นวรัตน์ดอทคอม

รวบรวมสาระความรู้เกี่ยวกับวัตถุมงคล-เครื่องรางของขลัง

  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
วันเวลาปัจจุบัน พฤหัสฯ. 16 ม.ค. 2025 7:36 pm

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


Switch to mobile style


โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 
เจ้าของ ข้อความ
 หัวข้อกระทู้: สมถะ วิปัสสนา
โพสต์โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. 15 ต.ค. 2015 6:58 am 
ออฟไลน์

ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 07 มิ.ย. 2009 7:24 pm
โพสต์: 4804
อ่านพระอาจารย์ตอบคำถาม ในตอน
พระอาจารย์ครรชิต อกิญจโน
ในตอน สภาวะ “ผู้รู้” สมาธิแบบวิปัสนา
.
เพราะฉะนั้น สมถะวิปัสนา แม้จะเรียกว่า สมถะวิปัสนา มันก็เป็นของ 2 อย่างที่อิงกันอยู่ในทางพุทธศาสนา
.
ในแนวทางการปฏิบัติของพระพุทธศาสนานั้น 2 อย่างมันไปด้วยกัน ไม่มีการทำอย่างใดอย่างหนึ่ง
.
แต่กาลเวลาที่ผ่านมาถูกทำให้เป็น 2 วิชา ไปทำสมถะก่อน แล้วค่อยมาทำวิปัสนา แน่ใจเหรอว่านี้คือคำสอนของพระพุทธเจ้า
.
ในเมื่อพระองค์ทำ สมถะมาก่อน แล้วพระองค์ก็รู้ว่ามันไม่ใช่ พระองค์ไม่น่าจะสอนให้เราไปติดอยู่ใน สมถะ แต่พระองค์น่าจะเอาสมถะมาเป็นเพียงแค่ เอาแค่อนิสงค์ของมันคือ การรู้จักตั้งจิตที่อารมณ์กรรมฐาน ให้เกิดความตั้งมั่นขึ้น ในระดับหนึ่งจากนั้นให้จิตที่ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์กรรมฐาน นั้น เป็นผู้เฝ้าดูสังเกตุ สิ่งที่เกิดขึ้นที่ กายที่จิตนี้ นั้นคือวิปัสนา
.
พระพุทธเจ้าต้องทำ swot แน่ๆ เลย
พระองค์คงไม่พาเราย่ำไปบนทางเก่าที่พระองค์เคยหลงมาแล้ว
แต่พระองค์น่าจะปรับปรุงให้เป็นวิชาใหม่ เป็นกระบวนการใหม่
.
นี่คือสิ่งที่พระอาจารย์เข้าใจนะ
เพราะว่าเวลาเราไปดู ศึกษาดู คนส่วนมากพอว่าจะปฏิบัติปุ๊บ ก็มักจะมุ่งไปทำสมถะ พอไปทำสมถะเสร็จบอกยกเข้าวิปัสนาหล่ะทีนี้ พอยกเข้าวิปัสนาหาหัวข้อธรรมะมานั่งพิจารณา อันนั้นไม่ใช่
.
เอาหัวข้อธรรมะมานั่งคิด ตีความ อันนั้นประเภท “จินตามยปัญญา”
คิดฟุ้งด้วยเหตุด้วยผล
อาจจะเข้าใจ แต่มันเป็นการเข้าใจระดับของ ความคิด
.
ยังเป็นแค่ตรรกะ
.
แต่ “ภาวนามยปัญญา” คือ การเข้าไปสัมผัสตรง ๆ กับสิ่งที่เกิดขึ้น
อย่างเห็นว่า “ลม” ที่มันละเอียด มันทำให้กายเราระงับ สงบ เป็นอย่างไร
อันนี้ คือตัวเห็น คือการเห็น เข้าใจยัง?
.
อันนี้เขาเรียกว่า “ภาวนามยปัญญา”
.
ใจที่มันตั้งอยู่ในอารมณ์กรรมฐาน มันเป็นเพียงสภาวะผู้รู้ แล้วพอมันหลุดออก มันปรุงแต่งเป็นความคิด อันนี้ เขาเรียกว่า “การเห็น”
.
แล้วการเห็นแยกออกว่ามันเป็นคนละตัวอย่างนี้ เขาเรียกว่า “เป็นการเห็น” เป็นการประจักษ์แจ้ง เป็น “ภาวนามยปัญญา”
.
เสร็จแล้วก็เห็นอีกว่า ขณะที่ “จิต” มันปรุงแต่งไปนั้น เป็นอย่างไร แล้วมี ภาวะแห่งตัว “ซ้อน” เข้าไปซ้อนรองรับ ไปยืดเยื้อกับมัน อันนี้เข้าเรียกว่า
.
เป็นการเห็น เห็นปรากฎการอันนั้นที่มันเกิดขึ้น อันนี้เป็น “ภาวนามยปัญญา”
.
ส่วนไอ้การคิดเอาว่า จะรองรับด้วยเหตุผลใดก็ตาม
สิ่งที่มันหยิบหัวข้อธรรมะ แล้วก็มาคิด ด้วยเหตุ ด้วยผล หยิบสิ่งนั้นมายืนยัน หยิบสิ่งนี้มายืนยัน เอาสัญญาทั้งหมดที่ตัวเองมี แล้วก็ มาเข้าใจกระบวนการตรงนั้นเป็นอย่างนั้น ตรงนี้เป็นอย่างนี้ แล้วก็ร้อยเรียงกันไป มันไม่ใช่ “ภาวนามัยปัญญา” มันเป็นเพียง "จินตามยปัญญา" ไม่ใช่ วิปัสนา
.
นี่แหละ ไอ้ตรงนี้อยากจะพูดมานานแล้วแหละ เพราะว่าหลงทางกันเยอะมาก กับการคิดว่า “ตัวเองทำวิปัสนา” แต่มันไม่ใช่เลย
.
เพราะฉะนั้น ภาวะแห่ง สมถะ กับ วิปัสนา มันอยู่ด้วยกัน ความตั้งมั่นของจิตที่อยู่ในอารมณ์กรรมฐาน เรียกว่า สมถะ
.
ภาวะแห่งการรู้กับทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้น ตามความเป็นจริง เรียกว่า วิปัสนา
.
ในขณะที่มันตั้งมั่นอยู่กับกาย เราให้ระลึกรู้อยู่กับอิริยาบทยืนเดิน นั่ง นอน มาระลึกรู้อยู่กับอิริยาบทย่อย ในขณะที่มันระลึกรู้อยู่ ระลึกรู้ลมหายใจเข้าออก ในขณะที่มันตั้งอยู่ตรงนี้ ตัวผู้รู้ที่มันตั้งมั่นอยู่กับฐานนั้น ที่มันไม่แนบจนเกินไปนั้น มันไม่แนบเข้าไปในฐานจนเกินไปนั้น มันจะมีความไวต่อการสัมผัสรู้ สิ่งที่มากระทบทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
.
มันเกิดกระบวนการปรุงแต่งขึ้นอย่างไร มันก็จะเห็นพร้อมไปด้วยในตัว



ความต่างในสมัยพุทธกาลกับสมัยปัจจุบัน เรื่องโสดาบัน
* เรื่องโสดาบัน จะเห็นได้ว่าการถามปัญหาในสมัยพุทธกาลกับสมัยปัจจุบันมีความต่างกันคือ ในสมัยพุทธกาลจะศึกษาถึงความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระรัตนตรัยและศีลอริยเจ้า ส่วนสมัยปัจจุบันจะศึกษากันเรื่องสังโยชน์ ๓ ได้แก่ ๑. สักกายทิฏฐิ ๒.วิจิกิจฉา ๓. สีลัพพตปรามาส นี่คือความต่างกันระหว่างในสมัยพุทธกาลกับสมัยปัจจุบัน แต่ที่เหมือนกันก็คือ เป็นศึกษาเรื่อง โสดาบัน พระพุทธเจ้าทรงตรัสรับรองทั้ง ๒ ประเภท นี้เป็นโสดาบันได้เหมือนกัน
* สำหรับคำถามที่ให้ผู้ปฏิบัติมีส่วนร่วมตอบไว้ในใจ ท่านที่ตอบ ๑ บ่งบอกถึงท่านได้ศึกษามาดี มีความรู้ด้านธรรมะพอสมควร หวังว่าท่านคงเอาตัวรอดไปได้นะ
* ท่านที่ตอบ ๒ เป็นผู้ที่ปฏิบัติสมถะและวิปัสสนาเพราะส่วนใหญ่ พระวิปัสสนาจารย์จะพูดเรื่องสังโยชน์ให้ฟังบ่อยๆ เช่น สังโยชน์ ๓ สังโยชน์ ๕ สังโยชน์ ๑๐ เหล่านี้เป็นต้น แต่ท่านก็อย่าลืมนะว่า โสดาบันนั้นปฏิบัติได้ตามข้อ ๑ ก็มี และอาจทำได้ง่ายกว่า ข้อ ๒ หากว่าท่านปฏิบัติไปแล้วไม่เข้าใจ ควรกลับมาศึกษาดูข้อ ๑ ว่าในสมัยพุทธกาลท่านเหล่านั้นปฏิบัติอย่างไร
* ท่านที่ตอบ ๓ ข้อนี้ขออนุโมทนาสาธุกับท่านด้วย เพราะท่านรู้หลายมุม สมกับเป็นผู้ที่ศึกษาและปฏิบัติมาอย่างดียิ่ง ขอให้ท่านมีดวงตาเห็นธรรมอันใกล้นี้ ด้วยเพราะเหตุปัจจัยของท่านเอง
* ท่านที่ตอบ ๔ ท่านน่าจะเป็นผู้ที่เริ่มศึกษาหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า หรือเป็นผู้ปฏิบัติใหม่ อาจจะต้องศึกษาเพิ่มเติมให้มากหน่อย เพราะการเรียนรู้ธรรมะอยู่ที่วิริยะของท่านเอง
** สรุปโสดาบันนั้นมีมากมายหลายประเภท และหลายนัย แต่หลักใหญ่ ๆ ก็ ๒ ประเภทที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น และยังมีอีกที่เรียกว่า โสดาปัตติมรรค และโสดาปัตติผล นี่ก็เป็นข้อที่ถกกันอยู่ในวงของนักปฏิบัติ ว่าประเภทไหนเป็นโสดาปัตติมรรค ประเภทไหนเป็นโสดาปัตติผล แต่ในที่นี้ไม่ขอถกด้วย จะขอกล่าวตามพระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ดังนี้ ว่า
** ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า / เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว /
** สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติสมควรแล้ว ยะทิทัง ได้แก่บุคคลเหล่านี้ คือ
** จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา คู่แห่งบุรุษสี่คู่ นับเรียงตัวได้แปดบุรุษ
** เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ นั่นแหละ คือสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า




มีฝรั่งคนหนึ่งได้เรียนถามหลวงพ่อชาว่า ชึวิตของพระเป็นเช่นไร?
ทำไมชาวบ้านถึงได้เลี้ยงดูโดยที่พระไม่ได้ทำอะไร?
หลวงพ่อเมตตาจึงตอบแบบไห้เขาต้องขบคิดปัญหาของตัวเองว่า
"ถึงบอกให้ก็ไม่รู้หรอก" มันเหมื่อนกับนกที่อยากรู้เรื่องของปลาในน้ำ ถึงปลาจะบอกความจริงว่า อยู่ในน้ำนั้นเป็นเช่นไร นกก็ไม่มีทางที่จะรู้ได้ ตราบใดที่นกยังไม่ได้เป็นปลา


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
แสดงโพสจาก:  เรียงตาม  
โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และ บุคคลทั่วไป 44 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ไปที่:  
cron
ขับเคลื่อนโดย phpBB® Forum Software © phpBB Group
Thai language by phpBBThailand.com
phpBB SEO