คนเรามีทุกข์อยู่สองส่วน ส่วนแรกคือ ‘ทุกข์จริง’ ส่วนที่สองคือ ‘คิดว่าทุกข์’ .. .. .. .. .. .. .. .. .. .. เมื่อโดนวัตถุกระทบให้เจ็บตัว หรือกระทบหูตาให้สะเทือนใจ อันนั้นเรียกว่า ‘ทุกข์จริง’ แต่วัตถุกระทบตัว กระทบหูตาได้ไม่ค่อยนาน ฉะนั้น ความน่าจะเป็นคือ ความทุกข์น่าจะหายไปอย่างรวดเร็ว .. .. .. .. .. .. .. .. .. .. แต่คนส่วนใหญ่ทุกข์นานกว่านั้น แสดงว่าพ้นจากการถูกกระทบ ยังมีอะไรอีกอย่างหนึ่งรักษาความทุกข์เอาไว้ และสิ่งนั้นจะเป็นอะไรไปไม่ได้ ถ้าไม่ใช่ ’ความคิด’ ถึงไม่มีอะไรกระทบตัวเลย แค่ฝังใจเชื่อว่าตัวเองไร้ค่า เฝ้านึกแต่ว่าตัวเองจะไม่ได้อย่างใจ หรือพร่ำรำพึงว่าตัวเองไร้โชควาสนา เพียงเท่านี้ก็เรียก ‘คิดว่าทุกข์’ ได้แล้ว .. .. .. .. .. .. .. .. .. .. สรุปคือ เวลาส่วนใหญ่ในชีวิตคนเรา ไม่ได้แย่เพราะทุกข์จริง แต่แย่เพราะคิดว่าทุกข์ หากจะตั้งเป้าเอาชนะทุกข์ ก็ต้องยกระดับ ‘ความฉลาดทางการคิด’ ขึ้นไปเป็น ‘ความฉลาดทางอารมณ์’ แล้วเข้าถึง ‘ความฉลาดทางจิต’ กันต่อไป! _______________ ที่มา : หนังสือฉลาดทางจิต โดย ดังตฤณ
อย่างเช่นเกิดเป็นโรคขึ้นมา ไปรักษาที่โรงพยาบาลก็ไม่หายจะไปเอาอะไรกับหมออีก ยาก็หมดแล้วจะทำอย่างไร เราก็คิดเสียว่าโยนให้กรรมเสีย อันเจ้าของกายก็เป็นของสมมติเท่านั้นเอง อันนี้ก็เหมือนกันฉันนั้น โยนให้กรรมแล้วมันก็หมดเท่านั้นและมันจะไปตรงไหนล่ะ มันสุดอยู่ตรงนั้น ต้องไปคิดอะไรให้มันมากมาย เรื่องของการปฏิบัติมันจะต้องเป็นดังนี้ หลวงปู่ชา สุภัทโท
"บุญหนุนนำให้ได้คุู่ดี บาปย่อมนำพาให้ได้คู่เวร"
รู้หรือไม่ว่าลักษณะของเนื้อคู่นั้น เมื่อได้มาอยู่ร่วมกันแล้ว บางคู่ก็มีความสุขมากกว่าทุกข์ แต่บางคู่ทุกข์มากกว่าสุข ก่อนจะกล่าวถึงเหตุ ลองมาดูผลกันก่อนว่าแต่ละแบบมีอะไรบ้าง
1. คู่ครองดุจเพชฌฆาต (วธกาภริยา/สามี) หมายถึง ภรรยาหรือสามีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่คิดประทุษร้ายกัน ไม่เกื้อกูลอนุเคราะห์ซึ่งกันและกัน มีความยินดีต่อชายและหญิงอื่น ดูหมิ่นกันเอง หรือเป็นหญิงและชายที่ต่างซื้อมาด้วยทรัพย์ และพยายามฆ่ากันมีความดุร้ายประดุจเพชฌฆาต หากต้องแต่งงานครองคู่กัน สามีหรือภรรยาที่เป็นเพชฌฆาตก็พร้อมจะทรยศได้ตลอดเวลา ซึ่งอาจลงท้ายถึงขนาดด้วยการปลิดชีพฝ่ายตรงข้ามซึ่งมีให้เห็นในสังคมมากมาย
2. คู่ครองดุจโจร (โจรีภริยา/สามี) หมายถึง ภรรยาหรือสามีที่มุ่งจะยักยอกทรัพย์แม้จะมีเพียงน้อย ที่ฝ่ายหนึ่งได้ประกอบอาชีพสุจริตได้มา มีความละโมบคิดแต่จะเอาประหนึ่งโจร เปรียบเหมือนไฟที่ไม่เคยอิ่มเชื้อ ทะเลที่ไม่เคยอิ่มน้ำ ฝ่ายหนึ่งหาทรัพย์ อีกฝ่ายผลาญทรัพย์ทำให้ไม่เจริญก้าวหน้าและต้องเหนื่อยสายตัวแทบขาดอยู่ตลอดเวลา
3. คู่ครองที่เป็นดุจนาย (อัยยาภริยา/ สามี) หมายถึง ภรรยาหรือสามีที่ไม่สนใจการงาน เกียจคร้าน กินจุ หยาบคาย ดุร้าย มักพูดคำชั่วหยาบ ข่มขี่สามีหรือภรรยาผู้ขยันหมั่นเพียรอยู่ สามีหรือภรรยาพวกนี้ประพฤติตัวเหมือนเจ้านาย อีกฝ่ายที่อยู่ด้วยจะรู้สึกเหมือนอยู่ในคุกหรือกรง มีความรู้สึกหมดสิ้นในอิสรภาพโดยสิ้นเชิง
4. คู่ครองที่เป็นดุจมารดา (มาตาภริยา/สามี) หมายถึง คู่ครองที่เป็นผู้เกื้อกูลอนุเคราะห์ทุกเมื่อ คอยทะนุถนอมสามี/ภรรยา เหมือนมารดาคอยทะนุถนอมบุตร รักษาทรัพย์ที่สามีหามาได้ไว้ ลักษณะเช่นนี้เปรียบเหมือนมารดา แรกรักเป็นเช่นใดก็จะช่วยทะนุถนอมให้เป็นไปอยู่เช่นนั้นเสมอต้นเสมอปลายโดยตลอด
5. คู่ครองดุจพี่สาวน้องสาว (ภคินีภริยา/สามี) หมายถึง ภรรยาหรือสามีที่มีความเคารพในคู่ของตน มีใจละอายต่อบาป ไม่ถือตัวถือตนว่าตนเองเป็นใหญ่ ไม่หลงทะนงตนยามทะเลาะเบาะแว้งกันก็กระทำกันแต่พองาม มีสติคอยฉุกให้คิด มีอะไรพลาดพลั้งก็ช่วยกันประคับประคอง การกระทำเยี่ยงนี้เหมือนการกระทำของน้องสาว พี่สาว พี่ชาย
6 ได้คู่ครองดุจเพื่อน (สขีภริยา/สามี) หมายถึง ภรรยาหรือสามีที่ได้เห็นคู่ครองของตนแล้วเกิดความชื่นชมยินดีเหมือนเพื่อนเห็นเพื่อนผู้จากไปนานแล้วกลับมา เมื่อแต่งงานไปแล้วเวลาจะผ่านไปนานเท่าใดก็มีเคยเปลี่ยนแปลง ยังจงรักภักดี มีสุขร่วมเสพ มีทุกข์ร่วมต้าน แม้รสชาติความหวานอาจจืดจางไปบ้างแต่มิตรภาพที่มีให้ต่อกันนั้นก็ยังคงสดใส รักเดียวใจเดียว เสมอ
7. คู่ครองดุจทาส (ทาสีภริยา/สามี) หมายถึง ภรรยาหรือสามีที่ถูกฝ่ายหนึ่งกระทำอย่างไร ก็ไม่โกรธ สงบเสงี่ยม ไม่คิดขุ่นเคืองฝ่ายตรงข้าม สามารถอดทนได้ ไม่โกรธ อีกทั้งยังประพฤติคล้อยตามอำนาจของอีกฝ่ายด้วยความยินดี
พระพุทธเจ้าเป็นผู้ตรัสถึงประเภทของเนื้อคู่เหล่านี้ พระพุทธองค์สรุปว่า ภรรยา /สามี ประเภทเพชฌฆาต ประเภทนางโจร นายโจร และประเภทนายหญิง นายชาย ทั้ง 3 นี้ ถือว่าเป็นภรรยาและสามีทุศีล หยาบคาย ไม่เอื้อเฟื้อต่อกัน เมื่อตายไปย่อมไปสู่นรก
ส่วนภรรยาและสามีประเภทมารดา บิดา ประเภทพี่สาวน้องสาว พี่ชาย ประเภทเพื่อน และประเภททาส ทั้ง 4 นี้ ถือว่าเป็นสามีภรรยาผู้ตั้งอยู่ในศีล มีความยินดีต่อกันและมีกายวาจาใจที่สำรวม เมื่อตายไปย่อมไปสู่สุคติโลกสวรรค์
การที่ได้เราได้คู่ครองเป็นคนที่มีความแตกต่างกันมากๆ ไม่ว่าสติปัญญา ความประพฤติหรือภูมิธรรมอันนำไปสู่การแยกทางคือ ได้คู่ครองในลักษณะที่เป็น คู่เพชฌฆาต คู่ครองดุจโจร คู่ครองดุจนาย ในขณะที่อีกฝ่ายมีภูมิธรรมสูงกว่า แต่ก็ต้องมาทนใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันทำให้ไม่มีความสุข ก็เป็นเพราะ ผลกรรมในอดีตตามส่งผลมา
ส่วนบางคู่ที่อยู่ด้วยกันแล้วส่งเสริมกันก็เพราะร่วมสร้างบุญกันมา และไม่คิดจะสร้างเวรต่อกันเมื่ออยู่ด้วยกันอีกครั้ง
ในพุทธกาลมีสามีภรรยาคู่หนึ่งที่แต่งงานกัน อยู่กินฉันสามีภรรยา แต่ไม่เคยล่วงประเวณีกันตั้งแต่แต่งงาน ทั้งคู่ออกบวชร่วมสร้างบุญบารมีจนสำเร็จเป็นพระอรหันต์ทั้งคู่
ตัวสามีคือ "พระมหากัสสปะ เอตทัคคะด้านธุดงควัตร" ส่วนภรรยาคือพระนางภัททกาปิลานีเถรี เอตทัคคะด้าน บุพเพนิวาสญาณ
หากใครมีคู่ครองอยู่ ก็คงพอเข้าใจแล้วว่า คู่ครองของเราเป็นแบบใด และเราควรจะเลือกปฏิบัติเช่นไรกับคู่ครองของเรา
"เราไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนผู้อื่น มีแต่ตัวเราเองเท่านั้นที่เปลี่ยนแปลงได้" เลือกที่จะทำดีต่อกันเพื่อพัฒนาชีวิตคู่ให้กลายเป็นคู่บุญบารมี หากสุดวิสัยเหลือกำลังที่อยู่ร่วมกันได้แล้ว ก็ขอให้ ให้อภัยต่อกันเพื่อที่จะได้ไม่ต้องติดค้างกันอีก"
คู่แท้ คู่บุญ คุณเลือกได้ เริ่มจากการศึกษาใจ ศึกษาเนื้อคู่ รู้ว่า เนื้อคู่ของคุณเป็นแบบไหน
คนที่ยังไม่มีคู่และปรารถนาคู่ดีก็จะได้คู่แท้
คนที่มีคู่แล้วก็จะพากันดี หากทำดีต่อกัน
คนที่ไม่ต้องการมีคู่ ขอให้ใช้สตินำทางชีวิตและพัฒนาจิตละกามกิเลสให้หมดเพื่อเข้าสู่พระนิพพานโดยเร็ว
|