พระพุทธพจน์ - พุทธภาษิต พระธรรมเทศนา และ ธรรมะจากครูบาอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
อาทิตย์ 19 ก.ค. 2015 8:28 am
การฝึกปฏิบัติก็ต้องฝึกรู้มาที่จิตด้วย
คือเมื่อฝึกรู้ที่กายแล้ว
ก็ให้ฝึกรู้มาที่จิตใจด้วย
#การเข้าสู่แนวทางของวิปัสสนา
#ก็โดยการรู้ที่สภาวปรมัตถ์
#หรือความรู้สึกของกายของใจ
ซึ่งต้องอาศัยความเข้าใจ
เพื่อที่จะได้ตรงทางของวิปัสสนา
ตามปกติแล้ว
จิตมักจะไปในแนวทางของสมถะ
คือไปในเรื่องของบัญญัติหรือสมมติ
ดังนั้นก็ขอให้เราฝึกฝนการปฏิบัติ
ให้เข้ามารู้ปรมัตถ์(ความรู้สึก)
ทั้งๆ ที่สภาวปรมัตถ์
ก็มีอยู่แล้วตลอดเวลา
พูดง่ายๆ โดยย่อก็คือ
#กายไหว #ใจรู้ #ฝึกดู #ทั้งรู้ทั้งไหว
#ให้ฝึกมีสติรู้ที่กายที่ใจ
#ไม่ส่งจิตออกไปนอกกายนอกใจ
ด้วยการไม่กด ไม่ข่ม ไม่เพ็งเล็ง
จดจ้องทะยานอยากด้วยตัณหา
คือวางใจให้รู้สึกแต่ว่ารู้
ไม่ว่าอะไร ไม่เอาอะไร
ปล่อยวาง วางเฉย ไม่ยินดียินร้าย
#ธัมโมวาท โดยพระวิปัสสนาจารย์
#ท่านเจ้าคุณ #พระภาวนาเขมคุณ
(หลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรังสี)
เจ้าอาวาสวัดมเหยงคณ์ พระนครศรีอยุธยา
อาการที่ตัณหาไม่นำไปสู่ภพใหม่
ให้เกิดผลพิเศษอีกนานาประการ
ภิกษุ ท.! ....ส่วนบุคคล เมื่อรู้เมื่อเห็น ซึ่ง จักษุ ตามที่เป็นจริง.
เมื่อรู้เมื่อเห็น ซึ่ง รูปทั้งหลาย ตามที่เป็นจริง, เมื่อรู้เมื่อเห็นซึ่ง จักขุวิญญาณ
ตามที่เป็นจริง, เมื่อรู้เมื่อเห็น ซึ่ง จักขุสัมผัส ตามที่เป็นจิรง, เมื่อรู้เมื่อเห็นซึ่ง
เวทนาอันเกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย อันเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม
ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขก็ตาม ตามที่เป็นจริงแล้ว; เขาย่อมไม่กำ หนัดในจักษุ, ไม่
กำหนัดในรูปทั้งหลาย, ไม่กำหนัดในจักขุวิญญาณ, ไม่กำหนัดในจักขุสัมผัส, และ
ไม่กำหนัดในเวทนาอันเกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย อันเป็นสุขก็ตาม เป็น
ทุกข์ก็ตาม ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขก็ตาม. เมื่อบุคคลนั้นไม่กำหนัดแล้ว ไม่ติดพัน
แล้ว ไม่ลุ่มหลงแล้ว ตามเห็นอาทีนวะ (โทษของสิ่งเหล่านั้น) อยู่เนือง ๆ, ปัญจุปา-
ทานขันธ์ทั้งหลาย ย่อมถึงซึ่งความไม่ก่อเกิดต่อไป; และตัณหา อันเป็นเครื่อง
นำ ไปสู่ภพใหม่ อันประกอบอยู่ด้วยความกำ หนัดด้วยอำ นาจความเพลิน เป็น
เครื่องทำ ให้เพลินอย่างยิ่งในอารมณ์ นั้น ๆ นั้นอันเขาย่อมละเสียได้ ; ความ
กระวนกระวาย (ทรถ) แม้ ทางกาย อันเขาย่อมละเสียได้, ความกระวนกระวาย
แม้ ทางจิต อันเขาย่อมละเสียได้; ความแผดเผา (สนฺตาป) แม้ทางกาย
อันเขาย่อมละเสียได้, ความแผดเผา แม้ทางจิต อันเขาย่อมละเสียได้; ความ
เร่าร้อน (ปริฬาห) แม้ทางกาย อันเขาย่อมละเสียได้, ความเร่าร้อน แม้ทาง
จิต อันเขาย่อมละเสียได้. บุคคลนั้นย่อม เสวยซึ่งความสุข อันเป็นไป ทางกาย
ด้วย. ซึ่งความสุขอันเป็นไป ทางจิต ด้วย.
เมื่อบุคคลเป็นเช่นนั้นแล้ว ทิ ฏ ฐิ ของเขา ย่อมเป็นสัมมาทิฏฐิ ;
ความดำริของเขา ยอ่มเป็นสัมมาสังกัปปะ; ความพยายาม ของเขา ย่อมเป็น
สัมมาวายามะ ; สติ ของเขา ย่อมเป็นสัมมาสติ; สมาธิ ของเขา ย่อมเป็น
สัมมาสมาธิ; ส่วน กายกรรม วจีกรรม และ อาชีวะ ของเขา เป็นธรรม
บ ริสุท ธิ์อยู่ก่อ น แล้วนั่น เทีย ว. ด้วย อาการอ ย่างนี้ เป็น อัน ว่า อ ริย อัฏ -
ฐังคิกมรรค นี้ ของเขานั้น ย่อม ถึงซึ่งความเต็มรอบแห่งความเจริญ.
(อริยสัจจากพระโอษฐ์) อุปริ. ม. ๑๔/๕๒๓-๕๒๖/๘๒๘-๘๓๑
# โอวาทธรรม หลวงปู่ชอบ ฐานสโม #
" นักภาวนา...จะต้องไม่ติดตระกูล ไม่ติดถิ่น ไม่ติดที่อยู่ หรือแม้แต่ติดอากาศ ติดร้อน...ติดหนาว ก็ไม่สมควรเช่นกัน ร้อนเกินไป...หนาวเกินไป ต้องทดลองให้มันรู้แจ้งกันลงไป ให้จิตมันชนะกิเลสลงไป...ให้แจ้งชัด "
ไปที่ไหน ทำใจสำรวม
ท่านกับหมู่คณะราว ๓-๔ องค์เที่ยววิเวกมาพักอยู่ถ้ำเชียงดาวได้ประมาณสองคืน พอตื่นเช้าคืนที่สามท่านบอกว่า คืนนี้ภาวนาปรากฏเห็นถ้ำใหญ่และกว้างขวางน่าอยู่มาก อยู่บนยอดเขาสูงและชัน ถ้ำนี้สมัยก่อน ๆ เคยมีพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายมาพักเสมอ แต่พระเราสมัยนี้ไปอยู่ไม่ได้เพราะสูงและชันมาก ทั้งไม่มีที่โคจรบิณฑบาต ท่านสั่งให้พระขึ้นไปดูถ้ำนั้น และกำชับว่า ก่อนขึ้นไปต้องเตรียมเสบียงอาหารขึ้นไปพร้อม ทางขึ้นไม่มี ให้พยายามปีนป่ายขึ้นไปโดยถือเอายอดเขาลูกนั้นเป็นจุดที่หมาย คือถ้ำที่ว่านี้อยู่ใต้ยอดเขานั้นเอง
พระและโยมได้พากันขึ้นไปดูตามคำที่ท่านบอก เมื่อขึ้นไปถึงแล้วปรากฏว่าถ้ำนั้นสวยงามและกว้างขวางมากดังที่ท่านว่าจริง ๆ อากาศปลอดโปร่งสบายน่าอยู่มาก พระเกิดความชอบใจอยากพักอยู่บำเพ็ญสมณธรรมเป็นเวลานาน ๆ แต่จำเป็นด้วยที่โคจรบิณฑบาตไม่มี เพราะถ้ำอยู่สูงและห่างไกลจากหมู่บ้านมาก พอเสบียงจวนหมดจำต้องลงมา
เมื่อลงถึงที่พัก ท่านถามว่าเป็นอย่างไรถ้ำสวยงามน่าอยู่ไหม ผมเห็นในนิมิตภาวนารู้สึกว่าถ้ำนั้นทั้งกว้างขวางและสวยงามมาก จึงอยากให้หมู่เพื่อนขึ้นไปดู ใคร ๆ คงจะชอบกันแน่ ๆ แต่ก่อนผมก็ไม่ได้สนใจพิจารณาว่าจะมีสิ่งแปลก ๆ อยู่ในเขาลูกนี้ แต่พอพิจารณาจึงทราบว่ามีของแปลกและอัศจรรย์อยู่ที่นี่มากมายหลายชนิด
ในถ้ำที่พวกท่านขึ้นไปดูนั้นยังมีรุกขเทพ อารักขาอยู่เป็นประจำตลอดมามิได้ขาด ใครไปทำอะไรที่ไม่สมควรในที่นั้นไม่ได้ ต้องเกิดเป็นต่าง ๆ ขึ้นมาจนได้
ขณะที่สั่งให้พวกท่านขึ้นไปดู ผมก็ลืมบอกว่าที่นั้นมีพวกเทพฯอารักขาอยู่ ควรพากันสำรวมระวังมรรยาทและอาการทุกส่วน อย่าไปส่งเสียงอื้ออึงผิดวิสัยของสมณะ เกรงว่าจะเกิดความไม่สบายต่าง ๆ ขึ้นมา เพราะความไม่พอใจของพวกเทพฯ ที่อารักขาอยู่ในสถานที่นั้น อาจบันดาลให้เป็นต่าง ๆ ได้
พระที่ขึ้นไปได้กราบเรียนท่านตามที่ได้ประสบมา และแสดงความประสงค์อยากอยู่ถ้ำนั้นเป็นเวลานาน ๆ ท่านตอบว่า แม้จะสวยงามและน่าอยู่เพียงไรก็อยู่ไม่ได้ เพราะไม่มีข้าวจะกิน ดังนี้อาการที่ท่านพูดกับพระที่ไปดูถ้ำกลับลงมาเป็นคำพูดธรรมดา ๆ ประหนึ่งท่านเคยเห็นถ้ำนั้นด้วยตามาแล้วหลายครั้ง ทั้งที่ไม่เคยขึ้นไปเลย เพราะอยู่สูงและชัน ขึ้นลงลำบากมาก แต่กลับถามว่าน่าอยู่ไหม ซึ่งเป็นคำพูดออกมาจากความแน่ใจจริง ๆ มิได้สงสัยว่าความรู้ทางด้านภาวนาจะโกหกหลอกลวงเลย
ที่ท่านเตือนพระให้พากันสำรวมระวังเวลาพักอยู่ในที่ต่าง ๆ ไม่เฉพาะเพียงถ้ำนั้นแห่งเดียวนั้นเกี่ยวกับพวกเทพฯ ที่สถิตอยู่ในที่นั้น ๆ ซึ่งชอบความเป็นระเบียบงามตาและชอบสะอาดมาก เวลาพวกรุกขเทพฯ มาเห็นอากัปกิริยาของพระที่จัดวางอะไรไว้ไม่เป็นระเบียบ เช่น การหลับนอนไม่มีมรรยาท นอนหงายเหมือนเปรตทิ้งเนื้อทิ้งตัว บ่นพึมพำด้วยการละเมอเพ้อฝันไปต่าง ๆ เหมือนคนไม่มีสติ แม้จะเป็นสิ่งที่สุดวิสัยของคนนอนหลับจะรักษาได้ก็ตาม แต่พวกเทวดามีความอิดหนาระอาใจอยู่เหมือนกัน และเคยมาเล่าให้ท่านอาจารย์มั่นทราบเสมอ..
..และเล่าว่า พระซึ่งเป็นเพศที่น่าเลื่อมใสและเย็นตาเย็นใจแก่โลกที่ได้เห็นได้ยิน จึงควรสำรวมระวังกิริยามรรยาททั้งการหลับนอนและเวลาปกติ พอเป็นความงามตาเย็นใจแก่ตนและทวยเทพ ตลอดมนุษย์ทั้งหลายบ้าง ไม่แสลงตาแสลงใจจนเกินไปเมื่อยังพอมีทางรักษาได้อยู่ ไม่อยากให้เป็นไปแบบฆราวาสซึ่งไม่มีขอบเขตหรือปล่อยไปตามยถากรรมจนเกินไป เพราะสิ่งเหล่านี้ย่อมอยู่ในวิสัยของพระจะทำได้
การมาเล่าเรื่องทั้งนี้มิได้มุ่งมั่นมาตำหนิติเตียนพระว่าไม่ดีโดยถ่ายเดียว แต่เทวดาทั้งหลายก็มีส่วนแห่งความดีและเจตนาหวังเทิดทูนพระศาสนา พร้อมทั้งมีความพอใจกราบไหว้พระสงฆ์ผู้มีมรรยาทอันดีประจำนิสัยของพวกเทวดาเหมือนกัน จึงใคร่ขอกราบท่านเพื่อได้ตักเตือนพระสงฆ์ที่เป็นลูกศิษย์ได้ตั้งอยู่ในท่าสำรวม พอเป็นที่งามตาแก่มนุษย์มนาตลอดเทวดาอินทร์พรหมทั้งหลายบ้าง เทวดาทั้งหลายก็จะพลอยมีส่วนเพิ่มพูนความเคารพเลื่อมใสขึ้นอีกมากมายจากความดีของพระที่น่าเลื่อมใส
..นี้เป็นคำของพวกเทวดามาเล่าถวายท่าน..
ดังนั้นเวลาท่านกับพระลูกศิษย์พักอยู่ในป่าในเขาลึก ซึ่งเป็นที่สถิตของพวกรุกขเทวดา ท่านจึงคอยเตือนพระอยู่เสมอเกี่ยวกับการวางบริขารเครื่องใช้สอยต่าง ๆ ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ตลอดผ้าเช็ดเท้าท่านก็สั่งให้พับและเก็บไว้อย่างเป็นระเบียบ ไม่ให้ทิ้งระเกะระกะ การขับถ่ายก็ให้เป็นที่เป็นทาง และกำหนดทิศทางว่าควรจะทำส้วมสำหรับถ่ายในที่เช่นไร บางครั้งท่านก็สั่งพระตรง ๆ เลยว่าไม่ให้ไปทำส้วมหนักส้วมเบาทางทิศนั้นหรือต้นไม้นั้น เพราะพวกเทวดาที่สถิตอยู่หรือเทวดามาทางทิศนั้น จะรังเกียจและยกโทษเอาดังนี้ก็มี
ถ้าเป็นพระที่รู้เรื่องของพวกเทวดาได้ดีอยู่แล้ว ก็ไม่หนักใจที่ท่านอาจารย์ต้องบอกกล่าว เพราะท่านองค์นั้นย่อมทราบวิธีปฏิบัติต่อเทวดาโดยถูกต้อง และพระที่เป็นลูกศิษย์ท่านพระอาจารย์มั่นมีความสามารถในทางนี้อยู่ไม่น้อย เป็นแต่ความรู้ของท่านเป็นประเภทป่า ๆ จึงไม่อาจแสดงตัวอย่างเปิดเผย กลัวนักปราชญ์จะหัวเราะเยาะ เราพอทราบได้เวลาท่านสนทนากันเรื่องเทวดาประเภทและภูมิต่าง ๆ กันมาเยี่ยมท่าน เขามีเรื่องอะไรบ้างมาสนทนาหรือถามปัญหาท่าน ๆ นำมาเล่าสู่กันฟัง เราก็พลอยทราบภูมิจิตใจท่านที่เกี่ยวกับทางนี้ไปด้วย
หนังสือประวัติ ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
โดย ท่านอาจารย์พระมหาบัว ญาณสัมปันโน
กรรมบถ ๑๐ เตรียมทางเข้าสู่พระนิพพาน
ธรรมโอวาทหลวงพ่อฤๅษี วัดท่าซุง
สำหรับกรรมบถ ๑๐ ดูแล้วธรรมะข้อนี้ เป็นการเตรียมทางเข้าสู่พระนิพพานจริง ๆ หากว่าบรรดาญาติโยมพุทธบริษัททุกคน ทรงกำลังนี้ได้ อาตมาก็คิดว่าความเป็นพระโสดาบันกับพระสกิทาคามีน่ะ อยู่ในกำลังใจเราแน่ จะเห็นว่ากรรมบถ ๑๐ เขาแยกไว้ดังนี้
ทางกาย
๑. ไม่ฆ่าสัตว์
๒. ไม่ลักทรัพย์
๓. ไม่ประพฤติผิดในกาม
ทางกายมี ๓ ถ้าเราบวกมีศีล ๕ ก็เพิ่มเว้นสุราอีกข้อหนึ่ง แต่ความจริงถ้าจิตดี มันก็ไม่ต้องเว้น ที่ท่านไม่ติดสุราไว้ เพราะว่ากำลังใจดี ก็ไม่ต้องเว้น ไม่ต้องบอกไว้มันก็เว้นเอง
สำหรับทางด้านวาจา วาจาท่านแยกไว้เป็น ๔ คือ
๑. ไม่พูดปด
๒. ไม่พูดคำหยาบ
๓. ไม่พูดวาจาทำให้แตกร้าวกัน
๔. ไม่พูดวาจาไร้ประโยชน์
นี่ด้านวาจา
สำหรับด้านจิตใจ ท่านแยกไว้ ๓ คือ
๑. ไม่คิดอยากจะได้ทรัพย์สมบัติของบุคคลอื่นใด ที่เขาไม่ให้โดยชอบธรรม
๒. ไม่คิดประทุษร้ายคนอื่น
๓. ทำความเห็นให้ถูก
ทั้งหมดนี้เป็นภาคพื้นของพระนิพพานโดยตรง
"ไตรลักษณ์ครอบไตรลักษณ์"
ถาม : อะไรคือไตรลักษณ์ครับ?
ตอบ : คือสามัญลักษณะ ๓ ประการ
-อนิจจัง คือ ความไม่แน่นอน
-ทุกขัง คือ การทนสภาพอยู่ไม่ได้
-อนัตตา คือ ความไม่มีตัวตนที่แท้จริง
รวมลงมาแล้วทั้ง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็คือ ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนเปลี่ยนแปลงเกิดมา ตั้งอยู่ ดับไป
ถาม : แล้วกฎของไตรลักษณนี้ครอบหมดทุกอย่างเลยหรือเปล่าครับ
ตอบ : ครอบหมดทุกอย่าง
ถาม : ถ้าเป็นเช่นนั้น ไตรลักษณครอบไตรลักษณด้วยหรือเปล่าครับ ?
ตอบ : ไตรลักษณ์ครอบไตรลักษณ์เองด้วย
-อนิจจัง คือทุกสิ่งมันไม่แน่ แล้วความไม่แน่นี้มาครอบอีกทีก็เลยเป็นแน่ คือแน่ที่เป็นอย่างนั้น มันแน่ที่จะมีสภาวะไม่แน่ หรือพูดอีกอย่างหนึ่งก็ว่าความไม่แน่เป็นสิ่งที่แน่นอนที่สุด
-ทุกขัง คือการทนสภาพไม่ได้ ทุกสิ่งเปลี่ยนแปลงไปก็สภาพที่ยั่งยืนนิรันดรก็คือ สภาพที่ต้องเปลี่ยนแปลง
-อนัตตา ไม่มีตัวตนอย่างแท้จริง อนัตตาครอบอนัตตาก็เป็นอัตตา คือมีตัวที่แท้จริงของสภาวะความไม่มีตัวตนของทุกสิ่งทุกอย่างนั่นเอง
ถาม : สรุปแล้วหัวใจสำคัญของการภาวนา คืออะไรครับ ?
ตอบ : “สติ”
พระอาจารย์อนันต์ อกิญจโน
วัดมาบจันทร์ จ.ระยอง