตายแล้วเกิด, เวียนว่ายวนเวียน, ไม่รู้แล้วไม่สิ้นสุดลงได้. เมื่อความเกิดแล้วเกิดอีก ตายแล้วตายอีก, ยังเป็นอยู่อย่างนี้. "
" ทุกข์ทั้งหลาย. อันอาศัยตวามเกิดแก่เจ็บตาย, ที่เรียกว่าชาติทุกข์, ชราทุกข์, พยาธิทุกข์, มรณทุกข์, ก็ย่อมติดตามทรมานสัตว์ทั้งหลายไปทุกภพทุกชาติ, ไม่มีที่จะสิ้นสุดลงได้. "
" เมื่อเราทั้งหลายมามองหาความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย. ว่าเกิดแก่เจ็บตาย มีอยู่ในตัวเของเรา, อันตัวเราตกอยู่ในกองทุกข์. ที่อาศัยความเกิด แก่ เจ็บ ตาย, ครอบงำเราแล้ว.
ควรแล้วหรือเราจะมามัวหลงประมาทอยู่. ไม่รีบทำความเพียรในทางอันเป็นหนทางพ้นไปจากทุกข์.
ให้พากันทำให้มาก. เจริญยิ่งในความวิเวกเหล่านั้นโดยแยบคาย, ในอุบายอันอาศัยความไม่ประมาท. "
|